ซื้อหุ้น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 30 Dec 2021 00:56:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้อนชมดีลแห่งปี 2564 “ปลาใหญ่” ในไทยล่ากิจการ ขยายน่านน้ำทางธุรกิจ https://positioningmag.com/1369162 Wed, 29 Dec 2021 12:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369162 ปี 2564 เป็นปีที่น่าจับตามองของบริษัท/องค์กรขนาดใหญ่ในไทย ในแง่ของการเข้าซื้อกิจการหรือซื้อหุ้นลงทุนในบริษัทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อบริษัทขนาดใหญ่/กลางที่อยู่ในตลาดมานานแบบ “ปลาใหญ่กินปลาใหญ่” ทำให้อาณาจักรองค์กรขยายใหญ่ทันที หรือการขยายไปลงทุนในกิจการสตาร์ทอัพที่กำลังโตแรงหรือธุรกิจขนาดเล็กแต่มีศักยภาพ ช่วยเสริมพอร์ตให้ปลาใหญ่เกิดทางลัดทางธุรกิจ ปีที่ผ่านมามีดีลอะไรที่น่าสนใจบ้าง Positioning ขอรวบรวมมาไว้ที่นี่

 

“บิ๊กดีล” ปลาใหญ่ฮุบปลาใหญ่

รวมดีลที่น่าสนใจ เมื่อองค์กรขนาดใหญ่ที่เข้าไปซื้อกิจการหรือซื้อหุ้นเป็นสัดส่วนสำคัญในธุรกิจขนาดใหญ่/กลางที่อยู่ในตลาดมานาน โดยทำให้เกิดการขยายน่านน้ำทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ หรือการขยายไปยังธุรกิจอื่น

“กัลฟ์” เข้าซื้อ “อินทัช”

แต่เดิมนั้น บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF ถือหุ้นใน บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH อยู่แล้ว 18.93% แต่ปีนี้ กัลฟ์ได้ทำการ Tender Offer ระหว่างวันที่ 29 มิ.ย. 64 – 4 ส.ค. 64 จนในที่สุดเมื่อปิดระยะเวลา กัลฟ์เพิ่มการถือหุ้นในอินทัชขึ้นเป็น 42.25% โดยใช้เงินลงทุนไปราว 48,600 ล้านบาท

ทั้งนี้ INTUCH เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่อยู่ใน บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC เจ้าของเครือข่าย AIS โดยถือหุ้นสัดส่วน 40.44% น่าสนใจว่าการเพิ่มการลงทุนของธุรกิจสายพลังงานลงในธุรกิจโทรคมนาคม จะเกิดการ synergy ทางธุรกิจอย่างไรต่อไป

 

“เซ็นทรัลพัฒนา” เข้าซื้อ “สยามฟิวเจอร์”

เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64 บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ CPN ประกาศเข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 30.36% ใน บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SF โดยเป็นการซื้อหุ้นจาก บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป (MAJOR) ใช้เงินลงทุนไป 7,765.9 ล้านบาท รวมแล้วทำให้ CPN ถือครองหุ้นสัดส่วน 31.57% ใน SF ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1

การเข้าซื้อ SF ของ CPN จะทำให้พอร์ตธุรกิจยิ่งแข็งแกร่งขึ้น เพราะจะได้ครอบครองศูนย์การค้าเพิ่มอีก 18 แห่ง รวมพื้นที่เช่า 4.3 แสนตร.ม. และมีทำเลทองที่น่าสนใจคือ “เมกา บางนา” รวมอยู่ในนี้ ซึ่งจะส่งให้ CPN เป็นเจ้าของ Super Regional Mall เพิ่มเป็น 2 แห่ง คือทั้งเซ็นทรัล เวสต์เกต และ เมกา บางนา

 

กลุ่ม “BTS” ซื้อหุ้นใน “JMART-SINGER”

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กลุ่ม BTS ประกาศดีลเข้าลงทุนใน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART และ บมจ.ซิงเกอร์ ประเทศไทย (SINGER) โดยทางใช้วิธีขายหุ้นเพิ่มทุนให้บริษัทในเครือของ BTS สองแห่ง ได้แก่

  • บมจ.วีจีไอ (VGI) ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 15% ใน JMART
  • บมจ.ยูซิตี้ (U) ใช้เงินลงทุนราว 4,500 ล้านบาท ซื้อหุ้นเพิ่มทุนสัดส่วน 9.9% ใน SINGER และยูซิตี้ยังมีวงเงินอีก 7,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงใน SINGER สัดส่วน 24.9% ด้วย

ทำให้ดีลนี้รวมแล้วกลุ่ม BTS ใช้งบไปทั้งหมด 18,500 ล้านบาท

ดีลนี้ถือว่าวิน-วินกันทั้งสองฝ่าย เพราะฝั่ง JMART ก็ต้องการเงินลงทุนเพิ่มเพื่อนำไปใช้ชำระหนี้และต่อทุนกิจการ ส่วน BTS ก็ต้องการขยายการลงทุนในธุรกิจอื่น ในที่นี้คือการขายอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของ JMART และธุรกิจสินเชื่อของ SINGER

 

“ธนาคารกรุงศรีอยุธยา” เข้าซื้อ “พอร์ตธุรกิจรายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์”

แม้จะเป็นพอร์ตธุรกิจขาหนึ่งของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทย แต่เป็นพอร์ตที่มีมูลค่าสูงถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่วนที่น่าสนใจคือธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งบัตรซิตี้แบงก์มีลูกค้าชั้นดีที่ถือครองบัตรของบริษัทจำนวนมาก หลังจากซิตี้กรุ๊ปประกาศจะถอนตัวออกจากธุรกิจรายย่อยในประเทศไทย ทำให้หลายฝ่ายจับตามองว่าใครจะเป็นผู้ชนะการประมูลซื้อพอร์ต

ตามการรายงานข่าวของ Bloomberg ระบุเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 64 ว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ชนะการประมูล โดยมีกระแสข่าวก่อนหน้านั้นว่านอกจากแบงก์กรุงศรีฯ แล้ว ยังมีธนาคารกรุงเทพและธนาคารกสิกรไทยที่สนใจยื่นประมูลด้วยเช่นกัน

 

ปลาใหญ่ลงทุนใน “ปลาโตไว” ช่วยขยายน่านน้ำ

รวมดีลที่ “ปลาใหญ่” เข้าไปลงทุนกับสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตแรง หรือบริษัทขนาดเล็กแต่มีศักยภาพสูง ช่วยสร้างทางลัดในธุรกิจให้กับปลาใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

“SCBX” เข้าซื้อ “Bitkub”

ดีลที่เรียกเสียงฮือฮาแห่งปีเมื่อเดือนพฤศจิกายน กลุ่ม SCBX ประกาศใช้เงินลงทุนถึง 17,850 ล้านบาท เข้าถือหุ้นสัดส่วน 51% ใน บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ Bitkub ส่งให้สตาร์ทอัพด้านสินทรัพย์ดิจิทัลรายนี้เป็น “ยูนิคอร์น” ตัวใหม่ของเมืองไทยทันที

สำหรับฝั่ง SCBX เห็นได้ชัดว่านี่คือการขยายน่านน้ำอย่างรวดเร็วเข้าสู่ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่ง Bitkub กรุยทางธุรกิจหลักมาแล้วในฐานะศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลรายใหญ่ในไทย

“OR” เข้าซื้อหุ้นใน โอ้กะจู๋, Kouen, Kamu Tea

ตลอดปีนี้ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR มีการซื้อหุ้นในบริษัทอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งเพื่อขยายพอร์ตของตนเองให้หลากหลายตามแนวทางธุรกิจ โดยใช้บริษัทในเครือคือ บริษัท มอดูลัส เวนเจอร์ จำกัด (Modulus) เข้าไปถือหุ้นบริษัทรายเล็กอื่นๆ ดังนี้

