ขยายสาขาเพิ่ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 12 Oct 2020 23:35:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองอนาคต Uniqlo ในจีน “โตเร็ว” มีร้านค้าแซงญี่ปุ่น รุกโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายได้ถึง 1,300 สาขา https://positioningmag.com/1301218 Mon, 12 Oct 2020 16:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301218 Uniqlo ฟาสต์แฟชั่นยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เติบโตได้สวยในการตีตลาดจีน มองอนาคตสามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง สวนทางเเบรนด์เสื้อผ้าอื่นๆ ที่ทยอยใช้นโยบายปิดสาขา

ย้อนกลับไป Uniqlo เริ่มขยายสาขาไปต่างประเทศครั้งเเรก หลังเหตุวินาศกรรม 9/11 โดยเปิดสาขาเเรกนอกญี่ปุ่นที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้นเพียง 1 ปีก็บุกไปจีนเเละมีสาขาแรกอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ 

วันนี้ Uniqlo ในประเทศจีน ขยายตัวเร็วมากมีจำนวนแซงหน้าญี่ปุ่นไปเรียบร้อย โดยมีอยู่ทั้งสิ้น 767 สาขา มากกว่าประเทศบ้านเกิดที่มีอยู่ 764 สาขา โดยจำนวนร้านค้าในเเดนมังกรเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับจำนวนร้าน  387 สาขาที่มีในเดือนสิงหาคม 2015

การที่ Uniqlo มีการขยายหน้าร้านไปถึง 7 แห่งตามภูมิภาคต่างๆ ในจีน ตั้งเเต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า บริษัทกำลังพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้นในยามวิกฤต COVID-19 ซึ่งจีนเป็นประเทศเเรกที่มีการเเพร่ระบาดเเละมีการควบคุมโรคได้ดี

Fast Retailing บริษัทเเม่ของ Uniqlo กำลังเร่งกลยุทธ์สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในจีนด้วยการรวมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเข้ากับการขายที่สาขา ให้สามารถส่งออกสินค้ากลับไปยังญี่ปุ่นได้

เเม้จีนจะเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ Uniqlo เเต่บางครั้งปัญหาความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสองประเทศนี้ก็สร้างความเสี่ยงให้ธุรกิจไม่น้อย

ด้วยตลาดที่มีประชากรมากถึง 1.3 พันล้านคน เราคิดว่า  Uniqlo สามารถขยายสาขาได้ถึง 3,000 แห่ง  Tadashi Yanai ผู้ก่อตั้งเเละประธานของ Fast Retailing กล่าวกับ Nikkei Asian Review

Uniqlo ให้ความสำคัญในการตีตลาดจีนมากขึ้น ดูจากยอดขายในจีนเมื่อรวมกับฮ่องกงและไต้หวันที่สร้างรายได้กว่า 5.025 แสนล้านเยน (ราว 1.48 แสนล้านบาท) สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 คิดเป็นสัดส่วนรายได้ถึง 20% แม้ยอดขายจะน้อยกว่าในญี่ปุ่นที่ทำได้ 8.729 แสนล้านเยน หรือ 2.56 แสนล้านบาท เเต่ก็เป็นการเติบโตที่มีนัยสำคัญ

โดยกลุ่มประเทศที่พูดภาษาจีนมีการขยายตัวที่รวดเร็ว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา จนถึงเดือนสิงหาคม 2019 มีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 15% มากกว่าญี่ปุ่นถึง 3% ดังนั้นจึงมีการประเมินว่ายอดขายในจีนจะเเซงยอดขายในญี่ปุ่นได้ ในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2024 

นักช้อปชาวจีนยังรับสินค้าราคาสูงได้ค่อนข้างดี และยังตอบรับอีคอมเมิร์ซได้ดีอีกด้วย โดยชาวจีนนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ประมาณ 20% ของยอดขายในจีนของ Fast Retailing ในปีงบประมาณสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2019 เติบโตขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น

Tadashi Yanai มองว่า หากบริษัทใช้กลยุทธ์เชื่อมอีคอมเมิร์ซกับหน้าร้านที่มีอยู่ได้ทั้งหมด จะทำให้ยอดขายพุ่งสู่ 2 ล้านล้านเยน (ราว 5.86 แสนล้านบาท) ได้ภายในหนึ่งปี จากที่ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยประเมินว่ายอดขายจะมากถึง 1.99 ล้านล้านเยน ภายในสิ้นสิงหาคม 2020

