ท่องเที่ยว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 05 Dec 2024 13:02:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธุรกิจโรงแรมไทยฮอต อัตราเข้าพัก 74% แซงช่วงก่อนโควิด สร้างเพิ่ม 1.2 พันแห่ง โต 38% https://positioningmag.com/1502212 Thu, 05 Dec 2024 03:44:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502212 ธุรกิจโรงแรมไทยฮอต อัตราเข้าพัก 74% แซงช่วงก่อนโควิด สร้างเพิ่ม 1.2 พันแห่ง โต 38% จับตาซัพพลายล้นบางพื้นที่ กดดันอัตราเข้าพัก-ราคาห้องพักเฉลี่ยในอนาคต

SCB EIC เปิดเผยว่า ช่วง 11 เดือน (ม.ค. – พ.ย.) ปี 2567 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทย 32 ล้านคน โดย 5 อันดับแรก คือ

  • จีน
  • มาเลเซีย
  • อินเดีย
  • เกาหลีใต้
  • รัสเซีย

ซึ่งในช่วงโค้งสุดท้ายของปีมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นช่วงไฮซีซั่น ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติในไทยปีนี้มีโอกาสแตะ 36.2 ล้านคน ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดที่มีจำนวน 39.8 ล้านคน “สร้างรายได้ให้ภาคท่องเที่ยวกว่า 1.7 ล้านล้านบาท”

และคาดว่าในปี 2568 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติขยับเป็น 39.4 ล้านคน จากการกลับมาของกลุ่มทัวร์จีน และนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ อาทิ ตะวันออกกลาง รัสเซีย อิสราเอล และอินเดีย ซึ่งเป็นกลุ่มกำลังซื้อสูง “คาดสร้างรายได้ให้ไทย 2 ล้านล้านบาท”

ส่วนนักท่องเที่ยวไทย ยังเติบโตได้ดี จากการเที่ยวเมืองรอง ตามมาตรการส่งเสริมของภาครัฐ อาทิ ลดหย่อนภาษี โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ส่งผลให้ในปี 2567 นักท่องเที่ยวไทยมีจำนวน 270.2 ล้านคน เติบโต 9% (YoY)

อย่างไรก็ดี ปี 2568 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวไทยราว ๆ 275.6 ล้านคน เติบโตแบบชะลอตัว 2% (YoY) จากความเปราะบางของเศรษฐกิจ ส่งผลต่อการวางแผนใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยว

รวมไปถึงการขยายตัวของการท่องเที่ยวต่างประเทศในคนไทย จากมาตรการฟรีวีซ่าและแพ็กเกจท่องเที่ยวต่างประเทศราคาถูกที่เจาะคนไทยต่อเนื่อง

สำหรับภาพรวมธุรกิจโรงแรมในไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ย 72% ขณะที่ราคาห้องพักเติบโต 31% เมื่อเทียบกับปี 2566 (YoY) และเติบโต 8% เมื่อเทียบกับปี 2562 ช่วงก่อนเกิดโควิด

ในปี 2568 คาดว่าธุรกิจโรงแรมจะมีมีแนวโน้มเติบโตเล็กน้อย จากสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยที่กลับสู่ภาวะปกติ โดยอัตราเข้าพักเฉลี่ยของทั้งประเทศอยู่ที่ 74% และราคาห้องพักเพิ่มขึ้น 5% (YoY) ซึ่งเหนือกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด ที่มีอัตราการเข้าพักประมาณ 70% และมีอัตราเติบโตของราคาห้องพักเฉลี่ย 4%

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงแรมต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันสูง จากซัพพลายห้องพักที่ทยอยเปิดให้บริการ สะท้อนจากตัวเลขใบอนุญาตการก่อสร้างโรงแรม ระหว่างปี 2564 – 2566 มีจำนวนกว่า 5,600 อาคารทั่วประเทศ

ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในภาคใต้โซนท่องเที่ยว อาทิ ภูเก็ต พังงา สุราษฎร์ธานี รวมไปถึงจังหวัดท่องเที่ยวเจาะกลุ่มคนไทย เช่น น่าน เชียงราย จันทบุรี เป็นต้น

เบื้องต้น ตัวเลขการขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมทั่วประเทศ ช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค. – ก.ค.) ปี 2567 เพิ่มสูงถึง 1,200 อาคาร คิดเป็นการขยายตัว 38% เมื่อเทียบกับปีก่อน (YoY)

ทำให้การแข่งขันเพิ่มขึ้น และอาจเกิดภาวะซัพพลายล้นของห้องพักโรงแรมในบางพื้นที่ ซึ่งจะกดดันอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในอนาคต

และอาจทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้กลยุทธ์ด้านราคา ในการดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาเฉลี่ยห้องพักตามไปด้วย

ทั้งนี้ การฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ทำเลที่ตั้งและความสามารถในการปรับตัว โดยธุรกิจโรงแรมที่มีศักยภาพในการเติบโต ได้แก่

  1. กลุ่มโรงแรมและรีสอร์ตระดับบน และระดับลักชัวรี่ที่รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง เช่น กลุ่มนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลาง ที่มีแนวโน้มเดินทางมาไทยมากขึ้น
  2. กลุ่มโรงแรมที่ตั้งในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอย่างภูเก็ตและกรุงเทพฯ รวมถึงกลุ่มโรงแรมและที่พักที่ตั้งในเมืองน่าเที่ยว (เมืองรอง) ที่ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
  3. กลุ่มโรงแรมที่สามารถปรับตัวให้สอดรับกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เช่น นักท่องเที่ยวกลุ่มนักท่องเที่ยวรัสเซียและ อิสราเอลที่มีโอกาสเดินทางมากขึ้นจากผลกระทบของภาวะสงคราม, กระแสการใส่ใจสุขภาพ ผ่านเทรนด์ Wellness tourism และการท่องเที่ยวแบบ Workation จากการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม Digital nomad เป็นต้น
]]>
1502212
“คนไทย” รักงาน! กว่า 68% พร้อมเที่ยวไปด้วยหอบงานไปทำด้วย สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก  https://positioningmag.com/1498597 Tue, 12 Nov 2024 10:19:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498597 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านพ้นไป ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ “ธุรกิจการท่องเที่ยว” ที่แม้จะเผชิญกับปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รูปแบบการทำงานที่สามารถทำจากที่ไหนก็ได้ รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ถือเป็นความท้าทายใหม่ ในการปรับตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเป็นอย่างมาก 

ท่องเที่ยวต้องยืดหยุ่น เพราะเทรนด์ “เที่ยวไปทำงานไป” ของคนไทยกำลังมา

SiteMinder ผู้ให้แพลตฟอร์มการจัดการที่พักแบบครบวงจร เปิดรายงาน SiteMinder’s Changing Traveller Report 2025 การสำรวจด้านที่พักและพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเผยว่า การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้น 10.1% โดยคาดการณ์ว่าในปี 2029 อุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทยจะมีมูลค่าการเติบโตกว่า 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

จากการสำรวจยังพบว่า นักเดินทางยุคใหม่มีแนวคิดการเดินทางแบบ ‘Everything Travellerʼ คือ นักท่องเที่ยวต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ และต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น มีการอ่านรีวิวจากโซเชียลแล้วมาลองเที่ยวเอง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับเรื่องงบประมาณ

โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 97% ยินดีจ่ายเพิ่มสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อาหารเช้า (67%) ห้องชมวิว (44%) หรือการเช็คอินก่อนเวลา หรือการเช็คเอาต์ล่าช้า (33%) นอกจากนี้ 94% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น สำหรับการเข้าพักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงมีแนวโน้มจะต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวแบบไม่ต้องคิดหรือวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า 

นอกจากนั้นกว่า 68% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลายเป็นผู้นำเทรนด์ในด้านการทำงานไปด้วยขณะเดินทางท่องเที่ยว ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย 66%, นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย 61% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 41% รวมถึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอเมริกาเหนือ (34%) และยุโรป (31%) และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 65% มีพฤติกรรมการใช้เวลาส่วนใหญ่ (30%) หรือ มีการใช้เวลาค่อนข้างมาก (35%) ไปกับการอยู่ในโรงแรมที่พักอีกด้วย

นักท่องเที่ยวไทยใช้เครื่องมือค้นหาที่พักสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 39%

อัตราการจองที่พักในประเทศของนักท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 13% รวมถึงยังมากเป็นอันดับสาม รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (62%) และนักท่องเที่ยวชาวจีน (56%) สืบเนื่องมาจากกการที่รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงภาคจังหวัดได้มีการปรับตัวเพิ่มกิจกรรมในแต่ละจังหวัดมากขึ้นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปเยี่ยมชม

ซึ่งช่องทางการจองผ่าน OTA (การจองทริปท่องเที่ยวผ่านทาง Website/Application) มีการขยายตัวกว่า 55% เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมที่พักเพื่อวางแผนท่องเที่ยวเอง และราคาส่วนลดหรือโปรโมชั่นที่เป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวไทยเลือกจองผ่าน OTA เป็นหลัก โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 13% รวมถึงยังมากเป็นอันดับ 3 รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (62%) และนักท่องเที่ยวชาวจีน (56%) 

อีกทั้ง 36% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นการค้นหาโรงแรมผ่านเครื่องมือค้นหาเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2567 ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มสูงถึง 39% เพิ่มขึ้น 14% จากปีที่ผ่านมา ตามด้วยนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ 36% (ไม่ได้เข้าร่วมการสำรวจในปี 2023) นักท่องเที่ยวอินเดีย 33% เพิ่มขึ้น 6% และนักท่องเที่ยวจีน 22% เพิ่มขึ้น 13% จากปีที่แล้ว

นอกจากนั้นการสำรวจยังเผยอีกว่า 65% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย พร้อมที่จะยกเลิกการจองที่พักออนไลน์กลางคันหากได้รับประสบการณ์ที่ไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 52% โดยปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักอันดับต้น ๆ ที่ทําให้นักท่องเที่ยวกลุ่ม Millennials ชาวไทยกว่า 37% ทําการยกเลิกการจองออนไลน์กลางคัน ในขณะที่ กลุ่ม Baby Boomers จำนวน 36% จะยกเลิกการจอง เนื่องจากเว็บไซต์ไม่เป็นมิตรกับการใช้งานบนมือถือ

‘สุภกฤษฎิ์ แผนสมบูรณ์’ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท SiteMinder

คนไทย-อินโด เปิดใจใช้ AI วางแผนเที่ยวมากที่สุดในโลก

‘สุภกฤษฎิ์ แผนสมบูรณ์’ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท SiteMinder กล่าวว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยและอินโดนีเซีย มีการเปิดใจใช้ AI ในการประยุกต์เข้ากับการวางแผนจองที่พักและสัมผัสประสบการณ์การเข้าพักสูงถึง 98% ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่เปิดรับการใช้ AI กับการวางแผนท่องเที่ยวสูง 96% และอินเดียที่ 94% ในขณะที่ 62% ของนักท่องเที่ยวจากทั้งแคนาดา และออสเตรเลีย รวมไปถึง 63% ของนักท่องเที่ยวจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ยังคงไตร่ตรองถึงข้อดีของการใช้ AI มาช่วยวางแผนการท่องเที่ยวอยู่

และความชอบในการเดินทางจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุ อาทิ กลุ่ม Gen Z และ Millennial ชาวไทย นิยมพักในเครือโรงแรมและรีสอร์ทขนาดใหญ่ ในขณะที่กลุ่ม Gen X นิยมที่พัก B&B และ Baby Boomers เลือกมองหาที่พักโฮสเทล โมเทล หรือโรงแรมราคาประหยัด เป็นต้น

ส่งผลให้พฤติกรรมการเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในปี 2025 มีแนวโน้มเลือกห้องพักแบบ Standard (ห้องพักมาตรฐาน) กว่า 54% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 46% และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากนักท่องเที่ยวสเปน (59%) แคนาดา (55%) และอิตาลี (55%) ในทางกลับกัน มีเพียง 19% ของนักท่องเที่ยวชาวจีนเท่านั้นที่จะเลือกห้องพักแบบ Standard ในการเข้าพักครั้งถัดไป การที่นักท่องเที่ยวชาวจีนหันมาวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากกว่าเลือกจองกับกรุ๊ปทัวร์ เพราะต้องการการท่องเที่ยวแบบใหม่ ลองทานอาหารรสชาติใหม่ ๆ รวมถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ทำให้ให้ความสำคัญกับที่พักที่สวยงามและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันมากขึ้น 

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวเลือกให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นเมื่อทำการเลือกโรงแรมในแต่ละครั้ง โดย 76% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงเป็นอันดับ 1 ของโลก ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (70%) อินเดีย (66%) และจีน (62%) อีกทั้งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 30% เลยทีเดียว

]]>
1498597
“จีน” ขยายนโยบายฟรีวีซ่าอีก 9 ประเทศ มีผลบังคับใช้ถึง 31 ธ.ค. 2025 https://positioningmag.com/1498239 Sat, 09 Nov 2024 02:59:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498239 “จีน” ออกประกาศ ขยายนโยบายฟรีวีซ่า (visa-free) ให้พลเมืองของอีก 9 ประเทศ สามารถเข้าประเทศจีนได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเยี่ยมชม

โดยผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาจาก 8 ประเทศในยุโรป ได้แก่

  • สโลวาเกีย
  • นอร์เวย์
  • ฟินแลนด์
  • เดนมาร์ก
  • ไอซ์แลนด์
  • อันดอร์รา
  • โมนาโก
  • ลิกเตนสไตน์

รวมถึง “ผู้ถือหนังสือเกาหลีใต้” ก็สามารถเยี่ยมชมเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจหรือพักผ่อนที่ประเทศจีน ได้นานถึง 15 วันโดยไม่ต้องใช้วีซ่า โดยการยกเว้นวีซ่าจะมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2025

ซึ่งเกาหลีใต้ถือเป็นตลาดแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจีนอีกตลาดหนึ่ง โดยในปี 2019 มีชาวเกาหลีใต้ประมาณ 4.3 ล้านคนเดินทางมาเยือนประเทศจีน แต่ในปี 2023 จีนมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้น้อยกว่า 1.3 ล้านคน ตามรายงานของ The Korea Times กระทรวงการต่างประเทศของเกาหลี

