ทรูมันนี่ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 26 May 2023 12:35:30 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุ้มแค่ไหนถามใจทรู! เปิดลิสต์เครือทรูที่ ‘ลิซ่า BLACKPINK’ ขึ้นแท่นเป็น ‘พรีเซ็นเตอร์’ https://positioningmag.com/1431989 Fri, 26 May 2023 11:31:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431989 ด้วยชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และความสามารถ จึงไม่น่าแปลกใจนักหากแบรนด์ (ที่มีเงินถึง) จะอยากคว้าตัวสาว ลิซ่า BLACKPINK หรือ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล ไอดอล K-pop ที่ได้รับความนิยมและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกมาขึ้นเป็น พรีเซ็นเตอร์ ให้กับแบรนด์ของตัวเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ดูเหมือนจะคุ้มสุด เพราะใช้ลิซ่าไปเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในหลายภาคส่วนเลยทีเดียว

3 ปีจากถิ่น AIS สู่ 3 พรีเซ็นเตอร์เครือทรูในปีเดียว

ย้อนไปเมื่อปี 2019 หากใครจำกันได้ ลิซ่า ได้กลายเป็นพรีเซ็นเตอร์ปี เอไอเอส (AIS) เบอร์ 1 ของตลาดโทรคมนาคมไทยในขณะนั้น โดยเอไอเอสถือเป็น แบรนด์แรกในไทย ที่คว้าตัวลิซ่ามาเป็นพรีเซ็นเตอร์ได้สำเร็จ จากนั้น ลิซ่าก็เป็นครอบครัวของเอไอเอสมายาวนานถึงปี 2022 แต่ในปี 2023 ลิซ่าก็ไม่ได้ต่อสัญญากับทางค่ายต่อ

ซึ่งในตอนนั้น เอไอเอสได้เปิดเผยว่า บริษัทพยายามจะต่อสัญญากับลิซ่าแล้ว แต่ไม่สำเร็จเนื่องจาก ค่าย YG ปฏิเสธการต่อสัญญาและไปดีลกับบริษัทที่มี Conflict of interest ซึ่งหลายคนก็เดากันว่าต้องเป็น ทรู แน่นอน

อ่าน >>> ทำไม ‘เอไอเอส’ ต้องทุ่มจับ ‘New Gen’ และกลยุทธ์การใช้ ‘พรีเซ็นเตอร์’ จะเป็นอย่างไรเมื่อไร้ ‘ลิซ่า’

TrueID แพลตฟอร์มแรกที่ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์

มาต้นปี 2023 ก็เป็นไปตามที่หลายคนคาดไว้ TrueID (ทรู ไอดี) แพลตฟอร์มคอนเทนต์ในเครือทรูฯ ก็ได้ประกาศว่า ลิซ่า เป็นพรีเซ็นเตอร์คนล่าสุด พร้อมกับเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ พร้อมให้เหตุผลว่า “ลิซ่า BLACKPINK จะมาช่วยตอกย้ำภาพความเป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ TrueID ที่ปัจจุบันให้บริการครอบคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังได้เอ็กซ์คูลซีฟคอนเทนต์ของ BLACKPINK และคอนเทนต์อื่น ๆ จากศิลปินในสังกัด YG Entertainment  อีกด้วย

TrueX แอปพลิเคชันใหม่หลังควบรวม

หลังจากที่ ทรู และ ดีแทค ควบรวมกันเป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในช่วงเดือนมีนาคม และ 1 เดือนผ่านไป บริษัทก็ได้เปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ TrueX ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่รวมบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของลูกค้าทรู และผู้บริโภคทั่วไปมารวมไว้ในแอปฯ เดียว อาทิ โซลูชันการดูแลบ้าน, สุขภาพ, ช้อปปิ้ง รวมถึงบันเทิง

และเพื่อสื่อสารความเป็น LifeOS แพลตฟอร์ม TrueX ก็เลือกใช้ ลิซ่า เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ โดยมีการยิงโฆษณาทางช่องทางต่าง ๆ ทั้งทำโปรโมชันแพ็กเกจ เพื่อดันให้แพลตฟอร์มมียอดดาวน์โหลด 1 ล้านดาวน์โหลดในสิ้นปี

True Money ที่มีพรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก

แม้จะทำตลาดไทยมานาน 8 ปี ให้บริการครอบคลุม 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านราย แต่แพลตฟอร์ม ทรูมันนี่ (True Money) ก็ยังไม่เคยมีพรีเซ็นเตอร์ของแบรนด์อย่างจริงจัง มีเพียงแค่บางแคมเปญเท่านั้น แต่มาปีนี้ ทรูมันนี่เลือกจะทุ่มเงินดึงลิซ่า มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น รวมถึงต้องการสื่อว่าแบรนด์ทรูมันนี่เป็นแบรนด์ใหญ่ระดับ Top เหมือนกับลิซ่า