Tadashi Yanai
Photo : Getty Images

รูปแบบการเชื่อมธุรกิจออฟไลน์ออนไลน์เเบบไร้รอยต่อของ Fast Retailing ในจีน เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ Information-driven manufacturer-retailer (ข้อมูลข่าวสารขับเคลื่อนการผลิตและค้าปลีกซึ่งตลาดจีนน่าจะเป็นกุญเเจสำคัญเพราะจีนเป็นผู้นำในด้านอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นไปมาก

โดยสาขาในจีนนั้นมีการสั่งออเดอร์ออนไลน์มากขึ้น รวมถึงลูกค้ามีส่วนร่วมในเเคมเปญโซเชียลมีเดีย ขณะที่ในบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่น ยังประสบปัญหาแพลตฟอร์มออนไลน์ออฟไลน์ของ Uniqlo ยังไม่เชื่อมโยงกันได้ดีเท่าไหร่นัก

อย่างไรก็ตาม การพึ่งพาจีนเกินไปของ Uniqlo ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก หลังในปี 2012 บริษัทต้องปิดชั่วคราวเกือบครึ่งหนึ่งเมื่อเกิดเหตุพิพาทพรมแดนรวมถึงเรื่องโลโก้ที่ไม่สามารถนำมาใช้ในจีนได้จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ไม่เเน่นอนนี้

เเม่ทัพของ Fast Retailing ก็ยอมรับว่าบริษัทต้องสร้างสมดุลและไม่พึ่งพาจีนมากเกินไป

 

ที่มา : Nikkei Asian Review (1) (2) , WSJ

]]> 1301218 “UOB” สวนกระแส กางแผนขยายสาขาเพิ่ม 16 แห่ง ใน 3 ปี https://positioningmag.com/1202413 Wed, 12 Dec 2018 01:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1202413 เมื่อช่องทางช่องทางดิจิทัลเติบโตขึ้น จนทำให้ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเดินไปที่สาขา สะท้อนจากตัวเลขธุรกรรมผ่านสาขามีปริมาณลดลง 27 เปอร์เซ็นต์ (ค่าเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ) ส่งผลให้หลายธนาคารวางแผนลดต้นทุนโดยหันมาปิดสาขา มากกว่าจะขยายสาขาดังเช่นในอดีต

แต่ “ธนาคารยูโอบี (UOB)กลับมองต่างออกไป เพราะผลสำรวจที่จัดทำขึ้นมาโดยทางธนาคารเอง ร่วมกับ Boston Consulting Group เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้บริการสาขา ในกลุ่มลูกค้าของยูโอบี พบ 99% ของลูกค้าทั้งกลุ่มครอบครัวและกลุ่มเจ้าของกิจการ มีการมาใช้บริการที่สาขาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อขอคำปรึกษาด้านการเงิน ในส่วนกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงาน/สตาร์ทอัพแม้จะมีการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นแต่ก็ต้องการคำปรึกษาด้านการเงินที่สาขาของธนาคารเช่นกัน

UOB ยังได้ยืนยันสมมุติฐานของตัวเอง ด้วยการดูผลสำรวจของพฤติกรรม การใช้บริการสาขาธนาคารในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว พบยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับเมืองไทย กล่าวคือ ผู้บริโภคยังมีความต้องการใช้บริการที่สาขาของธนาคารอยู่ หรือเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Bank Loverโดยในเยอรมันนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 62%, สหรัฐอเมริกา 54% และอังกฤษ 50%

เจมส์ รามา ปัทมินทรวิภาส ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัลธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า

ภาพที่เกิดขึ้นค่อนข้างย้อนแย้งกันพอสมควร เพราะความเป็นจริงจำนวนธุรกรรมที่ลดลงไป ต้องหมายความถึงพฤติกรรมลูกค้าไม่ต้องเดินไปที่สาขาอีกแล้ว แต่ความเป็นจริงพวกเขายังต้องไปอยู่ เพราะเมื่อเจอธุรกรรมที่ซับซ้อนหรือต้องการคำปรึกษา ทั้งสินเชื่อ การลงทุน การเดิมมาสาขายังมีความจำเป็น ด้วยความเชื่อมั่นในเรื่องเหล่านี้อยู่ที่พนักงานล้วนๆ ดิจิทัลทำแทนไม่ได้”

