ธุรกิจการศึกษา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 16 Aug 2022 11:21:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “นักศึกษาจีน” ไม่มา “มหาวิทยาลัย” ในสหรัฐฯ กำไรหด วิ่งหาผู้เรียนชาติอื่นทดแทน https://positioningmag.com/1396335 Tue, 16 Aug 2022 11:21:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396335 แม้แต่ภาคการศึกษาก็กระทบเมื่อ “นักศึกษาจีน” ยังไม่กลับมาสมัครเรียนใน “มหาวิทยาลัย” สหรัฐฯ ทำให้สถาบันเหล่านี้เห็นกำไรที่ลดต่ำลง เหตุเกิดเพราะจีนยังปิดพรมแดนจากโรคระบาด และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ย่ำแย่มาตั้งแต่ยุคทรัมป์ สถาบันอุดมศึกษาอเมริกันจึงต้องเบนเข็มพยายามดึงดูดผู้เรียนชาติอื่นทดแทน ชิงตลาดแข่งกับมหาวิทยาลัยในยุโรปและเอเชีย

สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานตัวเลขการออกวีซ่า F-1 ของสหรัฐอเมริกาในรอบ 6 เดือนแรกปี 2022 ลดเหลือเพียง 31,055 รายการ เทียบกับ 6 เดือนแรกปี 2019 (ก่อนโควิด-19) ที่มีการออกให้ถึง 64,261 รายการ เรียกว่าลดลงไปมากกว่าครึ่ง

ปัญหาหลักเกิดจากนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนต่อในสหรัฐฯ สัดส่วนใหญ่ที่สุดคือ “นักศึกษาจีน” ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด ทำให้เมื่อนักศึกษาจีนไม่กลับมา ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับ “กำไร” ของวิทยาลัยเหล่านี้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐซึ่งมักจะคิดค่าเทอมนักศึกษาชาติสูงกว่านักศึกษาอเมริกันอย่างมาก ทำให้เป็นการขาดรายได้ก้อนใหญ่

การเกิดโรคระบาดทำให้นักศึกษาต่างชาติในภาพรวมลดลงอยู่แล้ว โดยปีการศึกษา 2020-2021 มีนักศึกษาต่างชาติเข้าลงทะเบียนเรียนน้อยกว่า 1 ล้านคน เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2014-2015

แต่ปัญหาของนักศึกษาจีนที่หายไปไม่ได้มีเฉพาะเรื่องโรคระบาด ทำให้จีนปิดพรมแดนจนถึงวันนี้ ส่งผลให้นักศึกษาลังเลที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ

ปัญหาอื่นยังซึมลึกกว่านั้น นั่นคือผลกระทบตั้งแต่ยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงออกเป็นปฏิปักษ์อย่างโจ่งแจ้งต่อคนจีน มีการสั่งห้ามคนจีนที่เชื่อว่าเป็นภัยความมั่นคงเข้าประเทศ และแสดงออกว่าสหรัฐฯ ไม่ต้องการนักศึกษาจีน ยิ่งความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีนกับสหรัฐฯ ตึงเครียดขึ้น คนจีนก็ยิ่งกังวลว่าชาวอเมริกันจะคุกคามลูกหลานตนหากส่งให้ไปเรียนในสหรัฐฯ

สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ เห็นสัญญาณเหล่านี้มาสักพักแล้ว ทำให้สถาบันพยายามจะหาทางแก้ รวมถึงหาเบาะรองรับด้วยการหาผู้เรียนชาติอื่นๆ ทดแทน โดยเฉพาะอินเดีย

ดูเหมือนความพยายามจะให้ผลกระเตื้องขึ้นบ้าง ผลสำรวจมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ 559 แห่ง จัดสำรวจโดย Institute of International Education (IIE) พบว่า 65% ของมหาวิทยาลัยที่สำรวจรายงานว่ามีใบสมัครจากนักศึกษาต่างชาติ “เพิ่มขึ้น” ในปีการศึกษา 2022-23 ซึ่งมากกว่าเมื่อปีก่อนที่มีเพียง 43% ของมหาวิทยาลัยที่ได้ใบสมัครจากนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น

มหาวิทยาลัย ดีที่สุด
University of California, Berkeley (Photo: Shutterstock)

แต่การที่มี “ใบสมัคร” ไม่ได้แปลว่าสุดท้ายนักศึกษาจะเลือกลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยนั้นๆ นักศึกษาอาจสอบติดหลายที่และเลือกที่อื่นแทน เพราะมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ก็มีข้อเสียและเผชิญการแข่งขันต่างๆ ดังนี้

