กูลิโกะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 06 Mar 2024 03:55:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เตรียมพบคาราวาน ‘Pocky CAFÉ’ หมัดเด็ดของ ‘กูลิโกะ’ สร้างการเติบโตเหนือตลาด https://positioningmag.com/1465263 Wed, 06 Mar 2024 01:33:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465263 เชื่อว่าน้อยคนที่จะไม่รู้จักกับ ป๊อกกี้ (Pocky) แบรนด์ขนมอันดับ 1 ของ กูลิโกะ (Glico) บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจากเมืองโอซาก้าอายุ 102 ปี ส่วนในประเทศไทยกูลิโกะก็ทำธุรกิจมาอย่างยาวนานถึง 52 ปี และป๊อกกี้ก็ยังคงยืนหนึ่งในตลาดบิสกิต โดยปีนี้กูลิโกะไม่ได้แค่ต้องการรักษาตำแหน่งเบอร์ 1 ของป๊อกกี้ แต่ต้องการเติบโตเหนือตลาดให้ได้

ตลาด 15,700 ล้าน โต 6%

หากพูดถึง ตลาดขนมขบเคี้ยว ที่มีมูลค่ากว่า 3.7 หมื่นล้านบาท เติบโต +8% ซึ่งในตลาดก็จะแบ่งเป็นอีกหลายกลุ่ม และหนึ่งในกลุ่มที่สำคัญก็คือ ตลาดบิสกิต ที่มีมูลค่าประมาณ 15,700 ล้านบาท มีการเติบโตประมาณ +6% และในตลาดบิสกิตสามารถแบ่งออกเป็น 3 เซกเมนต์ย่อย ได้แก่

  • แครกเกอร์ 6,000 ล้านบาท +9%
  • คุกกี้ 4,000 ล้านบาท +3%
  • เวเฟอร์ 4,000 ล้านบาท +4%

โดย ป๊อกกี้ ถูกจัดอยู่ในตลาดแครกเกอร์ และถือเป็น เบอร์ 1 ของตลาดบิสกิตด้วยส่วนแบ่ง 10%

“ขนมยังเป็นตลาดที่เติบโตได้เรื่อย ๆ เพราะถือเป็นตลาดที่อยู่คู่กับคนไทยโดยเฉพาะเด็ก ๆ อย่างไรก็ตาม แต่ละช่องทางอาจจะเติบโตไม่เท่ากัน โดยปีที่ผ่านมาช่องทางเดิร์นเทรด และร้านสะดวกซื้อกลับมาโตเยอะเพราะหมดโควิด ส่วนร้านโชห่วยอาจไม่ได้โตเหมือนช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายคนละครึ่ง ส่วนปีนี้เชื่อว่าตลาดยังโตได้ เพราะนักท่องเที่ยวกลับมา” เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกูลิโกะ จํากัด กล่าว

เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกูลิโกะ จํากัด และ ดวงกมล ชุลิกาวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไทยกูลิโกะ จํากัด

ต่อยอด Pocky CAFÉ เพิ่มโอกาสการบริโภค

หนึ่งในโจทย์หลักของกูลิโกะในการสร้างการเติบโตให้กับป๊อกกี้ก็คือ การเพิ่มโอกาสการบริโภค และ สร้างการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ทำให้กูลิโกะได้หยิบคอนเซ็ปต์ของ ป๊อกกี้ คาเฟ่ (Pocky CAFÉ’) ที่เคยทดลองเปิดในงาน POCKY DAY 11.11 แล้วประสบความสำเร็จมาทำเป็น คาราวานโร๊ดโชว์ ป๊อปอัพ สโตร์ ป๊อกกี้ คาเฟ่ โดยจะเน้นไปที่ออฟฟิศ, สถานศึกษา และสถานที่ท่องเที่ยว รวมแล้วประมาณ 20-30 แห่ง เริ่มที่ The Park Silom วันที่ 19 มีนาคมนี้

“เราต้องการช่องทางการนำเสนอใหม่ ๆ โดยมีโจทย์ว่าต้องทำให้เราเข้าใกล้ผู้บริโภคมากขึ้น จนกลายเป็นแผนทำโรดโชว์ ซึ่งมันจะทำให้เขาได้ลอง มีการทำสินค้าราคาพิเศษ เพราะเรามีความเชื่อมั่นว่าที่ลูกค้ายังไม่ได้ซื้อเราเพราะเขายังไม่มีโอกาสได้ลอง เพราะเราพบว่าหลายคนที่ลองแล้วซื้อเลย