การประกาศขยายโครงการปลอดวีซ่า ส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทท่องเที่ยวของจีนและเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น หุ้นของ Trip.com มีการเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ในขณะที่สายการบินต้นทุนต่ำอย่าง Jin Air หุ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 4%

เห็นได้ชัดว่าจีนมีความพยายามในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการการท่องเที่ยวขาเข้าที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนักเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ที่ในปี 2019 ประเทศจีนต้อนรับนักท่องเที่ยวประมาณ 49.1 ล้านคน โดยมีชาวต่างชาติประมาณ 17.25 ล้านคน ตามรายงานของสํานักข่าวซินหัว

นโยบายการยกเว้นวีซ่าของจีน จึงเป็นเครื่องมือที่ดีในการดึงดูดชาวต่างชาติให้มาเยี่ยมเยียนและกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในไตรมาสที่ 3 ของปี 2024 โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 8.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 49% จากปี 2023 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณ 4.9 ล้านคน 

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จีน ยังคงพยายามปรับปรุงการบริการให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งรวมถึงปัญหาการชําระเงินที่ชาวต่างชาติต้องเผชิญภายในจีน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลกําหนดให้สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญยอมรับบัตรเครดิตและเงินสดจากต่างประเทศได้

และจีนยังพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินให้กลับสู่ภาวะก่อนเกิดโรคระบาด โดยสายการบินจีนกําลังเพิ่มเที่ยวบินไปยังยุโรปในช่วงฤดูหนาวนี้ เนื่องจากสายการบินชั้นนําระดับโลกหลายๆ สาย ได้ยกเลิกเที่ยวบินมายังจีน เนื่องจากข้อจํากัดในการบินผ่านน่านฟ้าของรัสเซียและความต้องการของนักท่องเที่ยวยุโรปที่ต่ำลง

ที่มา : CNBC 

 

]]>
1498239
Agoda คาดปี 25 นักท่องเที่ยวเข้าไทยมากกว่า 39 ล้านคน ไทยขึ้นแท่นคนกลับมาซ้ำอันดับ 2 ของโลก https://positioningmag.com/1498123 Fri, 08 Nov 2024 09:57:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498123 หลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไป ธุรกิจต่างๆ กลับมาฟื้นตัวโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่เริ่มกลับมาหายใจหายคอกันได้อีกครั้ง เนื่องจากผู้คนมีการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศกันมากขึ้น ข้อมูลจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยว่า จำนวนสะสมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 27 ต.ค. 2567) มีมากกว่า 28 ล้านคน สามารถสร้างรายได้จากการใช้จ่ายจากต่างชาติได้แล้วกว่า 1,325,359 ล้านบาทแล้ว

โดยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาสูงถึง 40 ล้านคนต่อปี กระทั่งตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่รัฐบาลประกาศปิดประเทศ (Lockdown) จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยลดลงเหลือเพียง 6.7 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นการลดลงกว่า 83% 

หลังจากสถานการณ์โควิดเริ่มดีขึ้น ทำให้ในครึ่งแรกของปี 2565 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลับมาอยู่ที่ประมาณ 2 ล้านคน หรือราว 5% ของช่วงก่อนโควิด-19 และมีการคาดการณ์ว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยในปีหน้าจะมีประมาณ 39 ล้านคน ซึ่งเกือบจะเท่ากับจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงก่อนโควิด-19 ระบาดเลยทีเดียว

4 ปัจจัยที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้าไทยกว่า 39 ล้านคน

Agoda (อโกด้า) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว เผยว่า แนวโน้มการท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน เป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  • นโยบายผ่อนปรนการตรวจลงตราวีซ่าเข้าประเทศไทย (Visa Easing) ที่กระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ได้รับการยกเว้น เห็นได้จากการที่ประเทศไทย มีการค้นหาที่พักในไทยจากนักท่องเที่ยวชาวอินเดียเพิ่มขึ้น 5%, จีนแผ่นดินใหญ่ 82%, ไต้หวัน 25%, และซาอุดีอาระเบีย 30% เป็นต้น
  • ศักยภาพในการรองรับการเดินทาง (Flight Capacity) ที่ Agoda คาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้น 6% ภายในปี 2025 โดยเป็นการเดินทางมาจากอินเดียเพิ่มขึ้น 16% จากฮ่องกง 13% และจากญี่ปุ่น 12% เป็นต้น
  • การขึ้นแท่นเป็นประเทศที่คนกลับมาเที่ยวซ้ำอันดับ 2 ของโลก (Repeat Visitors) รองจากประเทศญี่ปุ่น
  • จุดแข็งที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว (Unique Selling Points) ซึ่งประกอบไปด้วย Food ซึ่งไทยถือเป็นจุดหมายปลายทางอันดับที่ 3 ของนักชิมในเอเชีย รองจากเกาหลีและไต้หวัน, Film โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยวางแผนไปเที่ยวชมสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์กันกว่า 6%, Fashion ที่เป็นการท่องเที่ยวแบบหรูหราในไทย ซึ่งมีการค้นหาโรงแรมห้าดาวในไทยเพิ่มขึ้นกว่า 18% ในปี 2024, Fight เป็นการท่องเที่ยวแบบแอคทีฟผจญภัย อาทิ เดินป่า เรียนมวยไทย และอื่นๆ ที่ติดอันดับ 4 ในการสำรวจแนวโน้มการท่องเที่ยวในปี 2025 ของ Agoda และ Festival หรือกิจกรรมทางวัฒนธรรม อาทิ สงกรานต์ ลอยกระทง 

ทำให้เป้าหมายของประเทศที่ต้องการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ได้มากกว่า 39 ล้านคนนั้นมีความเป็นไปได้นั่นเอง

นักท่องเที่ยวยุคใหม่ เน้นใช้ “เอเจนซี่” เพียงเจ้าเดียวในการจัดทริป

ทั้งนี้ Agoda เผยว่า พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด อาทิ ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด กลุ่มนักท่องเที่ยวจะต้องการ “ความยืดหยุ่น” ในการท่องเที่ยวเป็นหลัก หรือกลุ่มที่เลือกท่องเที่ยวโดยเน้นเรื่อง “ราคา” ที่มักมีการเลือกราคาที่ดีที่สุดก่อนเสมอ 

แต่ในปัจจุบันพฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยว จะเน้นในเรื่องของการใช้เอเจนซี่เพียงเจ้าเดียวในการดูแลทริปการท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน ซึ่งจากเดิมที่นักท่องเที่ยวจะใช้เอเจนซี่หลายๆ เจ้าในการจัดท่องเที่ยวสักทริปหนึ่ง เป็นต้น

ยอดค้นหาที่พักเพิ่ม นักท่องเที่ยว “มาเลเซีย-จีน” มาไทยมากที่สุด

Agoda ยังเผยข้อมูลที่น่าสนใจ จากชุดข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงจากข้อมูลการค้นหาที่พักของ Agoda ในช่วงสิบเดือนแรก (มกราคม-ตุลาคมปี 2567) เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วว่า การท่องเที่ยวในขาเข้าประเทศ ที่พักในประเทศไทยมีการค้นหาโดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 18% โดยเฉพาะเดือนตุลาคม ที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นกว่า 25% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นจากแนวโน้มในช่วงเทศกาลวันหยุด และนักเดินทาง 3 ประเทศที่เดินทางมาไทยมากที่สุด ได้แก่ มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 21%, เกาหลีใต้ 22%, และสิงคโปร์ 21% 