  • การแข่งขันแย่งตัวนักศึกษาต่างชาติยิ่งร้อนแรงขึ้น – แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นจุดหมายยอดฮิตของนักศึกษา แต่สถาบันในอังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ออสเตรเลีย และเอเชีย ต่างก็ผลักดันตนเองขึ้นมาจนสามารถดึงนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นได้สำเร็จ รวมถึงจีนเองก็ลงทุนกับการปั้นมหาวิทยาลัยในประเทศมาก จนสามารถยื้อตัวนักศึกษาชาติตัวเองให้เรียนต่อภายในประเทศได้มากขึ้น
  • ค่าเรียนแพงค่าเทอมระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ นั้นแพงกว่าประเทศอื่นอยู่แล้ว และนักศึกษาต่างชาติยังต้องเสียค่าเรียนแพงกว่าปกติอีก โดยส่วนมากจะสูงกว่าที่คนอเมริกันจ่ายเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ยังต้องเสียค่าที่พัก อาหาร การเดินทาง ประกันสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดก็มักจะสูงกว่าประเทศอื่นเช่นกัน
  • สหรัฐฯ พึ่งนักศึกษาจีนมากจนยากจะชดเชย – จีนแผ่นดินใหญ่มีประชากรถึง 1,400 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนที่ต้องการจะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยสหรัฐฯ จะหาประชากรมากขนาดนี้มาทดแทนได้ ถือเป็นงานช้างและต้องใช้เวลา
  • ปัจจัยทางจิตวิทยา – ชาวอเมริกันดูเหมือนจะเริ่มเสียศรัทธากับคุณค่าของการเรียนระดับอุดมศึกษา ทำให้ชาวต่างชาติเองก็มีคำถามในใจว่าคุณภาพการศึกษาของสหรัฐฯ ยังดีอยู่หรือเปล่า ต่างจากในอดีตที่ทั่วโลกต่างมั่นใจกับคุณภาพที่เหนือกว่าของระบบการศึกษาอเมริกัน

Source

]]>
1396335
เปิดเทอมแรก “คิงส์คอลเลจ” รร. นานาชาติที่ “สหพัฒน์” ร่วมหุ้น ผู้ปกครองดีมานด์สูงเกินคาด https://positioningmag.com/1304275 Tue, 03 Nov 2020 11:24:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304275
  • ชมบรรยากาศโรงเรียนนานาชาติ “คิงส์คอลเลจ” กรุงเทพฯ เปิดเทอมแรก ผู้ปกครองพาบุตรหลานสมัครเรียนสูงเกินคาด ปัจจุบันรับนักเรียนแล้วกว่า 300 คน จากเป้าหมาย 100 คน
  • โรงเรียนแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นจาก ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ เล็งเห็นถึงระบบโรงเรียนนานาชาติในไทยยังสามารถพัฒนาให้ตอบโจทย์ได้ดียิ่งขึ้น และสุดท้ายสามารถดึงเครือสหพัฒน์ร่วมถือหุ้นกว่า 10% รวมถึงเป็นผู้ให้เช่าที่ดินกลางเมืองย่านพระราม 3 ทำเลที่ตั้งของโรงเรียน
  • มองกระแสผู้ปกครองไทยมีดีมานด์ต่อโรงเรียนนานาชาติสูงมาก โดยปัจจัยสถานการณ์ COVID-19 ระบาดมีส่วนทำให้ผู้ปกครองที่เตรียมส่งลูกเรียนมัธยมในต่างประเทศ กลับมาพิจารณาการเรียนในไทย โดยโรงเรียนหลักสูตรอังกฤษเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลัง
  • โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ หรือ King’s College International School Bangkok เปิดเทอมแรกแล้ว! โดยโรงเรียนแห่งนี้เป็นสาขาของ King’s College School, Wimbledon ประเทศอังกฤษ โรงเรียนชั้นนำที่สามารถส่งนักเรียนถึง 25% เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge ได้

    สาขาที่ประเทศไทยนั้นเป็นสาขานอกประเทศอังกฤษสาขาที่ 3 ของโลก (2 สาขาก่อนหน้านี้อยู่ในเมืองอู๋ซีและหางโจว ประเทศจีน) เริ่มต้นโครงการโดย ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ซึ่งพบประสบการณ์ตรงหลังจากลูกชายย้ายโรงเรียนจากโรงเรียนนานาชาติในไทยไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ทำให้เล็งเห็นว่าโรงเรียนนานาชาติในไทยยังสามารถยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้นอีก เพื่อเทียบเคียงกับในอังกฤษได้

    โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ

    ในที่สุด ดร.สาคร สามารถติดต่อขอนำแบรนด์และระบบจาก King’s College School, Wimbledon มาเปิดการเรียนการสอนในไทยได้สำเร็จ พร้อมประสานเช่าที่ดินขนาด 22.5 ไร่ ย่านพระราม 3 ของ “เครือสหพัฒน์” เป็นทำเลก่อสร้างโรงเรียน และสหพัฒน์ได้เข้าร่วมถือหุ้นด้วยประมาณกว่า 10% โครงการนี้ใช้งบลงทุนทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ก่อนจะเปิดเรียนวันแรกไปเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563

     

    ดีมานด์สูงเกินคาด รับนักเรียนปีแรกกว่า 300 คน

    ดร.สาครกล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ชั้น Pre-nursery ถึง Year 10 ก่อนจะทยอยเปิดเพิ่มจนถึง Year 13 ขณะนี้กำลังพิจารณาว่าในปีการศึกษา 2565 จะสามารถเปิดเพิ่มถึง Year 12 ได้หรือไม่ และจะมีการลงทุนก่อสร้างตึกเรียนเพิ่มเติมรองรับนักเรียน

    ออกแบบสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการใช้ชีวิตนอกห้องเรียน

    สำหรับปีการศึกษาแรกนี้ มีนักเรียนเข้าเรียนแล้วมากกว่า 300 คน ถือว่าเหนือความคาดหมาย เพราะเดิมมองว่าปีแรกน่าจะมีนักเรียนราว 100 คนเท่านั้น และกว่า 300 คนที่ได้เข้าเรียนนี้ยังต้องผ่านการสอบแข่งขันและสอบสัมภาษณ์ด้วย ไม่สามารถรับได้ทุกคน ทำให้เห็นว่าพ่อแม่ผู้ปกครองยุคนี้มีความต้องการการศึกษาในระบบนานาชาติสูงมาก

