ตู้เย็น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 13 Jan 2023 09:10:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ซัมซุง’ ขอ 3 ปีขึ้นเบอร์ 1 เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่ม ชู ‘ดีไซน์-นวัตกรรม’ จับกลุ่มพรีเมียม https://positioningmag.com/1415452 Fri, 13 Jan 2023 07:44:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1415452 แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2022 ที่ผ่านมาจะมีวิกฤตหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะ เงินเฟ้อ แต่ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่า 5.3 หมื่นล้านบาทก็ยังเติบโตได้ 5-6% ซึ่งก็ได้กลุ่ม พรีเมียม เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด โดย ซัมซุง (Samsung) แบรนด์สัญชาติเกาหลีใต้ก็เห็นโอกาสในส่วนนี้ และขอสู้เพื่อขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในทุกกลุ่มสินค้าภายใน 3 ปี

ตลาดพรีเมียมโตสวนทางแมส

เจนนิเฟอร์ ซอง ประธานบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด เปิดเผยว่า ปี 2022 ที่ผ่านมาไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีทั้งปัจจัยเรื่องค่าเงิน และเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดและตัวซัมซุงเองยังคงเติบโตได้ 5-6% โดยมีสินค้าใน กลุ่มพรีเมียม เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด เนื่องจากช่องว่างระหว่างครัวเรือนที่มีรายได้สูงและครัวเรือนที่มีรายได้น้อยกว้างขึ้น

“สินค้ากลุ่มพรีเมียมของเราเติบโต 2 เท่าในทุกกลุ่มสินค้า เพราะตั้งแต่ COVID-19 ระบาด คนอยู่บ้านมากขึ้น เขามองว่าบ้านเป็นพื้นที่ส่วนตัวและเริ่มอยากตกแต่งบ้านใหม่ ๆ มากขึ้น แต่แน่นอนว่าไม่ใช่แค่ซัมซุงที่เห็นโอกาสนี้ ดังนั้น เชื่อว่าการแข่งขันในกลุ่มสินค้าพรีเมียมจากนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย”

อัดสินค้าใหม่กว่า 100 รุ่น ชูความ Personalize

เจนนิเฟอร์ กล่าวต่อว่า พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มพรีเมียมจะให้ความสำคัญกับความเป็นตัวตน ต้องการสินค้าที่ สะท้อนความเป็นตัวตน มากกว่าราคา นอกจากนี้ ต้องมีนวัตกรรมที่ทำให้เขาใช้ชีวิต ง่ายขึ้น ดังนั้น สินค้าของซัมซุงในกลุ่มพรีเมียมจะเน้น ดีไซน์สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ นวัตกรรมทันสมัย และ การเชื่อมต่ออัจฉริยะ นอกจากนี้ ต้องตอบโจทย์ ความยั่งยืน ด้วย

“ผู้บริโภค 70% มองว่า ถ้าสินค้าเข้าใจในตัวตนเขาจริง ๆ เขาก็จะเลือกอยู่กับแบรนด์นั้น ๆ โดยเฉพาะ Gen Z ที่ 55% ระบุว่า เขาจะซื้อของที่สะท้อนความเป็นตัวเอง นอกจากนี้ คนไทยถึง 72% มีความต้องการติดตั้งสมาร์ทโฮม”

ในปีนี้ ซัมซุงมีแผนจะเพิ่มโปรดักส์ใหม่กว่า 100 รุ่น โดยจะเน้นไปที่กลุ่มพรีเมียม และการทำตลาดช่วง Q1-Q3 จากนี้จะเน้นที่เรื่อง ไลฟ์สไตล์ โดยสินค้าในกลุ่ม Bespoke จะขยายไปกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นอกเหนือจาก ตู้เย็น  อาทิ ไมโครเวฟ, เครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น และเปลี่ยนการสื่อสารเป็น Bespoke Home เพื่อสื่อสารถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งบ้าน ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมา กลุ่มเครื่องซักผ้าและตู้เย็นเติบโต 5% กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก (เตาอบไมโครเวฟ เครื่องดูดฝุ่นและเครื่องฟอกอากาศ) เติบโต 10%

ในส่วนของ ทีวี จะเน้น Lifestyle TV และกลุ่ม QLED, OLED เพราะในปีที่ผ่านมาจะเห็นเทรนด์อย่างชัดเจนว่าทีวีขนาด 65 นิ้วขึ้นไป เติบโตขึ้นมากแบบเห็นได้ชัดถึง 1.5 เท่า ทีวีพรีเมียมยังคงเติบโตสูง อาทิ Neo QLED เติบโตขึ้นถึง 3 เท่า เฉพาะ Neo QLED 8K เติบโตถึง 4 เท่า