  • โอ้กะจู๋ – OR ใช้งบลงทุนไม่เกิน 500 ล้านบาท เข้าถือหุ้น 20% ใน บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด เจ้าของเชนร้านอาหารโอ้กะจู๋ 14 สาขา โดยโอ้กะจู๋มีจุดเด่นเป็นแบรนด์ร้านอาหารผักเกษตรอินทรีย์ที่อร่อย สดใหม่ ทำรายได้ปี 2562 ไป 643 ล้านบาท กำไรสุทธิ 79 ล้านบาท
  • Kouen – OR ใช้เงินลงทุนวงเงินไม่เกิน 192 ล้านบาท เข้าลงทุนซื้อหุ้นสัดส่วน 25% ในบริษัท อิ่มทรัพย์ โกลบอล คูซีน จำกัด (ISGC) เจ้าของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Kouen จำนวน 19 สาขา
  • Kamu Tea – OR ใช้งบลงทุนไม่เกิน 480 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นสัดส่วน 25% ในบริษัท คามุ คามุ จำกัด เจ้าของแบรนด์ชานมไข่มุก Kamu Tea ร้านชานมไข่มุกที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันขยายไปมากกว่า 100 สาขา เมื่อปี 2563 บริษัทรายงานรายได้ 362 ล้านบาท กำไรสุทธิ 97 ล้านบาท

 

นอกจาก “ดีล” เด่นๆ ข้างต้นแล้ว ยังมีบิ๊กดีลที่ทั้งสองบริษัทแจ้งว่าเป็นการ “ควบรวมกิจการ” นั่นคือ TRUE กับ DTAC เนื่องจากไม่ใช่การที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อกิจการในอีกบริษัท แต่ทั้งคู่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา โดยมีการจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ให้กับแต่ละบริษัท ซึ่งผลสุดท้ายแล้วจากมูลค่าหุ้นน่าจะทำให้ TRUE ได้ถือหุ้นบริษัทใหม่ 58% และ DTAC จะได้ถือ 42%

อย่างไรก็ตาม ผลต่อผู้บริโภคนั้นก็จะทำให้ผู้เล่นในตลาดโทรคมนาคมลดจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย ทั้งนี้ ต้องติดตามรายละเอียดการควบรวมกิจการกันต่อไป เพราะข่าวที่ออกมาเบื้องต้นยังเป็นการเซ็น MOU กันเท่านั้น

ส่วนดีลอื่นๆ ที่เป็นการประสานความร่วมมือของสองบริษัทหรือมากกว่าผ่านการจัดตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันนั้น ปี 2564 ก็มีดีลลักษณะนี้ให้เห็นเพียบ เพราะธุรกิจยุคใหม่หากจะโตให้เร็วหรือโตกว้าง หลายบริษัทเล็งเห็นแล้วว่าจะทำได้ผ่านการจับมือกับบริษัทอื่นโดยนำเอาความเชี่ยวชาญหรือแหล่งเงินทุนมาประสานพลังกันนั่นเอง

]]>
1369162
อ่าน 7 ข้อ ทำความเข้าใจ ‘หุ้น OR’ ไขข้อสงสัย ‘ไม่มีพอร์ตหุ้น’ ก็ลงทุนได้ https://positioningmag.com/1315923 Fri, 22 Jan 2021 12:51:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315923 ข่าวใหญ่ในวงการหุ้นไทยที่ได้รับความสนใจ คึกคักมาตั้งเเต่ต้นปี 2021 หลังบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ ‘OR’ (โออาร์) เตรียมเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ในช่วงราคา 16-18 บาทต่อหุ้น

โดย OR นับเป็นหุ้น IPO ขนาดใหญ่ เป็นกิจการในเครือยักษ์พลังงานอย่าง ปตท. ที่คนไทยรู้จักกันดีผ่านการใช้บริการสถานีบริการน้ำมันที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงธุรกิจร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ร้านนกาเเฟที่มีเเบรนด์ติดตลาดอย่าง ‘Café Amazon’

ความน่าสนใจในการเปิดจองซื้อ หุ้น PTTOR’ ในครั้งนี้ คือการเปิดให้คนทั่วไปเข้าซื้อได้ในจำนวน 300 หุ้นต่อคน จัดสรรด้วยวิธี Small Lot First เปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง ได้ทั้งคนที่มีพอร์ตหุ้นอยู่เเล้ว เเละแม้ ไม่มีพอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

เเต่ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาธุรกิจนั้นๆ ให้รอบคอบ วันนี้ Positioning รวบรวมขอสรุปพื้นฐานธุรกิจ ความท้าทาย กลยุทธ์การเติบโต เเผนลงทุนในอีก 5 ข้างหน้า เเละรายละเอียดในการจองซื้อหุ้นของ ‘OR’ ไว้ดังนี้

ส่องธุรกิจ OR

บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แยกออกมาจากบริษัทเเม่อย่าง ปตทมาตั้งเเต่ปี 2561 ประกอบธุรกิจตามเเนวคิด ‘Retailing Beyond Fuel’ ผสมผสานระหว่างธุรกิจน้ำมันและธุรกิจค้าปลีกสินค้าและบริการอื่น ๆ (Non-Oil) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประกอบด้วย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตลาดค้าปลีกและตลาดพาณิชย์ธุรกิจร้านกาแฟ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อและการบริหารจัดการพื้นที่เช่า ฯลฯ

มีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ติดตลาดอย่าง “PTT Station” ที่มีสาขา 1,968 แห่งในประเทศไทย และ 329 แห่งในต่างประเทศ ครองเบอร์หนึ่งมาร์เก็ตเเชร์ผู้ค้าน้ำมันในไทยที่ 38.9%

  • แบรนด์ร้านกาแฟ Café Amazon ที่มีจำนวน 3,168 ร้านในประเทศไทย และ 272 ร้านในต่างประเทศ
  • ศูนย์บริการยานยนต์ FIT Auto จำนวน 56 แห่งในประเทศไทย และ 4 แห่งในต่างประเทศ
  • ร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ 7-Eleven ในสถานีบริการ และแบรนด์ Jiffy จำนวนรวมกัน 1,960 ร้านในประเทศไทย และ 86 ร้านในต่างประเทศ อย่างฟิลิปปินส์กัมพูชา และเมียนมา ฯลฯ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563)
Photo : Shutterstock

รายได้และกำไรของ OR

ปี 2560 รายได้ 543,275 ล้านบาท กำไร 9,768 ล้านบาท

ปี 2561 รายได้ 592,072 ล้านบาท กำไร 7,851 ล้านบาท

ปี 2562 รายได้ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,895 ล้านบาท

ปี 2563 (..-..) รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 5,868.5 ล้านบาท

หากมองอัตรากำไรสุทธิปี 2560-2562 จะอยู่ที่ 2.3% 1.6% และ 1.9% ตามลำดับ ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีอัตรากำไรสุทธิ 1.8%

ด้านสัดส่วนรายได้ เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 91.38% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 3.66% สัดส่วน EBITDA เเบ่งเป็น ธุรกิจน้ำมัน 68.67% ธุรกิจค้าปลีกและบริการอื่นๆ 25.04%

กางเเผนลงทุน 5 ปี 

หลังการระดมทุน IPO บริษัทมีแผนการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2564-2568) ตั้งงบไว้ราว 74,600 ล้านบาท ทั้งการขยายปั้มน้ำมัน เพิ่มสาขา Café Amazon ตั้งโรงงานเบเกอรีโรงงานผงผสมเครื่องดื่มศูนย์กระจายสินค้า ลุยธุรกิจ EV รองรับเทรนด์รถยนตืไฟฟ้า พร้อมร่วมทุนเเละเข้าซื้อกิจการธุรกิจใหม่ๆ

สำหรับแผนใช้เงินลงทุนทั้งหมด 74,600 ล้านบาท เเบ่งเป็น สัดส่วน 34.6% หรือราว 25,811.6 ล้านบาท จะลงทุนในกลุ่มธุรกิจน้ำมัน เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างเเละต่อยอดธุรกิจอื่นให้เติบโตไปด้วย รวมถึงเป็นการรักษาความเป็น ‘เบอร์หนึ่ง’ ในตลาดการเเข่งขันไทย

ธุรกิจน้ำมัน วางเป้าในปี 2568 สถานีบริการน้ำมัน PTT เป็น 3,100 แห่ง จากปัจจุบัน 1,968 แห่ง โดยใช้กลยุทธ์ ‘ลงทุนต่ำ’ ด้วยการให้ดีลเลอร์ที่ต้องการขยายสถานีบริการ เป็นผู้ลงทุนหลักสัดส่วน 80% และ OR ลงทุน 20% ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรฐานของบริษัท

ptt station ปั๊มปตท.