    “ดีมานด์โรงเรียนนานาชาติสูงกว่าซัพพลายมาตลอด ระยะหลังมีโรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่เยอะมากก็จริง แต่ดีมานด์ก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีซัพพลายไม่เพียงพอ” ดร.สาครกล่าว

     

    ทัศนคติใหม่ สอนให้เด็กมีเป้าหมายชีวิตและดีรอบด้าน

    การมีโรงเรียนนานาชาติใหม่ๆ นั้นมักจะมาตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างออกไปของผู้ปกครอง และวิธีคิดใหม่ในการให้การศึกษายุคนี้

    ดร.สาครเล่าย้อนให้ฟังว่า ในอดีตยุคแรกของการตั้งโรงเรียนนานาชาติที่ประเทศไทย จุดแข็งสำคัญคือเรื่อง “ภาษา”
    ที่ทำให้ใครๆ ต้องการส่งลูกหลานเข้าเรียน ต่อมาพัฒนามาเป็นเรื่องของ “โอกาสทางการศึกษา” เพราะโรงเรียนจะปูทางให้เด็กมีโอกาสมากกว่าเพื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

    ห้องแล็บวิทยาศาสตร์ของ “คิงส์คอลเลจ” กรุงเทพฯ ก่อสร้างตามมาตรฐานความปลอดภัยของอังกฤษ

    แต่ยุคนี้ ดร.สาครมองว่า สังคมโลกรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองไทยมองการศึกษาอีกแบบหนึ่ง โรงเรียนนานาชาติไม่ได้ตอบโจทย์แค่เรื่องภาษากับโอกาส แต่ต้องสร้างให้เด็ก “มีเป้าหมายชีวิตของตัวเองและดีรอบด้าน” คือไม่ใช่แค่เรียนเก่ง แต่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร มีทักษะอื่นในชีวิต และมีจิตใจที่ดี

    โดยดร.สาครมองว่าปรัชญาการให้การศึกษาของ King’s College School ซึ่งโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ถอดแบบมาใช้ด้วยนั้น สามารถตอบโจทย์นี้ได้ เพราะโรงเรียนจะให้คุณค่า 3 เสาหลัก ทั้งด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ หลักสูตรร่วมผสมส่งเสริมกิจกรรมอื่น และดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พร้อมกับส่งเสริมให้เป็นคนที่ดีผ่านคุณค่าเรื่องกิริยามารยาท จิตใจเมตตา และใฝ่ปัญญา

    สระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก เป็นสระในร่มที่ยังมีช่องแสงเพิ่มความอุ่นให้น้ำในสระ

    “โรงเรียนมีเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ไม่ได้ต้องการเป็นโรงเรียนที่กลายเป็นโรงงานฝึกทำข้อสอบ แต่ต้องการส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นด้วยเพื่อให้เป็นคนที่เติบโตมาแบบรอบด้าน รวมถึงฝึกด้านจิตใจ ทำให้เรามี House System เพื่อสร้างสัมพันธ์พี่น้อง และอบรมเรื่องมารยาทนอบน้อม เคารพผู้ใหญ่ ยังมีความเป็นไทย ที่นี่เด็กยังรู้จักการไหว้ทุกคน” ดร.สาครกล่าว

     

    COVID-19 มีส่วนทำให้พ่อแม่เลือกโรงเรียนในไทยมากขึ้น

    ด้านผลกระทบจาก COVID-19 ต่อโรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ ดร.สาครกล่าวว่า มีผลกับการนำครูและบุคลากรจากต่างประเทศเข้ามาในไทย มีความท้าทายสูงขึ้น แต่สุดท้ายสามารถนำคุณครูเข้ามาได้ตามเป้า ปัจจุบัน โรงเรียนทำการสอนด้วยครูต่างชาติทั้งหมด (ยกเว้นคุณครูภาษาไทย) โดยครูหลายท่านเป็นครูระดับ Tier 1 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งโรงเรียนทุ่มทุนจ้างในอัตรารายได้เดียวกับที่ประเทศอังกฤษ เพราะครูคือหัวใจสำคัญที่สุดของระบบการศึกษา

    ส่วนผลต่อดีมานด์ของผู้ปกครอง ในเชิงเศรษฐกิจนั้นมีผลกระทบกับรายได้ของผู้ปกครองกลุ่มนี้น้อยมาก และยิ่งส่งให้ดีมานด์สูงขึ้นด้วย เพราะในระดับมัธยม ปกติผู้ปกครองมักจะส่งลูกหลานเข้าเรียนในต่างประเทศโดยตรง แต่เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ระบาดหนักในต่างประเทศ ทำให้บางส่วนหันกลับมาพิจารณาทางเลือกในไทยมากขึ้น

    ดร.สาคร สุขศรีวงศ์ ประธานบริหาร โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพฯ

    ขณะที่ตัวเลือกโรงเรียนนานาชาติในไทยที่มักจะแบ่งการศึกษาออกเป็นระบบอังกฤษกับอเมริกัน ดร.สาครมองว่า ในแง่หลักสูตรเชิงวิชาการไม่ได้แตกต่างกันมากนัก แต่สิ่งที่ต่างกลับเป็นคุณค่าและทักษะประเภท soft skills ซึ่งกระแสระบบอังกฤษจะเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะยังปลูกฝังเรื่องกิริยามารยาท จะเห็นได้ว่าโรงเรียนนานาชาติที่เปิดใหม่เป็นระบบอังกฤษเกือบทั้งหมด

