ทีวีไดเร็ค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Jan 2020 06:04:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เพิ่มช่องทีวี 24 ชม. รุกดิจิทัล ปรับโครงสร้างพนักงาน : กลยุทธ์ TV Direct ยุค CEO คนใหม่ https://positioningmag.com/1259773 Wed, 08 Jan 2020 16:37:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259773
  • TVD-ทีวี ไดเร็ค ยุคซีอีโอคนใหม่ รับเผือกร้อนฝ่ามรสุมเศรษฐกิจ ชี้ตลาดธุรกิจโฮมช้อปปิ้งปี 2562 โต 7-8% น้อยที่สุดในรอบทศวรรษ คาดปีนี้ลดการเติบโตลงอีกเหลือ 3-5%
  • TVD วางเป้าเติบโตกว่าตลาดเล็กน้อยที่ 5-7% เน้นการทำกำไร เปิดกลยุทธ์เพิ่มช่องทางเข้าถึงลูกค้า เพิ่มช่องทีวีขายสินค้า 24 ชม. รุกดิจิทัลมากขึ้น รัดเข็มขัดเลย์ออฟพนักงานส่วนงานที่ซ้ำซ้อน
  • ฐานลูกค้า “แม่บ้านสูงวัยในต่างจังหวัด” ยังเป็นลูกค้าหลัก แต่ที่กำลังมาแรงคือ “ผู้ชายสูงวัย” ด้วยพฤติกรรมซื้อของชิ้นใหญ่ จ่ายหนัก ตัดสินใจเร็ว
  • ปลายปี 2562 บมจ.ทีวี ไดเร็ค หรือ TVD เพิ่งแจ้งเปลี่ยนแปลงผู้บริหารองค์กร โดยดัน “ทรงพล ชัญมาตรกิจ” ขึ้นเป็นกรุ๊ปซีอีโอของทั้งเครือ เพื่อให้ทุ่มเวลาไปกับการปั้นธุรกิจกลุ่ม B2B ของบริษัท และให้ “ธนะบุล มัทธุรนนท์” ลูกหม้อที่ทำงานในบริษัทมาสิบปี ขึ้นมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บมจ.ทีวี ไดเร็ค และ บริษัท ทีวีดี ช้อปปิ้ง จำกัด ซึ่งทำธุรกิจ B2C ธุรกิจที่เป็นรากฐานของบริษัทตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี 2542

    “ธนะบุล มัทธุรนนท์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของ บมจ.ทีวี ไดเร็ค มีผล 1 ม.ค. 63

    ธุรกิจโฮมช้อปปิ้งซึ่งทีวี ไดเร็คเป็นผู้นำตลาดได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาเช่นกัน โดยธนะบุล ซีอีโอหมาดๆ เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดปี 2562 อยู่ที่ 14,000 ล้านบาท เติบโต 7-8% จากปีก่อนหน้า ตัวเลขอาจจะสูงกว่าเศรษฐกิจโดยรวม แต่เป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบทศวรรษ จากที่ผ่านมาธุรกิจโฮมช้อปปิ้งโตดับเบิลดิจิตทุกปี

    (ที่มา: ธนะบุล มัทธุรนนท์ ซีอีโอ บมจ.ทีวี ไดเร็ค)

    สาเหตุที่โฮมช้อปปิ้งชะลอตัว ธนะบุลมองว่ามาจากทั้งสภาพเศรษฐกิจเอง และสถานการณ์ช่องทีวีดิจิทัลปิดตัว ทำให้ธุรกิจนี้ขาดช่องทางทำการตลาด อย่าง TVD เองเคยมีสล็อตเวลาโฆษณาอยู่มากกว่า 10 ช่องทีวีดิจิทัล ปัจจุบันลดเหลือ 7 ช่องเท่านั้น

    ส่วนปี 2563 ซีอีโอ TVD เชื่อว่าจะยิ่งชะลอตัวลงอีก โดยคาดว่าจะเติบโตที่ 3-5% เท่านั้น จากปัจจัยลบเดิมที่สืบเนื่องมาจากปีก่อน

    กางแผน TVD ปี 2563

    จากสถานการณ์ธุรกิจอันท้าทาย โจทย์ของบอร์ดบริหารปีนี้ที่ส่งให้ธนะบุลเป็นโจทย์สั้นๆ ชัดเจนคือ “รายได้และกำไรต้องดีกว่าปีก่อน”

    “เป้ารายได้คาดว่าจะโตใกล้เคียงตลาดหรือดีกว่าเล็กน้อย ประมาณ 5-7% แต่ไปเน้นที่ bottom line (กำไรสุทธิ) ต้องดีขึ้นกว่าปีก่อน” ธนะบุลกล่าว ทั้งนี้ ปี 2562 ทีวี ไดเร็คเคยประกาศเป้ารายได้ไว้ที่ 4,450 ล้านบาท ส่วนรายได้รวม 3 ไตรมาสแรกอยู่ที่ 3,237 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 19.86 ล้านบาท

    โฆษณาเว็บไซต์ tvdirect.tv ช่องทางขายออนไลน์ของ TVD (photo: YouTube@ TV Direct Public Company Limited)

    ปี 2563 TVD จึงวาง กลยุทธ์ธุรกิจ ใน 3 ด้าน ดังนี้

    1. เพิ่มช่องและเช่าเวลาทางทีวี เพิ่มพนักงาน Outbound Call Center (โทรหาลูกค้าโดยตรง) – โดยจะเพิ่มช่องทีวีขายสินค้า 24 ชั่วโมง ทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมอีก 3 ช่อง รวมถึงเช่าเวลาโฆษณา ทั้งทางทีวีดาวเทียมและทีวีดิจิทัลอีก เพื่อทดแทนช่วงเวลาที่หายไปหลังทีวีดิจิทัลคืนช่องเมื่อปีก่อน ส่วน Outbound Call Center จะรุกหนักมากขึ้น โดยมีการเพิ่มพนักงานแล้ว 150 คนตั้งแต่ปลายปี 2562

    ส่วนแผนการซื้อช่องทีวีดิจิทัล หลังเมื่อต้นปี 2562 ดีลซื้อช่องสปริงนิวส์ต้องพับไปเนื่องจากเจรจาไม่ลงตัว ธนะบุลตอบแบ่งรับแบ่งสู้ว่าบริษัทมีความสนใจเพราะ “การมีบ้านของเราเองนั้นอุ่นใจกว่า” แต่ทั้งนี้ดีลก็ต้องคุ้มค่ากับการลงทุน และต้องเป็นดีลที่ทีวี ไดเร็คได้ถือหุ้นส่วนใหญ่เท่านั้น

    2. รุกดิจิทัล ขายออนไลน์ หน้าร้านรีเทลขายผ่านแอปฯ แคตตาล็อกสินค้าปีที่ผ่านมา ช่องทางออนไลน์ของทีวี ไดเร็คมียอดขายเติบโต 23% ทำให้จะรุกตลาดส่วนนี้มากขึ้น ปัจจุบันยอดขายออนไลน์ของบริษัทมาจาก เว็บไซต์ tvdirect.tv 60% และมาจากมาร์เก็ตเพลซ เช่น Lazada, Shopee อีก 40% รวมถึงมีการขายแบบ Omnichannel โดยมีหน้าร้านออฟไลน์ให้ลูกค้าเข้ามาสัมผัสสินค้า หน้าร้านรีเทลเหล่านี้ พนักงานขายจะใช้แอปพลิเคชันแคตตาล็อกออนไลน์ร่วมด้วยเพื่อแสดงสินค้า

    “จุดเด่นของเราคืออยู่ในตลาดมานาน คนรู้จักแบรนด์ทีวี ไดเร็ค รู้จักคนที่ขายของให้ มีออฟฟิศติดต่อ รับประกันความพึงพอใจสินค้า ทำให้ไว้ใจได้มากกว่าการสั่งซื้อของ cross boarder มาจากจีน” ธนะบุลตอบต่อประเด็นว่าทีวี ไดเร็คจะต่อสู้กับสินค้าออนไลน์ที่ทะลักมาจากจีนได้อย่างไร

    ร้าน TVD Shop สาขาโรบินสัน ราชบุรี (photo: Facebook@TVDirect)

    3. ลดภาระค่าใช้จ่าย รีดไขมันองค์กร – ส่วนสุดท้ายคือการจัดการภายในองค์กรเพื่อลดค่าใช้จ่ายซึ่งจะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น ธนะบุลคาดว่าจะลดค่าใช้จ่ายได้ 5-10% หลังจัดระเบียบลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน จะส่งผลให้ต้องเลย์ออฟพนักงานบางส่วนออกไป โดยปัจจุบันเฉพาะทีวี ไดเร็ค และทีวีดี ช้อปปิ้ง มีพนักงาน 1,044 คน แต่ถ้ารวมทั้งกลุ่มบริษัทมีกว่า 1,400 คน

    “ออนไลน์” ความหวังใหม่ที่ยังรอลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรม

    ปัจจุบันยอดขายทีวี ไดเร็ค ยังมีช่องทางหลัก 70% จากลูกค้าที่โทรตรงเข้ามาซื้อจากการชมโฆษณาทางทีวี อีก 20% เป็นการซื้อจาก Outbound Call Center และ 10% จากช่องทางออนไลน์ แต่ช่องทางออนไลน์นั้นกำลังเติบโต โดยปีนี้คาดว่าจะเพิ่มเป็น 15% ในสัดส่วนยอดขายรวม

    หากมาดู กลุ่มลูกค้า ของทีวี ไดเร็ค 6 ล้านคนทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ 80-90% เป็นผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไป และ 70% อยู่ในต่างจังหวัด ทำให้พฤติกรรมลูกค้ายังไม่ถนัดการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์

