ธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Sep 2020 10:41:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “สิงห์” วางหมากรบ ส่ง “เลมอนโซดา” บุกตลาดน้ำอัดลมเต็มตัว เสริมแกร่งนอนแอลฯ https://positioningmag.com/1298168 Tue, 22 Sep 2020 10:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298168 ตลาดเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลกำลังหอมหวาน ทำให้ “สิงห์” หันมาลุยตลาดนี้เต็มที่ช่วยเสริมพอร์ตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ให้แน่นขึ้น โดยเครื่องดื่มนำร่อง “สิงห์ เลมอนโซดา” แบบน้ำตาล 0% วางขาย 1 เดือนแรกทำยอดขายเกินเป้า 5 เท่า เตรียมออกรสชาติอื่นเพิ่มภายในปีนี้ และจะจับตลาดน้ำอัดลมอย่างต่อเนื่อง พิจารณาตั้งโรงงานผลิตใหม่ภายในปีหน้า งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

“ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล” Chief Marketing Officer-Brand บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยถึงยอดขาย 1 เดือนแรกของ “สิงห์ เลมอนโซดา” ว่าทะลุเกินเป้าที่วางไว้ถึง 5 เท่า ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ โดยหลังจากนี้จะมีวางขายเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะในเซเว่น อีเลฟเว่นไปจนครบ 3 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเริ่มวางจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดทุกแห่ง และส่งจำหน่ายผ่านเครือข่ายร้านค้าดั้งเดิม ผับบาร์ ร้านอาหารต่างๆ

สิงห์ เลมอนโซดา เป็นเครื่องดื่มกลุ่มนอนแอลกอฮอล์ ของสิงห์ตัวแรกที่เจาะไปในหมวดใหม่คือ “น้ำอัดลม” (carbonated soft drink) จากก่อนหน้านี้จะมีเฉพาะน้ำดื่ม น้ำแร่ และโซดา โดยเปิดผลิตภัณฑ์แรกก็มีเฉพาะแบบ “น้ำตาล 0%” เลย ไม่มีแบบใส่น้ำตาลปกติ

 

0 cal มาแรง ภายใน 3 ปีสัดส่วนจะพุ่งเป็น 30% ของตลาด

ที่เลือกประเดิมตลาดด้วยเลมอนโซดา 0 cal เป็นเพราะกระแสที่ดีมากของกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล พลังงาน 0 cal
ธิติพรประเมินว่าตลาดกลุ่มนี้เติบโต 30-40% ต่อปีมาหลายปีแล้ว แต่ในตลาดยังมีตัวเลือกน้อยมาก นำเทรนด์โดยกลุ่มน้ำอัดลม “น้ำดำ” ที่มีตัวเลือก 0 cal มานานแล้ว ขณะที่ปีนี้เพิ่งจะมีกลุ่ม “น้ำใส” ที่ทำตลาด 0 cal บ้างแล้ว แต่ก็ยังขาดรสชาติอื่นๆ ที่ผู้บริโภคต้องการในกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลเหล่านี้

“ผมคิดว่าคนเริ่มชินกับรสชาติหวานน้อยมากขึ้น ทำให้ผลตอบรับดี” ธิติพรกล่าว “ดังนั้นเทรนด์เครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ อย่างไรก็จะเป็นสายสุขภาพ ตลาด 0 cal จะโตมาก เทียบกับตลาดส่วนอื่นจะทรงตัว

สิงห์ เลมอนโซดา

จากปัจจุบันกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาลคิดเป็นสัดส่วนเพียง 5% ของตลาดรวมน้ำอัดลม ธิติพรมองว่าน่าจะโตไปถึง 30% ของตลาดรวมได้ภายใน 3 ปี ดังนั้น สิงห์จะเน้นจับตลาดนี้ รวมไปถึงกลุ่มเครื่องดื่มที่ดีสุขภาพอื่นๆ เช่น น้ำเติมวิตามิน ก็กำลังศึกษาอยู่เช่นกัน

