ธนาคารยูโอบี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 Jul 2023 05:26:29 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB สำรวจพบ 3 ใน 4 ของ “ผู้บริหารไทย” เชื่อมั่นรายได้บริษัทฟื้นตัวปีนี้ แต่ยังต้องแบกต้นทุนเงินเฟ้อ https://positioningmag.com/1438981 Tue, 25 Jul 2023 11:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1438981 ผลสำรวจ “ผู้บริหารไทย” โดยธนาคารยูโอบี (UOB) พบว่า 3 ใน 4 เชื่อมั่นว่ารายได้ขององค์กรจะฟื้นตัวได้ในปีนี้ แม้ว่าปัจจัยลบเรื่องต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ โดยบริษัทที่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจปีนี้มากที่สุด ได้แก่ ภาคการผลิต ภาคอสังหาฯ-โรงแรม และธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

ธนาคารยูโอบี จัดทำรายงาน UOB Business Outlook Study 2023 (SME& Large Enterprises) สำรวจความคิดเห็นและวิสัยทัศน์ของผู้บริหารไทยเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยในปีนี้หลังผ่านสถานการณ์โควิด-19 มา โดยสำรวจทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และกลุ่ม SMEs รวมทั้งหมด 530 คน ครอบคลุมอุตสาหกรรม 10 กลุ่มในประเทศไทย

ผลสำรวจพบว่า 76% หรือ 3 ใน 4 ของผู้บริหารเชื่อมั่นว่าผลประกอบการขององค์กรในปี 2566 มีแนวโน้มสูงขึ้น

โดยธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจด้านการผลิตและวิศวกรรม (85%) ตามด้วย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการโรงแรม (80%) และ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (79%)

74% ของบริษัทที่สำรวจยังเชื่อมั่นด้วยว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะ “ดีขึ้น” และกว่า 90% มั่นใจว่าจะเห็นกำไรฟื้นตัวกลับมาได้ภายในปี 2568

สำหรับเป้าหมายทางธุรกิจของปีนี้ของบริษัทต่างๆ 5 อันดับแรก ได้แก่ การมองหาฐานลูกค้าใหม่  (37%) สร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง (35%) ลดรายจ่าย (32%) หาแหล่งรายได้ใหม่ (30%) และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ (29%)

 

“ต้นทุนพุ่ง” จากเงินเฟ้อยังเป็นปัจจัยลบ

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า 90% ของธุรกิจที่สำรวจได้รับผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อมาตั้งแต่ปี 2565

61% ของธุรกิจบอกว่าบริษัทของตนมีต้นทุนการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้น และ 44% กล่าวว่ากำไรลดลงจากปัญหานี้

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมีผลจากความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปัจจัยนี้ทำให้บริษัท 2 ใน 5 ที่สำรวจระบุว่าซัพพลายเชนของธุรกิจได้รับผลกระทบ และทำให้ต้นทุนสูง

ถึงแม้ว่าปัจจัยลบเหล่านี้ยังคงอยู่ แต่ 63% ของธุรกิจที่สำรวจยังมองบวกว่า อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว และน่าจะปรับลดลงได้ภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี

กลยุทธ์ธุรกิจ: มองหาการขยายไปต่างประเทศ

ผลสำรวจนี้ยังพบด้วยว่า 90% ของธุรกิจต้องการจะขยายไปยังต่างประเทศภายใน 3 ปี เพื่อทางเพิ่มรายได้ เพิ่มกำไร และสร้างภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ

โดยธุรกิจที่ต้องการขยายไปต่างประเทศมากที่สุดคือ กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจค้าส่งและส่งออก (96%) เป้าหมายหลักที่บริษัทเหล่านี้ต้องการขยายไปคือ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และจีน อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่งเหมือนกันที่สนใจจะขยายไปนอกภูมิภาคเอเชีย (คิดเป็น 1 ใน 3)

ทั้งนี้ ความท้าทายหลักที่ภาคธุรกิจเผชิญเวลาขยายธุรกิจไปต่างประเทศคือ ขาดความรู้ทางกฎหมาย กฎระเบียบ และภาษี รวมถึงขาดพันธมิตรที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปรับตัวสู่ดิจิทัล ส่วนความยั่งยืน…ยังต้องรอก่อน