ต่อมาจะลงทุน สัดส่วน 28.6% หรือราว 21,335.6 ล้านบาท ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ Non-Oil เพราะเป็นธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงกว่าการจำหน่ายน้ำมัน

ธุรกิจ Non-Oil วางเป้าปี 2568 ขยายสาขาร้านกาแฟ Café Amazon เพิ่มเป็น 5,800 สาขา จากปัจจุบันมี 3,168 สาขา รวมทั้งขยายฐานรายได้และขีดความสามารถการทำกำไรจากธุรกิจ Non oil ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของบริการอาหารและเครื่องดื่มในปั๊ม โดยเฉพาะการซื้อแบรนด์ใหม่มาเพิ่มพร้อมกับขยายร้านเดิมที่มีอยู่

รวมถึงสร้างโรงงานเบเกอรี่ โรงงานผงผสมเครื่องดื่ม และศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ และขยายร้านไก่ทอด Texas Chicken ให้ได้อีก 20 สาขาต่อปี

ด้าน ลงทุนในต่างประเทศ เเบ่งเป็น สัดส่วน 21.8% หรือราว 16,262.8 ล้านบาท จะเน้นขยายลงทุนกลุ่มอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์กัมพูชาสปป.ลาว โดยการเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีก 350 แห่ง และร้าน Café Amazon อีก 310 แห่ง พร้อมรุกตลาด LPG ควบคู่ไปกับการสร้างคลังปิโตรเลียม ขยายธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants

หลังจากเปลี่ยนรูปแบบลงทุนมาเป็นแฟรนไชส์ทำให้ Café Amazon ยายสาขาได้เร็ว โดยในเวียดนามร่วมทุนกับกลุ่มเซ็นทรัล ขยายสาขาทำเลหลัก ปัจจุบันมีขยายธุรกิจไปต่างประเทศ 10 ประเทศแล้ว หากนับ Café Amazon ในแง่จำนวนสาขาจะอยู่ที่อันดับ 6 ของโลก และแง่รายได้เป็นอันดับ 12 ของโลก 

ร้านกาเเฟ Café Amazon ในลาว

แผนในประเทศเมียนมา ปัจจุบัน OR อยู่ระหว่างลงทุนก่อสร้างคลังเก็บน้ำมันและคลัง LPG ทั้งใช้เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบ B2B ในเมียนมา ควบคู่ไปกับการขยาย PTT Station และคาเฟ่ Café Amazon

สำหรับเเผนการลงทุนใน จีน’ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ จะมีการขยายสาขา Café Amazon และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น PTT Lubricants อย่างต่อเนื่อง ส่วนในประเทศโอมาน ปัจจุบัน OR ให้สิทธิ์ในการเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของโอมาน เพื่อขยาย PTT Station ทั้งในและนอกสถานีบริการ

ขณะที่ เงินลงทุนอีก 15% หรือราว 11,190 ล้านบาท จะลงทุน ‘ธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 ธุรกิจหลักดังกล่าว เพื่อมองหาโอกาสใหม่ และต่อยอดธุรกิจเดิมในรูปแบบของพันธมิตร จากการทำดีลร่วมทุน (JV) หรือซื้อเข้ากิจการ (M&A)

จัดงบลงทุน รับเทรนด์ ‘รถยนต์ไฟฟ้า’

หากเจาะลึกลงไปในงบการลงทุน 15% ของส่วน ‘ธุรกิจอื่นๆ’ พบว่าจะมีการนำไปลงทุนพัฒนา Mobility Ecosystem ทำธุรกิจเกี่ยวกับสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งขณะนี้ทดลองให้บริการชาร์จไฟฟ้ากับรถยนต์ EV แล้วที่ PTT Station จำนวน 25 แห่ง และมีแผนเพิ่มจุดให้บริการชาร์จไฟฟ้าใน PTT Station ให้ครอบคลุมเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เมื่อถามว่า เทรนด์รถยนต์ EV อาจเป็นความเสี่ยงต่อ OR หรือไม่ ทีมผู้บริหารตอบว่า มองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจมากกว่า บริษัทต้องเตรียมตัวให้พร้อมเเละพัฒนาไปข้างหน้า เราจะเข้าไปตามความต้องการของผู้บริโภค นำมาศึกษาความเป็นไปได้เพื่อต่อยอดต่อไป

ปัจจุบันอัตราการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยัง น้อยมากจดทะเบียนคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 2% ของจำนวนรถจดทะเบียนใหม่

โดย OR จะมีแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกและเก็บข้อมูล ออกแบบ EV Ecosystem เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ไม่เพียงการชาร์จไฟฟ้าเท่านั้น แต่จะครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตแบตเตอรี่ผลิตรถยนต์ การจำหน่ายรถยนต์ การผลิตเครื่องชาร์จ การจำหน่ายเครื่องชาร์จ การให้บริการชาร์จไฟฟ้าฯลฯ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา OR ได้ลงทุนบริษัทโลจิสติกส์อย่าง แฟลช เอ็กซ์เพรส’  Flash Express) และได้ร่วมทุนกับพีเบอร์รี่ไทย(Peaberry) ขยายธุรกิจกาแฟให้ครอบคลุมถึงต้นน้ำ และกลางน้ำ โดยเฉพาะเครื่องชงอุปกรณ์ การบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อบริหารต้นทุน

คุยต่อสัญญา เซเว่นอีเลฟเว่น’ 

ปัจจุบันสัญญาการให้สิทธิแบรนด์ร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในปั๊มน้ำมัน PTT Station ใกล้หมดสัญญาใน 2 ปีข้างหน้า จากอายุสัญญาทั้งหมด 10 ปี 

ผู้บริหาร OR กล่าวถึงกรณีนี้ว่า กำลังพิจารณาการต่อสัญญากับซีพีออลล์ เเละมีการพูดคุยกันบ้างเเล้ว โดยมองว่าทั้ง 2 ฝ่าย เป็นคู่พันธมิตรธุรกิจที่ดีต่อกัน สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ร้านสะดวกซื้อก็มีรายได้สูงขึ้น ขณะที่ปั๊มน้ำมันก็มีผู้คนเเวะมามีผู้ใช้บริการมากขึ้นด้วย 

จองซื้อหุ้น PTTOR ต้องทำอย่างไร?