เรียกได้ว่าผ่านไปยังไม่ถึงครึ่งปี แต่เครือทรูก็ใช้ลิซ่ายืนเป็นพรีเซ็นเตอร์แล้วถึง 3 แพลตฟอร์ม ซึ่งถือเป็นจุดที่น่าสนใจมากว่า เครือทรูฯ เลือกจะใช้ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์เฉพาะ แพลตฟอร์มดิจิทัล แต่ไม่ได้ใช้มาสื่อสารถึงบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่ส่วนนั้นเลือกใช้ นาย ณภัทร และ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่าเครือทรูฯ จะใช้ลิซ่าเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัลไหนอีกบ้าง หรือจะข้ามฟากไปฝั่ง เครือซีพี ที่เคยมีข่าวลือ

]]>
1431989
‘True Money’ พร้อมเป็น ‘เวอร์ชวล แบงก์’ วางเป้าใหญ่ปี 2025 คนไทย ‘ครึ่งประเทศ’ ใช้แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1431798 Thu, 25 May 2023 13:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1431798 หลังจากที่ ดอลฟิน วอลเล็ท (Dolfin Wallet) โบกมือลาตลาดไทยตามรอย เจดี เซ็นทรัล (JD CENTRAL) ตลาดอีวอลเล็ทก็เหลือผู้เล่นหลัก ๆ เพียง 3-4 รายเท่านั้น และเบอร์ 1 ของตลาดในนาทีนี้คือ ทรูมันนี่ (True Money) ที่ให้บริการมาแล้ว 8 ปี และก้าวต่อไปจากนี้ของทรูมันนี่ คือการเทียบชั้นกับ ธนาคาร และกำลังมองถึงความเป็นไปได้ของ เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank)

ดันแพลตฟอร์มเป็นมากกว่าอีวอลเล็ท

อยู่ในตลาดมานานถึง 8 ปี สำหรับ ทรูมันนี่ (True Money) จนปัจจุบันมีผู้ใช้ในไทยถึง 27 ล้านราย โดยมีแอคทีฟยูสเซอร์ราว 17-18 ล้านคน/เดือน มีจุดรับชำระของแพลตฟอร์มมีกว่า 7 ล้านจุดมากสุดในประเทศไทย และสามารถใช้จ่ายบนร้านค้าออนไลน์กว่า 1.3 ล้านร้านค้าทั่วโลก นอกจากนี้ ยังสามารถใช้จ่ายในต่างประเทศได้กว่า 40 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลี และจีน ที่จะสามารถชำระได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้

ปัจจุบัน สามารถแบ่งบริการของทรูมันนี่ได้ 3 กลุ่ม ซึ่งครอบคลุมแทบไม่ต่างจากธนาคาร ได้แก่

  • บริการในกลุ่มใช้จ่าย: ทั้งการจ่ายออนไลน์ ออฟไลน์ โอนเงิน ใช้จ่ายต่างประเทศ และวงเงินใช้ก่อนจ่ายทีหลัง
  • บริการในกลุ่มการเงิน: บริการด้านการออม ลงทุน ประกัน และสิทธิประโยชน์หลากหลาย
  • บริการสนับสนุนธุรกิจ: บริการสนับสนุน SME และผู้ประกอบการรายย่อย เช่น ระบบสมาชิก และฟีเจอร์โปรโมตร้านค้า เป็นต้น

แม้จะมีบริการทางการเงินที่หลากหลาย มีธุรกรรมต่อวันหลายสิบล้านผ่านแอปพลิเคชัน แต่การใช้บริการหลักจะเป็น ดิจิทัลเพย์เมนต์ เช่น การซื้อแอปพลิเคชัน, ชำระค่าบริการคอนเทนต์ต่าง ๆ , เติมเงินเกม รวมถึงการซื้อสินค้าบนอีมาร์เก็ต ส่วนผู้ที่เปิด บัญชีเงินฝากและลงทุนมีเพียง 2.5 ล้านบัญชี เท่านั้น ส่วนบริการ ใช้ก่อนโอนที่หลัง มีลูกค้า 1.2-.1.3 ล้านราย

ดังนั้น ภารกิจของทรูมันนี่คือ ดันบริการอื่น ๆ ให้ผู้ใช้เก่าได้ใช้ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มฐานผู้ใช้ใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ลูกค้ากลุ่มใหญ่ของทรูมันนี่จะเป็นกลุ่ม Gen Y มีสัดส่วนมากถึง 40% เฉลี่ยมีการเติมเงินเข้าระบบราว 3-4 พันบาท มีการใช้งานเฉลี่ย 20 ครั้ง/เดือน

ทุ่มงบดึงลิซ่าหวังเพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านราย

มนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา การเติบโตของทรูมันนี่เป็นแบบออร์แกนิกซึ่งเกิดจากการแนะนำบอกต่อแบบปากต่อปาก เนื่องจาก ทรูมันนี่ยึดหลักว่า ต้องทำให้การเข้าถึงทำได้ง่าย มีข้อจำกัดให้น้อยที่สุด และต้องเกิดคุณค่าในทุก ๆ การใช้งาน รวมถึงแพลตฟอร์มต้องมีความปลอดภัย นอกจากนี้ การมาของโควิดก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้คนใช้งานแพลตฟอร์มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายปีนี้ของทรูวอลเล็ทคือ เพิ่มผู้ใช้เป็น 35 ล้านรายภายในสิ้นปี และมีแอคทีฟยูซเซอร์ 20% โดยมนสินี ยอมรับว่าเป็นตัวเลขที่สูงแต่มั่นใจว่าเป็นไปได้ เพราะในปีนี้แบรนด์ได้ดึง ลิซ่า แบล็กพิงก์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยสร้างการรับรู้ในวงกว้างมากขึ้น

