ช้อปออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Jan 2024 13:40:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ป้อม ภาวุธ’ ฉายภาพ ‘อีคอมเมิร์ซไทย’ ปี 2024 ในวันที่ถูกต่างชาติ ‘ผูกขาด’ โดยสมบูรณ์ https://positioningmag.com/1458915 Tue, 16 Jan 2024 13:30:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458915 เปิดปีใหม่มาแบบนี้ ป้อม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ประธานบริหาร บริษัท เพย์ โซลูชั่น จำกัด และผู้บุกเบิกวงการอีคอมเมิร์ซไทย ก็ออกมาพูดถึง ภาพอีคอมเมิร์ซไทย ในปี 2024 ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่ป้อม ภาวุธมองก็คือ อีคอมเมิร์ซไทยถูกผูกขาดโดยต่างชาติอย่างสมบูรณ์แบบ

E-Commerce ไทยถูกผูกขาดโดยต่างชาติโดยสมบูรณ์

ปัจจุบันช่องทางการค้าขายออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของไทยคือ การซื้อขายผ่านทางอีมาร์เก็ตเพลส (E-Marketplace) รองลงมาคือทางโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce) ซึ่งปีนี้การซื้อขายผ่านทาง แอปพลิเคชันสั่งอาหาร หรือ On-Demand Commerce กลายเป็นช่องทางใหม่ที่คนไทยนิยมซื้อสินค้า ซึ่งแทบทุกช่องทางมาจากผู้ให้บริการจากต่างประเทศทั้งสิ้น

โดยหลังจากที่ขาดทุนติดต่อกันหลายปีเป็นหมื่นล้าน เหล่าผู้ให้บริการอีมาร์เก็ตเพลสต่างเริ่มทำกำไรแบบชัดเจน โดยผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศไม่ได้สร้างระบบตลาดนัดเพื่อการซื้อขายเท่านั้น แต่เน้นให้บริการครบทั้งระบบนิเวศของการค้าออนไลน์ 3 ส่วน ได้แก่

  • ซื้อ (Buy) ผ่านทาง Marketplace (Shopee, Lazada)
  • จ่าย (Pay) ผ่านบริการกระเป๋าชำระเงินของตัวเอง (Shopee Pay, LazPay)
  • ส่ง (Delivery) ผ่านบริการบริษัทส่งของๆ ตัวเอง (Shopee Express, Lazada Express)

ด้วยความที่มีระบบนิเวศครบวงจร ทำให้บริษัทเหล่านี้มีจุดแข็งเหนือกว่าบริษัทอื่น ๆ ที่มีให้บริการเฉพาะทางเท่านั้น เมื่อสามารถควบคุมตลาดซื้อขายออนไลน์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ฮั้ว’ และขึ้นราคาค่าบริการอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้ชัดจากกรณีการขึ้นราคาค่าบริการของการขายของในอีมาร์เก็ตเพลสอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้น โดยไม่มีการควบคุมจากภาครัฐ ที่ผ่านมา Shopee และ Lazada มีการขึ้นราคาค่าบริการสูงถึง 150% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 เดือน

ดังนั้น จะเห็นว่าผลประกอบการของบริษัทขนส่งในประเทศไทยที่ขาดทุนเกือบทุกราย อย่างไปรษณีย์ไทยขาดทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท Kerry Express และ Flash Express ขาดทุนนับหมื่นล้านบาทเช่นกัน แต่ผู้ให้บริการขนส่งครบวงจรอย่าง Shopee, Lazada และ J&T มีกำไรมากกว่า เพราะให้บริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มของตัวเองและขนส่งสินค้าด้วยบริษัทขนส่งของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนและบริการได้ดีกว่า

สินค้าจีนยังคงเข้ามาขายในไทยอย่างต่อเนื่อง

อีกจุดที่ประเด็นที่ป้อม ภาวุธ เน้นย้ำเสมอก็คือ สินค้าจีนยังคงเข้ามาขายในไทยอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบบขนส่งจากจีนมาไทยสะดวกขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งยังมีการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรขาเข้า โดยนำสินค้าไปวางไว้ในโกดังเขตปลอดอากร (FreeZone) ทำให้สินค้าจีนมีความได้เปรียบกว่าสินค้าในประเทศหรือผู้ที่นำเข้าเสียภาษีอย่างถูกต้อง

แม้ว่าภาครัฐไทยได้ออกมาตรการควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น สินค้าที่ไม่มี มอก. อย. และมาตรฐานต่าง ๆ ออกจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทำให้สินค้าจีนที่ไม่ได้มาตรฐานบางส่วนไม่สามารถขายได้ แต่สินค้าเหล่านี้ก็ยังคงลักลอบขายในช่องทางออนไลน์อื่นที่รัฐควบคุมไม่ถึง

แนะรัฐควรมีมาตรการกำกับดูแล

สำหรับประเด็นที่อีคอมเมิร์ซถูกผูกขาดโดยต่างชาติ ป้อม ภาวุธ แนะนำว่า ภาครัฐควรมีมาตรการควบคุมและกำกับดูแลการค้าออนไลน์อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างสมดุลระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ เพราะหากปล่อยให้บริษัทต่างชาติเข้ามามีบทบาทในการค้าออนไลน์โดยไม่มีข้อจำกัด ในอนาคตอาจทำให้ผู้ประกอบการไทยถูกครอบงำและเสียเปรียบได้

ด้านการทะลักของสินค้าจีน ต่อไปในอนาคตจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นสินค้าที่มีแบรนด์ มีมาตรฐาน และถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น ซึ่งจะเข้ามาแข่งขันกับสินค้าไทยอย่างตรงไปตรงมา โดยสินค้าจีนจะมีความได้เปรียบในด้านราคา ผู้ประกอบการไทยจึงต้องปรับตัวหรือปรับธุรกิจให้สอดคล้องกับการแข่งขันที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ส่วนธุรกิจไทยไม่ควรแข่งขันด้านราคากับธุรกิจสินค้าจีน เพราะสินค้าจีนมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุน ผู้ประกอบการไทยควรปรับธุรกิจให้โดดเด่นในด้านอื่น เช่น บริการหลังการขายที่มีคุณภาพ และการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น บริการซ่อมแซม รับประกัน หรือการให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังมีจุดแข็งในด้านความใกล้ชิดกับลูกค้าและการให้บริการที่ครบวงจร ที่สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือกว่าธุรกิจสินค้าจีนได้

]]>
1458915
DITP พาผู้ประกอบการไทย บุกอีคอมเมิร์ซระดับโลกแบบไร้พรมแดน https://positioningmag.com/1395184 Sat, 06 Aug 2022 04:00:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395184

เมื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตประจำวันต่อคนไทยรวมไปถึงผู้คนทั่วโลก ส่งผลให้การค้นหาข้อมูลและการเลือกซื้อสินค้าเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว แน่นอนว่าต้องส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าเป็นอย่างมาก ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างก้าวกระโดด เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น


ช็อปออนไลน์แบบไร้พรมแดน!

ตัวแปรสำคัญที่ทำให้อีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างก้าวกระโดดคือ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านการเดินทางและการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องปรับการใช้ชีวิตมาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น มีการพบปะผู้คนและเดินทางท่องเที่ยวผ่านโลกเสมือนจริง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งภายในประเทศและผ่านช่องทางออนไลน์ข้ามพรมแดนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จึงถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยที่จะใช้โอกาสนี้ในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน


DITP ขานรับนโยบาย ดันผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์) ได้กำหนดนโยบายของกระทรวงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการค้าของประเทศในการผลักดันผู้ประกอบการไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคต่างแดนมากขึ้น และหนึ่งในนโยบายสำคัญคือ การเสริมสร้างผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยมีการค้าออนไลน์เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ขานรับนโยบายการสนับสนุนการค้าออนไลน์เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า ด้วยการผลักดันผู้ประกอบการไทยขยายตลาดสู่ต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ข้ามพรมแดน รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์พันธมิตรในตลาดต่างประเทศภายใต้กิจกรรมต่างๆ เช่น การเปิดหน้าร้าน TOPTHAI ซึ่งเป็นร้านค้าออนไลน์ของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศบนแพลตฟอร์ม e-Commerce ชั้นนำในต่างประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “TOPTHAI ร้านจำหน่ายสินค้าท็อปๆ จากประเทศไทย ที่ผ่านการคัดสรรจากหน่วยงานภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือ” โดยกรมได้เปิดร้าน TOPTHAI ไปแล้วบน 7 แพลตฟอร์มชั้นนำใน 9  ประเทศ รวมไปถึงการจัดตั้ง Thaitrade.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ e-Marketplace Platform เพื่อรองรับการค้าผ่านช่องทางออนไลน์ระหว่างประเทศ พัฒนาบนโครงสร้างพื้นฐานที่มีลักษณะเป็นแบบ Microservice เพื่อรองรับการค้าออนไลน์ในรูปแบบ Business to Business (B2B) และ Business to Customer (B2C) และโครงการ “Cross-Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดโลก” ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้พบปะกับผู้นำเข้าจากแพลตฟอร์มออนไลน์พันธมิตรชั้นนำในตลาดต่างประเทศทั้งจากยุโรป สหรัฐเอเมริกา อินเดีย จีน และอาเซียน เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจออนไลน์ข้ามพรมแดน เกิดการจับคู่เจรจาการค้าและสร้างมูลค่าการซื้อขายอย่างยั่งยืนต่อไป

สำหรับ “Cross Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดโลก” ปี 2565 มีกำหนดจัดในรูปแบบ Webinar จำนวน 8 ครั้ง ควบคู่ไปกับ Online Business Matching โดยล่าสุดมีการจัด Webinar ไปแล้ว 5 ครั้ง ร่วมกับ แพลตฟอร์ม Amazon (สหรัฐอเมริกา), PChome Thai (ไต้หวัน), KlangOne (กัมพูชา), ผู้จัดการร้าน Thailand Food Country Tmall Official Store บนแพลตฟอร์ม Tmall และล่าสุดแพลตฟอร์ม Bigbasket ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์อันดับหนึ่งของประเทศอินเดีย ร่วมกับ บริษัท Reach 360 Activation ผู้นำเข้าเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ขึ้นขายบน Amazon India เกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจและสร้างมูลค่าคาดการณ์การซื้อขายกว่า 165 ล้านบาทและคาดว่าหลังจากจบโครงการจะมีมูลค่าการซื้อขายตลอดโครงการกว่า 250 ล้านบาท

ทั้งนี้ กรมได้ริเริ่มจัดโครงการ “Cross-Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดโลก” เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งเดิมจะเป็นการจัดแบบ Roadshow ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย แต่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้กรมปรับรูปแบบการ จัดกิจกรรมมาเป็นออนไลน์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ อย่างไรก็ตามโครงการนี้ก็ยังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการไทยด้วยดีอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้เข้าร่วมรับฟัง Webinar กว่า 2,000 ราย จากทั่วประเทศ และความสำเร็จที่ผู้ประกอบการได้รับ

อย่างที่ใครบอกไว้ว่า 10 ปากว่า ไม่เท่าตาเห็น เราจึงมีเสียงตอบรับจากผู้ประกอบการที่ได้เข้าร่วมโครงการจริง มาร่วมถ่ายทอดความประทับใจจากการเข้าร่วมโครงการนี้ เรียกว่าเป็นการพลิกชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะมีออเดอร์ปังๆ เข้ามาตลอด แถมมีรายได้เฉลี่ยถึงหลักแสน! รวมถึงถึงทำให้แบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

