ขายหัวเราะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 03 May 2022 10:01:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เจาะ 3 เหตุผล ทำไม “แสนสิริ” จึงเลือก “ขายหัวเราะ” เป็นคาแรกเตอร์โปรโมตแบรนด์ปีนี้ https://positioningmag.com/1383759 Tue, 03 May 2022 08:29:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383759 “แสนสิริ” ทำเซอร์ไพรส์วงการ เลือกจับมือเป็นพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์กับ “ขายหัวเราะ” ในการโปรโมตแบรนด์ปีนี้ ทำไมแบรนด์อสังหาฯ จึงเลือกค่ายการ์ตูนอารมณ์ดีของไทยมาเป็นพันธมิตร Positioning จะมาขยายความให้ฟังที่นี่

ตั้งแต่ปีก่อน เราจะเห็นความเคลื่อนไหวของแบรนด์ “แสนสิริ” ที่ต่างไปจากในอดีต โดยเลือกเป็นพันธมิตรกับคาแรกเตอร์ “บาร์บีก้อน” ของ “บาร์บีคิว พลาซ่า” ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมร้านอาหาร และมีภาพลักษณ์สนุกสนาน ขี้เล่น ทำให้ลุคของแสนสิริมีความผ่อนคลายกว่าที่เคยเป็นมา

มาถึงปีนี้ แสนสิริยังคงเลือกจับมือกับพันธมิตรที่ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกันอย่าง “ขายหัวเราะ” ภายใต้เครือบันลือกรุ๊ป ซึ่งจะยกระดับการสื่อสารแบรนด์ให้ตรงเป้าที่แสนสิริต้องการมากยิ่งขึ้น

แคมเปญแรกที่เปิดตัวออกมาของการจับมือกัน เป็นการสร้างคอนเทนต์บนหนังสือพิมพ์แทบลอยด์ ใช้คาแรกเตอร์ที่เราคุ้นเคยกันในขายหัวเราะ เช่น พ่อต่าย ปังปอนด์ หนูหิ่น เล่าถึงแสนสิริในมุมต่างๆ ตั้งแต่กิจกรรม CSR แจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จนถึงโปรโมตโครงการทาวน์เฮาส์

แสนสิริ ขายหัวเราะ
“เศรษฐา ทวีสิน” ลงภาพหนังสือพิมพ์ไซส์ใหญ่พิเศษ โปรโมตการร่วมมือกันของสองแบรนด์

ที่สำคัญคือ บันลือกรุ๊ปยังช่วยพัฒนาคาแรกเตอร์ “เศรษฐา ทวีสิน” เป็นแบบการ์ตูนลายเส้นของ “ต่าย ขายหัวเราะ” เข้ามาร่วมอยู่ในแท็บลอยด์ฉบับนี้ด้วย

เหตุผลที่ทำไมต้องเป็น “ขายหัวเราะ” เราขอสรุปจากการแถลงข่าวโดย “ชลีรัตน์ ต่อจรัส” ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ “พิมพ์พิชา อุตสาหจิต” กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทเครือบันลือกรุ๊ป ดังนี้

 

1.ปรับแบรนด์ให้เป็นมิตร

ประเด็นแรกต้องย้อนกลับไปที่จุดประสงค์ของ “แสนสิริ” เอง ชลีรัตน์กล่าวว่าตั้งแต่ปีก่อนนี้ที่เลือกบาร์บีก้อน แสนสิริต้องการจะปรับเปลี่ยนแบรนด์ให้มีความเป็นมิตรสูงขึ้น เข้าไปเจาะตลาดใหม่ได้ดีขึ้น และท่ามกลางการแข่งขันสูงของภาคอสังหาริมทรัพย์ การจะโปรโมตแบรนด์ต้องแหวกแนว โดดเด่นในตลาด

แสนสิริ ขายหัวเราะ
มุกผีเสื้อสมุทรก็ยังอยู่ในบ้านของแสนสิริได้ เพราะเพดานสูง

ผลตอบรับจากแคมเปญกับบาร์บีก้อนช่วยสร้างยอดขายได้ 7,000 ล้านบาท สะท้อนว่าวิธีคิดเลือกคาแรกเตอร์สนุกสนานเป็นเรื่องที่มาถูกทาง ทำให้ปีนี้แสนสิริเลือกขายหัวเราะ การ์ตูนน่ารัก อารมณ์ดี ให้มารับไม้ต่อการสร้างความรู้สึกเป็นมิตร โดยวางเป้าว่ารอบนี้จะทำยอดขายได้แตะ 8,200 ล้านบาท

หากไปดูในพอร์ตของแสนสิริปี 2565 ที่จะเปิดตัว 46 โครงการ มูลค่ารวม 50,000 ล้านบาท บริษัทประกาศชัดว่าจะมีถึง 50% ที่เป็นบ้านหรือคอนโดมิเนียมราคาเข้าถึงได้ง่าย คอนโดฯ ราคาเริ่มต่ำกว่า 1 ล้านบาท ทาวน์เฮาส์ราคา 2 ล้านบาท และบ้านเดี่ยวราคา 3-4 ล้านบาท นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้แบรนด์ต้องสื่อสารกับตลาดแมสให้มากขึ้น