5 เครื่องดื่มจากป๊อกกี้ 5 รสชาติ

ดวงกมล ชุลิกาวิทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด อธิบายเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นของการทำ ป๊อกกี้ คาเฟ่ ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ 1976 ที่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกแคมเปญ Pocky On The Rocks ซึ่งคนญี่ปุ่นจะดื่มสุรา วิสกี้ กันเยอะมาก และก็ใช้ป๊อกกี้คนแก้ววิสกี้ จนกระทั่งปี 2022 ทางบริษัทฯ มองว่า การนำป๊อกกี้มาจับคู่กับเครื่องดื่มเป็นสิ่งที่ดี และเพิ่มโอกาสให้กับการทานป๊อกกี้ได้

ดังนั้น การมีป๊อปอัพสโตร์จะช่วยให้แบรนด์ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น และการมีเครื่องดื่มเป็นเมนูตัวอย่างก็เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสการบริโภค อีกทั้งยังสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคครีเอตคอนเทนต์ลงออนไลน์ ซึ่งก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการรับรู้ของแบรนด์ ดังนั้น ปีนี้บริษัทจะพยายามครีเอตการนำป๊อกกี้ไปทำเมนูใหม่ ๆ เพิ่มอีก

นอกจากการทำป๊อปอัพ สโตร์ ป๊อกกี้ คาเฟ่แล้ว กูลิโกะจะทำการตลาดครบทุกช่องทาง รวมถึงได้เปิดตัว พรีเซ็นเตอร์ Glico Friend ได้แก่ ซี-พฤกษ์ พานิช และ นุนิว-ชวรินทร์ เพริศพิริยะวงศ์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่

จัดเต็มสินค้าใหม่

อีกกลยุทธ์ที่กูลิโกะจะใช้สร้างการเติบโตก็คือ สินค้าใหม่ โดยปัจจุบัน กูลิโกะมี 3 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ ขนม, ไอศกรีม และนมอัลมอนด์ สำหรับในส่วนของขนมสามารถแบ่งได้เป็น 7 แบรนด์ ได้แก่ ป๊อกกี้, พีจอย, เพรทซ์, โคลลอน, แอลฟี่, คาปุลิโกะ และทีนนี่

สำหรับต้นปีนี้ กูลิโกะได้เปิดตัวสินค้าใหม่ ป๊อกกี้ ครัช โดยมี 4 รสชาติ ได้แก่ บลูเบอร์รีโยเกิรต์, สตรอเบอร์รีพีชโยเกิรต์, อัลมอนด์มิลค์ช็อกโกแลต และอัลมอนด์นัวร์ช็อกโกแลต ราคา 29 บาท เพื่อจับกลุ่มพรีเมียม นอกจากนี้ จะมี สินค้าลิมิเต็ด 1-2 รส ซึ่งจะออกมาจำหน่ายในช่วงหน้าร้อนและหน้าหนาวที่เป็นช่วงท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ในส่วนของ ป๊อกกี้รสชาติเฉพาะไทย ที่จับกลุ่มนักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันมี 2 รสชาติ ได้แก่ รสช็อกโกบานาน่า และรสมะม่วง ปีนี้บริษัทก็จะเพิ่มรสชาติใหม่ ๆ เพื่อรับการกลับมาของนักท่องเที่ยว

ไม่ปิดโอกาสนำป๊อกกี้ต่อยอดกับแบรนด์อื่น

จากกลยุทธ์ในปีนี้ กูลิโกะตั้งเป้า เติบโต 2 หลัก ซึ่งถือเป็นการเติบโตก้าวกระโดดเพราะตลาดยังเติบโตแค่หลักเดียว นอกจากนี้ กูลิโกะไม่ได้ปิดกั้นการนำ ป๊อกกี้ไปร่วมกับแบรนด์อื่น ๆ หรือนำป๊อกกี้ไปเป็น ส่วนผสมสินค้าใหม่ ๆ เช่น เบเกอรี่

“ตอนนี้ยังอยู่ในช่วงของการศึกษาว่าจะนำป๊อกกี้ไปต่อยอดอะไรได้บ้าง หลังจากที่ทำได้ทำเมนูเครื่องดื่ม ซึ่งอะไรที่เป็นโอกาสเราก็ไม่ได้ปิดกั้น เพราะเราเองก็มีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจหลายราย ถ้ามันมีโอกาสเราก็อาจจะไปร่วมด้วย เพราะเราก็อยากไปอยู่ในทุก ๆ อณูของผู้บริโภค”

]]>
1465263
นมอัลมอนด์ Almond Koka ความท้าทายของ “กูลิโกะ” กับการลบภาพจำขายแต่ “ขนม-ไอศกรีม” https://positioningmag.com/1423764 Fri, 17 Mar 2023 08:55:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423764 บิ๊กมูฟใหม่ของไทยกูลิโกะ กับการเปิดตัว Almond Koka (อัลมอนด์ โคกะ) นำแบรนด์นมอัลมอนด์เบอร์หนึ่งในญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดในไทย ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดของตลาดนม Plant-based ตั้งเป้าขึ้นเบอร์ 1 ภายใน 2 ปี การันตีจากการทำตลาดที่ญี่ปุ่นสามารถขึ้นเบอร์ 1 ได้ตั้งแต่ปีแรก