นายณัฐวุฒิ เผ่าปรีชา จากแบรนด์ Wel-B ผลไม้อบกรอบ ได้เข้าร่วมโครงการ ได้เจรจาธุรกิจกับแพลตฟอร์ม PChome Thai เป็นครั้งแรก ได้บอกว่ามีความประทับใจที่ DITP เปิดโอกาสให้ SMEs เล็กๆ ก้าวสู่ตลาดโลกได้ การขึ้นขายบน PChome Thai ทำให้เปิดโอกาส และเปิดจำนวนในการส่งออกสินค้าได้มากขึ้น และที่มากไปกว่านั้น PChome Thai ขอดีลเพื่อเป็น Agent ตรงในการส่งออกสินค้าของ Wel-B อีกด้วย เพียงไม่กี่เดือนนับตั้งแต่มีการเจรจาธุรกิจ Wel-B มียอดขายถึงหลักแสน และยังมีออเดอร์เข้ามาอย่างต่อเนื่อง สร้างโอกาสใหม่ๆ มากมาย

ทางด้านของ คุณก้องไพร คอนศรี เจ้าของแบรนด์ KhunPhai ได้แชร์ประสบการณ์ว่า แม้ว่าก่อนหน้านี้เคยร่วมงานกับ DITP มาแล้ว เคยไปออกบูธที่ต่างประเทศด้วยหลายครั้ง แต่หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ Cross-Border ทำให้ได้ความรู้ในการพัฒนาตนเองเยอะขึ้น สำหรับแบรนด์ KhunPhai ไม่เคยขายบนออนไลน์มาก่อน เคยแต่ทำเรื่องขึ้นขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ ก็ใช้เวลานาน และไม่ได้ขึ้นขายจริงๆ แต่โครงการนี้ทำให้ได้ขึ้นขายบน PChome Thai มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากและได้ขึ้นขายจริง ตลาดไต้หวันก็ขายดีมากๆ มีออเดอร์เข้ามาตลอดเวลา ทำให้ธุรกิจของตนเองมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

ปิดท้ายด้วย คุณภรณ์ภัสสร โล่ภิญโญสิริ เจ้าของแบรนด์ Sangtawan ได้ทำธุรกิจ SME มา 19 ปีแล้ว และได้ร่วมงานกับ DITP มาโดยตลอดตั้งแต่งานที่จัดในรูปแบบออฟไลน์ มาจนถึงรูปแบบออนไลน์ตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางแบรนด์เน้นส่งออกสินค้าในช่องทางออนไลน์ในสัดส่วน 80% อยู่แล้ว และตลาดหลักอยู่ในโซนอาเซียน เรียกว่าสอดคล้องกับนโยบายของทาง DITP ที่ได้ร่วมมือกับแพลตฟอร์มในการร่วมหาช่องทางต่างๆ มาให้กับผู้ประกอบการอยู่ตลอด การร่วมงานกับ PChome Thai ในโครงการที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นการเปิดตลาดไต้หวันเป็นครั้งแรกเลยทีเดียว และเป็นตลาดหลักในการส่งออกอยู่ ณ ตอนนี้ด้วย ซึ่งนับตั้งแต่มีการเจรจาธุรกิจตลอด 3 เดือนที่ผ่านมาก็มียอดสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง โครงการได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการเปิดตลาดสู่ต่างประเทศมากขึ้น

นับเป็นความสำเร็จของกรมที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดด้านการเดินทาง และกระจายโอกาสให้กับ SMEs ไทยที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานแบบ Onsite ได้ โดยกรมวางแผนที่จะเร่งสร้างพันธมิตรด้านการค้าออนไลน์ใหม่ๆ รวมทั้งผู้นำเข้า/ผู้ขาย (Resellers) ที่มีความเชี่ยวชาญในการขายสินค้าไทยบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างประเทศ

สำหรับกิจกรรม Cross-Border e-Commerce ขายออนไลน์สู่ตลาดโลก ยังมีอย่างต่อเนื่องไปจนถึงเดือนกันยายน 2565 ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารได้ทาง www.facebook.com/ThaiTradedotcom

]]>
1395184
เข้าสู่ยุคที่คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” และราคาดีไม่สำคัญเท่าบริการที่ดีกว่า https://positioningmag.com/1389989 Fri, 24 Jun 2022 10:17:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1389989
  • “วันเดอร์แมน ธอมสัน” เปิดรายงาน Future Shopper 2.0 พบว่าหลังเกิด COVID-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” เป็นปีแรก แม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงแล้ว
  • ช่องทางหลักในการช้อปยังเป็น “มาร์เก็ตเพลส” แต่โซเชียลคอมเมิร์ซก็ยังแข็งแกร่ง โดยมีดาวรุ่งที่น่าสนใจ เช่น YouTube, Line, TikTok รวมถึงเกมด้วย
  • ราคาดีไม่สำคัญเท่าบริการและประสบการณ์ที่ดีกว่า ลูกค้าต้องการให้แบรนด์พัฒนาในหลายด้าน เช่น ส่งสินค้าให้เร็วขึ้น ระบบเรตติ้งและรีวิวที่เชื่อถือได้
  • รายงาน Future Shopper 2.0 ประจำปี 2022 จัดโดย “วันเดอร์แมน ธอมสัน” ในประเทศไทยรายงานฉบับนี้มีการสำรวจจากผู้บริโภค 1,084 คน ครอบคลุมทุกช่วงวัย และทุกภาคในประเทศ โดยแบ่งเป็นกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 59% และต่างจังหวัด 41%

    ข้อมูลไฮไลต์ที่น่าสนใจในรายงานปีนี้คือ พบว่า เป็นปีแรกที่คนไทย “ช้อปออนไลน์มากกว่าออฟไลน์” แล้ว โดยแบ่งเป็นการช้อปออนไลน์ 60% และช้อปออฟไลน์ที่หน้าร้าน 40% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด จากเมื่อปี 2020 การช้อปออนไลน์ยังอยู่ที่ 25% และช้อปที่หน้าร้าน 75%

    การช้อปออนไลน์มีสัดส่วนที่มากกว่าการซื้อหน้าร้านแล้ว โดยอัตราส่วนอยู่ที่ 60:40

    เห็นได้ชัดว่าคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมเพราะ COVID-19 และแม้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแล้ว แต่คนไทย 86% ยังคาดว่าตนเองจะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นแหล่งช้อปปิ้งต่อไปในอนาคต

    สะท้อนให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นเรื่องคงอยู่ถาวร ตั้งแต่บัดนี้ไป การสร้างช่องทางขาย Omnichannel มีทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และต้องเชื่อมต่อกันได้อย่างไร้รอยต่อ (seamless) เป็นเรื่องสำคัญมากของแบรนด์

     

    “มาร์เก็ตเพลส” ยังมาอันดับ 1

    คนไทยใช้ช่องทางไหนซื้อสินค้าออนไลน์? วันเดอร์แมน ธอมสัน มองขั้นตอนการซื้อสินค้าเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ หาแรงบันดาลใจ, ค้นหาสินค้า และ การซื้อจริง ปรากฏว่า “มาร์เก็ตเพลส” เช่น ลาซาด้า ช้อปปี้ เจดีเซ็นทรัล ก็ยังมาอันดับ 1 ในทุกๆ ขั้นตอน

    ขณะที่ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” นั้นจะมีอิทธิพลสูงมากในขั้นตอนหาแรงบันดาลใจและค้นหาสินค้า โดยโซเชียล เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Line มาเป็นอันดับ 2 ในทั้งสองขั้นตอนนี้ แต่เมื่อถึงการซื้อจริงนั้นจะอยู่อันดับ 4

    ขั้นตอนการซื้อของลูกค้า มาร์เก็ตเพลสมีส่วนแบ่ง 51%

    ขั้นตอนสุดท้ายคือการซื้อของลูกค้า
    อันดับ 1 คือ มาร์เก็ตเพลส
    อันดับ 2 คือ แอพเดลิเวอรี เช่น Grab, Line Man, Foodpanda
    อันดับ 3 คือ แพลตฟอร์มของห้างสรรพสินค้า เช่น Central, The Mall, Robinson, Emporium
    อันดับ 4 คือ โซเชียลคอมเมิร์ซ

    ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจที่แอพเดลิเวอรีและแพลตฟอร์มของห้างฯ ขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดมากกว่าโซเชียลแล้วเมื่อถึงการซื้อจริง

    ทั้งนี้ แม้จะตกอันดับลงมา แต่คนไทยก็ยังคงเป็นชาติที่ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุดในโลก โดยมีผู้ซื้อ 88% ที่ซื้อผ่านโซเชียล เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่ 65%

     

    ดาวรุ่งพุ่งแรง YouTube, Line, TikTok และเกม

    ที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ โซเชียลบางแพลตฟอร์มกำลังมาแรงในตลาดอยู่ขณะนี้ เช่น YouTube ที่มีความพิเศษคือไม่ได้เน้นปิดการขายบนแพลตฟอร์มนี้ แต่เป็นช่องทางมาแรงมากในการหาแรงบันดาลใจของตัวสินค้า (อยู่ในอันดับ 3) และขั้นตอนการค้นหาสินค้า (อยู่ในอันดับ 4) ถือว่าสำคัญมากในการสร้างความต้องการต่อผู้บริโภค

    YouTube เป็นช่องทางเดียวที่เติบโตขึ้นในขั้นตอนการหาแรงบันดาลใจ ขณะที่ช่องทางอื่นๆ ผู้บริโภคลดการใช้งานในขั้นตอนนี้

    มาถึงขั้นตอนการซื้อจริงผ่านโซเชียล แน่นอนว่า Facebook ยังแข็งแรงที่สุด กินสัดส่วนในตลาดถึง 62% แต่มีดาวรุ่งหน้าใหม่ที่ขึ้นมาตีตลาดได้คือ TikTok ที่ได้ส่วนแบ่งตลาด 8%

    และถ้าถามถึงโซเชียลที่ให้ประสบการณ์การซื้อของที่ดีที่สุด ชื่อของ Line ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 3 และ TikTok เป็นอันดับ 4

    รวมถึงมีแพลตฟอร์มที่วันเดอร์แมน ธอมสันชี้ว่าน่าสนใจอีกส่วนคือ “เกม” เพราะ 98% ของคนไทยเล่นเกม และมี 80% ที่มีการใช้จ่ายในเกม ซึ่งทำให้เกิดโอกาสการขาย “Direct-to-Avatar” ของแบรนด์ นั่นคือการผลิตสินค้าดิจิทัลของแบรนด์ที่มีไว้สำหรับอวาตาร์โดยเฉพาะ

    ปัจจุบันคนไทยยังเล่นเกมผ่านมือถือมากที่สุด (90%) รองลงมาคือคอมพิวเตอร์ (63%) และเกมคอนโซล (31%) แต่ที่น่าสนใจคือคนไทยมี VR Headset จำนวนไม่น้อย (16%) ทำให้เห็นว่าการปลุกกระแสเมตาเวิร์สเริ่มเป็นไปได้มากขึ้น

     

