คิงเพาเวอร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 25 Apr 2023 10:33:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แผนหลังวิกฤต “คิงเพาเวอร์” ลุยขาย “ออนไลน์” เต็มสูบ ดันยอดสินค้าที่ไม่ใช่ดิวตี้ฟรีใน FIRSTER https://positioningmag.com/1428468 Tue, 25 Apr 2023 09:00:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428468
  • หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 “คิงเพาเวอร์” วางเป้าหมายใหม่ “ไม่ใช่แค่ดิวตี้ฟรี” โดยจะผลักดันทั้ง 8 กลุ่มธุรกิจของบริษัท
  • หันมาเน้นการขาย “ออนไลน์” มากขึ้นผ่าน KINGPOWER.COM โดยรวมศูนย์ทั้งฐานลูกค้าดิวตี้ฟรี และสินค้าที่ไม่ใช่ดิวตี้ฟรีใน FIRSTER (เฟิร์สเตอร์) ไว้ในแหล่งเดียว
  • เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์กลุ่มใหม่ The Possibilities Makers ได้แก่ เจเจ ต้าเหนิง เจฟ-ซาเตอร์ และวง 4EVE
  • 3 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมากสำหรับ “คิงเพาเวอร์” บริษัทที่ทำรายได้หลักจากการขายสินค้าดิวตี้ฟรี น่านฟ้าระหว่างประเทศที่ปิดล็อกดาวน์จึงหมายถึงรายได้มหาศาลที่สูญหาย

    “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กล่าวสรุปย้อนถึงการหาทางรอดในช่วงเวลาวิกฤตปี 2563-65 ซึ่งบริษัทมีการปรับตัวหลักๆ ดังนี้

    1.ปรับตัวขายสินค้าที่ไม่ใช่ดิวตี้ฟรี ผ่านช่องทางออนไลน์ – เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว ทำให้ต้องปรับมาขายสินค้าที่มีภาษีอากร และใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก โดยให้พนักงาน 12,000 คนของบริษัทปรับตัวเป็นเซลส์ขายออนไลน์ ซึ่งทำให้บริษัทยังพอมีรายได้หล่อเลี้ยง

    ในเวลาต่อมาบริษัทจึงเปิดธุรกิจใหม่ FIRSTER (เฟิร์สเตอร์) เป็นแพลตฟอร์ม O2O ที่มีทั้งหน้าร้านออฟไลน์และอีคอมเมิร์ซ ปัจจุบันมี 2 สาขาที่ตึกมหานคร และสยามสแควร์ เน้นขายสินค้าที่ไม่ใช่ดิวตี้ฟรีกลุ่มบิวตี้และไลฟ์สไตล์ เจาะตลาดวัยรุ่น

    FIRSTER สาขาสยามสแควร์

    2.แคมเปญตอกย้ำแบรนด์และประเทศไทย – ในปี 2564 บริษัทมีแคมเปญ Thailand Smile with You กับสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ เพื่อให้การท่องเที่ยวไทยยังอยู่ในใจของคนทั้งโลก รวมถึงมีแคมเปญ WeChat Mini Game เพื่อสื่อสารกับชาวจีนโดยเฉพาะ

    3.เตรียมฟื้นตัวในปี 2565 – บริษัทรีโนเวตพื้นที่ในสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อรอรับการกลับมาของการท่องเที่ยว, เปิดโรงแรม The Standard Bangkok Mahanakhon และเริ่มกลับมาทำการตลาดผ่านแคมเปญมิวสิกมาร์เก็ตติ้งเพลง My Duty

    “3 ปีที่ผ่านมา เราทำให้บริษัทเป็นแบบนี้ได้เพราะมีแรงบันดาลใจจากผู้ก่อตั้งคือคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา เพราะเขาเชื่อว่า ‘ทุกอย่างเป็นไปได้ ถ้าตั้งใจจริง’ เราจึงผ่านช่วงที่ยากลำบากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมาได้ และนำคำว่า The Power of Possibilities มาเป็นวิสัยทัศน์ของเราหลังจากนี้” อัยยวัฒน์กล่าว

     

    วิสัยทัศน์ใหม่ “คิงเพาเวอร์” ดันทั้ง 8 กลุ่มธุรกิจ

    “เราต้องทำให้บริษัทหลุดออกจากการทำแค่ธุรกิจดิวตี้ฟรี” อัยยวัฒน์ประกาศทิศทางที่ชัดเจน

    คิงเพาเวอร์
    พอร์ตโฟลิโอ 8 กลุ่มธุรกิจของคิงเพาเวอร์

    8 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวนั้น ได้แก่

    1. Travel Retail – พื้นที่ค้าปลีกและออมนิชาแนลในกลุ่มสินค้าดิวตี้ฟรี
    2. Retail – พื้นที่ค้าปลีกกลุ่มสินค้าที่ไม่ใช่ดิวตี้ฟรี ช้อปได้ทุกวัน
    3. Dining – พื้นที่รับประทานอาหารและสังสรรค์ เช่น Thai Taste Hub
    4. Hospitality – กลุ่มโรงแรมและพักผ่อน
    5. Consumer Products – สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ยาดมพาสเทล
    6. Travel Experience – ธุรกิจสร้างสรรค์ประสบการณ์
    7. Sports – ทีมกีฬาระดับอาชีพ เช่น สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้
    8. CSR – ธุรกิจเพื่อสังคม

    เห็นได้ว่าทุกธุรกิจนั้นคิงเพาเวอร์มีรากฐานอยู่แล้ว เพียงแต่จะมีการต่อยอด ให้ความสำคัญมากกว่าเดิม

     

    ผลักดันยอดขาย “ออนไลน์” เป็น 30%

    ในแง่ช่องทางการขายนั้น คิงเพาเวอร์จะหันมาเน้นการขายออนไลน์มากยิ่งขึ้น อัยยวัฒน์ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมียอดขายออนไลน์ 10% ของยอดรวม ตั้งเป้าจะไปถึง 30% ภายในปี 2568

    โดยบริษัทมีการปรับใหญ่ดิจิทัล ทรานสฟอร์มเมื่อ 10 เดือนก่อน เพื่อให้การขายของบริษัทเป็น Data-Driven และมีการรวมศูนย์การขายของทั้งฝั่งดิวตี้ฟรี (KINGPOWER) และไม่ใช่ดิวตี้ฟรี (FIRSTER) มาอยู่รวมกัน ลูกค้าสามารถเข้าชมสินค้าทั้งสองประเภทได้ผ่าน KINGPOWER.COM ไม่ต้องแยกแพลตฟอร์ม

