ตึกมหานคร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Sep 2021 12:53:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 3 สิ่งที่ “ธุรกิจโรงแรม” ต้องเปลี่ยนหลังโรคระบาด จากมุมมอง The Standard บูทิกโฮเทลหรู https://positioningmag.com/1351154 Thu, 09 Sep 2021 12:05:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351154 ธุรกิจโรงแรมไทยน่าจะเริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์บ้างแล้วจากการคลายล็อกดาวน์รอบล่าสุด มาฟังมุมมองจาก The Standard เชนโรงแรมฝั่งตะวันตกว่า ธุรกิจโรงแรมต้องปรับตัวอย่างไรหลังการท่องเที่ยวฟื้นตัว พร้อมอัปเดตแผนการบุกเปิดโรงแรมใหม่ 9 แห่งทั่วโลก โดย 2 แห่งแรกจะเปิดบริการในไทยที่ “หัวหิน” และ “ตึกมหานคร” กรุงเทพฯ

The Standard เป็นเชนโรงแรมบูทิกที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐฯ แห่งแรกตั้งอยู่ในฮอลลีวูด (เพิ่งปิดไปเมื่อต้นปีนี้) และกลายเป็นภาพลักษณ์ความชิค แฟชั่น อาร์ต และงานปาร์ตี้ของดาราคนดังของฮอลลีวูด DNA ของแบรนด์ถูกส่งต่อให้กับทุกๆ แห่งที่มีการเปิดทำเลใหม่ ปัจจุบันมี 6 แห่งในลอสแอนเจลิส ไมอามี่ นิวยอร์ก ลอนดอน และมัลดีฟส์

หลังจาก บมจ.แสนสิริ เข้าไปซื้อหุ้น 35% เมื่อปี 2560 โรงแรม The Standard กำลังจะมาเปิดตัวในไทยที่หัวหิน วันที่ 1 ธันวาคมนี้ และปี 2565 จะเปิดบนตึกมหานคร กรุงเทพฯ

The Standard, High Line นิวยอร์ก

มาฟังมุมมองจาก “อมาร์ ลัลวานี่” ซีอีโอ Standard International ถึงทิศทางของธุรกิจโรงแรมหลัง COVID-19 ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อสถานการณ์เริ่มฟื้น

 

กลุ่มนักธุรกิจเดินทาง ‘น้อยลง’

3 อย่างที่ลัลวานี่มองว่าจะเปลี่ยนไปและอาจจะเป็นการเปลี่ยนอย่างถาวรสำหรับ “ธุรกิจโรงแรม” จากประสบการณ์ฝั่งตะวันตกซึ่งโรงแรมกลับมาเปิดบริการได้เต็มที่แล้ว คือ

เรื่องแรก นักธุรกิจที่เดินทางระยะสั้นจะลดลง เพราะความเคยชินจากเทคโนโลยีประชุมออนไลน์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินทาง และบริษัทยังต้องรัดเข็มขัดทำให้จะตัดงบส่วนนี้ออก อย่างไรก็ตาม ทริปเดินทางธุรกิจที่เป็นงานใหญ่ เดินทางไกล อยู่หลายวัน จะยังคึกคักเหมือนเดิม

“อมาร์ ลัลวานี่” ซีอีโอ Standard International

“การได้เห็นหน้ากันจริงๆ จับมือทักทายกันย่อมดีกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าเจอกันแค่ระยะเวลาสั้นๆ ไปคืนเดียวกลับ ไม่มีอะไรอย่างอื่นให้ทำ การเปิด Zoom คุยกันจะสะดวกกว่า แต่ถ้าเป็นงานสัมมนายาวหลายวัน มีกิจกรรมมากกว่าแค่ไปประชุม งานแบบนี้จะยังต้องการที่พักอยู่” ลัลวานี่กล่าว

โดยเขายกตัวอย่างรายได้ของโรงแรมปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่มนักเดินทางธุรกิจเพียง 8% เทียบกับก่อนเกิดโรคระบาดจะมีสัดส่วน 25%

 

ดีไซน์โรงแรมต้อง ‘ยืดหยุ่น’