OR ประกาศเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 2,610 ล้านหุ้น สัดส่วนไม่เกิน 22.5% ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่ออกและจำหน่ายได้แล้ว ในจำนวนนี้ จัดสรรให้นักลงทุนสถาบัน 65-70% (สถาบันต่างชาติ 17% และนักลงทุนสถาบันในไทย 83%) รายย่อยราว 30-35% 

  • จำนวน 1,860 ล้านหุ้น เสนอขายผู้ลงทุนที่จองซื้อในประเทศ (รวมรายย่อย 595.7 ล้านหุ้น )
  • จำนวน 450 ล้านหุ้น เสนอผู้ลงทุนสถาบันที่จองซื้อในต่างประเทศ
  • จำนวน 300 ล้านหุ้น เสนอขายให้แก่ประชาชน เฉพาะกลุ่มซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ ปตทเท่านั้น

วันปิดการเสนอขายหุ้นทั้งหมด หากมีผู้จองซื้อหุ้นเป็นจำนวนมากกว่าหุ้นทั้งหมดที่เสนอขาย อาจมีการจัดสรรหุ้นส่วนเกิน (กรีนชูให้แก่ผู้ลงทุนจำนวน 390 ล้านหุ้น

โดยกำหนดช่วงราคาหุ้น IPO ที่ 16-18 บาทต่อหุ้น โดยการจองซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องจ่ายเงินที่ราคาหุ้นละ 18 บาทก่อน หากประกาศราคาเสนอขายจริงในวันที่ 3 .. 2564 เวลา 9.00 เเล้วราคาต่ำกว่า 18 บาทจะคืนเงินส่วนต่างค่าจองซื้อหุ้นให้

ระบบเซ็ตเทรดจะประกาศผลการจัดสรรหุ้น IPO ประมาณวันที่ 6 ก.พ. 2564 ผ่านเว็บไซต์ settrade.com หากกรณีท่านไม่ได้รับการจัดสรรหุ้นในครั้งนี้ ระบบจะทำการคืนเงินให้อย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 17 .. 2564 (กรณีรับเงินเข้าบัญชี) และวันที่ 22 .. 2564 (กรณีรับเป็นเช็ค)

จองซื้อขั้นต่ำจำนวน 300 หุ้น และจะต้องเพิ่มเป็นจำนวนขั้นต่ำครั้งละ 100 หุ้น โดยไม่จำกัดจำนวนจองซื้อสูงสุด เท่ากับว่าผู้ที่ต้องการจองซื้อจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 5,400 บาท สำหรับหุ้นขั้นต่ำ 300 หุ้น ในราคา 18 บาทต่อหุ้น

โดยจะเปิดให้จองได้ในระยะ 10 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 .. 2564 ถึง วันที่ 2 .. 2564 (เวลา 12.00 .) ต้องจ่ายค่าจองหุ้นที่ราคา 18 บาทก่อน ผ่าน 3 ธนาคาร ทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย เเละกรุงไทย โดยวันเสาร์อาทิตย์ จองซื้อได้ที่สาขาในห้าง

กรณีจองที่ธนาคารตัวแทนจำหน่าย จะต้องกรอกเอกสาร ดังนี้ 

  1. ใบจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
  2. แบบสอบถามเพื่อหาข้อบ่งชี้การเป็นบุคคลสหรัฐฯ (กรณีฝากหุ้นในบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ สมาชิกเลขที่ 600)
  3. แบบประเมินความเหมาะสมในการลงทุน (Suitability Test) (กรณีไม่เคยทำมาก่อน)
  4. บัตรประชาชนตัวจริงหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคาร)
  5. สมุดบัญชีเงินฝากหรือสำเนา (ขึ้นอยู่กับธนาคารใช้เพื่อรับคืนเงินค่าจองซื้อ
  6. ควรทราบเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเลขที่สมาชิกของโบรกเกอร์ที่ใช้บริการ 

กรณีจองซื้อผ่านออนไลน์จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่เวลา 9.00 ของวันที่ 24 .. 2564 ถึง 12.00 . (เที่ยงวันของวันที่ 2 .. 2564)

  • กสิกรไทย ผ่านเว็บไซต์ K-My Invest และจ่ายผ่านแอปฯ KPLUS
  • กรุงเทพ ผ่านเว็บไซต์ และแอปฯ Bualuang Mobile Banking
  • กรุงไทย ผ่านเว็บไซต์ โดยเปิดใช้ KTB Netbank และแอปฯ KrungThai Next

ไม่มี พอร์ตหุ้นก็ซื้อได้

ประชาชนที่ “ไม่มีพอร์ตหุ้น” ก็สามารถจองซื้อหุ้นได้กับธนาคาร ผ่านการฝากหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรไว้ในชื่อ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทยจำกัดหรือ “TSD” และนำหุ้นเข้าฝากไว้กับ TSD นำเข้าบัญชีของบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์สมาชิกเลขที่ 600

อย่างไรก็ตาม การมีพอร์ตหุ้นอยู่แล้วจะช่วยในเรื่อง ‘ความสะดวก’ ด้านการลงทุนแก่ผู้จองซื้อ เพราะสามารถขายหุ้นออกจากพอร์ตได้ตามความต้องการ

ทั้งนี้ ภายหลังเข้าตลาด ปตท. ยังถือหุ้น 77.5% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะไม่มีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน) และ 75% (ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีการใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นส่วนเกินทั้งจำนวน

จากการเสนอขายหุ้น IPO บริษัทกำหนดกรอบราคาเสนอขาย 16-18 บาทต่อหุ้น มีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (P/E) 23.9-26.9 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกันทั้งในและต่างประเทศอยู่ที่ 31.7 เท่า

ผู้ถือหุ้น จะได้รับผลตอบแทนอะไรบ้าง

  • ได้เป็นหนึ่งในเจ้าของกิจการตามสัดส่วนการถือหุ้น
  • ได้รับเงินปันผล โดย OR มีนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่กฎหมายและบริษัทกำหนด
  • ได้รับกำไรจากส่วนต่างราคา หากสามารถขายหุ้นได้ราคาสูงกว่าราคาซื้อ เเต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้นเกินราคาจองซื้อหรือไม่

ล่าสุด ณ วันที่ 11 ก.พ.2564 บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR) เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‘วันแรก’ จากราคาที่เสนอขายให้ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) ที่ 18 บาทต่อหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้น IPO ให้ผู้ลงทุนทั่วไปจองซื้อเข้ามามีสูงถึง 5.3 แสนรายการ และได้รับการจัดสรรต่อรายสูงสุดไม่เกินคนละ 4,500 หุ้นนั้น

ราคาซื้อขายเปิดตลาดครั้งเเรก เวลา 10.00 น. พบว่า มีราคาเปิดที่ 26.5 บาท ต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 47% จากราคา IPO ที่หุ้นละ 18 บาท จากนั้นราคาปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 27 บาท ก่อนมีแรงขายทำกำไรออกมาอยู่ที่ต่ำสุดราว 23 บาท

ก่อนหน้านี้ บล.เอเซีย พลัส ประเมินว่าราคาที่เหมาะสมจะอยู่ที่ราว 24 บาท ส่วนบล.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ คาดว่าราคาจะอยู่ระหว่าง 19.30-23.10 บาท

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน

]]>
1315923
KBank สยายปีกอาเซียน บุก “อินโดฯ-เมียนมา” ลุยซื้อหุ้นเเบงก์เเมสเปี้ยน 40% เอแบงก์ 35% https://positioningmag.com/1273584 Wed, 15 Apr 2020 10:21:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273584 KBank บุกหนักตลาดอาเซียน ลุยตลาดอินโดฯ เข้าถือหุ้นในธนาคาร “แมสเปี้ยน” เต็มเพดาน 40% ปั้นธุรกรรมดิจิทัล เจาะลูกค้าท้องถิ่น ฟาก “เมียนมา” ไม่น้อยหน้า เตรียมถือหุ้น​ “เอแบงก์” 35% หลัง​ได้ไฟเขียวลงทุนในธนาคาร​พาณิชย์เมียนมาเป็น​รายแรก

มองตลาดอินโดฯ สดใส ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVision) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563 บริษัท กสิกร วิชั่น ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นรวมเป็น 40% ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงสุดที่สำนักงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (Otoritas Jasa Keuangan หรือ OJK) อนุญาตภายใต้กฎการถือครองหุ้นธนาคารในอินโดนีเซียโดยผู้ถือหุ้นที่เป็นธนาคารพาณิชย์ โดยเป็นการเพิ่มสัดส่วนจากที่ธนาคารกสิกรไทยมีอยู่เดิม 9.99% ตั้งแต่ปี 2560

“การเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยน ถือเป็นทางเลือกของการเข้าไปลงทุนที่คุ้มค่า ต่างจากการที่ต้องเข้าไปลงทุนเองใหม่ทั้งหมด แม้ธนาคารแมสเปี้ยนยังเป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีเครือข่ายสาขาครอบคลุมครบทุกเมืองสำคัญ พร้อมเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งสามารถต่อยอดความสัมพันธ์ของธุรกิจหลากหลายในทุกกลุ่มลูกค้า”