ปี 2563 พอร์ตเครื่องดื่มของสิงห์รวมทั้งกลุ่มมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ตั้งแต่ต้นปีออกสินค้าใหม่มาแล้ว 2 รายการคือ สิงห์ เลมอนโซดา และ เบียร์สิงห์ รีเสิร์ฟ ภายในสิ้นปีนี้จะมีออกใหม่อีก 2-3 รายการ ส่วนหนึ่งในจำนวนนี้จะเป็นกลุ่มน้ำอัดลมอีก โดยแย้มว่าจะมี “รสชาติใหม่” ในกลุ่มน้ำ 0 cal

 

จัดสมดุลพอร์ต เพิ่มนอนแอลฯ ให้มากขึ้น

ด้านมุมมองพอร์ตสินค้าของสิงห์เอง การเพิ่มหมวดใหม่คือ “น้ำอัดลม” ก็มีความสำคัญ เพราะจะช่วยเติมพอร์ตกลุ่มเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ให้หลากหลายมากขึ้น สัดส่วนสมดุลกับกลุ่มมีแอลกอฮอล์มากกว่าเดิม

“สัดส่วนในพอร์ตเครื่องดื่มของสิงห์”

ปี 2562 – alcoholic 85 : 15 non-alcoholic
ปี 2563F – alcoholic 80 : 20 non-alcoholic
ปี 2564F – alcoholic 70 : 30 non-alcoholic

สินค้าในกลุ่มนอนแอลกอฮอล์ของสิงห์

พอร์ตเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ปัจจุบันมียอดขายประมาณ 17,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็น น้ำดื่ม 50% โซดา 40% และน้ำแร่ 10% เมื่อสิงห์มีแนวทางจะจัดสมดุลให้กลุ่มนอนแอลกอฮอล์สำคัญมากขึ้น หากมีไลน์สินค้าแค่ 3 กลุ่มนี้ การเพิ่มสินค้าให้หลากหลายจะทำได้ยาก ดังนั้น การแตกไลน์เครื่องดื่มใหม่อย่างน้ำอัดลมจึงเป็นกลยุทธ์ที่มุ่งไป

ธิติพรคาดว่าภายในสิ้นปี 2564 จะมีสัดส่วนกลุ่มน้ำอัดลม 5% ในพอร์ตนอนแอลกอฮอล์ จากรายการสินค้าที่จะออกมาเพิ่มทั้งปีนี้และปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นรสชาติใหม่ ขนาดใหม่ ฯลฯ

และภายในสิ้นปี 2564 น่าจะสรุปแผนการตั้งไลน์ผลิตหรือโรงงานใหม่เพื่อผลิตสินค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะได้ มองว่าน่าจะต้องใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเปิดไลน์ผลิตใหม่ในบริเวณโรงงานเดิมหรือหาพื้นที่ใหม่

การจัดสมดุลพอร์ตมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ล่าสุดคือช่วงล็อกดาวน์ป้องกัน COVID-19 รัฐบาลมีคำสั่งห้ามจำหน่ายสุราทั่วประเทศไปเกือบ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. – 2 พ.ค. 63 ทำให้ตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รับผลกระทบรุนแรง ฝั่งเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์แม้จะกระทบบ้างเหมือนกันเพราะประชาชนไม่ได้ออกจากบ้าน แต่ก็ยังดีกว่าเหล้าเบียร์ที่ห้ามจำหน่าย

 

น้ำแร่ “เพอร์รา” ยังโตดีแม้ตลาดรวมเจ็บหนัก

สำหรับภาพรวมพอร์ตเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ของสิงห์ ธิติพรมองว่าปีนี้น่าจะโตได้ประมาณ 2% โตไม่มากเพราะมีช่วงล็อกดาวน์ที่ตลาดติดลบ แต่ขณะนี้สถานการณ์กลับมาเติบโตปกติ เฉลี่ยแล้วทั้งปีจึงน่าจะโตได้เล็กน้อยดังกล่าว

หากแบ่งการเติบโตตามกลุ่มสินค้า น้ำดื่มสิงห์คาดว่าจะโต 3% น้ำแร่เพอร์ราโต 10% ส่วนโซดาสิงห์น่าจะทรงตัวไม่เติบโต