 

2.Soft Power ของคาแรกเตอร์ใน “ขายหัวเราะ”

ทำไมต้องเลือกคาแรกเตอร์ในการ์ตูน? จุดนี้พิมพ์พิชาอธิบายวิสัยทัศน์ของทั้งสองบริษัทที่เห็นตรงกันว่า การ์ตูนและคาแรกเตอร์คือ Soft Power

“พลังของการ์ตูนสามารถเป็นสะพานในการเล่าเรื่อง และทำให้คนเปิดใจยอมรับได้ง่ายกว่า” พิมพ์พิชากล่าว

เหมือนไหม? คาแรกเตอร์ของเศรษฐา ทวีสิน นายใหญ่แห่งแสนสิริ

คนไทยยังรู้จักขายหัวเราะมานานถึง 49 ปี ทำให้รู้สึกใกล้ชิดกับตัวละครต่างๆ มุกตลกการ์ตูนช่องแบบไทยๆ ก็เป็นเรื่องที่คุ้นเคย อ่านแล้วรู้สึกดี จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าไปในใจผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มวัย 30-40 ปี ที่ชลีรัตน์เชื่อว่าจะเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะโตมากับขายหัวเราะและตรงกับวัยที่จะซื้อบ้าน

ยกตัวอย่างพลังของตัวการ์ตูนก็อย่างเช่น การออกแบบตัวการ์ตูน “เศรษฐา ทวีสิน” ในแคมเปญนี้จะสะท้อนบุคลิกออกมาได้ชัดเจน และเมื่ออยู่ในการ์ตูนก็จะให้ความเป็นมิตร เข้าถึงง่ายมากขึ้น

 

3.คาแรกเตอร์หลากหลาย ทำได้ทุก Storytelling

ขั้นกว่าที่ทำให้ขายหัวเราะถูกเลือก คือ จักรวาลใบนี้มีคาแรกเตอร์หลากหลายที่หยิบจับมาใช้ทำ Storytelling เล่าเรื่องใดๆ ก็ได้ที่แสนสิริต้องการ

มุกเทพารักษ์มีที่อยู่ใหม่กับแสนสิริ

ตัวอย่างจากแท็บลอยด์เปิดแคมเปญ มีการสะท้อนภาพพื้นที่เขียวชอุ่มในโครงการ เป็นที่อยู่ใหม่ของ ‘เทพารักษ์’ ตัวละครที่มักจะออกมาในขายหัวเราะประจำ หรือสะท้อนฟังก์ชันทาวน์เฮาส์เพดานสูง ผ่านตัวละคร ‘นางผีเสื้อสมุทร’ ตัวสูงใหญ่แต่ก็อยู่ที่นี่ได้ โปรโมตระบบรักษาความปลอดภัยในโครงการผ่านมุกตัวละคร ‘โจรมุมตึก’ จนถึง ‘หนูหิ่น’ ที่ถ่ายรูปส่งไปอำเพื่อนว่า ‘คุณมิลค์’ พาเที่ยวต่างประเทศ แต่จริงๆ ถ่ายรูปที่หน้าโครงการสิริ เพลสซึ่งออกแบบตามเมืองยอดฮิตของโลก

แสนสิริ ขายหัวเราะ
หนูหิ่นโปรโมตโครงการสิริ เพลส

เห็นได้ว่าบันลือกรุ๊ปใช้ ‘กึ๋น’ ในการพลิกแพลง ผสานเรื่องของแสนสิริให้เข้ากับคาแรกเตอร์ได้อย่างเพลิดเพลิน คนอ่านไม่รู้สึกถูกยัดเยียดจนเกินไป โดยเฉพาะการสื่อสารเรื่อง CSR เมื่อนำมาถ่ายทอดผ่านการ์ตูนแล้วทำให้รู้สึกน่ารักอบอุ่นกว่าปกติ

“ชลีรัตน์ ต่อจรัส” ผู้อำนวยการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์และองค์กร บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ “พิมพ์พิชา อุตสาหจิต” กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทเครือบันลือกรุ๊ป

หลังจากนี้ ชลีรัตน์กล่าวว่าจะมีการทำแคมเปญระยะยาวร่วมกับขายหัวเราะ เพราะเป็นพาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์รายเดียวของปีนี้

โดยแคมเปญหลักที่จะเกิดขึ้นคือโปรโมชันดอกเบี้ยต่ำ 2.2% ยาว 3 ปี ซื้อคอนโดฯ รับทองสูงสุด 10 บาท ซื้อทาวน์โฮมรับเงินคืนสูงสุด 3 แสนบาท กู้ได้ 110% จนถึง 31 ก.ค. 65 ใช้คาแรกเตอร์ของขายหัวเราะช่วยโปรโมต

นอกจากนี้ก็จะมีแคมเปญย่อยอีกหลากหลาย ทั้งที่จัดร่วมกับลูกบ้านปัจจุบัน และจัดให้กับว่าที่ลูกค้าแสนสิริเข้ามาร่วมกิจกรรม รวมถึงการทำแคมเปญ CSR ร่วมกัน ซึ่งจะทยอยเปิดตัว

ต้องติดตามกันต่อว่าเมื่อนำ “ขายหัวเราะ” มาช่วยปรับความรู้สึกแบรนด์แล้ว “แสนสิริ” จะเป็นอย่างไร!