นอกจากนั้นยังพบว่า นักท่องเที่ยวจากอินเดีย, จีนแผ่นดินใหญ่, ไต้หวัน และซาอุดีอาระเบีย มีการค้นหาที่พักในไทยเพิ่มขึ้น 5%, 82%, 25% และ 30% ตามลำดับ เนื่องจากนโยบายยกเว้นการตรวจลงตราวีซ่าเข้าประเทศไทย โดยมี 5 สถานที่ที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือนมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม และหาดใหญ่ นอกจากนั้นการท่องเที่ยวในเขตเมืองรองก็เป็นที่นิยมเช่นกัน โดยเบตง, อุดรธานี, เกาะหลีเป๊ะ, เชียงราย และ เกาะช้าง เป็น 5 อันดับเมืองรองของไทยที่นักท่องเที่ยวนิยมกลับมาเที่ยวซ้ำมากที่สุด

ซึ่งกิจกรรมในประเทศไทยที่นักเดินทางมีการจองเข้าร่วมสูงสุด ได้แก่ ล่องเรือดินเนอร์ในแม่น้ำเจ้าพระยา, การรับประทานบุฟเฟ่ต์บนตึกใบหยก, เที่ยวตลาดน้ำแบบไปเช้าเย็นกลับ, เรียนทำอาหารไทย และ เที่ยวชมปราสาทสัจธรรม

“ญี่ปุ่น” ยังครองแชมป์ ประเทศที่คนไทยชื่นชอบที่สุด

ด้านการท่องเที่ยวขาออกนอกประเทศ ญี่ปุ่น ยังครองแชมป์จุดหมายปลายทางต่างประเทศที่คนไทยชื่นชอบมากที่สุด โดยมีการค้นหาที่พักเพิ่มขึ้น 26% โดยมีเมืองใหญ่อย่าง โตเกียว ได้รับการค้นหามาเป็นอันดับ 1 ตามมาด้วย โอซาก้า นอกจากนั้น 5 อันดับประเทศจุดหมายปลายทางที่คนไทยนิยม คือ ญี่ปุ่น, เวียดนาม, ฮ่องกง, จีน และ มาเลเซีย โดยเวียดนามได้ขยับจากอันดับ 4 มาเป็นอันดับ 2 เนื่องจากเป็นประเทศที่มีราคาการใช้จ่ายที่ประหยัดอีกทั้งการสนับสนุนของรัฐบาลเวียดนามในด้านการท่องเที่ยว โดยเมืองดานังยังติดอันดับ 10 ของจุดหมายปลายทางเมืองที่คนไทยที่นิยม

ส่วนการท่องเที่ยวประเทศจีนของคนไทย พบว่ามีการค้นหาที่พักในจีนเพิ่มขึ้นมากถึง 206% ซึ่งอาจมาจากปัจจัยการยกเว้นการตรวจลงตราวีซ่าเข้าประเทศจีนและการฟื้นตัวจากโควิด ทำให้จีนขยับจากอันดับที่ 10 ขึ้นสู่อันดับที่ 4 สำหรับจุดหมายปลายทางต่างประเทศที่คนไทยนิยม และการค้นหาที่พักในนอร์เวย์ เพิ่มขึ้นถึง 49% ซึ่งอาจจะเกิดจากที่การบินไทยเปิดเส้นทางบินรายวันไปยังเมืองออสโลที่เพิ่มมากขึ้น 

กิจกรรมที่คนไทยนิยมทำมากที่สุดในต่างประเทศ 5 อันดับ ได้แก่ การเที่ยวยูนิเวอร์แซลสตูดิโอในประเทศสิงคโปร์, เที่ยวพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ศิลปะ ในประเทศสิงคโปร์,เที่ยวดิสนีย์แลนด์ ในฮ่องกง, เที่ยวพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ประเทศสิงคโปร์ และเที่ยวโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น 

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวของคนไทยในประเทศไทย ยังพบว่า คนไทยมีการค้นหาที่พักภายในประเทศเพิ่มขึ้น 8% โดยมี “กรุงเทพฯ” เป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตที่ได้รับความินยมอย่างต่อเนื่อง โดยมีการค้นหาเพิ่มกว่า 20% จากคนไทย อีกทั้ง “ชลบุรี” ยังเป็นจังหวัดอับดับที่ 5 ที่มีการค้นหาที่พักเพิ่มขึ้น 11% ซึ่งกำลังจะขยับตามเชียงใหม่ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 4 เนื่องจากกระแส “หมูเด้ง” ที่ยังคงฟีเวอร์อยู่

]]>
1498123
อินโดนีเซีย ผุดนโยบาย เที่ยวแบบไม่ต้องขอวีซ่าสําหรับผู้อยู่อาศัยถาวร (PR) ในสิงคโปร์ เพื่อดึงดูดการลงทุน https://positioningmag.com/1493976 Thu, 10 Oct 2024 13:33:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1493976 อินโดนีเซีย เปิดตัวการเดินทางแบบไม่ต้องขอวีซ่าสําหรับนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ที่มาเยือนบินตัน บาตัม และหมู่เกาะคาริมุน โดยนโยบายดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายในการดึงดูดให้ชาวต่างชาติ ที่มีสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (PR) ในสิงคโปร์ ให้เข้ามาท่องเที่ยวและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของประเทศอินโดนีเซีย แตกต่างจากการเข้าประเทศแบบไม่ต้องขอวีซ่าที่มีอยู่สําหรับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งใช้กับการท่องเที่ยวและการเข้าพักระยะสั้นในวงกว้าง

Silmy Karim อธิบดีกรมตรวจคนเข้าเมืองของอินโดนีเซีย กล่าวว่า การให้ BVK (วีซ่าเข้าชมฟรี) สําหรับ ผู้ถือ PR ของสิงคโปร์ มาเยี่ยมชมบาตัม บินตัน และคาริมุน จะทําให้ผู้ถือ PR ของสิงคโปร์ต้องการใช้เวลาช่วงสุดสัปดาห์หรือท่องเที่ยวระยะสั้น เช่น เพลิดเพลินกับธรรมชาติ การท่องเที่ยวด้านการทําอาหาร หรือการช้อปปิ้ง ได้ง่ายขึ้น 

ทำให้ผู้ถือ PR ของสิงคโปร์จะสามารถอยู่ได้นานถึง 4 วัน และภายใต้กฎใหม่นี้ จะครอบคลุมการอยู่อาศัยในจุดท่าเรืออีกหลายแห่งในภูมิภาคริอู (Riau) โดยท่าเรือที่ให้บริการฟรีวีซ่าสําหรับผู้ถือ PR ของสิงคโปร์ ได้แก่ Nongsa Terminal Bahari, Marina Teluk Senimba, Batam Centre, Citra Tri Tunas, Sekupang, Sri Bintan Pura, Bandar Bentan Telani Lagoi และ Tanjung Balai Karimun