ด้าน เครื่องปรับอากาศ ที่ใช้เทคโนโลยี WindFree ซึ่งเป็นกลุ่มพรีเมียมเติบโตถึง 30% โดยปีนี้ซัมซุงเตรียมเปิดตัวไลน์อัพเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ในกลุ่ม WindFree คาดว่าจะคิดเป็น 90% ของไลน์สินค้า ครอบคลุมกลุ่มกลาง-บน พร้อมขยายระยะเวลารับประกันสูงสุดถึง 10 ปี

เดินหน้าลุยตลาด B2B

อีกตลาดที่จะช่วยให้ซัมซุงเติบโตก็คือ B2B ที่ปีนี้บริษัทจะเน้นมากขึ้น อาทิ โครงการบ้านและคอนโด โดยจะชูจุดเด่นเรื่อง โทเทิ่ลโซลูชั่น ที่สินค้าทั้งหมดของซัมซุงสามารถเชื่อมต่อกันได้ และสินค้าที่จะใช้เป็นตัวนำในการบุกก็คือ เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากในปีที่ผ่านมายอดขายเครื่องปรับอากาศในกลุ่ม B2B เติบโตถึง 40% ก่อนจะตามด้วยสินค้าอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี, ตู้เย็น, เครื่องซักผ้า

“เราเพิ่งเริ่มทำตลาด B2B แต่เรามองว่านี่คือ โอกาสสำคัญ เพราะจุดแข็งเราคือ ไลน์สินค้าที่ครบวงจร สามารถตอบสนองความต้องการได้ต่างจากคู่แข่ง โดยเฉพาะการตอบโจทย์เรื่องโทเทิ่ลโซลูชั่น”

ขึ้นเบอร์ 1 ทุกกลุ่มสินค้าใน 3 ปี

สำหรับเป้าหมายของซัมซุงในปี 2023 ต้องเติบโต 2 หลัก ขึ้นไป โดยมองว่าปีนี้มีปัจจัยบวกจากดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากภาค การท่องเที่ยว ทั้งจากตัวนักท่องเที่ยว เม็ดเงินที่เข้ามาช่วยให้ผู้บริโภคจับจ่ายได้ดีขึ้น รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้า คาเฟ่ และโรงแรมต่าง ๆ ลงทุนเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ ต้นทุนต่าง ๆ น่าจะลดลง สินค้าก็จะมีราคาดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับต้องสินค้าได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ ไม่ใช่สินค้าหลักที่ผู้บริโภคจะใช้เงิน เพราะเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคอยากใช้จ่ายไปกับการท่องเที่ยว ดังนั้น เชื่อว่ากว่าที่กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าจะกลับมาเป็นสินค้าหลักที่ผู้บริโภคเลือกใช้จ่ายคงต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี

“ตอนนี้คนไปเที่ยวกันเยอะเพราะเขาอั้นมานาน ดังนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าจากที่เคยเป็นอันดับ 1-2 สิ่งที่ผู้บริโภคเลือกใช้เงินก่อน แต่ตอนนี้มันไม่ใช่”

สำหรับเป้าหมายใน 3 ปีจากนี้ ซัมซุงต้องการขึ้นเป็นอันดับ 1 ในทุกกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า จากปัจจุบันสินค้ากลุ่มทีวี, ตู้เย็น เป็นอันดับ 1 ที่แข็งแรง และกลุ่มต่อไปที่ซัมซุงมองว่ามีโอกาสขึ้นเป็นอันดับ 1 คือ เครื่องซักผ้า ที่ปัจจุบันเป็น Top 2 ของตลาด ตามมาด้วย เครื่องปรับอากาศ ที่ปัจจุบันเป็น Top 5 ของตลาด

]]>
1415452
“ฮิตาชิ” หลังควบรวมกับ “อาร์เซลิก” บริษัทจากตุรกี อะไรจะเปลี่ยน และอะไรที่ไม่เปลี่ยน? https://positioningmag.com/1383353 Thu, 28 Apr 2022 11:41:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383353 ย้อนไปเมื่อปลายปี 2563 เกิดดีลสำคัญขึ้นเมื่อ หน่วยธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า “ฮิตาชิ” กลุ่มนอกประเทศญี่ปุ่น ควบรวมกิจการกับ “อาร์เซลิก” บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าจากตุรกี โดยฝั่งตุรกีถือหุ้น 60% และฮิตาชิถือ 40% กลายเป็นบริษัทใหม่ในชื่อ “อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์”

อาร์เซลิก นั้นเป็นบริษัทในเครือของ “คอช กรุ๊ป” ยักษ์ใหญ่ที่ทำธุรกิจหลากหลายในประเทศตุรกี ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าของอาร์เซลิกมีตลาดอยู่ใน 45 ประเทศทั่วโลก แบรนด์ในเครือนี้ที่คนไทยพอจะคุ้นเคยคือ “เบโค” (Beko) เพราะเข้าทำตลาดไทยมาตั้งแต่ปี 2557

อาร์เซลิกมีนโยบายที่จะบุกตลาดเอเชียแปซิฟิกมานาน ทำให้การตั้งจอยต์เวนเจอร์กับฮิตาชิถือว่าเข้าเป้า เพราะแบรนด์ฮิตาชินับว่าแข็งแกร่งมากในตลาดแถบนี้ และมีการส่งออกไป 65 ประเทศ