    ดร.สาครยังมองภาพระบบการศึกษาไทยว่าสามารถพัฒนาได้ โดยควรจะหันมายึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ มีกฎระเบียบที่ยืดหยุ่นให้ครูแต่ละโรงเรียนปรับวิธีการเรียนการสอนให้เข้ากับท้องถิ่นนั้นๆ

    “เรายังติดกับดักระบบการศึกษาในอดีต คือต้องมีหลักสูตรตายตัวและครูเป็นคนถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก แต่วันนี้เทคโนโลยีทำให้ความรู้สามารถหาได้จากทุกที่ ครูจึงกลายเป็น facilitator มากกว่า เป็นผู้ชี้แนะช่องทางการไปค้นคว้าหาความรู้ สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กหาเป้าหมายของตัวเองเจอ และนำการอภิปรายในชั้นเรียน ช่วยให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นในชีวิต เช่น การคิด การพูด” ดร.สาครกล่าว “ครูต้องผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กเติบโตด้วยความสุข”

    ]]>
    1304275
    โอกาสในวิกฤต ยุคใหม่ “อักษรเจริญทัศน์” ถึงเวลา #เรียนออนไลน์ พลิกโฉมการศึกษาไทย https://positioningmag.com/1281835 Wed, 03 Jun 2020 06:18:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281835 เรากำลังก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่ ธุรกิจที่ปรับตัวทันคือธุรกิจที่จะอยู่รอด” เมื่อผ่านพ้นวิกฤตอันหนักหนาสาหัสนี้ไปได้

    ก่อนหน้านี้ Digital Disruption เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจทุกภาคส่วน รวมถึงภาคการศึกษา” โดยเฉพาะในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เป็นเหมือนปัจจัยเร่งที่กระตุ้นให้สถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน ต้อง “ลงสนามจริง” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    “เราพูดถึงการเรียนออนไลน์กันมาหลายปี เเต่ยังไปไม่ถึงไหน คราวนี้ถึงเวลาของจริงมาเเล้ว ถือเป็นโอกาสในวิกฤต เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ต้องพัฒนากันต่อไป” 

    ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทายาทรุ่น 3 แห่ง อักษรเจริญทัศน์ เปิดใจกับ Positioning ถึงมุมมองการศึกษาไทยในยุค New Normal การปรับตัวเเละกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กร ความท้าทายในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ใหม่ รวมถึงเกร็ดชีวิต เเรงบันดาลใจเเละเป้าหมายต่อไป

    ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

    หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องราวตำนาน 80 ปีของอักษรเจริญทัศน์มาบ้างเเล้ว จากรุ่นคุณปู่ที่มาจากเมืองจีนเเบบเสื่อผืนหมอนใบ เริ่มขายหนังสือตามวัดจากนั้นขยับมาพิมพ์ใบลานขายเเละขยายเป็นสำนักพิมพ์

    จากหนังสือพระสู่หนังสือเรียน

    จากหนังสือเรียนสู่สื่อการเรียนรู้ดิจิทัล

    จุดเปลี่ยนสำคัญของอักษรเจริญทัศน์ยุคใหม่ที่ก้าวขึ้นมาเป็นตัวท็อปในวงการ คือการเข้ามาสานต่อกิจการของทายาทรุ่นที่ 3 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

    น่าเเปลกใจไม่น้อย เเม้ตะวันจะเติบโตมากับธุรกิจการศึกษา แต่ชีวิตของเขากลับไม่ได้เลือกที่จะมาสายนี้ตั้งแต่แรก เขาเรียนวิศวกรรมเครื่องกลที่ออสเตรเลีย ก่อนจะไปเรียนต่อปริญญาโทด้านธุรกิจ ที่ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา และจบออกมาทำงานสายธนาคาร นานนับ 10 ปี

    เขาเล่าย้อนว่า เมื่อถึงเวลาที่ครอบครัวคิดจะมองหาเจเนอเรชั่นใหม่เข้ามาสานต่อธุรกิจ เขาชั่งใจอยู่นานทีเดียว เพราะไม่ได้อยู่ในเเวดวงการศึกษามาก่อน คิดหนักไปจนถึงว่าตัวเองจะมีความสุขเหมือนตอนทำงานสายเเบงก์หรือเปล่า

    จนได้ยินคำแทงใจว่า รุ่นที่ 3 มักจะไปไม่รอด นี่คือเเรงผลักดันที่ทำให้เขาต้องการจะพิสูจน์ตัวเองและจะทำให้องค์กรก้าวไปให้ไกลที่สุดเเละต้อง “แตกต่าง”

    ถามว่าการทำงานทุกวันนี้ สนุกกว่าสมัยทำงานแบงก์ไหม ผมว่าความรู้สึกมันต่างกัน ตอนทำงานแบงก์เราช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมาย เเต่เราตอนนี้กำลังช่วยให้เด็กไทย 10 ล้านคนบรรลุเป้าหมาย เพื่อจะได้โตขึ้นไปพัฒนาประเทศ

    ไม่ใช่เเค่หนังสือเรียน เเต่ต้องเป็นการ “เรียนรู้”