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปศึกษาและร่วมทำงานกับทีมงานของธนาคารแมสเปี้ยนเป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่มากมายในอินโดนีเซีย

“อินโดนีเซีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ยังเติบโตและมีอนาคตสดใสในอาเซียน ที่สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงจะใช้รูปแบบการทำธุรกิจที่เป็น Asset-Light และการลงทุนพัฒนาดิจิทัล แบงกิ้ง ตามแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอินโดนีเซียที่จะทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นการร่วมกันผนึกกำลังครั้งสำคัญ เพื่อนำจุดแข็งของสองธนาคารไปต่อยอดพัฒนาบริการของธนาคารพาณิชย์ในอินโดนีเซีย

โดย KBank จะใช้กลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการตามกลุ่มลูกค้า ดังต่อไปนี้

กลุ่มธุรกิจบรรษัทขนาดใหญ่

สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยและต่างชาติที่ลงทุนในอินโดนีเซียรวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งสินเชื่อและบริการการจัดการทางการเงิน รวมทั้งพัฒนาช่องทางอินเทอร์เนท แบงกิ้งและผลิตภัณฑ์ Payroll เพื่อเพิ่มความสะดวกและหลากหลายในการใช้บริการของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล

กลุ่มลูกค้า SMEs

มุ่งเน้นการให้สินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าขนาดกลางและย่อมโดยใช้ Data Lending และ Formula Lending Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งขยายธุรกิจร้านค้ารับบัตร (Acquiring Business) เพื่อรองรับการชำระเงินแบบ Non-Cash Payment

กลุ่มลูกค้าบุคคล

นำนวัตกรรมมาปรับปรุงระบบโมบายแบงกิ้งที่มีให้ดียิ่งขึ้น และผลักดันสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล รวมถึงพัฒนา Data Analytic Lending Platform โดยใช้ Data จากธุรกิจร้านค้ารับบัตร

“การเข้าถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยนเพิ่มในครั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปีนี้”

ทั้งนี้ การลงทุนในธนาคารแมสเปี้ยน ธนาคารกสิกรไทยดำเนินการผ่าน บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลงทุน (Investment Holding Company) ที่ธนาคารกสิกรไทยถือครองหุ้น 100% ในลักษณะเดียวกับการเข้าไปลงทุนในธนาคารเอแบงก์ของเมียนมา โดยจะใช้เงินลงทุนรวมไม่เกิน 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โอกาสทอง “เมียนมา” เข้าถือหุ้น​ “เอแบงก์” 35%

ธนาคารกสิกรไทยอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ซึ่งธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของเมียนมา

“การร่วมลงทุนในธนาคารกับเอแบงก์ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ใช้เงินลงทุนที่น้อยและมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปดำเนินธุรกิจในรูปแบบสาขาต่างประเทศและธนาคารท้องถิ่น โดยการเข้าไปร่วมลงทุนในเอแบงก์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันที”

ทั้งนี้ เอแบงก์ ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 314 พันล้านจ๊าด หรือ 6.4 พันล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2557

โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของกสิกรไทยในเมียนมา คือการขยายธุรกิจธนาคารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนของการพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน เพื่อครอบคลุมลูกค้าส่วนบุคคลทั่วประเทศ ซึ่งยังมีสัดส่วนในการเข้าถึงธนาคารค่อนข้างต่ำ รวมถึงธุรกิจรับชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศ

นอกจากนี้ยังจะมุ่งเน้นสร้างช่องทางของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าส่วนบุคคลสามารถเข้าถึงและทำธุรกรรมได้ ผ่านช่องทางธนาคารตัวแทน (Agent Banking) และการขยายจำนวนเครื่อง ATM ในเมียนมา

ฟากฝั่ง “ธนาคารไทยพาณิชย์” หรือ SCB ก็เพิ่งประกาศบุกเมียนมาเต็มสูบเช่นกัน หลังรับอนุมัติจัดตั้ง “ธนาคารลูก” อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

อ่านเพิ่มเติม : SCB บุกตลาด “เมียนมา” เต็มสูบ จัดตั้งธนาคารลูก วางเป้ายอดสินเชื่อเเตะ 7 พันล้านใน 5 ปี

]]>
1273584
BDMS ทุ่ม 8.56 หมื่นล้าน เสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของ รพ.บำรุงราษฎร์ ราคา 125 บาท/หุ้น https://positioningmag.com/1266076 Thu, 27 Feb 2020 04:35:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266076 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) หรือ BDMS แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอนุมัติการเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขในหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH

ปัจจจุบัน BDMS ถือหุ้น 24.99% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด คงเหลือหุ้นที่มีความประสงค์ทำคำเสนอซื้อเป็น

•หุ้นสามัญจำนวน 546,328,351 หุ้น คิดเป็น 74.83% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด

•หุ้นบุริมสิทธิจำนวน 1,210,865 หุ้น คิดเป็น 0.17% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด

•หุ้นกู้แปลงสภาพทั้งหมด ประกอบด้วยชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ซึ่งสามารถแปลงสิทธิเป็นหุ้นสามัญของ BH ได้จำนวน 137,362,636 หุ้น

“โดยเสนอซื้อหุ้นในราคาหุ้นละ 125 บาท คิดเป็นมูลค่า 85,612,731,500 บาท” ในกรณีที่มีการปรับราคาเสนอซื้อมูลค่ารวมการทำคำเสนอซื้อจะอยู่ระหว่าง 85,612,731,500 -102,735,277,800 บาท) โดยราคาเสนอซื้ออาจปรับขึ้นได้ในอัตราไม่เกิน 20%

สำหรับวัตถุประสงค์ในการลงทุนในธุรกิจการแพทย์ เนื่องจากมองว่าไทยมีความได้เปรียบทางการเเข่งขันสูง ดึงดูดคนไข้จากทั่วโลก อีกทั้งยังมีความต้องการบริการรักษาพยาบาลในประเทศและภูมิภาค เพราะกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

นอกจากนี้ ที่ประชุมบอร์ดยังได้อนุมัติ การจ่ายเงินปันผลปี 2562 ในอัตรา 0.55 บาทต่อหุ้น ซึ่งมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลแล้ว 0.25 บาทต่อหุ้น คงเหลือปันผลจ่ายอีก 0.30 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดวันที่ไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล (XD) วันที่ 11 มี.ค.2563 และกำหนดจ่าย 24 เม.ย. 2563

สำหรับผลดำเนินงานปี 2562 พบว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 15,517.17 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.99 บาท เติบโต 68.83% จากงวดปี 2561 มีกำไรสุทธิ 9,191.46 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.59 บาท โดยมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 83,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นรายได้จากผู้ป่วยชาวไทยและต่างชาติ เเละการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยและค่ารักษาพยาบาลตามความซับซ้อนของโรคและการเติบโตของลูกค้ากลุ่มประกันสุขภาพ นอกจากนี้บริษัทยังมีรายได้จำนวน 5,464 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) หรือ RAM

อย่างไรก็ตาม การเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ครั้งนี้ ยังต้องติดตามประเด็นเรื่องการถูกตีความเรื่องผูกขาดกิจการจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าด้วย

ด้าน “บำรุงราษฎร์” ออกมาโต้กลับ โดยทำหนังสือชี้เเจงต่อตลท.ว่า “ผู้บริหารของ BH ไม่คาดคิดและไม่เคยทราบเรื่องการทำคำเสนอซื้อโดยสมัครใจมาก่อน เนื่องจากในอดีต BH และ BDMS ต่างดำเนินธุรกิจอย่างอิสระต่อกันและปราศจากการประสานความร่วมมือทางธุรกิจใดๆ”

บริษัทจะขอเข้าปรึกษาและให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.)  เพื่อชี้แจงถึงสภาพการแข่งขันในธุรกิจด้านการแพทย์ในปัจจุบัน และขอความชัดเจนในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท โดย BDMS ดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม : บำรุงราษฎร์ โต้กลับ BDMS ไม่คาดคิดจะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ขอคุยคณะกรรมการแข่งขันการค้า