“เราต้องการสื่อว่าแบรนด์เราก็ใหญ่ เป็นระดับ Top เหมือนกับลิซ่า และเชื่อว่าภาพของลิซ่านั้นเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม โดยการดึงลิซ่ามาเราลงทุนหนักมาก และเราจะเข้าถึงทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์”

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่ทรูมันนี่ต้องการเข้าถึงแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • เด็ก วัยรุ่น อายุต่ำกว่า 13 ปี: ที่จะเป็นรากฐานใหม่ของแพลตฟอร์ม
  • เฟิร์สจ็อบเบอร์: เพื่อขยายการเข้าถึงการลงทุน
  • sme รายย่อย: เพื่อขยายบริการกลุ่มสินเชื่อ

นอกจากนี้ ทรูมันนี่มองว่ากลุ่ม ต่างจังหวัด เป็นอีกส่วนที่ยังเติบโตได้ แต่ที่ปัจจุบันผู้ใช้งานหลักของทรูมันนี่เป็นคนกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ เพราะมีจุดชำระที่เข้าถึงได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังพร้อมที่จะใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ

“เรามองว่ามันเป็นจังหวะเวลาที่ใช่สำหรับการใช้พรีเซ็นเตอร์ระดับโลกครั้งแรก เพราะที่ผ่านมา 90% ลูกค้าใช้เราโดยไม่เกี่ยวกับแคมเปญการตลาด ซึ่งตอนนี้เราไม่ใช่แค่ต้องการดึงลูกค้าใหม่ แต่โจทย์ต้องทำให้ลูกค้าเก่ารู้ว่าเรามีบริการที่หลากหลาย และลอยัลตี้จะยิ่งแข็งแกร่งกว่านี้ ถ้ารู้ว่าเรามีเฟีเจอร์เยอะ ไม่ใช่แค่จ่ายเงิน แต่เป็นไฟแนนเชียลแพลตฟอร์ม”

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด, นางสาวณัฐวดี แซ่เอี้ย ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด และนางอนัณทินี จิตจรุงพร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด

ก้าวข้ามวอลเล็ทสู่การเป็น เวอร์ชวล แบงก์

แม้ว่าจำนวนผู้เล่นในตลาดอี-วอลเล็ทจะลดลง แต่ไม่ได้ทำให้นัยการแข่งขันแตกต่างไป เพราะแพลตฟอร์มก้าวข้ามการเป็นอีวอลเล็ทไปแล้ว และปัจจุบันก็มีจำนวนการใช้งานไม่ต่างจาก ธนาคาร ซึ่งแพลตฟอร์มพยายามจะหา ช่องว่างที่ธนาคารไม่มี มาพัฒนาเป็นฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพื่อมาตอบสนองลูกค้า

“ในตลาดอี-วอลเล็ทเราคิดว่าเราเป็นอันดับ 1 มีมาร์เก็ตเเชร์เกิน 90% และตอนนี้เราไม่ได้เทียบตัวเรากับตลาดวอลเล็ท แต่เราเทียบกับธนาคาร จะบอกว่าเป็นซูเปอร์แอปฯ ก็ได้ แต่เป็นซูเปอร์แอปฯ ทางด้านไฟแนนซ์”

เป้าหมายภายในของทรูมันนี่ ก็คือการทำ IPO รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะผันตัวเป็น เวอร์ชวล แบงก์ (Virtual Bank) ซึ่งทรูมันนี่มองว่าแพลตฟอร์มีหลายคุณสมบัติที่จะทำเวอร์ชวล แบงก์ได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการต่าง ๆ ที่คล้ายกับธนาคาร รวมถึงฐานลูกค้าที่แข็งแรง ดังนั้น ทรูมันนี่จึงต้องเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแรงมากพอที่จะทำ IPO และการเป็นเวอร์ชวล แบงก์ในอนาคต

เป้าใหญ่ดึงคนไทยครึ่งประเทศเป็นแอคทีฟยูสเซอร์

ปัจจุบัน รายได้จากกลุ่มเพย์เมนต์ถือเป็นสัดส่วนหลัก ส่วนกลุ่มอื่น ๆ อาทิ การกู้ยืม, การลงทุน อยู่ในจุดที่สามารถทำกำไรให้กับบริษัทได้แล้ว นอกจากนี้ อัตราหนี้เสียก็ยังน้อยมาก โดยมองว่า ภายใน 2 ปี กำไรจากบริการทางการเงินจะมีสัดส่วนถึง 50% จากปัจจุบันคิดเป็น 10% นอกจากนี้ 50% ของประชากรไทยต้องเป็นแอคทีฟยูสเซอร์ที่ใช้งานทรูมันนี่วอลเล็ททุกเดือน และ 20% ต้องใช้บริการทางการเงินของแพลตฟอร์ม