ดันกลุ่มสุขภาพ นอกเหนือจากขนม ไอศกรีม

ถ้าพูดถึงแบรนด์ “กูลิโกะ” คนไทยจะคุ้นเคยกันดีกับกลุ่มขนมต่างๆ ทั้งแบรนด์ป๊อกกี้, เพรทซ์, โคลลอน, พีจอย, แอลฟี่, ทีนนี่ และคาปุลิโกะ เรียกว่าเป็นขนมที่ทานได้ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงผู้ใหญ่ หลายคนเติบโตมากับแบรนด์กูลิโกะเลยทีเดียว

ตลาดประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญไม่น้อยสำหรับบริษัทแม่ของกูลิโกะที่ญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกๆ ที่บุกเบิกในการทำตลาดนอกญี่ปุ่น และเป็นประเทศศูนย์กลางในอาเซียนในการมีโรงงานผลิตเพื่อส่งออกขนม และไอศกรีมไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค ได้เข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2513 ตั้งบริษัท ไทย กูลิโกะ จำกัด ตอนนี้มีอายุได้ 52 ปีแล้ว ในปี 2514 ได้เริ่มจำหน่ายเพรทซ์เป็นสินค้าตัวแรก จากนั้นในปี 2515 ก็เริ่มจำหน่ายแบรนด์ป๊อกกี้

หลังจากที่อยู่แต่ตลาดขนมมานานหลายสิบปี จากนั้น ไทยกูลิโกะได้เข้าสู่ตลาดไอศกรีมอย่างเต็มตัวเมื่อปี 2559 ก่อตั้ง บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น เริ่มจำหน่ายไอศกรีมแบรนด์กูลิโกะ ในตอนนั้นเองก็ได้เกิดปรากฏการณ์ตามล่าไอศกรีมกูลิโกะกันทั่วเมือง เนื่องจากเป็นของใหม่ ทำให้คนต้องการลองชิมกันอย่างมาก

หลังจากอยู่ในประเทศไทยมา 52 ปี ทำให้ภาพจำของแบรนด์กูลิโกะมีแค่ขนมและไอศกรีม ทำให้ปีนี้ต้องมีการขยับตัวครั้งใหญ่ด้วยการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ในรอบหลายปี นำแบรนด์ Almond Koka เข้ามาทำตลาดในไทย ตีตลาดคนรักสุขภาพ

การเปิดตัวแบรนด์ใหม่ในครั้งนี้ เป็นการเปิดตลาดกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพอย่างจริงจังของไทยกูลิโกะ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เริ่มมีสินค้าเพื่อสุขภาพออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น Pocky Wholesome บิสกิตแท่งผสมโฮลวีต, Sunao ไอศกรีมไม่เติมน้ำตาลทราย โดยที่ Almond Koka จะเป็นแบรนด์หัวหอกในการบุกตลาดดังกล่าว

เฉลิมพงษ์ ดรงค์สุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย กูลิโกะ จำกัด เปิดเผยว่า

“การเปิดตัว กูลิโกะ อัลมอนด์ โคกะครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบของสินค้า Health & Wellness Category หลังจากที่เราเป็นที่รู้จักในฐานะผู้จำหน่ายขนม และไอศกรีมมายาวนาน โดยที่กูลิโกะประเทศญี่ปุ่นมีอายุครบ 101 ในปีนี้ และไทยกูลิโกะดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 52 ปี โดยในระยะหลังมานี้ทางญี่ปุ่นได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค จึงเป็นความตั้งใจแบบเดียวกันสำหรับประเทศไทย และประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ ทำให้เรามีความมั่นใจว่าอัลมอนด์ โคกะ จะตอบโจทย์ในแง่ของประโยชน์และรสชาติได้เป็นอย่างดี”

คนไทยเปิดใจกับนม Plant-based

กูลิโกะมีความผูกพันกับอัลมอนด์มากอยู่พอสมควร ที่ผ่านมาจะเห็นว่าสินค้าต่างๆ ล้วนมีอัลมอนด์เป็นส่วนประกอบ

จุดเริ่มต้นของอัลมอนด์กับกูลิโกะมาจากตั้งแต่ปี 2473 ริอิจิ เอซากิ ประธาน และผู้ก่อตั้งกูลิโกะได้เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เจอกับอัลมอนด์เป็นครั้งแรก จึงสนใจในการมาทำสินค้า จากนั้นในปี 2498 ได้ออกสินค้ากูลิโกะ คาราเมล โดยมีถั่วอัลมอนด์อยู่ข้างใน ปี 2501 ได้เปิดตัวช็อกโกแลตอัลมอนด์