    อย่างไรก็ตาม ทั้งตัวสินค้า เป้าหมาย และการจัดส่งจะแตกต่างกัน คือ

    • KINGPOWER : สินค้าแบรนด์เนมดิวตี้ฟรี เช่น น้ำหอม เครื่องหนัง เสื้อผ้า เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวมีไฟลท์บินระหว่างประเทศ สามารถรับสินค้าได้ที่สนามบิน
    • FIRSTER : สินค้าบิวตี้และไลฟ์สไตล์ (มีภาษี) โดยมีแบรนด์บิวตี้เอ๊กซ์คลูซีฟ 20 แบรนด์ เน้นเจาะกลุ่มคนในประเทศ ช้อปได้ทุกวัน สามารถจัดส่งเดลิเวอรีได้ทั้งที่บ้านและโรงแรม

     

    พรีเซ็นเตอร์ Gen Z ปั้นภาพลักษณ์ทันสมัย

    หลังจากคิงเพาเวอร์ก่อตั้ง FIRSTER เมื่อปี 2564 เห็นได้ว่าบริษัทเริ่มหันมาเจาะตลาดวัยรุ่นมากขึ้น และปีนี้ได้ฤกษ์เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์รวด 10 คน ในนาม The Possibilities Maker ได้แก่ เจเจ ต้าเหนิง เจฟ ซาเตอร์ และวง 4EVE

    คิงเพาเวอร์
    พรีเซ็นเตอร์กลุ่มใหม่ The Possibilities Makers เจเจ-ต้าเหนิง-เจฟ ซาเตอร์-วง 4EVE

    ทั้งหมดเป็นคนดังในหมู่วัยรุ่น Gen Z ซึ่งคิงเพาเวอร์ต้องการจะสร้างฐานลูกค้า จากเดิมที่มีฐานชัดเจนอยู่แล้วในกลุ่ม Gen X – Gen Y

    “โอกาสใหม่ของเราจะต้องเข้าหา Gen Z ให้ได้ ต้องสื่อสารให้เขามองเห็นว่า เราไม่ใช่แบรนด์แก่ๆ ที่ล้าหลัง” อัยยวัฒน์กล่าว “พรีเซ็นเตอร์กลุ่มนี้มีภาพลักษณ์ที่เหมาะกับแบรนด์ของเรา และมีความสามารถเพื่อเป็นหน้าตาให้ชาวต่างชาติเห็นศักยภาพของศิลปินไทย”

     

    คาดรายได้แตะ 80% ของปีก่อนโควิด-19

    ด้านเป้าหมายรายได้ปี 2566 อัยยวัฒน์คาดการณ์ว่าคิงเพาเวอร์จะทำรายได้แตะ 80% ของที่เคยทำได้ในปี 2562 (ก่อนโควิด-19)

    ขณะที่โครงการใหม่ปี 2566 ของคิงเพาเวอร์ เดือนกันยายนนี้จะเริ่มเปิดให้บริการ King Power Duty Free แห่งใหม่ที่ อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite Building) ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    รวมถึงปี 2567 จะมีการลงทุนโครงการใหม่ ใช้งบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด

    “เป้า 80% ของก่อนโควิด-19 เป็นเป้าที่ยากมากเหมือนกัน เพราะถึงแม้ AOT คาดว่าจะมีคนเดินทางผ่านสนามบิน 64 ล้านคนในปีนี้ แต่กลุ่มลูกค้าหลักของเราคือชาวจีนนั้นคาดว่าจะบินเข้ามาเพียง 30% ของที่เคยมาในปี 2562” อัยยวัฒน์กล่าว “แต่เราก็หวังว่าจะได้ลูกค้าใหม่ๆ และหวังการจับจ่ายต่อคนที่มากขึ้นด้วย”

    ]]>
    1428468
    King Power ยันจ่ายเงินเดือนพนักงานครบ 12,000 คน แม้ปิดสาขา กางแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1276588 Sat, 02 May 2020 09:23:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276588 กลุ่มคิงเพาเวอร์ยืนยันจ่ายเงินเดือนพนักงานครบ 12,000 คน แม้ท่องเที่ยวฟุบ-สาขาถูกปิดหมด ยันไม่มีนโยบายเลิกจ้าง พร้อมทุ่มโครงการเพื่อสังคมอีกนับพันล้าน พร้อมเสนอ 7 ข้อ เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทย

    กลุ่มคิง เพาเวอร์ เผยแพร่เนื้อหาเพื่อตอบจดหมาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกรณีที่ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน 2563 ออกแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย 20 ท่าน เพื่อร่วมกันช่วยเหลือประเทศ และร่วมเป็นทีมประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตที่เกิดจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19

    ทั้งนี้กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ ของครอบครัว “ศรีวัฒนประภา” ซึ่งนายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนะประภา ซีอีโอของกลุ่มได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 6 ของมหาเศรษฐีไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ระบุใจจดหมายตอบนายกรัฐมนตรีว่า

    เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 บริษัทมีมาตรการสำหรับพนักงานด้วยการจ่ายเงินเดือนพนักงานจำนวน 12,000 คน เต็มจำนวนตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 และไม่มีนโยบายเลิกจ้างงาน แม้ว่าสาขาทั้งหมดของกลุ่มบริษัทฯ จะถูกปิดทำการตามนโยบายความปลอดภัยของรัฐก็ตาม

    นอกจากนี้ยังมีนโยบายการแจกหน้ากากอนามัย และมาตรการคัดกรองโรคให้กับพนักงานอย่างเคร่งครัด มีการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่พนักงาน นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม เป็นต้นมา ยังมีนโยบายทำงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อจากการเดินทางอีกด้วย

    กางโครงการเพื่อสังคมปี 63-65 ทุ่มนับพันล้าน

    กลุ่มคิงเพาเวอร์ยังเปิดเผยถึงงบประมาณในโครงการเพื่อสังคมที่จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2563-2565 รวมมูลค่ามากกว่า 1,400 ล้านบาท ประกอบไปด้วยโครงการด้านเยาวชน, ด้านสาธารณสุข, พัฒนาสังคมในด้านชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน, เพื่อสนับสนุนทางการแพทย์ และโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวประเทศไทย ทั้งนี้สามโครงการหลังถือเป็นโครงการใหม่ ที่ใช้เงินประมาณ 719.5 ล้านบาท

