ค่าใช้จ่าย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 11 Mar 2022 13:45:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผู้บริโภคสหรัฐฯ วางเเผนประหยัด-ลดเที่ยว-ทานข้าวนอกบ้านน้อยลง หลังราคาน้ำมันพุ่ง https://positioningmag.com/1377250 Fri, 11 Mar 2022 13:05:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1377250 ผู้บริโภคในสหรัฐฯ วางเเผนจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านเเละการชมภาพยนตร์ลง หากราคาน้ำมันยังพุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง หลังรัสเซียบุกโจมตียูเครนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

จากผลสำรวจของสำนักข่าว Reuters เเละ Ipsos บริษัทด้านการวิจัยตลาด ที่ได้รวบรวมความคิดเห็นของชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ 1,005 คน พบว่า 54% เตรียมจะลดค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้านลง หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นถึงระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน ขณะที่ 49% เตรียมจะลดการใช้จ่ายในการรับชมภาพยนตร์และความบันเทิงอื่น ๆ ลง และกว่า 60% กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ขับรถทางไกล เพื่อไปทำกิจกรรมยามว่าง

สมาคมยานยนต์อเมริกัน หรือ AAA ระบุว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ปั๊มในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 10 มี.. อยู่ที่ประมาณ 4.32 ดอลลาร์ต่อแกลลอน เพิ่มขึ้นจาก 3.48 ดอลลาร์ในเดือนที่แล้ว โดยราคาน้ำมันเบนซินอาจพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6-7 ดอลลาร์ต่อแกลลอน หากราคาน้ำมันดิบพุ่งแตะ 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ตอบโต้การบุกยูเครนของรัสเซีย ซึ่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ด้วยมาตรการการคว่ำบาตรต่อรัสเซียครั้งใหญ่อย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมถึงการห้ามนำเข้าพลังงานจากรัสเซียด้วย

การคว่ำบาตรทำให้เศรษฐกิจรัสเซียปั่นป่วน เเละผู้บริโภคในสหรัฐฯ เองก็ยังต้องแบกรับต้นทุนจากความขัดแย้งที่เพิ่มสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันที่สูงอยู่แล้วได้พุ่งไปสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เเละส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน

ผู้ตอบแบบสำรวจ 47% จะลดการใช้จ่ายในการตกเเต่งเเละปรับปรุงบ้าน อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ใหม่และเครื่องใช้ต่างๆ หากราคาน้ำมันยังคงเเพงขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงจะใช้จ่ายปกติในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ‘จำเป็น’ เช่น 64% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มองว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะไม่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่พวกเขาใช้จ่ายในการซื้อยารักษาโรค เเละ 58% คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค ส่วนอีกประมาณครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาจะยังคงใช้จ่ายในการซื้อของชำเหมือนเดิม โดยในส่วนนี้ 28% คาดว่าจะใช้จ่ายน้อยลง 28% และ 18% คาดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น

 

ที่มา : Reuters 

]]>
1377250
ประเมินราคาน้ำมันในไทยพุ่ง 25% กระทบธุรกิจ ครัวเรือนเเบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน https://positioningmag.com/1359177 Fri, 29 Oct 2021 11:51:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359177 วิเคราะห์สถานการณ์ ‘ราคาน้ำมันดิบโลก’ ปี 64-65 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 65% ดันราคาขายปลีกในไทยพุ่งขึ้น 25% กระทบค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเพิ่มสูงถึง 2 แสนล้าน ภาคธุรกิจเเบกภาระต้นทุนอ่วม ครัวเรือนเตรียมรับค่าครองชีพเพิ่มขึ้น 1.6% หรือราว 340 บาทต่อเดือน

ราคาน้ำมันดิบดูไบ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากต้นปี 2564 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนของธุรกิจ และค่าใช้จ่ายของประชาชนอย่างมาก

บทวิเคราะห์ทิศทางและผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics มีประเด็นที่น่าสนใจหลักๆ ได้เเก่

  • แนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกและราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศ
  • การประเมินผลกระทบต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน

โดยในปี 2564-2565 คาดราคาน้ำมันดิบโลก (ราคาน้ำมันดิบดูไบ อ้างอิงตลาดสิงคโปร์) เฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 65% จากปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเฉลี่ยสูงขึ้น 25%

ราคาน้ำมันดิบดูไบทยอยไต่ระดับพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สิ้นปี 2563 ที่ผ่านมา และปรับขึ้นที่ระดับราคาเฉลี่ย 72.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปี 2563 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 75.8%

ทำไมราคาน้ำมัน ‘เเพงขึ้น’ 

สาเหตุสำคัญของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น มาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ประกอบกับวิกฤตการขาดแคลนถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ทำให้โรงงานไฟฟ้าหลายแห่งปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าทดแทนจึงทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกพุ่งสูงขึ้น

ttb analytics ประเมินว่าแม้จะมีแรงกดดันดังกล่าวอยู่บ้าง แต่การปรับขึ้นราคาอย่างรวดเร็วนี้ เกิดจากอุปทานตรึงตัว จากกำลังการผลิตที่ลดลงอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความต้องการที่ลดลงจากผลกระทบการระบาดของโควิด-19 เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย ย่อมทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

จากนั้นกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะทยอยปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อให้เกิดสมดุลกับความต้องการที่ฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาปรับสู่ดุลยภาพ ซึ่งคาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงปี 2564-2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือปรับเพิ่มขึ้น 65% จากระดับราคาเฉลี่ย 42.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2563

Photo : Shutterstock
ค่าใช้จ่ายน้ำมันในไทย เพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท

จากผลการศึกษาการส่งผ่านราคาน้ำมันดิบดูไบไปสู่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศ ผ่านโครงสร้างปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปของประเทศไทย พบว่า “ราคาน้ำมันดิบดูไบที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 65% ในช่วงปี 2564-2565 จะส่งผ่านไปยังราคาน้ำมันสำเร็จรูปขายปลีกในประเทศเพิ่มขึ้น 25%”

ซึ่งจะทำให้ แนวโน้มราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปี 2564-2565 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 27.8 บาทต่อลิตร โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 26.7 บาทต่อลิตร หรือเพิ่มขึ้น 23.8% และกลุ่มน้ำมันดีเซลราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ 28.2 บาทต่อลิตร หรือ เพิ่มขึ้น 25.0%

ด้านการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2564 คาดว่าจะหดตัว 4.2% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ความต้องการลดลง โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินจะลดลง 5.5% จากการจำกัดการเดินทางของประชาชนตามมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564 และกลุ่มน้ำมันดีเซลจะลดลง 3.2% จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลง โดยเฉพาะการขนส่งโดยสารคนที่ลดลง

ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่สูงขึ้นจะทำให้ค่าใช้จ่ายน้ำมันเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาท โดยภาคธุรกิจจะเพิ่มถึง 1.83 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้น 1.7 หมื่นล้านบาท

กระทบภาคธุรกิจ ‘ขนส่ง-โลจิสติกส์’ อ่วมสุด 

สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อภาคธุรกิจ โดยวิเคราะห์ผ่านโครงสร้างต้นทุนการใช้น้ำมันต่อต้นทุนรวม และอัตรากำไรขั้นต้นจากงบการเงินเฉลี่ยของธุรกิจ ซึ่งเจาะลึกธุรกิจที่ใช้น้ำมันมาก ได้แก่

1. ขนส่งและโลจิสติกส์ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 32%
2. ประมง สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 19%
3. เหมืองแร่ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 11%
4. เคมีภัณฑ์ สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 9%
5. วัสดุก่อสร้าง สัดส่วนต้นทุนจากการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 4%

พบว่า ระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% ในปี 2564-2565

ทั้งนี้ พบว่าระดับราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25% ในปี 2564-2565 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบต่อมาร์จิ้นสูงสุด ได้แก่ ขนส่งและโลจิสติกส์ ประมง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เหมืองแร่ ยานยนต์และชิ้นส่วน และวัสดุก่อสร้าง

โดยมาร์จิ้นของธุรกิจจะลดลง 10.4%, 3.6%, 3.2%, 2.6%, 2.2%, 2.0% และ 2.0% ตามลำดับ

“ธุรกิจเหล่านี้พึ่งพิงน้ำมันมาก แต่ความสามารถในการปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นต้องใช้เวลาส่งผ่านนานและส่วนใหญ่สินค้ามีการควบคุมราคาจากภาครัฐ ทำให้เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ออัตรากำไรของธุรกิจจะลดลง” 

ครัวเรือนไทย แบกค่าครองชีพเพิ่ม 340 บาท/เดือน

ผลการศึกษาค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันสำเร็จรูปของภาครัวเรือนไทย จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2563 พบว่าภาคครัวเรือนไทยมีค่าใช้จ่ายน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ย 1,361 บาทต่อเดือน คิดเป็นสัดส่วนการใช้น้ำมัน 6.4% ของค่าใช้จ่ายรวม

โดยระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น 25% จะส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 340 บาทต่อเดือน คิดเป็นค่าใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นหรือค่าครองชีพเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1.6%

และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายภาคจะพบว่า ภาคใต้และภาคกลาง เป็นภาคที่ได้รับผลกระทบมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ เนื่องจากมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายน้ำมันสูง โดยสัดส่วนของภาคใต้ และภาคกลาง คิดเป็น 7.5% และ 6.9% ของค่าใช้จ่ายรวม ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายน้ำมันส่งผลให้ค่าครองชีพภาคใต้และภาคกลางเพิ่มขึ้น 1.9% และ 1.7% ตามลำดับ