“แน่นอนว่าเราอยากเป็นเวอร์ชวล แบงก์ แต่ตอนนี้กฎยังไม่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์กำหนดมันไม่ยากเกินไป เราก็มีโอกาส ซึ่งถ้าเราได้ทำเวอร์ชวล แบงก์ ในแง่ประโยชน์ของลูกค้าปลายทางก็จะได้รับดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ และเราก็สามารถขยายความเสี่ยงในการปล่อยกู้ไปยังกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เซกเมนต์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น”

]]>
1431798
3,000 ก็เทรดได้! “ทรูมันนี่” จับมือ “เมอร์เคิล” เปิดพอร์ตกองทุน “คริปโต” ผ่านอีวอลเล็ต https://positioningmag.com/1382236 Thu, 21 Apr 2022 07:31:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1382236 “เมอร์เคิล แคปปิตอล” ผนึกกำลังกับ “ทรูมันนี่” เปิดช่องทางซื้อกองทุน “คริปโต” ผ่านอีวอลเล็ต ลดเงินขั้นต่ำเหลือ 3,000 บาท แก้ปัญหานักลงทุนต้นทุนน้อยหรือไม่มีเวลา โดยมี 4 กลยุทธ์การลงทุนให้เลือกตามธีมของเหรียญคริปโตที่คัดเลือก คาดมีผู้ลงทุนผ่านทรูมันนี่ 1-2 แสนรายในปีนี้

กระแสการเทรดคริปโตมาแรงด้วยความเป็น ‘ตลาดซิ่ง’ ที่มีโอกาสได้กำไรสูง แต่ความเสี่ยงก็สูง และต้องใช้เวลาในการศึกษาเนื่องจากตลาดเปลี่ยนเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการด้านการเงินเริ่มจับโอกาสที่จะดึงนักลงทุนหน้าใหม่ให้เข้าตลาดคริปโตได้ง่ายขึ้น

“ธัญญพงศ์ ธรรมาวรานุคุปต์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด ผู้ให้บริการ “ทรูมันนี่” เกริ่นก่อนว่า ปัจจุบันแอปพลิเคชันนี้ไม่ได้เป็นแค่ช่องทางการชำระเงิน แต่ยังมีบริการทางการเงินอื่นอีก 3 ด้าน ได้แก่ สินเชื่อ ประกัน และการลงทุน

ในด้านของการลงทุนนั้น ทรูมันนี่มีช่องทางให้ซื้อกองทุนจากผู้บริหารกองทุน 10 บริษัทผ่านแอปพลิเคชันได้อยู่แล้ว และวันนี้ทรูมันนี่จะเพิ่มบริการการลงทุนแบบใหม่ด้านสกุลเงิน “คริปโต” ผ่านการจับมือกับ บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด ซึ่งเป็น “ผู้จัดการเงินทุนสินทรัพย์ดิจิทัล” รายแรกที่ได้ใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และยังคงเป็นรายเดียว ณ ขณะนี้

โดยลูกค้าทรูมันนี่สามารถเปิดพอร์ตการลงทุนคริปโตผ่านแอปฯ ได้อย่างรวดเร็ว และเลือกลงทุนตามกลยุทธ์การลงทุนที่ดูแลโดยเมอร์เคิล แคปปิตอล

เมอร์เคิล ทรูมันนี่ คริปโต

ด้าน “อัครเดช เดี่ยวพานิช” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด กล่าวถึงที่มาของบริษัทนี้เป็นส่วนหนึ่งในเครือ CryptoMind ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน เกิดจากกลุ่มนักเทรดคริปโตที่มารวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ในการเทรด จนมาสู่การก่อตั้งบริษัทเพื่อบริการปรึกษาการเทรดในวงกว้างขึ้น

สิ่งที่เมอร์เคิลทำคือ การคัดแยกเหรียญที่ส่อแววเป็นการหลอกลวง (scam) ออกไป และนำเหรียญที่มีศักยภาพมาจัดพอร์ตการลงทุนตามธีม ขณะนี้มี 4 ธีมกลยุทธ์การลงทุนให้เลือก ได้แก่

1.M-Bitcoin Alpha สำหรับลงทุนในบิตคอยน์ทั้งหมด ซึ่งบิตคอยน์ถือเป็นเหรียญเริ่มต้นของตลาดคริปโต และได้รับการยอมรับทั่วโลก เปรียบได้กับทองคำในโลกดิจิทัล
2.M-Large Cap พอร์ตการลงทุนในเหรียญคริปโตที่มีมูลค่าทางตลาดขนาดใหญ่ เช่น อีเธอเรียม เป็นการกระจายการลงทุนไปยังเหรียญอื่นที่มีศักยภาพ
3.M-Blockchain ลงทุนในเหรียญที่เป็นพื้นฐานของบล็อกเชน ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของคริปโต
4.M-Metaverse ลงทุนในเหรียญพื้นฐานของเมตาเวิร์ส ลงทุนตามโปรเจ็กต์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจและมีโอกาสเติบโต

เมอร์เคิล
พอร์ตลงทุนตามกลยุทธ์ 4 ธีมของเมอร์เคิล

แต่เดิมนั้นเมอร์เคิล แคปปิตอลเปิดรับนักลงทุนด้วยมูลค่าพอร์ตขั้นต่ำ 100,000 บาท เพราะต้องการเจาะกลุ่มที่เป็นไพรเวทเวลธ์ แต่ขณะนี้เมื่อจับมือกับทรูมันนี่จะเป็นการเปิดทางเข้าสู่ตลาดแมส เพราะใช้เงินลงทุนน้อยลง แต่สามารถเลือกการลงทุนตามธีม 4 กลยุทธ์ในแบบเดียวกันได้

 

เริ่มต้นที่ 3,000 บาท เจาะคนงบน้อย-ไม่มีเวลา

การเทรดของผู้ที่ต้องการลงทุนคริปโตปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะต้องเข้าไปเทรดเองบนกระดานเทรด แต่ตลาดคริปโตนั้นมีความยากและความเสี่ยงกว่า เพราะตลาดเปิด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ โอกาสเปลี่ยนแปลงสูง มีเหรียญจำนวนมากให้ศึกษาติดตาม และมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย

“การซื้อขายเองจะติดปัญหาเรื่องคุณไม่มีเวลาศึกษามากเพียงพอว่าจะซื้อเหรียญไหน เวลาไหน หรือไม่มีเวลาเทรด ตรงนี้เราทำการคัดเหรียญที่ไม่หลอกลวง และจัดเหรียญออกมาเป็นธีมกลยุทธ์การลงทุน มีผู้เชี่ยวชาญมาคอยเทรดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงเราจะดูแลความปลอดภัยให้ ไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกแฮกเหรียญออกจากบัญชี” กานต์นิธิ ทองธนากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน บริษัท เมอร์เคิล แคปปิตอล จำกัด กล่าว

เมอร์เคิล ทรูมันนี่ คริปโต

ด้าน “ณัฐวดี แซ่เอี้ย” ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์และนวัตกรรมทางธุรกิจ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวต่อถึงรายละเอียดการลงทุนกับเมอร์เคิลผ่านทรูมันนี่ เริ่มขั้นต่ำที่ 3,000 บาท (*ต่อการลงทุนหนึ่งกลยุทธ์การลงทุน) หากสมัครแอปฯ ทรูมันนี่ซึ่งเป็นการยืนยันตัวตนและเครดิตสกอร์ไว้แล้ว เมื่อเปิดพอร์ตกับเมอร์เคิลจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ไม่ต้องยื่นเอกสารเพิ่ม ลดความยุ่งยากในการเริ่มลงทุนคริปโต

ส่วนค่าธรรมเนียมนั้นทั้งสองบริษัทไม่ได้แจกแจงรายละเอียดบนเวที แต่ระบุว่าคิดเท่าๆ กับที่คิดกับลูกค้ากองทุนไพรเวทเวลธ์ และอัครเดชเชื่อว่าไม่แพงไปกว่าค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเมื่อลูกค้าเข้าไปเทรดเองบนกระดานเทรด แถมยังได้ความสะดวกมากกว่าเพราะไม่ต้องเฝ้ากระดานเอง

ณัฐวดีกล่าวต่อว่า การเปิดพอร์ตด้วยเงินลงทุนต่ำเช่นนี้ คาดว่าจะเจาะกลุ่มนักลงทุนที่ไม่มีเวลาศึกษา ไม่เคยลงทุนคริปโตมาก่อน และมีงบลงทุนน้อย รวมถึงกลุ่มนักลงทุนที่อาจจะมีประสบการณ์การเทรดคริปโตด้วยตนเอง แต่ต้องการกระจายความเสี่ยงด้วย ทำให้แม้จะเริ่มลงทุนต่ำแต่ทรูมันนี่ไม่ได้กำหนดเพดานการเทรด สามารถลงทุนได้เต็มที่

โดยทรูมันนี่ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 24 ล้านคน ในจำนวนนี้มีการซื้อขายกองทุนอยู่แล้ว 2 ล้านคน คาดว่าการลงทุนรูปแบบใหม่กับคริปโตน่าจะมีการใช้งาน 1-2 แสนคนภายในปีแรกนี้

]]>
1382236
“ผู้หญิง” พลังขับเคลื่อนสำคัญสู่ “She-Cashless Society” https://positioningmag.com/1218350 Thu, 07 Mar 2019 03:34:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218350 ปัจจุบันประชากรเพศหญิงมีอัตราส่วนสูงกว่าเพศชายที่ร้อยละ 51:49 หรือมีจำนวนประมาณ 33.4 ล้านคน ขณะที่เพศชายมีราว 32.1 ล้านคน (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ) แม้จะเป็นจำนวนที่ดูเหลื่อมกันไม่มากนักในเชิงตัวเลข แต่ที่น่าสนใจคือพฤติกรรมการใช้จ่ายของสุภาพสตรีที่โดดเด่นในการเป็นผู้นำเทรนด์เรื่อง “การช็อปปิ้ง” จากผลการศึกษาของ She-conomy พบว่า 85% ของการซื้อสินค้าแบรนด์ต่างๆ มาจากลูกค้าสุภาพสตรี ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการ CF (Confirm) หรือการ CC (Cancel) ได้กลายเป็นศัพท์ออนไลน์ฮอตฮิตของผู้หญิงส่วนใหญ่เวลาสนใจสั่งซื้อสินค้าในโซเชียลมีเดียในวันนี้ไปแล้ว