เทรนด์การดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นในโลกและในไทยช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า บริษัทพร้อมแล้วที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจ โดย 92% ของบริษัทไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจอย่างน้อย 1 หน่วยงาน ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย

ธุรกิจมักจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น บริการลูกค้าได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วน SMEs ไทยส่วนใหญ่จะใช้เพื่อปรับกระบวนการธุรกิจ

ส่วนความสนใจด้านความยั่งยืน 96% ของบริษัทที่สำรวจสนใจแนวทางทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน มองว่ากลยุทธ์ด้านความยั่งยืนจะช่วยส่งเสริมชื่อเสียงของบริษัทให้ดีขึ้น ทั้งยังสามารถดึงดูดพนักงานใหม่และนักลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจนี้พบว่าแม้ 9 ใน 10 ของธุรกิจไทยจะประกาศเป้าหมายแล้วว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (net zero emission) แต่มีเพียง 51% ที่นำแนวคิดด้านความยั่งยืนมาปฏิบัติอย่างจริงจัง

เหตุที่บริษัทเกือบครึ่งหนึ่งที่สำรวจยังไม่ได้ปฏิบัติจริง 1 ใน 3 ของเหตุผลคือความกังวลว่าแนวปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น กระทบต่อกำไรบริษัท

สถานการณ์โควิดที่ผ่านมาเป็นตัวเร่งให้บริษัทในประเทศไทยเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถด้านดิจิทัล และผนึกกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อรับมือต่อวิกฤตที่เข้ามา โดยยังสามารถปรับตัวให้ธุรกิจมีผลกำไรและเติบโตไปข้างหน้าท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน บริษัทที่ยังไม่พร้อมนำแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลมาใช้อาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1438981
รู้จัก ‘TMRW แคชพลัส’ วงเงินพร้อมใช้ : สินเชื่อเงินสดพร้อมใช้ยามฉุกเฉิน กดยืมง่ายผ่านแอป ทันใจคนดิจิทัล https://positioningmag.com/1320909 Wed, 03 Mar 2021 04:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320909

ในยามที่เศรษฐกิจบอบช้ำจากพิษโรคระบาด ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบเเสนสาหัส หลายคนหมุนเงินไม่ทัน ‘ชักหน้าไม่ถึงหลัง’ และมีความกังวลกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ด้วยสถานการณ์บีบคั้น หลายคนหันไปพึ่งพา ‘เงินกู้นอกระบบ’ ที่ดอกเบี้ยสูงปรี๊ด เสี่ยงอันตราย ถูกหลอกลวงไปกับคำดึงดูดใจว่า ‘เงินด่วน’ จนต้องเสียเงินให้มิจฉาชีพไปนับไม่ถ้วน

วันนี้เราจะพามารู้จักกับ TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้’ สินเชื่อเงินสดน้องใหม่ล่าสุดจากธนาคารยูโอบี ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูกต้องตามกฎหมาย

พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการกู้เงินด่วนเเบบทันใจที่ ‘เชื่อถือได้’ เเถมยังขอสินเชื่อเงินสดได้สะดวกสุดๆ  ผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน TMRW เเค่ปลายนิ้วคลิก

TMRW แคชพลัส คืออะไร

‘TMRW แคชพลัส’ เป็นบริการวงเงินพร้อมใช้ แบบดิจิทัลที่ลูกค้าสามารถขออนุมัติวงเงินไว้ล่วงหน้า และเมื่อต้องการยืมเงินเมื่อไหร่ ก็สามารถกดรับเงินโอนเข้าบัญชีได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชัน TMRW เเละที่สำคัญหาก ‘ไม่ได้ใช้’ ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปีใดๆ ทั้งสิ้น ช่วยลดความกังวลสำหรับลูกค้าที่อาจจะหมุนเงินไม่ทัน เมื่อค่าใช้จ่ายต่างๆ เข้ามาพร้อมๆ กันอย่างไม่ทันตั้งตัว

