การ์ตูน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 Feb 2023 12:50:01 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยอดขาย ‘มังงะ’ ในญี่ปุ่นทำสถิติสูงสุด 3 ปีซ้อน แต่ยอดขายแบบเล่มลดลงสวนทาง ‘ดิจิทัล’ https://positioningmag.com/1421302 Tue, 28 Feb 2023 12:06:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421302 ในช่วง 2-3 ปีที่เกิดการระบาดของโควิด คอนเทนต์บันเทิง รูปแบบต่าง ๆ เลยได้รับการเสพเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอสตรีมมิ่ง เกม และ หนังสือการ์ตูน แต่ที่น่าสนใจคือ ยอดขายการ์ตูนแบบเล่มในญี่ปุ่นกลับมียอดลดลงสวนทางกับรูปแบบดิจิทัล

ยอดขายหนังสือการ์ตูนและนิตยสารมังงะ ในญี่ปุ่นคาดว่าจะสูงถึง 6.77 แสนล้านเยน ในปี 2565 เติบโตขึ้น 0.2% จากปี 2564 ซึ่งถือว่าเติบโตลดลงอย่างมาก เพราะในปี 2564 ยอดขายการ์ตูนเติบโตสูงถึง 10% ซึ่งคาดว่าอาจเป็นผลมาจากสถานการณ์ของโควิดที่คลี่คลายลง ทำให้คนใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น

ถึงแม้ว่าการเติบโตในปี 2565 จะลดลง แต่ตลาดก็ถือว่าทำสถิติสูงสุดเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยปัจจุบันยอดขายการ์ตูนคิดเป็น 41.5% ของตลาดสิ่งพิมพ์ในญี่ปุ่น ที่น่าสนใจคือ ยอดขายที่เป็นรูปเล่ม มีมูลค่า 2.29 แสนล้านเยน ลดลง 13.4% เมื่อเทียบกับปี 2564 ขณะที่ ยอดขายการ์ตูนในรูปแบบดิจิทัล เพิ่มขึ้น +8.9% เป็น 4.48 แสนล้านเยน

อย่างซีรีส์มังงะยอดนิยม เช่น Spy x Family ได้รับความนิยมทางออนไลน์มากกว่ารูปแบบรวมเล่ม

]]>
1421302
ส่องตลาด ‘ของเล่น’ ในยุคที่ ‘ผู้ใหญ่’ เป็นตัวหลักขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต https://positioningmag.com/1413323 Wed, 21 Dec 2022 04:55:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1413323 เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า เด็กหนวด หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Kidults (เกิดจากคำว่า kid บวกกับคำว่า adult) ที่เรียกผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ยังซื้อ ของเล่นของสะสม ซึ่งภาพคนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็นของสำหรับเด็ก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กหนวดนี่แหละเป็นกำลังหลักที่ทำให้ตลาดของเล่นยังเติบโต

เหล่า Kidults ซึ่งมักจะใช้จ่ายกับของเล่นมากขึ้นเนื่องจากพวกเขามีความชื่นชอบการ์ตูน ฮีโร่ และของสะสมที่ทำให้พวกเขานึกถึงวัยเด็ก พวกเขาซื้อสินค้า เช่น แอคชั่นฟิกเกอร์ ชุดเลโก้ และอื่น ๆ ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ผลิตของเล่นได้สร้างไลน์สินค้าสำหรับผู้บริโภคเหล่านี้โดยเฉพาะ เนื่องจากเห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้ใหญ่ในยุคนี้

เมื่อผู้ใหญ่หันมาซื้อของเล่นกันมากขึ้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ผลิตของเล่นมาก ๆ เพราะจากที่แค่ทำของเล่นมาขายเด็ก (ซึ่งคนซื้อก็คือผู้ปกครอง) กลายเป็นว่ากลับสามารถขายให้ผู้ใหญ่ถือเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้ออยู่แล้วได้อีกด้วย ดังนั้น ตลาดของเล่นจึงถูกขยายให้กว้างยิ่งขึ้น ทำให้เหล่า เด็กหนวดถือเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด

ตามข้อมูลจาก NPD Group พบว่า เด็กหนวดเหล่านี้คิดเป็นถึง 1 ใน 4 ของยอดขายของเล่นของสะสมในตลาดสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3.1 แสนล้านบาท จากมูลค่าทั้งหมด 28,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลุ่ม Kidult ช่วยดันยอดขายของเล่นให้เติบโตถึง 37% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2020-2021)

“กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมของเล่นมาหลายปี แต่การใช้จ่ายได้เร่งตัวขึ้นหลังจากเกิดโรคระบาด ซึ่งนำไปสู่ผลกำไรที่สูงขึ้นของบริษัทผู้ผลิตของเล่น”

ย้อนไปในช่วงทศวรรษที่ 70 และ 80 ธุรกิจของเล่นเริ่มเปลี่ยนจากการผลิตคาแรกเตอร์ที่ออกแบบเองมาเป็นการผลิตสินค้าจากคาแรกเตอร์ของภาพยนตร์และการ์ตูน แต่ปัจจุบันเทรนด์ดังกล่าวกลับยิ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจากแฟรนไชส์ภาพยนตร์ชื่อดัง โดยเฉพาะเหล่าซูเปอร์ฮีโร่

ดังนั้น เด็กที่เติบโตมากับแฟรนไชส์ภาพยนตร์ดัง ๆ รวมถึงได้เห็นสินค้าลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ในตอนนั้นอาจไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัส (พ่อ-แม่ไม่ได้ซื้อให้) ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ใหญ่ในวันนี้จะซื้อของเล่นเพื่อมาเติมเต็มความฝันในวัยเด็ก

“อย่างในปี 1977 ที่ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars เปิดตัว จากนั้นเราจะเริ่มเห็นสินค้าลิขสิทธิ์มากขึ้น ซึ่งเราเฉลิมฉลองแฟนด้อมของเราด้วยของเล่นและของสะสม ซึ่งรวมถึงสินค้าที่ไม่ใช่ของเล่น เช่น ผ้าปูที่นอน ถ้วยชาม และเสื้อผ้า” James Zahn บรรณาธิการบริหารของ The Toy Book และบรรณาธิการอาวุโสของ The Toy Insider กล่าว

จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้ผลิตของเล่น อาทิ Lego จะออกแบบสินค้าใหม่ ๆ ที่ล้อกับคอนเทนต์ในอดีต ไม่ว่าจะเป็น Lego Star Wars หรือ Hasbro ก็ออกแอคชั่นฟิกเกอร์ Black Series ที่ผลิตคาแรกเตอร์จาก Star Wars ด้วยเช่นกัน ขณะที่ภาพยนตร์แฟรนไชส์ดัง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel หรือ DC หลัง ๆ ก็ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเด็กเล็ก แต่จัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มใหญ่ที่ยังอยากซื้อของเล่นของสะสม

Source

]]>
1413323
คุยกับ ‘KAKAO WEBTOON’ กับภารกิจพา ‘มันฮวา’ แทรกในใจนักอ่านไทยเทียบชั้น ‘มังงะ’ https://positioningmag.com/1349092 Mon, 30 Aug 2021 06:20:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349092 สำหรับประเทศไทยแล้ว ‘การ์ตูนญี่ปุ่น’ หรือ ‘มังงะ’ น่าจะเป็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแม้ว่าปัจจุบันจะเริ่มมีคอนเทนต์ของคนไทยมากขึ้นก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประเทศเกาหลี ประเทศเจ้าแห่งคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเพลงหรือซีรีส์ก็โด่งดังไปทั่วโลก แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะเกาหลีก็พยายามจะดัน ‘มันฮวา’ ให้เป็นคอนเทนต์ระดับโลกด้วยเช่นกัน และ ‘Kakao Webtoon’ แพลตฟอร์มของ ‘KAKAO Entertainment’ ยักษ์ใหญ่ของเกาหลีก็เลือกใช้ไทยเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมังฮวาบุกตลาดโลก

เว็บตูนจากบริษัทบันเทิงอันดับหนึ่งเกาหลี

หากพูดถึงชื่อ คาเคา เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (KAKAO Entertainment Corp.) เชื่อว่าคนไทยคงจะคุ้นหูบ้างจาก Kakao Talk อีกทั้งยังเป็นบริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศเกาหลีใต้ โดยคาเคา เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จะมี 3 ธุรกิจหลัก 1.Music Entertainment 2.Story Entertainment (การ์ตูน, นิยาย) และ 3.Media Entertainment (ภาพยนตร์, ซีรีส์)

คาเคา เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เป็นการรวมตัวกันของสองบริษัทคอนเทนต์ชั้นนำ ได้แก่ เอ็มคอมพานี (M Company) ที่เน้นการสร้างสรรค์คอนเทนต์ทั้งดนตรี ซีรีส์ ภาพยนตร์ และการแสดง และเป็นค่ายของศิลปินชื่อดังมากมาย อาทิ ไอยู, กงยู, พัคซอจุน, ฮยอนบิน อีกทั้งยังมีนักเขียนบทและผู้กำกับซีรีส์-ภาพยนตร์อีกมาก อาทิ ซีรีส์ Signal และ Kingdom ออริจินัลซีรีส์ของ Netflix ที่โด่งดังอย่างมาก

ส่วนอีกบริษัทหนึ่งคือ เพจคอมพานี’ (Page Company) ที่ถือเป็น Korea’s No.1 Story Entertainment Company โดยมี Original Story (เว็บตูนและเว็บโนเวล) ถึงกว่า 8,500 เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดัง ๆ อย่าง Itaewon Class, What’s Wrong with Secretary Kim?, Space Sweepers, The Uncanny Counter, Love Alarm หรือ Solo Leveling โดยคอนเทนต์หลายเรื่องได้ถูกนำไปสร้างสรรค์ใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งซีรีส์และภาพยนตร์

จากความสำเร็จของวัฒนธรรมเคป๊อปในไทยยาวมาถึงยุคของซีรีส์เกาหลีที่ถูกพูดถึงต่อเนื่องเสมอ นอกจากนี้ คนไทยยังมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 69.5% ดังนั้น จึงไม่แปลกที่จะเลือกไทยเป็น ประเทศแรก ในการเปิดตัว คาเคา เว็บตูน (Kakao Webtoon) (ส่วนเกาหลีใช้ชื่อว่า Kaokao Page) โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยหลังเปิดตัวในไทย 4 วัน สร้างรายได้กว่า 10 ล้านบาท ปัจจุบัน มียอดดาวน์โหลดกว่า 5 แสนครั้ง มียอดผู้ใช้งานรายวัน 1 แสนราย

Kaokao Page ในเกาหลี

คู่แข่งมาก แต่ไม่น่ากลัวเท่าอ่านเถื่อน

หากพูดถึงแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนในไทยถือว่ามีเยอะพอสมควร ที่น่าจะคุ้น ๆ ได้แก่ LINE WEBTOON, COMICO, WECOMICS TH, MANGA PLUS แต่ ดร.ยางวอน ฮยอน กรรมการผู้จัดการ Kakao Webtoon ประเทศไทย มองว่ามาช้ากว่าคู่แข่งจริงแต่ ไม่เป็นอุปสรรค เพราะก่อนเข้ามาทำตลาดอย่างจริงจัง บริษัทต้องมั่นใจในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะเรื่อง คอนเทนต์ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งเพื่อใช้ในการแข่งขันในตลาด โดยที่ผ่านมา บริษัทลงทุนเพื่อ acquire IPs หรือคอนเทนต์ที่มีคุณภาพเข้ามามากอยู่ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญและเป็นแม่เหล็กที่จะดึงดูดนักอ่านให้เข้ามาอ่าน KAKAO WEBTOON มากยิ่งขึ้น

สำหรับคอนเทนต์แปลไทยปัจจุบันมีกว่า 90 เรื่อง โดยมีเรื่องดัง ๆ อาทิ Solo Leveling, Overgeared, Tomb Raider King หรือที่นิยมอีกแนวคือโรแมนซ์แฟนตาซี เช่น มงกฎสีมรกต, ใจว่างเปล่าของดัชเซส, ปล่อยฉันจากพันธนาการ, เป็นตัวร้ายก็ต้องตายเท่านั้น และ ศิษย์ทั้งห้าของชาร์ล็อตต์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความยากและความท้าทายแรกของแพลตฟอร์ม คือการตั้งรับและรับมือกับ เว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะช่วงแรกที่เปิดตัวมีคอนเทนต์ 50 จาก 70 เรื่อง บนแพลตฟอร์มมีแปลไทยอยู่ในเว็บเถื่อน ดังนั้น ที่ผ่านมา คาเคา เว็บตูน ไทยแลนด์ มีแคมเปญที่ร่วมมือกับครีเอเตอร์ไทยชื่อว่า “เริ่มที่คุณ หยุดละเมิดลิขสิทธิ์” โดยแจ้งชัดเจนว่าแพลตฟอร์มคือเจ้าของเว็บตูนเกาหลีตัวจริง รวมถึงเปิดช่องทางให้ผู้อ่านช่วยแจ้งเบาะแสเว็บไซต์ที่ยังละเมิดลิขสิทธิ์ให้

“อาจดูย้อนแย้งแต่เราเห็นว่ามีเว็บเถื่อนเลยมาเปิดแพลตฟอร์ม เรามองว่าเขาอ่านเถื่อนเพราะไม่มีทางเลือก แต่เราเห็นว่าคนรุ่นใหม่สนับสนุนสิ่งที่ถูกต้องมากขึ้น ดังนั้น เขาจะเลือกเรา”

ดร.ยางวอน ฮยอน กรรมการผู้จัดการ Kakao Webtoon ประเทศไทย

ราคาดี มีฟรีให้อ่าน

Kakao Webtoon มีโมเดลการหารายได้ที่คล้ายกับหลาย ๆ แพลตฟอร์มคือการซื้อ แคช เริ่มต้นที่ 59 บาท ได้ 2,360 แคช สูงสุด 2,100 บาท ได้ 84,000 แคช โดยผู้ใช้สามารถนำแคชเพื่ออ่านการ์ตูนได้ โดยบริษัทมั่นใจว่าราคา ดีกว่าคู่แข่ง นอกจากนี้ยังมีระบบที่เรียกว่า Wait or Pay หรือ รออ่านฟรี โดยคอนเทนต์ทั้งหมดจะเปิดให้อ่านฟรี แต่จะมีกำหนดระยะเวลารอ 3-7 วัน ในขณะที่คอนเทนต์ราว 70% จากจำนวน 90 เรื่อง จะเปิดให้อ่านฟรีโดยมีระยะเวลาการรอเพียง 1-3 วัน

ปัจจุบัน สัดส่วนผู้ที่เสียเงินมีประมาณ 12-13% แม้จะดูเหมือนน้อยแต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่จะอยู่ประมาณ 5-7% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มไม่ได้มองว่ารายได้จากการจ่ายของผู้ใช้เป็นรายได้หลัก แต่ในระยะกลาง-ยาว จะเน้นการขายลิขสิทธิ์เพื่อไปพัฒนาเป็นคอนเทนต์ประเภทต่าง ๆ อาทิ ซีรีส์, ภาพยนตร์ ดังนั้น มีโอกาสที่จะเห็นการ์ตูนเกาหลีถูกทำเป็นละครไทยได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม Kakao Webtoon จะมีความแตกต่างจากแอปอ่าน Webtoon อื่น ๆ คือ จะไม่ได้มีการเปิดรับคอนเทนต์การ์ตูนจากนักเขียนรายย่อย แต่จะเน้นไปที่การทำสัญญากับสตูดิโอ หรือนักเขียนที่มีชื่อเสียงแทน อย่างในประเทศไทยจะมีการจับมือกับ รอมแพง ผู้เขียนนวนิยาย บุพเพสันนิวาส โดยจะนำไปสร้างเป็นการ์ตูน Webtoon โดยทีมงานที่ประเทศเกาหลี