]]>
1383759
มิติใหม่! “เกาะขายหัวเราะ” จ.ตราด โมเดลโปรโมตที่เที่ยวคู่ “การ์ตูน” แบบญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1348521 Thu, 26 Aug 2021 14:56:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348521 ททท. ผนึก “ขายหัวเราะ” ฟื้นฟูท่องเที่ยวมิติใหม่โดยใช้การ์ตูน พร้อมเปิดเกาะขายหัวเราะ จ.ตราด อย่างเป็นทางการ หลังมีเกาะที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับเกาะขายหัวเราะในการ์ตูน หวังใช้เป็นแลนด์มาร์กกระตุ้นการท่องเที่ยวในอนาคต

เกาะขายหัวเราะมีอยู่จริง!

ใครที่เป็นแฟนของหนังสือการ์ตูนในตำนานอย่าง “ขายหัวเราะ” ต้องคุ้นเคยกับ “แก๊กติดเกาะ” ที่จะได้เห็นขึ้นปกอยู่เป็นประจำ จนเรียกกันติดปากว่า “เกาะขายหัวเราะ” แก๊กติดเกาะนี้ได้มีมาช้านานหลายปีแล้ว ปัจจุบันก็ยังได้เห็นแก๊กนี้อย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นแก๊กขึ้นหิ้งไปแล้ว

Photo : Facebook เกาะกระดาดอันซีนไทยแลนด์ทะเลตราด

แต่ใครจะรู้ว่า เกาะขายหัวเราะนี้ดันมีอยู่จริงในประเทศไทย! ก่อนหน้านี้ได้มีแฟนการ์ตูน และนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดตราดได้พบกับเกาะแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะนกนอก เชื่อมมาจากเกาะนกใน และเกาะกระดาด เกาะนี้จะมีจังหวะที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาในช่วงน้ำลด ซึ่งทำให้เห็นพื้นที่เกาะเล็กน้อย และมีต้นตะบันขึ้นอยู่เพียงโดดๆ เพียงต้นเดียว ทำให้มีลักษณะเหมือนแก๊กติดเกาะของการ์ตูนขายหัวเราะ นักท่องเที่ยวพากันเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะขายหัวเราะ”

ผนึกททท.สร้างแลนด์มาร์ก จ.ตราด

เมื่อเกาะขายหัวเราะกลายเป็นแลนด์มาร์กที่นักท่องเที่ยวหลายๆ คนอยากสัมผัสด้วยตนเอง ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด จึงไม่รอช้า รีบผนึกกับขายหัวเราะ หวังเป็นไอเดียในการช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวได้

อิษฎา เสาวรส ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตราด กล่าวถึงที่มาของการร่วมมือกันกับขายหัวเราะในครั้งนี้ว่า เกิดจากความเข้ากันพอดีของสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดตราด กับภาพจำของหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะ ทำให้เกาะมีลักษณะเหมือนแก๊กติดเกาะของการ์ตูนขายหัวเราะ จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์กสำคัญของจังหวัดตราดในที่สุด

ทางททท.สำนักงานตราด จึงเชิญขายหัวเราะมาร่วมส่งเสริมโปรโมตเกาะแห่งนี้ในนาม “เกาะขายหัวเราะ” อย่างเป็นทางการโดยมีความตั้งใจที่จะร่วมมือกันตั้งรับ ฟื้นฟู และส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์โรค COVID-19 คลี่คลาย ซึ่งหลายภาคส่วนทั้งการท่องเที่ยวระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นต้องการการส่งเสริมสนับสนุนอย่างมาก

ใช้การ์ตูนสื่อสาร ความสำเร็จจากญี่ปุ่น

การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวร่วมกับหนังสือการตูนขายหัวเราะที่มีผู้อ่านทุกช่วงอายุ ทุกกลุ่มอาชีพ ในครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ที่นำภาพของการ์ตูนมาคู่กับแหล่งท่องเที่ยว คาดว่าจะทำให้แหล่งท่องเที่ยวในบริเวณนี้เป็นที่รู้จักได้อย่างกว้างขวาง อีกทั้งช่วยสร้างบุคลิก และบรรยากาศให้การท่องเที่ยวเต็มไปด้วยความสนุกสนาน อารมณ์ดี และมีความสุขเมื่อได้มาเยือน

รวมถึงเป็นการตอกย้ำว่าเกาะขายหัวเราะนั้นมีอยู่จริงที่จังหวัดตราด ถือเป็นการเชื่อมโลกแห่งความจริงเข้ากับโลกของการ์ตูนที่คนไทยคุ้นเคยกันมายาวนาน ซึ่งนอกจากเกาะขายหัวเราะแล้ว เชื่อว่ายังสามารถช่วยกระจายนักท่องเที่ยวไปตามเกาะอื่นๆ อาทิ เกาะหมาก เกาะกระดาด เชื่อมโยงให้เกิดเส้นทางสร้างรายได้ลงสู่พื้นที่นั้นอย่างทั่วถึง 

