Positioning สัมภาษณ์พิเศษ “ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ถึงนโยบายการทำงานแบบ “Work from Anywhere” ให้พนักงานทำงานจากที่ไหนก็ได้ ซึ่งเป็นนโยบายที่บริษัทตั้งใจจะคงไว้หลังเริ่มใช้ในช่วงเกิดโรคระบาด COVID-19 แม้ว่าขณะนี้ความจำเป็นบังคับจะน้อยลง แต่บริษัทเห็นข้อดีที่เกิดขึ้นจึงเลือกที่จะ ‘ไปต่อ’ อย่างไรก็ตาม แม้มีข้อดีแต่ก็ต้องมีการปรับตัวกันพอสมควรทีเดียว
A: ต้องบอกก่อนว่า Work from Anywhere ไม่ใช่เรื่องใหม่ของเรา เพราะเราเป็นบริษัทสายเทคที่ต้องมีการทำงานจากไซต์ของลูกค้า ต้องอยู่นอกออฟฟิศกันอยู่แล้ว แต่เมื่อมี COVID-19 เราจะต้องทำงานจากข้างนอกได้แบบ full-function เพราะจะไม่มีใครได้เข้าออฟฟิศเลย
เราจึงต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มคือ เพิ่มขนาดคลาวด์ จัดระบบระเบียบ และเน้นหนักเรื่อง Cybersecurity ส่วนนี้เราลงทุนไปมากกว่า 10 ล้านบาท เพราะเป็นเรื่องสำคัญมากในฐานะที่เราเป็นบริษัทเทค และประเทศไทยถือเป็นเป้าหมายโจมตีทางไซเบอร์ ทำให้ต้องป้องกันแน่นหนา เมื่อมีพื้นฐานอยู่แล้วแค่มาลงทุนเพิ่มบ้างจึงทำให้เราปรับตัวได้เร็ว
A: เรามีนโยบายสนับสนุน Hybrid Workplace แล้ว แต่จะแยกย่อยไปตามความเหมาะสมของตำแหน่งงาน เช่น สายดีเวลอปเปอร์ สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ 100% แต่ถ้าเป็นหน่วยงานสนับสนุน เช่น การเงิน, ฝ่ายบุคคล ยังจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศ แต่จะสลับเป็นทีม A ทีม B
A: หนึ่ง คือ พนักงานได้เวลาเดินทางคืนมาวันละ 2-3 ชั่วโมง เราพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานดีขึ้นเพราะมีเวลามากขึ้น และพนักงานมีเวลาส่วนตัวเพิ่ม เป็นสถานการณ์ที่ win-win ทั้งสองฝ่าย
สอง คือ พนักงานรู้สึกว่ามีสมดุลชีวิตกับการงานดีขึ้น จากเวลาที่ได้คืนมา เขาได้นำไปใช้ทำสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเอง
สาม คือ ขณะนี้ COVID-19 ยังไม่จบ การมีคนในออฟฟิศน้อยลงทำให้เสี่ยงติดเชื้อในที่ทำงานน้อยลง สอดคล้องกับการทำ BCP (Business Continuity Plan) ของเรา
สี่ คือ เราสามารถลดพื้นที่ออฟฟิศได้ 50% เพราะพนักงานไม่ได้เข้ามาใช้พื้นที่พร้อมกันหมด
A: หลักๆ คือ การควบคุมตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานจะยากขึ้นสำหรับหัวหน้างาน รวมถึงมีประเด็นเรื่องการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะกับพนักงานใหม่ เพราะปกติถ้าเข้าออฟฟิศก็ยังได้คุยเล่นกัน พักทานข้าวเที่ยงด้วยกัน
A: กุญแจสำคัญของเรื่องนี้คือต้องมี ‘Trust & Ownership’ คือ บริษัทหรือหัวหน้าก็ต้องมีความเชื่อใจลูกน้องว่าจะส่งงานได้ตามเวลาไม่ว่าทำงานจากที่ไหน การเช็กงานรายวันหรือเช็กเวลาเข้าออกงานต้องมีความเหมาะสม เราจะไม่มีการให้รายงานตัววันละ 5 ครั้ง หรือให้เปิดกล้องทิ้งไว้ เพราะการจะทำงานแบบไฮบริดได้ต้องอาศัยความเชื่อใจ
[ในส่วนนี้ “ธนัชชา อรุณประเสริฐกุล” Scrum Master/ Cloud Native Application Development ของจีเอเบิล ให้ข้อมูลเพิ่มว่าทีมของเธอมีการใช้แพลตฟอร์ม ‘Gather Town’ ในการสร้างที่ทำงานเสมือนจริงในทีม ลักษณะเหมือนสร้างอวาตาร์ของเราไว้ในเกมและ online ไว้ในเวลางาน ทำให้รู้สึกเหมือน login เข้ามาทำงานอยู่ด้วยกัน และสามารถเดินไปทักทายกันได้จริง มีบรรยากาศที่ผ่อนคลายกว่า]
A: เป็นประเด็นที่เรายังต้องพัฒนา เพราะวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยต้องยอมรับว่ามีปัจจัยเรื่องความสนิทสนม ความสัมพันธ์ของเพื่อนร่วมงานค่อนข้างสูง ฝ่ายบุคคลของเรากำลังหาวิธีกระตุ้นให้เกิดการสร้างสัมพันธ์กันโดยธรรมชาติอยู่ หลังจากพ้นช่วง COVID-19 ระบาดหนักแล้ว เราคิดว่าบริษัทจะเริ่มมีกิจกรรมต่างๆ ได้แล้ว