เเนะรัฐตรึงราคาขายปลีกในประเทศ

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ปริมาณการใช้ปกติของโลก หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง จะส่งผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นเกินกว่าการคาดการณ์ราคาเฉลี่ยทั้งปี โดยเฉพาะไตรมาส 4 ของปีนี้ที่น้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยมีโอกาสขยับขึ้นแตะ 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ ซึ่งจะส่งผ่านให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าราคาเฉลี่ยทั้งปีได้

“ในยามที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นจากความไม่สมดุลนี้ ภาครัฐควรพิจารณาตรึงราคาขายปลีกในประเทศ โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชยราคาให้ลดลง และหากมีความจำเป็นในกรณีราคาพุ่งสูงขึ้นมากอาจพิจารณาลดภาษีน้ำมันลง เพื่อช่วยบรรเทาภาระต้นทุนของภาคธุรกิจและค่าครองชีพประชาชนลงจนกว่าราคาน้ำมันจะปรับเข้าสู่ระดับราคาสมดุลใหม่อีกครั้ง”
]]>
1359177
พิษ COVID-19 คนใช้จ่ายน้อย “กรุงศรีคอนซูมเมอร์” รับธุรกิจบัตรเครดิตปีนี้หดตัว 35-50% https://positioningmag.com/1273490 Thu, 16 Apr 2020 06:07:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273490 ผลกระทบ COVID-19 ทุบยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตวูบ 9.4 หมื่นล้าน คาดทั้งปีติดลบ 35-50% ธุรกิจการบิน ท่องเที่ยวเเละโรงเเรม ระส่ำหนักยอดหาย 100% มองไตรมาส 4 ยังฟื้นยาก “กรุงศรีคอนซูมเมอร์” คลอด 3 มาตรการช่วยลูกค้า พักหนี้-ลดดอกเบี้ยบัตรเครดิตเหลือ 12% สกัด NPL พุ่ง

ท่ามกลางการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในไทยที่เริ่่มรุนเเรงขึ้น จนทางการต้องออกมาตรการ “เคอร์ฟิว” จำกัดเวลาออกจากเคหะสถาน พร้อมสั่งปิดสถานที่ต่างๆ ถ้วนหน้า กระทบการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน สะท้อนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ลดลงอย่างหนัก

เศรษฐกิจซบยาว COVID-19 ทำคนใช้จ่ายน้อย 

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลของบัตรเครดิตกรุงศรี บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยซบเซาลงไปมาก
ผู้คนจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบในเเง่ของรายได้

จากการประเมินเบื้องต้น พบว่า ไตรมาสแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเคตดิตของกรุงศรีคอนซูมเมอร์ลดลงราว 20% คิดเป็นเม็ดเงินอยู่ที่ 94,000 ล้านบาท ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตลดลง 17% คิดเป็นราว 24,000 ล้านบาท และสินเชื่อส่วนบุคคลลดลง 30%

“หากดูสถานการณ์ในช่วงนี้ คาดว่าในไตรมาสที่ 2/2563 ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะลดลงถึง 50% เมื่อไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลลดลงไป 30% ซึ่งใน 10 วันแรกของเดือนเม.ย.ยอดลดลงกว่า 50% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เเม้ว่าในไตรมาสที่ 3/2563 สถานการณ์การเเพร่ระบาดดีขึ้นก็คิดว่ายังจะลดลงราว 30% ขณะที่ปลายปีในไตรมาส 4/2563 เเม้ธุรกิจทุกอย่างจะเริ่มกลับมาเปิดให้บริการทั้งหมดเเต่คาดว่าคงกลับมาไม่ได้เท่าปีที่ผ่านมา”

ผู้บริหารกรุงศรีคอนซูมเมอร์ มองว่า โดยรวมยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรตลอดทั้งปี 2563 จะลดลง 35-40% เมื่อเทียบกับปี 2562 หรือในกรณีเลวร้ายสุดจะปรับลดลงถึง 50% จากที่เคยคาดการณ์ว่าการเติบโตของบัตรเครดิตจะเฉลี่ยอยู่ที่ 10% ทุกปี

“ใน 10 วันแรกของเดือน เม.ย. ยอดใบสมัครบัตรเครดิตใหม่ของเราลดลงกว่า 90% บรรยากาศของผู้บริโภคตอนนี้ลดความต้องการในการสมัครบัตรใหม่ลง อาจจะไม่เห็นการเติบโตของลูกค้าบัตรเครดิตใหม่ในปี 2564 คือยังมีอยู่ แต่ไม่ได้โตขึ้นเหมือนปีก่อนๆ ” 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของ “กรุงศรี คอนซูมเมอร์” ในปี 2562 บริษัทได้อนุมัติบัญชีใหม่ไป 9.78 แสนบัญชี (จากจำนวนใบสมัครทั้งหมด 2.2 ล้านใบ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24% โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตรวม 3.3
แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 10% มียอดสินเชื่อใหม่ 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% และมียอดสินเชื่อคงค้าง 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%