การควบรวมครั้งนี้ทำให้บริษัทจอยต์เวนเจอร์เป็นเจ้าของแหล่งผลิต และมีสิทธิบริหารการจัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ฮิตาชินอกประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด (ยกเว้นเครื่องปรับอากาศซึ่งไม่ได้อยู่ในดีลนี้ ต้องเจรจาเป็นรายประเทศ ทั้งนี้ ในไทยยังเป็นสิทธิจัดจำหน่ายของอาร์เซลิก ฮิตาชิ)

ปัจจุบันฮิตาชิมีแหล่งผลิต 2 แห่ง คือ ไทย และ จีน ซึ่งสินค้าเกินกว่า 50% ผลิตในไทยนี้เอง เป็นสินค้าประเภทเครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องดูดฝุ่น หม้อหุงข้าว ส่วนสำนักงานใหญ่มีทั้งหมด 8 ประเทศ แต่ตลาดใหญ่ที่สุดคือ ไทย และ จีน หากไม่นับประเทศญี่ปุ่น

ข้อมูลเดิม เมื่อปี 2561 ฮิตาชิเคยทำรายได้ในไทย 5,000 ล้านบาท และเป็นผู้นำอันดับ 1 ในกลุ่ม “ตู้เย็น” มีมาร์เก็ตแชร์ 20% ส่วนตลาด “เครื่องซักผ้า” อยู่ในอันดับ 3 ถือเป็นสองสินค้าชูโรงของแบรนด์ นอกจากนี้จะมี “หม้อหุงข้าว” ที่ขายดีในตลาด โดยตัวแบรนด์จัดอยู่ในกลุ่มแบรนด์พรีเมียม ราคาเป็นตลาดกลางถึงสูง

หลังกระบวนการควบรวมกิจการเสร็จเรียบร้อยช่วงกลางปี 2564 ทำให้ขณะนี้ อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ พร้อมจะเปิดแผนกลยุทธ์หลังการควบรวมว่าจะมีอะไรที่เปลี่ยนไป และอะไรที่คงเดิมบ้าง

 

ไม่เปลี่ยนแบรนด์ + “ตู้เย็น” ยังเป็นฮีโร่โปรดักส์

“ซาแฟร์ อัสทูเนอร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ จำกัด เปิดเผยถึงอนาคตของบริษัทนี้ว่า บริษัทจะยังใช้ไทยเป็นฐานผลิตเช่นเดิมเพราะมีฐานผลิตขนาดใหญ่ใน จ.ปราจีนบุรี แรงงานไทยมีคุณภาพ และตลาดประเทศไทยก็ยังเติบโตได้เมื่อมองในระยะยาว แม้ว่าระยะสั้นยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจก็ตาม

อาร์เซลิก ฮิตาชิ เครื่องใช้ไฟฟ้า
“ซาแฟร์ อัสทูเนอร์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เซลิก ฮิตาชิ โฮม แอพพลายแอนซ์ จำกัด

รวมถึงแบรนด์ “ฮิตาชิ” ก็จะยังใช้แบรนด์เดิมต่อไป ไม่ได้รวมชื่อแบรนด์อาร์เซลิกเข้าไปด้วย เพราะฮิตาชิเป็นชื่อที่คุ้นหูและแข็งแรงอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องทำให้แบรนด์กลับมา “มีพลัง” มีการตอกย้ำแบรนด์บ่อยครั้ง

ขณะที่สินค้าชูโรงก็จะยังคงเป็น “ตู้เย็น” เพราะสินค้านี้ได้รับความเชื่อถือสูงมากในตลาด และจะยังระดับแบรนด์เกาะกลุ่มตลาดพรีเมียมต่อเนื่อง เหล่านี้คือสิ่งที่จะไม่เปลี่ยนไปของฮิตาชิ

อาร์เซลิก ฮิตาชิ เครื่องใช้ไฟฟ้า
“ตู้เย็น” เป็นสินค้าเรือธง ขายดีในกลุ่มพรีเมียม ตู้เย็นขนาดใหญ่ ตู้เย็น 3-4 ประตู

 

สินค้าต้องเยอะ

ในทางกลับกัน ซาแฟร์กล่าวว่า สิ่งที่เมื่อควบรวมแล้วจะทำให้พัฒนามากขึ้นคือ “การเพิ่มจำนวนสินค้า” และ “พัฒนานวัตกรรม-ดีไซน์” ให้ดีกว่าเดิม

หลังจากนี้จะได้เห็นฮิตาชิออกสินค้ารุ่นใหม่ถี่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อช่วงชิงตลาด ยกตัวอย่างปีนี้เพิ่งออก “เครื่องดูดฝุ่นไร้สาย” น้ำหนักเบาเพียง 1.5 กิโลกรัม มีไฟส่องฝุ่น นอนราบได้ 180 องศา กระบอกเก็บฝุ่นที่เปิดทิ้งฝุ่นได้แบบไม่ต้องใช้มือสัมผัส เรียกว่าออกมาชนกับ ‘Dyson’ ในราคาที่ถูกกว่า เพราะขายในราคา 9,990 บาท