    ราคาดีไม่สำคัญเท่าประสบการณ์ที่ดี

    วันเดอร์แมน ธอมสันพบว่า ผู้บริโภคยุคนี้มีความคาดหวังที่สูงมากต่อแบรนด์และช่องทางขาย โดย 69% มองว่าจะไม่ซื้อแบรนด์นั้นหรือซื้อผ่านช่องทางนั้นหากประสบการณ์การช้อปไม่เป็นดังที่คาด

    อะไรจะทำให้ลูกค้าชื่นชอบมากขึ้นอีก? 86% ของคนไทยอยากจะให้ประสบการณ์การช้อปออนไลน์บันเทิงมากกว่านี้

    5 สิ่งที่ลูกค้าอยากให้เปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการช้อปออนไลน์ ได้แก่
    1.การจัดส่งที่รวดเร็วขึ้น
    2.ระบบเรตติ้งและรีวิวที่เชื่อถือได้
    3.คืนสินค้าได้ฟรี
    4.การจัดส่งสะดวกมากขึ้น (เช่น เลือกวันเวลาส่งได้ มีจุดให้ไปรับสินค้าเองได้)
    5.การคืนสินค้าสะดวกมากขึ้น

    สรุปคือ นักช้อปไทยนั้นมีความต้องการขั้นสูงในการช้อปออนไลน์ และราคาที่ดีอาจไม่ใช่ทุกอย่างในการดึงดูดลูกค้าอีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าความสะดวก ความเร็ว ประสบการณ์การซื้อที่ดีที่สุด จะเป็นสิ่งที่ดึงลอยัลตี้ของลูกค้าไว้ได้มากกว่าในยุคนี้

    ]]>
    1389989
    Lotus’s SMART App มิติใหม่ของการช้อปออนไลน์ รวมรีวอร์ดโปรแกรมอยู่ในที่เดียว! https://positioningmag.com/1380952 Fri, 08 Apr 2022 10:30:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380952

    โลตัสพลิกโฉมการช้อปปิ้งออนไลน์ด้วย Lotus’s SMART App แอปพลิเคชันใหม่ที่รวมทั้งการช้อปปิ้ง และรีวอร์ดโปรแกรมแบบใหม่ My Lotus’s ไว้ในที่เดียว เปลี่ยนรูปแบบการสะสมแต้มสมาชิกที่สะดวก คุ้มค่า และรู้ใจกว่าเดิม สร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบสมาร์ท ตรงใจด้วยระบบ AI


    ยกเครื่องแอปใหม่ ไฉไลกว่าเดิม!

    ในการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน การเข้าสู่ตลาด “อีคอมเมิร์ซ” หรือช้อปออนไลน์ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ได้เห็นหลายอุตสาหกรรมต้องลงมาเปิดช่องทางออนไลน์กันถ้วนหน้า โดยเฉพาะธุรกิจ “ค้าปลีก” การทำอีคอมเมิร์ซกลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญไปแล้วเรียบร้อย

    “โลตัส” หนึ่งในยักษ์ใหญ่ของตลาดค้าปลีกในประเทศไทย เรียกว่าเป็นผู้เล่นแรกๆ ที่ลงมาจับตลาดอีคอมเมิร์ซ ได้เปิดช่องทางออนไลน์ครั้งแรกเมื่อปี 2556 เริ่มจากการช้อปปิ้งผ่านเว็บไซต์ แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในตอนนั้นถือว่าเป็นการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ของวงการ Grocery Online เลยทีเดียว

    ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา โลตัสไม่หยุดที่จะพัฒนาทั้งรูปแบบร้านค้า และระบบช้อปออนไลน์ ล่าสุดได้มีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ด้วยการเปิดตัว Lotus’s SMART App เรียกว่าเป็นแอปพลิเคชันที่ย่อโลตัสมาไว้ในขนาดย่อมๆ ความพิเศษอยู่ที่การเป็นแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ ที่รวมรีวอร์ดโปรแกรมอยู่ในที่เดียวกัน

    แอปพลิเคชั่นนี้จะยิ่งสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ SMART และตรงใจกว่าเดิม ด้วยการใช้ AI (Artificial Intelligence) ประมวลผล big data นำเสนอโปรโมชั่นและส่วนลดสินค้าที่ออกแบบโดยเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละคน

    วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด โลตัส กล่าวว่า

    “เพื่อส่งมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ SMART และไร้รอยต่อผ่านช่องทางออมนิแชนแนลของทั้งสาขาและแพลตฟอร์มออนไลน์ โลตัส ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน Lotus’s SMART App ขึ้น เพื่อเป็น one-stop destination ที่รวบรวมทั้งรีวอร์ดโปรแกรมและออนไลน์ช้อปปิ้งอยู่ในแอปพลิเคชันเดียว เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานของลูกค้าผ่านฟีเจอร์ต่างๆ มากมาย

    โดย Lotus’s SMART App เข้ามาแทนที่แอปพลิเคชันทั้งหมดที่เราเคยมี โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผล big data เพื่อให้สามารถสร้างคูปองส่วนลด โปรโมชั่น สิทธิพิเศษนำเสนอสินค้า ที่ตรงใจลูกค้าแต่ละคน”


    My Lotus’s รีวอร์ดโปรแกรมใหม่ โดนใจมากขึ้น

    การยกเครื่องแอปพลิเคชันใหม่ในครั้งนี้ ยังมาพร้อมกับการเปิดตัวรีวอร์ดโปรแกรมใหม่ ภายใต้ชื่อ My Lotus’s (มายโลตัส)แทนที่โปรแกรมเดิมที่ทำตลาดมากว่า12 ปีเรียกว่าเป็นการพัฒนามาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในยุคดิจิทัล เป็นการอุด Pain Point เดิมๆ ที่มีในอดีต

    ถ้าใครที่ช้อปปิ้งที่โลตัสบ่อยๆ น่าจะพอจำได้ว่า การสะสมแต้มแบบเก่า มีขั้นตอนในการใช้คะแนน หรือนำมาแลกเป็นคูปองแทนเงินสดที่ต้องใช้เวลาพอสมควร แถมยังต้องมีการส่งคูปองแบบกระดาษไปที่บ้านลูกค้าอีกด้วยแต่ My Lotus’s ได้ปรับให้มีประสบการณ์การใช้งาน ทั้งการสะสมและการแลก “ง่ายขึ้น ทันใจขึ้น คุ้มขึ้น และตรงใจขึ้น” กว่าเดิม สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกสบายผ่านแอปพลิเคชันและ 100% paperless ไม่มีการส่งสเตทเม้นท์และคูปองไปยังบ้านของลูกค้า ช่วยลดการใช้ทรัพยากรและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

    ซึ่งทางโลตัสได้มีการย้ายสมาชิกจากระบบเดิมที่มีกว่า 18 ล้านราย ไปอยู่ใน My Lotus’s โดยอัตโนมัติลูกค้าสามารถ login เข้า Lotus’s SMART App ด้วยเบอร์โทรศัพท์ก็จะสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม

    จุดเด่นของ My Lotus’s

    • ง่ายขึ้น : ทุกการใช้จ่าย 100 บาท จะได้รับ 1 โลตัสคอยน์
    • ทันใจขึ้น : 1 โลตัสคอยน์ = 1 บาท สามารถใช้เป็นส่วนลดได้ทันที ทั้งในสาขา และในแอปพลิเคชัน ไม่ต้องรอการส่งสเตทเม้นท์รายเดือน และคูปองอีกต่อไป
    • คุ้มขึ้น : ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง สมาชิกจะสามารถแลก 50 โลตัสคอยน์ เป็นคูปองเงินสด 100 บาท เพิ่มความคุ้มค่า 2 เท่า
    • ตรงใจขึ้น : คูปองเงินสด ส่วนลด ดีลรู้ใจกว่า 200 รายการ จากการประมวลผลของ AI ตรงใจลูกค้าแต่ละราย

    เสริมแกร่งธุรกิจ O2O(Online to Offline)

    อีกส่วนสำคัญของการพัฒนา Lotus’s SMART App คือ การเป็นแพลทฟอร์มออนไลน์ช้อปปิ้ง ที่จะช่วยยกระดับประสบการณ์การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ของลูกค้าและเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ O2O ของโลตัส เรียกว่าเป็นการช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อทั้งออนไลน์ และออฟไลน์

    จุดแข็งของโลตัสก็คือ การมีสาขาที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และมีหลายฟอร์แมตทั้งรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ และฟอร์แมตเล็กอย่าง “โลตัส โก เฟรช” เป็นร้านสะดวกซื้อเข้าถึงตามชุมชน มีสาขารวมกว่า 2,300 สาขา เรียกว่าเป็นการผนึกกำลังได้เป็นอย่างดี

    เท่ากับว่าสาขากว่า 2,300 แห่ง จะเป็นจุดกระจายสินค้าในการส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นรวมถึงมีการจับมือกับพันธมิตรแพลทฟอร์มเดลิเวอรี่ต่างๆ และฟลีทขนส่งของโลตัสเอง ทำให้สามารถเลือกการจัดส่งได้หลากหลายรูปแบบ

    ภายใน Lotus’s SMART App ยังมีสินค้าที่หลากหลายรวมกว่า 30,000 รายการ ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง สินค้าอุปโภคบริโภค

    ทางด้าน ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กลุ่มโลตัสส์ เอเชีย-แปซิฟิก ยกเว้นประเทศจีน กล่าวว่า

    “หนึ่งในเป้าหมายของโลตัสคือการขยายธุรกิจ O2O เพื่อสอดรับกับพฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาอย่างต่อเนื่อง การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ก็เป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์ในปี 2021 โตขึ้นกว่า 30% (ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย) ทั้งจากความจำเป็นที่มีการปิดให้บริการของศูนย์การค้าและความกังวลของประชาชนในเรื่องสุขภาพ

    ในส่วนของธุรกิจออนไลน์ของโลตัสในช่วงปี2564 ที่ผ่านมาเติบโตกว่า 250%จากปัจจัยข้างต้นประกอบกับการขยายช่องทางและเครือข่ายการจัดส่งสินค้าให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า คือการเพิ่มสัดส่วนยอดขายออนไลน์ต่อธุรกิจโลตัสโดยรวม จากเลขหลักเดียว (single digit) เป็นเลขสองหลัก(double digit) ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตนี้คือ Lotus’s SMART App ที่เราได้มีการพัฒนาออนไลน์ช้อปปิ้งให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายกว่าเดิมในการใช้งาน”

    สรุป SMART features ของระบบออนไลน์ช้อปปิ้งบน Lotus’s SMART App

    • สินค้ากว่า 30,000 รายการ ครอบคลุมทุกหมวดหมู่ อาทิ อาหารสด อาหารแห้ง เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์แม่และเด็ก ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม เป็นต้น
    • อัพเดทสต็อคสินค้าแบบ real-time
    • สามารถติดตามสถานะการจัดส่งสินค้าได้
    • เชื่อมต่อกับ Google Maps ทำให้มีพิกัดในการจัดส่งแม่นยำ
    • การจัดส่งหลายรูปแบบ โดยค่าจัดส่งสมเหตุสมผล เนื่องจากจัดส่งจากสาขาที่ตั้งอยู่ใกล้สถานที่จัดส่งของลูกค้าที่สุด
    • เชื่อมต่อกับ My Lotus’s สะสมและแลกโลตัสคอยน์ได้อย่างสะดวกและง่ายดาย
    • คูปองและโค้ดส่วนลดพิเศษ
    ]]>
    1380952
    4 บทสรุปสงครามอีคอมเมิร์ซของไทย และเพื่อนบ้าน Shopee ยืนหนึ่งในไทย https://positioningmag.com/1369033 Wed, 29 Dec 2021 15:02:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369033 เก็บข้อมูล และวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล
    อาจกล่าวได้ว่ายิ่งไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดนานเท่าไหร่ ธุรกิจออนไลน์ก็ดูจะก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วขึ้นเท่านั้น ก่อให้เกิดยุค New Normal โดยเฉพาะในไทยที่แม้ห้างสรรพสินค้าจะเปิดให้บริการตามปกติแล้ว แต่ผู้คนก็เน้นไปเพื่อรับประทานอาหาร หาความบันเทิง หรือนัดพบปะกันเท่านั้น ซึ่งยังผูกติดการช้อปปิ้งสินค้าทั่วไป, สุขภาพ และความงาม, เสื้อผ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กับร้านค้าออนไลน์ดั่งเช่นช่วงปิดเมืองยาวนานที่ผ่านมา 