ตลาดน้ำแร่นั้น ธิติพรกล่าวว่าตลาดรวมติดลบมาตั้งแต่ปีก่อน และปีนี้ยังติดลบต่อเนื่องน่าจะมากกว่า -10% ด้วยเหตุผลใหญ่ๆ คือน้ำแร่เป็นเครื่องดื่มที่ผู้บริโภคหลักคือวัยทำงานกับนักท่องเที่ยวต่างชาติและนิยม “ดื่มนอกบ้าน” มากกว่าซื้อเป็นแพ็กติดบ้าน เมื่อเกิดล็อกดาวน์และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เปิดประเทศ ทำให้ตลาดน้ำแร่ยิ่งเจ็บหนัก ส่วนเหตุผลรองที่อาจมากระทบบ้างคือ เทรนด์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพบางส่วนหันไปดื่มน้ำเสริมวิตามินแทนน้ำแร่

ส่วนน้ำดื่ม “เพอร์รา” ที่ยังโตได้ 10% ดีกว่าตลาด แต่ก็ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งเคยโตถึง 30-40% การเติบโตที่ผ่านมาป็นผลจากการโหมตลาดด้วยแพ็กเกจจิ้งดีไซน์ร่วมกับดีไซเนอร์ซึ่งประสบความสำเร็จมาก ผู้บริโภคซื้อสะสม และเริ่ม “ติดยี่ห้อ” กลายเป็นลูกค้าประจำของเพอร์ราไป ส่งให้ปีนี้เพอร์ราขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ตลาดน้ำแร่เป็นครั้งแรก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่ 26%

สรุปรวมเป้าหมายนอนแอลกอฮอล์ของสิงห์ ธิติพรกล่าวว่าบริษัท “จะเพิ่มช่องว่างทิ้งห่างเบอร์ 2” หลังจากขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ครบทั้งน้ำดื่ม น้ำแร่ และโซดา เสริมด้วยการดันดาวรุ่งอย่างกลุ่มน้ำอัดลม แต่กลุ่มนี้ไม่ขอเป็นเบอร์ 1 แค่ได้มาร์เก็ตแชร์ 5-10% ก็พอใจแล้ว เพราะถ้าจะแข่งขันหนักในตลาดนี้คงต้อง “เทกโอเวอร์” บริษัทอื่นเท่านั้นถึงจะบุกได้เต็มตัว

]]>
1298168
“คุมาโมโตะ” ฐานผลิตเครื่องดื่ม “ซันโทรี่” และถิ่นหมี “คุมะมง” https://positioningmag.com/1219197 Mon, 11 Mar 2019 23:07:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219197 “คุมาโมโตะ” (Kumamoto) เป็นอีก 1 จังหวัดใหญ่บนเกาะคิวชู ซึ่งอยู่ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของกลุ่มเครื่องดื่ม “ซันโทรี่” (Suntory) ซึ่งก่อตั้งธุรกิจในปี 1899 หรือกว่า 120 ปี   

ซันโทรี่ เริ่มต้นธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากโรงกลั่นวิสกี้ ต่อยอดเป็นเบียร์และซอฟต์ดริ้งก์ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันถือเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำระดับโลก  

กลุ่มเครื่องดื่ม “นอนแอลกอฮอล์” ถือเป็นจุดแข็งและผลักดันการเติบโตของซันโทรี่มาต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่ม LRB (Liquid Refreshment Beverage) เครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นและดูแลสุขภาพ 

ปัจจุบัน “ซันโทรี่” เป็นผู้ผลิตน้ำดื่มอันดับ 1 ในญี่ปุ่น ที่มีมูลค่า 4 หมื่นล้านบาท ด้วยมาร์เก็ตแชร์ 35% จากนวัตกรรมที่หลากหลายทั้งน้ำแร่ธรรมชาติ, น้ำดื่มอัดลม และกลุ่ม Flavored Water หรือ Water Plus น้ำแต่งกลิ่นรส รูปแบบ “น้ำใส”                     

จุดแข็ง R&D-แหล่งผลิตน้ำภูเขาไฟ

โงงานซันโทรี่
โงงานซันโทรี่

การก้าวสู่ผู้นำตลาดน้ำดื่มของซันโทรี่ในญี่ปุ่น คือ นวัตกรรม ที่สร้างความแตกต่างในหลายแคทิกอรี่ของกลุ่มเครื่องดื่ม รวมทั้งการเข้าใจผู้บริโภค (Consumer needs) เพื่อพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ โดยเฉพาะเทรนด์สุขภาพ ที่ขยายตัวจากสัดส่วนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นจุดแข็งของซันโทรี่  