คนไทยติด ‘มังงะ’ มากกว่า แต่ ‘มันฮวา’ ยังมีโอกาสโต

ต้องยอมรับว่ากลุ่มผู้อ่านไทยยังมีทัศนคติกับคอนเทนต์เกาหลีในแง่ลบ ส่วนใหญ่คู่แข่งจะเห็นว่าการ์ตูนเกาหลีเป็นการ์ตูนผู้หญิงเยอะ ซึ่งในแง่จำนวนต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ผู้หญิงมีมากกว่าการ์ตูนผู้ชาย อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นว่ากลุ่มที่ชื่นชอบมังงะญี่ปุ่นก็เริ่มเปิดใจอ่าน ปัจจุบัน กลุ่มผู้ใช้คาเคา เว็บตูน 60% เป็นผู้หญิง กลุ่มอายุ 18-34 ปี มากที่สุด รองลงมาอายุ 13-17 ปี

ตลาดการ์ตูนประเทศไทยทั้งแบบรูปเล่มและดิจิทัลซึ่งรวมถึงการ์ตูนนิทานสำหรับเด็กคาดว่ามีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านบาท โดยมั่นใจว่ายังเติบโตได้อีก เนื่องจากตลาดการ์ตูนของเกาหลีมีอายุกว่า 20 ปี ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งตอนนี้หนังสือแบบเล่มอยู่ในขาลง แต่ในรูปแบบดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างมาก ดังนั้น การ์ตูนจากนี้จะทรานส์ฟอร์มเป็นดิจิทัลมากขึ้น ยิ่งคนใช้มือถือมากก็ยิ่งมีคนอ่านเยอะขึ้น ส่วนแบบรูปเล่มจะอยู่ในกลุ่มนักสะสมแทน

“เรามองว่าการ์ตูนจะเปลี่ยนรูปแบบไป ขนาดญี่ปุ่นแม้จะมีความอนุรักษ์นิยมแต่ปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มอ่านออนไลน์ และเราเชื่อว่าอนาคต มันฮวาของเกาหลีจะสามารถสู้กับมังงะของญี่ปุ่นได้”

itawwon class มันฮวาที่ถูกนำไปทำเป็นซีรีส์

ตั้งเป้า 3 ล้านดาวน์โหลดในสิ้นปี

แม้ว่าคนไทยจะชื่นชอบซีรีส์เกาหลี และที่ผ่านมากระแสซีรีส์ที่สร้างจากมันฮวาจะมาแรง แต่ปัจจุบันยังไม่เห็นผลอะไรมาก เนื่องจาก KAKAO WEBTOON เพิ่งเปิดตัวในเมืองไทย ซึ่งผู้ชมซีรีส์ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ได้รู้จักแพลตฟอร์มดีนัก แต่ในเกาหลีถือว่าได้รับผลตอบรับดีมาก ๆ โดยผู้ที่ไม่เคยอ่านการ์ตูนมาก่อนก็เริ่มมาอ่านเนื่องจากดูซีรีส์

“เราเชื่อว่าแนวโน้มในไทยจะเหมือนเกาหลีที่สุดท้ายก็จะหาออริจินัลสตอรี่เรื่องนั้นมาอ่านต่อ สำหรับที่ไทยในช่วงต้นปีหน้าจะมีซีรีส์ Office Blind date (นัดบอดวุ่น ลุ้นรักท่านประธาน) เราคาดหวังว่า เราจะได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดีไปด้วยแน่นอน”

ทางแพลตฟอร์มจะปล่อยเรื่องใหม่ให้อ่านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 เรื่อง และตั้งเป้าว่าจะปล่อยพรีเมียมเค-เว็บตูน ที่ได้รับความนิยมสูงสุด และประสบความสำเร็จในหลาย ๆ ประเทศเป็นจำนวนอย่างน้อย 150 เรื่องภายในปีนี้ สำหรับเป้าหมายในปีนี้ตั้งเป้าหมายการดาวน์โหลดไว้ที่ 3 ล้านครั้ง และยอดผู้ใช้งานแอปต่อเดือน จำนวน 1 ล้านคน รวมถึงต้องการเป็นแอปที่มียอดขายอันดับ 1 ในประเทศไทย ในหมวดการ์ตูน และเอนเตอร์เทนเมนต์

]]>
1349092
มิติใหม่! “เกาะขายหัวเราะ” จ.ตราด โมเดลโปรโมตที่เที่ยวคู่ “การ์ตูน” แบบญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1348521 Thu, 26 Aug 2021 14:56:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348521 ททท. ผนึก “ขายหัวเราะ” ฟื้นฟูท่องเที่ยวมิติใหม่โดยใช้การ์ตูน พร้อมเปิดเกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อย่างเป็นทางการ หลังมีเกาะที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับเกาะขายหัวเราะในการ์ตูน หวังใช้เป็นแลนด์มาร์กกระตุ้นการท่องเที่ยวในอนาคต

เกาะขายหัวเราะมีอยู่จริง!

ใครที่เป็นแฟนของหนังสือการ์ตูนในตำนานอย่าง “ขายหัวเราะ” ต้องคุ้นเคยกับ “แก๊กติดเกาะ” ที่จะได้เห็นขึ้นปกอยู่เป็นประจำ จนเรียกกันติดปากว่า “เกาะขายหัวเราะ” แก๊กติดเกาะนี้ได้มีมาช้านานหลายปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังได้เห็นแก๊กนี้อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแก๊กขึ้นหิ้งไปแล้ว

Photo : Facebook เกาะกระดาดอันซีนไทยแลนด์ทะเลตราด

แต่ใครจะรู้ว่า เกาะขายหัวเราะนี้ดันมีอยู่จริงในประเทศไทย! ก่อนหน้านี้ได้มีแฟนการ์ตูน และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดตราดได้พบกับเกาะแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะนกนอก เชื่อมมาจากเกาะนกใน และเกาะกระดาด เกาะนี้จะมีจังหวะที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาในช่วงน้ำลด ซึ่งทำให้เห็นพื้นที่เกาะเล็กน้อย และมีต้นตะบันขึ้นอยู่เพียงโดดๆ เพียงต้นเดียว ทำให้มีลักษณะเหมือนแก๊กติดเกาะของการ์ตูนขายหัวเราะ นักท่องเที่ยวพากันเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะขายหัวเราะ”

ผนึกททท.สร้างแลนด์มาร์ก จ.ตราด

เมื่อเกาะขายหัวเราะกลายเป็นแลนด์มาร์กที่นักท่องเที่ยวหลายๆ คนอยากสัมผัสด้วยตนเอง ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด จึงไม่รอช้า รีบผนึกกับขายหัวเราะ หวังเป็นไอเดียในการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้

อิษฎา เสาวรส ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด กล่าวถึงที่มาของการร่วมมือกันกับขายหัวเราะในครั้งนี้ว่า เกิดจากความเข้ากันพอดีของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตราด กับภาพจำของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ทำให้เกาะมีลักษณะเหมือนแก๊กติดเกาะของการ์ตูนขายหัวเราะ จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดตราดในที่สุด

ทางททท.สำนักงานตราด จึงเชิญขายหัวเราะมาร่วมส่งเสริมโปรโมตเกาะแห่งนี้ในนาม “เกาะขายหัวเราะ” อย่างเป็นทางการโดยมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกันตั้งรับ ฟื้นฟู และส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์โรค COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งหลายภาคส่วนทั้งการท่องเที่ยวระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นต้องการการส่งเสริมสนับสนุนอย่างมาก

ใช้การ์ตูนสื่อสาร ความสำเร็จจากญี่ปุ่น

การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวร่วมกับหนังสือการตูนขายหัวเราะที่มีผู้อ่านทุกช่วงอายุ ทุกกลุ่มอาชีพ ในครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ที่นำภาพของการ์ตูนมาคู่กับแหล่งท่องเที่ยว คาดว่าจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งช่วยสร้างบุคลิก และบรรยากาศให้การท่องเที่ยวเต็มไปด้วยความสนุกสนาน อารมณ์ดี และมีความสุขเมื่อได้มาเยือน