ทางด้าน พิมพ์พิชา อุตสาหจิต กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทเครือบันลือกรุ๊บอกว่า การ์ตูนสามารถใช้เป็นเครื่องมือได้ทั้งในโลกจริง และโลกเสมือน การผูกเรื่องราว และภาพลักษณ์ของคาแร็กเตอร์กับการท่องเที่ยวในมิติต่างๆ สามารถทำได้อย่างไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เชิงอนุรักษ์ เชิงวัฒนธรรม การมุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อนักท่องเที่ยวทั่วไปหรือเฉพาะกลุ่ม การเล่าด้วยการ์ตูนก็ทำได้อย่างไม่ยัดเยียด ประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับคาแร็กเตอร์ เรื่องเล่าวัยเยาว์ ล้วนทำให้เกิดมิตรภาพ และความประทับใจ ซึ่งพิสูจน์มาแล้วจากแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำทั่วโลกว่า การ์ตูนและคาแร็กเตอร์ทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีและเข้าถึงกับผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย

ต้องบอกว่า “ประเทศญี่ปุ่น” เป็นต้นแบบแห่งการใช้การ์ตูน และคาแร็กเตอร์มาโปรโมตสารพัดสิ่ง การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นของญี่ปุ่น ก็ยังมีการต่อยอดรูปแบบใหม่ๆ ออกไปอยู่เรื่อยๆ

ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือมาสคอต “คุมะมง” เจ้าหมีสีดำ กลายเป็นมาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น เปรียบเสมือนทูต ตัวโปรโมตประจำจังหวัด ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และทำให้คนทั่วโลกรู้จักจังหวัดนี้อย่างดี

สำหรับประเทศไทยนั้น ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวไทยในการใช้พลังการ์ตูน และ soft power มาสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์และแปลกใหม่ เรียกได้ว่าแคมเปญเกาะขายหัวเราะ เป็นก้าวแรกที่สำคัญทั้งกับขายหัวเราะและโอกาสใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ซึ่งในอนาคต อาจจะมีรูปแบบใหม่ๆ ออกมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคาแร็กเตอร์ใหม่ๆ รูปแบบ storytelling ที่ต่างไปจากเดิม หรือการทำแคมเปญ ที่ไม่จำกัดรูปแบบ ซึ่งน่าจะเหมาะกับเทรนด์การท่องเที่ยวในอนาคต ที่นักท่องเที่ยวต้องการมีประสบการณ์ร่วมกับเรื่องราวท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ และเชิงลึกมากขึ้นด้วย

ขายหัวเราะเข้าใจจริตคนไทย

พิมพ์พิชา อุตสาหจิต บอกว่า ขายหัวเราะในฐานะ ‘สำนักการ์ตูนไทย’ นั้นมี DNA จุดเด่นเฉพาะตัว คือ ความถนัดในการใช้สื่อการ์ตูนเล่าเรื่องได้ทุกเรื่อง และความเข้าใจ insight รสนิยมความบันเทิงสนุกสนานและ culture แบบไทยๆ อยู่แล้ว ซึ่งน่าจะนำมาต่อยอดในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อีกหลากหลายแนวทาง

ซึ่งขายหัวเราะต้องการใช้ความถนัดของเราในด้านการ์ตูน คาแร็กเตอร์ อารมณ์ขัน และ storytelling มาเป็นสื่อ และสร้างกิมมิกในการพัฒนา Content และออกแบบ Content Marketing รูปแบบแคมเปญที่สนับสนุนต่อยอดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างการรับรู้ ว่าเกาะขายหัวเราะที่ทุกคนคุ้นเคยจากแก๊กการ์ตูน และปกขายหัวเราะนั้นมีอยู่จริงๆ เป็นการเชื่อมโยงจินตนาการและความสนุกด้วยประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร

]]>
1348521
เจาะตำนาน “ขายหัวเราะ” ธุรกิจความฮาสามัญประจำบ้าน อยู่อย่างไรในยุคดิจิทัล    https://positioningmag.com/1154505 Thu, 25 Jan 2018 10:59:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154505 ท่ามกลางกระแสดิจิทัลมาแรง กระเทือนสื่อสิ่งพิมพ์ให้ “ล้มหายตายจาก” ไปทีละเล่มสองเล่มจากแผงหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ถูกตราหน้าว่า “อ่านหนังสือไม่เกิน 7 บรรทัด” และสถานการณ์ใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ที่ลดลง แมกกาซีนติดลบ นับเป็นความท้าทายของคนทำธุรกิจผลิตตำรับตำรา หนังสืออย่างมาก

อีกหนึ่งสื่อที่น่าสนใจในการ “ฝ่ากระแส” Digital Disrupt ยุคนี้ คงต้องยกให้หนังสือการ์ตูน “ขายหัวเราะ ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย โตมากับเสียงหัวเราะ อ่านมุกตลก จดจำลายเซ็นนักวาดการ์ตูน ลายเส้นคาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนได้อย่างดี เรียกได้ว่าเป็น “ความฮาสามัญประจำบ้าน” ตามคอนเซ็ปต์ของหนังสือจริงๆ

หากจะพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนที่ “ขายหัวเราะ” ประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยาวนานถึง 44 ปี คงเริ่มจากการมองเห็น “โอกาสทางการตลาด” ของ “วิธิต อุตสาหจิต” ผู้เป็นทั้งบรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น และผู้ก่อตั้งนิตยสารขายหัวเราะ มองว่าการ์ตูนแนว 3 ช่องจบหรือการ์ตูนแก๊ก ในยุคนั้นมีน้อยมาก สะท้อนให้เห็นถึง “ช่องว่าง” ในการเข้าไปบุกเบิกและทำตลาดได้

ขณะที่ “คอนเทนต์” ของหนังสือ ก็มีความ “หลากหลาย” ตั้งแต่การ์ตูนแก๊ก การ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องยาว ขำขัน เรื่องราวมุกตลกจากต่างประเทศมาแทรก รวมถึงเรื่องสั้นภายในเล่ม การ์ตูนมีทั้งความเซ็กซี่ เป็นต้น ตอบโจทย์ผู้บริโภคนักอ่านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง และผู้ชาย เรียกว่าครบเครื่อง 

นอกจากนี้ “ตัวการ์ตูน” ถือเป็น “จุดแข็งมาก” ของขายหัวเราะ เพราะคาแร็กเตอร์ของแต่ละตัวนั้นแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การล้อเลียนตัวของ “วิธิต” เอง ซึ่งนักวาดการ์ตูนของบริษัทมักเรียกว่า “บก.วิติ๊ด” เป็นการสร้างสีสันให้คนอ่าน และมีความสนใจใคร่รู้ว่าแท้จริงแล้ววิธิตเป็นคนอย่างที่ได้อ่านหรือเปล่า  

ด้าน “ราคา” เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ ในอดีตจะเห็นว่าการ์ตูนเล่มเล็กๆ นี้ขายประมาณ 10 บาท ทำให้จับจ่ายง่าย แต่ปัจจุบันราคาขายขึ้นมาที่ 20 บาทแล้ว แม้จะเป็นหนังสือการ์ตูนราคาไม่แพง แต่ขายหัวเราะมีการกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำ Loyalty Program ให้ผู้บริโภคร่วมสนุกกับเกมในเล่ม ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อชิงโชค เป็นต้น

วันนี้กลิ่นอายของการอ่านขายหัวเราะอาจลดลงไป จากการอยู่บนแผงหนังสือน้อยลง การอยู่บนแผงในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่ปะปนทับถมกับหนังสือพิมพ์ ซ่อนอยู่ใต้หนังสือประเภทอื่นๆ

ทว่า ขายหัวเราะ กลับปรับตัวยืนหยัดเพื่อ “อยู่รอด” ได้ และเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการทำตลาด โดยปัจจุบัน “คนอ่าน” อยู่บนโลกออนไลน์ ขายหัวเราะก็ตามมาเสิร์ฟความตลกทุกช่องทาง มี Application ให้ดาวน์โหลดอ่านได้ทั้งระบบ IOSและ Android แฟนคลับยังสามารถติดตามข่าวสาร พูดคุยได้ทั้ง Facebook Instagram Line Twitter มีครบ

ขณะที่การหารายได้บนหน้ากระดาษ ยังคงมี “โฆษณา” ให้เห็นแทรกอยู่ตามหน้าต่างๆ บ้างเล็กน้อย แต่นั่นก็เป็นโฆษณาหนังสือจากบริษัทในเครือบรรลือสาส์น เทียบกับอดีตจะเห็นโฆษณาที่มาจากขนมขบเคี้ยว และอื่นๆ อีกด้านคือ “ยอดขาย” จากจำนวนเล่มที่ตีพิมพ์นั่นเอง

“ขายหัวเราะ” อาจเป็นหนังสือการ์ตูนหัวหอกของเครือบรรลือสาส์น แต่ในพอร์ตโฟลิโอยังมีทั้ง มหาสนุก, นางสาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่, ปังด์ปอนด์, หนูหิ่นอินเตอร์ และอีกมากมายที่ผู้อ่านคุ้นเคยกันอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ขายหัวเราะที่ปรับตัว เพราะในเครือบันลือกรุ๊ป ก็เปลี่ยนตัวเองไม่น้อย โดยที่ผ่านมาเห็นการขยายธุรกิจ “วิธิตา แอนิเมชั่น” นำคอนเทนต์การ์ตูนที่มีมาทำภาพยนตร์ รับทำคอนเทนต์วาดการ์ตูน ตัดต่ออัดเสียงแบบครบครัน มีธุรกิจ มาโชบิส ดูแลลิขสิทธิ์และบริการการตลาดในเครือ และบริษัทยังมีการจำหน่ายหนังสือออนไลน์ เพื่อรับกับโลกดิจิทัลด้วย.