    อย่างไรก็ตาม ลูกค้ากลุ่มนี้สนใจซื้อแบบ Social Commerce ที่ถาม-ตอบกับผู้ขายโดยตรงบนแอปฯ Line หรือ Facebook ทีวี ไดเร็คจึงมีช่องทางเหล่านี้เพื่อเข้าหาลูกค้า แต่จุดที่ยากคือการนำลูกค้ามาคลิกซื้อผ่านเว็บไซต์ ซึ่งต้องให้เวลาลูกค้าปรับพฤติกรรมมากกว่านี้ ขณะนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่บนช่องทางออนไลน์จึงเป็นกลุ่มลูกค้าอายุต่ำกว่า 40 ปีซึ่งถือเป็นกลุ่มใหม่ของทีวี ไดเร็ค

    ปรับสินค้าใหม่ : ผู้ชาย ไซส์เล็ก สินค้าซื้อซ้ำ

    มาที่ตัวสินค้ากันบ้าง สินค้าของทีวี ไดเร็คมีหลากหลายมาก โดย 3 อันดับขายดี ขณะนี้คือ เครื่องออกกำลังกาย อาหารเสริม และเสื้อผ้าแฟชั่น ซึ่งหน้าตาของสินค้ากำลังเริ่มปรับเปลี่ยนไปให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และสภาพเศรษฐกิจ

    ธนะบุลระบุว่า ในอดีตลูกค้า TVD 80% เป็นเพศหญิง ซึ่งทำให้สินค้าส่วนใหญ่เลือกให้เหมาะกับผู้หญิง แต่ช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าชายเพิ่มขึ้นจนมีสัดส่วนใกล้เคียงครึ่งๆ กับผู้หญิงแล้ว ทำให้ TVD ต้องปรับหาสินค้าผู้ชายมาจำหน่ายเพิ่ม

    “เป็นเรื่องที่ดีเพราะผู้ชายมีพฤติกรรมนิยมซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ราคาสูง พวกอุปกรณ์ gadget ต่างๆ และตัดสินใจซื้อง่ายกว่าผู้หญิง จึงเป็นกลุ่มลูกค้าที่ดีในการทำตลาด” ธนะบุลกล่าว

    ในขณะเดียวกัน สภาพเศรษฐกิจก็ทำให้ทีวี ไดเร็คต้องปรับพอร์ตสินค้าด้วย โดยจัดแพ็กเกจสินค้าให้เล็กลงเพื่อให้ราคาถูกลงต่อการซื้อหนึ่งครั้ง เช่น เซตหม้อทำอาหาร 4 ชิ้นปรับเหลือเซ็ตละ 3 ชิ้น รวมถึงปรับระยะเวลาผ่อนซื้อให้นานขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นลูกค้า

    นอกจากนี้ จากสถิติมูลค่าการซื้อเฉลี่ย 1,500-1,600 บาทต่อครั้ง ลูกค้าเก่าช้อปปิ้งเฉลี่ยปีละ 1.5-1.6 ครั้ง ธนะบุลมองว่าจะต้องเพิ่มความถี่ในการซื้อของลูกค้า ดังนั้นปีนี้จะเพิ่มรายการสินค้าประเภทซื้อซ้ำ เข้ามาให้มากขึ้น ที่มีจำหน่ายขณะนี้ เช่น กาแฟ อาหารสุขภาพ เครื่องปรุงรส ข้าวกล้อง แชมพู สบู่

    ส่วนในอนาคต ธนะบุลแย้มว่ากำลังปลุกปั้นดีลนำสินค้าประเภท “บริการ” เข้ามาขายผ่านช่องทางที่ทีวี ไดเร็คมีอยู่แล้ว ที่อาจจะได้เห็นในปีนี้คือ “แพ็กเกจโรงแรม” ซึ่งต้องการช่องทางขายให้มากที่สุดท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจแบบนี้

    ]]>
    1259773
    “โฮมช้อปปิ้ง” ยังเกลื่อนจอ เมื่อ “ทีวีดิจิทัล” ต้องดิ้นรนหารายได้ในยุคโฆษณาถดถอย https://positioningmag.com/1242802 Sun, 18 Aug 2019 23:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242802 มีคำถามว่าเมื่อทีวีดิจิทัล” 7 ช่องคืนใบอนุญาตลาจอไปแล้ว อีก 15 ช่องที่เหลือจะมีทิศทางอย่างไร ทั้งโอกาสหารายได้จากโฆษณาและจำนวนผู้ชมย้ายช่อง

    การยุติออกอากาศทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง ซึ่งเริ่ม 3 ช่องแรกไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2562 คือ Spring 26, Spring News และ Bright TV ขณะที่อีก 4 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย Voice TV, MCOT Family, CH 3 Family และ CH 3 SD จะทยอย “จอดำ” ในเดือน ก.ย. – ต.ค. นี้

    สำหรับ 7 ช่องทีวีดิจิทัล มีส่วนแบ่งการตลาดผู้ชมราว 8% และเม็ดเงินโฆษณารวมกันเฉลี่ยเดือนละ 120 ล้านบาท หรือปีละ 1,400 ล้านบาท หลังจากทั้ง 7 ช่องลาจอ ผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาจะไหลไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์และทีวีดิจิทัลที่มีฐานผู้ชมใกล้เคียงกันแทน ซึ่งเป็นเม็ดเงินไม่มากนักและไม่ได้มีผลต่อ 15 ช่องที่เหลือ

    ทีวีโฮมช้อปปิ้งหนุนรายได้

    ดร.กมลมาลย์ แจ้งล้อม นักวิเคราะห์อาวุโส Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่อง “ระยะสั้น” จะส่งผลบวกต่อภาพรวมอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล “เล็กน้อย” เนื่องจากรายได้จากการโฆษณาของทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่องในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนเฉลี่ยต่ำกว่า 5% ของมูลค่าโฆษณาทางทีวีทั้งหมด ขณะที่ผู้ประกอบการที่เหลืออยู่ยังคงต้องเผชิญกับแรงกดดันต่อเนื่อง จากรายได้โฆษณาที่ลดลง

    ยิ่งไปกว่านั้นภาวะเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศที่ผันผวนในปีนี้ รวมถึงการปรับราคาโฆษณาทีวีสูงขึ้นกว่า 4% ส่งผลให้ภาคธุรกิจและเจ้าของผลิตภัณฑ์ชะลอการลงเม็ดเงินโฆษณาออกไป โดย “นีลเส็น” รายงานการใช้เม็ดเงินในการโฆษณาทีวีครึ่งปีแรกนี้ ลดลง 1% มาอยู่ที่ราว 3.3 หมื่นล้านบาท

    ในระยะกลาง อีไอซี ประเมินว่า ผู้ประกอบการ “ทีวีดิจิทัล” ที่เหลืออยู่สามารถสร้างรายได้และผลกำไรที่ดีขึ้นจากเม็ดเงินโฆษณาจากกลุ่มทีวีโฮมช้อปปิ้ง ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง เช่น TV Direct, Sanook Shopping, O Shopping ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโฆษณาจากแบบช่วงเวลาเป็นการโฆษณาขายสินค้าตลอดทั้งวัน ส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาของธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 2,500 ล้านบาทต่อปี เม็ดเงินเหล่านี้ได้กลายเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของช่องทีวีดิจิทัล

    รวมถึงจำนวนผู้ประกอบการทีวีโฮมช้อปปิ้ง “หน้าใหม่” ที่เข้ามาแข่งขันทำตลาดมากส่งผลให้เม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

    ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ต่างมีแผนปรับกลยุทธ์ซื้อคอนเทนต์ใหม่ๆ จากผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศเพื่อชิงเรตติ้งผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นราว 30% คิดเป็นเงินลงทุนกว่า 8,000 ล้านบาทในปีนี้ แทนการผลิตคอนเทนต์เองที่มีต้นทุนสูงกว่า ทำให้มีรายจ่ายลดลงและมีกำไรดีขึ้น รวมทั้งมีการปรับสัดส่วนโครงสร้างธุรกิจ โดยขยายช่องทางการรับชมผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้นสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้และต่อยอดในการทำธุรกิจในอนาคต

    “ทีวีไดเร็ค” พึ่งช่อง 3 หลังสปริงนิวส์จอดำ

    “ทีวีไดเร็ค” ถือเป็นหนึ่งในผู้เล่นรายใหญ่ของธุรกิจทีวีโฮมช้อปปิ้ง ที่ผ่านมาเช่าเวลาออกอากาศรายการทาง “ทีวีดิจิทัล” โดยเฉพาะช่องสปริงนิวส์ 19 ที่ยุติออกอากาศ คืนใบอนุญาตไปแล้ว ทำให้ครึ่งปีหลัง “ทีวีไดเร็ค” ต้องปรับตัวหาช่องทางออกอากาศรายการเพิ่มเติม

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD กล่าวว่าได้เจรจาซื้อเวลาโฆษณาจากทีวีดิจิทัล ช่อง 33 หรือ ช่อง 3 ทั้งช่วงเช้า กลางวัน เย็น และค่ำ ในรายการต่างๆ เช่น ข่าวเช้า ข่าวเที่ยง ละครเย็น ฯลฯ เพื่อเพิ่มยอดขายจากการออกอากาศรายการแนะนำสินค้า หรือ โฮมช้อปปิ้ง และเตรียมเริ่มออกอากาศโฮมช้อปปิ้งช่องใหม่ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 54 ในเดือน ต.ค. นี้

    ช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ทีวีไดเร็ค ได้รับผลกระทบจากยอดขายสินค้าผ่านโฮมช้อปปิ้ง ทางช่อง สปริงนิวส์ 19 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากสปริงนิวส์ ขอคืนช่องและยุติออกอากาศในวันที่ 16 ส.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้เรตติ้งผู้ชมเริ่มลดลงอย่างมากตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่แจ้งคืนช่องก่อนยุติออกอากาศ