TMRW แคชพลัส เป็น ‘วงเงินสำรอง’ พร้อมใช้ที่ช่วยลูกค้าบริหารจัดการกับค่าใช้จ่ายในระยะสั้นได้เป็นอย่างดี เป็นสินเชื่อเงินสดที่สะดวก คุ้มค่าเเละเลือกรูปแบบการจ่ายคืนได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายคืนขั้นต่ำ หรือผ่อนจ่ายรายเดือนนานสูงสุด 48 เดือน

จุดเด่นของ TMRW แคชพลัส

‘TMRW แคชพลัส’ เสนอวงเงินพร้อมใช้ให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าถึงสินเชื่อเงินสด สำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ให้วงเงินสูงสุดมากถึง 1 ล้านบาท โดยลูกค้าสามารถสมัครเพื่อขอวงเงินผ่านทางแอปพลิเคชั่น TMRW ได้แล้วตั้งเเต่วันนี้ จะสมัคร ยืมเงิน หรือชำระเงิน ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านแอป สะดวกทุกขั้นตอน จบทุกการยืมได้ในแอปเดียวและเป็นส่วนตัวสุดๆ และเมื่อวงเงินได้รับการพิจารณาอนุมัติเเล้ว ลูกค้าสามารถกดยืมเงินจากบัญชี TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้ ไปเข้าบัญชีออมทรัพย์ TMRW Everyday ผ่านทางแอปพลิเคชันได้ทันที เมื่อมีความต้องการใช้เงินสด โดยสามารถเบิกถอนเงินสดตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อีกหนึ่งความพิเศษของ ‘TMRW แคชพลัส’ วงเงินพร้อมใช้ ก็คือลูกค้าสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้เอง โดยสามารถเลือกวางแผนการผ่อนชำระคืนได้ถึง 2 แบบ ได้เเก่

เเบบที่ 1 : ผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือนนานสูงสุด 48 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยพิเศษ สูงสุดไม่เกิน 24%

เเบบที่ 2 : ชำระคืนขั้นต่ำตามต้องการ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 2.5% ของยอดค้างชำระ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 25%

พิเศษดอกเบี้ย 0% ใน 2 รอบบัญชีแรกหลังจากวงเงินอนุมัติ เมื่อเลือกจ่ายคืนแบบขั้นต่ำ 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือบัญชี TMRW แคชพลัส

TMRW เเบงก์ดิจิทัลยุคใหม่ ได้ใจชาวโซเชียล 

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2562 ธนาคารยูโอบี เปิดตัว ‘TMRW’ (อ่านว่า ทู-มอร์-โรว์) ธนาคารดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล ออกเเบบให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ จากเเนวคิดที่ว่า เมื่อลูกค้าได้ทำธุรกรรมผ่าน TMRW มากขึ้นเท่าใด ก็จะสามารถเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินของตนเองมากขึ้นเท่านั้น

นี่จึงเป็นเหมือนการสร้างนิยามของบริการ Mobile Banking เเบบใหม่ขึ้นมา ผ่านอินไซต์ทางการเงิน ที่วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) แสดงให้เห็นถึงรายการใช้จ่าย การเก็บออมของลูกค้าแบบรายวันและรายเดือน เเถมยังช่วยเตือนให้ใช้จ่ายและออมเงินอย่างชาญฉลาดมากขึ้น เหมือนเป็น ‘เลขาส่วนตัว’ ที่เรียนรู้พฤติกรรมการใช้เงินของเรา อีกทั้งยังมีเกมสนุกๆ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ออมเงินด้วย TMRW จะเน้นช่วยให้ลูกค้าเห็น ‘ภาพรวมการเงิน’ ของการใช้จ่ายเเละการเก็บออมของตัวเอง ทำให้สามารถตัดสินใจด้านการเงินด้วยข้อมูลที่มีอยู่มากขึ้น

ปัจจุบัน TMRW เปิดให้บริการทั้งบัตรเดบิต เเละ ‘บัตรเครดิต’ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่การให้ ‘3% Cashback’ ครบเครื่องทั้งการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน การออมเงิน เเละสามารถเลือกหมวดสิทธิประโยชน์ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของเราได้ รวมไปถึงการเสนอสินเชื่อเงินสด TMRW แคชพลัส วงเงินพร้อมใช้ในยามฉุกเฉินที่เข้าถึงง่าย ผ่อนชำระได้นาน ให้วงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท เรียกได้ว่ามาเขย่าวงการ ‘สินเชื่อเงินสด’ บ้านเราในเวลานี้ได้ไม่น้อยทีเดียว