อาร์เซลิก ฮิตาชิ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องดูดฝุ่นไร้สายตัวใหม่ล่าสุดของฮิตาชิ น้ำหนักเบาเพียง 1.5 กิโลกรัม

ในไลน์อัปสินค้าที่จัดแสดง ยังจะมี “เครื่องล้างจาน” และ “เครื่องซักผ้า-เครื่องอบผ้าแบบฝาหน้า” ที่เตรียมออกจำหน่ายเร็วๆ นี้ และซาแฟร์ยังแย้มว่าฮิตาชิจะมีสินค้าหลายประเภทกว่าเดิมนับตั้งแต่ปี 2566 เพราะสมัยนี้พฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย เป็นโอกาสของแบรนด์

สินค้าที่จะออกมามากขึ้น แน่นอนว่ามาจากการรวมทีมทั้งฝั่งญี่ปุ่นและตุรกี ซึ่งทำให้เทคโนโลยีและงานดีไซน์มีหลากหลายให้หยิบใช้กว่าเดิม จึงออกโปรดักส์ใหม่ได้เร็วกว่า

อาร์เซลิก ฮิตาชิ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เครื่องล้างจาน กำลังจะออกสู่ตลาดเร็วๆ นี้

 

นวัตกรรม-ดีไซน์ต้องทันสมัย

อีกส่วนที่อาร์เซลิก ฮิตาชิจะเน้นมากขึ้นคือ “นวัตกรรม” และหลายนวัตกรรมจะชูโรงเรื่องรักษาสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่มีในผลิตภัณฑ์แล้วและที่กำลังทดลอง เช่น

  • Autodosing นวัตกรรมในเครื่องซักผ้า ช่วยปริมาณน้ำยาซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่มให้เหมาะสม (ปกติคนมักจะใช้มากเกินไป) ลดความสิ้นเปลือง ใช้น้ำน้อยลง ดีกับผิวผู้สวมใส่ และดีต่อสิ่งแวดล้อม
  • PET Tub การดักเอาเส้นใยที่หลุดออกจากเสื้อผ้าในเครื่องซักผ้ากลับมาใช้ใหม่ ส่งเสริมการรีไซเคิลเสื้อผ้า
  • ไส้กรองดักจับไมโครพลาสติกในเครื่องซักผ้า ไม่ให้หลุดปล่อยลงแหล่งน้ำ ทำลายสิ่งแวดล้อม
  • ตู้เย็นที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์จ่ายพลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดค่าใช้จ่าย

ซาแฟร์ยังกล่าวถึง “ดีไซน์” ที่มองว่าควรจะเพิ่มความทันสมัยมากขึ้น เพราะอย่างไรงานดีไซน์สวยงามก็เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ลูกค้าสนใจ ลองหยิบจับ เปิดดูแล้วรู้สึกสะดวกในการใช้งาน ก่อนที่จะเข้าถึงเรื่องเทคนิคของเครื่องใช้ไฟฟ้า

บริษัทยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลเชิงตัวเลข แต่ความเปลี่ยนแปลงจากการควบรวมทำให้เห็นว่าบริษัทจะ ‘รุกหนัก’ แน่นอน!

]]>
1383353
‘ซัมซุง’ ส่ง ‘BESPOKE’ ตู้เย็นดีไซน์ได้เองมัดใจ ‘มิลเลนเนียล’ https://positioningmag.com/1326506 Sun, 04 Apr 2021 03:55:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326506 ในปีที่ผ่านมา การระบาดของ COVID-19 ทำให้คนทั่วโลกต้องใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น จนเป็นเหตุให้เฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งบ้านเติบโตขึ้นอย่างมาก แต่ไม่ใช่แค่นั้นเพราะยังรวมถึง ‘เครื่องใช้ไฟฟ้า’ อีกด้วย ซึ่งในช่วงขาขึ้นแบบนี้ ‘ซัมซุง’ เองก็เดินกลยุทธ์ใหม่ในฝั่งของ ‘ตู้เย็น’ ที่ไม่ได้เน้นนำเสนอเรื่องของฟังก์ชันแต่เน้นที่ ‘ดีไซน์’ เพื่อกระตุ้นยอดขายด้วยการทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้ากลายเป็น ‘ของตกแต่งบ้าน’

COVID-19 ดันเครื่องใช้ไฟฟ้าโต

นับตั้งแต่ล็อกดาวน์ช่วง 10 สัปดาห์ทำให้หน้าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องปิดตัวลง แต่หลังจากคลายล็อกดาวน์ ผู้บริโภคกลับมาจับจ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ามาขึ้น โดยในส่วนของยอดขายตู้เย็นช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมสามารถเติบโตได้ถึง 30% โดยรวมทั้งปีตลาดตู้เย็นปิดที่ 16,340 ล้านบาทเติบโต 12% จากปกติเติบโต 5-8% ต่อปีเท่านั้น ขณะที่ ‘ซัมซุง’ สามารถเติบโตได้ถึง 18% ส่งผลให้ขึ้นเป็นผู้นำตลาดด้วยมาร์เก็ตแชร์ประมาณ 20%