อีกวิธีแก้หนึ่งของเราเป็นปัญหาเฉพาะตัวของบริษัท จีเอเบิลเรามีสำนักงานใหญ่บนถนนพระราม 3 ซึ่งหากไม่มีรถส่วนตัวจะเดินทางมาค่อนข้างยาก เราจึงลงทุน Satellite Office แล้วที่อาคารจามจุรีสแควร์ ซึ่งออกแบบให้รับกับ Hybrid Workplace เน้นสิ่งแวดล้อมที่ให้คนมามีตติ้ง มาทำงานร่วมกัน
เราคิดว่าการมีออฟฟิศย่อยในทำเลที่ไปมาง่าย มีแหล่งร้านอาหาร กิจกรรมโดยรอบ น่าจะกระตุ้นให้พนักงานอยากออกมาเจอกันบ้าง คาดว่า Satellite Office นี้น่าจะเปิดใช้ได้ช่วงพฤศจิกายนปีนี้
A: ปกติถ้าเป็นการประชุมประจำวันอัปเดตเนื้องาน เราสามารถประชุมออนไลน์ได้ราบรื่นแล้ว แถมยังประหยัดเวลากว่าด้วยเพราะไม่ต้องเสียเวลาแม้กระทั่งย้ายห้องประชุม แต่กับการประชุมที่เป็นการ workshop หรือแชร์ไอเดีย เป็นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประชุมประเภทนี้เราพบว่ายังต้องเจอหน้ากันจะคุยกันได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
A: จากการเซอร์เวย์พบว่า 80% ของพนักงานชอบ Work from Anywhere มีอยู่ 20% ที่ไม่ชอบ ซึ่งน่าจะเกิดจากสภาพแวดล้อมที่บ้านเขาไม่เหมาะกับการทำงาน แต่เราก็จะเน้นย้ำว่าคำว่า ‘จากที่ไหนก็ได้’ แปลว่าคนที่ชอบเข้าออฟฟิศก็ยังมาออฟฟิศได้เสมอ หรือจะทำงานจากร้านกาแฟก็ได้ ตามที่เขาสะดวก
A: ก็มีบ้างเพราะ Gen X กับ Baby Boomer มีความเชื่อในวิธีทำงานที่ต่างกัน เขาจะชอบการมาออฟฟิศ และต้องการให้ทุกคนมาออฟฟิศ เพราะควบคุมงานได้ง่ายกว่า
แต่เขาก็ต้องปรับตัว เพราะเราต้องฟัง Gen Y , Gen Z ที่รับผิดชอบตัวเองได้ รับผิดชอบงานได้ เขาต้องการจะทำงานแบบไหน เพราะยุคนี้คนทำงานสายเทคหายากมากโดยเฉพาะในไทย และ ‘คน’ คือต้นทุนที่สำคัญที่สุดในธุรกิจเทคคัมปะนีแบบเราครับ
อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ Hybrid Workplace เพิ่มเติม
]]>“ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา” กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ “Blendata” (เบลนดาต้า) ที่ก่อตั้งโดยพนักงานในองค์กรของจีเอเบิลเอง และบริษัทให้การสนับสนุน ระบบนี้จะเป็นระบบรับบริหารจัดการ Big Data ให้กับองค์กรแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล ประมวลผล และจัดการปลายทางให้นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
ปัจจุบันเทคโนโลยี Big Data เป็นสิ่งที่หลายองค์กรมีความสนใจและต้องการนำมาใช้ แต่ดร.ชัยยุทธชี้ให้เห็นว่า ยังมีปัญหาใหญ่ 2 ข้อที่ทำให้องค์กรยังใช้งานไม่ได้หรือใช้ได้ไม่เต็มที่ และ Blendata ต้องการจะเข้ามาแก้ปัญหา คือ
ดังนั้น Blendata ที่เป็นระบบแพลตฟอร์มจะมาช่วยบริหารจัดการแทนได้ แทนที่บริษัทจะต้องลงทุนเองทั้งหมด โดยเป็น Simplified Platform สามารถปรับเข้ากับระบบใดๆ ที่บริษัทใช้งานอยู่ได้ และมีวิธีการใช้งานที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือ Data Engineer ก็ทำงานได้
“ณัฐนภัส รชตะวิวรรธน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เบลนเดต้า จำกัด เปิดเผยว่า จากความซับซ้อนและต้นทุนดังกล่าว ทำให้ที่ผ่านมา Big Data เป็นเทคโนโลยีที่มีแต่บริษัทขนาดใหญ่เอื้อมถึง แต่ Blendata จะเข้ามาลดต้นทุนได้ 160% จากเดิม และยังทำให้ลดเวลาการทำงานลง 270%
ดังนั้น จะมีประโยชน์ทั้งกับบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการลดต้นทุนหรือพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้น และบริษัทขนาดกลางเข้าถึงง่ายขึ้น อนาคตยังอาจจะลดต้นทุนจนทำให้ธุรกิจขนาดย่อมสามารถเข้ามาใช้ได้ด้วย
