ธุรกิจบริการ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 31 Jul 2023 03:38:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บริกรปาดเหงื่อ! ผู้บริโภค “อเมริกัน” เริ่มให้ “ทิป” น้อยลง หลังค่าครองชีพสูง-เศรษฐกิจผันผวน https://positioningmag.com/1439222 Sat, 29 Jul 2023 12:21:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439222 หลังผ่านพ้นโควิด-19 ชาวอเมริกันต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจผันผวนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้ 2 ใน 3 ของชาวอเมริกันเริ่มรู้สึกแย่กับการให้ “ทิป” ซึ่งเริ่มคิดในอัตราสูงขึ้นและคิดทิปในหลายธุรกิจมากขึ้น

สังคมอเมริกันเริ่มมีการคิด “ทิป” รวมไปในค่าบริการหลายโอกาสมากกว่าที่เคย ไม่ว่าจะเป็นบริการในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไปจนถึงแอปส่งสินค้าเดลิเวอรีต่างก็เรียกร้องให้ผู้บริโภคจ่ายทิป

แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มผันผวนและค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้บริโภคจึงเริ่มต้องการจะลดการให้ทิปลง และเริ่มหงุดหงิดใจกับการบังคับทิปมากขึ้นทุกที

Bankrate มีการสำรวจผู้บริโภคอเมริกัน และพบว่าผู้บริโภคที่ตอบว่าตนให้ทิป “ทุกครั้ง” เมื่อใช้บริการต่างๆ เริ่มมีสัดส่วนน้อยลงเมื่อเทียบกับการสำรวจปีก่อน โดยการบริการที่มีการให้ทิป เช่น ทานอาหารนอกบ้าน บริการเรียกรถ ตัดผม เดลิเวอรี แม่บ้าน ช่างซ่อมบ้าน ฯลฯ

“เงินเฟ้อและเศรษฐกิจที่ไม่ดีดูเหมือนจะทำให้ชาวอเมริกันประหยัดขึ้นกับการให้ทิป ในขณะเดียวกัน เราต้องเผชิญหน้ากับการเชิญชวนให้ช่วยทิปมากกว่าที่เคยเป็นมา” Ted Rossman นักวิเคราะห์อาวุโสที่ Bankrate กล่าว

NerdWallet มีการสำรวจผู้บริโภคเช่นกัน และพบว่าหลายคนรู้สึกถูก “กดดัน” ว่าต้องให้ทิปมากกว่าปีก่อน

Bankrate บอกด้วยว่า 2 ใน 3 ของชาวอเมริกันมีมุมมองเชิงลบต่อการ “ทิป” โดยเฉพาะเมื่อต้องให้ทิปผ่านระบบชำระเงินดิจิทัลซึ่งมักจะสร้างตัวเลือกการทิปมาให้อย่างชัดเจนล่วงหน้าแล้วว่าจะต้องทิปเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ร้านมักจะตั้งอัตราการทิปอยู่ระหว่าง 15% ถึง 35% ของราคาสินค้า/บริการ

ผู้เชี่ยวชาญด้านมารยาทให้ความเห็นว่าการทิปประมาณ 20% ในร้านอาหารประเภทนั่งรับประทาน มีบริกรคอยบริการภายในร้าน ยังเป็นมาตรฐานที่คนอเมริกันยอมรับร่วมกัน แต่สำหรับบริการประเภทอื่น เช่น ร้านกาแฟที่เป็น kiosk ซื้อกลับบ้าน ซึ่งไม่เคยมีการคิดทิปมาก่อนในอดีต ดูจะเป็นสิ่งที่คนอเมริกันไม่ค่อยยอมรับว่าจะต้องทิปด้วย

Toast มีการสำรวจการทิปในร้านอาหารต่างๆ พบว่าร้านอาหารประเภทฟูลเซอร์วิสยังได้รับทิปสม่ำเสมอ แต่ในร้านลักษณะฟาสต์ฟู้ดหรือที่ต้องบริการตนเอง ค่าเฉลี่ยอัตราการทิปลดลงมาเหลือ 16.7% ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปี

“ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความรู้สึกอ่อนล้าที่จะต้องทิป” Eric Plam ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Uptip สตาร์ทอัปจากซานฟรานซิสโกที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการบริการช่องทางให้ทิปแบบไร้เงินสด กล่าวกับ CNBC “ในช่วงโควิด-19 ทุกคนอยู่ในช่วงช็อกและรู้สึกโอบอ้อมอารีมากกว่าปกติ”