    ขณะเดียวกัน กลุ่มคิงเพาเวอร์ยังมีข้อเสนอด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยที่หยุดชะงักจากวิกฤต COVID-19 จำนวน 7 ข้อดังนี้

    1. ตั้งกองทุนเพื่อธุรกิจการท่องเที่ยว
    2. จัดเตรียมประกันภัย Covid-19 สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทย
    3. การจัดคลัสเตอร์ กลุ่มจังหวัดเพื่อการท่องเที่ยว
    4. การพัฒนาระบบ E-Visa on Arrival การตรวจคนเข้าเมืองและการบริหารจัดการสลอตการบิน
    5. การพัฒนาองค์ความรู้การท่องเที่ยวแนวใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีใหม่ (New Normal)
    6. การพัฒนาซูเปอร์ แอปพลิเคชัน สำหรับการท่องเที่ยวภายในประเทศไทย และสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ
    7. แก้ไขปัญหาเรื่องความไม่เพียงพอของมัคคุเทศก์สำหรับนักท่องเที่ยวบางสัญชาติ

    Source

    ]]>
    1276588
    ทอท.อนุมัติ​ “King Power” ต่อสัมปทาน “ดิวตี้ฟรี” ดอนเมืองยาวไปอีก 10 ปี https://positioningmag.com/1258219 Mon, 23 Dec 2019 16:53:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258219 บอร์ด ทอท. มีมติอนุมัตให้ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิประกอบกิจการฯ ในสนามบินดอนเมืองเป็นระยะเวลา 10 ปี 6 เดือน เสนอจ่ายขั้นต่ำ 1,500​ ล้านบาท/ปี เป็นผู้เสนอรายเดียว

    นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท. มีมติอนุมัติผลการคัดเลือกการให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง

    โดยให้ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิประกอบกิจการฯ เป็นระยะเวลา 10 ปี 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 มีนาคม 2576 โดยคิงเพาเวอร์ฯ ได้เสนอค่าผลประโยชน์ตอบแทนขั้นต่ำรายปี (Minimum Guarantee) ปีแรก เป็นจำนวนเงินกว่า 1,500 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งสูงกว่าประมาณการรายได้ที่ ทอท.คาดการณ์ว่าจะได้รับในปีสุดท้าย และสูงกว่าราคาที่ ทอท.คาดหวังไว้

    โดย ทอท.คาดว่าจะลงนามในสัญญากับบริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ภายในเดือนมกราคม 2563
    ทั้งนี้ ทอท.ได้ออกประกาศเชิญชวนคัดเลือกผู้ประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร สนามบินดอนเมือง ระหว่างวันที่ 24 ต.ค. – 8 พ.ย. 2562 โดยมีผู้สนใจซื้อเอกสาร รวมทั้งสิ้น 2 ราย ได้แก่ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด และ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2562 ซึ่ง ทอท.กำหนดให้มีการยื่นข้อเสนอการดำเนินงาน โดยมีผู้มายื่นข้อเสนอเพียงรายเดียว ได้แก่ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด

    โดยคณะกรรมการพิจารณารายได้ของ ทอท.ได้เห็นชอบผลการคัดเลือก ให้ บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด เป็นผู้ได้รับสิทธิประกอบกิจการฯ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2562

    ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มคิงเพาเวอร์ เป็นผู้รับสัญญาสัมปทานดิวตี้ฟรีสนามบินดอนเมืองอาคาร 1 (ระหว่างประเทศ) พื้นที่ประมาณ 1,100 ตร.ม. จ่ายผลตอบแทน ทอท.เดือนละ 63 ล้านบาท หรือปีละ 756 ล้านบาท สัญญา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2555-30 ก.ย. 2565

    Source

    ]]>
    1258219
    กวาดเรียบ! “คิง เพาเวอร์” ชนะประมูล “ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์” สุวรรณภูมิ บริหารต่ออีก 10 ปี https://positioningmag.com/1232408 Fri, 31 May 2019 05:00:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232408 ยังคงรักษาธุรกิจเดิมที่ทำมากว่า 30 ปี ไว้ได้เหนียวแน่น หลัง ทอท. ประกาศให้ “คิงเพาเวอร์” เป็นผู้ชนะประมูลสิทธิ์บริหารดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิอีกครั้ง ด้วยอายุสัญญา 10 ปี

    วันนี้ (31 พ.ค.) ช่วงเช้า 9.30 น. บริษัท ท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ประกาศผลการประมูลบริหารโครงการดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะประมูลอันดับ 1 คือ บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด อันดับ 2 BA หรือ บริการการบินกรุงเทพ จำกัด และอันดับ 3 ROH หรือ บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    วิชัย บุญยู้ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด ทอท. กล่าวว่า ทอท. ยังไม่ประกาศคะแนนของทั้ง 3 ราย เนื่องจากมีข้อเกี่ยวข้องกับการให้ผลตอบแทนที่จะได้รับตลอดอายุสัมปทาน หลังจากนี้จะนำผลประกวดราคาครั้งนี้เข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการรายได้วันที่ 12 มิ.ย. นี้ และเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด ทอท. วันที่ 19 มิ.ย. นี้

    ผู้ชนะคัดเลือกได้เสนอผลตอบแทนสูงกว่าเดิมและสูงกว่าที่ ทอท. คาดหมาย

    หลังจากนั้นช่วงบ่ายวันเดียวกัน ทอท. ได้เปิดซองประมูลราคาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ชนะคือ บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด ซึ่งคว้าชัยชนะเหนือคู่แข่งเพียงรายเดียว คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN

    การคว้าชัยชนะประมูลทั้งบริหารพื้นที่ดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ ที่มีอายุสัญญาสัมปทาน 10 ปี ครั้งนี้ นับเป็นหนึ่งในบทพิสูจน์ฝีมือการขึ้นมาบริหารอาณาจักรแสนล้าน “คิงเพาเวอร์” ของ “อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ต่อจากเจ้าสัว วิชัย ศรีวัฒนประภา

    สำหรับการประมูลโครงการดิวตี้ฟรี และพื้นที่เชิงพาณิชย์สนามบินสุวรรณภูมิครั้งนี้ ทอท. เปิดให้เอกชน “ซื้อซอง” เมื่อวันที่ 1 – 18 เม.ย. 2562 และเปิดให้ “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 จากนั้นวันที่ 27 พ.ค.2562 เปิดให้นำเสนอผลงาน และประกาศผลในวันที่ 31 พ.ค.2562 เพื่อเข้ารับสัญญาสัมปทานครั้งใหม่ระหว่างวันที่ 27 ก.ย. 2563 – 23 มี.ค. 2574 อายุ 10 ปี 6 เดือน

    การประมูลครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 สัญญา คือ 1. สิทธิ์บริหารพื้นที่จำหน่ายสินค้าปลอดภาษีอากร (ดิวตี้ฟรี) สุวรรณภูมิ สัญญานี้มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 5 ราย คือ 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด 2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด 3. บริษัท รอยัลออคิด เชอราตัน (ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป และ WDFG UK ผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจากอังกฤษ 4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด และ 5. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ในกลุ่มนี้ มี 2 บริษัท คือ เซ็นทรัลและไมเนอร์ ไม่ยื่นซองเอกสารเทคนิค จึงเหลือผู้ชิงประมูล 3 ราย

    ส่วนสัญญาที่ 2 สิทธิ์บริหารจัดการพื้นที่กิจกรรมเชิงพาณิชย์ (Commercial area) สนามบินสุวรรณภูมิ มีเอกชนซื้อซอง ทีโออาร์ 4 ราย 1. บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN 3. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT 4. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

    หลังเปิดให้เอกชน “ยื่นซอง” เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ในสัญญานี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ไม่ยื่นซองประมูล ส่วน ไมเนอร์ ถูก ทอท. ตัดสิทธิ์เข้าร่วมประมูล ด้วยเหตุผลผิดเงื่อนไขตามทีโออาร์ ข้อ 3 และ ข้อ 5 จากการอ้างอิงเอกสารประสบการณ์ของบริษัทลูก “ไมเนอร์ ฟู้ด” ทำให้สัญญาบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์สุวรรณภูมิ เหลือผู้ผ่านเกณฑ์เข้าชิงเพียง 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และ เซ็นทรัลพัฒนา

    ]]>
    1232408
    ผิดคาด! เซ็นทรัล ถอนตัวประมูลดิวตี้ฟรี คิงเพาเวอร์-รอยัลออคิด-บางกอกแอร์เวย์ส ชิงดำ https://positioningmag.com/1231089 Wed, 22 May 2019 12:02:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231089 ผิดคาด เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลถอนตัวกะทันหันไม่ยื่นซองประมูลดิวตี้ฟรีสนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งๆ ที่พยายามผลักดันเรื่องนี้มาตลอด

    จากการที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้เปิดให้เอกชนยื่นซองประมูลจำหน่ายสินค้าปลอดอากร หรือ ดิวตี้ฟรี สนามบินสุวรรณภูมิ กำหนดให้ยื่นซองในวันนี้ (22 พ.ค. 62)

    จากจำนวนเอกชนซื้อซอง 5 ราย ผลปรากฏว่ามีเอกชน 3 ราย เข้ายื่นซองประมูล คือ

    1. บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด

    2. บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ROH ร่วมกับผู้ร่วมทุน 3 ราย คือ บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด และ WDFG UK LIMITED ผู้ประกอบธุรกิจดิวตี้ฟรีในประเทศอังกฤษ

    3. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด ดิวตี้ฟรีจากประเทศเกาหลีใต้

    ส่วนเอกชนอีก 2 ราย ไม่ได้มายื่นซอง คือ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด ร่วมมือกับบริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด ธุรกิจดิวตี้ฟรีประเทศสิงคโปร์ และ 2. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ยื่นชื่อพันธมิตรร่วมทุน

    หลังจากนี้ ทอท.จะเปิดซองเทคนิคในวันที่ 27 พฤษภาคม ให้เสนอราคาในวันที่ 31 พฤษภาคม และวันที่ 12 มิ.ย. เสนอให้บอร์ด ทอท.อนุมัติในวันที่ 19 มิ.ย. และลงนามผู้ชนะประมูล ประมาณ ก.ค. หรือ มิ.ย.

    ไมเนอร์ตก เหลือ 2 ราย ! “คิงเพาเวอร์ – เซ็นทรัล” ผ่านเกณฑ์ ชิงดำพื้นที่รีเทล สุวรรณภูมิ

    สำหรับการเปิดประมูลโครงการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ (รีเทล) สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีเอกชนซื้อซองไป 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ จำกัด 2. บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ 4. บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ซึ่งไม่มีรายใดแจ้งเรื่องการร่วมลงทุน (Joint venture) 

    ทอท.กำหนดให้ผู้เข้าประมูลโครงการบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ (รีเทล) สนามบินสุวรรณภูมิ ในวันนี้ (22 พ.ค.) เวลา 13.00 – 15.00 น ปรากฏว่ามีผู้ยื่นซอง ประมูลจำนวน 3 ราย ได้แก่ คิงเพาเวอร์ สุวรรณภูมิ, เซ็นทรัลพัฒนา และไมเนอร์

    หลังจากตรวจสอบคุณสมบัติ พบว่ามีผู้ผ่าน 2 รายคือคิงเพาเวอร์สุวรรณภูมิ และเซ็นทรัลพัฒนา

    ส่วนบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เชั่นแนล ได้ยื่นประมูล โดยใช้ผลงานของบริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ซึ่งถือว่าไม่ตรงกับเงื่อนไขใน TOR ข้อ 3.5 ที่ระบุให้ผู้ยื่นซองต้องเป็นผู้ซื้อซองด้วยดังนั้น

    แม้ว่าจะเป็นการใช้ผลงานของบริษัทลูกแต่เนื่องจาก บริษัท ไมเนอร์ฟู้ดกรุ๊ป ไม่ได้เป็นผู้ซื้อซอง อีกทั้งไม่ได้แจ้งเรื่องการ Joint venture กันต่อย่างใด จึงถือว่าเป็นคนละนิติบุคคล และทำให้ไมเนอร์ฯ ไม่ผ่านคุณสมบัติ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาคุณสมบัติได้ชี้แจง และไมเนอร์ฯเข้าใจในข้อผิดพลาดดังกล่าว วิชัย บุญยู้ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (สายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอทกล่าว

    โดยผู้ผ่านคุณสมบัติ 2 ราย คือ คิงเพาเวอร์ และเซ็นทรัล จะต้องนำเสนอผลงานในวันที่ 29 .และเปิดซองราคาในวันที่ 31 .ช่วงบ่าย โดย ทอท.จะสรุปการประมูลดิวตี้ฟรีและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ เสนอต่อคณะกรรมการรายได้ ทอทในวันที่ 12 มิ.. จากนั้นจะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอทวันที่ 19 มิ.. อนุมัติ คาดว่าจะสามารถลงนามสัญญาไม่เกินกลางเดือน ส.. 2562

    โครงการให้สิทธิ์ประกอบกิจการระยะเวลา 10 ปี 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 .. 2563 – 31 มี.. 2574 

    ลุ้น ดิวตี้ฟรี ภูมิภาค ยื่นซอง 4 มิ.ย.