เพราะฉะนั้น การที่จะบุกตลาดนม Plant-based ก็ต้องเป็นนมอัลมอนด์…เท่านั้น กูลิโกะในญี่ปุ่นได้เริ่มทำตลาด Almond Koka ตั้งแต่ปี 2557 และได้ขยายไปประเทศจีนและไต้หวัน และล่าสุดในประเทศไทย เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีจำหน่าย Almond Koka

glico

ต้องบอกว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เทรนด์ของ Plant-based มีการเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของเนื้อ Plant-based และนม Plant-based หลายคนเลือกที่จะทานวัตถุดิบที่มาจากพืชมากขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพ และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้งในปัจจุบันมีผู้บริโภคแพ้นมวัวมากขึ้น จึงมองหานมทางเลือกที่เป็นแหล่งให้โปรตีน

มีผลสำรวจพบว่าตลาดนม Plant-based (ไม่รวมนมถั่วเหลือง) ในประเทศไทย ปี 2565 มีมูลค่ากว่า 960 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตไปสู่มูลค่า 3,000 ล้านบาท ในปี 2569 (ที่มา: Nielsen, Euromonitor) โดยในตลาดนี้นมอัลมอนด์เป็นตลาดใหญ่ที่สุด กินสัดส่วน 70% รองลงมาเป็นนมข้าวโอ๊ต

ซึ่งตลาดนม Plant-based อาจจะมีมูลค่าเล็กมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียงแค่ 2-3% ของตลาดนมทั้งหมด แต่มีการเติบโต 2 หลักต่อเนื่องมาตลอด และมีทิศทางเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ มีแบรนด์ใหม่เข้ามาทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ตลาดขนมมีการเติบโตเพียง 7% ส่วนไอศกรีมเติบโต 4% เท่านั้น

glico Almond Koka

เฉลิมพงษ์ บอกอีกว่า จริงๆ มีการวางแผนในการนำแบรนด์นี้เข้ามาทำตลาดในไทยหลายปีแล้ว แต่ต้องมีการสำรวจกับผู้บริโภคในหลายๆ อย่าง ทั้งเรื่องรสชาติ ราคา และวัตถุดิบที่มีราคาสูงกว่าขนมทั่วไป อีกทั้งยังมีการผลิตในประเทศ ต้องมีการหาแหล่งวัตถุดิบที่คุมต้นทุนได้

Almond Koka มีจำหน่าย 3 รสชาติ ได้แก่ สูตรออริจินัล, สูตรไม่เติมน้ำตาล และรสช็อกโกแลต ในขนาด 180 มล. ราคากล่องละ 25 บาท และขนาด 1 ลิตร จะวางจำหน่ายในเดือนมิถุนายนนี้ พร้อมกับดึง “ใหม่-ดาวิกา โฮร์เน่” เป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรกของแบรนด์

ขอขึ้นเบอร์ 1 ภายใน 2 ปี

สำหรับเป้าหมายของ Almond Koka ต้องการขึ้น Top 3 ในตลาดนมอัลมอนด์ให้ได้ในปีนี้ ก่อนจะขึ้นเบอร์ 1 ในปีถัดไป

ถามว่าความมั่นใจของไทยกูลิโกะ คืออะไร…

Almond Koka

Almond Koka เป็นแบรนด์นมอัลมอนด์ในญี่ปุ่นที่มียอดขายอันดับ 1 ครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% ติดต่อกันมากว่า 9 ปีตั้งแต่ทำตลาด โดยสามารถขึ้นเป็นเบอร์ 1 ได้ตั้งแต่ปีแรกที่ทำตลาด ในประเทศจีนและไต้หวันที่ได้เข้าไปทำตลาด ก็สามารถขึ้นเป็นเบอร์ 1 ได้เช่นกัน

ในประเทศไทยเองก็คาดหวังว่าจะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ได้เช่นกัน มองว่ารสชาติมีความแตกต่าง และเฉลิมพงษ์บอกว่า “กูลิโกะกับอัลมอนด์เป็นสิ่งคู่กัน” เรียกว่าเป็น Key Success อย่างหนึ่งก็ว่าได้

อ่านเพิ่มเติม

]]>
1423764
“ป้ายกูลิโกะ” ในโอซาก้าปิดไฟมืดในรอบ 9 ปี ขานรับนโยบายกักตัวอยู่บ้านของญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1274002 Fri, 17 Apr 2020 09:20:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274002 “ป้ายกูลิโกะ” สัญลักษณ์ของเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ปิดไฟมืดตอบรับนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้ประชาชนงดเว้นการออกไปนอกบ้าน เพื่อไม่ให้ผู้คนมาชุมนุมถ่ายรูปกัน โดยเป็นการปิดไฟเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