อ่านเพิ่มเติม : ส่องอินไซต์ลูกค้า “บัตรกรุงศรี” กลยุทธ์นำ Data มา “ทำมาหากิน” ใช้ AI ทำการตลาดเเบบใหม่

เเต่ก่อนจะเกิดวิกฤต COVID-19 บริษัทเคยตั้งเป้าหมายยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในปี 2020 ว่าจะเพิ่มขึ้น 8% มาอยู่ที่ 3.55 แสนล้านบาท เเละตั้งเป้ายอดสินเชื่อใหม่ไว้ที่ 1.11 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% พร้อมตั้งเป้ายอดสินเชื่อคงค้างไว้ที่ 1.59 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%

“สภาพเศรษฐกิจต่อไปจากนี้จะไม่เหมือนเดิม คาดว่าตลาดจะหดตัวแรง ประเมินจากการที่จะมีคนตกงานจำนวนมากในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งปกติแล้วกลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นลูกค้าของบริษัท ทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีงานทำก็จะไม่ผ่านการอนุมัติบัตรเครดิต ขณะที่กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ ตามปกติเเล้วเมื่อเข้าสู่ตลาดเเรงงานพอมีเงินเดือนก็ต้องการสมัครบัตรเครดิต ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้จะชะลอตัวไป รวมถึงกลุ่มลูกค้าเดิมที่ต้องการสมัครบัตรเพิ่มเติมด้วย” 

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตกรุงศรีฯ ลดลง จากการระบาดของ COVID-19 ช่วงไตรมาส 1 ได้เเก่

1 ) กลุ่มสายกายบินเเละการท่องเที่ยว หายไป 100%
2 ) กลุ่มโรงแรม หายไป 80%
3) กลุ่มที่เกี่ยวกับกีฬาและฟิตเนส หายไป 80%
4) ธุรกิจโรงหนัง หายไป 100%
5) กลุ่มห้างสรรพสินค้า หายไป 60%
6) ธุรกิจร้านอาหาร หายไป 70%

ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตร “เติบโต” ขึ้นคือ กลุ่มช้อปปิ้งออนไลน์ โต 40% กลุ่มสื่อสารเเละอินเทอร์เน็ต โต 36% ร้านขายยา โต 30% ซูเปอร์มาร์เก็ต โต 20% เเละกลุ่มธุรกิจโรงพยาบาล โต 10%

กำเงินสด-ลดค่าใช้จ่าย-ตัดงบการตลาด 

เมื่อถามถึงกลยุทธ์การบริการธุรกิจให้ฝ่าฟันวิกฤต COVID-19 ไปให้ได้ ฐากรบอกว่า “บริษัทต้องกำเงินสดไว้มากๆ และลดค่าใช้จ่ายลง ช่วงนี้ทำเเค่นี้ก่อนเลย ในช่วงที่ไม่มีรายได้เข้ามามากนักแต่รายจ่ายยังมีอยู่
เราไม่ได้ทำการโปรโมทมากนักเพราะต้องตัดงบการตลาด ก็เลือกทำตลาดออนไลน์ให้ได้ผลเฉพาะจุด อย่างการทำโปรโมตในฟู้ดเดลิเวอรี่ ส่วนการจัดการก็จะมุ่งเน้นการดูเเลคุณภาพหนี้เป็นหลัก”

ขณะเดียวกัน อีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญคือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลจะเพิ่มสูงมาก ซึ่งสิ้นปี 2562 NPL ของบัตรเครดิตอยู่ที่ 1.05% และ NPL สินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 2.4% โดยล่าสุดตอนนี้ NPL บัตรเครดิตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6-1.7% สินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้นมาที่ 3.4%

“หากไม่ออกมาตรการมาช่วยเหลือ NPL บัตรเครดิตจะสูงกว่า 3% และสินเชื่อบุคคลสูงกว่า 6%”

เตรียมเงิน 5 หมื่นล้าน ออก 3 มาตรการช่วยลูกหนี้ 

เพื่อเป็นทางเลือกในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า บริษัทจึงเปิดตัวโครงการ “เราจะก้าวผ่านไปด้วยกัน กับกรุงศรี คอนซูมเมอร์” โดยออก 3 มาตรการพิเศษ ดังนี้

มาตรการที่ 1 : ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน (ลูกค้าได้สิทธิ์ทุกคนโดยอัตโนมัติ)
-ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตจากเดิม 10% เหลือ 5% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง
-ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลจากเดิม 5% เหลือ 3% ตามรอบบัญชีตั้งแต่ 18 มีนาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สำหรับลูกค้าทุกราย โดยมิต้องติดต่อแจ้งความจำนง