    ความตั้งใจว่าจะต้องเเตกต่างทำให้ตะวันมองการศึกษาไทยในมุมมองใหม่ เขาเริ่มจากทำการบ้านอย่างหนัก ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับโรงเรียนครู ผู้ปกครองเเละนักเรียนทั่วประเทศ รวมถึงไปดูการเรียนการสอนในต่างประเทศ

    จนค้นพบว่า สิ่งที่ผู้คนต้องการไม่ใช่แค่หนังสือเรียนที่ดี แต่พวกเขาต้องการการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

    นำมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในการปรับรูปแบบองค์กร จากผู้ผลิตหนังสือเรียนสู่การเป็นบริษัทที่สามารถสร้างการเรียนรู้ที่ดีให้แก่เด็กและสังคมได้ มีการดีไซน์ระบบการเรียนรู้เเบบใหม่ เพื่อให้ครูและนักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากขึ้น เน้นให้ครูใช้คำถามจุดประกายเด็ก ๆ ด้วยคำถามว่า Why (ทำไม) และ How (อย่างไร) เพื่อให้เด็กได้เกิดการคิดวิเคราะห์มากกว่าการท่องจำ การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนยุคใหม่ ให้เด็กกล้าสงสัย ได้เเก้ปัญหาเเละนำเสนอผลงานตัวเองได้

    “สำหรับอักษรฯ คำว่า Digital เป็นเพียงแค่เครื่องมือหรือช่องทาง แต่เราให้ความสำคัญกับคำว่ากระบวนการเรียนรู้ หรือ Learning Design มากกว่า”

    นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคู่มือครู จัดอบรมครูเฉลี่ยปีละกว่า 7 หมื่นคน มีการเพิ่มเเนวคำถาม-คำตอบให้ครูนำไปประยุกต์สอนในห้องเรียน กระตุ้นความคิดเด็กเเละพัฒนาทักษะของครูไปพร้อมๆ กัน ส่วนการพัฒนาหนังสือเรียน จะเน้นการอธิบายด้วยภาพ มีอินโฟกราฟิกที่ทำให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น เพิ่มสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เช่น คลิปวิดีโอสรุปเนื้อหาจากการเรียนเกือบชั่วโมงให้เป็นการเล่าเรื่องสั้นๆ 3-5 นาที ช่วยให้มีเวลาเหลือที่จะเเลกเปลี่ยนความเห็นกันในห้องเรียนมากขึ้น ปัจจุบันอักษรฯ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาปีละไม่ต่ำกว่า 100 รายการ

    โอกาสในวิกฤติ เปิดโลก “เรียนออนไลน์” 

    จากประเด็น #เรียนออนไลน์ ที่กำลังถูกพูดถึงในสังคม เมื่อถามถึงมุมมองในฐานะผู้ที่อยู่ในเเวดวงสื่อการเรียนการสอนว่าอะไรคืออุปสรรคของการเรียนออนไลน์ในไทย และมองความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กไทยอย่างไรบ้าง

    ตะวันตอบว่า เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนากันไป ซึ่งการเรียนออนไลน์ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเราและถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

    “ส่วนตัวผมมองว่าไม่มีโซลูชันไหนที่สมบูรณ์แบบ เรื่องใหญ่กว่านั้นคือทัศนคติใหม่ของการเปลี่ยนโลกทัศน์การศึกษา การกล้าลองของใหม่ สิ่งเหล่านี้จะพิสูจน์ได้ว่า ไม่ว่าครูจะอยู่ในบริบทโรงเรียนแบบไหนก็สามารถลองใช้ได้ หลังจบ COVID-19 ไปแล้ว โลกทัศน์สำหรับครูและนักเรียนก็จะเปิดกว้างขึ้น”

    โดยเขามองว่า “ความคุ้นเคยของคุณครู” คืออุปสรรคหลักของการเรียนออนไลน์ ในขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายให้ครูได้ลองโมเดลใหม่ๆ ซึ่งแต่ละคนก็จะมีวิธีในการก้าวข้ามความท้าทายที่แตกต่างกัน

    “ผมว่าเรื่องในเชิงเทคนิคมันแก้ได้ไม่ยาก แต่เรื่องของพฤติกรรมคือสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยน ถ้าทุกคนได้ลองออกจาก Comfort Zone ของตัวเองสำเร็จแล้ว อะไรก็จะดีขึ้นทั้งนั้น”

    ส่วนการเข้าถึงเทคโนโลยีของเด็กไทย เขามองว่าช่วงนี้ต้องเริ่มทำในสิ่งที่ทำได้เเละกลุ่มที่ทำได้ก่อน แล้วค่อยกระจายไปเรื่อยๆ เป็นการปูทางที่ใช้เวลานานเเละเป็นเรื่องระยะยาว ต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน

    “หลังจากนี้ New Normal ของโลกการศึกษาจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ครูและนักเรียนจะพบว่ามีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมอีกมากมายมหาศาลบนโลกใบนี้ คุณครูที่มีความพร้อม ก็จะสามารถสอนทุกอย่างในรูปแบบดิจิทัลได้ แล้วครูก็ยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนได้กว้างไกลมากขึ้น นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย มีความยืดหยุ่น และมีความสร้างสรรค์ในการทำงานเพิ่มขึ้น”