ปัจจุบัน Blendata เปิดบริการมาแล้ว 5 ปี มีบริษัทใช้งานแล้ว 15 รายจาก 11 อุตสาหกรรม เช่น ธนาคาร โทรคมนาคม รัฐบาล รีเทล บริการสุขภาพ ฯลฯ และทำให้รายได้ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเติบโตเฉลี่ย 50% YoY ทุกปี
เคสธุรกิจที่น่าสนใจที่ Blendata เข้าไปร่วมงานและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น
ณัฐนภัสระบุว่า ระบบของบริษัทมีความยืดหยุ่น และทำงานกับลูกค้าได้ทั้ง On Premise และระบบคลาวด์ ลูกค้าสามารถเลือกใช้งานได้ทั้งคลาวด์ในประเทศหรือต่างประเทศ
ในแง่ราคาเชื่อว่าเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงใช้ระบบ “ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น” ซึ่งทำให้บริษัทขนาดกลางจนถึงย่อมเริ่มต้นทำ Big Data ง่ายขึ้น และบริษัทสามารถโตไปพร้อมกับลูกค้าได้
ด้านเป้าหมายของบริษัท ดร.ชัยยุทธมองว่าบริษัทสามารถโต 100% ต่อเนื่อง 3 ปี (2564-66) แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันขนาดบริษัทยังเล็กมาก เป้าหมายดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะจีเอเบิลเองมีประสบการณ์ในวงการไอทีมา 32 ปี มีฐานลูกค้าทั้งไทยและ APEC ซึ่งเป็นเป้าหมายต่อไปที่จะผลักดันให้ Blendata เข้าถึงลูกค้ากลุ่ม APEC ภายใน 5 ปี
“คู่แข่งตอนนี้ ถ้าวัดกันแบบตรงตัวหนึ่งต่อหนึ่งเลยยังไม่มี ทั้งบริษัทไทยและที่มาจากต่างประเทศ แต่ทราบว่ามีหลายบริษัทกำลังพัฒนาอยู่เหมือนกัน ก็ถือว่าเราได้ออกตัวก่อนคนอื่น” ดร.ชัยยุทธกล่าว
ดร.ชัยยุทธยังระบุด้วยว่า ดีมานด์ต่อการทำ Big Data มีสูงมาก มีการประเมินว่า มูลค่าตลาด Big Data ทั่วโลกจะไปแตะ 2.3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 7 ล้านล้านบาทภายในปี 2568 ซึ่งมากยิ่งกว่าจีดีพีของนิวซีแลนด์ทั้งประเทศ
ทำไม Big Data จึงน่าสนใจ? ดร.ชัยยุทธกล่าวว่า การทำธุรกิจก็เหมือนการขับรถ ที่ผู้ขับอาจจะมีทั้งประสบการณ์และทักษะ แต่เท่านั้นก็ยังไม่เพียงพอ
“ท่านอาจจะมองว่าท่านมีประสบการณ์และมีทักษะในการขับรถ แต่ถ้าสมมติท่านลองหลับตาขับรถดูก็คงทำไม่ได้ เพราะการขับรถยังต้องรับรู้รอบตัวว่ามีอะไรบ้างจึงจะไปถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย ก็เหมือนการมีดาต้าที่ทำให้ทราบสภาวะรอบตัวเพื่อตัดสินใจในการทำธุรกิจและทิศทางที่จะไป” ดร.ชัยยุทธกล่าว
]]>กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ผู้นำการให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร เผยเทรนด์ไอทีระดับโลกและของไทยปี 2559 พร้อมเปิดแผน “Corporate Digital Transformation” กุญแจสำคัญของการปฏิรูปธุรกิจไทยในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแข่งขันในยุคดิจิตอล ชูมิติใหม่ 3 โซลูชั่น “คลาวด์ (Cloud)” “บิ๊ก ดาต้า (Big Data)” และ “ซีเคียวริตี้ (Security)” แนะทุกองค์กรต้องปฏิรูปเพื่อความอยู่รอดและความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ
นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล ผู้นำการให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจรกล่าวว่า “กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีในปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิตอล ที่จะพลิกโฉมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของโลก ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลโดยตรงต่อทุกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งเทรนด์เปลี่ยนแปลงเร็วเท่าไหร่ องค์กรต่างๆ ยิ่งต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งเราสามารถนำเทรนด์ไอทีมาประยุกต์ใช้เพื่อผลักดันธุรกิจให้เกิดความสะดวก ถูกต้อง รวดเร็ว และเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทรนด์ไอทีโลกและประเทศไทยที่ต้องจับตามองได้แก่ Cloud, Big Data, 4G, IoT, SaaS, Security, Mobile Banking, E-Commerce, AI, Smart Devices