]]>
1154505
วงการการ์ตูนเศร้า! “ต้อม ขายหัวเราะ” เจ้าของลายเส้นไก่ย่างสุดกวน “วัลลภ” เสียชีวิตแล้ว https://positioningmag.com/1154051 Sun, 21 Jan 2018 11:12:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154051 ถือเป็นข่าวเศร้าของวงการการ์ตูนบ้านเราอีกครั้งหลัง วันนี้ (21 ม.ค.2561) ในเฟซบุ๊ก “ขายหัวเราะ” ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่านักเขียนเจ้าของนามปากกา “ต้อม ขายหัวเราะ” ในวัย 58 ปีได้เสียชีวิตอย่างสงบลงแล้วก่อนจะมีแฟนการ์ตูนเข้ามาแสดงความเสียใจกันอย่างมากมาย

“พี่ต้อม” ได้จากพวกเราไปอย่างสงบด้วยโรคประจำตัว ทีมงานทุกคนขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวพี่ต้อมด้วยครับ ส่วนรายละเอียดของพิธีการต่างๆ ทางเราจะแจ้งให้ทราบในลำดับถัดไปครับ”

สำหรับ “ต้อม ขายหัวเราะ” มีชื่อจริงว่า “สุพล เมนาคม” เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นนักเขียนสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น โดยนอกจากจะมีหน้าที่วาดปกให้กับนิตยสารมหาสนุกแล้ว เจ้าตัวยังเป็นผู้สร้างสรรค์ตัวการ์ตูนกวนๆ อย่าง “ไก่ย่างวัลลภ” อีกด้วย.

ที่มา : mgronline.com/entertainment/detail/9610000006485

]]>
1154051
ผ่ากลยุทธ์ 43 ปี ขายหัวเราะ จากสิ่งพิมพ์สู่ดิจิทัล แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1097801 Thu, 21 Jul 2016 23:45:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1097801 ขึ้นชื่อว่าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ในขณะที่โลกก้าวสู่ยุคดิจิทัลแล้วนั้น ย่อมมีการปรับตัวกันขนานใหญ่เพื่อการอยู่รอดในวงการต่อไปบรรลือสาส์นเป็นอีกสื่อหนึ่งที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดีสำหรับหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะที่ตอนนี้บรรลือสาส์นจะอายุครบ 60 ปีแล้ว ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ รวมถึงขายหัวเราะเองก็อายุ 43 ปีแล้วเหมือนกัน

1_Kai Hua Roh

บรรลือสาส์นเองก็คล้ายๆ กับธุรกิจสื่ออื่นๆ ที่มีการแตกแพลตฟอร์มใหม่ๆ เพื่อเสริมธุรกิจในยามที่สื่อแบบกระดาษมีความนิยมน้อยลง ทำให้บรรลือสาส์นไม่ได้มีเพียงแค่สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์ กับการ์ตูนขายหัวเราะอีกต่อไป โดยเริ่มต้นจากการแตกไลน์ธุรกิจไปยังธุรกิจแอนิเมชั่นเพื่อตอบรับความต้องการของตลาด ได้เปิดบริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด ในปี 2544 ตอนแรกได้ทำแอนิเมชั่นแค่การ์ตูนในเครืออย่างปังปอนด์ และไอ้ตัวเล็ก หลังจากนั้นก็เริ่มรับจ้างผลิตหารายได้เพิ่ม และผลิตสติ๊กเกอร์ไลน์ด้วย

1.1_Kai Hua Roh

จากนั้นก็เริ่มแตกไลน์คอนเทนต์ที่จับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น ได้เปิดสำนักพิมพ์แซลมอลในปี 2554 เป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กส์ ก่อนจะขยายตัวไปสู่สำนักพิมพ์บัน (Bunbooks) เป็นหนังสือแนวไลฟ์สไตล์จับกลุ่มผู้หญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่ และนิตยสารยีราฟ (Giraffe Magazine) นิตยสารแจกฟรีราย 15

และเพื่อต้องการทำตลาดได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ได้เปิดแซลมอนเฮ้าส์ (Salmon House) โปรดักชั่นเฮ้าส์ที่ผลิตคอนเทนต์วิดีโอ ในช่วงแรกเป็นการทำคอนเทนต์เพื่อทำการตลาดให้กับหนังสือในเครือก่อน เป็นที่รู้จักกันกับผลงาน New York 1st Time หรือคุณลุงเนลสัน จากนั้นก็เริ่มรับจ้างผลิตผลงานอื่นๆ เช่นกัน

2_Kai Hua Roh

สุดท้ายกับแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้เริ่มเปิดเว็บไซต์มินิมอร์ (Minimore) ร้านหนังสือออนไลน์ และสำนักข่าวออนไลน์อย่างเว็บไซต์ The Matter และธุรกิจล่าสุดในชื่อดิจิไวท์ เป็นการทำการตลาดให้กับบริษัทในเครือ

ทำให้ปัจจุบันบรรลือสาส์นมีธุรกิจ 5 กลุ่มด้วยกัน 1.บันลือบุ๊คส์ เป็นหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊กส์ สำนักพิมพ์แซลมอล, บัน, บรรลือสาส์น และยีราฟ 2.วิธิตา แอนิเมชั่น 3.แซลมอน เฮ้าส์ 4.ออนไลน์ คอนเทนต์ และ 5.ดิจิไวท์ ทำการตลาด