เนื่องในวันสตรีสากลที่ตรงกับทุกวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี ทรูมันนี่มีข้อมูลและสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับผู้หญิง แสดงให้เห็นพลังบวกของพวกเธอที่จะกลายเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญขับเคลื่อนสังคมไทยให้เดินหน้าไปสู่ยุค Cashless Society ในช่วงระยะเวลาเพียงสองเดือนแรกของปีนี้ (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2562) ผู้หญิงสามารถสร้างมูลค่าธุรกรรมต่างๆ บน TrueMoney Wallet หลายสิบล้านบาท สะท้อนถึงศักยภาพด้านการใช้จ่ายของพวกเธอที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรม e-Wallet ในประเทศไทย ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น

ผู้หญิงกับ e-Wallet

ขณะที่ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” ด้วยการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและเอกชนอย่างหนัก แต่สิ่งสำคัญที่เป็นหัวใจหลักและเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จการดำเนินงานเหนือกว่าเทคโนโลยีหรือมาตรการใดๆ ก็คือ “การรู้จักผู้ใช้งาน”

  • 46% คือ สัดส่วนจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดที่เป็นผู้หญิง
  • 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงกว่าผู้ใช้ต่างจังหวัดที่มีสัดส่วน 40%
  • ผู้หญิงที่ใช้ e-Wallet ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม Gen Y อายุเฉลี่ย 24 ปี
  • บริการใน e-Wallet ที่ผู้หญิงใช้มากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่
    • ซื้อแพ็คเกจอินเทอร์เน็ต / เติมเน็ต
    • โอนเงินให้บุคคลอื่น
    • ใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และร้านค้าทั่วไป

ผู้หญิงมีปริมาณการใช้จ่ายเงินผ่าน e-Wallet เฉลี่ยต่อครั้งจะอยู่ที่ 280 บาท โดยยอดการใช้จ่ายที่สูงนั้นมาจากการจ่ายบิลเป็นหลัก ในขณะที่มีจำนวนผู้ใช้เพศหญิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 2 เรื่อง ได้แก่ การบริจาค (Donation) และการเลือกซื้อดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สะท้อนให้เห็นว่าผู้หญิงมองว่า e-Wallet เป็นมากกว่าแค่แพลตฟอร์มเรื่องการจ่ายเงิน แต่ยังเป็นแหล่งรวมน้ำใจและประตูเชื่อมโลกดิจิทัลคอนเทนต์ของพวกเธออีกด้วย

เคล็ด (ไม่) ลับการใช้ e-Wallet แบบสตรียุค 4.0

ความสะดวกรวดเร็ว ความปลอดภัย และความคุ้มค่า คือ 3 นิยามสำหรับการใช้งาน e-Wallet ของผู้หญิงในวันนี้ เพื่อเพิ่มความสุขและคุ้มค่า ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ทรูมันนี่ขอแนะนำ เคล็ด (ไม่) ลับใช้งาน e-Wallet ในแบบสุภาพสตรียุค 4.0 เพิ่มความคุ้มค่า ประหยัด และมีความปลอดภัยในทุกการจับจ่าย เพื่อให้ผู้หญิงยุคใหม่ได้นำไปพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • ทุกการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ สาวๆ ที่มองหาความคุ้มค่า เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน การจะนำ e-Wallet ไปใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการอะไรก็ตามแทนเงินสด ควรตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินคืนหรือการสะสมแต้มที่ควรได้รับ รวมทั้งส่วนลด หรือสิทธิพิเศษสำหรับแลกของทานฟรี รวมไปถึงสิทธิ์ได้ลุ้นรางวัลใหญ่ในแคมเปญต่างๆ เพื่อทำให้ทุกการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของคุณคุ้มค่ามากขึ้นและได้รับสิ่งอื่นกลับมาด้วย

  • ความปลอดภัยใน e-Wallet ต้องมาก่อนเสมอ แม้ว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยไซเบอร์ต่ำกว่าผู้ชาย (ข้อมูลจาก แคสเปอร์สกี) แต่ถึงอย่างไรเรื่องเงินๆ ทองๆ ความปลอดภัยต้องมาเป็นอันดับแรก ดังนั้นก่อนใช้ e-Wallet ควรตั้งค่าและหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่าน รหัส PIN และ Touch ID ในแอปฯ e-Wallet ที่ใช้งานอยู่เสมอ พร้อมยืนยันตัวตนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในขั้นสูง กรณีที่มีการจับจ่ายเงินจำนวนมากผ่าน e-Wallet

  • ทำบัญชีรับ-จ่ายเงิน หรือพลิกดูประวัติการใช้ e-Wallet เป็นประจำ สำหรับสาวๆ ที่เป็นแม่ค้ายุคดิจิทัล การมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายดิจิทัลไว้ใช้งาน เพื่อเช็คการทำธุรกรรมต่างๆ แบบเรียลไทม์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ช่วยในการบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น