เรื่องที่สอง คือการออกแบบโรงแรมต้องยืดหยุ่นได้มากกว่าเดิม พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนฟังก์ชันตามสถานการณ์ เช่น เปลี่ยนไนต์คลับไปเป็นร้านอาหาร เผื่อในกรณีการระบาดกลับมา และมีฟังก์ชันที่จะได้รับผลกระทบ

เรื่องที่สาม ยังเกี่ยวพันกับงานดีไซน์ โรงแรมใหม่ๆ ของ The Standard จะมีพื้นที่กลางแจ้งหรือ open-air มากขึ้น เพราะคำนึงถึงเรื่องสุขอนามัย

ลัลวานี่ยังอัปเดตสถานการณ์ตลาดฝั่งตะวันตกด้วยว่า ในสหรัฐฯ เห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน โรงแรมของเครือในนิวยอร์กกลับมา ‘มีชีวิตชีวา’ แม้ยังต้องระวังตัว ส่วนที่ไมอามี่เรียกว่าเกือบจะกลับมาปกติเท่ากับก่อน COVID-19

 

อย่างไรก็ตาม โรงแรมที่ตั้งอยู่ในลอนดอนและมัลดีฟส์อาจจะยังฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่า เพราะปกติมีสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้บริการเป็นส่วนมาก เทียบกับในสหรัฐฯ ได้แรงหนุนจากกำลังซื้อของคนในประเทศเอง ทำให้ประเทศท่องเที่ยวต้องรอการเปิดพรมแดนเสรีจึงจะฟื้นตัวชัดเจน

 

เตรียมเปิดโรงแรม 9 แห่ง ปักหมุดในไทย 2 แห่ง

ด้านแผนขยายธุรกิจของ The Standard จะยังมีต่อเนื่อง โดยมีแผนเปิดตัวโรงแรม 9 แห่งจนถึงปี 2568 ได้แก่ หัวหิน, กรุงเทพฯ, อิบิซ่า, สิงคโปร์, เมลเบิร์น, ลิสบอน, บรัสเซลล์, ดับลิน และลาสเวกัส

เห็นได้ว่าจะมีโรงแรมที่เปิดตัวในไทยด้วย นั่นคือ The Standard, Huahin และ The Standard, Bangkok Mahanakhon ถือเป็นการบุกเอเชียครั้งแรกของแบรนด์

The Standard, Huahin

สำหรับ The Standard, Huahin โลเคชันอยู่ติดหาดหัวหินบริเวณซอยหัวหิน 65 ใกล้ๆ กับมาร์เก็ตวิลเลจ มีห้องพักและวิลล่าทั้งหมด 199 ห้อง คอนเซ็ปต์จะใช้โรงแรม The Standard, Miami เป็นแม่แบบ ให้ความรู้สึกเป็นบ้านพักตากอากาศชายทะเลที่ ‘ฮิพ’ แต่ไม่ ‘เยอะ’ เกินไป

แน่นอนว่าริมหาดต้องมีบาร์ติดหาดคือ Lido และ The Juice Café รวมถึงมีร้านอาหาร Praca เสิร์ฟอาหารไทยในบ้านสไตล์โคโลเนียล เปิดบริการวันที่ 1 ธันวาคมนี้

ส่วนอีกแห่งหนึ่งคือ The Standard, Bangkok Mahanakhon อยู่บนตึกมหานครที่เป็นไอคอนใหม่ของกรุงเทพฯ ทำเลใจกลางเมืองระหว่างสีลมกับสาทร ห้องพักจะมีทั้งหมด 155 ห้อง ใช้เครื่องนอนจาก Davines, เครื่องเสียง Bang & Olufsen และมีเครื่องชงกาแฟ Nespresso รองรับไลฟ์สไตล์

ลัลวานี่กล่าวว่า ต้องการจะให้ที่นี่เป็น ‘แฟล็กชิป’ ของเอเชีย ด้วยความที่กรุงเทพฯ คือเมืองที่ไม่เคยหลับใหล มีสีสันตลอดเวลา The Standard จึงต้องการเป็นฮับการพบปะของคน เห็นได้จากการออกแบบร้านอาหารที่เน้นการแฮงเอาต์กับเพื่อน