    โฮมช้อปปิ้งแชมป์ใช้งบโฆษณา

    ตัวเลขเม็ดเงินโฆษณา 7 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ค. 2562) ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง ยังเป็นแชมป์ใช้งบโฆษณารวม 4 รายใหญ่ มูลค่า 3,735 ล้านบาท เบอร์หนึ่ง คือ Shop 1781 ของ อาร์เอส ทางช่อง 8 มูลค่า 1,508 ล้านบาท ตามด้วย “ทีวีไดเร็ค” ที่กระจายอยู่หลายช่องทีวีดิจิทัล รวมมูลค่าใช้งบโฆษณา 904 ล้านบาท ส่วน Sanook Shopping (สนุก ช้อปปิ้ง) มูลค่า 717 ล้านบาท ตามด้วย O Shopping (โอ ช้อปปิ้ง) มูลค่า 606 ล้านบาท  จากข้อมูลของ นีลเส็น ยังพบว่าเดือน ก.ค. ปรากฏชื่อธุรกิจไดเร็คเซล แบรนด์เล็กๆ ใช้งบโฆษณาอีกมูลค่ากว่า 65 ล้านบาท

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด วิเคราะห์ว่า แม้มีทีวีดิจิทัลออกจากตลาด 7 ช่อง กลุ่มที่เหลืออยู่อีก 15 ช่องก็ยังต้องเหนื่อยต่อไป เพราะอุตสาหกรรมโฆษณาทีวี ยังอยู่ในภาวะ “ทรงตัว”  และมีแนวโน้มถดถอย ปี 2563 คาดว่าอุตสาหกรรมโฆษณา “ติดลบ” 2.83%

    สื่อทีวีเองก็มีแนวโน้มลดลงจากปี 2561 ที่มีมูลค่า 47,785 ล้านบาท ปี 2562 คาดการณ์มูลค่าอยู่ที่ 47,300 ล้านบาท และปี 2563 งบโฆษณามูลค่าอยู่ที่ 40,500 ล้านบาท การเติบโตอยู่ใน 2 สื่อหลัก คือ สื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน (OOH)

    วันนี้แหล่งรายได้สำคัญนอกจากเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่กลุ่มเรตติ้งท็อป 5 ครองสัดส่วน 70 – 80% นำโดย ช่อง 7 และช่อง 3 จึงพบว่า “หลายช่อง” ต้องพึ่งพารายได้จากโฆษณาและการเช่าเวลาของรายการประเภทโฮมช้อปปิ้ง ซึ่งสื่อทีวี ถือว่าตอบโจทย์การเข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ยังเป็นช่องทางนำเสนอคอนเทนต์ประเภทแนะนำสินค้าได้ดีกว่าสื่อรูปแบบอื่น

    ปัจจุบันมีความชัดเจนว่า บิสสิเนส โมเดล ของ “อาร์เอส” ที่ใช้ช่อง 8 และไทยรัฐทีวี เป็นสื่อทำรายการโฮมช้อปปิ้ง ให้กับธุรกิจ MPC สามารถพลิกธุรกิจจากสื่อทีวีสู่ธุรกิจพาณิชย์ที่สร้างรายได้และกำไรให้กับอาร์เอส ต่างจากทีวีดิจิทัลช่องอื่นๆ ที่ต้องเผชิญภาวะขาดทุนมาต่อเนื่อง และกลายเป็นโมเดลให้หลายช่องเริ่มหันมาทำธุรกิจโฮมช้อปปิ้งเอง แทนการปล่อยเช่าเวลา

    การ “ลาจอ” ของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล ต้องบอกว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลมากนักและรูปแบบการหารายได้ก็ยังต้องพึ่งพารายการโฮมช้อปปิ้งอยู่ต่อไป.

    ]]>
    1242802
    โฆษณา ก.ค. “ติดลบ” ต่ำสุดในรอบปี “ทีวีช้อปปิ้ง” แข่งสาดงบยึดท็อปเท็นแบรนด์ https://positioningmag.com/1242144 Tue, 13 Aug 2019 09:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242144 เม็ดเงินโฆษณาเดือน .. 2562 เริ่มเห็นสัญญาณกระเตื้อง หากเปรียบเทียบในรอบปีนี้ แม้ยังติดลบแต่ถือว่าต่ำสุดในรอบปี ขณะที่สื่อดั้งเดิมส่วนใหญ่ยังคงลดลง และแบรนด์ทีวีช้อปปิ้งยังคงใช้จ่ายเงินในอันดับท็อปเท็น

    บริษัทนีลเส็น (ประเทศไทย) รายงานการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อเดือน ก.ค. 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มีมูลค่า 9,143 ล้านบาท ติดลบ 0.42% ถือเป็นอัตราการลดลงน้อยที่สุดในรอบปีนี้ เพราะหากดูตัวเลขเดือน ม.ค. มูลค่า 7,240 ล้านบาท ติดลบ 2.20% เดือน ก.พ. มูลค่า 7,603 ล้านบาท ติดลบ 1.17% เดือน มี.ค. มูลค่า 9,267 ล้านบาท ติดลบ 1.68% เดือน เม.ย. มูลค่า 8,543 ล้านบาท ติดลบ 1.58% เดือน พ.ค. มูลค่า 8,789 ล้านบาท ติดลบ 2.11% และเดือน มิ.ย. มูลค่า 9,044 ล้านบาท ติดลบ 5.38%

    โฆษณา ก.ค. สื่อดั้งเดิมยังอ่วม

    ตัวเลขงบโฆษณา ก.ค. 2562 สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานการณ์ “ติดลบ” โดยเฉพาะกลุ่มสื่อดั้งเดิม (traditional media) เริ่มจาก ทีวี มูลค่า 5,774 ล้านบาท ลดลง 3.33% เคเบิลและทีวีดาวเทียม มูลค่า 193 ล้านบาท ลดลง 3.50% วิทยุ มูลค่า 412 ล้านบาท ลดลง 1.44% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 400 ล้านบาท ลดลง 27.67% นิตยสาร มูลค่า 76 ล้านบาท ลดลง 24.75% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 588 ล้านบาท ลดลง 0.34%

    ส่วนสื่อที่ “เติบโต” ในเดือน ก.ค. นี้ คือ สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 979 ล้านบาท เติบโต 55.89% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 504 ล้านบาท เติบโต 1.20% สื่อในห้างฯ มูลค่า 99 ล้านบาท เติบโต 8.79% และสื่อดิจิทัล 118 ล้านบาท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการเก็บด้วยเทคโนโลยี Crawler ของนีลเส็น เริ่มเดือน พ.ค. 2562 จึงยังไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบ

    สำหรับเม็ดเงินโฆษณา 7 เดือน (ม.ค. – ก.ค.) มีมูลค่า 59,861 ล้านบาท ติดลบ 1.74% โดยสื่อดั้งเดิมส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในภาวะ “ติดลบ” เริ่มจาก “ทีวี” มีมูลค่า 38,864 ล้านบาท ติดลบ 0.97% เคเบิล/ทีวีดาวเทียม มูลค่า 1,269 ล้านบาท ติดลบ 11.88% วิทยุ มูลค่า 2,587 ล้านบาท ติดลบ 3.36% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 2,788 ล้านบาท ติดลบ 19.33% นิตยสาร มูลค่า 594 ล้านบาท ติดลบ 21.22%

    ส่วนสื่อโฆษณาที่ “เติบโต” ประกอบด้วย สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลค่า 4,660 ล้านบาท เติบโต 4.39% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 3,961 ล้านบาท เติบโต 0.99% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 3,651 ล้านบาท เติบโต 5.37% สื่อในร้านค้า มูลค่า 612 ล้านบาท เติบโต 1.16% และสื่อดิจิทัล มูลค่า 422 ล้านบาท


    ท็อปเท็นแบรนด์สาดงบตัวเลข “บวก” ทุกราย

    สำหรับกลุ่ม “ท็อปเท็น” แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือน ก.ค. 2562 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พบว่า “ทุกแบรนด์” ที่ติด 10 อันดับแรก ใช้งบเพิ่มทุกราย

    นำโดย ทีวีไดเร็ค มูลค่า 155 ล้านบาท จาก 126 ล้านบาท ธนาคารออมสิน มูลค่า 110 ล้านบาท จาก 105 ล้านบาท การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มูลค่า 94 ล้านบาท จาก 44 ล้านบาท โค้ก มูลค่า 91 ล้านบาท จาก 85 ล้านบาท บาท สนุก ช้อปปิ้ง มูลค่า 79 ล้านบาท (ไม่มีมูลค่าเปรียบเทียบกับปีก่อน)

    โอ ช้อปปิ้ง มูลค่า 77 ล้านบาท จาก 9 ล้านบาท เป๊ปซี่ มูลค่า 77 ล้านบาท จาก 19 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ซักผ้าดาวน์นี่ มูลค่า 67 ล้านบาท จาก 54 ล้านบาท ทิพยประกันชีวิต มูลค่า 65 ล้านบาทจาก 2.6 ล้านบาท ไดเร็คเซล มูลค่า 65 ล้านบาท จาก 8.6 ล้านบาท

    หากดูตัวเลขการใช้งบโฆษณาของกลุ่ม 10 อันดับแบรนด์ ยังไม่เปลี่ยนแปลงจากก่อนหน้านี้ ที่ธุรกิจ “ไดเร็คเซล” เป็นแบรนด์ที่ใช้เงินสูงสุด เนื่องจากมีการโฆษณาและจัดรายการผ่านช่องทีวีดิจิทัล รูปแบบ “ทีวีช้อปปิ้ง” ของผู้ประกอบการหลายแบรนด์ รวมทั้งผู้เล่นรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด


    FMCG ยังครองแชมป์ฝั่งองค์กร

    ฝั่งที่ “ท็อปเทน” องค์กรที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด เดือน ก.ค. 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนใหญ่ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ที่มีสินค้าในพอร์ตโฟลิโอหลายแบรนด์ จะครองตลาดนี้

    เบอร์หนึ่งตลอดกาล คือ ยูนิลีเวอร์ (ไทย) เดือน ก.ค. 2562 ใช้งบมูลค่า 259 ล้านบาท ลดลงจาก 325 ล้านบาท ตามมาด้วย พีแอนด์จี มูลค่า 252 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 213 ล้านบาท ลอรีอัล มูลค่า 187 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 134 ล้านบาท โตโยต้า มอเตอร์ มูลค่า 166 ล้านบาท ลดลงจาก 194 ล้านบาท ทีวีไดเร็ค มูลค่า 155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 126 ล้านบาท

    ธุรกิจไดเร็คเซล รายใหม่ มูลค่า 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านบาท เป๊ปซี่ มูลค่า 142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านบาท เนสท์เล่ (ไทย) มูลค่า 142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านบาท ตรีเพชรอีซูซุ มูลค่า 128 ล้านบาท ลดลงจาก 118 ล้านบาท และ ไบเออร์สดอร์ฟ มูลค่า 112 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 121 ล้านบาท.