ปัจจุบัน ซันโทรี่มีฐาน R&D Center 3 แห่ง โอซากา เกียวโต คาวาซากิ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ นวัตกรรม แพ็กเกจกิ้ง เทคโนโลยี และการควบคุมคุณภาพ

กระบวนการพัฒนา “สินค้าใหม่” เริ่มจากการรับฟังความเห็นจากผู้บริโภคและวิจัยความต้องการลูกค้าในตลาด จากนั้นเป็นการวางคอนเซ็ปต์และพัฒนาสินค้าต้นแบบ ซึ่งจะอยู่ ภายใต้ One Team เป็นการทำงานร่วมกันของ 3 ฝ่าย อาร์แอนด์ดี การตลาด และทีมสร้างสรรค์ ในปี 2017 มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่กว่า 100 โปรดักต์

ซันโทรี่ กาแฟ Boss

สำหรับฐานการผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่ คือโรงงานที่เมือง คุมาโมโตะ เป็นโรงงานผลิตน้ำแร่ธรรมชาติ เบียร์ พรีเมียม มอลต์ กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, กาแฟกระป๋อง Boss, เครื่องดื่มชา, วอเตอร์ พลัส รวมกว่า 63 ผลิตภัณฑ์

เมืองคุมาโมโตะ ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งกำเนิดน้ำสำคัญของญี่ปุ่น โดยการันตีว่าน้ำในพื้นที่คุมาโมโตะทั้ง 100% มาจาก “น้ำแร่” และโรงงานซันโทรี่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำแร่จากภูเขาไฟอะโสะ (Aso) ที่นำมาใช้ผลิตเครื่องดื่มประเภทต่างๆ 

“น้ำแต่งกลิ่นรส” เทรนด์แรง

ตลาดเครื่องดื่มที่พัฒนาจากนวัตกรรมและอาร์แอนด์ดีของซันโทรี่ และเป็นเทรนด์ที่มาแรงในญี่ปุ่นในช่วง 5 ที่ผ่านมา ต้องยกให้กลุ่ม วอเตอร์ พลัส ซึ่งเป็นเครื่องดื่มให้ความสดชื่นและดูแลสุขภาพด้วยปริมาณน้ำตาลต่ำ เป็นแคทิกอรี่น้ำดื่มที่อยู่ตรงกลางระหว่างน้ำเปล่าและเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน   

วอเตอร์ พลัส ในญี่ปุ่นที่เริ่มทำตลาดในปี 2007 จากสินค้านำเข้า ในปี 2010 โคคา-โคล่า เริ่มทำตลาดแบรนด์ I-Lohas น้ำดื่มแต่งกลิ่นรส กลุ่มรสชาติผลไม้ จากนั้น ซันโทรี่ ได้เริ่มเปิดตลาดในปี 2014 ภายใต้แบรนด์ Tennensui เริ่มด้วยกลิ่นรสผลไม้

ซันโทรี่ Tennensui น้ำดื่มกลิ่นรสโยเกิร์ต

จากนั้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมมาต่อเนื่อง ปี 2015 เปิดตัวน้ำดื่มแต่งกลิ่นรส “โยเกิร์ต” ที่เรียกว่าได้ว่าสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาด ด้วยนวัตกรรมนำ โยเกิร์ต มาพัฒนาแต่งกลิ่นรสในรูปแบบเครื่องดื่มน้ำใสเป็นครั้งแรก จากนั้นตามมาด้วย รสชาติโยเกิร์ตผสมอโลเวรา และโยเกิร์ตผสมบลูเบอร์รี่

ปี 2017 เปิดตัวกลิ่นและรสชาติกลุ่ม “ชานม” ด้วยความแตกต่างเรื่องนวัตกรรมของรสชาติโยเกิร์ตและชานมที่ไม่มีในตลาด ทำให้ซันโทรี่ขึ้นมาครองอันดับ 1 ตลาดวอเตอร์ พลัส ในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2015 ถึงปัจจุบัน โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 50%