]]>
1266076
ต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจ “โอสถสภา” ทุ่ม 25.5 ล้าน ถือหุ้น 51% ของบริษัททำธุรกิจ “เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ” https://positioningmag.com/1242001 Mon, 12 Aug 2019 00:19:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242001 การทำสินค้ามาจำหน่ายแม้จะทำออกมาดีแค่ไหน แต่ถ้าช่องทางการจำหน่ายไม่ครอบคลุมพฤติกรรมของบริโภคก็เท่านั้น ข้อนี้นั้นโอสถสภารู้เป็นอย่างดี ล่าสุดจึงเข้าถือหุ้นในบริษัทที่ทำธุรกิจเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ นับเป็นอีกหนึ่งดีลที่เข้ามาต่อจิ๊กซอว์ของการทำธุรกิจ

โอสถสภาได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ได้ให้บริษัท โอสถสภา เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัดซึ่งเป็นบริษัทย่อย เข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นของบริษัท เอเชีย เวนดิ้ง แมชชีน โอเปอร์เรชั่น จำกัดซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยและประกอบกิจการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม อาหาร และสินค้าอื่นๆ ผ่านเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) จากบริษัท ฟูจิ ฟูรุกาว่า อี แอนด์ ซี (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ฟูจิ อิเลคทริค (ประเทศไทย) จำกัด

ภายใต้สัญญาซื้อขายหุ้นข้างต้นมีการตกลงขายหุ้นรวมกันเป็นจำนวน 255,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 51% ในราคาหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 25,500,000 บาท

ทั้งนี้โอสถสภาได้ระบุในเอกสารอย่างชัดเจนว่าการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวเป็นไปตามแผนการซึ่งจะสามารถเพิ่มช่องทางการขายผลิตภัณฑ์ผ่านทางเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

]]>
1242001
เมื่อ Marlboro เท 1.2 หมื่นล้านดอลล์ซื้อหุ้น e-cigarette เจ้าของบุหรี่ไฟฟ้า https://positioningmag.com/1204605 Sat, 22 Dec 2018 02:58:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1204605 ถือเป็นการแก้วิกฤติของบริษัทผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ อย่าง Altria Group Inc. ต้นสังกัดผู้ผลิตบุหรีรายใหญ่อย่าง Marlboro ที่ประกาศเท 12,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซื้อหุ้นบริษัท e-cigarette ชื่อ Juul Labs Inc. ส่งให้ตลาดบุหรี่ไฟฟ้าคึกคักหุ้นพุ่งทันตาเห็น

ที่ผ่านมา Altria Group Inc. ถูกมองว่ามีปัญหาเรื่องการเติบโตในธุรกิจยาสูบ คนรุ่นใหม่วันนี้ไม่นิยมสูบบุหรี่ ขณะที่คนรุ่นเก่าจำนวนไม่น้อยก็ป่วยเป็นโรคจนต้องเลิกสูบ ทั้งหมดนี้ทำให้สื่อมองว่าต้นสังกัด Marlboro กำลังพยายามแก้ไขสถานการณ์ให้ดีขึ้นโดยการซื้อบริษัทคู่แข่ง อย่างบริษัทผู้ผลิตบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์โดยตรง

ช้อนซื้อหุ้น 35%

รายงานระบุว่า Altria Group Inc. เทเงินซื้อ 12,800 ล้านเหรียญเพื่อถือหุ้น 35% ใน Juul Labs Inc. ซึ่งเป็นผู้นำตลาดบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐฯ ข้อตกลงนี้แสดงว่า Altria ตีมูลค่า Juul Labs ถึง 38,000 ล้านเหรียญ และรายละเอียดดีลระหว่าง 2 บริษัท คือการให้อิสระ Juul Labs ดำเนินธุรกิจได้อย่างเสรีไม่มีการควบคุมหรือแทรกแซง

การลงทุนนี้ถูกมองว่า Altria มั่นใจในอนาคตของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งที่ผ่านมาการบริโภคบุหรี่ลดน้อยลงต่อเนื่องไม่เพียงในสหรัฐฯ แต่ลดฮวบทั่วโลกนับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งไม่ใช่แต่ Altria เชื่อว่าผู้ผลิตบุหรี่รายอื่นก็แทบไม่มีโอกาสฟื้นตัวในธุรกิจดั้งเดิม

ไม่เพียงพฤติกรรมของสิงห์อมควันที่เปลี่ยนไป รายงานจาก Bloomberg ยังชี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอเมริกันเคยออกประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่าเตรียมออกมาตรการแบนบุหรี่เมนทอล ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 35% ของตลาดบุหรี่สหรัฐฯ ถือเป็นอีกสัญญาณที่สะท้อนว่าธุรกิจบุหรี่ดั้งเดิมกำลังถูกคุกคามขึ้นอีกขั้น

นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลอื่นยังออกมาแสดงจุดยืนเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ว่าทุกฝ่ายกำลังร่วมกันพิจารณากฎเกณฑ์ใหม่ ที่จะกำหนดให้บุหรี่มีระดับนิโคตินที่ไม่ทำให้ผู้สูบเสพติด

ผ่าทางตันเรื่องแบรนด์

การซื้อ Juul Labs ยังถูกมองว่าจะช่วยต่อชีวิตของ Altria ได้ เนื่องจาก Juul Labs เป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคกลุ่มอายุน้อย ขณะเดียวกัน Juul Labs ยังมีบทบาทในโซเชียลมีเดีย ทำให้สามารถเข้าถึงตลาดใหม่ได้ดีกว่าการใช้แบรนด์ยาสูบดั้งเดิม

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์มองว่าดีล Altria ซื้อหุ้น Juul Labs คือทางลัดที่จะทำให้ Altria สามารถรับรู้รายได้จากการลงทุนได้เร็ว แถมยังส่งข้อความถึงนักลงทุนเพื่อเรียกความมั่นใจให้บริษัทได้โดยเร็ว ทำให้ดีลนี้ถูกมองว่าจะแก้ปัญหาให้ Altria ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ข้อเสียเดียวของดีลนี้คือต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นมหาศาล ซึ่งซีอีโอ Altria อย่าง Howard Willard เคยยืนยันเมื่อเดือนพฤษภาคมว่ากำลังเร่งเปลี่ยนโฉมบริษัทให้กลายเป็นธุรกิจที่อยู่รอดในอนาคต โดยทื่ผ่านมา บริษัท Altria ประกาศว่าได้ตกลงจ่ายเงิน 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัท Cronos Group Inc. ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทแคนาดาที่กำลังมองหาโอกาสในธุรกิจจำหน่ายกัญชาอย่างถูกกฎหมาย.

ที่มา : https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2018-12-20/altria-s-juul-stake-is-the-least-it-could-do

]]>
1204605
หลุยส์ วิตตอง เทแสนล้านบาทซื้ออาณาจักรโรงแรมหรู Belmond https://positioningmag.com/1203122 Mon, 17 Dec 2018 01:29:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203122 LVMH หรือบริษัท Louis Vuitton Moet Hennessy ต้นสังกัดแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton และ Christian Dior ประกาศเทเงิน 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 105,046 ล้านบาท ซื้อหุ้นในบริษัท Belmond ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมที่ตั้งในสถานที่สำคัญของหลายเมืองทั่วโลก ถือเป็นการลงทุนเพื่อเสริมพอร์ตธุรกิจโรงแรมหรูที่ LVMH มีอยู่แล้ว ให้สามารถเติบโตงอกเงยขึ้นมาได้อีกอย่างก้าวกระโดด

มนต์ขลังของ Belmond คืออาณาจักรโรงแรมหรูที่มีชื่อเสียงมากในยุโรป ตัวอย่างเช่นโรงแรม Belmond Hotel Cipriani ซึ่งถือเป็น landmark สำคัญในเมืองเวนิส นอกจาก Cipriani บริษัทใหญ่อย่าง Belmond ยังเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นส่วนที่รับหน้าที่บริหารโรงแรมหรู, ร้านอาหาร และบริการเรือสำราญและรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวกว่า 46 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นทั่วโลก