มาตรการที่ 2 : พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 2 เดือน 
ให้กับลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลทุกรายโดยมิต้องแจ้งความจำนง เป็นระยะเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับลูกค้าทุกรายที่มีวันครบกำหนดชำระตั้งแต่ 14 เมษายน 2563 ถึง 12 มิถุนายน 2563 โดยดอกเบี้ยยังคงคำนวณตามอัตราปกติแบบลดต้นลดดอก ทั้งนี้ สถานะบัญชีของลูกค้าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการที่ 3 : ปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เริ่มต้นเพียง 12% (ลูกค้าต้องลงทะเบียน) สำหรับลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ โดยลูกค้าต้องลงทะเบียนแจ้งความจำนง และจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณี

-ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษเหลือ 12% และลดภาระการชำระคืนด้วยการขยายการเวลาผ่อนชำระนานสูงสุด 48 เดือน

-ผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เหลือ 22%
และลดการผ่อนชำระขั้นต่ำเหลือเพียง 3%

มาตรการที่ 3 นี้ เฉพาะลูกค้าในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว หรือธุรกิจที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามประกาศของทางราชการ โดยลูกค้าต้องมีบัญชีสินเชื่อกับบริษัทก่อนเดือนมีนาคม 2563
ทั้งนี้ ลูกค้าจะถูกปรับลดวงเงินสินเชื่อฯ ให้คงเหลือเท่ากับยอดสินเชื่อคงค้างที่เข้าร่วมโครงการ

“สำหรับมาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษนี้ เชื่อว่าจะมีลูกค้าเข้าร่วมโครงการ 800,000-1.2 ล้านราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 40,000 ล้านบาท”

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนรับพิจารณาความช่วยเหลือดังกล่าว ผ่านแอปพลิเคชัน UCHOOSE ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 – 30 มิถุนายน 2563 นี้ โดยบริษัทจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

“เพื่อรองรับมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ออกมาใหม่ในช่วง 2 เดือนของการพักหนี้ บริษัทได้สำรองเงินสดไว้จ่ายให้กับร้านค้าและคู่ค้า 50,000 ล้านบาท ส่วนมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ส่งผลให้รายได้จากดอกเบี้ยหายไป 30%” ฐากรระบุ

อ่านเพิ่มเติม : รวมมิตร 14 ธนาคาร “พักหนี้” ทั้งต้นทั้งดอก 6 เดือน ช่วย SMEs-รายย่อย ฝ่ามรสุม COVID-19

]]>
1273490
เงินไม่สะพัด คนไทย 80% คุมใช้จ่ายไตรมาส 4 งดเที่ยว ตปท. – ซื้อรถ https://positioningmag.com/1111319 Mon, 19 Dec 2016 10:21:50 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111319 Kantar TNS ร่วมกับ Marketbuzzz ชี้ผลคนไทย 80% ควบคุมการใช้จ่ายในไตรมาส 4 ในขณะที่ผู้บริโภค 71% มีมุมมองเชิงบวกแม้เศรษฐกิจถดถอย กลุ่มมิลเลนเนียม 18-24 ปี ไม่ลดใช้จ่ายแต่หารายได้มากขึ้น แนะแบรนด์ต้องมุ่งช่วยเหลือสังคม

กันตาร์ ทีเอ็นเอส ประเทศไทย (Kantar TNS) ร่วมกับมาร์เก็ตบัซซ (Marketbuzzz) ร่วมกันเผยผลสำรวจผู้บริโภคคนไทย จำนวน 1,000 คน พบว่า มีทัศนคติด้านบวกสำหรับอนาคตของประเทศ แม้ว่าดัชนีทางธุรกิจต่างๆ จะชะลอตัวลงในอนาคต ในไตรมาสที่ 4 ปี 2559

ในภาพรวมประเทศไทยยังคงอยู่ในภาวะบอบบางจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่จากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในภาวะปัจจุบันอาจจะต้องมีการกระตุ้นปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคชาวไทยยังคงมีทัศนคติเชิงบวกแม้ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนนี้

3 เรื่องที่คนไทยกังวล

การศึกษาของ Kantar TNS ประเทศไทย และ Marketbuzzz ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่คนไทยเป็นห่วงและกังวลมากที่สุด คือ ราคาของสินค้าการเกษตรที่ตกต่ำ อยู่ที่ 51% รองลงมาคือความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ อยู่ที่ 42% และอันดับสามคือ ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจประเทศไทย อยู่ที่ 40%

80% คุมค่าใช้จ่าย

ในส่วนของการจับจ่ายใช้สอย คนไทยส่วนใหญ่จะใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น โดย 80% บอกว่าจะควบคุมการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ 77% บอกว่าจะซื้อสินค้าเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น

ร. แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Marketbuzzz บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นว่าดีหรือไม่ การใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ และเป็นส่วนหลักของ GDP ของประเทศสำหรับพฤติกรรมในการใช้จ่ายนั้น การศึกษานี้พบว่า อาหารและเครื่องดื่ม ของแห้ง และโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่จะมีการจับจ่ายใช้สอยมากที่สุด