พื้นที่ชั้นวางขนาดใหญ่ เครื่องดื่ม วอเตอร์พลัส

ด้วยความนิยมเครื่องดื่ม “วอเตอร์ พลัส” ในญี่ปุ่นและเทรนด์ที่เติบโตสูง จึงเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับการจัดสรรพื้นที่ชั้นวางขนาดใหญ่ ในช่องทางค้าปลีกต่างๆ ทั้ง ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติในญี่ปุ่น ก็ต้องมีสินค้าวอเตอร์ พลัสไว้เป็นตัวเลือก

ซันโทรี่ คุมะมง

“คุมะมง” หมีดังประจำเมือง

นอกจาก “คุมาโมโตะ” เป็นฐานการผลิตเครื่องดื่มซันโทรี่แล้ว ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือปราสาทที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของญี่ปุ่น ยังเป็นเมืองออนเซนในป่าเขาบรรยากาศธรรมชาติ ภูเขาไฟอะโสะ และเจ้าหมีหน้าตาใจดี ตัวดำ แก้มแดง “คุมะมง” (KUMAMON)

“คุมะมง” ถือกำเนิดเมื่อ 12 มีนาคม 2011 พร้อมการเปิดใช้บริการรถไฟความเร็วสูงชินคันเซนสายคิวชู ในจังหวัดคุมาโมโตะ โดยมี “คุมะมง” เป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองและมาสคอตประจำจังหวัด เพื่อรอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดคุมาโมโตะ

ในปี 2016 คุมาโมโตะเผชิญกับสถานการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ “คุมะมง” มีบทบาทสำคัญออกมาช่วยผู้ประสบภัยและทำหน้าที่กอบกู้เศรษฐกิจของจังหวัดคุมาโมโตะ ผ่านสินค้าเมอร์เชนไดส์หลากหลาย ตั้งแต่ของที่ระลึก เครื่องเขียน ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไปจนถึงผักผลไม้ในตลาดสดที่ติดโลโก้คุมะมง ไม่เพียงแต่ในญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ “คุมะมง” ได้ออกมาขยายอาณาจักรในต่างประเทศผ่านธุรกิจลิขสิทธิ์ เมอร์เชนไดส์ หมีดังประจำเมือง “คุมาโมโตะ” ที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ที่ “ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล” ในเครือสหกรุ๊ป ให้เป็นผู้ดูแลไลเซ่นส์.

คุมะมง ในร้านอาหาร

]]>
1219197
ปรากฏการณ์ East meets West เมื่อ เป๊ปซี่ รวมร่าง ซันโทรี่ มุ่งกวาดแชร์นอนแอลกอฮอล์ไทยมูลค่าแสนล้าน https://positioningmag.com/1160543 Thu, 08 Mar 2018 03:42:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160543 กลายเป็นปรากฏการณ์ East meets West ที่มาลงตัวกันที่ประเทศไทย เมื่อกลุ่มซันโทรี่และเป๊ปซี่ โคซึ่งประกาศร่วมทุนกันตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 วันนี้ทุกอย่างลงตัวเป็นที่เรียบร้อย ภายใต้บริษัทร่วมทุนใหม่ ชื่อชัดเจนว่า บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่ โค เบเวอเรจ (ประเทศไทยจำกัด หรือ SPBT เป็นชื่ออย่างเป็นทางการ สำหรับบริษัททุนจดทะเบียน มูลค่า 19,680 ล้านบาท ที่มีเป้าหมายผลิตสินค้าเพื่อบุกตลาดไทยโดยเฉพาะ จากการเสริมจุดแข็งและแก้เพนพอยต์ของทั้งสองฝ่ายได้อย่างลงตัวจากการร่วมทุน

การรวมตัวครั้งนี้ยังถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการเครื่องดื่มไทยอีกด้วย จากการผสานพลังของบริษัทเครื่องดื่มรายใหญ่จากสองทวีปคือซันโทรี่จากเอเชียหรือฝั่งตะวันออก กับบริษัทเป๊ปซี่โคแบรนด์เครื่องดื่มเบอร์ต้น ๆ จากฝั่งตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ต่างฝ่ายต่างมีศักดิ์ศรีและดีกรีของผู้เล่นรายใหญ่ทั้งระดับประเทศในประเทศต้นกำเนิดและระดับโลก