รวมถึงเป็นการตอกย้ำว่าเกาะขายหัวเราะนั้นมีอยู่จริงที่จังหวัดตราด ถือเป็นการเชื่อมโลกแห่งความจริงเข้ากับโลกของการ์ตูนที่คนไทยคุ้นเคยกันมายาวนาน ซึ่งนอกจากเกาะขายหัวเราะแล้ว เชื่อว่ายังสามารถช่วยกระจายนักท่องเที่ยวไปตามเกาะอื่นๆ อาทิ เกาะหมาก เกาะกระดาด เชื่อมโยงให้เกิดเส้นทางสร้างรายได้ลงสู่พื้นที่นั้นอย่างทั่วถึง 

ทางด้าน พิมพ์พิชา อุตสาหจิต กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทเครือบันลือกรุ๊บอกว่า การ์ตูนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ทั้งในโลกจริง และโลกเสมือน การผูกเรื่องราว และภาพลักษณ์ของคาแร็กเตอร์กับการท่องเที่ยวในมิติต่างๆ สามารถทำได้อย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อนักท่องเที่ยวทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่ม การเล่าด้วยการ์ตูนก็ทำได้อย่างไม่ยัดเยียด ประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับคาแร็กเตอร์ เรื่องเล่าวัยเยาว์ ล้วนทำให้เกิดมิตรภาพ และความประทับใจ ซึ่งพิสูจน์มาแล้วจากแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำทั่วโลกว่า การ์ตูนและคาแร็กเตอร์ทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีและเข้าถึงกับผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย

ต้องบอกว่า “ประเทศญี่ปุ่น” เป็นต้นแบบแห่งการใช้การ์ตูน และคาแร็กเตอร์มาโปรโมตสารพัดสิ่ง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็ยังมีการต่อยอดรูปแบบใหม่ๆ ออกไปอยู่เรื่อยๆ

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือมาสคอต “คุมะมง” เจ้าหมีสีดำ กลายเป็นมาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เปรียบเสมือนทูต ตัวโปรโมตประจำจังหวัด ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และทำให้คนทั่วโลกรู้จักจังหวัดนี้อย่างดี

สำหรับประเทศไทยนั้น ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทยในการใช้พลังการ์ตูน และ soft power มาสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และแปลกใหม่ เรียกได้ว่าแคมเปญเกาะขายหัวเราะ เป็นก้าวแรกที่สำคัญทั้งกับขายหัวเราะและโอกาสใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ซึ่งในอนาคต อาจจะมีรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคาแร็กเตอร์ใหม่ๆ รูปแบบ storytelling ที่ต่างไปจากเดิม หรือการทำแคมเปญ ที่ไม่จำกัดรูปแบบ ซึ่งน่าจะเหมาะกับเทรนด์การท่องเที่ยวในอนาคต ที่นักท่องเที่ยวต้องการมีประสบการณ์ร่วมกับเรื่องราวท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ และเชิงลึกมากขึ้นด้วย

ขายหัวเราะเข้าใจจริตคนไทย

พิมพ์พิชา อุตสาหจิต บอกว่า ขายหัวเราะในฐานะ ‘สำนักการ์ตูนไทย’ นั้นมี DNA จุดเด่นเฉพาะตัว คือ ความถนัดในการใช้สื่อการ์ตูนเล่าเรื่องได้ทุกเรื่อง และความเข้าใจ insight รสนิยมความบันเทิงสนุกสนานและ culture แบบไทยๆ อยู่แล้ว ซึ่งน่าจะนำมาต่อยอดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อีกหลากหลายแนวทาง

ซึ่งขายหัวเราะต้องการใช้ความถนัดของเราในด้านการ์ตูน คาแร็กเตอร์ อารมณ์ขัน และ storytelling มาเป็นสื่อ และสร้างกิมมิกในการพัฒนา Content และออกแบบ Content Marketing รูปแบบแคมเปญที่สนับสนุนต่อยอดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างการรับรู้ ว่าเกาะขายหัวเราะที่ทุกคนคุ้นเคยจากแก๊กการ์ตูน และปกขายหัวเราะนั้นมีอยู่จริงๆ เป็นการเชื่อมโยงจินตนาการและความสนุกด้วยประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร

]]>
1348521
สาวกการ์ตูนเตรียมตัว! ‘Netflix’ วางแผนเปิดตัวอนิเมะ 40 เรื่องในปี 2021 https://positioningmag.com/1325604 Tue, 30 Mar 2021 00:45:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325604 การแข่งขันในตลาดสตรีมมิ่งดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการมาของ ‘Disney +’ น้องใหม่ที่มีผู้ใช้ครบ ‘100 ล้านคน’ ภายใน 16 เดือน! และคาดว่าภายใน 3 ปีจะแย่งตำแหน่งเบอร์ 1 ของ ‘Netflix’ แน่นอนว่า Netflix คงไม่อยู่เฉย ปีนี้เลยเตรียมเปิดตัวอนิเมะใหม่ถึง 40 เรื่องในปี 2021 เพื่อเดินหน้าโกยผู้ใช้

นักวิเคราะห์คาด ‘Disney +’ แซง Netflix ขึ้น ‘เบอร์ 1’ สตรีมมิ่งโลกใน 3 ปี

‘Netflix’ ประกาศในงาน Anime Japan 2021 Expo ของโตเกียวว่า จะเปิดตัวอนิเมะใหม่ 40 เรื่องในปี 2021 โดยซีรีส์ใหม่ที่จะออกในปีนี้ เช่น Record of Ragnarok หรือ มหาศึกคนชนเทพ ซึ่งมีกำหนดฉายในเดือนมิถุนายน Yasuke อนิเมะที่เกี่ยวกับซามูไรชาวแอฟริกันในญี่ปุ่นยุคศักดินาซึ่งจะฉายในวันที่ 29 เมษายน และ Resident Evil: Infinite Darkness ที่มาจากแฟรนไชส์วิดีโอเกม Resident Evil

ก่อนหน้านี้ Netflix ได้ประกาศซีรีส์อนิเมะเรื่อง The Way of the Househusband ซึ่งสร้างจากซีรีส์มังงะของญี่ปุ่น โดยจะเปิดตัวในวันที่ 8 เมษายน ทั้งนี้ จำนวนอนิเมะที่เข้าฉายใน Netflix ในปีนี้นั้นมากกว่าจำนวนอนิเมะทั้งซีรีส์และภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี 2020 เกือบสองเท่า

“เราอยากภูมิใจในตัวเองที่เป็นแหล่งบันเทิงชั้นนำที่มีเนื้อหาคุณภาพดี การเติบโตของธุรกิจของเราเชื่อมโยงโดยตรงกับการเติบโตของอนิเมะของเรา” ไทกิ ซากุราอิ หัวหน้าผู้ผลิตอนิเมะของ Netflix กล่าว

Record of Ragnarok หรือชื่อไทย มหาศึกคนชนเทพ (ภาพจาก Twitter)

‘Netflix’ อัดงบเพิ่ม 2 เท่าโหมสร้าง ‘ออริจินอลคอนเทนต์’ ลุยตลาดเอเชีย

ตลาดอนิเมะทั่วโลกมีมูลค่าถึง 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว และคาดว่าจะเติบโตมากกว่า 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์ภายในปี 2568 ตามรายงานของ Bloomberg ที่ผ่านมา Sony ประกาศในเดือนธันวาคมว่ามีแผนที่จะซื้อเว็บไซต์วิดีโออนิเมะ Crunchyroll ในราคาเกือบ 1.2 พันล้านดอลลาร์ (แม้ว่าการขายจะล่าช้าออกไปเนื่องจากการสอบสวนการต่อต้านการผูกขาดโดยกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ) ตามรายงานของ New York Times

Source

]]>
1325604
ผ่าแคมเปญระดมทุน “คีอานู รีฟส์” เขียนการ์ตูน BRZRKR เงินสะพัด 20 ล้านบาทใน 1 สัปดาห์ https://positioningmag.com/1295913 Wed, 09 Sep 2020 08:13:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295913 คีอานู รีฟส์ เป็นนักแสดงหนุ่มเนื้อหอมที่ขึ้นชื่อเรื่องความใจกว้าง ไม่สนใจเงินทอง ไม่มีบอดี้การ์ด และมักไปไหนมาไหนคนเดียว ล่าสุดหนุ่มรีฟส์จุดประกายความสนใจครั้งใหม่ด้วยการหันมาเป็นผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง BRZRKR โดยร่วมกับทีมครีเอเตอร์มืออาชีพในวงการกราฟิกและงานออกแบบคาแร็กเตอร์ฝีมือพระกาฬ ถ่ายทอดเรื่องราวของ Berserker นักรบอมตะผู้มีชีวิตอยู่นานหลายหมื่นปี ซึ่งพยายามไขความจริงเกี่ยวกับโชคชะตาโชกเลือดไม่รู้จบ และวิธีที่จะยุติทุกสิ่งทุกอย่าง