    ในไตรมาสที่ 3 ปี 2021 นี้ iPrice Group บริษัทวิจัยการตลาด และเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ได้อัปเดตข้อมูลงานวิจัย The Map of E-commerce หรือสงครามอีคอมเมิร์ซ ที่รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์, อันดับการใช้งานแอปพลิเคชัน และจำนวนผู้ติดตามทางโซเชียล ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ปี 2021

    จากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ซึ่งหยิบยกตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย และเวียดนามมาวิเคราะห์ โดยมีไฮไลต์ที่สำคัญ ดังนี้

    1. Shopee ยืนหนึ่ง ในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย

    ไม่ใช่แค่ไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ที่ Shopee กลายมาเป็นร้านค้าอีคอมเมิร์ซขวัญใจชาวไทย และตลาดเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซในไทย Shopee ก้าวขึ้นมาครองบัลลังก์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ในขณะที่ตลาดเวียดนามคว้าชัยไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2018 และตลาดมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปี 2019

    มากไปกว่านั้น หากทำการเปรียบเทียบร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปทั้งหมดในงานวิจัย Map of E-commerce ของไทย มาเลเซีย และเวียดนาม จะพบว่าส่วนแบ่งการตลาดของ Shopee ในตลาดมาเลเซียมีสูงถึง 71% ในขณะที่ตลาดไทย และเวียดนามมีเปอร์เซ็นส่วนแบ่งการตลาดเท่ากันที่ 57%

    ไฮไลต์ที่น่าสนใจคือ ร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปในเวียดนามดูจะมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพราะนอกจากสามอันดับแรกที่ iPrice Group หยิบยกขึ้นมาข้างต้นนี้แล้ว ร้านค้าอีคอมเมิร์ซประเภททั่วไปอื่น ๆ ยังได้ส่วนแบ่งการตลาดอีกกว่า 14% ในขณะที่ตลาดไทยมีเพียง 6%

    การศึกษาข้อมูล

    iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ทั้ง 3 ประเทศจาก SimilarWeb โดยใช้การจัดอันดับร้านค้าอีคอมเมิร์ซจากงานวิจัย Map of E-commerce (สงครามอีคอมเมิร์ซ) ในแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2021 (กรกฎาคม – กันยายน) โดยเน้นร้านค้าประเภททั่วไปเท่านั้น และวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาดจากผลรวมผู้เข้าชมเว็บไซต์ของร้านค้าประเภททั่วไป 

    2. นักช้อปไทยมีส่วนร่วมต่อโพสบน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซ “น้อย” ที่สุด

    ปัจจุบันโลกโซเชียลกลายมาเป็นสื่อสำคัญทางโลกออนไลน์ไปแล้ว โดยยอดผู้ติดตามก็สามารถบ่งบอกคะแนนความนิยมของร้านค้าอีคอมเมิร์ซแทนจำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่ความสนใจ หรือความมีส่วนร่วม (Engagement) ต่อโพสต์ต่าง ๆ ของร้านค้าก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน 

    ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจำนวนการมีส่วนร่วมต่อโพสต์บน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซชั้นนำ 3 อันดับแรกของตลาดอีคอมเมิร์ซในมาเลเซีย เวียดนาม และไทย พบว่า นักช้อปชาวไทยมีส่วนร่วมต่อโพสต์ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซน้อยที่สุด เพียง 20% เท่านั้น แม้จำนวนผู้ติดตามจะมีไม่ต่างจากตลาดอีคอมเมิร์ซประเทศเพื่อนบ้าน (มาเลเซีย และเวียดนาม) แต่คาดส่วนใหญ่กดติดตามเพื่อรอการอัปเดตโปรโมชัน และแคมเปญน่าสนใจต่าง ๆ เท่านั้น 

    Photo : Shutterstock

    ประเทศที่นักช้อปมีส่วนร่วมต่อโพสต์บน Facebook ของร้านค้าอีคอมเมิร์ซทั่วไปสูงสุดคือ มาเลเซีย คาดเป็นเพราะบัญชี Facebook ของ Shopee, Lazada และ PG Mall ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ทำให้ยอดการมีส่วนร่วมอาจรวมไปถึงนักช้อปชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศด้วย ต่างจากไทยและตลาดเวียดนาม (36%) ที่ข้อมูลบนเพจเป็นภาษาท้องถิ่น

    การศึกษาข้อมูล 
    iPrice Group ได้รวบรวมข้อมูลการมีส่วนร่วมต่อโพสต์บนแพลตฟอร์ม Facebook โดยใช้คำค้นหาเป็นชื่อร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 3 อันดับแรก (ร้านค้าทั่วไป) ของแต่ละประเทศได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และเวียดนาม ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากการที่ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมต่อโพสต์ เช่น ‘แสดงความคิดเห็น’, ‘ถูกใจ’, ‘ว้าว’ , ‘รักเลย’, ‘ฮ่าฮ่า’, ‘เศร้า’ และ ‘โกรธ’ บน Facebook ตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020 – 2021) 

    3. ชาวไทย ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดใน SEA

    เป็นอานิสงส์อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อีกนั่นเอง ที่ทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบ New Normal ขึ้น สอดคล้องกับรายงานของ Google, Temasek และ Bain & Company ว่าด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันได้แก่ มาเลเซีย, เวียดนาม, ไทย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

    หากนำตัวเลขผู้ใช้งานมาเปรียบเทียบกันจะเห็นว่า คนไทยมีการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลสูงสุดในภูมิภาคถึง 89.99% แบ่งเป็นก่อนการแพร่ระบาด 73.7% ช่วงแพร่ระบาดจนถึงครึ่งปีแรกปี 2021 อีก 16.2% และผู้ที่ไม่ได้ใช้งานมีเพียง 10.1% เท่านั้น

    Cheerful young Asian woman shopping online with smartphone and making mobile payment with credit card on hand, receiving a parcel by home delivery service. Technology makes life so much easier

    โดยการเปรียบเทียบนี้จะไม่รวมประเทศสิงคโปร์เพราะจำนวนประชากรที่มีจำกัด ทำให้การใช้ชีวิตควบคู่ไปกับธุรกิจดิจิทัลดูเป็นเรื่องปกติ แม้แต่แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคอย่าง Shopee และ Lazada ยังมีต้นกำเนิดจากประเทศนี้ 

    สำหรับเหตุผลที่ผู้บริโภคหันมาใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลกันอย่างต่อเนื่องส่วนใหญ่เพราะเชื่อว่า ‘ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายมากขึ้น’ หากขุดลึกไปถึงการใช้งานแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซจะพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่เน้นการช้อปสินค้าทั่วไป (65%), สินค้าเพื่อสุขภาพ และความงาม (62%), เสื้อผ้า (60%) และอิเล็กทรอนิกส์ (53%) 

    นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซก็จะเป็นแพลตฟอร์มขนส่งอาหาร (64%), วิดีโอ (57%) และดนตรี (51%) โดยแพลตฟอร์มดนตรีผู้คนใช้งานเพราะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มากกว่าการเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น/สะดวกสบายขึ้น 

    ที่มา: Google-commissioned Kantar SEA e-Conomy Research 2021. 

    หมายเหตุ: ‘ผู้ใช้งานก่อนการแพร่ระบาด’ หมายถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลก่อนมี.ค. 2563 ‘ผู้ใช้งานรายใหม่ปี 2563’ เริ่มชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลเป็นครั้งแรกระหว่างมี.ค.-ธ.ค. 2563 ‘ผู้ใช้งานรายใหม่ครึ่งปีแรกของปี 2564’ เริ่มชําระค่าบริการออนไลน์อย่างน้อย หนึ่งบริการผ่านช่องทางดิจิทัลอย่างน้อย 1 รายการตั้งแต่ม.ค. 2564 เป็นต้นไป

    4. ฟิลิปปินส์ มีมูลค่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA 

    นับได้ว่าช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นเวลาทองของธุรกิจดิจิทัลเลยก็ว่าได้ จากข้อมูลของ Google, Temasek และ Bain & Company พบว่า ฟิลิปปินส์คือประเทศที่มีมูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นสูงสุดใน SEA เมื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างปี 2020 – 2021 โดยเติบโตสูงถึง 132% รองลงมาคือไทย และมาเลเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่ากันที่ 68% ตามมาด้วยเวียดนาม 53%, อินโดนีเซีย 52% ปิดท้ายด้วยสิงคโปร์ 45%

    Shopping cart Ecommerce Marketing channel distribution concept on supermarket background

    ในรายงานยังมีการคาดการณ์มูลค่าของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในปี 2025 โดยประเทศที่คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ เจ้าประจำอย่างอินโดนีเซีย คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 104,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ ใน SEA หลายเท่าตัว ถัดมาคือตลาดอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม คาดจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดเพราะเวียดนามเป็นประเทศที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งเจ้าถิ่น และต่างแดนแข่งขันกันดุเดือดที่สุด ตามมาด้วยไทยที่คาดมูลค่าจะแตะที่ 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

    การศึกษาข้อมูล

    iPrice Group ได้นำเสนอข้อมูลรายงานจากบริษัท Bain ในรายงาน e-Conomy SEA 2021 ของ Google, Temasek และ Bain & Company

    ]]>
    1369033
    รู้จักฟีเจอร์ ‘Daily Cashback’ ของ ‘Lazada’ ที่ช่วยให้ Win-Win ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย https://positioningmag.com/1356689 Tue, 19 Oct 2021 10:00:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356689

    เหลืออีกไม่ถึง 3 เดือนก็จะลาปี 2021 เตรียมเข้าสู่ปี 2022 เรียกได้ว่าทั่วโลกและคนไทยเองได้ปรับตัวอยู่กับการระบาดของ COVID-19 เกือบ 2 ปี มีหลายสิ่งหลายอย่างที่กลายเป็น New Normal ของการใช้ชีวิตประจำวันไปแล้ว และหนึ่งในนั้นก็คือ การช้อปออนไลน์ แต่แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เรื่องความสะดวก แต่ยังมีปัจจัยอย่างความคุ้มค่า ที่ทำให้ผู้บริโภคยังใช้งานอีคอมเมิร์ซจนถึงทุกวันนี้


    ซื้อถี่และต้องคุ้ม

    เพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจ ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง โดยลาซาด้าพบว่ายอดใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง (Average budget size spending) ของผู้บริโภคลดลงถึง 30% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว แต่ถึงอย่างนั้น การซื้อสินค้ากลับซื้อถี่ขึ้น โดยเฉลี่ยที่ 7 ครั้ง/เดือน/คน

    ส่งผลให้ยอดขายเฉลี่ยบนแพลตฟอร์มในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์ ก็ยังมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นกว่า 30% เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมิถุนายน

    นอกจากนี้ การจับจ่ายของผู้บริโภคจึงมองหาความ ‘คุ้มค่า’ ที่สุด อย่างการจัดส่งสินค้าฟรีที่เป็นแต้มต่อให้กับร้านค้า เพราะตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผู้ขายที่มีโปรโมชันส่งสินค้าฟรีพบว่ามียอดขายเพิ่มมากขึ้นถึง 40% และนักช้อปใช้คูปองจัดส่งสินค้าฟรีบนแอปฯ ลาซาด้าไปแล้วถึง 117 ล้านครั้ง

    และจากการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคโดย Group M พบว่า ผู้บริโภคจะรอโปรโมชันก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ แม้สินค้าบางชิ้นซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ด้วยซ้ำ แต่ซื้อไว้ก่อนเพราะเห็นว่าถูก ดังนั้น จะเห็นว่าความคุ้มค่า ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าต่าง ๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น


    DAILY CASHBACK ดียังไง?