อย่างไรก็ตาม ในปี 2021 ซัมซุงคาดว่าตลาดตู้เย็นจะเติบโตประมาณ 7% แต่บริษัทตั้งเป้าที่จะเติบโตให้ได้ 28% โดยปีนี้มีซับแบรนด์ใหม่อย่าง ‘BESPOKE’ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในตลาดเกาหลี ซึ่งผู้บริหารมั่นใจว่า BESPOKE จะเป็น ‘ตัวเปลี่ยนเกม’ ของตู้เย็นซัมซุงในปีนี้

“เรายังคาดว่าปีนี้ตลาดเติบโตต่อเนื่อง แต่ยังมีตัวแปรสำคัญอย่างการท่องเที่ยว เพราะปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวยังไม่ 100% คนจึงนำเงินมาจับจ่ายกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและของตกแต่งบ้าน ดังนั้น อาจต้องประเมินอีกที” เจนนิเฟอร์ ซอง ประธานธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

ส่ง ‘BESPOKE’ ซับแบรนด์จับมิลเลนเนียล

ที่ผ่านมา ซัมซุงได้เริ่มนำร่องกลยุทธ์การใช้ ‘ดีไซน์’ ในการทำตลาดเพื่อเน้นไปที่ ‘ไลฟ์สไตล์’ ของคนโดยเริ่มจาก  ‘ทีวี The Wall’ สำหรับตลาดตู้เย็นซัมซุงมีซับแบรนด์ ‘BESPOKE’ ตู้เย็นที่มีจุดเด่นที่ผู้บริโภคสามารถ ‘คัสตอมไมซ์’ ได้เอง ทั้งวัสดุ สี และจำนวนโมดูล โดยในประเทศเกาหลี BESPOKE สามารถทำยอดขายได้ถึง 2 ใน 3 ของยอดรวม ซึ่งไทยถือเป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ซัมซุงนำเข้ามาทำตลาด คาดว่าจะทำรายได้ 10% ของกลุ่มตู้เย็น

ซัมซุงจะใช้ BESPOKE เพื่อจับกลุ่ม ‘มินเลนเนียล’ (อายุ 25-40 ปี) ซึ่งมีคาแร็กเตอร์ที่ชัดเจน และใช้อารมณ์ตัดสินใจมากกว่าดูฟังก์ชัน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มมินเลนเนียลมีสัดส่วนราว 29% ของประชากรไทยและคิดเป็น 27% ของประชากรที่มีรายได้ในไทย ถือเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีกำลังซื้อ และในอีก 5 ปีข้างหน้าคนกลุ่มนี้ก็มีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างลอยัลตี้

“ในปีที่ผ่านมาราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดตลาด แต่ก็ยังเติบโต เราจึงจะเน้นที่กลุ่มพรีเมียม เพราะผลกระทบน้อย BESPOKE จะเป็นเกมเชนเจอร์ของเรา เนื่องจากมีดีไซน์และสีสันตรงกับไลฟ์สไตล์มากขึ้น เพื่อสะท้อนตัวตนของลูกค้าแต่ละคน สามารถอยู่ในทุกพื้นที่ไม่จำเป็นต้องอยู่แค่ในครัว” กฤษฎา วัฒนารักษ์สกุล ผู้อำนวยการ ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กล่าว

ไม่ได้มีแค่ตู้เย็น

สำหรับ BESPOKE ไม่มีแค่ตู้เย็น แต่มีเครื่องฟอกอากาศ เตาไมโครเวฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ โดยยังคงจุดเด่นด้านดีไซน์ สีสันฟังชันหลากหลาย รวมถึงสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ เพื่อตอบโจทย์ของเหล่ามิลเลนเนียล ซึ่งในไทยเองก็มีแผนจะนำสินค้าอื่น ๆ เข้ามาขายด้วยเช่นกัน โดยหวังจะสร้างเป็นอีโคซิสเต็มส์แบรนด์ซัมซุง

“เรามั่นใจว่าลูกค้าซัมซุงมีสินค้าของซัมซุงในบ้านเกินกว่า 1 ชิ้น เพราะเขาต้องการความสะดวก เรามีอีโคซิสเต็มส์ที่ครบที่สุด ทั้งมือถือ ทีวี ตู้เย็น ตอนนี้ลูกค้าเริ่มซื้อแบรนด์เพราะมันเชื่อมกันได้หมด จากเดิมที่ซื้อแบรนด์ไหนก็ได้”