ความฮอตของการ์ตูนเรื่องนี้คือการระดมทุนบน Kickstarter ในนาม BOOM! Studios แคมเปญนี้สามารถทำยอดระดมทุนทะลุเป้าที่วางไว้ 50,000 เหรียญในเวลาไม่กี่ชั่วโมง และทะยานเกิน 673,033 เหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 21 ล้านบาทในเวลาไม่ถึง 1 สัปดาห์ โดยคอมิค BRZRKR กำหนดแพ็กเกจเล็กที่สุดบน Kickstarter ไว้ที่ 50 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,500 บาท ซึ่งผู้ร่วมสนับสนุนจะได้รับหนังสือการ์ตูนแบบรวมจำนวน 3 เล่ม ขณะที่แพ็กเกจแพงสุดคือ 2,500 เหรียญ (ราว 78,000 บาท) โดย backer จะได้สิทธิ์ปรากฏเป็นตัวประกอบในเล่มด้วย

ปรากฏการณ์นี้สะท้อนมิติใหม่ของการทำแคมเปญการตลาด ทั้งในแง่ของการเจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ และการใช้แพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อทำการตลาดซีรีส์ อย่างไรก็ตาม แคมเปญ Kickstarter สำหรับ BRZRKR ของคีอานู รีฟส์ถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนในวงการหนังสือการ์ตูน บางส่วนเชื่อว่าการใช้แพลตฟอร์มคราวด์ฟันดิ้งเป็นอันตรายต่ออุตสาหกรรม แถมยังเป็นการสบประมาทครีเอเตอร์ด้วย

จริงไหมแค่โปรโมต?

ความกังวลในแคมเปญ Kickstarter สำหรับ BRZRKR คือ BOOM! Studios และคีอานู รีฟส์อาจไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อทำการตลาดซีรีส์เท่านั้น แต่อาจเป็นการใช้แพลตฟอร์ม Kickstarter อย่างผิดจุดประสงค์ เนื่องจาก BOOM! Studios ไม่ใช่บริษัทที่จำเป็นต้องคราวด์ฟันดิ้งเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้ แถมโปรเจกต์ BRZRKR ยังเป็นโครงการที่รู้กันดีว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จสูงอยู่แล้ว

จุดนี้มีนักวาดการ์ตูนบางรายออกมาแฉ BOOM! Studios ว่าเป็นสตูดิโอที่จ่ายค่าตอบแทนศิลปินในราคา 20 เหรียญสหรัฐต่อหน้า แม้จะเป็นสตูดิโอใหญ่ที่มีสัญญาเงินหนากับค่ายใหญ่อย่าง Netflix และ Universal ก็ตาม

นักวาดการ์ตูนจึงพยายามโจมตีว่า BOOM! Studios พยายามใช้ประโยชน์จากความแมสของคีอานู รีฟส์ที่ทำให้คนทั่วโลกชื่นชอบในคาแร็กเตอร์นักรบสุดอึดอย่าง John Wick มาแล้ว ยังมีความคาดหวังจากแฟนคลับที่ติดตาม The Matrix 4 และมีกำหนดฉายในวันที่ 1 เมษายน 2022 ทั้งหมดมีความเป็นได้สูงที่แฟนคลับ John Wick จะข้ามห้วยมาปลื้ม BRZRKR เป็นรายต่อไป

สำหรับ BRZRKR คำอธิบายระบุว่าเป็นหนังสือการ์ตูนและซีรีส์นิยายภาพเรื่องแรกจากคีอานู รีฟส์ เนื้อหาหลักเน้นความรุนแรงสุดโหดจากการต่อสู้ของนักรบอมตะคนหนึ่งในยุคต่างๆ นักรบผู้นี้คือชายที่รู้จักกันในนาม “Berserker” ลูกครึ่งมนุษย์ครึ่งเทพที่ถูกสาปแช่งและถูกบังคับให้ใช้ความรุนแรง และต้องพบกับความสูญเสียอยู่ตลอดเวลา แต่หลังจากเดินทางไปทั่วโลกมาหลายศตวรรษ ในที่สุด Berzerker ก็ตัดสินใจทำงานให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อต่อสู้ในภารกิจพิเศษที่อันตรายเกินไปสำหรับคนอื่น เพื่อแลกกับสิ่งที่ปรารถนามาตลอด นั่นคือความจริงว่าชะตาโชกเลือดไม่รู้จบของเขาจะจบลงอย่างไร?

ความเย้ายวนของ BRZRKR จากคีอานู รีฟส์ คือทีมผู้ผลิตอย่างนักเขียน Matt Kindt ผู้สร้าง Ninjak ในปี 2015 และ XO Manowar ปี 2017 ยังมีศิลปิน Ron Garney ดีกรี The Amazing Spider-Man และ Uncanny X-Force) ร่วมกับ Bill Crabtree จาก BRPD และ Clem Robins จาก Y: The Last Man เรียกว่าทุกชื่อการันตีความมืออาชีพของการ์ตูนที่จะแจ้งเกิด

แคมเปญ Kickstarter สำหรับ BRZRKR ระบุว่า Boom! มีแผนจะปล่อยการ์ตูน BRZRKR ทั้งหมด 12 ตอน รวมไว้ใน 3 เล่มจบ ซึ่งเงินทุนที่ระดมได้จะเตรียมไว้สำหรับการพิมพ์เล่มการ์ตูนที่มีทุนสูง กำหนดการคลอดเล่มแรกคือกันยายน 2021 เล่มถัดมาคือเมษายน 2022 และเล่ม 3 คือกันยายน 2022

คลิกเดียวขายได้ 2 ปี

ไม่ว่าแคมเปญ Kickstarter สำหรับ BRZRKR จะถูกใครมองอย่างไร แต่จากการให้สัมภาษณ์กับ Comicbook.com ซีอีโอผู้ก่อตั้ง BOOM! Studios อย่างรอส ริชชี (Ross Richie) อ้างว่าประเด็นของแคมเปญบน Kickstarter ไม่ใช่การระดมทุน แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากผู้อ่านในแบบที่ช่องทางอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะการคลิกครั้งเดียวแต่สามารถซื้อการ์ตูนได้ทั้ง 3 เล่ม ทำให้สตูดิโอส์ไม่ต้องลุ้นกันว่าผู้อ่านจะคลิกซื้อเล่มต่อไปหรือไม่

แม้ว่าสตูดิโอส์ผู้จัดพิมพ์จะได้รับเงินมหาศาลนั้นมาก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่า Kickstarter เป็นแพลตฟอร์มสากลที่แทบไม่ต้องมีการสอนวิธีใช้งาน และการคลิกเพียงครั้งเดียวเพื่อซื้อสินค้า 3 ชิ้นที่ผู้ซื้อต้องรอเวลาไปอีก 2 ปีถือเป็นการเริ่มต้นของการเผยแพร่เรื่องราวที่สมบูรณ์ ให้ซีรีส์ที่ชาญฉลาดดี

แคมเปญ Kickstarter ไม่เพียงทำให้ BRZRKR มีแรงอัดฉีดจากสื่อออนไลน์ เพราะหลายสำนักหยิบมารายงานข่าว แต่ยังมีกระแสมีม “Sad Keanu” ที่หนุ่มรีฟส์ปิ๊งไอเดียจะนำมีมนี้มาไว้ใน BRZRKR ด้วย

มีม Sad Keanu มาจากภาพที่ชาวเน็ตล้อเลียนเอกลักษณ์ของคีอานู รีฟส์ มีมนี้เริ่มต้นในปี 2010 หลังจากมีคนโพสต์รูปของนักแสดงหนุ่มที่ดูเหนื่อยและหงอยเหงาชวนสังเวชใจบนม้านั่งในนิวยอร์ก ขณะกินแซนด์วิช เมื่อนำมาผสมกับความเป็น Berserker นักรบสุดคลั่งใน BRZRKR เชื่อว่าจะเป็นอีกเกมที่ทำให้การ์ตูน BRZRKR ของคีอานู รีฟส์มีชีวิตชีวากว่าการ์ตูนเล่มเรื่องใดในรอบหลายสิบปี.