The Tea Room

ไม่ว่าจะเป็น The Parlor นัดจิบกาแฟเม้าท์ยามสายได้จนถึงจัดทอล์กโชว์ยามเย็น The Tea Room ตกแต่งโทนขาวดำดึงดูดคนรักการถ่ายภาพ The Standard Grill เน้นการเป็นสเต็กเฮาส์แห่งใหม่สไตล์อเมริกัน Mott 32 ร้านอาหารสไตล์จีนกวางตุ้งแบบโมเดิร์น รวมถึงจะเป็นผู้ออกแบบและบริการ “รูฟท็อปบาร์” บนชั้น 76 ของตึกมหานคร ชมวิวกรุงเทพฯ ยามเย็นจนถึงยามค่ำคืน เตรียมเปิดบริการปี 2565

ลัลวานี่กล่าวว่า คอนเซ็ปต์ของโรงแรม The Standard ทั่วโลกจะเน้นดึงดูดชุมชนในที่ที่โรงแรมตั้งอยู่ ทำให้รายได้ 50% จะมาจากกลุ่ม F&B และ 90% ของรายได้ F&B นี้คือคนในพื้นที่ที่เข้ามากินดื่มกัน น่าจับตามองว่าโรงแรมจะดึงดูดคนไทยและ expat อย่างไรในตลาดที่แข่งขันสูงมากของกรุงเทพฯ

]]>
1351154
เจ้าพ่อคิง เพาเวอร์ ชู “ตึกมหานคร” ศูนย์ไลฟ์สไตล์ระดับโลก https://positioningmag.com/1165625 Wed, 11 Apr 2018 05:32:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165625 กลุ่ม บริษัท คิง เพาเวอร์ วางเป้าหมายในอนาคต หลังประกาศ ทุ่ม 14,000 ล้านบาท ในการซื้อโครงการมหานครในส่วนของโรงแรม, จุดชมวิว Observation Deck และอาคารรีเทลมหานครคิวบ์ จากบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ต้องการต่อยอดธุรกิจ และพัฒนาให้เป็นโครงการไลฟ์สไตล์ที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพื่อเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยถึงการตัดสินใจเดินหน้าต่อยอดธุรกิจในครั้งนี้มาจาก

1. เนื่องจากทรัพย์สินต่างๆ ที่ซื้อมานั้นสอดคล้องกับธุรกิจที่กลุ่มคิง เพาเวอร์ได้ดําเนินการอยู่

2. ยังเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประเทศไทยมีศักยภาพ และมีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสองส่วนป็นปัจจัยสําคัญสนับสนุนให้กล้าตัดสินใจทุ่มงบประมาณ 14,000 ล้านบาท มั่นใจว่าจะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น

ทรัพย์สินที่ คิง เพาเวอร์ ได้เข้าถือครองทรัพย์สินในตึกมหานคร ประกอบไปด้วย โรงแรมแบงค็อก เอดิชั่น, จุดชมวิว Observation Deck หรือจุดชมทัศนียภาพ ชั้น 74-77, อาคารรีเทลมหานครคิวบ์, ที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมร้านค้าปลีกบริเวณพื้นที่รีเทล 4 ชั้น รวมถึง ดีน แอนด์ เดลูก้า สาขาแรกในไทย

พร้อมเปลี่ยนชื่อตึกมหานคร เป็นคิง เพาเวอร์ มหานคร

เป้าหมายสําคัญในการพัฒนาทรัพย์สินดังกล่าวในครั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเสริมสร้างศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น รวมถึงพร้อมที่จะรองรับการเติบโตของประชาคมอาเซียนในอนาคต

จุดแข็งของทรัพย์สินที่ได้มา ตึกมหานครเป็นหนึ่งในอาคารที่มีความสูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอสซึ่งมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาเป็นแลนด์มาร์กของกรุงเทพฯ และดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้เข้ามาใช้บริการ