    ส่วนโครงการให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) สนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ และหาดใหญ่ มีผู้ซื้อซองไป 4 ราย ได้แก่ คิงเพาเวอร์, บางกอกแอร์เวย์ส, โรงแรมรอยัลออคิด, เซ็นทรัล ซึ่งล่าสุดได้แจ้งเรื่องการร่วมลงทุน หรือ Joint venture มาแล้ว โดยมีคิงเพาเวอร์รายเดียวที่ไม่เสนอรายชื่อ Joint venture ดังนี้

    1. บริษัท คิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ไม่เสนอรายชื่อ JV / Consortium
    2. บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) JV ประกอบด้วย
      • บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
      • บริษัท โฮเต็ล ล็อตเต้ จำกัด
      • บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด
    3. บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) JV ประกอบด้วย
      • บริษัทโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
      • บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย กรุ๊ป จำกัด
      • WDFG UK LIMITED
    4. บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด Consortium ประกอบด้วย
      • บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
      • บริษัท ดีเอฟเอส เวนเจอร์ สิงคโปร์ จำกัด

    โดยจะมีการยื่นซองในวันที่ 4 มิ.ย. นำเสนอผลงาน วันที่ 5 – 6 มิ.ย. เปิดซองราคาวันที่ 10 มิ.ย. เพื่อนำเสนอบอร์ด ทอท. ในวันที่ 19 มิ.ย. เช่นกัน.

    Source

    ]]>
    1231089
    พลิกปูม เจ้าสัว ‘วิชัย’ เจ้าของอาณาจักรแสนล้าน “คิง เพาเวอร์” สโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ https://positioningmag.com/1194690 Sun, 28 Oct 2018 04:05:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1194690 กำลังเป็นข่าวสะเทือนขวัญในวงการฟุตบอลระดับโลก เมื่อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของทีม เลสเตอร์ ซิตี้ ซึ่งมี วิชัย ศรีวัฒนประภา เป็นเจ้าของ ประสบอุบัติเหตุตกข้างสนามแข่งขัน หลังจบเกมทีมเลสเตอร์ ซิตี้ เปิดบ้าน คิง เพาเวอร์ สเตเดียม ทำศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ พบกับ เวสต์ แฮม ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นคู่สุดท้ายของคืนวันเสาร์ ก่อนเกมจบลงที่ผลเสมอ 1-1 คืนวันที่ 27 ตุลาคม

    เฮลิคอปเปอร์ลำดังกล่าวเป็นของ วิชัย ศรีวัฒนประภา เจ้าของทีมชาวไทย ซึ่งเจ้าตัวใช้เดินทางโดยสารกลับบ้านทุกครั้งที่เข้ามาชมเกมในบ้าน และได้บินเข้ามาในสนามเพื่อรับทีมผู้บริหารกลับบ้าน ออกจากสนามไป ทว่าเพียงแค่ 200 เมตร เครื่องบินเกิดเสียการควบคุม ใบพัดด้านหลังไม่ทำงาน ก่อนตกลงบริเวณลานจอดรถของสนามเวลาประมาณ 20.30 ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ เตรียมแถลงข่าวถึงเรื่องนี้โดยละเอียดในเร็วๆ นี้

    สำหรับ วิชัย ศรีวัฒนประภา (รักศรีอักษร) เกิดวันที่ 5 มิถุนายน 2501 จบการศึกษามัธยมปลาย สหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 

    วิชัย เริ่มบริหารงานในธุรกิจของครอบครัว บริษัทศรีอักษร ในปี 2523 จากนั้นในปี 2532 วิชัย เริ่มธุรกิจดิวตี้ฟรีที่สนามบินฮ่องกง จากชักชวนของเพื่อนชาวฮ่องกง จากนั้นคิง เพาเวอร์ด้วยสายสัมพันธ์ที่ดีกับภาครัฐ ได้เปิดร้านดิวตี้ฟรีที่กลางเมืองย่านเพลินจิตในปี 2532 และปี 2538 ได้สัมปทานในสนามบินดอนเมือง

    ดิวตี้ฟรีในอดีต

    จุดที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทำให้วิชัยผงาดเป็นเสือติดปีก คือ ปี 2549 เมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการคิง เพาเวอร์เป็นบริษัทเดียวที่ได้บริหารพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิทุกซอกทุกมุม ตั้งแต่พื้นที่ตั้งร้านค้าปลอดภาษี กิฟต์ช็อป ร้านอาหาร ไปจนถึงป้ายโฆษณา และเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่วิชัยเช่าที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ปลุกปั้น “คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์” ที่ซอยรางน้ำ ย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ 

    ดิวตี้ฟี

    วิชัย ดำรงตำแหน่งประธานทุกบริษัทในเครือ ซึ่งมีการแตกขยายกิจการออกไปมากมาย กลายเป็นเจ้าของอาณาจักรธุรกิจที่ทำให้วิชัยติดอันดับ 5 อภิมหาเศรษฐีไทย ในปี 2561 โดยการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ประเทศไทย ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 1.6525 แสนล้านบาท

    ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว ประเทศที่ชื่นชอบคืออังกฤษ ชื่นชอบกีฬาขี่ม้า เคยสนับสนุนการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในประเทศและต่างประเทศ ที่โด่งดังคือการแข่งขันจักกราวาตี้คิง เพาเวอร์เมื่อปี 2055 มีเจ้าฟ้าชายชาร์ลส มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ และเจ้าชายวิลเลี่ยมทรงร่วมแข่งในนามทีมคิง เพาเวอร์ด้วย ปัจจุบันวิชัยเป็นนายกสมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย นิยมสะสมนาฬิกา โดยเฉพาะรุ่นลิมิเต็ดเอดิชั่นของแบรนด์ต่างๆ 

    ต่อมาได้เข้าซื้อกิจการ สโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้ ของอังกฤษ ถือเป็นอีกหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญ ทำให้ชื่อเสียงของวิชัย และคิง เพาเวอร์ เป็นที่รู้จักในระดับโลก

    สไตล์การบริหาร มีความละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจ เช่น ข้อมูลก่อนการตัดสินใจต้องมีตัวเลขสนับสนุนเพียงพอ ให้ความสนใจตรวจตราแม้กระทั่งชั้นวางสินค้าแต่ละร้านในดิวตี้ฟรี และยังอ่านคนได้ขาด และรู้จักใช้คนรอบข้างได้ตรงกับเป้าหมาย 

    ทางด้านครอบครัว ภรรยา เอมอร (บุญขันธ์) ศรีวัฒนประภา มีบุตร-ธิดาทั้งหมด 4 คน นางสาววรมาศ ศรีวัฒนประภา นายอภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา นางสาวอรุณรุ่ง ศรีวัฒนประภา และ นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ซึ่งปัจจุบันลูกๆ ได้เข้ามาช่วยบริหารงาน โดยเฉพาะลูกชายคนเล็ก อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ได้ขึ้นมารับตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มคิง เพาเวอร์ และยังเป็น รองประธานสโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้.