ที่มา :

]]>
1295913
ร้องว้าวหนักมาก Netflix จะฉายแอนิเมชัน 21 เรื่องของสตูดิโอ Ghibli ให้ชมทั่วโลก 1 ก.พ.นี้ https://positioningmag.com/1261320 Mon, 20 Jan 2020 10:20:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261320 หลังสร้างความประทับใจเป็นตำนานเเห่งวงการภาพยนตร์แอนิเมชันมายาวนานกว่า 35 ปี ล่าสุด “สตูดิโอจิบลิ” (Studio Ghibli) กำลังจะเข้าสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งให้เเฟนๆ ได้รับชมผ่านทางออนไลน์ได้เป็นครั้งแรกบน Netflix ซึ่งจะเริ่มฉายชุดเเรก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2020 นี้

นับเป็นโอกาสอันดีที่ผลงานของสตูดิโอจิบลิจะเข้าถึงคนทั่วโลก เเม้ก่อนหน้านี้ HBO Max คู่เเข่งของ Netflix จะได้ดีลนี้ไปเช่นกัน เเต่ยังจำกัดการให้บริการไม่กี่ประเทศเเละจะให้บริการในฤดูใบไม้ผลิปีนี้ ขณะที่ Netflix จะฉายทั่วโลก มีซับไตเติล 28 ภาษา และพากย์ 20 ภาษา

สำหรับผลงานของสตูดิโอจิบลิที่จะนำมาฉายใน Netflix มีทั้งหมด 21 เรื่อง ตลอดระยะเวลา 35 ปี ตั้งแต่เรื่องแรกอย่าง Nausicaä of the Valley of the Wind ปี 1984 จนถึงผลงานล่าสุด When Marnie Was There ปี 2014

อย่างไรก็ตาม ขาดไป 1 เรื่องเท่านั้นคือ Grave of the Fireflies สุสานหิ่งห้อย กำกับโดย อิซาโอะ ทาคาฮาตะ ซึ่งเป็นผลงานคลาสสิกครองใจใครหลายคน

Photo : My Neighbor Totoro – Ghibli/Netflix

“นี่เป็นเหมือนฝันที่กลายเป็นจริงสำหรับ Netflix เเละสมาชิกหลายล้านคนของเรา ภาพยนตร์แอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ เป็นตำนานและมีแฟนๆ ทั่วโลก เรารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะทำให้พวกเขาสามารถดูได้ในหลายภาษา ทั้งในละตินอเมริกา ยุโรป แอฟริกาและเอเชีย เพื่อให้ผู้คนเพลิดเพลินไปกับความมหัศจรรย์แห่งโลกแห่งแอนิเมชัน” Aram Yacoubian ผู้อำนวยการฝ่ายแอนิเมชันของ Netflix กล่าว

ด้าน Toshio Suzuki โปรดิวเซอร์ ผู้ร่วมก่อตั้งสตูดิโอจิบลิ ให้เหตุผลในการนำผลงานมาฉายบน Netflix ว่า ในยุคนี้ผู้ชมสามารถเข้าถึงภาพยนตร์ได้จากหลายช่องทาง เราทราบถึงเสียงเรียกร้องจากเเฟนๆ จำนวนมาก จึงได้ตัดสินใจเปิดสตรีมผลงานของเรา เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ผู้ชมทั่วโลกได้มีโอกาสค้นพบโลกมหัศจรรย์ของสตูดิโอจิบลิ

สำหรับรายชื่อและช่วงเวลาฉายทั้ง 21 เรื่อง ได้แก่

1 กุมภาพันธ์ : Castle in the Sky (1986), My Neighbor Totoro (1988), Kiki’s Delivery Service (1989), Only Yesterday (1991), Porco Rosso (1992), Ocean Waves (1993), Tales from Earthsea (2006)

1 มีนาคม : Nausicaä of the Valley of the Wind (1984), Princess Mononoke (1997), My Neighbors the Yamadas (1999), Spirited Away (2001), The Cat Returns (2002), Arrietty (2010), The Tale of The Princess Kaguya (2013)

1 เมษายน : Pom Poko (1994), Whisper of the Heart (1995), Howl’s Moving Castle (2004), Ponyo on the Cliff by the Sea (2008), From Up on Poppy Hill (2011), The Wind Rises (2013), When Marnie Was There (2014)

 

ที่มา : hollywoodreporter

]]>
1261320
Disney สู่ยุคคอนเทนต์เปิดกว้าง ตอบคำถามทำไมการ์ตูนใหม่ “Amphibia” ต้องมีนางเอกคนไทย? https://positioningmag.com/1234863 Sun, 16 Jun 2019 23:05:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234863 เพราะเวลานี้คือยุคที่คนทำคอนเทนต์ต้องเปิดกว้างที่สุดในประวัติศาสตร์ เห็นได้ชัดจากยักษ์ใหญ่ Marvel เลือกเด็กหนุ่มเกาหลีเป็นฮัลค์คนใหม่ในฉบับหนังสือการ์ตูนเมื่อปี 2015 แม้แต่ไอรอนแมนคนใหม่ยังถูกเปิดตัวเป็นผู้หญิงผิวสี รวมถึงมิส อเมริกาหรือ อเมริกา ชาเวซ ฮีโร่ซึ่งถูกกำหนดว่าเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ) เชื้อสายละตินอเมริกัน ผู้ที่ตอกย้ำเทรนด์นี้รายล่าสุดคือ Disney ที่เปิดกว้างในการ์ตูนเรื่องล่าสุด Amphibia ด้วยการกำหนดให้ตัวเอกเป็นวัยรุ่นไทยอเมริกันชื่อแอนน์ บุญช่วยแน่นอนว่าน้องบุญช่วยถูกมองเป็นตัวช่วยให้ Disney เข้าถึงผู้ชมกลุ่มใหม่ได้ดีกว่าเดิม

โปรดิวเซอร์ผู้สร้าง Amphibia เพื่อฉายบนช่องดิสนีย์ Disney Channel คือ Matt Braly โดยมี Brenda Song นักแสดงชาวอเมริกันรับหน้าที่เป็นผู้พากย์เสียงให้การ์ตูนใหม่เรื่องนี้ ทั้งคู่เป็นลูกครึ่งไทย และยืนยันว่าจุดยืนของการ์ตูน Amphibia คือแหล่งรวมตัวละครที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่กลับฉายเรื่องราวที่เป็นสากลสุดยิ่งใหญ่ซึ่งทุกคนสามารถมีอารมณ์ร่วมและเพลิดเพลินได้

ภาพ : https://www.latimes.com

เนื้อหาของการ์ตูนแอนิเมชั่นชุด Amphibia เล่าถึงแอนน์ บุญช่วย (Anne Boonchuy) วัยรุ่นชาวอเมริกันเชื้อสายไทยที่พบว่าตัวเองถูกส่งตัวไปยังดินแดนลึกลับที่มีประชากรเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ โชคชะตาพาแอนน์ให้ผูกมิตรเป็นเพื่อนกับครอบครัวกบ หนึ่งในกลที่คลุกคลีกับแอนน์มากที่สุดชื่อ Sprig เรื่องราวนี้มีกำหนดฉายรอบปฐมทัศน์ในช่อง Disney Channel ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้

ความเป็นไทยดูน่ารัก?