แต่มารวมตัวกันเพื่อเดิมพันที่จะบุกยึดตลาดเครื่องดื่มไทยจากการร่วมมือกันในครั้งนี้ ภายใต้เป้าหมายใหญ่ของการรวมตัวว่าต้องการก้าวไปสู่การเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มน้ำอัดลมในประเทศไทย

เป้าหมายแบบนี้ทำให้ผู้บริโภคไทยมั่นใจได้เลยว่า นับจากนี้นอกจากเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายอยู่แล้วของทั้งสองรายจะกระจายสู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทยเพิ่มขึ้นแล้วก็จะได้เห็นการรุกขยายพอร์ตโฟลิโอเครื่องดื่มอย่างเต็มรูปแบบของบริษัทร่วมทุนนี้ เกิดขึ้นในตลาดไทยตามมาให้เห็นอีกหลายตัว

การเปิดตัวบริษัทอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา มีผู้บริหารระดับสูงจากทุกฝ่าย พร้อมกับมีการประกาศวิสัยทัศน์องค์กรชัดเจน เริ่มจาก ซาบุโระ โคโกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด จำกัด และ ปริญญา กิจจาธนพันธ์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอินโดจีน บริษัท เป๊ปซี่โค เซอร์วิสเซส เอเชีย จำกัด เป็นตัวแทนของทั้งสองฝ่าย และมี โอเมอร์ มาลิค ที่รับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ของ SPBT เป็นคนแรก

สาระสำคัญหลังเปิดตัวบริษัทคือ การประกาศอย่างเป็นทางการว่า SPBT วางแผนจะบุกตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ไทย ซึ่งมีมูลค่าในปี 2560 จากการสำรวจของ บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ประมาณ 154,693 ล้านบาท โดยจะใช้การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรที่เกิดจากการร่วมทุนใหม่นี้ภายใต้แนวคิด “GROWING FOR GOOD” พร้อมตั้งเป้าชิงตำแหน่งเบอร์หนึ่งในตลาดน้ำอัดลมควบคู่การรุกขยายพอร์ตเครื่องดื่มแบบครบวงจร

เครื่องดื่มในพอร์ตฯ ของ SPBT ที่มีอยู่ตอนนี้ มีทั้งเครื่องดื่มที่ช่วยเติมเต็มความสดชื่น เครื่องดื่มเกลือแร่ ชากาแฟพร้อมดื่ม น้ำดื่มบรรจุขวด น้ำผลไม้ รวมไปถึงนวัตกรรมในอนาคต ที่จะออกมาเพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคไทยโอเมอร์ กล่าว

ส่วนการแก้เพนพอยต์ ของทั้งสองบริษัทที่กล่าวถึงในตอนต้นเริ่มจากฝ่ายซันโทรี่ แม้จะเป็นรายใหญ่จากญี่ปุ่นที่ได้เปรียบในแง่แบรนด์ที่คนไทยชื่นชอบมียอดขายสูงในญี่ปุ่น แต่ในตลาดไทยก็ถือว่าเป็นรองเครื่องดื่มอีกหลายแบรนด์ ทั้งของไทยเองและแบรนด์จากชาติต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยการสร้างแบรนด์แนะนำให้ผู้บริโภคไทยรู้จักมากขึ้นอีกไม่น้อย

ขณะที่เป๊ปซี่โคหลังจากแยกทางกับผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรายเดิมไปหลายปีก็เพลี่ยงพล้ำในตลาดไทยไปหลายจุด ทั้งจากการผลิตสินค้าภายใต้บรรจุภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ ไปจนถึงการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางจำหน่ายที่เคยเป็นสตราทิจิคชาแนล ที่ทำให้เป๊ปซี่เป็นน้ำดำที่ครองส่วนแบ่งอันดับหนึ่งในไทยมายาวนานเกือบจะเหลือเพียงตำนาน