ปัญหาก็คือ เมื่อทิปมากขึ้นในช่วงโควิด-19 ก็ทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ในการทิปซึ่งไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในช่วงปกติอีกต่อไป ยิ่งมีการกำหนดอัตราส่วนที่ต้องทิปไว้ให้แล้ว ยิ่งทำให้คนรู้สึกว่าเป็น “การทิปที่น่ารังเกียจ”

อย่างไรก็ตาม Plam มองในอีกมุมหนึ่งว่า การทิปยังคงสำคัญมากกับพนักงานที่ได้ค่าจ้างเท่ากับค่าแรงขั้นต่ำหรือน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ เช่น พนักงานร้านฟาสต์ฟู้ดแบบจ้างประจำจะได้ค่าจ้างเฉลี่ย 14.34 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง ส่วนแบบพาร์ทไทม์จะได้เฉลี่ย 12.14 เหรียญสหรัฐต่อชั่วโมง ซึ่งค่าจ้างที่ว่านี้รวม “ทิป” แล้ว (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติด้านแรงงานสหรัฐฯ)

“คนเราควรจะทราบไว้ด้วยว่าชีวิตความเป็นอยู่ของคนคนหนึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการทิปมากทิปน้อย” Plam กล่าว

Source

]]>
1439222
กลยุทธ์ “พรีโม” รวบงานบริการอสังหาฯ ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ดันรายได้ 1,000 ล้านใน 3-5 ปี https://positioningmag.com/1399102 Tue, 06 Sep 2022 09:43:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1399102 “พรีโม” บริษัทในเครือออริจิ้น กำลังจะสปินออฟเปิด IPO บริษัทนี้เป็นผู้ให้บริการอสังหาฯ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มีบริษัทลูกที่บริการตั้งแต่ออกแบบก่อสร้าง นิติบุคคล แม่บ้าน จนถึงรับจ้างบริหารสินทรัพย์ โดยไฮไลต์อยู่ที่การต่อสู้กับเรดโอเชียนในธุรกิจนิติบุคคล และการจับตลาดบลูโอเชียนของธุรกิจรับบริหารเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ รวมถึงการเข้าสู่วงการอินทีเรีย พร้อมปักเป้ารายได้แตะ 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า

บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI (อ่านว่า พี-ริ) เป็นบริษัทลูกในเครือออริจิ้น แรกเริ่มเดิมทีเป็นบริษัทเอเย่นต์ขายและแม่บ้านทำความสะอาดที่ช่วยสนับสนุนโครงการบริษัทแม่

กระทั่งเห็นลู่ทางว่าสามารถขยายเป็นธุรกิจเฉพาะตัวรับงานโครงการอื่นนอกจากออริจิ้นได้ ทำให้พรีโมขยายมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีบริษัทลูก 8 แห่งที่รับงานบริการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เรียกว่า ‘ครอบจักรวาล’ อสังหาริมทรัพย์ (อ่านรายละเอียดบริษัทลูกทั้ง 8 แห่งว่ามีอะไรบ้างได้ที่นี่)

พรีโม
บริษัทลูก 8 แห่งภายใต้ PRI

ต้นน้ำถึงปลายน้ำของ PRI แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.Pre-Living Services ได้แก่ ธุรกิจตัวแทนขาย, ธุรกิจออกแบบอาคาร, ธุรกิจบริหารการก่อสร้าง และธุรกิจออกแบบตกแต่งภายใน 2.Living Services ได้แก่ ธุรกิจบริหารอาคาร(นิติบุคคล) และธุรกิจแม่บ้านทำความสะอาด 3.Living & Earning Services ได้แก่ ธุรกิจบริหารเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ และธุรกิจอบรมด้านอสังหาฯ

 

