เรื่องของ ‘Digital Disruption’ เป็นอะไรที่พูดกันมานานในไทย แต่หลายองค์กรยังไม่ตื่นตัวมากนักจนได้มาเจอกับ ‘COVID-19’ ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของปี 2020 ที่ทำให้องค์กรต้องเจอ ‘Double Disruption’ จนต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานอย่างมหาศาลไม่ว่าจะการ Work from Home ด้วย Video Conference, การเติบโตของ e-Commerce, การหันไปดูสตรีมมิ่ง, Food Delivery ที่กลายเป็นนิวนอร์มอล และการใช้โมบายเพย์เมนต์ที่ใช้มากขึ้น เนื่องจากมีมาตรการของภาครัฐเป็นส่วนสำคัญทำให้คนคุ้นเคย อาทิ โครงการคนละครึ่ง และจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะไม่ใช่แค่ชั่วคราว ดังนั้น ถึงเวลาที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะกลายเป็นพฤติกรรมถาวรของผู้บริโภคแม้ไม่มี COVID-19
9 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญปี 2021
ในปี 2020 นี้การ์ทเนอร์ได้ระบุถึง 9 แนวโน้มเทคโนโลยีสำคัญในปีหน้า 2021 โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1. People Centricity คนเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเทคโนโลยีที่ต้องทำมาปรับใช้ได้แก่
- Internet of Behaviors : ข้อมูลของผู้คนจะถูกเก็บไปอย่างมหาศาลเพื่อวิเคราะห์ ทำให้เขาวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าได้ลึกขึ้น
- Total Experience Strategy : การรวบรวมประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งจากลูกค้า (Customer Experience), พนักงาน (Employee Experience) และผู้ใช้ (User Experience) นำมาเพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
- Privacy-Enhancing Computation : การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำข้อมูลส่วนบุคคลไปประมวลผลได้อย่างปลอดภัย
2. Location Independence การทำงานหรือเรียนได้จากทุกที่
- Distributed Cloud : การที่ผู้ให้บริการ Public Cloud กระจายการติดตั้งระบบ Cloud ไว้ในหลาย ๆ แห่งใกล้องค์กร
- Any Where Operations : รูปแบบของธุรกิจที่จะให้บริการลูกค้าจากที่ใดก็ได้ และพนักงานสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
- Cybersecurity Mesh : ต้องขยายความปลอดภัยให้ครอบคลุมได้ทุกที่ ต้องยืดหยุ่นไม่ได้ป้องกันแค่องค์กรตัวเอง
3. Resilient Delivery ธุรกิจต้องปรับให้คล่องตัว โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย
- Intelligent Composable Business : ธุรกิจต่าง ๆ จะปรับตัวอยู่ตลอดเวลาในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปจึงจำเป็นต้องมีสถาปัตยกรรมเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีขึ้นและสามารถที่จะเสริมข้อมูลเหล่านั้นให้เห็นในเชิงลึกได้
- AI Engineering : การทำเอไอให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาสินค้าบริการและการทำงานต่าง ๆ
- Hyperautomation : ต้องทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ทั้งทางด้านธุรกิจและไอที่เป็นระบบอัตโนมัติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
4 แนวทางปรับตัวของธุรกิจ
1. ปรับสถาปัตยกรรมไอทีจากรวมศูนย์เป็นแบบกระจาย เน้นการใช้ Public Cloud และมุ่งไปสู่ Distributed Cloud, การออกแบบเรื่องของ Microservices และ DevSecOp ระบบความปลอดภัยทางไอทีแบบกระจาย
2. ทำเรื่อง Bigdata การทำกลยุทธ์ด้าน Big Data เริ่มจากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าผ่าน Mobile Apps, IoT, CRM และ Social Media โดยธุรกิจต้องเน้นการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้า
3. ทำด้าน AI การทำกลยุทธ์ด้าน AI ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์ด้าน AI มีการฝังระบบไปในสินค้าและบริการเน้นการทำงานต่าง ๆ ที่เป็น Automation และต้องทำ AI เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบไอทีตั้งแต่เริ่มต้น ต้องมีทีมทำโดยเฉพาะ
4. ทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การทำกลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลางต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการลูกค้าและการทำงานของพนักงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการที่สามารถทำงานและให้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์
“ตอนนี้ลูกค้าไม่เดินมาหาเราแล้ว เราจะปรับอย่างไรเพื่อให้บริการลูกค้าที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป ดังนั้น สิ่งที่ควรเร่งปรับอย่างแรกเลยคือ กลยุทธ์ด้านลูกค้าเป็นศูนย์กลางเป็นสิ่งสำคัญสุด” รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี (IMC Institute) กล่าว
ปี 2025 47% ของแรงงานเป็นหุ่น
ในปี 2020 มีสัดส่วนในการใช้หุ่นยนต์ในการทำงานที่ 33% แต่ในปี 2025 คาดว่าสัดส่วนจะเพิ่มเป็น 47% อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่างานหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่คนเกือบครึ่งหรือประมาณ 85 ล้านตำแหน่ง เช่น พนักงานคีย์ข้อมูล, เลขานุการ, คนลงบัญชี หรืองานทั่วไปต่าง ๆ แต่ก็มีความต้องการแรงงานใหม่ ๆ ถึง 97 ล้านตำแหน่ง เช่น Data Analysis, AI และ Machine Learning Specialists, Big Data Specialists หรืองานด้านไอทีอื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่าครึ่งหนึ่
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองถือเป็นประเทศที่ปรับตัวใช้ดิจิทัลได้เร็ว แต่ปัญหาคือยังพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติพอสมควร นอกจากนี้เรื่องกฎหมาย กฎระเบียบยังเป็นหนึ่งในอุปสรรคในการทรานส์ฟอร์มพอสมควร ขณะที่วัฒนธรรมการทำงานยังยึดกับรูปแบบเดิม ๆ และสุดท้าย คน ถ้าหาทักษะแรงงานที่ดีขึ้น ประเทศไทยก็จะแข่งกับต่างชาติได้สบาย ๆ
“จะมีหรือไม่มี COVID-19 รอบ 2 แต่องค์กรต้องเตรียมปรับตัวตั้งแต่ต้น เพราะตอนนี้ลูกค้าไม่เหมือนเดิมแล้ว ต่อให้พ้น COVID-19 หรือจะมีอะไรใหม่ ๆ ดังนั้นเราต้องพร้อมรับมือตลอดเวลา”