3 หมวดสินค้า ที่ผู้บริโภคชะลอการใช้จ่าย

  1. การเดินทางไปต่างประเทศ (64% บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย)
  2. การลงทุนใน LTF/RMF (60% บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย)
  3. รถยนต์ใหม่ (52% บอกว่าจะลดการใช้จ่ายลง หรือไม่มีแผนที่จะใช้จ่าย)

กลุ่มมิลเลียนเนียม 18-24 ปี ยังเป็นความหวัง

ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รัดเข็มขัดมากขึ้น แต่กลุ่มมิลเลนเนียม (Millennials อายุ 18 – 24 ปี) เป็นกลุ่มเดียวที่จะหารายได้เพิ่มเติม โดยทำงานพิเศษหรืองานพาร์ตไทม์ เพราะไม่ต้องการลดการใช้จ่ายลง แต่จะแก้ไขด้วยการหารายได้เพิ่มเติมแทน งานวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของสมาคมการตลาด (TMRS) ในปี 2559 ซึ่งพบว่า กลุ่ม Millennials ชอบความเสี่ยง และรักในการทำธุรกิจส่วนตัว โดยมีมุมมองว่า จะกำหนดอนาคตด้วยตัวเอง และใช้ชีวิตแบบที่ต้องการ

คนไทยคิดบวก เชื่ออนาคตจะดีขึ้น

ผู้บริโภคส่วนใหญ่ 71% มองว่า อนาคตจะดีขึ้นหรือเหมือนเดิม แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงและกลุ่มอายุน้อย จะเข้าใจว่าการเปลี่ยนจะเกิดขึ้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะกระทบกับพวกเขาอย่างไร ในขณะที่กลุ่มสูงอายุเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น แต่ไม่ค่อยกังวลกับผลกระทบที่จะตามมา

ดร. อาภาภัทร บุญรอด ประธานกรรมการบริหาร Kantar Insights ประเทศไทย เสริมว่า คนไทยมักจะฟื้นตัวจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับมุมมองในเชิงบวก ถึงแม้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อาจจะยังไม่ดีมาก แต่คนไทยก็ยังคิดบวกเนื่องด้วยยังมีความหวังกับอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า สิ่งที่เราพบที่น่าสนใจคือ คนส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์ และยังไม่เข้าใจกับผลกระทบต่างๆ ถึงแม้ว่าจะมองโลกในแง่ดีก็ตาม

ฝากอนาคตกับ “ท่องเที่ยว

ปัจจัยที่ผู้บริโภคมองว่าดีขึ้นในอนาคต คือ การท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ (46%) ธุรกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศของคนไทย (44%) และภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศ (41%)

แนะแบรนด์ต้องเน้นช่วยเหลือสังคม

การวิจัยในครั้งนี้ ได้ศึกษาถึงความต้องการของผู้บริโภค เกี่ยวกับบริษัท และแบรนด์ต่างๆ ในช่วงเวลานี้ ผู้บริโภคมองว่าบริษัทควรจะช่วยเหลือสังคม และสนับสนุนค่านิยมที่ดี เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยในสังคมและสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนโครงการในพระราชดำริฯ ต่างๆ

ในส่วนของการโฆษณา ผู้บริโภค 58% คิดว่าโฆษณาเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (หรือ CSR) และโฆษณาภาพลักษณ์องค์กร (หรือ Corporate Ad) ควรมีมากขึ้น ในขณะที่ 42% บอกว่าให้มีการโฆษณาได้ตามปกติ   

word_icon

ในขณะที่บริษัทต่างๆ สามารถออกโฆษณาได้ตามปกติ และผู้บริโภคก็เริ่มใช้ชีวิตเหมือนเดิม แบรนด์ที่มีคุณธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาผู้บริโภค โดยรวมแล้วผู้บริโภคมีความคาดหวังมากขึ้นให้แบรนด์รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาสังคม ผู้บริโภคต้องการเห็นบริษัทต่างๆ คืนสิ่งดีๆ ให้แก่สังคมภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นผลมาจากแบรนด์นั้นๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากแค่ไหน

word_icon2

ดร. อาภาภัทร กล่าว

ในขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะที่บอบบาง คนไทยมองไปในอนาคตด้วยความหวังและทัศนคติเชิงบวก ซึ่งน่าจะทำให้เกิดพลังความกระตือรือร้นมากขึ้นเพื่อการก้าวเข้าสู่ปี 2560

]]>
1111319
คนไทยมีหนี้เฉียด 3 แสนบาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 9 ปี https://positioningmag.com/1103085 Fri, 16 Sep 2016 08:01:25 +0000 http://positioningmag.com/?p=1103085 ผลสำรวจพบคนไทยมีหนี้พุ่งเฉียด 3 แสนบาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 9 ปี แต่ยังดีที่หนี้นอกระบบลดลงเหลือแค่ 37.7% จากปีก่อนที่พุ่งสูงถึง 51.3% และหนี้ส่วนใหญ่ยังเป็นการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ และลงทุน จึงไม่น่ากังวล