Silmy Karim ยังเน้นย้ำถึงศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของหมู่เกาะริอูและเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายแห่งในพื้นที่ และสิ่งอํานวยความสะดวกที่จะทําให้ผู้ถือ PR ของสิงคโปร์ ที่สนใจธุรกิจหรือการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษในบา ตัมง่ายขึ้น รวมถึงเขตเศรษฐกิจหนองสาในบาตัมและบินตันรีสอร์ท ซึ่งเป็นพื้นที่รวมสําหรับธุรกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยว

จากข้อมูลของกรมสถิติของสิงคโปร์ ระบุว่า สิงคโปร์มีชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้พํานักถาวรประมาณ 545,000 คน ทําให้สามารถพํานักในประเทศอย่างถาวร อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวของอินโดนีเซีย ยังคงคัดเลือกชาวต่างชาติที่เข้ามาอย่างเหมาะสมเพื่อรักษากฎระเบียบ ความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยให้ดำเนินไปได้ด้วยดี 

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย ถือเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีโครงการดึงดูดการลงทุนในประเทศมาก่อนหน้าด้วยเช่นกัน อาทิ บ้านหลังที่สอง และวีซ่าทองคําสําหรับพลเมืองโลกที่มีกำลังทรัพย์รวมถึงนักลงทุนต่างชาติ  

และเมื่อต้นปี 2024ประธานาธิบดี Joko Widodo ของอินโดนีเซีย ได้ประกาศรายชื่อล่าสุดของ 13 ประเทศและภูมิภาคที่มีสิทธิ์เข้าประเทศหมู่เกาะโดยไม่ต้องขอวีซ่า ตามรายงานของสื่อระดับภูมิภาค รวมถึงฮ่องกงที่เป็นหนึ่งในสามสถานที่นอกอาเซียนและติมอร์-เลสเตที่ได้รับการยกเว้น พร้อมกับสองประเทศในอเมริกาใต้ ได้แก่ ซูรินาเมและโคลอมเบีย ด้วยเช่นกัน

ที่มา : CNA

]]>
1493976
จุดสมดุลในการ “ลาหยุดพักผ่อน” คือ “8 วัน” ไม่น้อยไปจนเหมือนไม่ได้หยุด ไม่มากไปจนรู้สึกเบื่อ https://positioningmag.com/1482586 Sat, 13 Jul 2024 10:43:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482586 เคยไหม? ไปเที่ยวสั้นไปจนเหมือนกะพริบตาทีเดียวต้องกลับมาทำงานแล้ว แต่บางครั้งก็เที่ยวนานไปจนเริ่มเบื่อ งานวิจัยพบว่าจุดสมดุลที่สุดในการ “ลาหยุดพักผ่อน” ของคนเราคือ “8 วัน” ต่อทริป เป็นจุดที่เหมาะสมกำลังดีในการเติมพลังจากการท่องเที่ยว

หากตัดปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลาหยุดเพื่อไปเที่ยวพักผ่อนออกไป เช่น งบประมาณ จำนวนวันลาพักร้อนที่บริษัทอนุญาต นักวิทยาศาสตร์มีการวิจัยพบว่า จำนวนวันที่ดีที่สุดในการลาหยุดไปเที่ยวต่อหนึ่งทริปคือ “8 วัน”

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Happiness Studies ในปี 2012 มีการศึกษาวิจัยว่าจำนวนวันหยุดพักผ่อนมากน้อยส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างไร ผลปรากฏว่าความสุขของคนเราระหว่างไปเที่ยวจะขึ้นสู่จุดสูงสุดในวันที่ 8 ของการท่องเที่ยว

งานวิจัยยังพบด้วยว่า หลังจากกลับมาทำงานแล้วความสุขของคนเราจะกลับสู่จุดปกติภายใน 1 สัปดาห์ แม้ว่าจะไปเที่ยวมานานแรมเดือนก็ตาม ทุกอย่างจะกลับเป็นปกติในสัปดาห์เดียว

Woman traveler on boat joy nature view rock island scenic landscape Khao Sok National Park, Famous attraction adventure place travel Thailand, Tourism beautiful destinations Asia holiday vacation trip

Jessica de Bloom หนึ่งในนักวิจัยงานดังกล่าว ให้สัมภาษณ์กับ The Washington Post เมื่อปี 2024 ว่า การวิจัยครั้งนั้นยากที่การวัดผล เพราะแต่ละคนมีวิธีพักผ่อนในแบบที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็จะรู้สึกว่าจุดพีคของการไปเที่ยวจะอยู่ในช่วงประมาณวันที่ 8 รวมถึงคนที่ไปเที่ยวยาวนานกว่า 8 วันก็รู้สึกเช่นเดียวกัน

ด้าน Ondrej Mitas นักวิจัยและวิทยากรอาวุโสด้านความเป็นอยู่ที่ดีและคุณภาพชีวิตจาก Breda University กล่าวกับ The Washington Post ว่า เหตุที่จุดที่มีความสุขที่สุดระหว่างการท่องเที่ยวอยู่ที่ช่วงสัปดาห์กว่าๆ เท่านั้น เป็นเพราะถ้าผ่านระยะเวลาไปนานกว่านั้น ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้รับระหว่างท่องเที่ยวจะเริ่มกลายเป็นความเคยชิน ในทางกลับกัน ถ้าการท่องเที่ยวสั้นเกินไปก็จะยังไม่รู้สึกว่าได้หลีกหนีจากโลกการทำงานนานเพียงพอ

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม ทริปเที่ยว 8 วันอาจจะเป็นตัวเลขในอุดมคติ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำตามได้ เพราะกฎหมายและวัฒนธรรมในการลาหยุดงานที่ต่างกันทั่วโลก อย่างใน “ทวีปยุโรป” มีค่าเฉลี่ยวันลาพักร้อน 25 วันต่อปี ขณะที่ “สหรัฐฯ” พนักงานเอกชนมีวันลาพักร้อน 11-20 วันต่อปี และพนักงานจำนวนมากที่ไม่มีวันลาพักร้อนโดยได้รับเงินเดือนเลย หรืออย่างใน “ไทย” จำนวนวันลาพักร้อนส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 6-15 วันต่อปี ทำให้คนทำงานหลายประเทศอาจจะไม่สามารถลาได้ยาวถึง 8 วัน

นอกจากนี้ การทำงานรูปแบบใหม่ที่ “ทำงานจากที่ไหนก็ได้” ก็จะทำให้การปลีกตัวจากการทำงานได้ตลอดทริปยากยิ่งขึ้น มีการศึกษาในสหรัฐฯ เมื่อปี 2018 พบว่า 52% ของลูกจ้างตอบว่าตนหยิบงานขึ้นมาทำบ้างระหว่างลาพักร้อน (งานเล็กๆ น้อยๆ เช่น ตอบอีเมล เข้าประชุมออนไลน์) ซึ่งหลังจากผ่านโควิด-19 เชื่อแน่ว่าตัวเลขนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นด้วยการปรับตัวของที่ทำงานให้ยืดหยุ่นกับการทำงานจากที่ไหนก็ได้ได้มากกว่าเดิม