เพจ Japan Guide Book กล่าวว่า ป้ายกูลิโกะในย่านโดทงโบริ ย่านท่องเที่ยวและการค้าชื่อดังของเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ตอบรับนโยบายกักตัว งดเว้นการออกไปข้างนอก ด้วยการปิดไฟที่ป้ายกูลิโกะสัญลักษณ์ของย่านนี้เพื่อทำให้ผู้คนไม่รวมตัวถ่ายภาพ อันจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 โดยปิดไฟมาตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน และยังไม่มีกำหนดเปิด

ตามปกติแล้วไฟที่ป้ายกูลิโกะจะเปิดขึ้นหลังจากพระอาทิตย์ตก 30 นาที ยาวไปจนถึงเที่ยงคืน เปิดเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน แต่ครั้งก่อนหน้านี้ที่มีการปิดไฟก็คือ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ภูมิภาคโทโฮคุ ใน 2011 ซึ่งครั้งนั้นได้ปิดไฟนานถึงหนึ่งเดือน การปิดไฟในครั้งนี้จึงถือเป็นครั้งล่าสุดในรอบ 9 ปี

ป้ายโฆษณากูลิโกะนี้ เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กทางการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของเมืองโอซาก้า ได้มีการติดตั้งป้ายโฆษณาครั้งแรกตั้งแต่ ปี 1935 ซึ่งป้ายกูลิโกะที่ติดตั้งในตอนแรกมีความสูงถึง 33 เมตร และได้ทำการประชาสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่องหลายรุ่นด้วยการออกแบบที่น่าตื่นตาตื่นใจ เช่น รุ่นที่ 2 เป็นรุ่นที่มีเวทีพิเศษ และรุ่นที่ 3 เป็นรุ่นหอคอยนีออนที่มีน้ำพุพุ่งออกมา จนมาถึงรุ่นที่ 6 ซึ่งเป็นป้ายกูลิโกะในปัจจุบันที่เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED

สำหรับประเทศญี่ปุ่นนั้นก็ยังมีรายงานตัวเลขผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีชินโซะ อาเบะ ของญี่ปุ่นก็ได้ประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินให้มีผลครอบคลุมทั้งประเทศ จากที่ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้วโดยครอบคลุมเพียง 7 จังหวัดสำคัญคือ กรุงโตเกียว โอซาก้า ไซตามะ คานากาวะ ชิบะ ฮียวโงะ และฟุกุโอกะ ซึ่งเป็นพื้นที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง

Source

]]>
1274002
“ดราม่ากูลิโกะ” แบรนด์ออกโรงแถลงไม่เกี่ยว “วิ่งไล่ลุง” อย่าเอาโลโก้โยงการเมือง https://positioningmag.com/1255631 Mon, 02 Dec 2019 18:21:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255631 กลายเป็นประเด็นร้อนแรงเมื่องาน “วิ่งไล่ลุง” ดันใช้โลโก้คล้ายคลึงกับแบรนด์ “กูลิโกะ” จนทางแบรนด์ต้องออกโรงแถลงว่าไม่เกี่ยวข้องกัน พร้อมอย่าเอาโลโก้ไปโยงเรื่องการเมือง

แบรนด์ออกโรงเตือน ไม่เกี่ยวข้องการเมือง

จากกรณีที่นายธนวัฒน์ วงค์ไชย หรือ บอล ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นประธานยุทธศาสตร์ สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) อดีตประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมจัดงาน “วิ่งไล่ลุง” ในวันที่ 12 .. 2563 เพื่อเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม จากพรรคพลังประชารัฐ

จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่นักวิ่ง ที่นำกิจกรรมวิ่งไปเคลื่อนไหวทางการเมือง รวมทั้งยังมีการทำการ์ตูนล้อเลียนป้ายกูลิโกะแมนสัญลักษณ์ของกูลิโกะริมแม่น้ำโดตมโบริ บริเวณสะพานอิบิซึบาชิ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ทำให้สังคมเข้าใจว่าขนมขบเคี้ยวยี่ห้อดังให้การสนับสนุนหรือไม่

ล่าสุดทางแบรนด์กูลิโกะได้ทำการแถลงผ่านเฟซบุ๊ก Glico TH โดยบริษัท ไทยกูลิโกะ จำกัด และ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด ออกหนังสือชี้แจงเกี่ยวกับการนำเครื่องหมายการค้าไปดัดแปลงเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ทางการเมือง ระบุว่า


“ตามที่ได้มีผู้นำเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ที่กลุ่มบริษัทกูลิโกะใช้ในการประกอบธุรกิจ ไปดัดแปลงเพื่อใช้สำหรับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่ากลุ่มบริษัทกูลิโกะได้ให้การสนับสนุนหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองนั้น