การปรับตัวให้ทันเทคโนโลยีไอทีถือเป็นความสำคัญเร่งด่วน ที่องค์กรธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลถึงความเป็นอยู่ในอนาคต ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทจีเอเบิลซึ่งให้บริการแก่องค์กรในรูปแบบ End-to-End Solution Partner หรือการให้บริการแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ จึงมีศักยภาพที่พร้อมที่สุดในการเป็น “Agent of Transformation” กุญแจสำคัญในการช่วยปฎิรูปองค์กรธุรกิจไทยสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างรวดเร็วและครบวงจร
นายสุเทพ อุ่นเมตตาจิต กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทจีเอเบิล เปิดเผยว่า “ในปีนี้บริษัทฯ มุ่งเน้นไปที่ 3 ไอทีโซลูชั่น คือ “คลาวด์ (Cloud)” “บิ๊ก ดาต้า (Big Data)” และ “ซีเคียวริตี้ (Security)” หัวใจสำคัญที่จะช่วยลูกค้าปฏิรูปองค์กรธุรกิจสู่ยุคดิจิตอล ได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด โดยเริ่มจาก Cloud (คลาวด์) ซึ่งในต่างประเทศมีอัตราการเติบโตของการใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2015 อยู่ที่ 51% และคาดการณ์ในปี 2016 ที่ 71% แต่เมื่อเทียบกับอัตราการใช้บริการคลาวด์ในประเทศไทย เรากลับพบว่าอัตราการเติบโตของการใช้คลาวด์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีการเติบโตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีคลาวด์ สำหรับหลายๆ คน มักจะหมายถึงเฉพาะการจัดเก็บข้อมูล หรือ Cloud storage เป็นหลัก ซึ่งศักยภาพของ คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud computing) สามารถทำได้มากกว่านั้น โดยคาดว่าในปีนี้ คลาวด์จะเริ่มเติบโตมากขึ้น และในระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ภาคธุรกิจจะให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณด้านไอทีเพื่อการลงทุนด้านคลาวด์ไม่น้อยกว่า 20-25% ซึ่งจะส่งผลทำให้มูลค่าการลงทุนด้านคลาวด์เพิ่มขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่า คลาวด์จะกลายเป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีขององค์กร
Big Data (บิ๊ก ดาต้า) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความได้เปรียบเชิงธุรกิจให้กับทุกองค์กร ในประเทศไทยมีการคาดการณ์ถึงความต้องการบุคลากรด้านบิ๊ก ดาต้า จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและพันธมิตรทางธุรกิจ ในการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ‘Big Data Experience Center’ หรือ BX ซึ่งเปิดตัวไปในปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนและเป็นตัวเร่งให้นำเอาเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา BX ได้จัดฝึกอบรมและสัมมนาฟรีไปแล้วกว่า 40 ครั้ง มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมมากกว่า 6,000 คน มีการเข้าเยี่ยมชมเพื่อรับคำปรึกษาในการเตรียมความพร้อมในด้านเทคโนโลยีจำนวน 26 หน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้ BX ได้สร้างระบบต้นแบบโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายไปแล้วเป็นจำนวน 12 โมเดล