รวมถึงการส่งไม้ต่อให้กับผู้บริหารแจนใหม่พิมพ์พิชา อุตสาหจิตหรือ นิว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ลูกสาวคนโตของวิธิต อุตสาหจิตหรือ บ.. วิติ๊ด เพื่อให้การทำงานทันสมัยขึ้น

วิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการหนังสือเครือบรรลือสาส์น กล่าวว่าถึงเวลาที่ต้องส่งใม้ต่อให้กับทางคนรุ่นใหม่ขึ้นมาบริหารบ้าง เพื่อให้ทันสมัย ตอนนี้ถือว่าอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ต ต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา สื่อกระดาษมีปัญหามากๆ ยิ่งต้องแข่งกับสื่อออนไลน์ แต่ทางบันลือกรุ๊ปเองก็ได้เตรียมตัวมานาน ต้องเท่าทันเทคโนโลยี และมองว่าความฮาไม่ได้ผูกที่ความตลกอย่างเดียว หรือหนังสือการ์ตูนอย่างเดียว แต่ไปได้ทุกแพลตฟอร์ม และต้องต่อยอดคอนเทนต์ในการทำอะไรใหม่ๆ

ต้องเปิดช่องทางใหม่ ต่อยอดคอนเทนต์

อย่างไรก็ตาม ขายหัวเราะยังคงเป็นลูกรักเบอร์หนึ่งของบรรลือสาส์นอยู่ แม้ว่าจะอายุ 43 ปีแล้ว แต่ก็ยังมีแฟนๆ คอยติดตามอยู่ตลอด นอกจากในเรื่องการพัฒนาคอนเทนต์เพื่อให้ทันกับกระแสสังคมอยู่ตลอด และมีทีมครีเอทีฟสำหรับการคิดมุกใหม่ๆ โดยเฉพาะ

3_Kai Hua Roh

แต่การเปิดช่องทาง หรือแพลตฟอร์มใหม่ๆ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่บรรลือสาส์นเลือกใช้กับขายหัวเราะ เพื่อให้แบรนด์ยังคงเป็นอมตะตลอดเวลา และสร้างการรับรู้ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างการทำสติกเกอร์ไลน์ของคาแร็กเตอร์ต่างๆ ทั้งขายหัวเราะ หนูหิ่น และล่าสุดกับการจัดนิทรรศการ “อุตสา ฮา กรรม : ผลิตขำ ทำเงินที่ร่วมกับ TDCD ถือว่าเป็นอีเวนต์ใหญ่ที่สุด ปกติจะมีเพียงแค่งานสัปดาห์หนังสือ

ความสำคัญของการจัดนิทรรศการ หรืออีเวนต์ในครั้งนี้ก็คือการให้ผู้อ่าน หรือแฟนๆ ได้มีส่วนร่วม มีประสบการณ์กับแบรนด์มากขึ้น และเพื่อให้เห็นกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้กลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น

4_Kai Hua Roh

พิมพ์พิชา อุตสาหจิต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ หนังสือเครือบรรลือสาส์น กล่าวว่าการปรับตัวของบรรลือสาส์นก็คือต้องต่อยอดคอนเทนต์เสมอ ต้งอมีอะไรใหม่ๆ เพราะคนสมัยนี้เบื่อง่าย การจัดอีเวนต์ของเราก็เพื่อให้ครบกวงจรมากขึ้น และต้องการให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นด้วยเช่นกัน

พิมพ์พิชาได้พูดถึงความเสี่ยงในธุรกิจนี้ก็คือเรื่องช่องทาง และเทคโนโลยี ที่ต้องทำให้เข้าถึงมุมมองของผู้คน ต้องเปิดกว้างตลอดเวลา และต้องจับความสนใจของกระแสได้ไว สำหรับโอกาสทางธุรกิจก็คือคนไทยชอบอารมร์ขันอยู่แล้ว ทำให้ยังชื่นชอบ และคอนเทนต์ประเภทนี้ยังได้ผลอยู่

5_Kai Hua Roh

]]>
1097801
เปิดเส้นทางธุรกิจผลิต “ขำ” ทำเงิน https://positioningmag.com/1097677 Thu, 21 Jul 2016 03:16:45 +0000 http://positioningmag.com/?p=1097677 เมื่อเสียงหัวเราะกลายเป็นอาวุธสำคัญในการผลิตคอนเทต์ในยุคสมัยนี้ เพราะด้วยพื้นฐาน และจริตของคนไทยยังคงนิยมเสพคอนเทนต์แบบเฮฮาอยู่เสมอไม่ว่ายุคสมัยไหน ทำให้รูปแบบคอนเทนต์ต่างๆ มีความเป็นคอมเมดี้เป็นพระเอกหลักอยู่

คอนเทนต์ประเภทนี้อาจเรียกรวมๆ ได้ว่าเป็นธุรกิจผลิตขำก็ได้ซึ่งจริงๆ แล้วธุรกิจไม่ได้มีมูลค่าทางธุรกิจโดยตรง แต่เป็นคอนเทนต์ที่แฝงอยู่ในธุรกิจอื่นๆ ที่เห็นมากที่สุดก็คือธุรกิจบันเทิง เพื่อเป็นการตอบโจทย์ผู้บริโภคให้มากที่สุด เป็นคอนเทนต์ที่สร้างเสียงหัวเราะ