รู้จัก TMRW : https://www.tmrwbyuob.com/th/th.html

เมื่อลูกค้า TMRW สามารถเข้าถึงวงเงินพร้อมใช้ผ่าน TMRW แคชพลัส ธนาคารก็จะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารวงเงินสินเชื่อได้อย่างรอบคอบและสามารถควบคุมการเงินได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับการสมัคร TMRW นั้นก็ไม่ต้องไปที่สาขาธนาคารให้ยุ่งยาก เพียงแค่ใช้สมาร์ทโฟนโหลดแอปพลิเคชัน TMRW บน iOS App Store หรือ Google Play จากนั้นก็กดสมัครพร้อมอัพโหลดเอกสารต่าง ๆ ได้ทันที เเละทำตามขั้นตอนการยืนยันตัวตนต่อไป นอกจากนี้ภายในเเอป ยังมี Chat Bot ที่มีชื่อว่าน้อง ‘TIA’ พร้อมตอบปัญหาที่เราสงสัยได้ตลอดเวลาด้วย

ท่ามกลางตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลที่ ‘เติบโตสูง’ ปีนี้เราคงได้เห็น ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ อัดแคมเปญกระตุ้นการทำตลาด ‘สินเชื่อรายย่อย’ กันรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด รวมถึงบัตรเครดิต ผู้บริโภคจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบเเละเลือกสิ่งที่เข้ากับ ‘ไลฟ์สไตล์’ ของเราให้มากที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tmrwbyuob.com/th/th/products/cashplus.html

 

]]>
1320909
อ่านเกม SME ของ “UOB” ดูแลแบบพี่เลี้ยง ลงแรงวันนี้ บ่มเพาะเพื่อวันข้างหน้า https://positioningmag.com/1253563 Thu, 14 Nov 2019 02:18:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253563 กลยุทธ์ดึงผู้ประกอบการ SMEs แบบธนาคาร “ยูโอบี” วันนี้ ไม่ใช่เพียงประเมินบริษัทและเสนอแพ็กเกจสินเชื่ออย่างในอดีต แต่ต้องลงทุนลงแรงสร้างเครือข่ายเป็นพี่เลี้ยงให้ผู้ประกอบการ ค้นหา SMEs ที่ต้องการแก้โจทย์ธุรกิจด้วยเทคโนโลยี จากนั้นดึงสรรพกำลังทั้งโซลูชันส์ที่ธนาคารมีให้ รวมถึงนวัตกรรมจากเทคสตาร์ทอัพทั่วภูมิภาคมาช่วยให้ดาวรุ่งเหล่านี้เติบโตไปด้วยกัน

“SMEs เป็นกระดูกสันหลังของประเทศ” คือวิสัยทัศน์ของ “ปิยพร รัตน์ประสาทพร” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี (ไทย) ทำให้เห็นขนาดและความสำคัญของตลาด SMEs ที่ทำให้ยูโอบีทั้งกรุ๊ปและในประเทศไทยต้องให้ความสนใจ

โดยกลยุทธ์เจาะกลุ่ม SMEs แบบยูโอบีคือการริเริ่มโปรแกรม Smart Business Transformation ขึ้น เริ่มต้นจากในสิงคโปร์ก่อนเมื่อปี 2561 ก่อนขยายเข้าไทยในปี 2562 โปรแกรมนี้รับสมัครและคัดเลือกผู้ประกอบการ SMEs เข้ามาร่วมเวิร์กช็อป 83 บริษัท ก่อนจะคัดเลือกจนเหลือ 15 บริษัทที่จะได้ร่วมการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตยาว 3 เดือน

(ซ้าย) ปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี (ไทย) และ (ขวา) เฟลิกซ์ ตัน หัวหน้ากลุ่มงานร่วม The FinLab