สำหรับผู้ผลิตสินค้าหรูอย่าง LVMH นอกจากแบรนด์ Louis Vuitton หรือแบรนด์แฟชั่นความงาม Christian Dior ตัว LVMH ก็มีโรงแรมอยู่แล้วในมือเช่น Cheval Blanc ในสกีรีสอร์ตอันโด่งดัง Courchevel ซึ่งตั้งอยู่ที่เทือกเขาแอลป์ของฝรั่งเศส หรือ French Alps ยังมีเชนโรงแรม Bvgalri ที่ปักหลักในเมืองใหญ่ทั้งมิลาน ลอนดอน ดูไบ ปักกิ่ง บาหลี เซี่ยงไฮ้ และกำลังจะขยายไปปารีส มอสโก และโตเกียวในช่วงปี 2020-2022

เปิดตลาดการท่องเที่ยว high-end

ดีลกับ Belmond ถูกวิเคราะห์ว่าจะทำให้ LVMH สามารถเปิดตลาด high-end travel ที่เน้นการสร้างสุดยอดประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยว ตลาดดังกล่าวถือเป็น sector ที่เติบโตร้อนแรงมากอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Belmond Sanctuary Lodge

ภายใต้ดีล Belmond สิ่งที่ LVMH จะได้รับคืออสังหาริมทรัพย์ที่ Belmond สามารถสร้างความโดดเด่นในหลายแหล่งท่องเที่ยว เช่น Belmond Sanctuary Lodge โรงแรมแห่งเดียวที่ตั้งภายในป้อม Machu Picchu ทางภาคใต้ของเปรู หรือโรงแรม Hotel Splendido ใน Portofino ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งอิตาเลียนริเวียร่า รวมถึงโรงแรม Belmond Copacabana Palace ในเมืองรีโอเดอจาเนโร 

สิ่งที่น่าสนใจจากดีลนี้ คือการตอกย้ำว่า LVMH เป็นดาวเด่นรายล่าสุดที่พร้อมจะเขย่าตลาดการท่องเที่ยวและการบริการ high-end เนื่องจากก่อนหน้านี้ AccorHotels เชนโรงแรมใหญ่ก็ประกาศซื้อ FRHI ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของโรงแรมกลุ่ม luxury brand อย่าง Fairmont และ Raffles ถือเป็นความพยายามในการเสริมให้ AccorHotels มีโรงแรมชื่อหรูไว้ในมือมากขึ้นเพื่อโอกาสสร้างกำไรที่เหนือกว่า

เป็นไปตามกลยุทธ์ LVMH ระยะยาว

สำหรับกรณีของ Belmond และ LVMH นักลงทุนบางรายอาจสงสัยว่าการควบรวมกิจการนี้ดูเหมือนจะอยู่นอกจากกลุ่มธุรกิจหลักของ LVMH แต่นักวิเคราะห์ฟันธงว่าดีลนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในระยะยาวของ LVMH ที่มุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ที่หรูหราเต็มรูปแบบแก่ผู้บริโภค

เพราะเหตุนี้ LVMH จึงยอมเทเงินซื้อ Belmond ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาด โดย LVMH กล่าวว่าจะจ่ายเงินซื้อ Belmond ในราคา 25 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น Belmond ถือว่าเหนือกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของราคาปิดตลาดหุ้น Belmond เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

คาดว่าดีลนี้จะปิดได้ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า (2019) มูลค่าตลาดของ Belmond ขณะนี้อยู่ที่ 2,600 ล้านเหรียญ และเมื่อรวมหนี้สิน จึงถูกประเมินไว้ที่ 3,200 ล้านเหรียญ

สำหรับ Belmond ปัจจุบันบริษัทมีกำไร 140 ล้านเหรียญก่อนหักภาษีและค่าเสื่อมราคา รายได้รวมคือ 572 ล้านเหรียญในช่วงสิงหาคม 2017 ถึง กันยายน 2018 อย่างไรก็ตาม หุ้น LVMH ร่วงลง 1.6% อยู่ที่ 251.65 ยูโรเพราะตลาดหุ้นยุโรปอ่อนตัว โดยนักวิเคราะห์ส่งสัญญาณถึงนักลงทุนในด้านบวก เพราะ Belmond ทำเงินได้สูงหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้ Belmond ถูกมองว่าจะช่วยให้ LVMH สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างเป็นรูปธรรม.

ที่มา

]]>
1203122
ซื้อเลยดีกว่า! ลอรีอัลซื้อกิจการเครื่องสำอางเกาหลี “สไตล์นันดะ” ทางลัดขยายตลาดเมคอัพราคาระดับกลาง https://positioningmag.com/1169466 Thu, 10 May 2018 11:46:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169466 ลอรีอัลประกาศซื้อหุ้น 100% บริษัท นันดะ จำกัด (Nanda Co., Ltd.) บริษัทเครื่องสำอางและแฟชั่นเกาหลี ที่ก่อตั้งโดยคิม โซ ฮี ที่กรุงโซลในปี พ.. 2547 

สไตล์นันดะ (Stylenanda) เริ่มดำเนินกิจการด้วยธุรกิจแฟชั่น แต่มาเติบโตขึ้นด้วยแบรนด์เครื่องสำอาง 3CE ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนมากกว่า 70% ของธุรกิจ 

โดยมีมูลค่ายอดขายในปี พ.. 2560 ถึง 127 ล้านยูโร และมีพนักงานราว 400 คน โดยมีธุรกิจอยู่ในประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น และได้ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทย

สไตล์นันดะ เป็นแบรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างสูงในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียลในเกาหลีและจีน ผ่านช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น อีคอมเมิร์ซ ร้านค้าปลีก จุดขายในห้างสรรพสินค้า และร้านปลอดภาษี

ส่วนแฟลกชิพสโตร์จะอยู่ย่านใจกลางเมือง เช่น ฮงแด พิงค์ โฮเทลและพิงค์ พูล คาเฟ่ เมียงดง โรงหนัง 3CE กาโรซูกิล และสไตล์นันดะฮาราจุกุที่โตเกียว

คิม โซ ฮี ซีอีโอและผู้ก่อตั้งสไตล์นันดะ กล่าวว่า การขายกิจการครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของนันดะ ด้วยการสนับสนุนของลอรีอัล ซึ่งเป็นบริษัทความงามระดับโลก จะทำให้เส้นทางของสไตล์นันดะสู่ตลาดระดับสากล และผลักดันให้กลายเป็นแบรนด์ที่เป็นผู้นำในด้านความงามระดับโลกได้

อเล็กซี เพราคิสวา ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค ลอรีอัล กรุ๊ป กล่าวว่า สไตล์นันดะมีความสร้างสรรค์ ทันสมัย เต็มไปด้วยกลิ่นอายของกรุงโซล ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการสินค้าเมคอัพของกลุ่มผู้บริโภครุ่นมิลเลนเนียลในเกาหลี จีน และประเทศอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ 

ยาน เลอ บูดง ประธาน ลอรีอัล เกาหลี กล่าวว่า การซื้อกิจการครั้งนี้ จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ลอรีอัลเกาหลีในตลาดเมคอัพราคาระดับกลางที่ผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ เราภูมิใจที่ได้ต้อนรับแบรนด์ความงามของเกาหลี 

ด้วยการซื้อกิจการครั้งนี้ ลอรีอัลมีแผนจะขยายตลาดแบรนด์ 3CE ในระดับสากล คาดว่ากระบวนการซื้อกิจการจะแล้วเสร็จภายในสองเดือนหลังจากได้รับอนุมัติตามข้อกฎหมายเรียบร้อย

ตลาดเครื่องสำอางค์เกาหลี ขึ้นชื่อว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีแบรนด์ท้องถิ่นของประเทศที่มีบทบาทมาก การขยายตลาดของแบรนด์ชาติจึงไม่ใช่เรื่องง่าย การซื้อกิจการจึงเป็นอีกหนึ่งในทางลัดของการขยายธุรกิจ

สำหรับ ลอรีอัลอยู่ในธุรกิจความงามมานานกว่า 100 ปี โดยมีพอร์ตโฟลิโอสินค้า 34 แบรนด์ ในปี 2016 ลอรีอัลกรุ๊ป มียอดขายผลิตภัณฑ์ 26.26 พันล้านยูโร และมีพนักงานทั้งสิ้น 82,900 คนทั่วโลก.