แต่ก็ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดในบางแคทิกอรี่ให้เป็นอันดับหนึ่งไว้ได้ ตามการอ้างอิงข้อมูลจากนีลเส็น ซึ่งเปิดเผยข้อมูลว่ามูลค่าตลาดน้ำอัดลมในไทยในปี 2560 มีอยู่ประมาณ 54,900 ล้านบาท

ปัจจุบัน เครื่องดื่มเป๊ปซี่ถือเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดน้ำดำในบรรจุภัณฑ์แบบไม่ต้องคืนขวด (ทั้งขวดพีอีทีและกระป๋อง) ด้วยส่วนแบ่งการตลาดที่มากกว่า 45% และยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในทุกปี แต่เรายังไม่หยุดเพียงแค่นี้ ด้วยความแข็งแกร่งของแบรนด์เครื่องดื่มที่เรามี ควบคู่กับศักยภาพความพร้อมของทีมงาน ตลอดจนการสนับสนุนจากบริษัทแม่ทั้งสองแห่ง เรามั่นใจว่า SPBT จะสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดน้ำอัดลมมูลค่าห้าหมื่นล้านบาทได้ในไม่ช้า และสร้างการเติบโตในตลาดเครื่องดื่มนอนแอลกอฮอล์ได้อย่างยั่งยืนโอเมอร์ กล่าว

หลังจากนี้ บริษัทร่วมทุนที่เกิดขึ้น จะรับหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มให้กับเครือเป๊ปซี่โค อาทิ เครื่องดื่มเป๊ปซี่” “มิรินด้า เซเว่นอัพชาพร้อมดื่มลิปตันเครื่องดื่มเกลือแร่เกเตอเรดและเครื่องดื่มอควาฟิน่ารวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมเครื่องดื่มและสินค้าใหม่ ๆ จากซันโทรี่ในอนาคต

ปัจจุบัน SPBT มีฐานการผลิตเครื่องดื่ม 2 แห่ง คือ โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง เนื้อที่ 96 ไร่ และโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมหนองแค จังหวัดสระบุรี บนพื้นที่ 104 ไร่

ส่วนด้านการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า SPBT ยังคงใช้วิธีจับมือกับดีเอชแอลพันธมิตรด้านโลจิสติกส์และการบริหารคลังสินค้าระดับโลก ควบคู่ไปกับการใช้โมเดลธุรกิจแบบดิสทริบิวเตอร์เพื่อกระจายสินค้าไปยังท้องถิ่นผ่านตัวแทน 24 แห่ง ซึ่งสามารถเข้าถึงร้านค้าปลีกส่งและร้านโชห่วยกว่า 470,000 แห่งทั่วประเทศ

นับจากนี้ SPBT ภายใต้วิสัยทัศน์ GROWING FOR GOOD เพื่อมุ่งสร้างความยั่งยืนและการเติบโตทางธุรกิจภายในประเทศไทย จะดำเนินงานผ่าน 5 ภารกิจหลัก นั่นคือ

  1. การลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ (Brand Building)
  2. การพัฒนานวัตกรรมเครื่องดื่มใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและขยายตลาดให้กว้างขึ้น (Innovation and Portfolio Expansion)
  3. การรุกขยายระบบการกระจายสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่องทาง (Proactive Channel Expansion)
  4. การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม (Social & Environmental Responsibility) 
  5. การพัฒนาองค์กรและศักยภาพของบุคลากร (Organizational & HR Development)”
]]>
1160543
สิงห์ เขย่าพอร์ตสินค้า โละทิ้งแบรนด์ “ซันโว-ไซเดอร์เบย์-ยูกิ” https://positioningmag.com/1157166 Thu, 15 Feb 2018 12:57:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157166 เมื่อ “สิงห์” พยายามขยายพอร์ตโฟลิโอสินค้า บุกธุรกิจนอนแอลกอฮอล์มากขึ้น จากเดิมที่ทำตลาดเบียร์มานานกว่า 80 ปี แต่การเป็น “น้องใหม่” เข้าไปเจาะยางตลาด Category อื่นๆ ที่มี “เจ้าตลาด” อยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องง่าย ปีที่ผ่านมา “บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด” ผู้จัดจำหน่ายและทำตลาดเบียร์ อาหาร และเครื่องดื่มในเครือสิงห์ ต้องปรับพอร์ตสินค้าใหม่ โดยโละทิ้ง แบรนด์ ดังนี้