    จากพฤติกรรมการใช้ที่มองหาความคุ้มค่า และการใช้งานที่ถี่ขึ้นของผู้บริโภค ทำให้ลาซาด้าได้ออกแบบโปรแกรม DAILY CASHBACK 10% ช้อปวันไหนก็ได้เงินคืน10% ช่วยให้ผู้ซื้อ ‘ช้อป’ ‘แลก’ ‘ลด’ โดยจะได้เงินคืนหลังจากช้อปเพื่อเป็นส่วนลดสำหรับการช้อปครั้งต่อไป และอีกความพิเศษของโปรแกรมก็คือ

    · ใช้เงินคืนได้ 100% ไม่มีขั้นต่ำ

    · แลกเครดิตเงินคืนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัด

    · ใช้ on top ได้กับทุกส่วนลด ไม่ว่าจะเป็น คูปองส่วนลด คูปองส่งฟรีทั่วไทยและอื่น ๆ

    สำหรับสินค้าหรือร้านค้าที่อยู่ในโปรแกรมก็สังเกตง่าย ๆ โดยจะมี ไอคอน Cashback (หน้าสินค้า / หน้า ผลลัพธ์การค้นหา / หน้าเพจของ Cashback)

     

    นักช้อปสามารถใช้ Daily Cashback ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้

    1. “ช้อป” สินค้าที่มีโลโก้ เงินคืนทุกวัน หรือ Cashback

    2. “แลก” เครดิตเงินคืนตามยอดเครดิตสะสม เป็นคูปองเงินคืน แลกเมื่อไรก็ได้ ไม่จำกัดเวลาในการใช้ส่วนลด

    3. “ลด” ใช้คูปองเงินคืน เป็นส่วนลดในการช้อปครั้งต่อไป ลดได้แบบเต็มจำนวน ในการซื้อสินค้าทุกชิ้น เมื่อมีการจัดส่งสินค้าสำเร็จ และใช้ on top ได้กับทุกส่วนลดไม่ว่าจะเป็นคูปองและโค้ดส่วนลดอื่น ๆ เช่น คูปองส่งฟรีทั่วไทย ลาซาด้าโบนัส


    นอกจากผู้ใช้จะได้ความคุ้มค่าเพิ่มขึ้นแล้ว สำหรับร้านค้าเองก็จะได้ ลูกค้าเพิ่ม และเพิ่มโอกาส สร้างฐานลูกค้าประจำ ใช้ Cashback กลับมาซื้อสินค้าของทางร้านได้อีก เพิ่มการมองเห็นร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับแถบ “Cashback เงินคืนทุกวัน” กับทุกสินค้าในร้านที่จะช่วยเพิ่มการมองเห็น สร้างความโดดเด่น และเพิ่มยอดขายให้แก่แบรนด์และร้านค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นับว่าฟีเจอร์ Daily Cashback ช้อปวันไหนก็ได้เงินคืน 10% นั้นเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ลาซาด้าทำออกมาเอาใจทั้งขาช้อปและผู้ค้าบนแพลตฟอร์มได้เป็นอย่างดี รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก https://s.lazada.co.th/s.faSVU

    ]]>
    1356689
    ETDA เผยยอดร้องเรียนโกงออนไลน์ทะลุ 2,000 ครั้ง/เดือน พร้อมอัปเดต 6 กลโกงยอดฮิตปี 64 https://positioningmag.com/1355445 Thu, 07 Oct 2021 08:09:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355445 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือเอ็ตด้า (Electronic Transactions Development Agency : ETDA) เปิดเผยว่าในยุคดิจิทัลที่คนไทยมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น 150% และสิ่งที่ตามมาคือ การโกง เพราะจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนไทยหันมาจับจ่ายผ่านออนไลน์สูงขึ้น ขณะเดียวกันร้านค้าต่าง ๆ ก็หันมาเปิดขายบนออนไลน์เช่นกัน

    โดยจากการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 Online Complaint Center หรือ 1212 OCC) พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2564 มีผู้ร้องเรียนเฉพาะเรื่องซื้อขายออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉลี่ย 2,221 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่เฉลี่ย 1,718 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถือเป็นสถิติเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการศูนย์ฯ มาตั้งแต่ปี 2558 ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ เอ็ตด้า จึงชี้ให้เห็น 6 กลโกงซื้อขายออนไลน์ เพื่อเตือนทุกคนจะไม่โดนหลอกลวงแบบนี้

    ชวดหนี ไม่มีสินค้าส่งจริง

    จากกระแสข่าวแก๊งแม่ค้าวัยทีน #phonebymint หลอกขายมือถือทางออนไลน์ โพสต์ภาพมือถือสวย ๆ ขายบนอินสตาแกรม โดยตั้งราคาถูก พร้อมสร้างข้อมูลรีวิวจากผู้ใช้งานเสมือนจริงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ทำให้เด็กนักเรียนวัย 14 ปี หลงกลโอนเงินสั่งซื้อสินค้า สุดท้าย แม่ค้าไม่ส่งสินค้าตามที่แจ้ง ส่งผลให้เด็กเครียดเส้นเลือดสมองแตกเสียชีวิต

    ก่อนจะพบว่ามีผู้เสียหายจากแม่ค้าดังกล่าวปรากฏเพิ่มขึ้นนับร้อย ๆ ราย ซึ่งจากสถิติร้องเรียนมายังศูนย์ฯ 1212 เอง ปัญหาการสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้าก็มาเป็นอันดับ 1 ถึง 45% ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อ แนะนำให้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องการตั้งราคาที่ถูกเกินจริง เช็กข้อมูลชื่อผู้ขาย เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคารของผู้ขายจากเว็บไซต์ https://www.blacklistseller.com/ ว่าอยู่ในบัญชีดำคนโกงหรือไม่ รวมถึงลองนำชื่อร้านไปค้นหาบนแพลตฟอร์ม e-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) ลาซาด้า (Lazada) ฯลฯ

    สินค้าไม่ตรงปก

    ปัญหานี้ศูนย์ฯ 1212 พบการร้องเรียนถึง 29% ในระยะ 8 เดือนแรกของปี 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับสินค้า แนะนำให้ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอเก็บไว้เป็นหลักฐานสำหรับร้องเรียนได้ ล่าสุด วงการพระเครื่อง และวงการต้นไม้ที่กำลังร้อนแรงก็มีการโกงบ่อยครั้ง แนะนำในส่วนการพิจารณาขนาดความสูงต้นไม้นั้น อาจให้ทางร้านช่วยถ่ายรูปต้นไม้โดยวางไว้ข้าง ๆ ขวดน้ำ หรือขอวิดีโอคอลเพื่อตรวจสอบต้นไม้และให้ได้รับสินค้าตรงปก

    และก่อนโอนชำระเงินแนะให้เจ้าของร้านถ่ายรูปคู่กับสินค้า โดยถือบัตรประชาชนหรือกระดาษที่เขียนเลขที่บัญชีธนาคารมาให้ดูอีกครั้งเพื่อยืนยัน อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ซื้อขายแบบนัดรับกับทางร้านจะดีกว่า และเลี่ยงการโอนเงินมัดจำก่อน

    จ่ายซื้อแบรนด์เนมแท้ แต่ได้ของก๊อบ AAA

    แม่ค้าหัวใสบนโลกออนไลน์ได้ โดยมักจะโพสต์รูปสินค้าแบรนด์เนมแท้ขายบนช่องทางออนไลน์ หลอกให้ลูกค้าหลงกล มั่นใจว่า ฉันซื้อของแท้จริง ๆ แต่สุดท้ายกลับได้สินค้าผิดกฎหมาย หรือสินค้าปลอมมาส่งที่บ้าน ดังนั้นแนะนำให้พิจารณาข้อมูลร้านค้าอย่างถี่ถ้วน ตรวจสอบรหัสสินค้า ใบรับประกันสินค้า ตรวจสอบบัญชีธนาคารก่อนโอน หรือติดต่อซื้อขายที่ร้านค้าทางการ (Official) ดีกว่า

    หลอกให้เซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย

    บางครั้งเหล่ามิจฉาชีพก็มากันเป็นทีม และใช้ความฮิตเรื่องการซื้อของออนไลน์ที่กลายเป็นวิถีปกติของคนยุค COVID-19 ไปเสียแล้ว มาลวงเหยื่อถึงหน้าบ้าน ล่าสุดทางไปรษณีย์ไทย ออกจดหมายแจ้งเตือน ระวังมิจฉาชีพตีเนียนเป็นผู้คนส่งของ หลอกให้เซ็นรับพัสดุที่อาจเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย พร้อมจัดฉากเป็นตำรวจปลอมเข้าตรวจ ดังนั้นเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ แนะให้ตั้งสติก่อน แล้วตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่ได้สั่งของ และห้ามรับสิ่งของที่ไม่ได้สั่งเด็ดขาด

    รับหิ้วของ

    การรับหิ้วของ หรือการมองหาคนมารับหิ้ว โดยยอมเสียเงินจ้างเพิ่มเล็กน้อยทดแทนการเสียค่ารถออกจากบ้านและความเสี่ยงเข้าไปในย่านชุมชนในยุคโควิด-19 ต้องระวัง ซึ่งก็ทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ นี้ขึ้นมา แต่ทั้งนี้เราจะเชื่อใจผู้มาสวมบทรับหิ้วได้อย่างไร ดังนั้นควรตรวจสอบประวัติผู้รับหิ้วให้ดี เลี่ยงการจ้างวานผู้ที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวมารับหิ้วให้ หรือสั่งจากร้านโดยตรงจะดีกว่า

    ตุ๋นขายแบบผ่อนชำระ

    การซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ หรือราคาสูง เช่น ผ่อนโทรศัพท์มือถือ ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า ผ่อนเครื่องเพชรหรือทอง ผ่านบัตรเครดิต ก็ยังเป็นหนึ่งในตัวเลือกของผู้ซื้อสินค้าที่อาจต้องการรัดเข็มขัด ประหยัดเงิน หรือมีค่าใช้จ่ายเยอะในช่วงนั้น ๆ รวมถึงร้านค้าก็สามารถเพิ่มยอดขายได้เร็ว แต่ส่วนใหญ่จะต้องผ่อนให้ครบงวดแล้วร้านค้าจะดำเนินการจัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อ