  • ทำภารกิจต่างๆ ในแอปฯ เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งาน e-Wallet บางผู้ใช้อาจไม่เคยสังเกตว่าใน e-Wallet มีภารกิจต่างๆ ให้ทำและเล่นสนุกด้วย เมื่อทำสำเร็จระบบจะให้ผู้ใช้สามารถไปจับรางวัลพิเศษ หรือได้รับเป็นเงินคืนเข้ามาในแอปฯ ได้อีก หมั่นตรวจเช็คในแอปฯ และพิชิตภารกิจต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงอย่างเรามีเงินมาใช้สอยมากยิ่งขึ้น

  • เติมเงินแค่จำนวนที่ต้องการจ่ายจริงในรายการเพื่อจำกัดวงเงิน สำหรับสาวๆ ที่ใช้ e-Wallet กับเรื่องจ่ายเงินเฉพาะเรื่อง เช่น ใช้จ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือโอนให้คุณพ่อคุณแม่ เป็นประจำทุกเดือน การโอนเงินเข้าตามจำนวนที่ต้องการใช้จริง จะช่วยให้เราเซฟวงเงิน และไม่ผลีผลามกดซื้ออย่างอื่น เป็นการช่วยจำกัดค่าใช้จ่ายอีกทางหนึ่ง

ทั้งหมดเป็นแนวทางการใช้งาน e-Wallet ง่ายๆ สำหรับบรรดาผู้หญิงยุคใหม่ ไม่ว่าจะใช้จ่ายมื้อเช้าในชั่วโมงเร่งด่วนที่ร้านสะดวกซื้อ สแกนจ่ายค่าโดยสารรถสาธารณะ หรือผ่อนคลายอารมณ์ในวันหยุดกับหนัง/แอปฯ เกมดังจากการซื้อดิจิทัลคอนเทนต์บน App Store และ Play Store ตลอดจนการจ่ายบิลตอนสิ้นเดือน หรือเติมเงิน เติมเน็ต ฯลฯ e-Wallet ล้วนตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รอบด้าน

เพราะผู้หญิงคือผู้ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อแบรนด์สินค้าและบริการในปัจจุบัน ข้อมูลจาก SOUR Bangkok เคยระบุไว้ว่า ผู้หญิงนิยมช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากสะดวกและรวดเร็ว ทำให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ โดยมี 3 กลุ่มสินค้าที่มีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ 1. ช้อปปิ้ง เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, รองเท้า ฯลฯ 2. กลุ่มอาหาร เช่น Food Delivery, อาหารสด, อาหารแห้ง และ 3. เครื่องสำอาง เป็นกลุ่มสินค้าคู่กายของผู้หญิง สิ่งเหล่านี้คือพลังของ “She-economy” ที่นับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้น ที่จะช่วยส่งเสริมการใช้งานอุตสาหกรรม e-Wallet ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ไม่แน่อาจเกิดเป็นสังคมไร้เงินสดแบบผู้หญิง (She-Cashless Society) ในอนาคตบ้างก็เป็นได้

เกี่ยวกับ ทรูมันนี่

ทรูมันนี่ คือ ผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์ชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นให้บริการทางการเงินแก่ผู้คนรวมไปถึงผู้ที่เข้าไม่ถึงบริการของสถาบันทางการเงิน โดยให้บริการใน 6 ประเทศในภูมิภาคได้แก่ ประเทศไทย กัมพูชา เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

ทรูมันนี่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546 และเข้าเป็นธุรกิจหนึ่งของบริษัทแอสเซนด์มันนี่ในปี พ.ศ. 2557 และเป็นพันธมิตรกับบริษัท Alipay ใน พ.ศ. 2559 โดยปัจจุบันมีบริการด้านการเงินที่หลากหลาย อาทิ ทรูมันนี่ วอลเล็ท แอปพลิเคชั่นอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายง่ายขึ้นและตอบโจทย์กับทุกไลฟ์สไตล์ได้รับความนิยมสูงสุด นอกจากนั้นยังมีเครือข่ายตัวแทน ทรูมันนี่ ที่ครอบคลุมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริการรับชำระเงินแบบออฟไลน์ ทั้งหมดนี้เพื่อมอบความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับหลายล้านคนเพื่อก้าวล้ำไปสู่ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

]]>
1218350
4 ยักษ์รุมตอมอีคอมเมิร์ซอาเซียน เนื้อหอมรับข่าวอาลีบาบาซื้อหุ้นบริษัทไทย https://positioningmag.com/1095066 Mon, 20 Jun 2016 11:34:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=1095066 นักวิเคราะห์ฟันธง อีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนกำลังถูกยกระดับสู่การแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการยืนยันแล้วว่าอาลีบาบา (Alibaba) เจ้าพ่อแดนมังกรจะซื้อหุ้นบริษัทต้นสังกัด ”ทรูมันนี่” เพื่อเบิกทางสู่ตลาดชำระเงินออนไลน์ในไทยก่อนขยายไปยังประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก (Facebook) และไลน์ (Line) ที่ลุยทดสอบบริการชำระเงินและส่งสินค้าเพื่อปูทางสู่บริการอีคอมเมิร์ซในประเทศอาเซียนอื่น ด้านอเมซอน (Amazon) ก็มีข่าวว่าเตรียมบุกอินโดนีเซีย ซึ่งอาจจะขยายบริการคลุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นในอนาคต