จุดชมวิว Observation Deck ซึ่งเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดในประเทศไทยที่เห็นวิว 360 องศาทั้งวิวเมืองและโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา มีโรงแรมระดับ 5 ดาว และร้านอาหารที่มีชื่อเสียงจากทั้งในและนอกประเทศ พร้อมที่จะเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่สําคัญของกรุงเทพมหานครต่อไป

โดยที่ คิง เพาเวอร์ มีแผนจะขยายร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ในเมืองเพิ่มอีกแห่งในตึกมหานครด้วย

อัยยวัฒน์ บอก ด้วยการตัดสินใจครั้งนี้ เป็นการเดินหน้าเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ร่วมปักหมุดให้ประเทศไทยเป็นยุทธศาสตร์สําคัญทางเศรษฐกิจ การค้า และศูนย์รวมไลฟ์สไตล์ที่สําคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลกต่อไป.

]]>
1165625
ปิดดีลเพซ ขาย ตึก “มหานคร” ให้คิง เพาเวอร์ มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1165572 Wed, 11 Apr 2018 00:15:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165572 หลังจากตกเป็นกระแสข่าวถึงความพยายามในการแก้ปัญหาสภาพคล่อง หลังจากได้ทุ่มลงทุนในโปรเจกต์ระดับหรูหลายโครงการ ในที่สุด เพซ ดีเวลลอปเมนท์ ได้ตัดขายโครงการมหานคร มูลค่า 14,000 ล้านบาท ให้กับ “คิง เพาเวอร์” ประกอบไปด้วย ที่ดิน โรงแรม อาคาร จุดชมวิว และค้าปลีก

โดยที่เพซเหลือไว้เพียงร้านดีลแอนด์เดลลูก้า และอสังหา 4 โครงการในมือ

นับเป็นความพยายามของเพซ เจ้าของอสังหาริมทรัพย์สุดหรู อย่างโครงการมหานคร อาคารสูงที่สุดในประเทศไทย ที่ต้องประสบปัญหขาดสภาพคล่อง จนต้องหาหนทางขายทรัพย์สินในมือเพื่อมาใช้หนี้ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่

เปิดเส้นทางวิบาก เพซ ดีเวลลอปเมนท์

ปี 2547 เพซ วางจุดขายของการเป็นผู้ประกอบอสังหาฯ มุ่งเน้นโครงการขนาดใหญ่ ระดับลักชัวรีถึงซูเปอร์ลักชัวรี เริ่มพัฒนาโครงการแรกในปี 2547 คอนโดมิเนียม ไฟคัส เลน ภายใต้บริษัทชินคาร่า จำกัด

ปี 2552 เปลี่ยนชื่อเป็น เพซ ดีเวลลอปเมนท์ และเปิดขายโครงการ ศาลาแดง เรสซิเดนเซส คอนโดมิเนียมหรู มูลค่าโครงการ 2,500 ล้านบาท และเปิดสำนักงานขายโครงการมหานคร โครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการ 22,000 ล้านบาท

ประกอบไปด้วยห้องชุดสุดหรูเดอะ ริทซ์คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส, โรงแรม เดอะ บางกอก เอดิชั่น จุดชมวิวบนอาคารมหานคร (มหานคร อ็อบเซอร์เวชั่นเด็ค) รวมถึงศูนย์การค้า

ปี 2556 เปิดตัวโครงการมหาสมุทร วิลล่า ที่หัวหิน มูลค่าโครงการ 4,000 ล้านบาท วิลล่า ยังเป็นปีที่เพซได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 7 สิงหาคม 2556

ปี 2558 เปิดขายโครงการนิมิต หลังสวน คอนโดหรู 187 ยูนิต มูลค่าโครงการรวม 8,000 ล้านบาท และได้ซื้อธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม แบรนด์ดังดีลแอนด์เดลูก้าในราคา 140 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ยังได้เปิดขายโครงการ โครงการวินด์เซล นราธิวาส คอนโดหรู มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท

เจอปัญหาหมุนเงินไม่ทัน

แต่ละโครงการที่เพซพัฒนาล้วนเป็นโครงการขนาดใหญ่และเป็นโครงการระดับบนที่การขายไม่ได้เร็วนัก สวนทางกับเงินลงทุนที่ต้องใส่เข้าไปเพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จส่งมอบได้ และการที่เพซเข้าไปซื้อดีลแอนด์เดลูก้าซึ่งเป็นธุรกิจอาหาร แม้ว่าจะขายดีแต่ธุรกิจนี้จะต้องมีเงินสำรองสำหรับลงทุนซื้อของในทุกๆ วันจึงนำเงินออกมาใช้ได้น้อย

ในช่วงที่เพซต้องการเม็ดเงินที่ได้จากการโอนมาเพื่อชำระหนี้ งานก่อสร้างกลับล่าช้าไม่เป็นไปตามแผน ทำให้เพซเจอมรสุมหนี้ก้อนโต จนทำให้มีความพยายามขายทรัพย์สินที่มีอยู่ในมือ เพื่อนำเงินมาใช้ชำระหนี้ และประคองธุรกิจไม่ให้ซวนเซเพราะปัญหาขาดสภาพคล่อง

เจ้าหนี้รายใหญ่ของเพซ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการ 12,000 ล้านบาท และบริษัทยังได้ออกตั๋ว B/E หุ้นกู้รวมประมาณ 6,500 ล้านบาท ตามงบการเงินปี 2560 เพซมีทรัพย์สินรวม 32,422 ล้านบาท มีหนี้สิน 30,160 ล้านบาท 

จากหนี้สินที่สูงแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบมาโดยตลอด ทำให้เพซขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ขาดทุนสะสมเกือบ 3,000 ล้านบาท ด้วยฐานะการเงินดังกล่าวทำให้เป็นอุปสรรคในการขอก่อหนี้เพิ่มเติม และอาจจะกลายเป็นปัญหาขาดสภาพคล่องตามมา

หาผู้ร่วมทุนไม่สำเร็จ

ดังนั้นจึงทำให้เพซต้องเร่งแก้ไขปัญหาด้านสภาพคล่องให้เร็วที่สุด ซึ่งเมื่อปีช่วงต้นปี 2560 เพซได้ประกาศดึงกลุ่มผู้ร่วมทุนรายใหม่เข้ามา คือ อพอลโล เอเชีย สปรินท์ โฮลดิ้ง คอมปานี ลิมิเต็ด และโกลด์แมน แซคส์ อินเสน์เม้นท์ส โฮลดิ้งส์ (เอเชีย) ลิมิเต็ด มูลค่า 8,441 ล้านบาท แลกกับการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทย่อยคือบริษัท เพซ โปรเจ็ค วันจำกัด และบริษัท เพซ โปรเจ็คทรี จำกัด

แต่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) พบว่ามีข้อตกลงที่เพซทำไว้กับผู้ลงทุนรายใหม่ 2 กลุ่ม คือ การซื้อหุ้นบุริมสิทธิคืนในช่วงเดือน ส.. ปี 2561 มูลค่า 3,039 ล้านบาท จนเป็นที่มาของการสั่งให้ชี้แจง และทางเพซต้องยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวไปในที่สุด

แสนสิริยกเลิกดีลซื้อโครงการ

หลังจากนั้น เพซแก้ปัญหาด้วยการแบ่งขายสินทรัพย์ที่สร้างมาให้กับผู้ประกอบการที่พร้อมกว่าอย่างบริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย โครงการนิมิต หลังสวน ทั้ง 100% จำนวน 179 ยูนิต และที่พักอาศัยโครงการเดอะ ริทซ์คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก ในโครงการมหานคร ที่เหลือทั้งหมด 53 ห้องชุด จากทั้งหมด 209 ยูนิต เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ให้กับสถาบันการเงิน

แต่เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แสนสิริ ได้แจ้งยกเลิกเอ็มโอยูเสนอราคาซื้อสินทรัพย์ดังกล่าว โดยระบุว่า หลังจากขยายเวลาการตรวจสอบทรัพย์สินที่จะซื้อจะขาย ครั้งที่ 2 แต่การตรวจสอบทรัพย์สินของบริษัท ยังไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอต่อการพิจารณาราคาซื้อขายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง จึงแจ้งยกเลิกการเสนอราคาเพื่อซื้อทรัพย์สินดังกล่าว