    ซึ่งจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะไม่โดนเชิดเงิน ชวดได้รับสินค้า ซึ่งกรณีเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อขายแบบผ่อนชำระทางออนไลน์ ควรพิจารณาเอกสารสัญญาซื้อขายที่แจ้งรายละเอียดชัดเจน หรือถ้าซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควรเลือกร้านที่เป็นทางการ (Official) ดูรีวิวผู้ซื้อต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบข้อมูลร้านและบัญชีผู้ขายอย่างรอบคอบ

    ]]>
    1355445
    ‘พัทธ์หทัย กุลจันทร์’ นำทัพ ‘กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์’ สร้างเครดิตทางการเงินเพื่อคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ดิจิทัลไลฟ์สไตล์ ฝ่าวิกฤติโควิด https://positioningmag.com/1347805 Fri, 20 Aug 2021 09:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1347805

    ในทุกวิกฤติเราจะได้ New Business Model เสมอ…”

    เมื่อพฤติกรรมลูกค้า ‘เปลี่ยนเร็ว’ ถึงเวลาที่เเบรนด์ต้องพลิก 360 องศา ปรับตัวให้ ‘ก้าวทัน’ ความต้องการของคนยุคใหม่ ปรากฎการณ์ ‘รีเเบรนด์ในรอบทศวรรษ’ ของ ‘กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์’ เมื่อช่วงต้นปี 2563  สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสำคัญของธุรกิจการเงินเมืองไทยที่กำลังจะมีภาพลักษณ์เปลี่ยนไป ท่ามกลางกระเเสดิจิทัลเเละภัยโรคระบาด

    การรีเเบรนด์ใหม่ ไม่ใช่เเค่เปลี่ยนโลโก้ เเต่ต้องปรับเปลี่ยนทั้งในเเละนอกองค์กร เมื่อ 1 มีนาคม  2564  ที่ผ่านมา กรุงศรี คอนซูมเมอร์ จึงประกาศเเต่งตั้ง ‘พัทธ์หทัย กุลจันทร์’ ขึ้นมานั่งเก้าอี้ ‘เอ็มดี’ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด รับหน้าที่ดูแลแบรนด์กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ในช่วงเวลาที่เป็นก้าวสำคัญแห่งความเปลี่ยนแปลง

    จากประสบการณ์ในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล มายาวนานกว่า 20 ปี โดดเด่นทั้งด้านกลยุทธ์ บัญชีและการเงิน การลงทุน รวมถึงการตลาด พัฒนาผลิตภัณท์ให้สอดคล้องกับงบประมาณและสภาวะเศรษฐกิจ

    วันนี้ กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ภายใต้การนำของ ‘พัทธ์หทัย กุลจันทร์’ จะเติบโตเเละมุ่งมั่นไปในทิศทางใด มีไม้เด็ดเเก้เกมพิษโควิดอย่างไรบ้าง เราจะมาหาคำตอบกัน…

    เมื่อผู้บริโภคเริ่ม ‘ระมัดระวัง’

    พูดคุยกันด้วยบรรยากาศสบาย ๆ เเต่ก็เจาะลึกด้วยประเด็น ‘ภาวะตลาดของผู้บริโภค’ ในปัจจุบัน พัทธ์หทัย ฉายภาพให้เห็นถึง สถานการณ์หนี้สินของประชาชนที่ยังคงเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวม โดยในไตรมาสเเรกของปีนี้ หนี้ภาคครัวเรือนได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นกว่า 90% ต่อจีดีพี

    ความต้องการหนี้ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังเป็นไปเพื่อการบริโภคอุปโภค หรือสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อธุรกิจ  โดยจะสังเกตได้ว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงไตรมาส 1 ยอดใช้จ่ายของผู้บริโภคผ่านบัตรเครดิตในภาพรวมทั้งธุรกิจ ลดลงมาราว 5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เเล้ว สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่ม ‘ระมัดระวัง’ เเละเมื่อเกิดการระบาดระลอก 3 การใช้จ่ายก็ยิ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด

    ด้านสินเชื่อส่วนบุคคล จะมีเเนวโน้มคล้าย ๆ บัตรเครดิต โดยจะเห็นว่า ภาพรวมทั้งธุรกิจ สินเชื่อคงค้างของสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในไตรมาสแรก ปรับลดลงมา -2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่เเล้ว

    “ผู้บริโภคก็ทราบดีว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ดี ต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง จึงเลือกประหยัดมากขึ้น”


    เป้าหมายลดภาระหนี้ : แบ่งเบาภาระ ไม่ทอดทิ้งลูกค้า ฝ่าวิกฤติไปด้วยกัน

    ในยามที่มีความไม่เเน่นอนสูง การคิดหามาตรการช่วยเหลือลูกค้าให้ได้มากที่สุด คือหนึ่งในนโยบายธุรกิจที่สำคัญของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ที่ผ่านมา บริษัทมีมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เป็นนับเป็น ‘กรณีศึกษา’ ในเรื่องการรับมือวิกฤติได้ดี อย่างการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี, ลดยอดชำระขั้นต่ำต่อเดือน, ปรับลดอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลาผ่อนชำระเป็นกรณีพิเศษ ฯลฯ

    ในกรณีที่ลูกค้าไม่ไหวจริงๆ ค้างชำระติดต่อกัน ก็จะมีการนำเสนอในเชิงรุกอย่างการ ‘ปรับโครงสร้างหนี้’ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระให้ยาวขึ้น เเตกต่างไปตามยอดคงค้างของลูกค้า พร้อมดอกเบี้ยอัตราพิเศษ

    พัทธ์หทัย บอกว่า นับตั้งเเต่เปิดโครงการช่วยเหลือตามมาตรการต่าง ๆ มาตั้งเเต่ปีที่เเล้ว ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร่วมทั้งหมดราว 9 เเสนบัญชี คิดเป็นกว่า ‘ครึ่งหนึ่ง’ ของบัญชีที่เเอคทีฟทั้งหมดของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มียอดช่วยเหลือไปเเล้วถึง  3.5 หมื่นล้านบาท ลูกค้าส่วนใหญ่ จะเข้ามาตรการการปรับลดการผ่อนชำระขั้นต่ำ 5% เหลือ 3% สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลเยอะที่สุด ถึง 6 เเสนบัญชี เห็นได้ชัดว่าเป็นโครงการที่ตอบโจทย์การลดภาระการเงินของลูกค้าในยามวิกฤติ

    ส่วนกลุ่มที่จะเข้าไปสู่การรีไฟเเนนซ์ หรือปรับโครงสร้างหนี้นั้น มีอยู่ประมาณ 1.1 เเสนบัญชี ยอดประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท ด้านมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนานสูงสุด 2 รอบบัญชี มีลูกค้าเข้าร่วมประมาณ 1 หมื่นบัญชี เเละคาดว่าจะมีเข้ามาอีกเรื่อย ๆ

    อย่างไรก็ตาม การพักชำระหนี้ยังไม่ได้ตอบโจทย์ที่สุด ทีมกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์จึงกำลังวางเเผนว่าหลังจบรอบ 2 เดือนไปเเล้ว อาจจะมีมาตรการช่วยเหลืออื่น ๆ ออกมาเพิ่มเติม เพื่อลดภาระหนี้ให้กับลูกค้า คาดว่าจะเปิดตัวได้ในเร็ว ๆ นี้ โดยกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้เเก่ กลุ่มที่มีรายได้ลดลง รายได้ไม่เเน่นอนจากสถานการณ์โควิด ตามมาด้วยกลุ่มที่ธุรกิจถูกปิดชั่วคราว ทั้งนายจ้างเเละลูกจ้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ควบคุมสีเเดงเข้ม

    “ลูกค้าของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ส่วนใหญ่จะเป็น ‘เเฟนพันธุ์เเท้’ อยู่กันมานาน เราต้องช่วยพยุงให้พวกเขาอยู่รอด อย่างน้อย ๆ ต้องจ่ายดอกเบี้ยลดลง ไม่อยากให้พวกเขาต้องจำใจไปกู้นอกระบบ เราต้องคิดหาทางลดภาระดอกเบี้ยของลูกค้าให้ได้มากที่สุด”


    Go Digital …มาถูกทางเเล้ว

    พัทธ์หทัย ยืนยันว่า ทิศทางของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ที่มุ่งเน้นไปในทางดิจิทัลเเพลตฟอร์มนั้น มา ‘ถูกทางเเล้ว’ ยิ่งในสถานการณ์โควิด-19 จะเห็นว่าเเอปพลิเคชัน UCHOOSE เข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้ายุคใหม่ได้ดีมาก

    ปัจจุบัน กว่า 90% ของลูกค้าที่เป็นบัญชีที่แอคทีฟของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มีการโหลดเเอปฯ UCHOOSE ซึ่งฟีเจอร์หลัก ๆ ที่ลูกค้าเลือกใช้ ได้แก่ การจ่ายบิล, ดูโปรโมชันบัตร, เเลกพอยต์เเละขอ E-Statement

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ บริษัทได้ส่งบริการใหม่ ออกมาเจาะตลาด นั่นก็คือ ยู แคช(U Cash)  บริการโอนวงเงินของลูกค้าที่มีอยู่เข้าบัญชีออมทรัพย์หรือพร้อมเพย์ เพื่อใช้เป็นเงินสดโดยทำรายการผ่านแอป UCHOOSE หลังเปิดบริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2564 เป็นต้นมา พบว่า ‘กระแสตอบรับดีเกินคาด’ มียอดเบิกถอนเงินสด เพิ่มขึ้นถึง 25% เทียบกับก่อนมีบริการผ่านช่องทางนี้

    อีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่เเพ้กัน ก็คือ U Card สมัครบัตรเครดิตผ่านเเอปพลิเคชัน UCHOOSE โดยได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วง พ.ค.- ก.ค.ที่มีคำสั่งล็อกดาวน์

    “ในอนาคตถ้าทำให้ง่ายขึ้น จากที่ง่ายอยู่เเล้ว จะเอื้อต่อการสมัครบัตรที่ 2 หรือบัตร Co-brand อื่น ๆ ได้สะดวกขึ้น” 


    จับมือพันธมิตร จัดโปรสุดคุมตอบรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

    อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ก็คือ การร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจ พันธมิตรของกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มีทั้งพันธมิตรชั้นนำ ซึ่งให้ความไว้วางใจกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ออกบัตรเครดิตร่วม (Co-branded Card) เช่น เซ็นทรัลกรุ๊ป ที่มีบัตรเซ็นทรัล เดอะวัน เฟิร์สช้อยส์ ร่วมมือจัดโปรโมชันสำหรับการผ่อนชำระสินค้าในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป พร้อมให้คะเเนนสะสม The 1 Card สูงสุด 2 เท่า หรือ บมจ. โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ หรือโฮมโปร ที่ร่วมกันออกบัตรโฮมโปร เฟิร์สช้อยส์ และ เมกาโฮม เฟิร์สช้อยส์ ที่มีจุดเด่นอย่างการผ่อน  0%  นาน 6-12 เดือน ขึ้นอยู่กับยอดใช้จ่ายของลูกค้า ช่วยลดภาระในช่วงเศรษฐกิจฝืดเคือง พร้อมมอบ E- Coupon ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นพันธมิตรกับเเบรนด์ต่าง ๆ มากมายกว่า 25,000 ราย ร่วมกันนำเสนอโปรโมชันที่มอบความคุ้มค่าให้กับลูกค้า โดยเฉพาะโปรโมชันผ่อนชำระ 0% และดีลพิเศษอื่น ๆ ที่เน้นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ เช่น ออนไลน์ช้อปปิ้ง ผ่อนสินค้าไอที แกดเจ็ทต่าง ๆ  ผ่อนสินค้าและเฟอร์นิเจอร์เพื่อคน Work From Home เป็นต้น