“เฟลิกซ์ ตัน” หัวหน้ากลุ่มงานร่วม The FinLab ซึ่งดูแลโปรแกรมนี้ด้วย อธิบายว่า การเวิร์กช็อปให้ผู้ประกอบการคือการช่วยวิเคราะห์ว่าโจทย์ของบริษัทนั้นๆ คืออะไร และหา framework ที่จะช่วยให้แต่ละบริษัทพัฒนาปรับบริษัทเข้าสู่การทำงานดิจิทัลได้เอง ส่วนบริษัทที่ได้รับคัดเลือกนั้นคือบริษัทที่มีใจเปิดกว้างพร้อมที่จะพัฒนาตามโปรแกรม 3 เดือนของธนาคาร

ทั้งนี้ โครงการนี้พบว่า โจทย์ของบริษัท SMEs ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน คือ 60% ของทั้งหมดมีปัญหาเรื่องการจัดการหลังบ้านยังไม่ถูกทำให้เป็นดิจิทัล แม้หน้าบ้านที่ใช้ติดต่อลูกค้าจะมีการใช้เครื่องมือดิจิทัลแล้วก็ตาม แบบที่เฟลิกซ์เปรียบเทียบว่า “เหมือนกับคนเป็นโรคหัวใจแล้วไปซื้อสมาร์ทวอชต์มาใส่เพื่อทราบอัตราการเต้นของหัวใจตัวเอง แต่ยังไม่ปรับพฤติกรรมอะไรเลย” นอกจากนี้ SMEs ยังต้องการความช่วยเหลือเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ รวมถึงการขยายตลาดไปต่างประเทศด้วย

เปิดประตูระดับภูมิภาคให้ SMEs

เมื่อโจทย์เป็นเช่นนี้ ยูโอบีจึงรวมศูนย์ความช่วยเหลือมาที่โปรแกรม โดยเป็นโค้ชให้คำปรึกษาเจาะเข้าไปแต่ละบริษัทว่าควรจะนำโซลูชันส์แบบไหนเข้ามาช่วย ซึ่งก่อนหน้านี้ยูโอบีมีเครื่องมือภายในอยู่แล้วคือ Biz Smart เป็นโซลูชันส์รวมโปรแกรมหลังบ้านจากหลายบริษัท เช่น SAP, Enterpryze, HR Easily ฯลฯ ที่ใช้บริหารระบบบัญชี สั่งสินค้า ขายสินค้า สต็อก จ่ายเงินเดือน มาให้ลูกค้ายูโอบีสมัครใช้ได้ในราคาถูกลงเพราะเป็นการจ่ายรายเดือนจึงไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ Biz Smart จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้กับ SMEs ในโปรแกรม

แต่ถ้าความต้องการยังไม่ตรงกัน ยูโอบียังเป็น มือประสานสิบทิศ ไปยังบริษัทและสตาร์ทอัพทั้งเมืองไทยและระดับภูมิภาค หากมีโซลูชันส์ที่ตอบโจทย์ก็จะเชื่อมโยงให้ได้เจอกับ SMEs

ข้อสุดท้ายคือเครือข่ายของยูโอบีเองซึ่งมีสาขาธนาคารอยู่ใน 19 ประเทศ จึงเหมาะกับ SMEs ที่กำลังจะขยายไปต่างประเทศ เพราะมีหน่วยงาน FDI Advisory Unit ให้คำปรึกษาเรื่องการลงทุน กฎหมาย ภาษี ในประเทศที่จะเจาะเข้าไป

จากการสำรวจ SMEs ทั่วภูมิภาคอาเซียนพบว่า การลงทุนที่ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ต้องการลงทุนมากที่สุดคือด้านเทคโนโลยี โดยมีสัดส่วนมากถึง 60% (photo: thefinlab.com)

มีกรณีศึกษาจากบริษัทใน batch 1 เช่น วอริกซ์ สปอร์ต หลังร่วมโปรแกรมทำให้ได้โซลูชันส์ใหม่ไปใช้คือ BoostOrder และ Anchanto ซึ่งช่วยให้การบริหารยอดขายบนออนไลน์ทั้งหมดมารวมในแพลตฟอร์มเดียว และช่วยเร่งยอดขายได้จริง เทียบยอดขายออนไลน์เดือนมกราคมปีนี้อยู่ที่ 5 ล้านบาทต่อเดือน มาเป็น 12 ล้านบาทต่อเดือนในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาที่บริษัทเริ่มใช้โซลูชันส์เหล่านี้แล้ว