ขายที่ดินในญี่ปุ่น

ในวันเดียวกัน เพซได้แจ้งถึงการอนุมัติขายที่ดินในตำบลนิเซโกะ จังหวัดฮอกไกโด ญี่ปุ่น เนื้อที่ 87 ไร่ 3 งาน 33.295 ตารางวา ในราคา 2,050 ล้านเยน หรือ 594.65 ล้านบาท ให้บริษัท Richforest International Investments หลังจากบริษัทเพซได้ซื้อที่ดินดังกล่าวเมื่อปี 2559 ในราคา 529 ล้านบาท เงินที่ได้ครั้งนี้จะนำไปชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นและระยะยาว

จากดีลตัดขายทรัพย์สินบางส่วนให้แก่บริษัทแสนสิริที่ล้มไป ก็มีกระแสข่าวการเจรจากับกลุ่มคิง เพาเวอร์ ในการขายโรงแรมเดอะบางกอก เอดิชั่น รวมถึง อ็อบเซอร์เวชั่น เด็ค จุดชมวิวบรดาดฟ้า เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพทางการเงิน และเป็นกลุ่มที่มีสายสัมพันธ์ที่ดีกับธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยประคับประคองไม่ให้เพซล้ม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อไทยพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม กระแสข่าวนี้ไม่ได้รับการยืนยัน เนื่องจากกลุ่มคิง เพาเวอร์ แม้จะมีเงินทุนมหาศาล แต่ก็ไม่ใช่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาให้มีกำไรจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้คิง เพาเวอร์ยังมีธุรกิจโรงแรมอยู่ในมือ อาจต้องการโรงแรม เดอะ บางกอก เอดิชั่น จำนวน 155 ยูนิตภายในโครงการมหานครมาบริหาร แต่เชื่อว่าเพซจะไม่ขายแค่โรงแรมเพียงอย่างเดียว จะต้องขายพ่วงทรัพย์สินอื่นๆ ด้วย

แต่แล้วราคาหุ้นของเพซในวันที่ 5 และ 9 เม.. ปรับตัวขึ้นอย่างผิดปกติ พบว่ามาจาก บริษัท คิง เพาเวอร์ ได้จัดตั้งบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อว่า บริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด เมื่อวันที่ 27 มี.. 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท และมีกรรมการบริษัท คือ นายอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา แต่ก็ยังไม่ได้รับการยืนยันจากเพซ

ในที่สุดข่าวลือก็เป็นจริง เมื่อเพซได้แจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 28 มี.2561 ได้อนุมัติให้บริษัท จำหน่ายทรัพย์สินมูลค่ารวมจำนวนไม่เกิน 14,000 ล้านบาท ให้แก่ บริษัท คิง เพาเวอร์ มหานคร จำกัด

ทรัพย์สินที่ขายประกอบไปด้วย 1.บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด (“PP1”) ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด (“PP3”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท

โดยทรัพย์สินที่ PP1 และ PP3 จะจำหน่าย ประกอบไปด้วยที่ดิน โรงแรม อาคารจุดชมวิว อาคารรีเทลคิวบ์ ประติมากรรม ภาพวาด ใบอนุญาตต่างๆ รวมถึงสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของ PP1 (โรงแรม) และ PP3 (อาคารจุดชมวิวและอาคารรีเทลคิวบ์) ในโครงการมหานคร คิดเป็นมูลค่ารวมไม่เกิน 12,617 ล้านบาท

2.จำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่าง PP1 บริษัท เพซ โปรเจ็ค ทู จำกัด (“PP2”) PP3 และ บริษัท เพซ เรียล เอสเตท จำกัด (PRE) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 183 ล้านบาท

จาการเข้าทำรายการครั้งนี้ เพซได้รับค่าตอบแทนสำหรับการจัดหา บริหารและดำเนินการให้เกิดรายการ เป็นมูลค่า 1,200 ล้านบาท