    หมายเหตุจากนีลเส็น

    นีลเส็น ชี้แจงว่าข้อมูลเม็ดเงินโฆษณา ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ in banner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global

    สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมด ให้อ้างอิงข้อมูลจาก DAAT

    สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit) : มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560

    นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit) ป้ายบิลบอร์ด ป้ายโฆษณาบนทางเท้า สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา

    สื่อในห้าง : นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

    ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

    ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้ง สื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้างฯ

    ]]>
    1242144
    “ทีวีไดเร็ค” ปั้นโฮมช้อปปิ้ง Women Channel ลงจอทรูวิชั่นส์ ดึง 70 คนดังนำเสนอสินค้ากลุ่มบิวตี้ https://positioningmag.com/1240660 Sat, 27 Jul 2019 01:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240660 ถือเป็นผู้เช่าเวลารายใหญ่ในช่องทีวีดิจิทัล ทำธุรกิจโฮม ช้อปปิ้งที่มีรายการอยู่เกือบทุกช่อง แต่ในวันที่ทีวีดิจิทัล” 7 ช่องขอลาจอ ส่วนที่เหลืออยู่ก็หันมาทำตลาดทีวี ช้อปปิ้งเองทีวีไดเร็คจึงต้องหันมาโฟกัสแพลตฟอร์มเคเบิลและทีวีดาวเทียมให้มากขึ้น

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD กล่าวว่าได้เตรียมเปิดตัว “โฮม ช้อปปิ้ง” ช่องใหม่ภายใต้ชื่อช่อง TVD 4” ทางทรูวิชั่นส์ ช่อง 54 คาดว่าจะเริ่มทดลองออกอากาศได้ในเดือน ต.ค. นี้ วางรูปแบบเป็นช่องโฮมช้อปปิ้งที่แตกต่าง ด้วยคอนเซ็ปต์ Women Channel” หรือช่องโฮมช้อปปิ้งเพื่อผู้หญิง ผู้ใส่ใจสุขภาพผิวและความงาม

    โดยร่วมมือกับพาร์ตเนอร์และพันธมิตรทางธุรกิจ บริษัท แกรททิทูด อินฟินิท พาร์ทเนอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GIFT ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาส่วนผสมเพื่อผลิตเครื่องสำอาง พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อนำเสนอสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมผ่านช่องโฮมช้อปปิ้งดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดี

    กลยุทธ์นำเสนอสินค้าจะรวบรวมดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงประมาณ 70 คน ที่ปัจจุบันเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวและความงาม อาทิ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าและผิวกาย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ฯลฯ หมุนเวียนมานำเสนอสินค้าและทำการตลาดในช่องดังกล่าว หากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับดีจะกระจายการแนะนำสินค้าไปยังช่องโฮมช้อปปิ้งอื่นๆ ของกลุ่มบริษัทอีกด้วย

    ปัจจุบันทีวีไดเร็คยังเช่าเวลาทีวีดิจิทัลหลายช่องเพื่อนำเสนอสินค้าโฮมช้อปปิ้ง และจะเช่าเวลาช่องทีวีดาวเทียมเพิ่มรวม 10 ช่อง นอกจากนี้ยังมีช่องทางการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ภายใต้กลยุทธ์ “ออมนิ แชนแนล”

    แตกไลน์ธุรกิจใหม่เอเยนซี

    นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับ TRI-STAGE INC ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจากประเทศญี่ปุ่น แตกไลน์ธุรกิจใหม่ให้บริการ Direct Response Agency (DRA) หรือเอเยนซีสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดและสื่อโฆษณาแบบเจาะตรงถึงผู้บริโภคที่หวังผลตอบสนองในทันที ซึ่งเป็นการต่อยอดจากประสบการณ์ 20 ปีในการทำตลาดให้กับสินค้าต่างๆ และใช้บุคลากรที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ ที่ผ่านมาเริ่มมีลูกค้าที่ใช้บริการบ้างแล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มคอลลาเจนจากญี่ปุ่น นมผง อาหารเสริมที่เป็นแบรนด์ชั้นนำ เป็นต้น

    รวมทั้งจะเพิ่มยอดขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ที่มีแนวโน้มการเติบโตได้ดี โดยช่วงครึ่งปีหลังจะร่วมมือกับเว็บไซต์ อี-คอมเมิร์ช และ Social Media พัฒนาแคมเปญส่งเสริมการขายและจัดกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย รองรับความต้องการสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ที่กำลังขยายตัว

    ]]>
    1240660
    เม็ดเงินโฆษณาไม่ปังติดลบ 2% โฮมช้อปปิ้งยึดจอยาว sanook เปย์เบอร์ 1 แซงทีวีไดเร็ค https://positioningmag.com/1234262 Wed, 12 Jun 2019 12:14:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1234262

    ผ่านมาถึง 5 เดือนเต็ม แต่เม็ดเงินโฆษณายังคงติดลบต่อเนื่อง จากการเปิดเผยของนีลเส็น พบว่าเดือน .. 2562 ใช้งบโฆษณารวม 8,789 ล้านบาท

    ทีวียังครองเม็ดเงิน 60% ด้วยงบ 5,728 ล้านบาท ตามด้วย สื่อในโรงภาพยนตร์ 664 ล้านบาท สื่อนอกบ้าน 565 ล้านบาท

    สื่อบนรถประจำทาง 483 ล้านบาท หนังสือพิมพ์ 475 ล้านบาท วิทยุ 354 ล้านบาท เคเบิลทีวี/ดาวเทียม 200 ล้านบาท

    สื่อดิจิทัล 146 ล้านบาท สื่อในห้าง 93 ล้านบาท นิตยสาร 81 ล้านบาท


    10 แบรนด์ใช้งบโฆษณาสูงสุด โฮมช้อปปิ้งนำ

    เดือน พ.. โฮมช้อปปิ้งยังคงครองอันดับการใช้งบโฆษณาสูงสุด เพื่อต้องการแจ้งเกิดโดยเร็ว น้องใหม่อย่าง Sanook Shopping Direct Sales จึงอัดงบแซงหน้า TV Direct ไปแบบฉิวเฉียด ด้วยงบโฆษณา 102 ล้านบาท ส่วนทีวีไดเร็คใช้ไป 99 ล้านบาท ห่างกันแค่ 2 ล้านบาท

    อันดับ 3 เครื่องดื่มโค้ก 96 ล้านบาท อันดับ 4 ธนาคารออมสิน 95 ล้านบาท อันดับ นมผง s-26 รายนี้มาแรง อัดโฆษณาแทบทุกช่วง ใช้งบไป 86 ล้านบาท  อันดับ 6 O-Shopping 83 ล้านบาท

    อันดับ 7 น้ำยาปรับผ้านุ่ม ดาวน์นี่ อันดับ 8 Direct Sale Unknow 73 ล้านบาท อันดับ 9 เนสกาแฟ พร้อมดื่ม 73 ล้านบาท อันดับ 10 โทรศัพท์มือถือซัมซุง


    10 องค์กรใช้งบโฆษณาสูงสุด

    บริษัท ยูนีลีเวอร์ (ไทย) ยังคงครองอันดับ 1 แต่การใช้งบโฆษณาลดลง 323 ล้านบาท อันดับ 2 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 215 ล้านบาท อันดับ 3 Unknow Advertising Direct Sale 186 ล้านบาท

    อันดับ 4 บริษัท เนทสเล่ (ไทย) 146 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 145 ล้านบาท (ใช้ลดลง) อันดับ 6 บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด 125 ล้านบาท อันดับ 7 บริษัท โคคาโคลา (ประเทศไทย) 124 ล้านบาท

    อันดับ 8 บริษัท เป๊ปซีโคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง 109 ล้านบาท อันดับ 9 GMM Grammy 105 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท ตรี เพ็ชร อีซูซุ เซลส์ 104 ล้านบาท

    ทั้งนี้ นีลเส็นแจ้งว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ได้เปลี่ยนวิธีการเก็บข้อมูลในสื่อ Internet จากการเก็บในรูปแบบ manual ทีใช้พนักงานเก็บข้อมูลจำนวน 50 website +10 mobile web มาเป็นการใช้เทคโนโลยี Crawler เพื่อจัดเก็บข้อมูลโฆษณาบนเว็บไซต์ จำนวนทั้งหมด 200 เว็บไซต์ ซึ่งจะใช้ชื่อสื่อใหมนี้ว่า ‘Digital’ ซึ่งเป็นสื่อในรูปแบบ Text, Flash, HTML5, Image, Skin, Video และ inbanner video ทั้งโฆษณาจาก Direct, Indirect programmatic และนำมาคำนวณตาม Rate card กลาง จากวิธีการคำนวณของทีมนีลเส็น Global.