    ในช่วงการเรียนออนไลน์นี้ อักษรเจริญทัศน์ได้เปิดตัวดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้สำหรับทุกคนที่มีชื่อว่า Aksorn On-Learn เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนทั้งผู้เรียนและผู้สอน ในรูปแบบของ E-book คลิปวิดีโอ เเละสื่อประกอบการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อการเรียนรู้ Interactive 3D สื่อการเรียนรู้ Interactive Software ภาพยนตร์สารคดีสั้นเพื่อการศึกษา สไลด์ประกอบการสอน ไฟล์เสียงประกอบการสอน ผู้เรียนสามารถจัดตารางการเรียนได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดเวลา เรียนรู้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ สามารถพัฒนาและทบทวนความรู้ได้ด้วยตนเอง ด้านผู้สอน สามารถจำลองบรรยากาศการเรียนในชั้นเรียนได้สะดวก

    Aksorn On-Learn ครอบคลุมกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

    หลังเปิดตัวตั้งเเต่ช่วงต้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมาในช่วง 2 สัปดาห์เเรกมีผู้ลงทะเบียนและเข้าใช้งานแล้วมากกว่า 8,000 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มครูผู้สอนกว่า 57% และกลุ่มของนักเรียและผู้ปกครองประมาณ 43% สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานได้ฟรีแล้วตั้งแต่วันนี้ที่ aksornonlearn

    ปรับโฉมตลาดหนังสือเรียน เข้าใจเรื่องยากได้ง่ายขึ้น

    กลับมาคุยกันเรื่องธุรกิจหนังสือเรียนในไทยที่มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ประมาณ 7,000 ล้านบาท ตามงบประมาณของรัฐบาลที่จัดสรรผ่านกระทรวงศึกษาธิการ

    อักษรเจริญทัศน์ กินส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 40% ด้วยยอดขายที่ราว 2,500 ล้านบาท และถือเป็นอันดับ 1 ของธุรกิจด้านการศึกษาในปีที่ผ่านมา ตีคู่มากับองค์การค้าของ สกสค. ซึ่งในปีนี้ตะวันคาดว่าตลาดยังทรงๆ

    “ก่อนหน้านี้ เรายังเป็นรองในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ คณิตศาสตร์ แต่ช่วงที่ผ่านมาทำได้ดีขึ้นมาก มีการเปลี่ยนการนำเสนอใหม่ โดยเอาหลักคิดการสอนคณิตศาสตร์จากสิงคโปร์มาปรับใช้ เปลี่ยนจากคณิตศาสตร์ที่เป็นนามธรรม มาอธิบายให้เห็นเป็นภาพส่วนในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราได้มีการทำสื่อการเรียนแบบใหม่ในรูปแบบ Interactive 3D ที่ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจเรื่องยากได้ง่ายขึ้น สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กรุ่นใหม่”

    ขณะที่ในภาพรวมของการทำการตลาด ยังเป็นแบบ B2B (Business-to-Business) ลูกค้ารายใหญ่คือกลุ่มโรงเรียน ซึ่งบริษัทกำลังวางเป้าหมายเพื่อพัฒนาไปสู่แบบ B2C (Business-to-Customer) ให้ได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการลงทุนร่วมกับสตาร์ทอัพทางการศึกษาหลายแห่ง เช่น SkillLane ซึ่งทางอักษรฯ ถือหุ้นส่วนหนึ่งด้วย

    “การเข้าถึงลูกค้าเเบบ B2C คือความฝันของคนทำธุรกิจหนังสือเรียนทุกเจ้า เพราะทำได้ยากมาก แต่เราจะพยายามให้มีมากขึ้น ก้าวต่อไปของอักษรฯ คือการสร้างกระบวนการการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่”

    เปลี่ยนองค์กรเก่าเเก่ สู่การทำงานเเบบใหม่

    “ทุกวันนี้ผมยังชอบไปลงพื้นที่อยู่เรื่อยๆ ผมชอบให้พนักงานของเราไปคุยกับคุณครู นักเรียน ไปดูการเรียนการสอน เราจะได้เห็นปัญหาเเละข้อเสนอจากคนที่อยู่กับมันจริงๆ”

    เขาเล่าถึงการปรับเปลี่ยนองค์กรตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก้าวเข้ามาบริหารว่า การที่จะทำคอนเทนต์เพื่อสนองการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของคนทำงานทุกตำเเหน่ง

    “ความยากที่สุดคือการต้องทรานส์ฟอร์มคนในบริษัทที่มีอายุ 70-80 ปี ต้องทำให้ทุกคนกล้าที่จะเสนอไอเดีย มีการระดมสมองกันตลอดเวลา ในที่ประชุมผมจะชอบฟังพวกเขาพูดมากกว่า”

    ตะวันเล่าย้อนไปในช่วงปีแรกๆ ที่เข้ามาทำงานที่อักษรฯ เขาลงมือทำเองเกือบทุกรายละเอียด อย่างการออกแบบปกหนังสือ เขียนโบรชัวร์ด้วยตนเอง ทุกวันนี้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้เอง ทุกส่วนงานสามารถทำงานประสานกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีหัวหน้ามาคอยสั่งงานตลอด

    ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานในเครือทั้งหมดราว 1,400 คน มีทีมวิจัยและพัฒนา มีการนำกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ออกแบบไว้ไปทดลองปรับใช้กับห้องเรียนจริง นำ Pain Point ของครูเเละนักเรียนมาปรับปรุงสื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

    “ปู่ผมเคยถามว่า ผมอยากให้คนอื่นจดจำผมแบบไหนตอนที่ผมได้จากโลกนี้ไปแล้ว ผมตอบปู่ไปว่า ผมอยากให้คนอื่นจดจำผม ในฐานะที่ผมเป็นสมาชิกครอบครัวที่ดี เป็นเพื่อนที่ดี และผมได้ทำในสิ่งที่ทำให้โลกมันดีขึ้น นี่คือหลักยึดในการทำงานเเละการใช้ชีวิตของผม” ตะวันกล่าว