พร้อมกันนี้ยังได้อนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้นที่อพอลโล เอเชีย สปริ้นท์ คอมปานี ลิมิเต็ด (อพอลโล) และโกลด์แมน แซคส์ อินเวสเมนท์ส โฮลดิ้งส์ (เอเชีย) ลิมิเต็ด (โกลด์แมน) ถืออยู่ใน PP1 และ PP3 ร้อยละ 49 และร้อยละ 48.72 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทตามลำดับ รวมเป็นเงินจานวนไม่เกิน 320 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือไม่เกิน 10,000 ล้านบาท

นับเป็นการปิดดีล การแก้ปัญหาสภาพคล่องของเพซ ทำให้อาคารมหานคร รวมถึงโรงแรม จุดชมวิวต้องตกไปอยู่ในมือของคิง เพาเวอร์ บิ๊กธุรกิจที่คว้าโครงการมาอยู่ในมือได้สำเร็จ


อ่านข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1165572
เพซได้ อพอลโล ลงขัน 8.4 พันล้าน โครงการ “มหานคร” https://positioningmag.com/1113102 Tue, 10 Jan 2017 23:55:22 +0000 http://positioningmag.com/?p=1113102 หลังจากที่เป็นที่ฮือฮาอยู่พักใหญ่สำหรับตึกมหานครโครงการโดย บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ปัจจุบันได้ขึ้นแท่นเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยไปแล้ว โดยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาได้มีงานแสดงโชว์แสงสีเสียง เรียกว่าเป็นการแสดงที่จุดพลุทำให้ตึกมหานครเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก

ด้วยจุดเด่นหลายๆ อย่างของตึกมหานครที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่รวมทั้งที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์ และรีเทลเข้าด้วยกัน ทำให้ไปเตะตาอพอลโลเข้าอย่างจัง หรือบริษัท อพอลโล โกลบอล แมเนจเมนท์ สถาบันการลงทุนยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์

1_p

ดีลนี้ถือว่าเป็นดีลแรกของอพอลโลที่เลือกลงทุนในประเทศไทย และเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียที่เคยลงทุนมา ใช้เวลาในการพูดคุยทั้งหมด 7 เดือน เหตุผลที่ทางอพอลโลเลือกลงทุนในโครงการนี้เพราะมองเห็นโอกาสจากโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีทั้งที่อยู่อาศัยแบบขาย และมีส่วนของรีเทลให้เช่า และมีจุดชมวิวที่เป็นแลนด์มาร์กในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งเป็นการลงทุนแค่ในโครงการมหานครเพียงอย่างเดียว ยังไม่ร่วมโครงการอื่นของเพซ

3_p

การลงทุนครั้งนี้ประกอบด้วยสัดส่วนการลงทุนของอพอลโล 5.9 พันล้านบาท และโกลด์แมน แซ็คส์ (กลุ่มให้บริการทางด้านการเงินระดับโลก) 2.5 พันล้านบาท เรียกว่าอพอลโลจะเข้ามาเป็นเจ้าของร่วม ได้ร่วมลงทุนด้วยสัดส่วนการลงทุน 49% ใน 3 ส่วนหลักของโครงการมหานคร ได้แก่ โรงแรมบางกอก เอดิชั่น, มหานคร คิวบ์ ที่เป็นส่วนรีเทล รวมถึงจุดชมวิว ออบเซอร์เวชั่นเด็ค และรูฟท็อปบาร์

มูลค่าการลงทุน 8.4 พันล้านของดีลนี้ จะเข้ามาช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้กับเพซ ก็คือช่วยลดสัดส่วนหนี้สินของบริษัทที่มีอยู่ รวมทั้งยังได้เงินทุนในการต่อยอดการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ และขยายธุรกิจอาหารของแบรนด์ดีน แอนด์ เดลูก้าในประเทศไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