    “ในภาพรวม เราเป็นผู้นำด้านธุรกิจผ่อนชำระ เเละมีพาร์ทเนอร์เจ้าใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจร่วมกัน นอกเหนือจากการช่วยเหลือลูกค้าเเล้ว ในขณะเดียวกัน เราไม่เคยลืมพันธมิตรของเรา ซึ่งมีการช่วยเหลือเเละประสานงานร่วมกันอยู่ตลอด”

    ขณะเดียวกัน เราเห็นโอกาสการเติบโตของบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ ในส่วนฐานลูกค้าต่างจังหวัดที่มีค่อนข้างเยอะ จึงตอบโจทย์นี้ผ่านห้างโรบินสันในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป อีกโอกาสหนึ่งที่น่าสนใจคือลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านไทวัสดุ ที่มีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากเเละผ่อนชำระได้ยาว ๆ”

    ทั้งนี้ กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มีฐานลูกค้าต่างจังหวัดมากถึง 60% (อีก 40% เป็นกรุงเทพฯ) โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือนราว 80% มีรายได้ประจำไม่สูงมาก เเละอีก 20% เป็นกลุ่มเจ้าของกิจการ


    เอาใจ Gen Y-Z บุกตลาดนักช้อปออนไลน์

    เราต้องการจะเป็นผู้ช่วยสร้างเครดิต เริ่มปูทางเครดิตการเงินให้กับคนไทย”

    เกือบ 70% ของลูกค้ากรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ มีอายุเฉลี่ยต่ำกว่า  40  ปี โดยฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี มีมากถึง  31% ไลฟ์สไตล์จึงปรับเปลี่ยนเร็ว ตามติดโซเชียลมีเดีย เเละอัพเดตเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

    ดังนั้น การจับตลาดของเเบรนด์ จึงเน้นไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ First Jobber ที่ต้องการมีบัตรเครดิตใบเเรกสื่อสารผ่านธีม ‘จุดเริ่มต้น คนมีเครดิต’ มีการดีไซน์รูปเเบบสาขาใหม่ ให้ทันสมัย หรูหราเเละมินิมอล ใช้พรีเซนเตอร์เเละอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่น

    สำหรับยอดใช้จ่ายบนฟีเจอร์บัตรเครดิตกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ในไตรมาสเเรก มีการเติบโตโดยรวม 5% อยู่ที่ 13,100 ล้านบาท  นับว่าเติบโตสวนทางตลาด โดยหมวดที่มีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ หมวดออนไลน์ช้อปปิ้ง (23%) ตามมาด้วยการเติมน้ำมันเเละทานอาหาร ค่ารักษาพยาบาลเเละประกัน

     หมวดช้อปออนไลน์เเละประกัน จะเป็น 2 หมวดหลักที่เราจะมุ่งเติบโตให้ได้ในช่วงครึ่งปีหลัง”

    สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อผู้คนในปัจจุบันมีการทำงานจากที่บ้านมากขึ้น ทำให้การใช้จ่ายออนไลน์เติบโตสูง รวมทั้งยังมีความสนใจในเรื่องสุขภาพและความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น


    เฟิร์สช้อยส์ : เจ้าตลาดสินเชื่อผ่อนชำระ

    ฟีเจอร์ที่ลูกค้า ‘ชื่นชอบมากที่สุด’ ก็คือ  การผ่อนชำระ ซึ่งเฟิร์สช้อยส์มีแผนผ่อนชำระให้เลือกหลากหลาย  ทั้งการผ่อน 0% ยาวๆ ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าในช่วงนี้ได้ดี โดยทางกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์มี ‘ข้อได้เปรียบ’ คือสามารถผ่อนได้สูงสุดถึง 24  เดือน สำหรับสินค้าที่ร่วมรายการ  หรือการผ่อนชำระแบบมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ซึ่งก็ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และช่วยให้ลูกค้าบริหารการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น

     ยอดการผ่อนชำระสินค้าที่ซื้อผ่านออนไลน์ช้อปปิ้งแพลตฟอร์ม ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ มีการเติบโตถึง 80% นับว่าสูงมาก มีทั้งการผ่อนผ่านอี-มาร์เก็ตเพลสอย่าง Shopee, Lazada เเละพาร์ทเนอร์ที่เข้าไปจับมือกัน มีการอัดโปรโมชันค่อนข้าง ‘จัดเต็ม’ กับกลุ่มอีคอมเมิร์ซ

    อีกสิ่งน่าสนใจในช่วงนี้คือการ ‘ผ่อนทองคำ’ ผ่อนแก็ดเจตไอทีใหม่ ๆ ผ่อนสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการ Work From Home ทำงานที่บ้านทั้งเก้าอี้ โต๊ะคอมฯ ของตกเเต่งบ้าน เเละการผ่อนประกัน

    “สถานการณ์โควิดยืดเยื้อ เเน่นอนว่ามีลูกค้ากลุ่มหนึ่งได้รับผลกระทบ เเต่เรายังมีฐานลูกค้าอีกกลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อย เเละหันมาใช้ไลฟ์สไตล์ออนไลน์มากขึ้น เริ่มวางเเผนทางการเงินเเละประกันสุขภาพมากขึ้น”

    นอกจากนี้ จุดเด่นโปรโมชัน ‘Cash Back’ ของเฟิร์สช้อยส์ ที่ให้เครดิตเงินคืนสูงสุด 3% เป็นอีกสิ่งจูงใจให้คนหันมาเลือกใช้เป็น ‘บัตรหลัก’ เน้นให้คืนง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน หรือจะนำคะเเนนไปแลกรับเครดิตเงินคืนที่เป็นส่วนลดได้เพิ่มเติมอีกด้วย

    ย้อนกลับไป ในช่วงเเรก ๆ ของการระบาดของโควิด-19 กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ เคยมีการเข้มงวดการ ‘ออกบัตรใหม่’ เเต่ในช่วงหลัง ๆ มีการผ่อนคลายมากขึ้น ลดเพดานรายได้ขั้นต่ำลง โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นบาท เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

    “รายได้ของมนุษย์เงินเดือนปรับมาอยู่ช่วงหมื่นต้น ๆ เยอะขึ้น ลดลงจากเเต่ก่อน ที่เฉลี่ยราว 2  หมื่นบาท”

    กรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ เคยตั้งเป้าบัตรใหม่ปีนี้ไว้ที่ 2 เเสนใบ เเม้จะเจอสถานการณ์โรคระบาดที่รุนเเรงกว่าที่คาดเเต่จะพยายามให้ไม่ลดลงจากเป้าเดิมมากนัก อาจจะอยู่ที่หลัก 1.7-1.8 เเสนใบ เเละมีเป้าหมายยอดใช้จ่ายโดยรวมที่ 7.5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต 45,000 ล้านบาท และยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ 30,000 ล้านบาท


    ตลาด ‘สินเชื่อส่วนบุคคล’ ในอาเซียน สดใหม่เเละมีโอกาสสูง

    เป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) กำลังเดินหน้าร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในเครือ MUFG ซึ่งเป็นบริษัทเเม่ ขยายการลงทุนในอาเซียนอย่างเต็มรูปเเบบ เพื่อขึ้นแท่นสถาบันการเงินชั้นนำในภูมิภาค ผ่านการร่วมทุนในประเทศลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์ โดยหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอในตลาดใหม่นี้ ก็คือ สินเชื่อส่วนบุคคลของเฟิร์สช้อยส์

    “ธุรกิจผ่อนชำระเเละสินเชื่อส่วนบุคคลในตลาดสปป.ลาว ยังไม่มีคู่เเข่งเยอะ ถือว่ายังมีโอกาสอีกมาก การเติบโตสูง เเต่ความท้าทายก็มีอย่างค่าเงินกีบที่ค่อนข้างผันผวน อีกทั้งคนลาวบางส่วนยังใช้ทั้ง 3 สกุลเงิน คือ กีบ, บาท และดอลลาร์ จึงต้องมีการจัดการเรื่องระบบอัตราการเเลกเปลี่ยนเงินระหว่าง 3 สกุลให้ดี”

    ด้านการขยายไปยังกัมพูชานั้น ได้เข้าซื้อหุ้นใน “หัตถา กักสิกรอร์ ลิมิเต็ด” (Hattha Kaksekar Limited : HKL) ที่เป็นธุรกิจไมโครไฟเเนนซ์เเบบมีหลักประกัน ซึ่งปัจจุบัน มีการยกระดับขึ้นมาเป็นธนาคารพาณิชย์เเล้ว จึงมีการเเชร์ฐานข้อมูลลูกค้าเเละขยายบริการได้มากขึ้น

    “เศรษฐกิจกัมพูชายังมีโอกาสเติบโตได้มาก การส่งออกดี เราจึงประเดิมเจาะตลาดผ่อนชำระด้วยเเบรนด์เฟิร์สช้อยส์เลย ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงบุกเบิก ในอนาคตจะมีการพัฒนาไปในรูปแบบ 2-in-1 ทั้งผ่อนชำระเเละกดเงินสดได้เเบบเดียวกันเหมือนประเทศไทย”

    ส่วนการเจาะตลาดฟิลิปปินส์ มีการเข้าไปร่วมทุน (Joint Venture) โดยถือหุ้น 50% ในเอสบี ไฟแนนซ์ คอมปานี อิงค์ (SBF) บริษัทไฟแนนซ์ในฟิลิปปินส์ ซึ่ง SBF เป็นบริษัทลูกของ Security Bank Corporation ที่ทาง MUFG ถือหุ้นอยู่ เกิดเป็น ‘SB Finance’ ขึ้นมา โดยหลัก ๆ ทำธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล

    สำหรับโอกาสธุรกิจในฟิลิปปินส์นั้นมีสูงมาก จากการมีกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานเเละมีการใช้โซเชียลมีเดีย คุ้นเคยกับการ ช้อปปิ้งออนไลน์ เฟิร์สช้อยส์จึงเล็งจะขยายธุรกิจในรูปแบบ 2-in-1 เช่นเดียวกัน เเต่ความพิเศษอยู่ที่จะเป็น ‘ดิจิทัล’


    เปิดใจ รับฟัง เเละเรียนรู้อยู่เสมอ

    ทุกวิกฤติคือโอกาสในการเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือการไม่ทอดทิ้งลูกค้า ช่วยเหลือลูกค้า พนักงาน เเละพาร์ทเนอร์ให้อยู่รอดผ่านพ้นไปด้วยกัน สิ่งนั้นจะกลายมาเป็น Long-Term Sustainable Growth