    หมายเหตุสำคัญ

    สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdoor และ transit จาก  JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 

    นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit),ป้ายบิลบอร์ด, ป้ายโฆษณาบนทางเท้าสื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 เป็นต้นมา  

    อินเทอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ

    สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT

    สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูล สื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

    ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

    ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้งสื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง

    *****ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562 เป็นต้นมา การเก็บข้อมูลจากสื่ออินเทอร์เน็ต เปลี่ยนเป็นการเก็บข้อมูลจากสื่อดิจิทัล โดยเพิ่มจาก 60 เว็บไซต์ เป็น 200 เว็บไซต์ *****

     

    ]]>
    1234262
    แค่โฮมช้อปปิ้งไม่พอ! TVD แตกไลน์ขายคอนเทนต์นำร่อง CLMV https://positioningmag.com/1233925 Tue, 11 Jun 2019 06:03:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233925 เป็นผู้บุกเบิก “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” ในไทยมากว่า 20 ปี สำหรับ “ทีวีไดเร็ค” มาถึงวันนี้กลายเป็นอีกสมรภูมิแข่งเดือด จากทั้งผู้เล่นต่างชาติและฝั่งไทย โดยเฉพาะ “ทีวีดิจิทัล” ที่เดิมเป็นพันธมิตรปล่อยเช่าเวลา แต่วันนี้ก้าวเข้ามาในฐานะคู่แข่ง เจ้าตลาดอย่างทีวีไดเร็ค จึงต้องมองหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการผ่าน Omni Channel กล่าวว่าบริษัทแตกไลน์สู่ธุรกิจรับจำหน่ายคอนเทนต์ในประเทศ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา หรือกลุ่ม CLMV หลังจากเจรจาขอซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ประเภทสารคดีและซีรีส์ละครอินเดียจำนวน 60 – 70 เรื่องจากบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN เป็นเวลา 2 ปี และได้รับสิทธิ์เพิ่มเติมให้นำคอนเทนต์บางส่วนที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อต่อยอดสร้างรายได้

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ

    โดยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เริ่มนำคอนเทนต์ในส่วนที่ได้รับสิทธิ์จำหน่ายใน 3 ประเทศดังกล่าว เสนอขายผ่านเอเย่นต์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ปรากฏว่ามีผลตอบรับน่าพอใจ สามารถปิดการขายคอนเทนต์สารคดีและซีรีส์ละครอินเดียจากลูกค้าในกัมพูชาและเวียดนาม รวมมูลค่า 40 ล้านบาท จากเดิมคาดว่าจะมียอดขายคอนเทนต์ในช่วงแรกเฉลี่ยเดือนละ 12 – 20 ล้านบาท

    การซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์จำนวนมากจาก JKN เพื่อนำมาต่อยอดจากธุรกิจหลักที่มีแผนขยายการดำเนินธุรกิจรูปแบบการเป็นผู้ร่วมผลิตรายการกับทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ ซึ่งจะทำให้ TVD มีคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้งการผลิตรายการเสนอขายสินค้า รายการสารคดี ซีรีส์ และละครอินเดีย ช่วยเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม จากเดิมที่มี “โฮมช้อปปิ้ง” เป็นหลัก อีกทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพและขยายฐานผู้รับชมแก่ช่องทีวีดิจิทัลที่เป็นคู่ค้าอีกด้วย

    “การทำธุรกิจปัจจุบันจะหยุดนิ่งไม่ได้ เราต้องมองโอกาสใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน รวมถึงมีพันธมิตรธุรกิจที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน การที่เรามีคอนเทนต์รูปแบบอื่นๆ ในมือเพิ่มขึ้น จะสามารถนำเสนอรายการเป็นแพ็กเกจในการเจรจากับทีวีดิจิทัลเพื่อเป็นผู้ร่วมผลิตรายการทีวี”.

    ]]>
    1233925
    แค่โฮมช้อปปิ้งไม่พอ! TVD แตกไลน์ขายคอนเทนต์นำร่อง CLMV https://positioningmag.com/1233912 Tue, 11 Jun 2019 05:46:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233912 เป็นผู้บุกเบิก “โฮมช้อปปิ้ง” ในไทยมากว่า 20 ปี สำหรับ “ทีวีไดเร็ค”  มาถึงวันนี้กลายเป็นอีกสมรภูมิแข่งเดือด จากทั้งผู้เล่นต่างชาติและฝั่งไทย โดยเฉพาะ “ทีวีดิจิทัล” ที่เดิมเป็นพันธมิตรปล่อยเช่าเวลา แต่วันนี้ก้าวเข้ามาในฐานะคู่แข่ง เจ้าตลาดอย่างทีวีไดเร็ค จึงต้องมองหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) หรือ TVD ผู้ดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการผ่าน Omni Channel กล่าวว่าบริษัทแตกไลน์สู่ธุรกิจรับจำหน่ายคอนเทนต์ในประเทศ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา หรือกลุ่ม CLMV  หลังจากเจรจาขอซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ประเภทสารคดีและซีรีส์ละครอินเดียจำนวน 60-70 เรื่อง จากบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN เป็นเวลา 2 ปี และได้รับสิทธิ์เพิ่มเติมให้นำคอนเทนต์บางส่วนที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปจำหน่ายในกลุ่มประเทศดังกล่าวเพื่อต่อยอดสร้างรายได้

    โดยตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ได้เริ่มนำคอนเทนต์ในส่วนที่ได้รับสิทธิ์จำหน่ายใน 3 ประเทศดังกล่าว เสนอขายผ่านเอเย่นต์ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ปรากฏว่ามีผลตอบรับ

    น่าพอใจ สามารถปิดการขายคอนเทนต์สารคดีและซีรีส์ละครอินเดียจากลูกค้าในกัมพูชาและเวียดนาม รวมมูลค่า 40 ล้านบาท จากเดิมคาดว่าจะมียอดขายคอนเทนต์ในช่วงแรกเฉลี่ยเดือนละ 12-20 ล้านบาท

    การซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์จำนวนมากจาก JKN เพื่อนำมาต่อยอดจากธุรกิจหลักที่มีแผนขยายการดำเนินธุรกิจรูปแบบการเป็นผู้ร่วมผลิตรายการกับทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ ซึ่งจะทำให้ TVD มีคอนเทนต์ที่หลากหลาย ทั้งการผลิตรายการเสนอขายสินค้า รายการสารคดี ซีรีส์ และละครอินเดีย ช่วยเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติม จากเดิมที่มี “โฮมช้อปปิ้ง”เป็นหลัก อีกทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพและขยายฐานผู้รับชมแก่ช่องทีวีดิจิทัลที่เป็นคู่ค้าอีกด้วย

    “การทำธุรกิจปัจจุบันจะหยุดนิ่งไม่ได้ เราต้องมองโอกาสใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน รวมถึงมีพันธมิตรธุรกิจที่จะส่งเสริมซึ่งกันและกัน การที่เรามีคอนเทนต์รูปแบบอื่นๆ ในมือเพิ่มขึ้น จะสามารถนำเสนอรายการเป็นแพ็คเกจในการเจรจากับทีวีดิจิทัลเพื่อเป็นผู้ร่วมผลิตรายการทีวี”

    ข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1233912
    ก่อนจะกลายเป็นของคนอื่น! TV Direct เอา “โอ้ว พระเจ้าจอร์จ มันยอดมาก” กลับมาช่วยสู้ศึกทีวีโฮมช้อปปิ้ง https://positioningmag.com/1227465 Tue, 30 Apr 2019 05:55:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1227465 หากจะถามว่าภาพจำของคนทั่วไปที่มีต่อ TV Direct คืออะไร? แน่นอนคนในวัย 20 กว่าๆ ขึ้นไปคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าโอ้ว พระเจ้าจอร์จ มันยอดมากซึ่งเป็นคำพูดที่จอร์จซาร่าใช้พูดบ่อยที่สุดตอนบรรยายสรรพคุณของสินค้า แต่วลีนี้ก็หายไปนานนับ 10 ปี ก่อนจะกลับมาให้เห็นตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา

    สำหรับจอร์จซาร่าถูก TV Direct ให้นิยามว่าเป็น Asset หรือสินทรัพย์เพราะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป แต่ที่หายไปเพราะคนข้างในมีความรู้สึกว่าเบื่อ เลยหันไปใช้อย่างอื่นแทน แต่ความเป็นจริงทั้งคู่ยังถูกลูกค้าถามถึงอยู่เสมอ จน TV Direct รู้สึกว่าก่อนที่ Signature จะกลายเป็นของคนอื่น ควรจะต้องนำกลับมาใช้แล้ว

    หลักๆ ได้ถูกแปลงจากคนไปเป็นตัวการ์ตูน ทำเป็นสติกเกอร์ติดไปกับสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภค Remind ถึง และจะโผล่เข้าไปในฉากกับโฆษณาต่างๆ ส่วนการนำคนมาสวมคาแร็กเตอร์คงจะไม่ได้เห็น เพราะ TV Host ในวันนี้ทำได้เรียลและคนเชื่ออยู่แล้ว

    จอร์จซาร่ากลับมาพร้อมกับความท้าทายของ TV Direct ที่กำลังเจอศึกใหญ่อยู่ เพราะแต่เดิมทีวีโฮมช้อปปิ้งในบ้านเรา มีผู้เล่นอยู่ประมาณ 9 ราย แต่วันนี้กลับมีผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งไม่ใช่ใครที่ไหนคือทีวีดิจิทัล ซึ่งกำลังเจอภาวะช่องที่เยอะเกินไป เม็ดเงินโฆษณาที่ลดลง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป เข้ามากระทบกับรายได้ จึงต้องหาแหล่งอื่นเข้ามาเสริม

    กรณีศึกษาคือช่อง 8” ที่กระโดดเข้ามาแล้วรุ่ง ใช้เวลา 4 ปีสร้างยอดขายจากหลักร้อยล้านบาท สู่ 2,127 ล้านบาท เติบโตกว่า 53% ถึงกับเปลี่ยนหมวดธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์จากหมวดธุรกิจสื่อ ไปยังหมวดธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ความสำเร็จนี้เองทีวีดิจิลเลยเอาบ้าง

    ในวันนี้จึงมีทั้ง NEW TV, Thairath TV, MONO 29, Workpoint, Bright TV และอีก 3 ช่องในเครือนิวส์ เน็ตเวิร์ค รวมๆ กว่า 9 ช่อง