    ]]>
    1194690
    เจ้าพ่อคิง เพาเวอร์ ชู “ตึกมหานคร” ศูนย์ไลฟ์สไตล์ระดับโลก https://positioningmag.com/1165625 Wed, 11 Apr 2018 05:32:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165625 กลุ่ม บริษัท คิง เพาเวอร์ วางเป้าหมายในอนาคต หลังประกาศ ทุ่ม 14,000 ล้านบาท ในการซื้อโครงการมหานครในส่วนของโรงแรม, จุดชมวิว Observation Deck และอาคารรีเทลมหานครคิวบ์ จากบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ต้องการต่อยอดธุรกิจ และพัฒนาให้เป็นโครงการไลฟ์สไตล์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพื่อเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

    อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยถึงการตัดสินใจเดินหน้าต่อยอดธุรกิจในครั้งนี้มาจาก

    1. เนื่องจากทรัพย์สินต่างๆ ที่ซื้อมานั้นสอดคล้องกับธุรกิจที่กลุ่มคิง เพาเวอร์ได้ดําเนินการอยู่

    2. ยังเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทยมีศักยภาพ และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งสองส่วนป็นปัจจัยสําคัญสนับสนุนให้กล้าตัดสินใจทุ่มงบประมาณ 14,000 ล้านบาท มั่นใจว่าจะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น

    ทรัพย์สินที่ คิง เพาเวอร์ ได้เข้าถือครองทรัพย์สินในตึกมหานคร ประกอบไปด้วย โรงแรมแบงค็อก เอดิชั่น, จุดชมวิว Observation Deck หรือจุดชมทัศนียภาพ ชั้น 74-77, อาคารรีเทลมหานครคิวบ์, ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมร้านค้าปลีกบริเวณพื้นที่รีเทล 4 ชั้น รวมถึง ดีน แอนด์ เดลูก้า สาขาแรกในไทย

    พร้อมเปลี่ยนชื่อตึกมหานคร เป็นคิง เพาเวอร์ มหานคร

    เป้าหมายสําคัญในการพัฒนาทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น รวมถึงพร้อมที่จะรองรับการเติบโตของประชาคมอาเซียนในอนาคต

    จุดแข็งของทรัพย์สินที่ได้มา ตึกมหานครเป็นหนึ่งในอาคารที่มีความสูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาใช้บริการ

    จุดชมวิว Observation Deck ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดในประเทศไทยที่เห็นวิว 360 องศาทั้งวิวเมืองและโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา มีโรงแรมระดับ 5 ดาว และร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและนอกประเทศ พร้อมที่จะเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สําคัญของกรุงเทพมหานครต่อไป

    โดยที่ คิง เพาเวอร์ มีแผนจะขยายร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ในเมืองเพิ่มอีกแห่งในตึกมหานครด้วย

    อัยยวัฒน์ บอก ด้วยการตัดสินใจครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สําคัญทางเศรษฐกิจ การค้า และศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่สําคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกต่อไป.

    ]]>
    1165625
    ปิดดีลเพซ ขาย ตึก “มหานคร” ให้คิง เพาเวอร์ มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1165572 Wed, 11 Apr 2018 00:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165572 หลังจากตกเป็นกระแสข่าวถึงความพยายามในการแก้ปัญหาสภาพคล่อง หลังจากได้ทุ่มลงทุนในโปรเจกต์ระดับหรูหลายโครงการ ในที่สุด เพซ ดีเวลลอปเมนท์ ได้ตัดขายโครงการมหานคร มูลค่า 14,000 ล้านบาท ให้กับ “คิง เพาเวอร์” ประกอบไปด้วย ที่ดิน โรงแรม อาคาร จุดชมวิว และค้าปลีก

    โดยที่เพซเหลือไว้เพียงร้านดีลแอนด์เดลลูก้า และอสังหา 4 โครงการในมือ

    นับเป็นความพยายามของเพซ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์สุดหรู อย่างโครงการมหานคร อาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ที่ต้องประสบปัญหขาดสภาพคล่อง จนต้องหาหนทางขายทรัพย์สินในมือเพื่อมาใช้หนี้ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่

    เปิดเส้นทางวิบาก เพซ ดีเวลลอปเมนท์

    ปี 2547 เพซ วางจุดขายของการเป็นผู้ประกอบอสังหาฯ มุ่งเน้นโครงการขนาดใหญ่ ระดับลักชัวรีถึงซูเปอร์ลักชัวรี เริ่มพัฒนาโครงการแรกในปี 2547 คอนโดมิเนียม ไฟคัส เลน ภายใต้บริษัทชินคาร่า จำกัด

    ปี 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น เพซ ดีเวลลอปเมนท์ และเปิดขายโครงการ ศาลาแดง เรสซิเดนเซส คอนโดมิเนียมหรู มูลค่าโครงการ 2,500 ล้านบาท และเปิดสำนักงานขายโครงการมหานคร โครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการ 22,000 ล้านบาท

    ประกอบไปด้วยห้องชุดสุดหรูเดอะ ริทซ์คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส, โรงแรม เดอะ บางกอก เอดิชั่น จุดชมวิวบนอาคารมหานคร (มหานคร อ็อบเซอร์เวชั่นเด็ค) รวมถึงศูนย์การค้า

    ปี 2556 เปิดตัวโครงการมหาสมุทร วิลล่า ที่หัวหิน มูลค่าโครงการ 4,000 ล้านบาท วิลล่า ยังเป็นปีที่เพซได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 7 สิงหาคม 2556