Security (ซีเคียวริตี้) จากงานวิจัยของบริษัท Intel Security (McAfee) ระบุว่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจที่เกิดจากอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ มีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 14 ล้านล้านบาท ในปี 2015 (ประมาณความเสียหายรวมกันทั่วโลก) งานวิจัยเดียวกันระบุอีกว่า ผลสำรวจจากหลายประเทศยอมรับว่าความเสียหายจากอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์มีสูงถึง 2% ของ GDP อีกทั้งปัญหาจากการโจมตีในโลกไซเบอร์ต่างๆ เช่น Ransomeware หรือโจรเรียกค่าไถ่ออนไลน์ การข่มขู่ด้วยเทคนิคประเภท DDoS (Distributed Denial of Service) ที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานต่างๆ ล้วนมีสาเหตุมาจากเทคโนโลยีที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการด้านความมั่นคงมีความเข้มข้นขึ้น
จากแนวโน้มดังกล่าว จีเอเบิลจึงมีการลงทุนในด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ได้อย่างรัดกุมและทรงประสิทธิภาพ ตอบโจทย์องค์กรเชิงรุก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน รวมถึงการตัดสินใจบริหารความเสี่ยงและจัดการภัยไซเบอร์ได้อย่างตรงจุด ระบบซีเคียวริตี้ที่จีเอเบิลมุ่งเน้น คือ 1) Security Consulting Service 2) Security Implementation Service 3) Security Managed Service และ 4) Security Sustainability Service ซึ่งมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างครบครันกว่า 40 คน ถือเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทยในปัจจุบันที่ให้บริการด้าน ซีเคียวริตี้ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถเดินหน้าได้อย่างมั่นใจ ว่าทรัพยากรและระบบได้รับการดูแลอย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือ
“จากพันธกิจ ‘Corporate Digital Transformation’ และในฐานะผู้นำการให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจรแบบ End-to-End ด้วยนวัตกรรมที่โดดเด่น ตลอดจนบุคลากรมืออาชีพ ทำให้เรามั่นใจว่า กลุ่มบริษัทจีเอเบิลจะเป็นบริษัทไอทีโซลูชั่นสัญชาติไทย ที่จะเป็นพาร์ทเนอร์ให้กับองค์กรธุรกิจไทย ก้าวผ่านยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันประเทศไทยให้มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนความพร้อมด้านบุคลากรด้านไอที เพื่อรองรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิตอล” นายนาถ กล่าวสรุป
คุณมยุรี ชาติเมธากุล กรรมการผู้จัดการ และพนักงานกลุ่มบริษัทจีเอเบิล ร่วมใจกันปลูกกล้าไม้จำนวน3,000 ต้นในโครงการ Green Friends ปลูกป่า 20 ไร่ ฉลองครบรอบ 20 ปีจีเอเบิล เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม และร่วมสนองพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมทั้งป่าและน้ำ รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงสภาวะสิ่งแวดล้อมที่กำลังประสบปัญหาต่างๆ ทั้งภาวะโลกร้อน ป่าไม้ถูกทำลาย ภาวะการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าในธรรมชาติ ฯลฯ โดยหวังให้กล้าไม้เติบโตขึ้นเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าต่อไป ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว – เขาชมภู่ จ.ชลบุรี
นายไตรรัตน์ ใจสำราญ (ซ้าย) กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทจีเอเบิล จับมือกับ Mr.Chris Puype (ขวา) ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ และผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชีย FinArch บริษัทซอฟต์แวร์มาตรฐานการบัญชีชื่อดังจากประเทศเบลเยียม เพื่อร่วมกันรุกตลาดโซลูชั่น IAS39 (International Accounting Standard 39) เป็นรายแรก มุ่งเน้นนำแพ็คเกจเจาะกลุ่มแบงก์พาณิชย์ทุกแห่ง หลังแบงก์ชาติประกาศบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีแบบใหม่ มั่นใจยังครองตำแหน่งแชมป์บริษัทไอทีไทยที่มีส่วนแบ่งสูงสุดของธุรกิจบริการไอทีใน Financial & Banking Service Sector พร้อมตั้งเป้าปี 2009 ขยายตัวเพิ่ม 15 – 20 %
เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้อำนวยการและผู้อำนวยการส่วน ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ ให้เกียรติเข้าชมสำนักงานบริษัท จีเอเบิล พร้อมทั้งรับฟังการบรรยาย จีเอเบิลกับการให้บริการในธุรกิจประกันภัย และเดินชมการทำงานในรูปแบบ Mobile Office โดย มีคุณมยุรี ชาติเมธากุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล กล่าวต้อนรับ ณ ห้องประชุมทานตะวัน ชั้น 22 อาคารปัญจธานี
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท จีเอเบิล จำกัด ผู้ให้บริการระบบ BSM เข้าร่วมงาน Biz IT Service Management@Thai ซึ่งจัดโดย บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้มีการบรรยายระบบ ITMS ที่ช่วยในการจัดการด้าน IT ให้มีประสิทธิภาพ และระบบ BSM หรือ Business Management วิธีการจัดการคุณภาพการทำงานของชิ้นส่วนและกระบวนการต่างๆ ของ IT ในการให้บริการกับธุรกิจตั้งแต่ต้นทางจนปลายทาง ด้วยวิธีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างชิ้นส่วนและกระบวนการต่างๆ เหล่านั้น ทั้ง Infrastructer, Operation, Service และ Application เข้าด้วยกัน โดยมีคุณมยุรี ชาติเมธากุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท จีเอเบิล เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 3 สำนักงานใหญ่ การบินไทย
บริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด และ บริษัท จีเอเบิล จำกัด ได้นำ ‘Oracle Identity Management’ และ ‘Access Management’ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการผู้ใช้งานระบบ และสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและ ควบคุมตรวจสอบได้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กร มีระบบ Centralize Maintain และรองรับการขยายตัว พร้อมทั้งสามารถให้บริการได้ตลอดเวลา และสามารถเชื่อมโยงข้อมูล user identity จากหลากหลายแหล่ง มาบริหารจัดการที่จุดเดียว มาแสดงในงาน Oracle Technology Summit ซึ่งได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งชาวไทย และต่างชาติ ณ ห้องบอลลูม โรงแรมแชงกรีล่า
นายไตรรัตน์ ใจสำราญ (ที่ 2 จากซ้าย) กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จีเอเบิล นำทัพผู้บริหารระดับสูงแถลงข่าว ‘G-ABLE’s Direction 2008’ เปิดเผยถึงทิศทางและนโยบายของกลุ่มบริษัท จีเอเบิลในปี 2008 ซึ่งจะนำ 6 โซลูชั่น Finance Management – Unified Communication – Security – Server Virtualization – Content Management – Business Continuity Management (BCM) มาเสริมการทำตลาดในกลุ่มเป้าหมายหลักทั้งแบงก์ โทรคม ประกันภัย สถาบันการศึกษา และกลุ่มอุตสาหกรรม พร้อมขยับเป้าจีเอเบิลสู่ 7,000 ล้านบาท ณ ห้องโลตัส 11 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์
กลุ่มบริษัทซีดีจี และกลุ่มบริษัทจีเอเบิล ร่วมกับ บริษัท อ๊อฟติมัส ซอฟต์ จำกัด และบริษัท จีไอเอส ดาต้า ร่วมมอบคอมพ์ฯมือสอง อุปกรณ์กีฬา และชุดของขวัญ ในโครงการ “ห้องคอมพ์ฯมือสองแด่น้องผู้ห่างไกล” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กๆได้รับการเรียนรู้จากการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
จากภาพ : ได้รับเกียรติจาก คุณกิติพงษ์ เดชประยูรทรัพย์ ( ซ้าย ) Solution Integration Manager บริษัท จีเอเบิล จำกัด ทำพิธีมอบเครื่องคอมพ์ฯมือสอง จำนวน 7 ชุด พร้อมทั้งอุปกรณ์กีฬาและชุดของขวัญจำนวน 100 ชุด ใ ห้กับ ผอ.แดง รุ่งชัยวัฒนกุล ( ขวา ) ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองโจด เป็นผู้รับมอบ ณ โรงเรียนบ้านหนองโจด จ.นครราชสีมา