    ก่อนหน้านี้ TV Direct สนใจทีวีดิจิทัล โดยเจรจากับ Spring News ใช้เงินราว 1,080 ล้านบาทเข้าซื้อหุ้น สุดท้ายดีลนี้ได้ถูกยกเลิกไป โดย TV Direct ยืนยันจะไม่กลับไปฟื้นดีลใหม่ ใช้วิธีเช่าเวลาแทน ปัจจุบันเช่าทั้งหมด 50 ชั่วโมงต่อวัน ลดลง 20 ชั่วโมงเนื่องจากทีวีดิจิทัลมาทำเอง นอกจากนี้ยังเช่าทีวีดิจิทัลตลอด 24 ชั่วโมงอีก 7 ช่อง

    แม้จะมีผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว แต่ในมุมมองของทรงพล ชัญมาตรกิจประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) บอกว่า ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากนัก เพราะตลาดทีวีโฮมช้อปปิ้งเมืองไทยมูลค่า 15,000 ล้านบาท น้อยมากเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ที่มีมูลค่า 700,000 ล้านบาท ทั้งๆ ที่มีประชากรน้อยกว่า

    ในเมืองไทยจำนวนผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นกลับจะช่วยกระตุ้นให้ตลาดเติบโต คาดปี 2019 ทะลุ 20,000 ล้านบาท เนื่องจากเมืองไทยฝั่งค้าปลีกแข็งแรงมาก และผู้บริโภคไม่ได้มีปัญหาอะไร หากจะต้องออกนอกบ้านไปซื้อของ ทีวีโฮมช้อปปิ้งจึงไม่ได้เติบโตหวือหวามากนัก ส่วนในแง่ของการแข่งขัน ถึงจะมีผู้เล่นมากขึ้น หากแต่ละรายมีฐานลูกค้าและ Positioning แตกต่างกัน

    TV Direct เคยพยายามขายเครื่องประดับแต่ไม่สำเร็จ ในขณะที่ SHOP CH กลับขายดี ช่อง 8 ขายเครื่องสำอางดีมาก ส่วนเราเองก็ขายเครื่องออกกำลังกายและสินค้าสำหรับผู้สูงอายุได้ดี ชี้ให้เห็นว่าแต่ละรายมีฐานลูกค้าเฉพาะอยู่แล้ว

    อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีฐานลูกค้าเฉพาะ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ถูกคนอื่นแย่งชิงไป หากไม่ปรับตัว สักวันก็จะถูกคนอื่นแซงไปได้ TV Direct จึงใช้โอกาสครบ 20 ปี รีแบรนด์ใหม่เปลี่ยนทั้งโลโก้ที่ใช้มากกว่า 15 ปี ใหม่

    นอกยังใช้สีน้ำเงินซึ่งมีผลวิจัยว่ากระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ามากที่สุด ได้เติมสีแดงและเหลืองเข้ามา พร้อมกับเปลี่ยนสี่เหลี่ยม เป็นปุ่มวิดีโอ 6 เหลี่ยม ซึ่งแฝงไว้ด้วยศาสตร์ฮวงจุ้ยที่เชื่อว่าจะ “ดึงพลังได้รอบทิศ”

    ปรับโมเดลธุรกิจชูความเป็น Omni Channel ใช้สื่ออนไลน์ทุกด้านทั้ง Facebook, Google, YouTube โดยปรับตัวเป็น Video Marketer ที่มีครบทั้งภาพ เสียง และคอนเทนต์ จากเดิมที่ใช้โมเดล TV Shopping

    เพื่อเจาะกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุ 25 – 54 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักมีประมาณกว่า 31.7 ล้านคน เน้นสร้าง Customer Experience เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคมีแนวโน้มซื้อสินค้าด้วยความรู้สึกและอารมณ์เพิ่มขึ้น

    ส่วนสื่อเดิมก็ไม่ทิ้ง เพราะกลุ่มที่มีอายุ 55 – 64 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นลูกค้าหลักมีกำลังซื้อสูง มีประมาณ 15.7 ล้านคน และเป็นกลุ่มที่ยังนิยมดูทีวี จึงทำให้การใช้สื่อแบบแมสมีเดียยังคงเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก 

    ด้านแคตตาล็อกก็ยังทำอยู่ เพราะแคตตาล็อกผู้บริโภคจะเปิดดูทุกหน้า ไม่เหมือนอ่านนิตยสารจึงมีโอกาสกระตุ้นให้ซื้อได้

    ปี 2019 วางรายได้ 4,800 ล้านบาท เติบโต 20% ภายใน 3 ปีต้องการ 8,000 – 9,000 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้ออนไลน์จาก 10% เป็น 50% ด้วย

    ทีวีโฮมช้อปปิ้ง 15,000 ล้านบาท “TV Direct” มียอดขายมากที่สุด

    • TV Direct ยอดขาย 4,000 ล้านบาท
    • ช่อง 8 ขอดขาย 2,200 ล้านบาท
    • O Shopping ยอดขาย 2,000 ล้านบาท
    • 1577 Home Shopping ยอดขาย 2,000 ล้านบาท
    • TVDmomo ยอดขาย 1,000 ล้านบาท

    ประเมินโดย TV Direct, เมษายน 2019

    ]]>
    1227465
    ทีวีดิจิทัลแห่ทำโฮมช้อปปิ้ง “จอร์จ-ซาร่า” ต้องพลิกเกมสู้ https://positioningmag.com/1219617 Wed, 13 Mar 2019 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219617 “ทีวีดิจิทัล” ที่มีจำนวน 22 ช่องในปัจจุบัน มากกว่ายุคแอนะล็อก “4 เท่าตัว” ทำให้ “แอร์ไทม์” เพิ่มขึ้นมหาศาล สวนทางกับงบโฆษณาสื่อทีวี ที่เป็นเม็ดเงินก้อนเดิมและไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนช่อง การอยู่รอดของทีวีดิจิทัลจึงต้องมุ่งหาแหล่ง “รายได้” ใหม่ ณ เวลานี้ดูเหมือน “โฮมช้อปปิ้ง” กลายเป็น “คำตอบ” ของหลายช่อง ที่งัดมาใช้เป็นกลยุทธ์ชิงเค้กก้อนใหม่

    ปัจจุบันธุรกิจโฮมช้อปปิ้งยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องปีละกว่า 20% ปี 2561 มีมูลค่ากว่า 13,500 ล้านบาท คาดการณ์ว่าปี 2565 จะแตะ 20,000 ล้านบาท โดย “ผู้เล่น” ในตลาดนี้มี 11 รายใหญ่ ทั้งไทยและทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้นำในตลาดโฮมช้อปปิ้งของประเทศนั้นๆ

    ขณะที่ “ผู้เล่น” อย่างทีวีดิจิทัล แอคทีฟในการทำตลาดโฮมช้อปปิ้งเช่นกัน เพราะมีแอร์ไทม์ในมืออยู่แล้ว ช่วงแรกทุกช่องปล่อย “เช่าเวลา” ให้กับผู้ประกอบการโฮมช้อปปิ้ง แต่หลังจาก “อาร์เอส” สร้างปรากฏการณ์ “ขายครีม” บุกธุรกิจเฮลท์แอนด์บิวตี้ในปี 2558 และสร้างกำไรมาต่อเนื่อง ทำให้ทีวีดิจิทัลหันมาโฟกัสธุรกิจโฮมช้อปปิ้งอย่างจริงจัง

    โรลโมเดล “ช่อง 8”

    หากมองผู้เล่นในกลุ่มทีวีดิจิทัล ที่ลงมาทำตลาดเอง ต้องยอมรับว่า “อาร์เอส” เป็นผู้พลิกบิสสิเนสโมเดลธุรกิจสื่อ ที่เผชิญการแข่งขันสูงในยุคทีวีดิจิทัลและเทคโนโนโลยีดิสรัปชัน โดยใช้ “โฮมช้อปปิ้ง” เป็นตัวจุดกระแสและกลายเป็น Role Model ให้ทีวีดิจิทัลหลายช่องก้าวเข้าสู่ธุรกิจนี้

    เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร อาร์เอส เปิดตัว “ไลฟ์สตาร์” ธุรกิจสุขภาพและความงาม (Health&Beauty) ในปี 2558 ทำตลาดผ่านโฮมช้อปปิ้ง ช่อง 8 ที่เรตติ้งผู้ในกลุ่มผู้นำ ปัจจุบันพัฒนาสู่ธุรกิจพาณิชย์หลายช่องทาง (Multi-Platform Commerce : MPC) หรือ ธุรกิจคอมเมิร์ซ ที่ประกอบไปด้วย Shop 1781 ทางช่อง 8 และสื่อออนไลน์ ธุรกิจขายตรง การขายผ่านช่องทางค้าปลีก โดยทั้งหมดใช้สื่อในเครืออาร์เอสเป็นเครื่องมือเข้าถึงผู้บริโภค

    วันนี้ MPC กลายเป็นธุรกิจหลักของอาร์เอส สร้างรายได้และกำไรมากกว่ากลุ่มสื่อ สะท้อนจากผลประกอบการปี 2561 อาร์เอสทำ “นิวไฮ” เติบโตทั้งยอดขายและกำไรในรอบ 37 ปี มีกำไรสุทธิ 516 ล้านบาท เติบโต 55% ทำรายได้ 3,826 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.3% ธุรกิจ MPC มีรายได้ 2,126 ล้านบาท สัดส่วน 55% ของรายได้อาร์เอส

    ปีนี้อาร์เอสมั่นใจในบิสสิเนสโมเดล MPC ที่จะสร้างรายได้นิวไฮอีกครั้งด้วยตัวเลข 5,000 ล้านบาท โดยสัดส่วน MPC ขยับมาอยู่ที่ 60% ธุรกิจสื่อ 30% ธุรกิจเพลงและอีเวนต์ 10%