บริษัท ไทยกูลิโกะ จำกัด และ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด (“บริษัทฯ”) ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจภายใต้กลุ่มบริษัทกูลิโกะในประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า บริษัทฯ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มใดๆ ทั้งสิ้น และบริษัทฯ มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจนในการประกอบธุรกิจการผลิตและขายสินค้าประเภทขนมหวานและไอศกรีม

ทั้งนี้ บริษัทฯ ขอย้ำอีกครั้งว่าบริษัทฯ มีนโยบายความเป็นกลางทางการเมือง และไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกรูปแบบ จึงใคร่ขอความร่วมมือให้งดเว้นการนำเครื่องหมายการค้าหรือโลโก้ของกลุ่มบริษัทกูลิโกะ ไปดัดแปลงเพื่อนำไปใช้สำหรับกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์หรือไม่ก็ตาม พื่อไม่ให้กิดความสับสนและเข้าใจผิดในหมู่ประชาชนทั่วไป

จาก “นักวิ่งกากๆ” สู่ “วิ่งไล่ลุง”

ความจริงเรื่องการนำโลโก้ของกูลิโกะมาดัดแปลงนั้น เราไม่ได้เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก ถ้าในวงการวิ่งจะคุ้นเคยกับเพจ “นักวิ่งกากๆ” กันเป็นอย่างดี โดยมีการนำเอาสัญลักษณ์กูลิโกะแมนมาใช้เช่นกัน พร้อมกับข้อความที่ว่า “กลูแหละกาก”

ซึ่งเพจนักวิ่งกากๆ เป็นเพจที่รวบรวมดราม่างานวิ่งทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดงาน นักวิ่งที่โกงรางวัล เรื่องของผู้จัดงานต่างๆ ทางเพจจะนำมาเล่า หรือนำมาแฉให้กับนักวิ่งในวงการรับทราบกัน

เพียงแต่เพจนักวิ่งกากๆ เป็นการดัดแปลงในทำนอง Parody หรือล้อเลียน ต่างจากงานวิ่งไล่ลุงที่นำโลโก้มาใช้ในงานวิ่งเชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงกับเรื่องการเมือง ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

ทางแบรนด์จึงต้องออกตัวในการป้องกันภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่จะเสียหาย หรือมองว่ามีการสนับสนุนงาน เพราะบางคนอาจจะมีการเข้าใจผิดกันได้

ล่าสุดทางเพจของวิ่งไล่ลุงได้แถลงการขอโทษทางแบรนด์กูลิโกะแล้วเรียบร้อยเช่นกัน พร้อมกับระบุว่า

จากรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ และจากความห่วงใย ของบริษัท กูลิโกะ ประเทศไทย ต่อโลโก้การจัดงาน “วิ่ง ไล่ ลุง” ที่กำลังจัดขึ้น ในวันที่ 12 มกราคม 2563 ที่จะถึงนี้นั้น

ทางคณะจัดงาน “วิ่ง ไล่ ลุง” และ “ธนวัฒน์ วงค์ไชย” ในฐานะผู้ประสานงานจากจัดงานดังกล่าว ขอกราบขออภัยทางบริษัท Glico TH ประเทศไทย และบริษัทต้นสังกัด จากทางประเทศญี่ปุ่น ที่ปล่อยใหัเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

ทั้งนี้ ทางผู้จัดงาน ขอยืนยันว่ากลุ่มของเรามิได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ ต่อบริษัทดังกล่าว และเรามิได้ประสงค์จะนำโลโก้ขอบบริษัท มาดัดแปลง เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจการค้า หรือทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงแต่อย่างใด

โดยขณะนี้ เรากำลังดำเนินการจัดทำ Artwork ตัวใหม่ สำหรับประชาสัมพันธ์การจัดงานนี้ เราขอสัญญาว่า จะไม่เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก และจะไม่ให้ภาคเอกชนใดเสียหายอีก.

]]>
1255631
กูลิโกะ ตั้งเวฟเมกเกอร์ เอเยนซี่ดูแลสื่อ-โฆษณาในไทย https://positioningmag.com/1210759 Mon, 28 Jan 2019 09:51:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210759 นับเป็นการคว้าลูกค้ารายใหญ่ ประเดิมต้นปี 2562 สำหรับบริษัท เวฟเมกเกอร์ (ประเทศไทย) เอเยนซี่ผู้ดูแลและบริหารสื่อในเครือ กรุ๊ปเอ็ม ได้เป็นตัวแทนผู้บริหารสื่อและโฆษณาอย่างเป็นทางการจากบริษัท ไทยกูลิโกะ 