Song นักแสดงวัย 31 ปีบอกเล่าว่า Amphibia ไม่เหมือนรายการทีวีหรือภาพยนตร์ประเภทไลฟ์แอ็กชั่นแบบที่เธอเคยรู้จัก เพราะหลังจากได้เห็นการเรนเดอร์ตัวละครแอนน์และได้อ่านบทบาทของสาวบุญช่วย เธอก็ตกหลุมรักกับตัวละครนี้ทันที 

รูปลักษณ์ของแอนน์ใน Amphibia ที่โดนใจนักแสดงอย่าง Song คือการมีใบไม้ติดที่ผม แถมยังรองเท้าหายไป 1 ข้าง ขณะเดียวกันก็มองเรื่องรอบตัวในแบบวัยรุ่นสุดเฟี้ยว เรื่องนี้ Song ใช้คำว่าOh, my god, I kind of love her” ซึ่งอาจแปลได้ว่าสาวบุญช่วยมีความตลกอารมณ์ดีเหมือนกับบทบาทที่ Song เคยแสดงในซิทคอมของค่ายอย่าง “The Suite Life of Zack & Cody” มาก่อน

ภาพ : nbcnews.com

Song ซึ่งมีเชื้อสายไทยและม้ง ยอมรับว่า Amphibia เป็นโอกาสที่เธอจะได้นำเสนอวัฒนธรรมไทยผ่านบทบาทสำคัญอย่างสาวบุญช่วย เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสร้าง Matt Braly ที่บอกว่าตัวเขามีเป้าหมายใหญ่เรื่องการสร้างตัวละครไทยขึ้นมาก ซึ่งทันทีที่เริ่มโปรเจกต์ Amphibia ตัวเขาก็แน่ใจเลยว่าแอนน์ต้องเป็นคนไทย

คำว่า Amphibia นั้นแปลตรงตัวว่าครึ่งบกครึ่งน้ำโลกแห่งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เขียวชอุ่มนั้นได้รับแรงบันดาลใจจากฤดูร้อนในวัยเด็กของ Braly ที่มีโอกาสเดินทางมากรุงเทพฯ Braly เล่าย้อนว่ายังจำได้ดีถึงก้าวแรกที่ลงจากเครื่องบินมาพบกับสภาพอากาศร้อนชื้น ซึ่งตรงกันข้ามกับบ้านเกิดของเขาคือเมืองแซคราเมนโต รัฐแคลิฟอร์เนีย รวมถึงการได้ยินเสียงลูกพี่ลูกน้องพูดภาษาไทยได้คล่องแคล่วกว่าที่เคย ความรู้สึกอึดอัดและปรับตัวได้ช้าเกิดขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นความประทับใจซึ่งจะถูกถ่ายทอดมาในการ์ตูนเรื่องนี้

ตอนแรกประเดิมด้วยผัดไท

รูปลักษณ์ที่เก๋ไก๋ของแอนน์ล้วนอิงกับภาพคุณยายที่ Braly เห็นในวัยเด็ก ทั้งผมที่ไม่ได้หวีซึ่งมีกิ่งไม้และใบติดอยู่ นอกจากนี้ การ์ตูน Amphibia ยังพร้อมโชว์ความเป็นไทยด้วยการจัดการ์ตูนตอนแรกชื่อ “Lily Pad Thai” เนื้อหามีทั้งการเปิดร้านอาหารที่แอนน์ทักทายลูกค้าด้วยการไหว้ พร้อมกล่าวสวัสดีค่ะทั้งหมดนี้ Song มองว่า Amphibia กำลังแนะนำให้ผู้ชมได้รู้จักกับวัฒนธรรมที่เฉพาะเจาะจงมาก

เพื่อให้แน่ใจว่าการออกเสียงคำภาษาไทยของ Song นั้นใกล้เคียงของจริงมากที่สุด Song และ Braly จึงขอความช่วยเหลือจากคุณแม่ของ Braly สะท้อนว่าความเป็นไทยในการ์ตูนเรื่องนี้ผ่านการกรองเบื้องต้นจากมุมมองคนไทยในสหรัฐอเมริกามาแล้วในระดับหนึ่งเท่านั้น

หากไม่นับดราม่าที่คนไทยตั้งคำถามว่าทำไมสาวบุญช่วยต้องผิวสีแทน ต้องถือว่ามุมมองของ Braly นั้นน่าสนใจมาก เพราะเขาสร้าง Amphibia ขึ้นโดยมองว่าวันนี้หลายคนรู้แล้วว่าความเฉพาะทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมาก ไม่ใช่แค่ในมุมมองของทูตวัฒนธรรมแบบในอดึตอีกต่อไป 

สิ่งที่ต้องจับตามองสำหรับ Amphibia คือการได้รับเลือกให้สร้างซีซัน 2 หรือฤดูกาลที่ 2 ก่อนที่การ์ตูนจะเปิดฉาย ซึ่งไม่เพียง Amphibia แต่ยังมีภาพยนตร์เช่น Spider-Man: Into the Spider-Verse เจ้าของรางวัลออสการ์ปี 2018 ที่มีตัวหลักเป็น Miles Morales วัยรุ่นเชื้อสายแอฟริกันอเมริกันและเปอร์โตริโก ตัวละครเหล่านี้ล้านมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่ง Braly มองว่าเป็นเรื่องสากลที่ยิ่งใหญ่หรือ great universal story ที่ทุกคนสามารถร่วมสนุกและเพลิดเพลินได้ทุกเพศทุกวัย.

ที่มา

]]>
1234863
LINE TV จะเข้าหา “ผู้ชาย” ต้องใช้ “การ์ตูน” https://positioningmag.com/1208608 Wed, 16 Jan 2019 12:27:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208608 ไลน์ทีวี” แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์อายุ 4 ปีของไลน์ วางแผนปี 2019 อยากเจาะเข้าหากลุ่ม “ผู้ชายมาก” ยิ่งขึ้น หลังจากที่ผ่านมามีฐานกลุ่มใหญ่เป็นผู้หญิง ที่ได้มาจากการอัดคอนเทนต์กว่า 70% เข้าไปทั้งละคร ซีรีส์ และรายการวาไรตี้ต่างๆ

จะเข้าหา ผู้ชายต้องใช้การ์ตูน

เพียงแต่การจะเข้าหากลุ่มผู้ชายไม่อาจชูด้วยคอนเทนต์อย่างละคร ซึ่งเป็นคอนเทนต์หลักที่อยู่ในไลน์ทีวีได้ จึงต้องหาคอนเทนต์ที่ถูกจริตและเป็นที่ต้องการของผู้ชาย ซึ่งหนึ่งในคอนเทนต์ที่เชื่อว่าจะเข้าหาพวกเขาได้คือการ์ตูน

สิ่งที่ไลน์ทีวีค้นพบคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ว่ามีการ์ตูนอยู่ในไลน์ทีวีด้วยทั้งๆ ที่มีโอกาสเติบโตอยู่สูงมาก จากข้อมูลพบว่าในปี 2018 ที่ผ่านมา ยอดวิวของกลุ่มการ์ตูนพุ่งสูงถึง 114 ล้านวิว โตขึ้น 115% จากปี 2017 ซึ่งมีเพียงแค่ 53 ล้านวิว ทั้งยังมีค่าเฉลี่ยการรับชม (Average Watch Time) เป็นอันดับต้นๆ

โดยทุกยอดวิวที่เกิดขึ้นผู้ชมใช้เวลาประมาณ 9.4 นาที ใกล้เคียงกับละคร แต่พฤติกรรมที่แตกต่างคือเป็นการดูซ้ำและดูแบบจริงจัง ทำให้ไลน์ทีวีหันมาให้ความสนใจกับกลุ่ม การ์ตูนอย่างจริงจัง ซึ่งเป้าหมายที่ต้องการคือการเข้าถึงกลุ่มผู้ชายอายุ 10-20 ปี และเพิ่มยอดวิวของกลุ่มการ์ตูนอีก 1 เท่าตัว

ดราก้อนบอลกับเซนต์เซย์ย่านำทัพปี 2019

จึงเป็นที่มาของการจับมือกับ การ์ตูนคลับ ที่มีประสบการณ์ดูแลลิขสิทธิ์การ์ตูนในเมืองไทยกว่า 30 ปี และมีการ์ตูนในมือกว่า 50 เรื่อง ในการนำการ์ตูนที่ดูแลลิขสิทธิ์มาลงในไลน์ทีวี โดยเริ่มต้นเซ็นสัญญาและนำคอนเทนต์มาลงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จำนวน 10 เรื่อง เช่น ได้แก่ One Piece / Naruto / Reborn / Gon / Pretty Cure / Dr.Slump & Arale เป็นต้น