สำหรับ BESPOKE ราคาเริ่มต้นที่ 36,970 บาท มี 5 รูปแบบสีให้เลือก ได้แก่ Glam Pink, Glam Navy, Glam White, Satin Gray, และ Satin White โดยสามารถเลือกทิศทางการเปิดประตู และสามารถนำตู้เย็นมาต่อกันเพื่อทำเป็นตู้เย็นแบบ 2, 3 และ 4 ประตูได้

]]>
1326506
เจาะกลยุทธ์ ‘ไฮเออร์’ ผู้เขย่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยแคมเปญ ‘แอร์เติมเงิน’ กับเป้าหมายขึ้นเบอร์ 1 ใน 3 ปี https://positioningmag.com/1289165 Thu, 23 Jul 2020 11:02:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289165 ครึ่งปีแรกก็สามารถเติบโตถึง 31% เรียกได้ว่าสวนกระแสวิกฤติ Covid-19 ดังนั้น ‘ไฮเออร์’ (Haier) จึงมั่นใจในแผนดำเนินงานในครึ่งปีแรก โดยพร้อมจะสานต่อแผนในครึ่งปีหลังทันที โดยเฉพาะโครงการ “เย็นดีแค่ 4 บาท” ที่ให้ทุกคนสามารถติดแอร์ที่บ้านได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายที่ 4 บาท/ต่อชั่วโมง เมื่อใช้ครบ 5,200 ชั่วโมง ภายในระยะเวลาสัญญา 3 ปี รับเครื่องปรับอากาศฟรี ที่ถือเป็นแคมเปญที่ประสบความสำเร็จและเรียกเสียงฮือฮาในตลาดอย่างมาก

มั่นใจรายได้ทะลุ 6,000 ล้านบาท โต 38%

ภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 6.9 หมื่นล้านบาท ติดลบประมาณ 5-10% ถือว่าไม่ได้โดนกระทบจาก Covid-19 มากเท่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและภาคบริการ ขณะที่ปัจจุบันไฮเออร์มีส่วนแบ่งตลาด 12% ครองเบอร์ 3 และในช่วงครึ่งปีแรกไฮเออร์สามารถเติบโตถึง 31% ทำรายได้ 3,500 ล้านบาท และคาดว่าครึ่งปีหลังจะเติบโตไม่น้อยกว่า 34% เป็น 2,630 ล้านบาท ดังนั้นจึงมั่นใจว่ารายได้ทั้งปีจะทะลุ 6,212 ล้านบาท เติบโตรวม 38% ตามที่ตั้งเป้าไว้

โดยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ตลาดแอร์มีมูลค่า 27,000 ล้าบาท เติบโต 6% โดยไฮเออร์เติบโต 23% มีสัดส่วน 12% เป็นเบอร์ 3, ตลาดตู้เย็นมี 13,000 ล้านบาท ติดลบ 3% แต่ไฮเออร์เติบโต 50% มีสัดส่วน 9.5% เป็นเบอร์ 6, ตลาดเครื่องซักผ้า 13,000 ล้านบาท ติดลบ 4% ไฮเออร์เติบโต 75% มีสัดส่วน 10% ขึ้นเป็นเบอร์ 3 และ ตลาดตู้แช่ 4,700 ล้านบาท โต 3% ไฮเออร์โต 43% มีสัดส่วน 12%

“ปัจจัยที่ทำให้เราเติบโตได้ในครึ่งปีแรกมองว่ามาจากเรามีการเตรียมตัวก่อนเกิด Covid-19 ในแง่ผลิตภัณฑ์ มีการวางแผนซับพลายสินค้าไม่ให้ขาด เพราะเรามองว่าเป็นโอกาส ขณะที่แบรนด์อื่นเบรกจะซับพลายสินค้า” จาง เจิ้งฮุ้ย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

จาง เจิ้งฮุ้ย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไฮเออร์ อีเลคทริคอล แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

สานต่อแผนเดิม พร้อมดันตลาดกลาง-บน

เนื่องจากแผนงานช่วงต้นปีสำเร็จตามเป้า ดังนั้นมองว่าสามารถนำมาปรับต่อได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยจะเริ่มจากการสานต่อโครงการ “เย็นดีแค่ 4 บาท” โดยที่ผ่านมามีผู้ที่สนใจเกือบ 1 หมื่นคน และในเดือนกรกฎาคมคาดว่าจะติดตั้ง 1,000 เครื่อง และในปีหน้าจะขยายไปที่ BTU อื่น ๆ รวมถึงโปรดักส์อื่น ๆ รวมถึงผลักดันตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยในช่วง Covid-19 ที่ผ่านมาเติบโตจากปกติเกือบ 400% ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 12% ของยอดขายทั้งหมด

ในปีนี้ ไฮเออร์ได้วางงบการตลาดไว้ 170 ล้านบาท อีกทั้งจะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่ โดยจะเน้นที่สินค้ากลุ่ม IoT เพราะหลายแบรนด์พูดถึง แต่ยังไม่มีผู้เล่นรายไหนทำตลาดจริงจัง และจากนี้จะเน้นสินค้ากลุ่มกลาง-บน โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนจากกลุ่มนี้ที่ 30% เป็น 50% และจะเพิ่มทีมเซลล์จาก 100 คนเป็น 120 คน ส่วนตัวแทนจำหน่ายจาก 700 รายเป็น 850 ราย