    ปี 2558 เปิดขายโครงการนิมิต หลังสวน คอนโดหรู 187 ยูนิต มูลค่าโครงการรวม 8,000 ล้านบาท และได้ซื้อธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม แบรนด์ดังดีลแอนด์เดลูก้าในราคา 140 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังได้เปิดขายโครงการ โครงการวินด์เซล นราธิวาส คอนโดหรู มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท

    เจอปัญหาหมุนเงินไม่ทัน

    แต่ละโครงการที่เพซพัฒนาล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่และเป็นโครงการระดับบนที่การขายไม่ได้เร็วนัก สวนทางกับเงินลงทุนที่ต้องใส่เข้าไปเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จส่งมอบได้ และการที่เพซเข้าไปซื้อดีลแอนด์เดลูก้าซึ่งเป็นธุรกิจอาหาร แม้ว่าจะขายดีแต่ธุรกิจนี้จะต้องมีเงินสำรองสำหรับลงทุนซื้อของในทุกๆ วันจึงนำเงินออกมาใช้ได้น้อย

    ในช่วงที่เพซต้องการเม็ดเงินที่ได้จากการโอนมาเพื่อชำระหนี้ งานก่อสร้างกลับล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน ทำให้เพซเจอมรสุมหนี้ก้อนโต จนทำให้มีความพยายามขายทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือ เพื่อนำเงินมาใช้ชำระหนี้ และประคองธุรกิจไม่ให้ซวนเซเพราะปัญหาขาดสภาพคล่อง

    เจ้าหนี้รายใหญ่ของเพซ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการ 12,000 ล้านบาท และบริษัทยังได้ออกตั๋ว B/E หุ้นกู้รวมประมาณ 6,500 ล้านบาท ตามงบการเงินปี 2560 เพซมีทรัพย์สินรวม 32,422 ล้านบาท มีหนี้สิน 30,160 ล้านบาท 

    จากหนี้สินที่สูงแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบมาโดยตลอด ทำให้เพซขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ขาดทุนสะสมเกือบ 3,000 ล้านบาท ด้วยฐานะการเงินดังกล่าวทำให้เป็นอุปสรรคในการขอก่อหนี้เพิ่มเติม และอาจจะกลายเป็นปัญหาขาดสภาพคล่องตามมา

    หาผู้ร่วมทุนไม่สำเร็จ

    ดังนั้นจึงทำให้เพซต้องเร่งแก้ไขปัญหาด้านสภาพคล่องให้เร็วที่สุด ซึ่งเมื่อปีช่วงต้นปี 2560 เพซได้ประกาศดึงกลุ่มผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามา คือ อพอลโล เอเชีย สปรินท์ โฮลดิ้ง คอมปานี ลิมิเต็ด และโกลด์แมน แซคส์ อินเสน์เม้นท์ส โฮลดิ้งส์ (เอเชีย) ลิมิเต็ด มูลค่า 8,441 ล้านบาท แลกกับการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อยคือบริษัท เพซ โปรเจ็ค วันจำกัด และบริษัท เพซ โปรเจ็คทรี จำกัด

    แต่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) พบว่ามีข้อตกลงที่เพซทำไว้กับผู้ลงทุนรายใหม่ 2 กลุ่ม คือ การซื้อหุ้นบุริมสิทธิคืนในช่วงเดือน ส.. ปี 2561 มูลค่า 3,039 ล้านบาท จนเป็นที่มาของการสั่งให้ชี้แจง และทางเพซต้องยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวไปในที่สุด

    แสนสิริยกเลิกดีลซื้อโครงการ

    หลังจากนั้น เพซแก้ปัญหาด้วยการแบ่งขายสินทรัพย์ที่สร้างมาให้กับผู้ประกอบการที่พร้อมกว่าอย่างบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย โครงการนิมิต หลังสวน ทั้ง 100% จำนวน 179 ยูนิต และที่พักอาศัยโครงการเดอะ ริทซ์คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก ในโครงการมหานคร ที่เหลือทั้งหมด 53 ห้องชุด จากทั้งหมด 209 ยูนิต เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน

    แต่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แสนสิริ ได้แจ้งยกเลิกเอ็มโอยูเสนอราคาซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว โดยระบุว่า หลังจากขยายเวลาการตรวจสอบทรัพย์สินที่จะซื้อจะขาย ครั้งที่ 2 แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของบริษัท ยังไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาราคาซื้อขายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง จึงแจ้งยกเลิกการเสนอราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินดังกล่าว

    ขายที่ดินในญี่ปุ่น

    ในวันเดียวกัน เพซได้แจ้งถึงการอนุมัติขายที่ดินในตำบลนิเซโกะ จังหวัดฮอกไกโด ญี่ปุ่น เนื้อที่ 87 ไร่ 3 งาน 33.295 ตารางวา ในราคา 2,050 ล้านเยน หรือ 594.65 ล้านบาท ให้บริษัท Richforest International Investments หลังจากบริษัทเพซได้ซื้อที่ดินดังกล่าวเมื่อปี 2559 ในราคา 529 ล้านบาท เงินที่ได้ครั้งนี้จะนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว

    จากดีลตัดขายทรัพย์สินบางส่วนให้แก่บริษัทแสนสิริที่ล้มไป ก็มีกระแสข่าวการเจรจากับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ในการขายโรงแรมเดอะบางกอก เอดิชั่น รวมถึง อ็อบเซอร์เวชั่น เด็ค จุดชมวิวบรดาดฟ้า เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงิน และเป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยประคับประคองไม่ให้เพซล้ม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อไทยพาณิชย์

    อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวนี้ไม่ได้รับการยืนยัน เนื่องจากกลุ่มคิง เพาเวอร์ แม้จะมีเงินทุนมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาให้มีกำไรจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้คิง เพาเวอร์ยังมีธุรกิจโรงแรมอยู่ในมือ อาจต้องการโรงแรม เดอะ บางกอก เอดิชั่น จำนวน 155 ยูนิตภายในโครงการมหานครมาบริหาร แต่เชื่อว่าเพซจะไม่ขายแค่โรงแรมเพียงอย่างเดียว จะต้องขายพ่วงทรัพย์สินอื่นๆ ด้วย

    แต่แล้วราคาหุ้นของเพซในวันที่ 5 และ 9 เม.. ปรับตัวขึ้นอย่างผิดปกติ พบว่ามาจาก บริษัท คิง เพาเวอร์ ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อว่า บริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด เมื่อวันที่ 27 มี.. 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และมีกรรมการบริษัท คือ นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันจากเพซ

    ในที่สุดข่าวลือก็เป็นจริง เมื่อเพซได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 28 มี.2561 ได้อนุมัติให้บริษัท จำหน่ายทรัพย์สินมูลค่ารวมจำนวนไม่เกิน 14,000 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด

    ทรัพย์สินที่ขายประกอบไปด้วย 1.บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด (“PP1”) ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด (“PP3”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท

    โดยทรัพย์สินที่ PP1 และ PP3 จะจำหน่าย ประกอบไปด้วยที่ดิน โรงแรม อาคารจุดชมวิว อาคารรีเทลคิวบ์ ประติมากรรม ภาพวาด ใบอนุญาตต่างๆ รวมถึงสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของ PP1 (โรงแรม) และ PP3 (อาคารจุดชมวิวและอาคารรีเทลคิวบ์) ในโครงการมหานคร คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 12,617 ล้านบาท

    2.จำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่าง PP1 บริษัท เพซ โปรเจ็ค ทู จำกัด (“PP2”) PP3 และ บริษัท เพซ เรียล เอสเตท จำกัด (PRE) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 183 ล้านบาท

    จาการเข้าทำรายการครั้งนี้ เพซได้รับค่าตอบแทนสำหรับการจัดหา บริหารและดำเนินการให้เกิดรายการ เป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท

    พร้อมกันนี้ยังได้อนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นที่อพอลโล เอเชีย สปริ้นท์ คอมปานี ลิมิเต็ด (อพอลโล) และโกลด์แมน แซคส์ อินเวสเมนท์ส โฮลดิ้งส์ (เอเชีย) ลิมิเต็ด (โกลด์แมน) ถืออยู่ใน PP1 และ PP3 ร้อยละ 49 และร้อยละ 48.72 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทตามลำดับ รวมเป็นเงินจานวนไม่เกิน 320 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 10,000 ล้านบาท

    นับเป็นการปิดดีล การแก้ปัญหาสภาพคล่องของเพซ ทำให้อาคารมหานคร รวมถึงโรงแรม จุดชมวิวต้องตกไปอยู่ในมือของคิง เพาเวอร์ บิ๊กธุรกิจที่คว้าโครงการมาอยู่ในมือได้สำเร็จ


    อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1165572
    ได้แล้ว “คิงเพาเวอร์” ตัวกลาง ร่วม 6 พันธมิตร คว้าสิทธิ์ยิงสดบอลโลก 2018 ผ่านฟรีทีวี https://positioningmag.com/1153985 Fri, 19 Jan 2018 09:11:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153985 หลังจากเป็นปัญหายืดเยื้อมาพักใหญ่ เนื่องจากไม่มีเอกชนสนใจซื้อสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018 เพราะติดกฎของ กสทช เรื่องกติกา must have ที่กำหนดให้ฟุตบอลโลกต้องออกอากาศช่องฟรีทีวีเท่านั้น ห้ามออกระบบบอกรับสมาชิก ประกอบกับมีกระแสข่าวว่าค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดครั้งนี้มีราคาสูงขึ้นกว่าครั้งแล้วมาก ทำให้ช่องทีวีไม่สนใจลงทุนเพราะกังวลว่าจะขาดทุน

    จนรัฐบาลต้องออกมอบหมายให้ ระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย ดึงภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุน

    ล่าสุด ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ กกท. ได้ออกมายืนยันว่า คิงเพาเวอร์ตัวกลางเดินงานถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2018

    ผู้ว่าได้เรียกประชุมเพื่อหารือแนวทาง โดยมีตัวแทนจากเอกชนและรัฐวิสาหกิจ 7 ราย มาร่วมหามือ ประกอบด้วย พรอนันต์ เกิดประเสริฐ ผู้แทนบริษัท คิง เพาเวอร์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, อารดา จินดาวัฒน์ ผู้แทน บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน), สุรพล อุทินทุ ผู้แทนบริษัท ไทยเปฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน), ชมพูนุช บุญประเสริฐ ผู้แทนบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน), ตุ้มทอง มุสิกรัตน์ ผู้แทน สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล และนิวัตร์ ไวทยะมงคล ผู้แทน บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)


    ข้อสรุปในเบื้องต้น ทุกบริษัทเห็นพ้องต้องกันว่า กกท.จะให้ คิงพาวเวอร์ อินเตอร์เชั่นแนล เป็นผู้ประสานกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), ประเทศรัสเซีย เจ้าภาพ และ ผู้ถือลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด รวมทั้ง สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า เจ้าของสิทธิ์โดยตรง ตั้งแต่ขั้นตอนการทำสัญญา ซึ่ง กกท. จะช่วยดูแลเรื่องการลดหย่อนภาษีต่างๆ ให้

    ส่วนเรื่องของงบประมาณในการซื้อลิขสิทธิ์ และการดำเนินงานต่างๆ นั้น ทั้ง 7 บริษัท จะลงทุนเท่ากัน ส่วนตัวเลขเท่าไรนั้น ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยกำหนดแบ่งจ่ายเป็น 4 งวด เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมเมษายน 2561

    สาเหตุที่เราเลือก คิงพาวเวอร์ เนื่องจากเป็นภาคเอกชนที่มีความคล่องตัว มีสายสัมพันธ์เกี่ยวกับวงการฟุตบอลในระดับนานาชาติ และมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญกว่า กกท. เราต้องยอมรับว่าการดำเนินการโดยภาครัฐไม่คล่องตัวนัก ในส่วนของรัฐวิสาหกิจจะต้องพูดคุยเรื่องของกฎหมายต่างๆ ให้ชัดเจนด้วย ส่วนรายละเอียดในเรื่องการกำหนดการถ่ายทอดช่องใดบ้าง และจะลงนามสัญญากันเมื่อไรนั้น กกท. จะนัดทั้ง 7 บริษัทมาหารือร่วมกันอีกครั้งเพื่อติดตามความคืบหน้าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 นี้

    ทั้งนี้เป็นการยืนยันว่าแฟนฟุตบอลชาวไทยจะได้ชมฟุตบอลโลก 2018 ผ่านหน้าจอโทรทัศน์อย่างแน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์ ทางช่องฟรีทีวี ส่วนตารางการถ่ายทอดสด ออกช่องใดบ้าง จะมีการยืนยันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง.

    ที่มา : mgronline.com/sport/detail/9610000006065

    ]]>
    1153985