ธุรกิจ “นิติบุคคล” สู้ด้วย “ไอที” และหารายได้เสริม

ธุรกิจหลักของ PRI นั้นยังคงเป็น “นิติบุคคล” โดย “จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PRI กล่าวว่า มี 2 บริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจนี้ คือ บริษัท พรีโม แมเนจเม้นท์ จำกัด (PMM) บริหารโครงการระดับกลางถึงกลางบน ถ้าเป็นคอนโดมิเนียมจะอยู่ในกลุ่มราคาไม่เกิน 150,000 บาทต่อตร.ม. และอีกบริษัทคือ บริษัท คราวน์ เรสซิเดนซ์ จำกัด บริหารโครงการไฮเอนด์ ในกลุ่มราคามากกว่า 150,000 บาทต่อตร.ม. เพราะจะมีบุคลากรพิเศษ เช่น กงเซียจ 24 ชม. หรือพนักงานที่พูดได้ 3 ภาษา

พรีโม
“จตุพร วิไลแก้ว” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PRI

ธุรกิจนิติบุคคลถือว่าเป็น “เรดโอเชียน” ทีเดียว เพราะบริษัทอสังหาฯ หลายแห่งมีบริษัทนิติบุคคลของตนเอง และมีอีกหลายบริษัทที่รับจ้างอยู่ในตลาด ดังนั้น ถ้า PMM และคราวน์จะเติบโตได้ ต้องแข่งด้วยคุณภาพและต้นทุนที่ถูกกว่า

จตุพรกล่าวในประเด็นนี้ว่า บริษัทจะมีการลงทุนด้านไอทีอีก 500-1,000 ล้านบาท เพื่อสร้างแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกด้วยเทคโนโลยีในโครงการ เช่น ทำระบบสร้าง QR Code ล่วงหน้าให้กับผู้มาติดต่อ (visitor) ของลูกบ้าน ทำให้เข้าออกสะดวก ไม่ต้องแลกบัตร ลูกบ้านไม่ต้องมารับที่หน้าล็อบบี้

ขณะที่การลดต้นทุนคือจะต้องใช้คนจำนวนน้อยแต่ทำงานได้มากกว่า ดังนั้น พนักงานของพรีโมจะต้อง ‘multitasking’ ทำงานได้หลายอย่าง ล่าสุดบริษัทมีการเปิดบริการใหม่ภายในโครงการ Co-Nannies รับเลี้ยงเด็ก และ Co-Trainer เทรนเนอร์ออกกำลังกาย บริการใหม่เหล่านี้เกิดจากการส่งเสริมพนักงานภายในให้ไปอบรม มีใบรับรอง และมาบริการลูกค้า โดยพนักงานจะได้รายได้พิเศษเพิ่ม บริษัทก็มีรายได้เพิ่มจากการต่อยอดบริการใหม่ๆ เช่นกัน หรือแม้แต่การใช้ “หุ่นยนต์” ช่วยทำความสะอาด ก็จะทดแทนแรงงานมนุษย์ได้มาก

 

“แฮมป์ตัน” เจรจาดีลเข้าบริหารนอกเครือ

อีกส่วนที่เป็นไฮไลต์ จตุพรกล่าวถึง บริษัท แฮมป์ตัน โฮเทล แอนด์ เรสซิเดนซ์ แมเนจเมนท์ จำกัด หรือ HHR เป็นผู้รับบริหารยูนิตในที่พักอาศัยหรือโรงแรมให้เป็นไปในลักษณะเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ มีมาตรฐานแบบห้องพัก เครื่องนอน และบริการ

แฮมป์ตัน เรสซิเดนซ์ พญาไท

ที่ผ่านมา HHR ยังทำงานเฉพาะกับโครงการในเครือออริจิ้น แต่ปัจจุบันกำลังเจรจากับโรงแรมและที่พักอาศัยนอกเครือเพื่อมาอยู่ในพอร์ตเพิ่ม

จตุพรมองว่าธุรกิจของ HHR ถือเป็นบลูโอเชียนเพราะบริษัทจะรับจ้างบริหาร “บิ๊กลอต” ในโครงการหนึ่งๆ เช่น 50-150 ห้องในโครงการ ไม่จำเป็นต้องได้ดีลทั้งอาคารเหมือนเชนโรงแรม และไม่เหมือนกับบริษัทเอเย่นต์ทั่วไปที่รับดูแลเป็นห้องๆ ไปซึ่งไม่ได้ดูแลลูกค้าแบบฟูลฟังก์ชัน ทำให้บริการแบบ HHR จะตอบโจทย์กลุ่ม ‘expat’ ได้ดีกว่า

 