โดยเวฟเมกเกอร์จะทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการกลยุทธ์ด้านสื่อทั้งหมด ตั้งแต่การวางแผน การซื้อ รวมไปถึงการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลและเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดผู้บริโภคในประเทศไทยให้กับผลิตภัณฑ์ในเครือกูลิโกะ และกูลิโกะ โฟรเซ่นทั้งหมดในประเทศไทย อาทิ ป๊อกกี้ เพรทซ์ พีจอย และไจแอนท์โคนไอศกรีม

ทั้งนี้ เวฟเมกเกอร์ (ประเทศไทย) ได้เอาชนะคู่แข่งในการคัดเลือกตัวแทนผู้บริหารสื่อและโฆษณาจากการวางแผน ความรู้เชิงลึกทางด้านข้อมูลและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยตัวแทนส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจากบริษัท กูลิโกะ ได้กล่าวว่า “เวฟเมกเกอร์ ได้แสดงให้เราเห็นถึงระบบของการวางแผนที่สามารถนำความท้าทายในด้านธุรกิจ และความเข้าใจเชิงลึกในพฤติกรรมผู้บริโภคให้มาเป็นคำแนะนำในการสร้างแบรนด์และสร้างความมีส่วนร่วมของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม”

คริสติน่า วชรเนตร กรรมการผู้จัดการบริษัท เวฟเมกเกอร์ (ประเทศไทย) กล่าวถึงการได้รับการแต่งตั้งในครั้งนี้ว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นกับโอกาสที่จะได้ร่วมมือกับกูลิโกะ ในการพัฒนาแบรนด์เพื่อก้าวสู่อีกระดับในการเข้าถึงผู้บริโภค ด้วยการผสมผสานจุดแข็งของเรา โดยการนำกลยุทธ์ทางการตลาดและข้อมูลบริโภค รวมเข้ากับการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาด การทำคอนเทนต์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ”.

]]>
1210759
ผ่าเกมรบ “กูลิโกะ” คัมแบ็ค เพิ่มกำลังผลิต 3 เท่า กระจายสินค้าทั่วไทย  ปิดจุดอ่อนตลาดไอศกรีมน้องใหม่ https://positioningmag.com/1144880 Tue, 31 Oct 2017 17:48:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1144880 ตลาดไอศกรีม 12,000 ล้านบาทมีหนาว! เมื่อ “กูลิโกะ” เตรียมปูพรมกระจายสินค้าทั่วไทยในปีหน้า หวังขึ้นแท่นเบอร์ 3 นี่คือ เป้าหมายของ “คิโยทะคะ ชิมะโมริ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กูลิโกะ โฟรเซ่น (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศ

27 ..ปี 2559 เป็นปีไอศกรีมกูลิโกะวางตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ได้กระแสตอบรับล้นหลามจนกลายเป็นปรากฏการณ์ขายเกลี้ยงตู้ในเวลาเพียงแค่ 10 นาทีแรก จนเกิดภาวะ ขาดตลาด ร่วม 6-7 เดือน จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า นี่คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด

เราเตรียมกำลังการผลิตไม่เพียงพอ และขอโทษด้วยที่ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน เนื่องจากบริษัทไม่คาดคิดว่ากูลิโกะจะฮิตขนาดนี้ คิโยทะคะยืนยันในงานแถลงข่าว

ทว่า วันนี้พร้อมแล้วสำหรับ สมรภูมิไอศกรีม เพราะกูลิโกะได้เพิ่มการผลิตไอศกรีม 3 เท่าตัวจากวันแรกที่เปิดขาย และจัดทัพกระจายสินค้าให้ทั่วทั้งประเทศไทยภายในปีหน้า โดยทั้ง 2 ยุทธศาสตร์นี้อาศัยพันธมิตรอย่าง จอมธนา” มาช่วยแบบเบ็ดเสร็จ

ที่ผ่านมา โจทย์ใหญ่ ที่ถือเป็น จุดอ่อน สำคัญของไอศกรีมกูลิโกะ คือการ กระจายสินค้า ที่ทำได้ครอบคลุมแค่พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และพยายามกระจายสู่พื้นที่ต่างจังหวัดอื่นๆ มากขึ้นรวมเป็น 30 จังหวัดแล้ว และต้องการให้ทั่วไทยเร็วสุดในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันมีตู้แช่ไอศกรีมของกูลิโกะประมาณ 7,000 ตู้ ในช่องทางโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าทั่วไป 

เมื่อผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้น้อย แบรนด์ไอศกรีมกูลิโกะก็เลยยังไม่รู้จักแพร่หลาย ขณะที่ผู้บริโภคทานไอศกรีมมีเพิ่ม ความท้าทายปีนี้จึงต้องทำให้ผู้บริโภคเชื่อใจแบรนด์กูลิโกะมากขึ้น

กูลิโกะเพิ่มการผลิตไอศกรีม 3 เท่าตัวจากวันแรกที่เปิดขาย พร้อมจัดทัพกระจายสินค้าให้ทั่วทั้งประเทศไทยภายในปีหน้า โดยอาศัยพันธมิตรอย่าง จอมธนา” มาช่วยแบบเบ็ดเสร็จ