สรพจน์ เตชะไกรศรี
สรพจน์ เตชะไกรศรี

สรพจน์ เตชะไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าที่จริงแล้วได้มีการพูดคุยกับนักลงทุนหลายราย แต่ที่มาตกลงปลงใจกับอพอลโลนั้น ทางอพอลโลก็มองเห็นศักยภาพของโครงการมหานคร ทางเพซเองก็มองเห็นถึงแผนการขยายธุรกิจในอนาคต เป็นการลงทุนระยะยาว ทางอพอลโลเองก็มีสำนักงานที่นิวยอร์ก เพซมีแผนที่จะขยายสาขาของดีน แอนด์ เดลูก้าที่นิวยอร์กอยู่แล้วด้วย ในอนาคตจะมีการต่อยอดการลงทุนในส่วนนี้ต่อไป

เท่ากับว่านอกจากร่วมกันเป็นพาร์ตเนอร์กันในครั้งนี้ไม่ใช่แค่โครงการมหานครเพียงโครงการเดียว ในอนาคตยังต่อยอดในการลงทุนอื่นๆ ซึ่งมีทั้งโปรเจกต์ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ และแบรนด์ดีน แอนด์ เดลูก้าที่ทางเพซต้องการบุกตลาดหนักมากขึ้น เพราะต้องการเพิ่มรายได้จากธุรกิจอาหาร   

ปัจจุบันเพซมีโครงการที่พักอาศัยทั้งหมด 4 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ เดอะ ริทซ์คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก ในโครงการมหานคร, โครงการมหาสมุทรวิลล่า, โครงการนิมิต หลังสวน และโครงการใหม่บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ มีมูลค่าโครงการรวมทั้งหมด 30,000 ล้านบาท สามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2560

มีแผนการลงทุนโครงการที่พักอาศัยเฉลี่ยปีละ 1-2 โครงการ เป้นระดับไฮเอนด์ ใช้เงินลงทุนเฉลี่ยปีละ 10,000 ล้านบาท ส่วนดีน แอนด์ เดลูก้าปัจจุบันมี 12 สาขา ในปีนี้จะมีการลงทุนเพิ่มอีก 5-7 สาขา จากความร่วมมือของอพอลโลจะช่วยทำให้ขยายสาขาได้เร็วขึ้น

4_p

]]>
1113102
10 เรื่องน่ารู้ โครงการ “มหานคร” ตึก Super tall สูงที่สุดในประเทศไทย https://positioningmag.com/1100936 Mon, 29 Aug 2016 07:00:45 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100936 เมื่อเทรนด์เรื่องอสังหาริมทรัพย์ และความต้องการของผู้บริโภคในการอยู่อาศัยเปลี่ยนไป เกิดความต้องการในเรื่องความไฮเอนด์มากขึ้น ผู้พัฒนาโครงการต่างๆ ก็ต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อตลาด และต้องมีจุดเด่น จุดขายเพื่อสร้างความแตกต่าง

1_Open_10_supertall

จึงเป็นที่มาให้บมจ.เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่นอีกหนึ่งผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยได้มองเห็นโอกาสในการพัฒนาโครงการมหานครเมกะโปรเจกต์มูลค่า 2.2 หมื่นล้านบาท ที่ในตอนนี้ได้ขึ้นแท่นเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทยไปแล้ว ด้วยความสูง 314 เมตร มีทั้งหมด 77 ชั้น

2_Open_10_supertall

ทั้งนี้จุดเริ่มต้นมาจากวิสัยทัศน์ของสรพจน์ เตชะไกรศรีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือ ซีอีโอของเพซ ได้มองเห็นว่าประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องสถาปัตยกรรมของสนามบิน วิด หรือพิพิธภัณฑ์ แต่ยังไม่มีตึกที่เป็น Sky Tower ที่เป็นเอกลักษณ์ในประเทศเลย เลยมีแผนทำตึกที่ตั้งเป้าว่าจะต้องเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ และประเทศไทย แต่ด้วยพื้นที่ที่ได้มา 9 ไร่ ทำให้ดีไซน์ออกมาได้เป็นตึกแบบ Super tall จึงกลายว่าเป็นจุดขายที่สำคัญทำให้ขายโครงการได้ง่ายมากขึ้น

info_10_Super_tall_ 700new4

4_Open_10_supertall 5_Open_10_supertall 6_Open_10_supertall 7_Open_10_supertall

]]>
1100936