    “ไม่ว่าจะยุคไหนของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ ก็จะเน้นเรื่องหลักธรรมาภิบาลเเละความโปร่งใส รวมไปถึงความสม่ำเสมอในการเติบโต ไม่ยอมเเพ้เเม้จะเกิดเหตุการณ์วิกฤติใด ๆ ขึ้นมา มีกลยุทธ์ใหม่ฝ่าฟันไปได้เสมอ”

    ส่วนวันว่างของ ‘พัทธ์หทัย กุลจันทร์’ หรือคุณเเจน เธอชื่นชอบการทำอาหาร เเละ ชอบดู ’รายการทำอาหาร’ เป็นพิเศษ มีบางมุมคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับได้ทำงานได้ อย่างเช่น คนเราจะเก่งคนเดียวไม่รอด ต้องบริหารทีมให้เป็น กำหนดทิศทางให้ชัดเจน ซึ่งนอกจากจะดูเพื่อความสนุกเเล้ว ก็ยังตอบโจทย์ปรัชญาในการทำงานด้วย

    โดยหลักคิดในการทำงานของเธอ คือ ให้ความสำคัญกับทีมงาน จะเก่งคนเดียวไม่ได้ เปิดให้พนักงานทุกคนมีโอกาสได้เเชร์ไอเดียเยอะ ๆ ให้โอกาสในการนำมาประยุกต์ใช้ เปิดใจเเละรับฟังความคิดเห็นมากขึ้น คุยกันได้สบายๆ

    สำหรับเทคนิคการบริหารคนที่มาจากหลากหลายเจเนอเรชันนั้น สิ่งที่ต้องทำก็คือ การเอาใส่ใจ เเละการ ‘Coaching’ ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา ไม่เเบ่งว่าเป็นใคร ตำเเหน่งอะไร อายุเยอะหรืออายุน้อย ต้องมีความเชื่อมั่นว่าทุกคนมี สกิลในการเรียนรู้สิ่งใหม่

    พร้อมฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่มีความมุ่งมั่นจะก้าวหน้าในหน้าที่การงานว่า…

    “จงเรียนรู้เเละทำให้ดีที่สุด พยายามเก็บเกี่ยวประสบการณ์ พัฒนาทักษะทั้ง Soft Skill เเละ Hard Skill บางอย่างที่เราเคยล้มเหลวก็สู้ต่อไป นำมาปรับปรุงในอนาคต วันหนึ่งเราอาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นผู้นำที่ดีได้ในอนาคต”

     

    ]]>
    1347805
    ‘ShopBack’ มองตลาดอีคอมเมิร์ซครึ่งปีหลังยังเดือด และ ‘วิดีโอ’ จะยิ่งมีอิทธิพลในการช้อป https://positioningmag.com/1342388 Wed, 14 Jul 2021 12:52:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342388 หากพูดถึง ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มสะสมรางวัล และ เงินคืนบนอีคอมเมิร์ซ ซึ่งขาช้อปหลายคนอาจผ่านหูผ่านตามาบ้าง เพราะ ShopBack ให้บริการมา 4 ปีแล้ว โดย กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย ก็ได้มาคาดการณ์ถึงตลาดอีคอมเมิร์ซในครึ่งปีหลัง รวมถึงเทรนด์ที่จะได้เห็นในอนาคต

    โดย กวิน มองว่าในช่วงครึ่งปีหลังตลาดอีคอมเมิร์ซยังคงเติบโต เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ยังคงเป็นตัวกระตุ้นเพราะการเดินทางไปจับจ่ายยังจำกัด ซึ่งเป็นภาพชัดเจนมาตั้งแต่ช่วงล็อกดาวน์ครั้งแรกในเดือนเมษายน-พฤษภาคมปี 63 ขณะที่โปรโมชันสำคัญของเหล่าอีมาร์เก็ตเพลสยังคงเป็นแคมเปญดับเบิลเดย์ อาทิ 11.11, 12.12 ที่น่าจะทำโปรโมชันแรงมาก ๆ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค

    ในส่วนของเทรนด์ที่จะเริ่มเห็นจากนี้และในระยะยาวคือ แบรนด์หันมาขายออนไลน์เองโดยไม่พึ่งอีมาร์เก็ตเพลส เนื่องจากแบรนด์ต้องการ ข้อมูล เพื่อนำไปต่อยอดทางการตลาดทั้งการทำแบรนดิ้งต่าง ๆ ดังนั้น งบการตลาดจากนี้จะลงน้ำหนักไปกับส่วนนี้ โดยกลุ่มแรกที่จะเห็นคือ กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม, แฟชั่น ดังนั้น ShopBack ก็มีแผนจะเพิ่มพันธมิตรรายใหม่แบบโดยตรงมากขึ้น

    นอกจากนี้ ที่น่าจับตามองคือ วิดีโอ เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ดังนั้น คอนเทนต์วิดีโอน่าจะเป็นเทรนด์ของอนาคตและจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อ ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลัง ShopBack จึงร่วมมือกับครีเอเตอร์จาก TikTok กว่า 100 ราย นำคลิปวิดีโอรีวิวสินค้ามานำเสนอบนแพลตฟอร์มเพื่อให้รายละเอียดสินค้า โดยครีเอเตอร์จะได้ส่วนแบ่งรายได้ ซึ่งจากการทดลองพบว่า ผู้รับชมวิดีโอกว่าครึ่งมีการคลิกต่อเพื่อเข้าไปเลือกชมสินค้าและบริการ

    กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

    จากปัจจัยจากการระบาดของ COVID-19 กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์วิดีโอ รวมถึงการทำโปรโมชันที่จูงใจ เชื่อว่าจะทำให้ ผู้ใช้งานและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ShopBack มียอดดาน์โหลดมากกว่า 18 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานกว่า 4.7 ล้านคน เป็นผู้หญิง 60% และชาย 40%

    โดยกลุ่มอายุ 18-24 ปี มีสัดส่วน 11%, 24-34 ปี 42%, 34-44 ปี 29% และอายุ 45 ปีขึ้นไป 18 ผู้ใช้งานที่แอคทีฟราว 4.5 แสนราย/วัน มีอัตราการใช้ซ้ำ 50% มีการเข้าใช้งานผ่านแอนดรอยด์ 63% IOS 36% PC 1% และสำหรับกลุ่มสินค้าที่มียอดการสั่งซื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มความงาม, เสื้อผ้าและรองเท้าผู้หญิง, อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน, ของชำ และโมบายและแท็บเล็ต

    ]]>
    1342388
    วันสยาม และไอคอนสยาม มอบความสะดวก เพิ่มความคุ้มค่าในการช้อป ส่งฟรีพร้อมแจกโค้ดส่วนลดกับบริการช้อปออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็ช้อปได้ ทุกที่ ทุกเวลา ครบทุกความต้องการ https://positioningmag.com/1342066 Wed, 14 Jul 2021 10:00:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342066

    OneSiam โกลบอลเดสติเนชั่นที่ผสานศักยภาพของ 3 ศูนย์การค้า ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และไอคอนสยาม ร่วมสนับสนุนนโยบายรัฐเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 มอบความสะดวกและเพิ่มความคุ้มค่าในการช้อป กับ 5 ช่องทางช้อปออนไลน์ อยู่ที่ไหนก็ช้อปได้ทุกที่ ทุกเวลา ให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าหลากหลาย ตอบครบทุกความต้องการ ตั้งแต่ Fashion, Beauty, Living, Lifestyle, Gadget และอาหารเมนูโปรด พร้อมข้อเสนอสุดพิเศษ อาทิ บริการส่งฟรี, แจก Siam Gift Card และแจกโค้ดส่วนลดค่าอาหารทันที ในหลากหลายช่องทางบริการ ได้แก่

    • Call & Shop ช้อปให้ทุกอย่าง แค่คุณโทรมาบริการสุดเอ็กซ์คลูซีฟสำหรับสมาชิก VIZ Card และ Platinum M Card   เพียงโทร. 063-205-7989 หรือ 063-205-7974 หรือแอด Line @callandshop โดยสามารถช้อปสินค้าทางโทรศัพท์หรือไลน์ได้อย่างครบครันทุกแผนกจากสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และหากช้อปไอคอนสยาม เพียงโทร.083-097-4622 หรือแอด Line @cs_iconsiam เสมือนมีบริการผู้ช่วยส่วนตัวที่รู้ใจมาช่วยช้อปให้ตั้งแต่ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร จนถึงลักซ์ชัวรี่แบรนด์ พร้อมมอบข้อเสนอพิเศษ ช้อปครบ 500 บาทส่งฟรีทั่วประเทศ และช้อปครบ 1,000 บาท ส่งฟรีในวันเดียวกันภายในรัศมี 20 กม. ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ..นี้

    • Siam Paragon และ ICONSIAM Luxury Chat & Shop แชทและช้อปแบรนด์เนมระดับโลก จากรันเวย์พร้อมส่งถึงมือคุณ โดยกดติดตามผ่านทางแฟนเพจเฟซบุ๊ค SIAMPARAGONSHOPPING และทาง Line @callandshop หรือ จากแฟนเพจเฟซบุ๊ค ICONSIAM และ ทาง line @cs_iconsiam จากนั้นเลือกชมสินค้าไฮไลท์ประจำวันของหลากหลายแบรนด์หรูคอลเลคชั่นล่าสุดตามสไตล์ความชอบ

    • OneSiam และ ICONSIAM Ultimate Chat & Shop ให้คุณช้อปล้ำนำเทรนด์ได้แล้ววันนี้ กับประสบการณ์การแชทแอนด์ช้อปที่ง่ายและสนุกกว่าเดิมพบกับสินค้าหลากหลายแบรนด์ดัง จาก สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ เพียงแอด LINE @OneSiam และเลือกช้อปจาก ไอคอนสยาม เพียงแอด LINE @ICONSIAM พร้อมดีลสุดพิเศษทุกวัน

    • Click & Shop ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง แค่คลิก ช้อปได้ทันใจ บริการนี้คุณสามารถช้อปได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยได้คัดสรรสินค้าหลากหลายแบรนด์ดังจากสยามดิสคัฟเวอรี่ อาทิ  LOFT, O.D.S., Digital Lab, Street Lab, Her Lab, His Lab, Beauty Lab, ICONCRAFT และ Ecotopia โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่าน LINE @OneSiam เลือก Siam Discovery Click and Shop ได้เลย

    • Taste of Siam x Robinhood สัมผัสประสบการณ์ความอร่อยแบบเดลิเวอรี่ จากร้านอาหารยอดนิยมใน สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และ ไอคอนสยาม ตั้งแต่ร้านเมนูซิกเนเจอร์ระดับมิชลินสตาร์จนถึงร้านโปรดโดนใจ ให้ทุกที่ทุกเวลาของคุณอิ่มอร่อยในรสชาติแห่งสยามสั่งได้สะดวกบนแพลตฟอร์ม Robinhood พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษสั่งครบ 500 บาท ใช้โค้ดลดค่าอาหารทันที สูงสุด 200 บาท เฉพาะร้านที่ร่วมรายการแจกโค้ดส่วนลดเท่านั้น ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ..นี้

    ร่วมช้อปได้ไม่สะดุด พร้อมรับข้อเสนอสุดพิเศษสุดคุ้มค่าผ่านบริการช้อปออไนลน์ ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และสินค้าหลากหลายครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ จากสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-610-8000 หรือ Facebook : OneSiam และไอคอนสยาม ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1338 หรือ Facebook: ICONSIAM

    ]]>
    1342066