ด้วยความน่าสนใจของธุรกิจจึงเป็นที่มาในการจัดนิทรรศการอุตสา ฮา กรรม : ผลิตขำ ทำเงินที่จัดโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ร่วมกับบรรลือสาส์น หรือขายหัวเราะ

1_ha

จะเห็นว่าจากเดิมธุรกิจนี้หลายคนอาจจะรู้จักเพียงแค่คาเฟ่ หรือคณะตลกต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง แต่ในปัจจุบันธุรกิจมีการพัฒนามากขึ้น มีการแปลงอารมณ์ขันมาเป็นสินทรัพย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มมากมายอยู่ในรูปแบบของทั้งการ์ตูน นิยาย เพลง นิตยสาร คณะลูกทุ่ง ตลกคาเฟ่ รายการทีวี และภาพยนตร์

หรือแม้แต่ในวงการโฆษณา หรือทำคลิปวิดีโอไวรัลในการสร้างแบรนด์ของแบรนด์ต่างๆ ก็มีการนำคอนเทนต์ผลิตขำมาช่วยในการสร้างการรับรู้ด้วย เพราะนอกจากคอนเทนต์ดราม่าที่กินใจคนไทยแล้ว คอนเทนต์ตลกเฮฮาก็สามารถกระตุ้นการแชร์ การบอกต่อได้อย่างดี เริ่มมีการนำคอนเทนต์ขำขันไปใช้ทั้งในจอแก้ว และจอเงิน

6_hanew

ไม่ว่าจะเป็นรายการโทรทัศน์ที่สามารถแจ้งเกิดดาวตลกเป็นซูเปอร์สตาร์มาแล้วอย่างรายการชิงร้อยชิงล้าน ทำให้แก๊งสามช่าเป็นที่โด่งดัง ภายหลังได้เกิดรายการอื่นๆ อีกมากมายทั้งตลกหกฉาก ทไวไลท์โชว์ ทอล์ก กะเทย

รวมถึงภาพยนตร์ก็นำคอนเทนต์ตลกมาเป็นจุดขายเพื่อสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ที่ผ่านมาภาพยนตร์ตลกก็สามารถสร้างรายได้ถึงหลักร้อยล้านได้หลายเรื่องทีเดียว อย่างพี่มากพระโขนง, ไอฟาย แต้งกิ้ว เลิฟยู้, เอทีเอ็ม เออรัก เออเร่อ และล่าสุดกับหลวงพี่แจ๊ส 4G คอนเทนต์ต่างๆ เป็นการปรับเพื่อให้เข้ากับจริตและความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง

4_ha

หรือแม้แต่ธุรกิจอื่นๆ อย่างวงการการศึกษา ที่นำคอนเทนต์ตลกมาสร้างสีสันเป็นจุดเด่นในการสอนของสถาบันกวดวิชา ที่รู้จักกันแพร่หลายก็ได้แก่ ดาว๊องก์, ครูลิลลี่, ครูสมศรี และครูลูกกอล์ฟ เป็นรูปแบบการสอนที่ทำให้นักเรียนไม่เบื่อ และจดจำบทเรียนได้ง่าย

5_ha

หรือในยุคดิจิทัลสมัยนี้ ตลกออนไลน์ได้เกิดขึ้นมากมายผ่านเพจในเฟซบุ๊ก มีการแจ้งเกิดของเพจต่างๆ เพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น โดยจุดเด่นที่การทำคอนเทนต์ หรือการเล่าเรื่องผ่านความตลก ความขำขัน เช่นเพจบันทึกของตุ๊ด ที่มีการเล่าเรื่องราวของตนเองเพื่อเป็นอุทธาหรณ์สอนใจต่างๆ แต่แฝงด้วยภาษาการเขียนที่น่าอ่าน แฝงมุกตลกเข้าไป ทำให้โดนใจคนอ่าน จากความสำเร็จนี้ได้ต่อยอดไปถึงการทำเป็นละครซีรีส์ไออารี่ ตุ๊ดซี่ส์ที่ออกอากาศทางช่อง GMM 25

สิ่งที่สะท้อนกลับมาก็คือ ในตอนนี้ความตลกได้กลายเป็นแบรนดิ้งที่มีมูลค่ามาหาศาลไปแล้ว ดาวตลกได้กลายเป็นซูเปอร์สตาร์ หรืออย่างตลกเดี่ยวโน้สอุดมแต้พานิช ก็มีอิทธิพลมากเช่นกันไม่ว่าจะมีเดี่ยวไมโครโฟนปีไหนก็มีคนพร้อมติดตามและมีผู้สนับสนุนมากขึ้นทุกปี และยังได้เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าอีกด้วย

udom

2_ha

กลายเป็นว่าธุรกิจผลิตขำ ที่อาจดูขำๆ แต่จริงๆ แล้วสามารถผลิตเงินได้มหาศาลเลยทีเดียว อยู่ที่การปรับคอนเทนต์ให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคเท่านั้นเอง

timeline_hanew5

7_ha 8_ha 9_ha 10_ha 11_ha 12_ha 13_ha

]]>
1097677