พร้อมกับเพิ่มสัดส่วนการกระจายผ่านช่องทางขาย คอนวีเนียนสโตร์ 40% ซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมกัน 9% และเทรดิชันนัล เพื่อให้สอดคล้องกับภาพรวมการกระจายไอศกรีม

เมื่อสินค้ามีพร้อมตลาด กูลิโกะทุ่มงบตลาด 2 เท่า ทำหนังโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ และสื่อนอกบ้านควบคู่กับออนไลน์ จากเดิมทำเพียงออนไลน์อย่างเดียว 

ที่สำคัญคืออาวุธการตลาดด้าน โปรโมชั่น หลังจากที่ผ่านมาปล่อยให้คู่แข่งทั้งเจ้าตลาด เบอร์รอง รัวหมัดกลยุทธ์ด้านราคากระหน่ำเป็นการรับน้อง ครั้นจะทำโปรโมชั่น ก็ต้องระมัดระวังการมีสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด และอาจส่งผลเสียต่อแบรนด์จนยากจะฉุดให้ฟื้นคืน

อีกกิมมิกที่จะเป็นหมัดแย็บจุดกระแส ให้กูลิโกะกลับมาฟีเวอร์อีกครั้ง คือการนำเข้าตู้หยอดเหรียญกดไอศกรีมอัตโนมัติ ที่ส่งตรงจากประเทศญี่ปุ่นถึงเมืองไทยจำนวน 2 ตู้ ทยอยวาง 4 จุด ในห้างฯ ได้แก่ สยามเซ็นเตอร์ บริเวณทางเชื่อมบีทีเอสสยาม ชั้น G หน้าอิเกีย เมกา บางนา สยามพารากอน ซีนีเพล็กซ์ และชั้น 6 โซนพลาซ่า และปิดท้ายที่เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นเวลา 2 เดือน 

กูลิโกะหวังว่า ตู้ดังกล่าวเป็นเครื่องมือการตลาดที่จะช่วยสร้างการรับรู้แบรนด์ไอศกรีมกูลิโกะในวงกว้างมากขึ้น โลกออนไลน์มีการแชร์ประสบการณ์ลิ้มลองไอศกรีมจากตู้กด เนื่องจากตู้กดไอศกรีมเป็นที่นิยมในญี่ปุ่น มีกระจายอยู่ถึง หมื่นตู้

นอกจากนี้ กูลิโกะยังดึงบอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์มาเป็นพรีเซ็นเตอร์คนแรก เพื่อเป็นแรงดึงดูด ให้กับกลุ่มเวัยรุ่น วัยทำงานซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ 

รวมถึงการออกสินค้าใหม่ซีรีส์ช็อกโกแลต 3 รสชาติ ทั้งไจแอนท์ โคน คราวน์, เซเว่นทีน ไอซ์ คราวน์ และพาแนปป์ เพิ่มพอร์ตโฟลิโอสินค้าให้หลากหลายเดิมจาก 12 รายการ (SKU) ไล่ตามคู่แข่งที่มีสินค้าหลากหลายมาก โดยราคาสินค้ายังอยู่ที่ 20-35 บาทเป็นหลัก 

การวางหมากรบระลอกนี้ของกูลิโกะ เรียกว่าครบเครื่องพอตัว เพราะกำลังการผลิตสินค้าพร้อม สินค้าใหม่เพิ่ม กระจายสินค้าให้กว้าง และเตรียมทำตลาดโปรโมชั่นเต็มสูบ

ออกแรงหนักหน่วง เป้าหมายคือต้องการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดไอศกรีมทั่วไทย จากเดิมมีเพียง 7% กระจุกในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น และในอนาคตอันใกล้ต้องการเป็น “Top 3” ในตลาด จากปัจจุบันที่เป็นเบอร์ 4

เบอร์ 1 คือวอลล์ ซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 50% แต่หลังจากเลิกจำหน่ายแบบเอ็กซ์คลูสีพในเซเว่น อัตราการเติบโตหดตัวเป็นตัวเลข “2หลัก ขณะที่เบอร์อื่นๆ โดยเฉพาะ 3-4 ส่วนแบ่งตลาดหายใจรดต้นคอกันพอสมควร   

สำหรับแนวโน้มตลาดไอศกรีม คิโยทะคะมองปีนี้ยังมีโอกาสเติบโตประมาณ 5-10% เพราะประเมินการบริโภคในประเทศไทยและขนาดตลาดเล็กกว่าญี่ปุ่นถึง10 เท่า ภายใต้เงื่อนไขคนไทยน้อยกว่าญี่ปุ่นประมาณ 50%.

]]>
1144880