• เครื่องดื่มเกลือแร่ “ซันโว”

ที่ทำตลาดได้ ปี ทดสอบเรื่องรสชาติผู้บริโภคอาจเทใจให้ แต่พอไปหน้าเชลฟ์ก็ยังเลือกหยิบแบรนด์เบอร์ 1 อย่าง “สปอนเซอร์” เพราะอยู่ในใจผู้บริโภค (Top of mind) อยู่แล้ว ดังนั้น Product Me too เลยต้องถอยจากตลาด

• แบรนด์ไซเดอร์เบย์ 

สินค้าใหม่ในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไซเดอร์ มีขนาดตลาดเล็กมาก หลัก “แสนลิตร” เท่านั้น ถ้าต้องทุ่มงบสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภค ทำตลาด ผลลัพธ์ด้านยอดขายไม่คุ้มกับเง็ดเงินที่ลงไป จึงต้องยุติ

• ยูกิ 

ขนมข้าวอบกรอบที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัท เฮสโก ฟู้ด อินดัสทรี่ ในเครือของสิงห์กับ “ซังโกะ เซกะ” ประเทศญี่ปุ่น แต่ภายหลังมีความไม่ลงรอยกับพันธมิตรจึงหยุดผลิต ส่วนสินค้าที่เห็นในท้องตลาดเวลานี้ เป็นสต๊อกที่จำหน่ายไปล่วงหน้าแล้ว

“เกณฑ์นำสินค้าออกจากตลาด เราพิจารณาจากความสามาถในการทำกำไรและมองแนวโน้มจะเห็นโอกาสสร้างการเติบโตได้หรือไม่” ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการเพิ่มพอร์ตสินค้าใหม่มาจำหน่ายด้วย เช่น น้ำปลาหยดทอง สินค้าจากกลุ่มมาซาน เวียดนามที่สิงห์ไปซื้อกิจการมา ปีก่อน และเล็งเพิ่มหมวดอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ มาทำตลาดมากขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ

สำหรับแผนการทำธุรกิจในปี 2561 จะโฟกัสสินค้าเรือธงเบียร์ลีโอ เพราะมีการเติบโตดีมาก และมีส่วนแบ่งทางการตลาดสูง 55% ต้องรักษาฐานตลาดไว้ให้ได้, น้ำดื่มสิงห์ หลังจากมีการปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดใหม่ หันมาใช้ “เจ้านาย” เป็นพรีเซ็นเตอร์จับกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่มากขึ้น การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสื่อสารตลาดและสร้างแบรนด์ เพื่อช่วยให้บริษัทแย่งคืนส่วนแบ่งตลาดกลับมาได้ ส่วนโซดาสิงห์ เพราะเป็นแบรนด์ที่เติบโตดี และเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 97% โดยสินค้าดีและทำกำไรจะต้องให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง

ในปีนี้ บริษัทให้น้ำหนักการทำตลาดผ่านดิจิทัล สื่อออนไลน์มากขึ้น เพราะกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ เสพสื่อออนไลน์เป็นหลัก จึงต้องตามไปสร้างแบรนด์ให้ใกล้ชิดกับคนเหล่านั้น

สำหรับภาพรวมตลาดเบียร์มีมูลค่าประมาณ แสนล้านบาท ตลาดเติบโตไม่เกิน 2% สิงห์ ลีโอ ยูเบียร์ และสโนวี่ไวเซ่น มีส่วนแบ่งลาดรวม 62% เพิ่มจาก 59% ในปี 2559 ส่วนตลาดน้ำดื่ม สิงห์มีส่วนแบ่งตลาด 20% และคริสตัลมีส่วนแบ่งตลาด 21%

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในปี 2561 บุญรอดเทรดดิ้ง มีดังนี้

  • ต้องการสร้างยอดขายรวม 1.แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2560 ที่มียอดขายประมาณ 1.18 แสนล้านบาท
  • เพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดเบียร์เป็น 65% น้ำดื่มสิงห์เป็น 23%
  • ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วยยอดขายจากธุรกิจเบียร์ 80% และธุรกิจนอนแอลกอฮอล์ 20%
]]>
1157166