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 ที่สำรวจจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1,221 ราย ระหว่างวันที่ 1-12 ก.ย. 2559 ว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่ 85% มีหนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 298,005.81 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มจากปี 2558 ที่มีหนี้ 248,004.65 บาทต่อครัวเรือน สูงสุดในรอบ 9 ปี นับตั้งแต่การทำสำรวจมาตั้งแต่ปี 2551 โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 20.2% สูงสุดในรอบ 8 ปี และเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราเลข 2 หลัก ติดต่อกัน 4 ปี นับตั้งแต่ปี 2556

ทั้งนี้ แม้จำนวนหนี้จะเพิ่มขึ้น แต่พบว่าจำนวนหนี้ในระบบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 62.3% จากปีก่อนที่อยู่ 48.7% ขณะที่หนี้นอกระบบลดลงอย่างเห็นได้ชัด จาก 51.3% ในปี 2558 มาอยู่ที่ 37.7% ในปี 2559 และลดลงมาอยู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี

โดยหากดูจากผลสำรวจพบว่า สาเหตุของการเป็นหนี้เพิ่มขึ้น 18.8% มาจากการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น เช่น บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ขณะที่ 18.2% มีการผ่อนสินค้าเพิ่มขึ้น และ 13.2% เกิดจากค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น และเมื่อเทียบหนี้กับรายได้ พบว่า ปัจจุบันหนี้เพิ่มมากกว่ารายได้อยู่ที่ 19.3% ลดจาก 43.8% ในปีก่อน และหนี้เพิ่มน้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 59.7% จากปีก่อนที่ 20.1%

“จำนวนหนี้ที่เพิ่มขึ้นถามว่าน่ากังวลหรือไม่ ไม่น่ากังวล เพราะส่วนใหญ่ประชาชนมีหนี้เพิ่มขึ้นจากการซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ และกู้เพื่อลงทุน ทำให้ปัญหาที่หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง 83-84% ของจีดีพีเป็นหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ปัญหาหนี้ครัวเรือนจึงไม่ใช่ปัญหาหลัก แต่เป็นเฉพาะกลุ่มคน เช่น กลุ่มที่รับจ้าง หรือเกษตรที่มีปัญหาภัยแล้ง ทำให้รายได้ลดลง และชักหน้าไม่ถึงหลัง แต่โดยภาพรวมปัญหาหนี้ไม่น่ากังวล” นายธนวรรธน์กล่าว

นายธนวรรธน์กล่าวว่า การเพิ่มของหนี้ครัวเรือนนับตั้งแต่ปี 2556-58 พบว่ามีการเพิ่มขึ้นปีละ 2-3 หมื่นบาท แต่ในปี 2559 เพิ่มจากปี 2558 ประมาณ 5 หมื่นบาท ถือว่าเป็นการเพิ่มที่สูง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี การส่งออกไม่โดดเด่น ขณะที่การผ่อนชำระต่อเดือนปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยปี 2559 อยู่ที่เดือนละ 14,889 บาท จากปี 2557 ที่อยู่เดือนละ 13,358 บาท และปี 2558 เดือนละ 14,033 บาท

“รัฐบาลรับรู้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นอย่างดี และพยายามออกมาตรการต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการออกสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ การดึงธนาคารของรัฐมาปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้นอกระบบ ทำให้ประชาชนได้มีโอกาสปรับโครงสร้างหนี้ และส่งผลให้หนี้นอกระบบลดลงอย่างมาก ถือว่าเป็นผลงานชิ้นสำคัญของรัฐบาลในการแปลงหนี้ของประชาชนจากที่อยู่นอกระบบให้มาอยู่ในระบบ” นายธนวรรธน์กล่าว

ที่มา : http://astv.mobi/ApLzoLq

]]> 1103085 ครัวเรือนไทย ควักเงินใช้จ่ายอะไรกันบ้าง เกือบครึ่งหมดไปกับค่าบ้าน อาหารเครื่องดื่มแค่ 36% https://positioningmag.com/1095315 Wed, 22 Jun 2016 11:45:04 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095315 มาดูกันว่า ครัวเรือนของไทยในเดือนพฤษภาคม 2559 มีการใช้จ่ายอะไรกันบ้าง กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยถึง “ผลสำรวจค่าใช่จ่ายในการอุปโภคและบริโภคต่อครัวเรือนของไทยในเดือน พ.ค. 2559” พบว่า มีมูลค่าการใช้จ่ายประมาณ 19,279 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน ในจำนวนนี้แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้

63.2% จ่ายซื้อสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
36.38% จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

เกือบครึ่งจ่ายเรื่องบ้าน

หากแยกรายละเอียดของการจับจ่าย พบว่า ใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าอุปโภคถึง 2 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด

46.81% จ่ายค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับบ้าน เช่น ค่าเช่าบ้าน วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม
22.75 % เป็นค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง และค่าบริการโทรศัพท์มือถือ
6.45% ค่าหนังสือ ค่าเล่าเรียน
5.86% สันทนาการ
2.99% เครื่องนุ่งห่ม
1.50% ค่าบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

กินอาหารในบ้านมากกว่านอกบ้าน

ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับการบริโภค พบว่า

9.76% ครอบครัวไทยยังบริโภคอาหารภายในบ้านมากกว่า
5.85% ใช้จ่ายบริโภคอาหารนอกบ้าน

ซื้ออาหารชนิดไหน

6.94% เลือกซื้อเนื้อสัตว์
5.13% ผักและผลไม้
3.37% ข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง
1.74% ซื้อไข่และผลิตภัณฑ์นม
1.50 ค่าบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

1_ptt

]]>
1095315
คนไทยมีค่าใช้จ่ายปริศนา สูงถึง 6 หมื่นบาทต่อปี https://positioningmag.com/61671 Tue, 20 Oct 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=61671

คนไทยใช้จ่ายเงินเกินงบ สูงถึง 60,000 บาท มากพอกับการซื้อไอฟนพลัสได้ 2 เครื่อง วัยรุ่นไทยใช้เงินปริศนาไปกับขนม นมเนย ปาร์ตี้ ดูหนัง

ผลสำรวจฉบับล่าสุดเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายปริศนา จัดทำโดย YouGov บริษัทสำรวจและวิจัยทางอินเตอร์เน็ตระดับสากลในนามของวีซ่า เน้นให้เห็นถึงประโยชน์ของการวางแผนการจัดการทางการเงินอย่างฉลาด จะช่วยให้ผู้บริโภคชาวไทยได้รับผลตอบแทนที่ดีตามมา เนื่องจากในแต่ละปี มีเงินมูลค่ากว่า 60,000 บาทที่สูญหายไปจากการละเลยการจัดการทางการเงิน

นอกจากประเทศไทยแล้วผลสำรวจยังพบว่ามีผู้บริโภคใน 13 ประเทศอื่นๆในเอเซียที่ไม่สามารถระบุได้ว่าตนเองใช้จ่ายไปกับสินค้าหรือบริการชนิดใดบ้างในชีวิตประจำวัน

วีซ่านิยาม
ค่าใช้จ่ายปริศนา’โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ใช้ไปโดยไม่สามารถระบุได้ว่าใช้ไปกับสิ่งใดซึ่งแตกต่างและไม่รวมถึงจำนวนเงินที่ถูกขโมยหรือวางไว้ผิดที่ออกจากการสำรวจ

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบในระยะยาวจากการขาดการวางแผนทางการเงิน ดังนั้นการบริหารงบการเงินของเราเองจึงควรเริ่มจากค่าใช้จ่ายก่อนเป็นลำดับแรก ไม่ว่างบการเงินจะมากหรือน้อยก็ตาม

คนไทยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,588 บาท/สัปดาห์

– ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใช้ไปกับสิ่งใดถึง 1,143 บาท หรือ 72 % ของรายจ่ายทั้งหมด

– ผู้บริโภคเชื่อว่า 49% ของค่าใช้จ่ายปริศนา มาจากค่าอาหารสินค้าอุปโภคบริโภค และค่าขนมขบเคี้ยว และ 45% จากการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย

– ผู้บริโภคชาวไทยกว่า 36% เชื่อว่า ค่าใช้จ่ายปริศนาที่เกิดขึ้นส่วนมากหมดไปกับค่าอาหารกลางวันที่รับประทานอยู่ทุกวัน ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นๆ ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 21%

 

 


 

 

]]>
61671
5 ปี คนไทยใช้จ่ายกระหึ่มทะลุ 3.75 แสนล้านเหรียญ ต้องมัดใจด้วยกลุยทธ์ดิจิทัล https://positioningmag.com/60295 Wed, 06 May 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=60295

เอคเซนเชอร์ จับตาผู้บริโภคไทยใช้จ่ายกระหึ่ม คาดอาจแตะระดับ 3.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯในอีก 5 ปีข้างหน้า แนะมัดใจผู้บริโภคยุคใหม่ด้วยกลยุทธ์ดิจิทัล

รายงานวิจัยล่าสุดของ “เอคเซนเชอร์” พบว่า การบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรง มาจากปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ชนชั้นผู้บริโภคที่เติบโตมากขึ้น รายได้ที่สูงขึ้น การขยายตัวของสังคมเมือง ได้ก่อให้เกิดผู้บริโภครายใหม่ ๆ ในอาเซียน คาดว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่ายสูงถึง 7.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปัจจัยเหล่านี้จะสร้างโอกาสมหาศาลให้แก่ธุรกิจ หากสามารถจับตลาดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ด้วยการใช้กลยุทธ์โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอาเซียนที่มีการสื่อสารเชื่อมโยงสื่อสารกันมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า

]]>
60295