อาลีบาบาผนึกต้นสังกัดทรูมันนี่

ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) ระบุว่าบริษัทแอนท์ไฟแนนเชียล (Ant Financial) บริษัทด้านการเงินในเครืออาลีบาบา มีแผนซื้อหุ้น 20% ของบริษัทสัญชาติไทยชื่อแอสเซนด์มันนี่ (Ascend Money) เพราะต้องการแทรกตัวเข้ามาเป็นผู้ท้าชิงในตลาดบริการการเงินของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดนี้รายงานระบุว่า อาลีบาบายอมจ่ายเงินซื้อหุ้น Ascend Money ผู้ให้บริการ True Money และ Ascend Nano เพื่อเป็นใบเบิกทางในการให้บริการชำระเงินออนไลน์และสินเชื่อรายย่อยในอาเซียน

ข่าวนี้ถือเป็นพลุชุดใหญ่ที่ทำให้ภาพของอีคอมเมิร์ซอาเซียนมีทิศทางการเติบโตที่ร้อนแรงสุดขีด ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นตอกย้ำให้นักวิเคราะห์ฟันธงว่าไทยแลนด์แดนออฟสไมล์คือตลาดที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ หากมีบริษัทใดคิดจะเข้ามาสร้างอาณาจักรในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนหน้านี้ เจ้าพ่อเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊ก ก็เปิดทดสอบให้ผู้ใช้ในไทยสามารถจ่ายเงินซื้อสินค้าที่ปรากฏบนเพจเฟซบุ๊ก (Facebook Pages) ก่อนจะลุยเฟสสองขยายไปให้บริการยังประเทศอื่นในอาเซียนต่อไป จุดนี้สำนักข่าวเทคครันช์ รายงานว่าเฟซบุ๊กเลือกไทยเป็นพื้นที่ทดสอบแห่งแรกเพราะ ”ขนาดตลาดซื้อขายสินค้าบนโลกโซเชียลมีเดียที่ใหญ่มาก”

ไม่เพียงตลาดชำระเงินออนไลน์ไทยที่มีแนวโน้มเติบโตน่าสนใจ แต่ยังมีบริการด้านการขนส่งที่บริษัทอีคอมเมิร์ซข้ามชาติจดจ้องใช้ไทยเป็นประตูสู่อีคอมเมิร์ซอาเซียนด้วย ที่เห็นชัดเจนคือบริการไลน์แมน (Line Man) บริการส่งสินค้าเพื่อผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซซึ่งไลน์ทดลองประเดิมให้บริการเฉพาะกรุงเทพฯเป็นแห่งแรก จุดนี้ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแชตอย่างไลน์ยอมรับว่าเลือกทดสอบบริการที่ไทยก่อนเพราะไทยคือหนึ่งในตลาดที่มีชาวไลน์จำนวนมาก

อิเหนาเตรียมเจออเมซอน

แม้ไทยจะเป็นตลาดที่ทุกคนยกว่ายิ่งใหญ่และน่าสนใจ แต่ตลาดอินโดนีเซียถือเป็นเบอร์ 1 ในทางพฤตินัยเมื่อพูดถึงการช้อปปิ้งออนไลน์ในสมรภูมิอาเซียน ขนาดตลาดที่ใหญ่ทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กรายใหญ่ทั้งร็อคเก็ตอินเทอร์เน็ต (Rocket Internet) และโทโกพีเดีย (Tokopedia) พยายามอาสาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้การจ่ายเงินและการซื้อสินค้าออนไลน์ของทุกคน

แฟ้มภาพ เจฟ เบโซส ซีอีโออเมซอน ที่มีข่าวว่าจะเปิดสาขาในอินโดนีเซียพร้อมเงินถัง 600 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก
แฟ้มภาพ เจฟ เบโซส ซีอีโออเมซอน ที่มีข่าวว่าจะเปิดสาขาในอินโดนีเซียพร้อมเงินถัง 600 ล้านเหรียญสหรัฐในปีแรก

อย่างไรก็ตาม แม้ในบางประเทศ Rocket Internet จะทยอยถอดทัพในนามลาซาดา (Lazada) และซาโรลา (Zalora) ที่เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2012 เพราะเงินทุนเริ่มขาดแคลน แต่ทั้ง 2 บริการก็ยังมีผู้สนใจซื้อและพร้อมเข้ามาวางเดิมพันในตลาดอาเซียนแทน โดยล่าสุดมีข่าวว่า อเมซอนจะหันมาเปิดให้บริการในอินโดนีเซียพร้อมเงินทุนมากกว่า 600 ล้านเหรียญสหรัฐ

อเมซอนยังไม่เปิดเผยรายละเอียการลงทุนครั้งนี้ มีเพียงแดเนียล ทูมิวา (Daniel Tumiwa) นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซอินโดนีเซียหรือ Indonesia’s ecommerce association (iDEA) ที่ให้ข้อมูลผ่านสื่อมวลชนว่าอเมซอนจะเปิดสาขาที่อินโดนีเซีย แต่ไม่เปิดเผยกรอบเวลาที่ชัดเจน

ที่มา: http://manager.co.th/cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000061541

]]>
1095066