    เเนะเด็กรุ่นใหม่ รู้กว้าง รู้ลึก ยืดหยุ่นได้

    อีกเกร็ดชีวิตเล็กๆ ของผู้สร้างสรรค์ “ตำราเรียน” มายาวนาน ที่ในวัยเด็กมีวิชาที่ชอบเเละวิชาที่ไม่ชอบเหมือนกับนักเรียนทุกคน ตะวันบอกว่า ตอนเด็กเขาชอบเรียน “วิชาฟิสิกส์” มากเพราะเป็นวิชาที่ทำให้ได้คิดและได้ไขปัญหา

    “ผมเลือกเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ใช่เพราะอยากเป็นวิศวกร ผมเเค่อยากเรียนฟิสิกส์ ส่วนวิชาที่ไม่ชอบตอนเรียนมหาวิทยาลัยก็คงเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ แต่ไม่น่าเชื่อว่าทุกวันนี้พอผมได้ทำงานจริงๆ เรื่องเหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการเจรจา การเข้าใจผู้คน การสื่อสารเเละการตัดสินใจ”

    ทายาทรุ่นที่ 3 แห่งอักษรเจริญทัศน์ ปิดท้ายด้วยการฝากถึง “คนรุ่นใหม่” ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนวัยศึกษาว่า ความสงสัยคือบ่อเกิดของการเรียนรู้ทั้งมวล ทุกคนมีจุดแข็งของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องตามแฟชั่นของสังคม

    “ยุคนี้เราต้องรู้ให้กว้างและรู้ให้ลึกในบางเรื่อง จนสามารถประกอบร่างเป็นองค์ความรู้ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปรับตัวให้เป็น เมื่อเจอปัญหาต้องยืดหยุ่นให้ได้”

     

    ]]>
    1281835
    “เอพี” ต่อจิ๊กซอว์ธุรกิจการศึกษา หวังปั๊มรายได้ 4 พันล้าน https://positioningmag.com/1219451 Wed, 13 Mar 2019 02:57:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219451 ทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีความชัดเจนเรื่องการ Diversify ธุรกิจใหม่ เพื่อมองหารายได้ประจำ (recurring income) สร้างอีกแหล่งรายได้ที่มั่นคง นอกจากการสร้างและขายที่อยู่อาศัยที่ละโครงการแล้วจบ 

    ส่วนค่าย เอพี นั้น เพิ่งประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ภายใต้แนวคิด AP World ที่ต้องการพัฒนาทักษะความรู้ และความสามารถของคนในองค์กรเอพีและคนทั่วไป รับมือกับกระแสดิสรัปชั่น (Disruption) เอพีจึงเลือก Diversify ธุรกิจใหม่ ด้วยการลงทุน ธุรกิจการศึกษา SEAC ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ธุรกิจ (Disruptive Business) ที่จะลงทุนในปีนี้

    อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาหลายองค์กรได้พูดเรื่องการเปลี่ยนแปลงกระแส Disruption ธุรกิจ ที่ต้องเตรียมความพร้อมเรื่อง “คน” ผ่านการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการทำงาน ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เอพีได้จัดตั้ง “เอพี อะคาเดมี่” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้การทำงานด้านอสังหาฯ ให้กับคนที่จะเข้ามาทำงานกับบริษัท เพราะทฤษฎีจากสถาบันการศึกษา ไม่เพียงพอกับการปฏิบัติงานจริง

    โดยพนักงานใหม่ทุกคน จะต้องเข้ามาฝึกอบรมในเอพี อะคาเดมี่ ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร, ฝ่ายขาย และกลุ่มงานทั่วไป ปีนี้จะเพิ่มกลุ่มงานด้านการตลาด

    ส่วนบุคลากรในกลุ่มผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป จะมีหลักสูตรอบรมเพิ่มทักษะการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งหลักสูตรการบริหาร Leadership & Management ทักษะด้านเทคโนโลยีและการตลาดดิจิทัลใหม่ๆ

    ผมบ้าบอกับการทำ เอพี อะคาเดมี่ มา 3-4 ปี ใช้เงินไปกว่า 100 ล้าน เพราะเจอปัญหาคนทำงานที่มีทักษะไม่ตรงกับงานและทำงานไม่ได้ เราจึงต้องทำ อะคาเดมี่ กันภายในองค์ก

    ปัจจุบันอสังหาฯ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Data Analytic, Big data แต่ก็พบว่าคนในองค์กรไม่มีทักษะในเรื่องดังกล่าว และมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถผลิตบุคลากรที่พร้อมทำงานด้านนี้ “วันนี้ว่าหนักแล้ว อีก 5 ปีจะหนักมากกว่านี้”

    ขณะเดียวกันเมื่อองค์กรเติบโต คนทำงานรุ่นเก่าหากไม่มีการอบรมทักษะใหม่ๆ จะกลายเป็นคนล้าหลัง จึงเป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้อง Re-skill คนรุ่นเก่าให้มีวิธีคิดใหม่และรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจยุคใหม่