“อินทีเรีย” Wyde จับตลาดโรงแรมและรีเทล

ด้านธุรกิจที่กำลังเป็นเทรนด์ มีโอกาสสร้างรายได้สูง จตุพรมองว่าเป็น บริษัท วายด์ อินทีเรีย จำกัด (Wyde) เพราะบริษัทเริ่มเข้าไปจับตลาด B2B ได้ จากการรีโนเวทโรงแรมที่มีมากขึ้น และกลุ่ม “รีเทล” ร้านค้าแบรนด์ต่างๆ ที่มีการขยายสาขาไปทั่วประเทศ และต้องการการออกแบบสาขาจาก Wyde

จตุพรกล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากกลุ่ม Pre-Living 25% กลุ่ม Living 55% และกลุ่ม Living & Earning 20% โดยทำรายได้เมื่อปี 2564 ไปที่ 490 ล้านบาท บริษัทตั้งเป้าจะทำรายได้ขึ้นเป็น 1,000 ล้านบาทภายใน 3 ปีข้างหน้า ด้านการเปิด IPO นั้น ขณะนี้บริษัทได้ยื่นไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าจะได้เริ่มเทรดในตลาดภายในสิ้นปีนี้

]]>
1399102
เมื่ออุตสาหกรรมแข่งไม่ไหว หรือภาคบริการคือคำตอบของไทย? https://positioningmag.com/1360917 Sun, 14 Nov 2021 14:27:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360917 KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าถึงแม้นักท่องเที่ยวจะยังคงสามารถกลับเข้ามาได้หลังจากโควิด-19 จบลง ภาคบริการที่พึ่งพาเฉพาะการท่องเที่ยวจะไม่เพียงพอเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

จากเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายมิติ และอาจทำให้เติบโตได้ช้าลงกว่าเดิม จากทั้งปัญหาการถูกทิ้งห่างด้านความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิต ปัญหาการเข้าสู่สังคมสูงอายุ และการเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอนของภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือหมายความว่า เศรษฐกิจไทยแบบเก่ากำลังไม่เหมาะกับโลกยุคใหม่ที่มีสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างมาก” 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเสี่ยงที่การท่องเที่ยวในยุคหลังโควิด-19 จะฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่ากับที่คาด จากทั้งกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% อาจไม่กลับมาอย่างถาวรและในกรณีเลวร้ายที่นักท่องเที่ยวจีน (ประมาณ 30% ของนักท่องเที่ยว) ไม่กลับมาในระยะยาวตามนโยบายของจีนที่สนับสนุนเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นอาจทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาได้ต่ำกว่าระดับก่อนโควิดค่อนข้างมาก

เหตุการณ์นี้กำลังเร่งให้ไทยต้องมองหาเครื่องยนต์อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเติบโตที่อาจลดลงในระยะยาว 

ภาคบริการเดิมไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจระยะยาว 

ภาคบริการมีความหลากหลายตามนิยามโดยสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มบริการสมัยใหม่ที่เน้นการใช้นวัตกรรม เช่น กลุ่มสื่อสารและสารสนเทศ
  2. กลุ่มบริการดั้งเดิมที่เน้นการใช้แรงงานทักษะต่ำ และเน้นการค้าระหว่างประเทศ (Low-Skill Tradable Services) เช่น ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจขนส่ง
  3. กลุ่มบริการที่ใช้แรงงานทักษะต่ำและพึ่งพาการบริโภคในประเทศเป็นหลัก (Low-Skill Domestic Services) เช่น ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์
  4. กลุ่มบริการที่เน้นแรงงานทักษะสูง (High-Skill Intensive) เช่น แพทย์ การศึกษา
Photo : Shutterstock

เมื่อพิจารณาลักษณะของภาคบริการไทยยังพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มบริการแบบเก่าซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นตัวตามเศรษฐกิจมากกว่าตัวนำเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจาก

  1. โครงสร้างภาคบริการไทยยังอยู่ในกลุ่มบริการแบบเก่า เช่น การค้าปลีกค้าส่ง การขนส่ง การให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มน้อย
  2. ภาคบริการไทยไม่ได้ทำหน้าที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรม
  3. การเติบโตหลักของบริการในระยะหลังเกิดจากภาคการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ซึ่งสะท้อนทิศทางนโยบายของไทยในอดีตว่า ภาคบริการไทยยังไม่ได้รับการใส่ใจจากนโยบายภาครัฐและไม่ได้ถูกผนวกเข้าเป็นกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาวทำให้โครงสร้างภาคบริการของไทยยังเป็นภาคบริการแบบเก่า