หรืออย่างแบรนด์ Nappi Baby ซึ่งขายเสื้อผ้าเด็กอ่อน เป็นลูกค้าที่ใช้เครื่องมือ Biz Smart ดังกล่าว ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น Zaviago และ Offeo ที่ทำให้การสร้างเว็บไซต์ขายออนไลน์และทำวิดีโอการตลาดด้วยตนเองง่ายขึ้นมาก ผลลัพธ์คือทำให้แบรนด์มียอดขายเพิ่ม 20% และต่อยอดไปสู่การขยายตลาดไปต่างประเทศ

ผู้บริหารจากบริษัทผลิตกระเป๋ารายหนึ่งในโปรแกรมนี้ยังเปรียบเทียบด้วยว่า ยูโอบีมีการติดตามผลอย่างจริงจังและผลักดันให้ผลลัพธ์เกิดขึ้นจริงกับ SMEs แตกต่างจากโปรแกรมบ่มเพาะหรือเวิร์กช็อปของหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งเป็นการให้ความรู้ จับคู่ธุรกิจให้ แต่ไม่ได้มีการโค้ชอย่างใกล้ชิดในระดับนี้

สร้างความรู้สึกที่ดีและโตไปด้วยกัน

กลับมาที่เหตุผลที่ยูโอบีต้องลงทุนลงแรงกับ SMEs ระดับนี้ “เฟลิกซ์” ฉายภาพว่า เป็นเพราะยุคนี้ไม่ใช่ยุคการปิดการขายอย่างเดียวแล้ว แต่กลยุทธ์ธนาคารต้องช่วยให้ผู้ประกอบการเติบโต เมื่อเติบโตก็มีการลงทุนและจัดจ้างบุคลากรสูงขึ้น นำไปสู่การหมุนวงจรเศรษฐกิจในประเทศด้วย

The FinLab หนึ่งในโครงการที่ยูโอบีร่วมก่อตั้ง เริ่มต้นในสิงคโปร์เพื่อช่วยเร่งการเติบโตให้สตาร์ทอัพกลุ่มฟินเทค ก่อนจะขยายวงกว้างเป็นศูนย์ช่วยผู้ประกอบการ SMEs ให้เข้าสู่การทำธุรกิจดิจิทัล ผ่านโปรแกรมบ่มเพาะ Smart Business Transformation

แน่นอนว่าการเป็นพี่เลี้ยงให้เช่นนี้ย่อมสร้างความผูกพันทั้งทางปฏิบัติและทางใจกับ SMEs เพราะโซลูชันส์ที่ธนาคารแนะนำหลายระบบสามารถผูกเข้ากับบัญชีธนาคารยูโอบีโดยตรง ทำให้ลูกค้าเลือกใช้เพื่อความสะดวก เมื่อลูกค้าขยายงานต้องการเชื่อมต่อกับคู่ค้ารายอื่นๆ ย่อมแนะนำต่อให้ใช้ระบบเดียวกันเพื่อความต่อเนื่องในงานซึ่งจะเป็นผลดีกับยูโอบีในที่สุด

ในแง่ผลทางจิตใจ การเข้าไปบ่มเพาะ SMEs ตั้งแต่ยังเป็นต้นกล้าให้เติบใหญ่ ย่อมทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันที่ดีกับธนาคาร เป็นบันไดสู่โอกาสการขายผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ด้วยผลตอบรับที่วิน-วินเหล่านี้ ยูโอบี (ไทย) จึงเปิดรับสมัคร batch 2 ในโปรแกรม Smart Business Transformation อย่างต่อเนื่อง โดยจะเปิดรับเวิร์กช็อปขั้นต้น 3 รอบ รอบละ 50 บริษัท ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562, มกราคม 2563 และกุมภาพันธ์ 2563 จากนั้นคัดเลือกรอบสุดท้ายเหลือ 50 บริษัทเพื่อเข้าสู่การรันโปรแกรมระยะยาว 4-6 เดือน เริ่มต้นเดือนเมษายน 2563 เป็นการขยายจำนวนรับที่มากขึ้น เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่กว้างขึ้น

]]>
1253563