]]>
1169466
“พีทีจีฯ” ลุยนอนออยล์ เดินหน้าปิดดีล ซื้อหุ้น 70% จิตรมาส จิ๊กซอว์ ปั้นครัวกลางป้อนธุรกิจอาหารในเครือ แตกแบรนด์ร้านอาหาร https://positioningmag.com/1164804 Wed, 04 Apr 2018 14:28:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164804 การทำธุรกิจน้ำมันยุคนี้ แม้จะมียอดขายหลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้านล้านบาท แต่ผู้ประกอบการไม่ได้เอ็นจอยกับ “กำไร” มากนัก

กำไรเฉลี่ยประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร และเมื่อไหร่ราคาน้ำมันโลกพุ่งจนกระทบราคาขายปลีกกระเทือนเงินในกระเป๋าผู้บริโภค รัฐจะยื่นมือมาดูแลกำไรให้อยู่ที่ระดับ 60-90 สตางค์ต่อลิตร ต่ำเตี้ยลงไปอีก

แถมการแข่งขันก็สูงมาก ตลาดเต็มไปด้วยผู้เล่นรายใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ ทำให้บรรดาสถานีน้ำมัน ต่างเบนเข็มไปรุกธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil) กันถ้วนหน้า

เช่นเดียวกับ “บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)” หรือ PTG เป็นอีกรายที่ขอเอาดีกับธุรกิจ “นอนออยล์” วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 นอนออยล์มีกำไรโตขึ้น 60% จากปีก่อนโต 10% และปีนี้ตั้งเป้าโต20%

ธุรกิจน้ำมัน ขาย 100 บาท กำไรแค่บาทเดียว ทุกปี เราอยากจะขยายในธุรกิจนอนออยล์ 2-3 ธุรกิจใหม่ เน้นธุรกิจอาหารและบริการกำไรเยอะกว่า ถึงแม้คู่แข่งจะเยอะ แต่ก็ไม่เจอยักษ์ใหญ่ พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี กล่าว

พิทักษ์ มองว่า “ธุรกิจอาหารและบริการ” (Food and Service) เป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญที่สามารถ “ซีนเนอร์ยี” ธุรกิจที่มีอยู่   โดยเฉพาะการเชื่อมโยงบัตรสมาชิกแมกซ์การ์ดที่มีกว่า 8 ล้านราย และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 18 ล้านรายในปี 2565

ยังต่อยอดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “แมกซ์มาร์ท” ร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ร้านกาแฟและเบเกอรี่ “คอฟฟี่ เวิลด์” ร้านอาหาร “ไทยเชฟเอ็กซ์เพรส” มีร้านรวมกันกว่า 320 สาขาด้วย เพราะนั่นหมายถึงการมีสินค้าเข้าไปจำหน่ายในร้านช่องทางต่างๆ มากขึ้น เพิ่มความหลากหลายให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มยิ่งขึ้น

เมื่อออกสตาร์ทหลังคู่แข่ง พีทีจี ใช้วิธีซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) เป็นกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจนอนออยล์

หลังจากซื้อ บริษัท GFA  ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน Coffee World, Cream & Fudge, New York 5th Av. Deli, Coffee World Restaurant และ Thai Chef Express โดยมีสาขารวมกันทั้งหมด 130 สาขาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ล่าสุด พีทีจี ได้ส่งกาแฟพันธุ์ไทย ในเครือ ใช้เงิน 44-45 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 70% ในกิจการธุรกิจอาหาร “บริษัท จิตรมาส แคเทอริ่ง จำกัด” ทำธุรกิจจัดเลี้ยง (catering) รองรับลูกค้าตั้งแต่ 5 คน ไปจนถึงรับงานใหญ่ 5,000 คน มีร้านอาหาร อาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน (ชิลล์ฟู้ด) อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน (โฟรเซ่นฟู้ด) รองรับกับการบริโภคเป็นจำนวนมาก

จิตรมาส

ด้วยสกลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม พีทีจี ตั้งใจจะให้ จิตรมาส เป็นครัวกลาง ผลิตอาหาร อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง เบเกอรี สนับสนุนธุรกิจอาหารในเครือของ PTG ที่มีสาขารวมกันกว่า 320 สาขา และแผนขยายครัวกลางไปสู่ครัวภูมิภาคในระยะเวลาประมาณ 3-4 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการขยายตัวในต่างจังหวัด ตามการขยายตัวของสถานีบริการ PTG ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าการลงทุนรวมจะอยู่ที่ 360 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า

ด้านจิตรมาส เมื่ออยู่ใต้เงาพีทีจี นอกจากได้เงินทุนมาช่วยขยายธุรกิจอาหาร และขยายช่องทางจำหน่ายได้กว้างขวางมากขึ้น เพราะพีทีจีฯ มีปั๊มน้ำมันกว่า 1,600 สาขาทั่วประเทศ และยังมีร้านอาหารในเครือกว่า 300 ร้าน ช่วยให้จิตรมาสยายธุรกิจได้เร็วขึ้น ทำทั้งเบื้องหลัง มาสู่การให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง

พีทีจีฯ วางแผนใช้เงิน 360-400 ล้านบาท ขยายธุรกิจอาหารในช่วง 5 ปี เปิดร้านอาหารไทยฟาสต์ฟู้ด “ครัวบ้านจิตร” ในปั๊มราว 8-10 สาขาในปีนี้ ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในสถานีได้มากขึ้น จากนั้นจะขายให้ได้ 30 สาขา ในปี 2562 และเปิดให้ครบ 120 ในปี 2565

นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิด ร้านอาหารสไตล์พรีเมี่ยมแคสชวล ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อร้าน คาดจะเปิด10 สาขาในปีนี้ และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 25 สาขา ภายใน 3-5 ปี 

60-80 ล้านบาท จากนั้นตั้งเป้ายอดขายโตเฉลี่ยประมาณ 50% ต่อปี ทำให้คาดว่าในปี 2565 บริษัทฯจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 900–1,000 ล้านบาท

“ตอนนี้เราไม่ต้องกังวลวางแผน Turnaround หรือฟื้นธุรกิจน้ำมันให้มีกำไร แต่ต้องโฟกัสการทำแผนขยายสาขาธุรกิจอาหารมากขึ้น ถ้าจิตนมาสได้ผลตอบรับดีเราจะใช้งบลงทุนบุกหนักขึ้น เพราะสิ่งที่เราวางไว้ ธุรกิจต้องเดินอยู่ได้โดยลำพัง พร้อมกับเข้าตลาดหุ้นได้ด้วย”

สำหรับธุรกิจอาหารในประเทศไทยมีมูลค่ามหาศาลกว่า 4 แสนล้านบาท และโตอิงจีดีพี 3-4% ต่อเนื่อง ตลาดยังมีหลายเซ็กเมนต์ให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าไปเจาะเพิ่มเติม

ผลการดำเนินงาน พีทีจีฯ ปี 2560 มีรายได้รวมกว่า 84,900 ล้านบาท มีกำไรสุทธิกว่า 913 ล้านบาท รายได้โตขึ้นจากปี 2559 อยู่ที่ 64,926 ล้านบาท แต่กำไรลดลงจาก 1,073 ล้านบาท

จากนี้ไป คงต้องติดตามว่าการขยายธุรกิจนอนออยล์จะ “ฟื้นกำไร” ของพีทีจีให้โตตามเป้าหรือไม่.

]]>
1164804