บริการโตได้แต่ตามหลังประเทศพัฒนาแล้ว  

ภาคบริการเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศพัฒนาแล้ว และมีแนวโน้มมีความสำคัญมากขึ้น โดยประเทศรายได้สูงมีแนวโน้มพึ่งพามูลค่าเพิ่มจากภาคบริการในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา

KKP Research มองว่าลักษณะสำคัญของบริการในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ภาคบริการสามารถเติบโตได้ดี เกิดจากองค์ประกอบของภาคบริการที่มักมีลักษณะเป็นบริการสมัยใหม่ในสัดส่วนที่สูง ตัวอย่างเช่น การบริการในกลุ่ม IT คอมพิวเตอร์ ภาคการเงิน ผู้เชี่ยวชาญในการช่วยเหลือธุรกิจ (Professional Business Services) ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30%-40% จากบริการทั้งหมด เทียบกับประเทศกำลังพัฒนาที่มีสัดส่วนประมาณ 10%-20% เท่านั้น

สำหรับเศรษฐกิจไทยถือว่ามีสัดส่วนภาคบริการค่อนข้างใหญ่ คือ ประมาณ 60% ของ GDP แต่เป็นบริการสมัยใหม่เพียงประมาณ 14% เท่านั้นสะท้อนชัดเจนว่าภาคบริการไทยยังคงตามหลังประเทศพัฒนาแล้วอยู่มาก 

KKP Research ประเมินว่าลักษณะของภาคบริการในประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นบริการสมัยใหม่ (Modern Services) สร้างโอกาสสำคัญให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมจากลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ  

1) ภาคบริการสมัยใหม่มีลักษณะที่สามารถช่วยส่งเสริมศักยภาพของภาคอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเต็มที่ เมื่อพิจารณามูลค่าเพิ่มของสินค้าส่งออกที่เกิดจากภาคบริการพบว่าประเทศพัฒนาแล้วพึ่งพาภาคบริการในประเทศเป็นหลักเกินกว่า 80% ของบริการทั้งหมดในขณะทีไทยพึ่งพาบริการในประเทศเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมดเท่านั้น

2) ภาคบริการสมัยใหม่สามารถเพิ่มขนาดตลาด (scalable) ผ่านการหารายได้จากการค้ากับต่างประเทศ (Tradeable) ได้ โดยในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตและมูลค่าของการค้าบริการสูงกว่าการค้าสินค้าปกติ สะท้อนโอกาสจากการเติบโตในภาคบริการที่ยังมีอยู่สูง

3) เทคโนโลยีใหม่มีส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มโอกาสการขยายตัวและประสิทธิภาพของภาคบริการในอนาคต (Innovation) โดยเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาจะให้ประโยชน์มากกว่ากว่ากับกลุ่มบริการแบบใหม่ (Modern Services) โดยสามารถทำการค้าระหว่างประเทศได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ผ่านรูปแบบของ Online Outsourcing ในขณะที่บริการแบบเก่าได้ประโยชน์น้อยกว่าเนื่องจากเป็นกลุ่มบริการที่ต้องเจอหน้ากันโดยตรง เช่น การค้า การท่องเที่ยว

ลักษณะของภาคบริการสมัยใหม่อาจเป็นแรงส่งสำคัญที่ทำให้ภาคบริการสามารถทำหน้าที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องพัฒนาภาคการผลิตมาก่อนตามความเชื่อแบบเก่า ซึ่งเป็นข้อมูลที่สะท้อนว่าในระยะต่อไปประเทศไทยควรต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคบริการเพิ่มเติมจากภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน  

การพัฒนาภาคบริการไทยยังเผชิญอุปสรรคมหาศาล 

ภาคบริการในแต่ละกลุ่มมีโอกาสในการเติบโตและต้องการปัจจัยสนับสนุนที่แตกต่างกัน KKP Research ประเมินว่าในภาพรวมการพัฒนาภาคบริการไทยจะเจอความท้าทายมหาศาลแต่ยังมีโอกาสในบริการบางกลุ่มอยู่บ้าง ได้แก่