    “เฮียฮ้อ” บอกเสมอว่าธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง รวมทั้งเฮลท์แอนด์บิวตี้ ใครๆ ก็ทำได้ แต่ไม่มีใครทำได้เหมือน “อาร์เอส” เพราะปัจจัยความสำเร็จต้องสร้างช่องทีวีดิจิทัลให้มีฐานผู้ชมก่อน ปัจจุบันช่อง 8 มีผู้ชม 13 ล้านคนต่อวัน เฉลี่ย 3.7 แสนคนต่อนาที

    ปี 2561 ผู้ชมช่อง 8 เป็นฐานธุรกิจคอมเมิร์ซกว่า 1.1 ล้านคน ปีนี้จะขยับเป็น 1.5 ล้านคน เป็นกลุ่มที่แอคทีฟซื้อสินค้า 60-70% ยอดซื้อ  2,000 บาทต่อครั้ง อีกปัจจัยมาจากการพัฒนาสินค้า อาร์เอสเริ่มจากกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม เป็นตลาดที่มีมูลค่านับแสนล้านบาท ทำให้มีโอกาสรายได้เป็นกอบเป็นกำ พลิกจากธุรกิจสื่อทีวีดิจิทัลที่หลายช่องยังเผชิญกับคำว่า “ขาดทุน” แต่อาร์เอสประกาศทำรายได้และกำไร “นิวไฮ” กลายเป็น “ต้นแบบ” ให้ทีวีดิจิทัลหลายช่องกระโดดเข้าสู่สมรภูมิ “โฮมช้อปปิ้ง” อย่างพร้อมเพรียง

    “อมรินทร์ ช้อปปิ้ง” ขอแจม

    เป็นอีกค่ายธุรกิจสื่อที่วางกลยุทธ์ปรับตัวแบบ Omni Media จากการผนึกกำลังของทุกสื่อในเครืออมรินทร์ ทั้ง On Print นิตยสารและหนังสือเล่ม, Online สื่อบนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย, On Shop ร้านนายอินทร์, On Air ทีวีดิจิทัล อมรินทร์ทีวี และ On Ground งานแฟร์และกิจกรรมต่างๆ กว่า 20 งานต่อปี เพื่อสร้างจุดแข็งในการเดินหน้าทำธุรกิจในยุคดิจิทัล

    ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) บอกว่าปีนี้ได้ขยายธุรกิจรูปแบบ “มีเดียคอมเมิร์ช” ทุกช่องทาง ล่าสุดได้เปิดตัวรายการ Amarin Shopping รูปแบบโฮมช้อปปิ้ง ทางช่องอมรินทร์ทีวี ปัจจุบันนำเสนอรายการวันละ 1 ชั่วโมง และจะขยายเพิ่มอีกในไตรมาส 2 จำหน่ายสินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น ตกแต่ง กลุ่มแม่และเด็ก ที่เชื่อมโยงคอนเทนต์ของสื่อในเครืออมรินทร์ โดยเป็นสินค้าของ “คู่ค้า” ที่นำมาทำตลาดผ่านช่องทางโฮมช้อปปิ้ง และแบ่งรายได้ร่วมกัน

    นอกจากนี้มีแผนพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้ผลิต ในรูปแบบ โค-แบรนด์ เพื่อจำหน่ายผ่านช่องทาง “อมรินทร์ ช้อปปิ้ง” เพิ่มเติมในปีนี้ ซึ่งถือเป็นการใช้สื่อทีวีดิจิทัลที่เข้าถึงครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ต่อยอดเพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่นอกจากโฆษณา   

    เครืออมรินทร์มุ่งพัฒนาสื่อทุกช่องทางด้วยกลยุทธ์ “มีเดียคอมเมิร์ซ” เพื่อเป็น “ตัวเลือก” ให้กับแบรนด์และสินค้าต่างๆ ใช้ทั้งพื้นที่สื่อสารโฆษณา และเป็นช่องทางปิดการขายในแพลตฟอร์มเดียว

    “เวิร์คพอยท์” ลุยเอง Hello Shops

    ทีวีดิจิทัลช่อง “เวิร์คพอยท์” เป็นอีกรายที่ก้าวเข้าสู่ธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง โดยเปิดตัวรายการ Hello Shops ในเดือนธันวาคม 2561 เป็นรายการจำหน่ายสินค้า 5 ประเภท คือ เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า ไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว แฟชั่น สุขภาพและความงาม

    ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ารายการโฮมช้อปปิ้ง Hello Shop ออกอากาศวันละ 100-120 นาที โดยจันทร์-ศุกร์ มี 9 ช่วงเวลา และเสาร์-อาทิตย์ มี 6 ช่วงเวลา โดยยกเลิกการให้เช่าเวลากับผู้ประกอบการโฮมช้อปปิ้งรายอื่นๆ ทั้งหมด เพื่อนำช่วงเวลากลางวันและหลังเที่ยงคืนมาใช้ประโยชน์สร้างรายได้จากรายการโฮมช้อปปิ้งมากขึ้น

    หลังเปิดตัวในเดือนธันวาคมปีก่อน ปัจจุบันทำยอดขายได้ได้วันละ 1 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าหมายรายได้โฮมช้อปปิ้งไว้ที่ 540 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา เวิร์คพอยท์ ได้เริ่มทำตลาดผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม 2 แบรนด์ คือ Let Me In Beauty และ Me Vio โดย Let Me In Beauty เปิดตัวเดือนกันยายน 2560 ปัจจุบันมีทั้งหมด 10 รายการ ในกลุ่มดูแลผิว มี 4 ช่องทางขายหลัก คือ ร้านค้าปลีก เช่น วัตสัน Eveandboy และเซเว่นอีเลฟเว่น, ช่องทางออนไลน์ ตัวแทนขาย และรายการทีวี ช้อปปิ้ง Star review ทางช่องเวิร์คพอยท์ ส่วนแบรนด์ Me Vio เปิดตัวเดือนพฤศจิกายน 2561 ปัจจุบันมี 1 ผลิตภัณฑ์ ในกลุ่มเสริมอาหาร ขายผ่านตัวแทน

    “โมโน” ชูกลยุทธ์ผนึกสื่อในเครือ

    ด้านทีวีดิจิทัลช่อง “โมโน 29” เปิดตัวธุรกิจโฮมช้อปปิ้ง รายการ 29 Shopping ในเดือนมิถุนายน 2561 ใน 3 ช่วงเวลาต่อวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ synergy กับธุรกิจทีวีและอีคอมเมิร์ซเดิม โดยมองว่าธุรกิจทีวีช้อปปิ้งและอีคอมเมิร์ซเติบโตสูงขึ้น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางที่หลากหลาย

    ประกอบกับ “โมโน 29” ครองเรตติ้งอันดับ 3 สามารถเข้าถึงผู้ชม 1 ชั่วโมง กว่า 4.9 ล้านคน และมีฐานคนดูประจำเพิ่มขึ้น ทำให้สามารถสร้างอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้าเพื่อหาดีลหรือตัวเลือก รวมทั้งการคัดเลือกสินค้าที่คุ้มค่ากับราคามานำเสนอได้หลากหลาย   สินค้าที่นำมาจำหน่าย มีคู่ค้าจากประเทศเกาหลีใต้และไทย ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศ กลุ่มเอสเอ็มอี และผู้ผลิตสินค้าลิขสิทธิ์เกี่ยวกับหนังและการ์ตูน โดยอยู่ในประเภท เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า ของใช้ภายในบ้าน สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าแฟชั่น ของสะสมคอลเลกชันต่างๆ

    การมีช่องทางทีวีดิจิทัลที่เรตติ้งอยู่อันดับ 3 ออกอากาศรายการโฮมช้อปปิ้ง ทำให้ต้นทุนการซื้อเวลาไม่สูงและมีผู้ชมเข้าถึงจำนวนมาก

    นอกจากทำรายการโฮมช้อปปิ้ง ทางช่องโมโนแล้ว 29 shopping ยังมีช่องทางอื่นในการขายสินค้า อาทิ ช่อง MONO Plus, เว็บไซต์ 29shopping, เฟซบุ๊ก 29shoppingtv, ไลน์  @29shoppingtv

    รูปแบบการทำธุรกิจโฮมช้อปปิ้งของโมโนคล้ายกับช่อง 8 คือทำรายการเอง จัดหาสินค้ามาจำหน่าย ส่งของและเก็บเงินเอง โดยโมโนวางเป้าหมายให้โฮมช้อปปิ้งเป็นอีกธุรกิจผลักดันรายได้โมโนปีนี้

    “ทีวี ไดเร็ค” ชี้ตลาดแข่งเดือด   

    ทางด้าน “ทีวี ไดเร็ค” เจ้าตลาดและผู้บุกเบิกธุรกิจไดเร็คมาร์เก็ตติ้งและโฮมช้อปปิ้งมา 20 ปี เป็นผู้สร้างคาแร็กเตอร์ “จอร์จและซาร่า” และวลีฮิต “โอ้ พระเจ้าจอร์จ มันยอดมาก” ในการนำเสนอสินค้าผ่านทีวี ยังบอกว่าตลาดแข่งขันกันดุเดือดจริงๆ

    พงษ์ชัย ชัญมาตรกิจ หัวหน้าสายงานบริหารสถานีโทรทัศน์ บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในตลาดโฮมช้อปปิ้งและทีวีช้อปปิ้ง มี “ผู้เล่น” รายใหญ่ในตลาดอยู่แล้ว 11 รายใหญ่ ทั้งไทยและทุนต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ที่มูลค่าตลาดโฮมช้อปปิ้งแต่ละประเทศระดับหลายหมื่นล้านถึงแสนล้านบาท

    ที่ผ่านมา ผู้เล่นหลักในตลาดโฮมช้อปปิ้งก็แข่งขันกันเองอยู่แล้วในทุกสนาม ทั้งช่องทีวีดาวเทียม เช่าเวลาทีวีดิจิทัล ผลิตรายการโฮมช้อปปิ้งและสปอตโฆษณา รวมทั้งช่องทางออนไลน์