เมื่อความจำเป็นของสาขายังมีอยู่แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภค UOB จึงผุดไอเดียเพิ่ม 3 ฟอร์แมตสาขาใหม่ เพื่อเจาะเจาะกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายอันได้แก่ “ครอบครัวคนรุ่นใหม่ – Wealth

หลักๆ สิ่งที่ทั้ง 3 ฟอร์แมตเหมือนกันคือ สัดส่วนพื้นที่จะเปลี่ยนไป จากเดิม 70% สำหรับส่วนที่เป็นเคาน์เตอร์เบิกถอนโอนจ่าย อีก 30% เป็นพื้นที่สำหรับให้คำปรึกษาด้านการเงิน แต่ฟอร์แมตใหม่นี้จะกลับกัน เพิ่มพื้นที่ให้คำปรึกษาเป็น 70% เหลือ 30% ให้เป็นเคาน์เตอร์ทำธุรกรรม ส่วนอื่นๆ ที่จะมีรายละเอียดที่ปลีกย่อยลงไปตามกลุ่มเป้าหมาย

โดยกลุ่มครอบครัวได้เปิดสาขาต้นแบบที่เซ็นทรัลเฟสติวัลอีสต์วิลล์ ด้วยบริเวณนี้มีตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดขึ้นใหม่กว่า 130 แห่ง โดยตกแต่งโทนอบอุ่นและมีโซนเด็กเพิ่มเข้ามา ด้านกลุ่มคนรุ่นใหม่วัยทำงาน/สตาร์ทอัพ ได้ทดลองที่ 101The Third Place โดยแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้สามารถระดมความคิดได้อย่างอิสระ และที่นี่ยังมียูโอบีบิสซิเนส เซ็นเตอร์ ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ คาดเปิดปีหน้า

ส่วนลูกค้ากลุ่มเจ้าของกิจการหรือผู้ที่มีความมั่งคั่งสูงที่มีสินทรัพย์มากกว่า 100,000 บาท เลือกไอคอนสยามเป็นสาขา Flagship มีการตกแต่งใหม่ทั้งหมด และยังมีเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ทำงานร่วมกับ Investment Consulting ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนทั้งในตลาดเงินและตลาดทุนด้วย

วันนี้ UOB มีฐานลูกค้าทั้งหมด 2 ล้านคน การเปิด 3 ฟอร์แมตไม่ได้คาดหวังว่าตัวเลขลูกค้าใหม่จะเปิดขึ้นมาเท่าไหร่ แต่สิ่งที่คาดหวังจริงๆ คือรายได้ของแต่ละสาขาจะเพิ่มขึ้น 50% ซึ่งหลักๆ จะเกิดขึ้นจากค่าดอกเบี้ยสินเชื่อ”

ผู้บริหาร UOB บอกอีกว่า การปรับเปลี่ยนสาขาไม่อาจการันตีถึงผลลัพธ์ที่หวังไว้ UOB วางแผนพัฒนาคนซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ โดยจะเพิ่มเติมทักษะทั้งด้านบริการกับความรู้ ผ่านการดันให้จำนวนผู้ที่มีใบอนุญาตให้คำปรึกษาทางด้านการเงิน เพิ่มขึ้นจาก 1,300 คน เป็น 1,500 คน

นอกจากนี้ UOB ยังวางแผนเปิดสาขาใหม่เพิ่มเติมอีก 16 สาขา ซึ่งจะทำให้ภายในปี 2021 UOB จะมีสาขาทั้งสิ้น 170 สาขา จากที่มี 154 สาขาในปัจจุบัน สำหรับ 3 ฟอร์แมตใหม่จะมีการนำมาปรับใช้ด้วย โดยจะเลือกจากทำเล หากมีฐานลูกค้ากลุ่มไหนเยอะ ก็จะทำเต็มรูปแบบ แต่ถ้าไม่เยอะก็จะทำเพียงบางส่วนเท่านั้น.

]]>
1202413