น่าสนใจว่าด้วยสภาวะการทำงานที่เปลี่ยนไป พนักงานถูกตามงานได้ทุกที่ หรือกระทั่งจัดทริป ‘Bleisure’ เพื่อไปนั่งทำงานจากริมทะเลแบบพักผ่อนไปด้วยทำงานไปด้วย จำนวนวันที่เหมาะสมในการลาหยุดจะเปลี่ยนตามไปด้วยไหม หรือระยะเวลาจะไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว

Source

]]>
1482586
‘มาเก๊า’ กับความพยายามชู ‘จุดขายใหม่’ นอกจากกาสิโน เพื่อแข่งโกยนักท่องเที่ยวกับนานาประเทศ https://positioningmag.com/1482229 Wed, 10 Jul 2024 08:17:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1482229 ทุกวันนี้ มาเก๊า เป็นเขตปกครองพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่นเดียวกับฮ่องกง ซึ่งใครที่ไปเที่ยวฮ่องกง ก็อาจจะเคยข้ามฝากไปเที่ยวมาเก๊ากันมาบ้าง เพราะถือว่าเป็น เมืองแห่งกาสิโนของโลก เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม แค่จุดขายเรื่องนี้เรื่องเดียวอาจไม่พออีกต่อไป

เมืองกาสิโนโลกกำลังถูกท้าทาย

แม้ว่า มาเก๊า จะถูกเรียกว่า เมืองแห่งกาสิโนของโลก แต่ปัจจุบันนี้หลายประเทศก็เริ่มมีแนวคิดที่จะเปิดกาสิโนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว อย่างในอาเซียนเองก็มีที่เห็นชัด ๆ ก็มี กัมพูชา ทำให้มาเก๊าเองนอกจากจะต้องพัฒนาจุดแข็งเดิมให้ดียิ่งขึ้น ก็ต้องชูอะไรใหม่ ๆ นอกจากแค่เรื่องกาสิโนมาดึงดูดนักท่องเที่ยว

“การที่หลายประเทศหันมาทำกาสิโนไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างในญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ก็มี รวมถึงในตลาดอาเซียน ซึ่งเรามองว่าตอนนี้ยังไม่มีผลกระทบ แต่เราก็ต้องทำการประชาสัมพันธ์ร่วมกับเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพลกซ์ และต้องพัฒนาเพื่อให้แข่งขันกับตลาดอื่นได้” มาเรีย เฮเลน่า เดอ เซนน่า เฟอร์นานเดซ ผู้ว่าการท่องเที่ยวมาเก๊า กล่าว

ลบภาพมีแต่กาสิโน

มาเก๊ามี แผน 5 ปี เพื่อจะทำให้การท่องเที่ยวมาเก๊ามีความหลากหลาย โดยเรียกว่า Tourism 1+4 โดยในส่วนของกาสิโนยังคงเน้น แต่จะเพิ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กีฬา การช้อปปิ้ง และสุขภาพ รวมถึงเน้นไปที่กลุ่ม B2B หรืองาน MICE เช่น งานแฟร์, งานคอนเสิร์ต และงานประชุมสัมมนาต่าง ๆ เป็นต้น

“มาเก๊ามีหลายกิจกรรมหรือจุดขายไม่ใช่แค่ทาร์ตไข่หรือกาสิโน แต่เราอยากเปลี่ยนภาพจำใหม่ว่ามาเก๊ามีกิจกรรมให้ทำเยอะ เช่น ธีมแลป บันจี้จัมพ์ อุโมงค์ลม และวัด รวมถึงการดึงคอนเสิร์ตให้มาจัดที่มาเก๊า รับรองว่ามาแต่ละครั้งได้เที่ยวไม่ซ้ำแน่นอน”

ที่ผ่านมา มาเก๊าเองพยายามประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวมาเก๊าอย่างต่อเนื่อง เช่น งานเมกาโรดโชว์ Experience Macao ในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย โดยในไทยเพิ่งจัดไปเมื่อวันที่ 14-16 มิถุนายน ที่ผ่านมา หรือการครบรอบ 25 ปีที่มาเก๊ากลับมาเป็นจีนแผ่นดินใหญ่ ก็มีของขวัญให้นักท่องเที่ยว 250,000 ชิ้น

ไทยติด Top 5 นักท่องเที่ยวต่างชาติ

ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวหลักของมาเก๊า 70% เป็นคนจีน 20% เป็นคนฮ่องกง และ 2% เป็นคนไต้หวัน ส่วนที่เหลืออีก 7% เป็นชาวต่างชาติ โดยอันดับ 1 คือ เกาหลีใต้ ตามด้วย ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ ไทยครองที่ 5

ปัจจุบัน มีเที่ยวบินที่เดินทางจากไทยสู่มาเก๊าสัปดาห์ละ 45 เที่ยวบิน ก่อนสถานการณ์โควิด ปี 2562 คนไทยเดินทางเที่ยวมาเก๊า 151,521 คน และใช้เวลาในมาเก๊าเฉลี่ย 1.4 คืนต่อคนต่อครั้ง ส่วนในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวไทย 102,163 คน ใช้เวลาอยู่นานขึ้นเป็น 2.3 คืนต่อคนต่อครั้ง ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 300 ดอลลาร์ต่อคน หรือราว 10,800 บาท และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีนักท่องเที่ยวไทย 65,000 คน คิดเป็น 93% เมื่อเทียบกับระดับก่อนโควิด

“นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เข้าเป็นปกติอยู่แล้ว นักท่องเที่ยวไทยก็เช่นกัน แต่ที่ต่างกันคือ นักท่องเที่ยวไทยเป็นสายมูชอบเข้าวัดขอพร นอกจากนี้ก็หาของกิน และช้อปปิ้ง โดยเฉพาะเข้าร้าน POP MART”

แข่งกับทุกประเทศทั่วโลกเพื่อดึงนักท่องเที่ยว

หลังจากการระบาด หลายประเทศให้ความสำคัญกับรายได้จากนักท่องเที่ยว ดังนั้น มาเก๊าไม่ได้แข่งแค่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะทุกประเทศก็มีแคมเปญการท่องเที่ยว และโปรโมตสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ ดังนั้น มาเก๊าเองก็ต้องตอบสนองความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มาให้ได้ เพราะการแข่งขันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

“นอกจากจะกระตุ้นนักท่องเที่ยวเเล้ว ต้องกระตุ้นคนในมาเก๊าให้มีจิตใจที่พร้อมให้บริการนักท่องเที่ยวด้วย เพราะประชาชนก็เป็นเหมือนทูตด้านการท่องเที่ยวเหมือนกัน เพื่อสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว” มาเรีย ทิ้งท้าย

]]>
1482229
‘Klook’ ประเมินนักท่องเที่ยวใช้จ่ายช่วง ‘สงกรานต์’ เพิ่ม 30% และ ‘จีน’ กำลังเป็นปลายทางมาแรงของคนไทย https://positioningmag.com/1467212 Thu, 21 Mar 2024 12:05:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1467212 หลังจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย คนทั่วโลกก็ออกเดินทางท่องเที่ยวกันแทบจะทันที หรือที่หลายคนเรียกว่า “เที่ยวเพื่อล้างแค้น และ Klook แพลตฟอร์มจองกิจกรรมและบริการท่องเที่ยว ก็ได้มาเปิดเผยถึงอินไซต์พฤติกรรมที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวในช่วงล้างแค้นนี้