“เราต้องการขายสินค้าที่มีแวร์ลู่มากขึ้น เพราะความต้องการของผู้บริโภคไม่ได้เติบโตตาม แต่เขาพร้อมจะจ่าย หากสินค้ามีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการ ส่งผลให้ตลาดพรีเมียมเติบโตประมาณ 15% ดังนั้น แผนครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังคงไม่ต่างมาก ไม่ว่าจะรุกอีคอมเมิร์ซ พยายามโปรโมทสินค้ากลุ่ม IoT โดยพยายามทำให้ตัวแทนจำหน่ายและผู้บริโภคทำความเข้าใจในสินค้ามากขึ้น มีการวางดิสเพลย์สินค้าเหล่านี้มากขึ้น” 

ตั้งเป้า 3 ปี ขึ้นเบอร์ 1 ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้า

ไฮเออร์วางเป้าหมายระยะยาวในไทยภายใน 3 ปี จากนี้จะต้องขึ้นเป็นผู้นำตลาดรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยให้ได้ด้วยยอดขายรวมกว่า 10,000 ล้านบาท โดยอีกจุดแข็งที่ทำให้เชื่อมั่นว่าจะสร้างการเติบโตได้คือ การมีโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นส่วน R&D ที่ทำให้บริษัทเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคไทย โดยปัจจุบัน โรงงานดังกล่าวได้ซับพอร์ตทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ดังนั้น บริษัทจะสามารถนำสินค้าอื่น ๆ มาเสริมทัพได้ในอนาคต

]]>
1289165
ซัมซุงเผยโฉมเครื่องใช้ไฟฟ้ายุค IoT ใน ‘ซัมซุง ฟอรัม 2018’ https://positioningmag.com/1156289 Fri, 09 Feb 2018 05:48:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156289 ซัมซุง ตอกย้ำวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ของในการส่งมอบประสบการณ์ IoT (อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง) จากบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งตู้เย็น เครื่องซักผ้า และเครื่องดูดฝุ่น ภายในงานซัมซุง ฟอรัม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ประจำปี พ.ศ. 2561 (Samsung Forum 2018)

โดยซัมซุงได้เน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์ ในการเชื่อมต่อประสบการณ์ของผู้บริโภคเข้ากับดีไวซ์ต่างๆ ของซัมซุง พร้อมการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อีกหลายรุ่น ทั้งตู้เย็นแฟมิลี่ ฮับ (Family Hub) เจนเนอเรชั่นใหม่, เครื่องซักผ้าเทคโนโลยี QuickDrive รวมถึงเครื่องดูดฝุ่นแบบไร้สาย POWERstick PRO ไปจนถึงซาวด์บาร์ (Soundbar) ที่ให้เสียงรอบทิศทาง

นายซังชุล ลี (สตีฟ) ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย กล่าวว่า ซัมซุงเชื่อมั่นว่าการใช้งาน IoT ควรจะเป็นเรื่องง่ายแค่เหมือนการเปิดสวิตช์ โดยซัมซุงจะเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม และส่งมอบโซลูชันที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ใช้ชีวิตได้ง่ายและมีคุณภาพที่ดีกว่าเดิม

***พัฒนาแอป SmartThings ควบคุม IoT ผ่านทีวี

เพื่อยกระดับประสบการณ์การรับชมทีวีของผู้บริโภค ซัมซุงได้แนะนำแอปสมาร์ทธิงส์ (SmartThings App) สำหรับสมาร์ททีวี รุ่นปี 2018 ที่จะเปลี่ยนทีวีให้กลายเป็นศูนย์กลางหรือแดชบอร์ด (Dashboard) สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ภายใต้อุปกรณ์ IoT ของซัมซุง ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมดีไวซ์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ ผ่านจอโทรทัศน์

นอกจากนี้ ซัมซุงยังเปิดตัวไลฟ์สไตล์ซาวด์บาร์แขวนผนังระดับพรีเมียม “NW700 Sound+” เป็นการต่อยอดความสำเร็จจากรุ่น “MS650 Sound+” ด้วยฟีเจอร์เพิ่มคุณภาพเสียง และดีไซน์ที่เพรียวบาง และโฉบเฉี่ยว เหมาะสำหรับการแขวนติดผนังคู่กับโทรทัศน์ที่มีขนาดบางเป็นพิเศษจากซัมซุง

ในขณะที่ซาวด์บาร์รุ่น “N650” มาพร้อมเทคโนโลยี “Samsung Acoustic Beam” เอกสิทธิ์เฉพาะของซัมซุงที่มอบเสียงรอบทิศทางแบบพาโนราม่า เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์และเพลิดเพลินไปกับการเล่นเกม

***เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ฉลาดขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็นแฟมิลี่ ฮับ (Family Hub) เจนเนอเรชันใหม่ ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่นจากงานคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ โชว์ ปีนี้ (2018 CES Best of Innovation Award) ที่นำเสนอฟีเจอร์ อย่างการซิงค์ข้อมูลการจัดเก็บอาหารเข้ากับการจัดเตรียมมื้ออาหาร

อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางความบันเทิงประจำบ้านที่มีประสิทธิภาพ ตู้เย็นในกลุ่มแฟมิลี่ ฮับ ยังมีความอัจฉริยะมากขึ้นและตอบสนองการใช้งานได้ดีกว่าเดิม ด้วยระบบสั่งงานด้วยเสียงผ่าน Bixby ซึ่งควบคุมดีไวซ์ต่างๆ ผ่านสมาร์ทธิงส์

พร้อมกับเปิดตัว QuickDrive เทคโนโลยีเครื่องซักผ้าที่มุ่งปฏิวัติด้วยการช่วยลดระยะเวลาการซักผ้าปริมาณมากของผู้บริโภคลงได้ถึงครึ่งหนึ่ง โดยนอกจากเทคโนโลยี QuickDrive เครื่องซักผ้า WW7800M ยังรองรับเทคโนโลยี IoT และระบบผู้ช่วยการซักผ้าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) Q-rator ที่ช่วยบริหารจัดการการซักผ้าให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น

สุดท้าย เครื่องดูดฝุ่นแบบไร้สายรุ่นใหม่ POWERstick PRO ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงด้วยพลังดูดระดับที่สูงที่สุดในตลาด มาพร้อมการออกแบบที่ทันสมัย เหมาะสมต่อการใช้งานเพื่อความสะดวกสบายสูงสุดของผู้ใช้งาน.

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000013363

]]>
1156289
ตู้เย็นพันธุ์ใหม่ เอ่ยเรียกก็มา https://positioningmag.com/1140504 Wed, 20 Sep 2017 13:55:41 +0000 http://positioningmag.com/?p=1140504 อีกความเคลื่อนไหวที่บอกใบ้ว่าห้องครัวในอนาคตจะทำงานอย่างไร เพราะแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าแดนปลาดิบ “พานาโซนิค” (Panasonic) เปิดตัวแนวคิดตู้เย็นพันธุ์ใหม่ที่เคลื่อนที่ได้ด้วยคำสั่งเสียง ทำให้ผู้ใช้สามารถเอ่ยปาก “ตู้เย็น มานี่” เพื่อเรียกให้ตู้เย็นจิ๋วเดินทางมาเสิร์ฟเครื่องดื่มได้แสนสบาย คาดคอนเซ็ปต์นี้จะถูกนำมาใช้จริงในไม่กี่ปีข้างหน้า

แม้จะมองเหมือนตู้เย็นจิ๋วที่ติดบนหุ่นยนต์ทำความสะอาด แต่จุดเด่นของคอนเซ็ปต์ตู้เย็นใหม่พานาโซนิคคือการตอบรับคำสั่งเสียง นอกจากนี้ยังมีการฝังเซ็นเซอร์ LIDAR ซึ่งทำให้ตู้เย็นสามารถตรวจจับพื้นที่บ้านเพื่อนำทางตัวเองโดยไม่ชนหรือทำให้เกิดความเสียหาย

แนวคิดของคอนเซ็ปต์นี้ พานาโซนิคตั้งใจพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ฟังเสียงสั่งการของมนุษย์ เช่นคำสั่งว่า “Fridge, come here” เพื่อบอกให้ตู้เย็นเลื่อนตัวมาทางนี้ โดยตู้เย็นจะเคลื่อนตัวจากจุดจัดเก็บที่ผนังครัว แล้วเดินทางมาจุดที่ผู้ใช้ยืนอยู่ได้โดยไม่ชนสิ่งกีดขวางหรือสัตว์เลี้ยง

ไม่ใช่เพื่อคนขี้เกียจ พานาโซนิคตั้งเป้าให้บริการตู้เย็นพันธุ์ใหม่กับผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว การเพิ่มความสามารถให้เครื่องครัวจะช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินมาที่ครัวโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ พานาโซนิคจะพัฒนาเพิ่มให้เครื่องใช้กลุ่มอุ่นอาหาร สามารถติดตั้งด้านบนของตู้เย็นได้ด้วย ทำให้สามารถเสิร์ฟอาหารร้อนข้ามห้องได้ทันใจ

ยังไม่มีรายงานกำหนดการเริ่มนำแนวคิดตู้เย็นนี้ไปผลิต แต่ข่าวนี้ทำให้หลายคนฝันหวานถึงตู้เย็นที่สามารถเสิร์ฟเบียร์เย็นฉ่ำขณะชมทีวี รวมถึงงานบริการอื่นที่ทำให้ไม่ต้องลุกเดินไปเองให้เมื่อยตุ้ม


ที่มา : mgronline.com/Cyberbiz/detail/9600000096535

]]>
1140504