การ์ตูนที่นำมาลงมีทั้งรีรันหลังจากออกอากาศผ่านทีวีภายในหนึ่งชั่วโมง และนำเรื่องเก่าๆ มาลงทั้งหมด เช่น รีบอร์น 200 ตอน หรือ อิคคิวซัง 50 ตอน ซึ่งหลังจากที่นำมาลงพบว่า จากยอดวิวทั้งหมดเกิดจากคอนเทนต์ของการ์ตูนคลับกว่า 41% ซึ่งเรื่องที่มียอดวิวสูงสูงสุดคือ นารูโตะ ตามมาด้วย Reborn และ วันพีซ

ปี 2019 เตรียมนำการ์ตูนชื่อดังเข้ามาเติมอีก ทั้ง ดราก้อนบอล, เซเลอร์มูน เครยอนชินจัง และ เซนต์เซย์ย่า รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่ยังเปิดเผยไม่ได้ นอกจากนั้นยังวางแผนทำเอ็กซ์คลูซีฟ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องไหน โดยตั้งเป้าเพิ่มค่าเฉลี่ยการรับชมของการ์ตูนอีก 10-20%

พัลภา มาโนช หัวหน้าธุรกิจ LINE TV กล่าวว่า

การเติมคอนเทนต์การ์ตูนจะทำให้ไลน์ทีวี สามารถดึงโฆษณาสินค้าที่เป็นขนมมาได้ อีกทั้งยังเป็นการติดต่อกับสตูดิโอการ์ตูน เพื่อหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มาเสริม ผ่านคอนเนกชั่นของการ์ตูนคลับ

ที่ผ่านมาการขายโฆษณาจะเป็นฝั่ง การ์ตูนคลับเพราะเป็นการขายพ่วงกับการฉายในทีวี โดยในส่วนของไลน์ทีวี โฆษณาที่เข้ามาจะอยู่ในรูปแบบของ Pre roll, Double Pre roll และการขึ้นโลโกมุมจอ ซึ่งจะปรากฏห่างกัน 3 นาทีต่อครั้ง

การ์ตูนคือ คอนเทนต์ที่ไม่มีวันตาย

ฟาก การ์ตูนคลับสามารถอุดช่องวางของการละเมิดสิขสิทธิ์การ์ตูนเพราะเมื่อฉายทันทีในไลน์ทีวีก็ไม่จำเป็นตัองไปอยู่ที่อื่น สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างการรู้รับรู้ให้กับกลุ่มผู้ชมเท่านั้น

รวมไปถึงการขยายไปหาผู้ชมกลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจากอายุ 4-14 ปี ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40% เพราะถึงผู้ชายจะชอบดูการ์ตูนก็จริง แต่ถ้าโตกว่านี้ก็มักจะมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ทำ จึงไม่อาจตื่นตอนเช้ามาดูในทีวีได้ ซึ่งจริงๆ แล้วการที่ไม่ดูไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเลิกสนใจการ์ตูนแล้ว เพียงแต่ไม่มีเวลาเฉยๆ

นอกจากนั้นการเอาเข้าไปฉายในไลน์ทีวีไม่ได้ทำให้เรตติ้งในทีวีลดลง กลับกันตั้งแต่เอามาลง เพิ่มขึ้นอีก 10%

ธนัท ตันอนุชิตติกุล ซีอีโอ บริษัท การ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า

คอนเทนต์การ์ตูนโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือความเป็นอมตะที่ไม่มีวันตาย แม้เวลาจะผ่านไปแค่ไหนคนที่เป็นแฟนคลับก็ยังอยู่

ปัจจุบันรายได้ของการ์ตูนคลับแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.การฉายการ์ตูนทั้งในช่องทีวี 5 ช่องคือ 9 HD, 9 Family, 3 SD, 3 Family, GMM 25, ไลน์ทีวี และช่องดาวเทียมชื่อ Cartoon Club Channel ซึ่งการ์ตูนคลับมองธุรกิจยังมีโอกาสอยู่ ด้วยเรตติ้งที่ได้ติดท็อป 20 ของช่องทีวีทั้งหมด ทั้งสามมีสัดส่วนรวมกัน 40-45%

2.จากกิจกรรมต่างๆ เช่น เข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียน มีสัดส่วนราว 20% และ 3.สินค้า Merchandiser 15-20% ที่เหลือมาจากอื่นๆ

เพิ่มคอนเทนต์เจาะแมส ไม่เน้นปริมาณ

ด้านภาพรวมกลยุทธ์ของไลน์ทีวีปีที่ผ่านมาเน้นการจับมือกับช่องทีวีและคอนเทนต์โพรวายเดอร์เพื่อเติมในคอนเทนต์รีรัน รวมไปถึงการเพิ่มออริจินอลคอนเทนต์และมิวสิกให้มีจำนวนมากๆ เพื่อเพิ่มผู้ชมให้เข้ามา

แต่สำหรับในปี 2019 พัลภา ฉายภาพให้เห็นถึงทิศทางไลน์ทีวี ในกลุ่มของออริจินอลคอนเทนต์ แต่ละโปรเจกต์จึงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่จำนวนจะลดลงจากปีก่อนที่มีซีรีส์ 11 เรื่องและรายการ 10 รายการ โดยปีนี้ซีรีส์อาจลดลง 3-4 เรื่อง แต่รวมๆ ซีรีส์ก็จะมากกว่ารายการอยู่ดี

ตอนต้นปีได้เริ่มฉายออริจินอลคอนเทนต์ 2 รายการคือแดร็ก เรซ ไทยแลนด์ ซีซัน 2” และสาวแปลกในเมืองป่วน Strange Girl in a Strange Land” ที่ได้ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก มาแสดงนำ และมีแฟนหนุ่มของปูทำโปรดักชั่น

ทีวีรัน วางแผนขยายคอนเทนต์ให้แมส โดยอยู่ในระหว่างเจรจากับช่อง 7, ช่อง 8 และ ช่อง PPTV ในการนำคอนเทนต์มารีรัน ส่วนมิวสิกก็กำลังคุยเพิ่มเติม อาจจะได้เห็นรายการจากศิลปิน เช่น โอ๊ตปราโมทย์

แม้วันนี้จะเห็นศิลปินออกมาทำรายการติดตามชีวิตตัวเองมากขึ้น แต่ในมุมของไลน์ทีวี คอนเทนต์ประเภทนี้อาจจะไม่เหมาะ ด้วยคนดูอยากเห็นโปรดักชั่นที่มีคุณภาพ การตัดต่อ รวมไปถึงบท ซึ่งการทำรายการด้วยกล้องตัวเดียวคนดูไม่ชอบแน่ๆ

ในส่วนของแผนเพิ่มฐานผู้ชมที่เป็นผู้ชายนอกเหนือจากการ์ตูนแล้ว คอนเทนต์กีฬาก็จะนำมาเติมมากขึ้น โดยปลายปีที่ผ่านมาได้มีการทำฟุตบอลซูซูกิคัพ 2018 ถ่ายทอดสดทางไลน์ทีวี ถึงปัจจุบันจะมีคอนเทนต์ที่เหมาะกับผู้หญิง 70% แต่ไลน์ทีวีก็อยากเพิ่มของผู้ชายให้เป็น 50% ในเร็ววันนี้

นอกจากนั้นยังวางแผนเพิ่มคอนเทนต์จากต่างประเทศ โดยได้คุยกับรายการมาสเตอร์เชฟและแดร็กเรซในต่างประเทศ รวมไปถึงซีรีส์จากจีนและไต้หวัน ซึ่งการหาคอนเทนต์มาเติมเยอะๆพัลภาอธิบายว่า เพื่อเป็นการรักษายอดแอคทีฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับไลน์ทีวีอย่างมาก นอกจากคอนเทนต์แล้วจึงต้องทำการตลาด โปรโมตต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือการรับมือกับการแข่งขันที่นับวันยิ่งรุนแรงและมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวให้เห็นอีก ซึ่งไลน์ทีวีก็มั่นใจในจุดแข็งที่รู้ความต้องการของคนไทยเป็นอย่างดี จึงไม่กังวลมากนัก.

]]>
1208608