    หลังจาก “อาร์เอส” ปรับบิสสิเนสโมเดล สู่ MPC ทำธุรกิจโฮมช้อปปิ้งผ่าน “ช่อง 8” สร้างรายได้และกำไรเหนือธุรกิจสื่อ ทำให้ทีวีดิจิทัลช่องอื่นนำความสำเร็จของอาร์เอสมาพัฒนาธุรกิจโฮมช้อปปิ้งของตัวเอง เพื่อสร้างรายได้จากฐานผู้ชมประจำของแต่ละช่อง และเป็นแหล่งรายได้อีกทางท่ามกลางเม็ดเงินโฆษณาทีวีถดถอย

    ชู “ออมนิ แชนแนล” สู้ศึก

    ขณะที่ ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวี ไดเร็ค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่ากลยุทธ์ของ “ทีวี ไดเร็ค” หลังจากนี้ ทำเรื่อง “ออมนิ แชนแนล” การผสมผสานการทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ (O2O) เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคในทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

    โดยช่องทาง “ออนไลน์ช้อปปิ้ง” ได้ร่วมมือกับพาร์ตเนอร์ “โซเชียลมีเดีย” ยักษ์ใหญ่ทุกรายในการเป็นช่องทางการสื่อสาร ทำการตลาดและขาย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ยูทูบ กูเกิล ไลน์ รวมทั้งปรับโฉมเว็บไซต์และโมบายแอปพลิเคชั่นใหม่ ที่ง่ายและสะดวกในการใช้งาน

    ด้านช่องทาง “ทีวี ช้อปปิ้ง” ที่ปัจจุบันเป็นพันธมิตรเช่าเวลากับทีวีดิจิทัล รวม 18 ช่อง และมีช่องทีวีดาวเทียมเองอีก 6 ช่อง คือ TVD 1, TVD 2, TVD 3, TVD Momo1, TVD Momo2 และ TVD Momo3 จะพัฒนารูปแบบการนำเสนอสินค้าใหม่ มุ่งสร้าง Customer Experience ตอบสนองความต้องการลูกค้า ส่วนช่องทาง “ไดเร็ค ช้อปปิ้ง” จะใช้เทคโนโลยี แชตบอต และ AI มาใช้งาน วิเคราะห์ความสนใจ เพื่อนำเสนอสินค้าได้ตรงความสนใขของผู้บริโภค แม้ปัจจุบันช่องทางขายหลักยังเป็น “ทีวี” แต่อีก 2-3 ปีจากนี้ออนไลน์จะมีบทบาทมากขึ้น โดยปี 2561 มีสัดส่วนยอดขายจากออนไลน์ 10% และปีนี้ตั้งเป้า 20%

    หลังยุติดีลซื้อช่องสปริงนิวส์ เราไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าไปเป็นเจ้าของช่องหรือเจ้าของไลเซ่นส์ทีวีดิจิทัลอีกต่อไป เพราะมีหลากหลายวิธีที่สามารถเป็นเจ้าของเวลาได้อย่างไม่มีความเสี่ยง และดีกว่าการเข้าไปเป็นเจ้าของช่อง

    โดยงบประมาณที่ไม่ได้นำไปซื้อช่องสปริงนิวส์ จะนำไปซื้อเวลาในช่องทีวีดิจิทัลเพิ่มขึ้น รวมทั้งทีวีดาวเทียมอีก 10 ช่อง เพราะปัจจุบันครัวเรือนไทย 62% ยังดูทีวีผ่านกล่องทีวีดาวเทียม

    “จุดเด่นของทีวี ไดเร็ค คือการมีหน้าร้าน TV Direct Show Case กว่า 100 สาขารองรับลูกค้าที่ต้องการเข้ามาดูสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์การซื้อทั้งออฟไลน์และออนไลน์”

    ]]> 1219617 “ทีวีไดเร็ค” ยกเลิกซื้อช่อง ”สปริงนิวส์” กลับสู่โหมดเดิม เช่าเวลาทีวีดิจิทัล-ทีวีดาวเทียม https://positioningmag.com/1216557 Tue, 26 Feb 2019 14:39:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216557 หลังจาก “ทีวีไดเร็ค” แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน 2561 ในการเข้าซื้อหุ้น ทีวีดิจิทัล “สปริงนิวส์” สัดส่วน 90.1% มูลค่าพันล้านบาท โดยต้องเซ็นสัญญาซื้อขายในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าในท้ายที่สุดแล้วดีลนี้ต้องจบลงและยุติการซื้อขายไปในที่สุด

    ทรงพล ชัญมาตรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เดิมดีลการซื้อหุ้นช่องสปริงนิวส์มูลค่า 1,080 ล้านบาท แบ่งเป็นมูลค่าหุ้น 949 ล้านบาท และค่าจ้างสปริงนิวส์ทำข่าวอีก 130 ล้านบาท โดยกำหนดเงื่อนไขจ่ายเงินเดือนละ 8.7 ล้านบาท จำนวน 124 เดือน ตลอดอายุสัญญาในอนุญาตทีวีดิจิทัลถึงปี 2572 โดยสปริงนิวส์ ต้องเคลียร์หนี้ก่อนเซ็นสัญญาซื้อขายในเดือนธันวาคม 2561   

    แต่หลังจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำหนดให้มีการนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นสำหรับทีวีดิจิทัลไปจัดการประมูล 5 จี แล้วนำรายได้มาช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล โดยเป็นการช่วยเหลือทั้งค่าประมูลที่ยังเหลือค้างจ่ายรวม 15,000 ล้านบาท ค่าเช่าโครงข่ายส่งสัญญาณระบบดิจิทัล (Mux) และค่าเช่าโครงข่ายตามประกาศ Must Carry ทำให้ทีวีไดเร็คและสปริงนิวส์ได้เลื่อนการซื้อขายไว้ก่อน เพื่อรอความชัดเจนมาตรการช่วยเหลือของ กสทช.

    โดยในการประชุมบอร์ดทีวีไดเร็ค เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 จึงมีมติให้  “ยุติ” ซื้อหุ้นช่องสปริงนิวส์ หันมาเช่าเวลาทีวีดิจิทัล-ทีวีดาวเทียม   

    ทรงพล กล่าวว่าหลังจากยุติดีลการซื้อช่องสปริงนิวส์แล้ว “ทีวีไดเร็ค” จะไม่กลับไปเจรจาเพื่อซื้อหุ้นช่องสปริงนิวส์อีก โดยจะใช้รูปแบบเช่าเวลาวันละ 12 ชั่วโมงกับช่องสปริงนิวส์เหมือนเดิม โดยจะมีการเซ็นสัญญากันใหม่อีกครั้ง ปัจจุบันยังใช้สัญญาเดิมเช่าเวลาช่องสปริงนิวส์นำเสนอโฮมช้อปปิ้งวันละ 18 ชั่วโมง จนถถึงเดือนกรกฎาคม 2562

    ปัจจุบันทีวีไดเร็คเช่าเวลาทีวีดิจิทัลทั้งหมด 18 ช่อง โดยหลังจากยกเลิกแผนซื้อช่องสปริงนิวส์แล้ว จะมีการเช่าเวลาทีวีดิจิทัลเพิ่ม และจะเช่าเวลาช่องทีวีดาวเทียมเพิ่มอีก 10 ช่อง นอกจากนี้จะขยายช่องทางการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ภายใต้กลยุทธ์ “ออมนิ แชนแนล” โดยปีนี้วางเป้าหมายยอดขาย 4,800 ล้านบาท เติบโต 20%

    พงษชัย ชัญมาตรกิจ หัวหน้าสายงานบริหารสถานีโทรทัศน์ บริษัท ทีวีไดเร็ค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การยุติดีลการซื้อหุ้นช่องสปริงนิวส์ เนื่องจากมีมาตรการเยียวยาทีวีดิจิทัลของ กสทช. ซึ่งยังไม่สามารถสรุปแนวทางที่ชัดเจนได้

    แต่มีเงื่อนไขสำคัญที่ กสทช. ระบุว่าจะชดเชยเงินค่าประมูล 2 งวดสุดท้าย ซึ่งสปริงนิวส์ จ่ายเงินงวดที่ 5 ไปแล้วจำนวน 219 ล้านบาท โดยไม่ได้ขยายเวลาจ่ายเงินตาม มาตรา 44 ดังนั้นหากเป็นไปตามมาตรการเยียวยาของ กสทช. สปริงนิวส์จะได้เงินค่าประมูลงวดที่ 5 คืน ทำให้ราคาการซื้อขายที่ประกาศไว้ในเดือนกันยายา 2561 ต้องกลับมากำหนดราคาใหม่ ทีวีไดเร็คจึงต้องยุติการซื้อขายไปในที่สุด

    Now 26 เปลี่ยนเป็น Spring 26

    ทางด้านบริษัท แบงคอก บิสสิเนส บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้ดำเนินการสถานีโทรทัศน์ช่อง NOW 26 ได้แจ้งการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท สปริง 26 จำกัด ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 และจะเปลี่ยนชื่อสถานีทีวีดิจิทัล ช่อง Now 26 เป็น Spring 26 (สปริง 26) ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ พร้อมปรับรูปแบบการนำเสนอรายการและข่าว โดยใช้เทคโนโลยีสตูดิโอ AR และ Visual Effect ที่เดียวในประเทศไทย และเชื่อมต่อผู้ชมจากทีวีสู่ทุกแพลตฟอร์ม เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อ

    นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรคอนเทนต์หลัก คือ เนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ผู้ผลิตสารคดีระดับโลก และ แม็กซ์ มวยไทย ผู้จัดรายการชกมวยชื่อดัง

    ปัจจุบันทีวีดิจิทัล Now 26 ซึ่งเป็นช่องวาไรตี้ SD เป็นธุรกิจในเครือบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ภายใต้การบริหารของ “ฉาย บุนนาค” ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็น กรรมการ รองประธานกรรมการ คนที่ 1 กรรมการบริหาร และประธานกรรมการบริหาร ของ NMG มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2562.

    ]]>
    1216557