ปริมาณการบินของเอเชียจะฟื้นตัวเกือบ 100% ในปีนี้

มิเชล โฮ ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ บริษัท Klook จำกัด ได้เปิดเผยว่า ในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา ไฟลท์บินของเอเชียฟื้นตัวเฉลี่ยประมาณ 75% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด (2562) อาทิ

  • สิงคโปร์ 90%
  • ไทย (สุวรรณภูมิและดอนเมือง) 75%
  • ญี่ปุ่น (นาริตะ) 70%
  • ฮ่องกง 60%
  • ปักกิ่ง 40%

อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 นี้ คาดว่าปริมาณไฟลท์บินจะฟื้นตัวได้ถึง 99.5% หรือแทบจะเป็นปกติ ส่วนแพลตฟอร์มเองก็มียอดจองการท่องเที่ยว และกิจกรรมประมาณ 1.4-3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด

นักท่องเที่ยวใช้จ่ายมากขึ้น

จากผลสำรวจพบว่า ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวในเอเชีย 64% ใช้งบสำหรับท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 30-50% และ 60% วางแผนจะใช้งบไปกับ กิจกรรมและประสบการณ์ในการท่องเที่ยว ในส่วนของ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวนถึง 54% ยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น และในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวไทยมีการจองกิจกรรมผ่าน Klook เพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับปี 2565

หากนับตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2566 พบว่า นักท่องเที่ยวจาก ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ เป็น 3 ประเทศที่เดินทางเข้ามาไทยมากที่สุด และสำหรับ Klook เองก็โดยยอดการจองกิจกรรมเมืองไทยในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์เติบโตขึ้นกว่า 40% และแนวโน้มขาจะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มี เทศกาลสงกรานต์

สงกรานต์คาดนักท่องเที่ยวใช้เงินเพิ่มขึ้น 30%

ในช่วงสงกรานต์ คาดว่านักท่องเที่ยวจะใช้จ่ายมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับช่วงปกติ เนื่องจากการกิจกรรมและระยะเวลาในการท่องเที่ยวที่นานขึ้น โดยดูได้จากการจองของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนักท่องเที่ยวไทยยังไม่เห็นความเคลื่อนไหวมากนัก เพราะจะเริ่มวางแผนการเดินทางในช่วงปลายมีนาคม-ต้นเมษายน แต่คาดว่าปลายทางสำคัญยังคงเป็น ญี่ปุ่น ยุโรป และฮ่องกง

“นักเดินทางต่างชาติจำนวนมากเลือกที่จะขยายเวลาการพักในประเทศไทย เนื่องจากมีกิจกรรมช่วงสงกรานต์ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ”

ทั้งนี้ จีน ก็กำลังเติบโตในฐานะจุดหมายปลายทางที่นักเดินทางชาวไทยสนใจไป เนื่องจากไม่ต้องขอวีซ่า และปลายทางที่นักท่องเที่ยวไทยสนใจก็คือ ดิสนีย์แลนด์ เซี่ยงไฮ้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจีนจะไม่แซง 3 อันดับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในเร็ว ๆ นี้แน่นอน

(Photo: Shutterstock)
]]>
1467212
นักท่องเที่ยวจีนมาอาเซียนน้อยกว่าคาด ผลจากเที่ยวบินไม่พอ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน https://positioningmag.com/1437317 Mon, 10 Jul 2023 10:37:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437317 เศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับผลกระทบจากนักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวประเทศเหล่านี้น้อยกว่าคาด โดยข้อมูลนั้นพบว่ายังต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดด้วยซ้ำ โดยสาเหตุสำคัญนั้นมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเที่ยวบิน ไปจนถึงสภาวะเศรษฐกิจในประเทศจีนที่อ่อนแอกว่าคาด

สำนักข่าว Bloomberg ได้เก็บรวบรวมตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่ได้เข้ามาประเทศในอาเซียน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น สื่อธุรกิจรายนี้พบว่าต่ำกว่าคาด และยังต่ำกว่าช่วงเวลาก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เกิน 50% ด้วยซ้ำ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในละแวกนี้มหาศาล

โดยตัวเลขนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาแต่ละประเทศเมื่อเทียบกับปี 2019 

  • ไทยคิดเป็น 35.9%
  • อินโดนีเซียคิดเป็น 38.8%
  • เวียดนาม 34.3%
  • สิงคโปร์ 25.2%
  • ฟิลิปปินส์ 13.8%

ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนั้นอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจอาเซียนหลังจากนี้ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ทาง RHB สถาบันการเงินในมาเลเซียคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินั้นจะเข้ามาไทยแค่ 26-28 ล้านคนเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของทั้งสถาบันการเงิน หรือแม้แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย

สาเหตุใหญ่ที่ทำให้นักท่องเที่ยวจากจีนไม่มีจำนวนมากอย่างที่คาดก็คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนนั้นไม่ได้ดีอย่างคาด โดยตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ที่ผ่านมาเติบโต 4.5% หลังจากที่ปี 2022 ที่ผ่านมาจีนมีการเติบโตต่ำจากผลของนโยบายโควิดเป็นศูนย์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งได้ปรับลด GDP จีนลงมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กว่าคาด

นอกจากนี้ข้อมูลจาก Cirium ชี้ว่าปริมาณเที่ยวบินจากจีนมายังอาเซียนหลายประเทศยังต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิดด้วยซ้ำ โดยเที่ยวบินจากจีนมายังประเทศไทยคิดเป็น 49.8% ขณะที่เที่ยวบินจากจีนไปยังฟิลิปปินส์นั้นต่ำสุดที่ 38% ทางด้านสิงคโปร์ที่มีเที่ยวบินจากจีนมากสุดในอาเซียนยังคิดเป็นจำนวนแค่ 77.9% เท่านั้น

ปริมาณเที่ยวบินที่ต่ำนั้นเกิดจากไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าของบริษัทผลิตเครื่องบินอย่าง Boeing และ Airbus ไปจนถึงสายการบิน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด ส่งผลตั้งแต่ในเรื่องของ Supply Chain ในการผลิตเครื่องบินนั้นหยุดชะงัก ไปจนถึงหายนะทางการเงินของสายการบินต่างๆ ทั่วโลกที่ทำให้สายการบินเหล่านี้ต้องเหมือนกลับมาเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ดียังเหลือเวลาในช่วงครึ่งปีหลัง ที่นักท่องเที่ยวจีนอาจกลับมาท่องเที่ยวในอาเซียนอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาส 4 ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป

]]>
1437317
‘Agoda’ เผย “ท่องเที่ยวไทย’ โตแซง 2019 แต่ ‘เวียดนาม’ กำลังเป็นคู่แข่งสำคัญ “แย่งนักท่องเที่ยว” https://positioningmag.com/1434288 Thu, 15 Jun 2023 09:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1434288 อย่างที่หลายคนรู้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยนั้น การท่องเที่ยว ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างการเติบโต โดย อโกด้า (Agoda) แพลตฟอร์มผู้ให้บริการจองห้องพักทางออนไลน์ ได้เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวไทยถือว่า ฟื้นตัวกว่าปี 2019 ไปแล้ว แต่ก็มี เวียดนาม ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัว

ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์

ออมรี มอร์เกนสเติร์น (Omri Morgenshtern) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อโกด้า เปิดเผยว่า จากข้อมูลของแพลตฟอร์มพบว่า การท่องเที่ยวของไทย ในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2023 นั้น ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยไทยถือเป็นปลายทาง อันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานคร ยังคงเป็นเมืองปลายทางที่มีการเดินทางมามากที่สุด

โดยประเทศที่มาท่องเที่ยวไทยมากที่สุด คือ เกาหลีใต้ และ อินเดีย ส่วนการมาของนักท่องเที่ยว จีน คิดเป็นประมาณ 50% เมื่อเทียบกับปี 2019 โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะกลับมา 100% ภายในสิ้นปีนี้ 

“ไทยถือว่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าหลาย ๆ ประเทศ เพราะไม่มีข้อจำกัดในการเดินทาง รวมถึงจำนวนไฟลท์บินที่มีจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าไทยเปิดกว้างในด้านการท่องเที่ยวมาก”

ยังเทียบญี่ปุ่นยาก

ญี่ปุ่นยังถือเป็นหมุดหมายอันดับ 1 ของนานาประเทศทั่วโลกแบบ ทิ้งห่าง โดย ออมรี อธิบายว่า เนื่องจากญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความแตกต่าง ที่สำคัญ ญี่ปุ่นมี เหตุผลให้ไปท่องเที่ยวมาก ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ, สวนสนุก, แหล่งช้อปปิ้ง สามารถเที่ยวได้ทั้งเมืองหลักและเมืองรอง รวมถึงสามารถเดินทางไปในเชิงธุรกิจ ดังนั้น การที่ไทยจะแซงขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในระยะเวลาอันสั้นได้ยาก

สิ่งที่ไทยมี ทะเลสวย อากาศอบอุ่น และ เหมาะกับการมาปาร์ตี้สังสรรค์ แต่ไทยยังจำเป็นต้อง ลงทุนเพิ่ม เพื่อให้นักท่องเท่ียวมีเหตุผลที่จะเดินทางมา ไม่ใช่แค่พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเดิม เช่น การมีสวนสนุกใหญ่ ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว

ในส่วนของ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือเชิงวัฒนธรรมนั้นต้องยอมรับว่า ม่ได้มีดีมานด์มากเท่าการท่องเที่ยวในสวนสนุก ที่ไม่เยอะเท่ากับสถานที่ท่องเที่ยวในสวนสนุก นอกจากนี้ คู่แข่งในภูมิภาคก็มีจำนวนมากที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขณะที่ภาพลักษณ์ของไทยเองก็มีความทันสมัย ดังนั้น อาจไม่ได้น่าดึงดูดเท่ากับประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิ เมียนมา อย่างไรก็ตาม ไทยเองก็ต้องทำการตลาดเพื่อดันเมืองรองนั้น ๆ ว่ามีอะไรดี ไม่ใช่แค่ว่าราคาถูก

ภาพจาก Shutterstock

เวียดนามมาแรงจ่อแซงไทย

เวียดนาม ถือเป็นประเทศที่ในภาคการท่องเที่ยวมีความคล้ายคลึงกับไทย แต่เมื่อเทียบกันแล้วยังถือว่าห่างกันพอสมควร อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาการท่องเที่ยวเวียดนามเติบโตก้าวกระโดด โดยในปัจจุบัน เวียดนามเป็นหมุดหมายอันดับ 2 ของนักท่องเที่ยวเกาหลี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ใกล้ และไฟลท์บินก็เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 15 ไฟลท์

นอกจากนี้ เกาหลีก็เข้าไปลงทุนในเวียดนามมานาน ทำให้มีความคุ้นเคยมากกว่าไทย ดังนั้น ไทยเองก็ต้องลงทุนเพิ่มเติม เช่น เรื่องวีซ่าที่ทำให้ง่ายสะดวก และสายการบินก็ต้องเปิดเส้นทางการบินเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ออมรี มองว่า ไทยมีศักยภาพที่จะเป็น ฮับด้านเทคโนโลยี จึงอยากให้ไทยพัฒนาในส่วนนี้ เพื่อดึงดูดให้นักลงทุน นักธุรกิจทั่วโลกเดินทางมาพบปะ แชร์ไอเดีย และเจรจาด้านธุรกิจ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะยิ่งดึงดูดการเดินทาง

“ความเห็นส่วนตัว ผมมอยากให้ไทยเป็นฮับของเทคโนโลยี ตอนนี้สิงคโปร์มีภาพด้านนี้มากกว่า เเต่ผมเชื่อว่าเรามีประสิทธิภาพที่จะเป็นฮับด้านเทคโนโลยีของภูมิภาคได้ เพราะปัจจุบันไทยถือเป็นศูนย์กลางของอโกด้า พนักงานส่วนใหญ่ก็อยู่ไทย ศูนย์กลางเทคโนโลยีก็อยู่ไทย และพนักงานเกือบครึ่งของเราที่เป็นชาวต่างชาติก็ชอบไทยมาก”

Photo : Shutterstock

อโกด้าฟื้นเกิน 100%

สำหรับยอดการใช้งานของอโกด้าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาเติบโตกว่าปี 2019 แล้ว โดยยอดค้นหาเพิ่มขึ้น 60% ยอดค้นหาท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น 49% อย่างไรก็ตาม ยอดการค้นหาข้อมูลการเที่ยวต่างประเทศของคนไทยยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะต้องยอมรับว่ามีเรื่องของ ราคา เข้ามาเป็นปัจจัย อย่างค่าตั๋วเครื่องบินก็ถือว่าสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนไฟลท์ไม่เพียงพอ

ดังนั้น เรื่องของ ราคา จะเป็น 1 ใน 3 ด้านที่อโกด้าเน้นมากในปัจจุบันและอนาคต โดยพยายามจะทำราคาให้ดีที่สุด มีฟีเจอร์อย่าง Price Freeze ช่วยให้ผู้จองสามารถล็อกราคาที่พักที่กำลังดู อีก 2 ด้านจะเป็นการพัฒนา เทคโนโลยี โดยล่าสุดเริ่มนำเทคโนโลยี Generative AI มาใช้ และสุดท้ายคือ Localization

“เรามองว่าการท่องเที่ยวตอนนี้มันไม่ได้เติบโตเพราะอั้นแล้วจะลดลง เราเชื่อว่าจะคงที่ไปเรื่อย ๆ เช่น ฝั่งยุโรปและอเมริกาที่เปิดการท่องเที่ยวก่อนหลาย ๆ ประเทศ แต่ก็ยังไม่ตกลงเท่าไหร่ในปัจจุบัน โดยเราอยากให้คนเข้าถึงการท่องเที่ยวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราเลยพยายามทำราคาให้ดีที่สุดเปลี่ยนแท็กไลน์เป็น ให้เห็นโลกในราคาที่ต่ำลง เพราะถ้ามาจองกับเราแล้วถูกลงอีก 1-2% แล้วทำให้คนเที่ยวได้ก็โอเคเเล้ว”

]]>
1434288