    ลงทุนธุรกิจการศึกษา 

    อนุพงษ์ บอกว่าช่วงที่เริ่มการทำ เอพี อะคาเดมี ได้ทำงานร่วมกับคุณอริญญา เถลิงศรี ผู้ก่อตั้ง APM Group ซึ่งทำหลักสูตรพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาทำหลักสูตรอบรมความรู้ให้กับเอพี

    หากเอพีจะ Diversify ธุรกิจใหม่ เพื่อหาธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ จะต้องเป็นธุรกิจที่ก้าวทันกระแสดิสรัปชั่น และแก้ปัญหาเรื่อง “คนทำงาน” จึงเข้ามาร่วมทุนกับ อริญญา เปลี่ยน APM Group เป็น “Southeast Asia Center” (SEAC) หรือศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็น 1 ใน 3 ธุรกิจใหม่ โดย เอพี ถือหุ้น SEAC 90% และ คุณอริญญา 10%

    SEAC จัดตั้งมาแล้ว 2 ปี เอพีใช้เงินลงทุนไปแล้วราว 600 ล้านบาท สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนได้ร่วมมือจากสถาบันระดับโลก อาทิ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

    การลงทุนธุรกิจการศึกษา เป็นการ diversify ธุรกิจของเอพี ที่ช่วยพัฒนาทักษะคนในองค์กร ที่ทุกปี ต้องใช้เงินกับเอพี อะคาเดมี่ 50-100 ล้านบาท เชื่อว่าองค์กรต่างๆ ก็ต้องทำเรื่องนี้เช่นกัน จึงเปิดรับอบรมให้บุคลากรภายนอก และยังเป็นหารายได้ของ SEAC ไปในตัว

    โดยมี 4 แพลตฟอร์ม ทั้งผ่านออนไลน์ และเข้าคลาส อาทิ หลักสูตร Design Thinking ต้นฉบับจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักสูตร Outward Mindset จาก The Arbinger Institute รวมถึงหลักสูตรเพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ยุค 4.0 เมื่อจบหลักสูตรจะได้ประกาศนียบัตรของหลักสูตรนั้นๆ ปีแรกวางเป้าหมายผู้สนใจสมัครสมาชิก 80,000 ราย ค่าเรียน 10,000 บาทต่อคนต่อปี โดยสามารถเรียนได้ทุกหลักสูตรและเรียนซ้ำได้ไม่จำกัด

    โดยมีแผนพัฒนาขยายธุรกิจไปในระดับอาเซียน รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี ผู้ประกอบธุรกิจในต่างจังหวัด รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการเพิ่มทักษะก่อนการเข้าสู่ระบบงาน ด้วยระบบสมาชิกรายปีในราคา 10,000-15,000 บาทต่อปี เรียนได้ทุกหลักสูตรและทุกช่องทาง เชื่อว่า SEAC จะสามารถสร้างรายได้ใน 3 ปี ได้ถึง 3,000 – 4,000 ล้านบาท

    เปิด 4 แพลตฟอร์มเรียนไม่อั้น

    อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC กล่าวว่า ได้พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “4Line Learning” คือ รูปแบบการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ รองรับการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำงาน ประกอบด้วย

    1. วิธีการเรียนรู้แบบ Online ที่เน้นการเรียนรู้ผ่านหลักสูตรด้วยวิดีโอคลิป หรือ Visual ต่างๆ
    2. วิธีการเรียนรู้แบบ Inline ที่เน้นการเข้าคลาสเพื่ออบรมในหลักสูตรต่างๆ โดยคำนึงถึงระยะเวลาการเรียนที่เหมาะสม
    3. วิธีการเรียนรู้แบบ Beeline ที่เน้นการเรียนรู้ในรูปแบบแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล หรือเรื่องราวจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน วิทยากร นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จด้านต่างๆ ผู้นำทางความคิด หรือกิจกรรมพิเศษในหลากหลายรูปแบบที่เหมาะสมกับหัวข้อการเรียนรู้แต่ละครั้ง
    4. วิธีการเรียนรู้แบบ Frontline ที่เป็นคลังการเรียนรู้ที่สามารถให้ผู้เข้าเรียนเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ และดาวน์โหลดออกมาใช้งานได้

    สำหรับ “4Line Learning” นี้ได้ถูกนำเสนอผ่านโมเดลการเรียนรู้ ภายใต้ชื่อ “YourNextU” ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะกับความสนใจของตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา

    โดยหลักสูตร Online มีกว่า 100 หลักสูตร และซื้อไลเซ่นส์ไว้แล้วอีก 800 หลักสูตร ส่วน Inline มีกว่า 40 หลักสูตร Beeline กว่า 40 โปรแกรม และคลังข้อมูล Frontline ที่สามารถดาวน์โหลดได้ไม่จำกัด

    ตัวอย่างหลักสูตรที่น่าสนใจ อาทิ หลักสูตร Design Thinking ต้นฉบับจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด หลักสูตร Outward Mindset จาก The Arbinger Institute หลักสูตร Self-Leadershipจาก The Ken Blanchard Companies รวมถึงหลักสูตรเพื่อสร้างทักษะใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ยุค 4.0 เมื่อจบหลักสูตรจะดั้บประกาศนียบัตรของหลักสูตรนั้นๆ ปีแรกวางเป้าหมายผู้สนใจสมัครสมาชิก 80,000 ราย ค่าเรียน 10,000 บาทต่อคนต่อปี โดยสามารถเรียนได้ทุกหลักสูตรและเรียนซ้ำได้ไม่จำกัด.

    ]]>
    1219451