Photo : Shutterstock
  1. ภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Services) มีโอกาสเติบโตจากการยกระดับสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แต่ไทยขาดการลงทุนด้าน R&D และนวัตกรรม และแรงงานมีฝีมือซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ทำให้ในระยะสั้นประเทศไทยจะไม่มีศักยภาพมากพอในการพัฒนาไปสู่ Modern Services และเป็นศูนย์กลางบริการของโลกได้
  2. ภาคการเงินมีโอกาสเติบโตจากความเชื่อมโยงของภาคการเงินระหว่างประเทศที่มากขึ้น แต่ไทยยังมีอุปสรรคด้านกฎระเบียบและข้อจำกัดในระบบการเงิน โอกาสในการเป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาค (Financial Center) ในไทยจึงมีความท้าทายสูง
  3. อุตสาหกรรมที่พึ่งพาแรงงานทักษะต่ำ (Low-Skilled Labor) เช่น การท่องเที่ยว การค้าปลีกค้าส่ง ยังเติบโตได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติแต่ในระยะยาวต้องเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ภาคบริการในกลุ่มนี้ของไทยมีโอกาสเติบโตได้แต่ต้องหันไปพึ่งพาปัจจัยด้านคุณภาพมากขึ้น เช่น พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นการท่องเที่ยวมูลค่าสูงรวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการท่องเที่ยวและการค้า
  4. บริการที่เน้นแรงงานทักษะสูงมีโอกาสเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะแนวโน้มความต้องการดูแลสุขภาพและการเข้าสู่สังคมสูงอายุ แต่ไทยยังการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทางและเทคโนโลยีด้านการสื่อสารขั้นสูง บริการสุขภาพของไทยมีศักยภาพในการเติบโตผ่านการสนับสนุนท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ แต่ต้องเร่งดำเนินการในหลายเรื่อง คือ 1) เพิ่มจำนวนแรงงานเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 2) การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและโทรคมนาคม

นโยบายภาครัฐ ปัจจัยสำคัญเพื่อขับเคลื่อนภาคบริการ 

แม้ภาคบริการอื่นๆ ของไทยนอกเหนือจากการท่องเที่ยวในปัจจุบันจะยังเผชิญกับอุปสรรคจำนวนมาก การพัฒนาภาคบริการให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น มีมูลค่าเพิ่มที่สูง และผนวกเข้าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อเศรษฐกิจไทยในหลายมิติ

ทั้งในแง่ของการช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในทางอ้อม ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจไทยในมิติของการกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาการส่งออกในยุคของ De-Globalization และสร้างโอกาสให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาจากลักษณะของภาคบริการที่พึ่งพาแรงงานเป็นหลัก 

Photo : Shutterstock

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร สรุปภาพรวมว่าเพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์และสามารถพัฒนาภาคบริการได้อย่างเต็มที่ในระยะต่อไป จำเป็นต้องดำเนินนโยบายในอย่างน้อย 4 เรื่องหลัก

  1. การปฏิรูปกฎระเบียบ เพิ่มการแข่งขันในภาคบริการ
  2. การปฏิรูปและปรับปรุงระบบการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงาน การพัฒนาภาคบริการจะเกิดขึ้นได้จากแรงงานที่มีทักษะสูงซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของภาคบริการซึ่งต่างจากภาคอุตสาหกรรม
  3. การลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศของภาคบริการ ภาคบริการยังถือเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่ได้รับการปกป้องมากที่สุดของไทย การเปิดเสรีจะช่วยให้การพัฒนาภาคบริการเกิดเร็วขึ้น
  4. เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตลาดแรงงานและตลาดทุน โดยเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดแรงงาน และตลาดทุนอย่างเสรี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในกลุ่มผู้ประกอบการในภาคบริการ 

การพัฒนาภาคบริการในระยะยาวจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอนสูง และการวางแผนนโยบายเศรษฐกิจระยะยาวจำเป็นต้องพิจารณาโอกาสของภาคบริการในการเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มไปด้วย การนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้หรือการพัฒนาบริการเชิงสร้างสรรค์จะเป็นอีกหนึ่งทางออกของไทย 

]]>
1360917