ธุรกิจอสังหาฯ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 26 Oct 2022 06:13:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “Areeya The Minimal Series” บ้านมินิมอล มัดใจ Gen Y ด้วยงานดีไซน์ที่ขายได้จริง https://positioningmag.com/1404966 Thu, 27 Oct 2022 11:00:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404966

กระแส “มินิมอล” เทรนด์ที่กำลังมาแรง จุดประกายให้ “อารียา พรอพเพอร์ตี้” แบรนด์อสังหาฯ ที่อยู่ในตลาดมานานกว่า 22 ปี กล้าพลิกแบบบ้านแนวใหม่ให้เหมาะกับคน “Gen Y” และไม่ได้มีแค่ซีรีส์เดียวให้เลือก แต่มี โครงการสไตล์มินิมอลถึง 3 แบรนด์ คือ COMO Bianca, AREN และ NORA เพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนรุ่นใหม่ ทำให้คำว่ามินิมอลไม่ได้มีนิยามตายตัวเพียงแบบเดียว

กระแสรสนิยมแบบ “มินิมอล” ฮิตในไทยมาพักใหญ่แล้วโดยเฉพาะในกลุ่มคน “Gen Y” มองไปทางไหนก็จะเจอสินค้าและบริการที่ใช้สไตล์มินิมอลในการออกแบบ ตั้งแต่ของใช้ส่วนตัวสีขาวไร้ลวดลาย แฟชั่นการแต่งกายเรียบๆ คาเฟ่เก๋ๆ ที่ออกแบบด้วยสีขาวผสมงานไม้ ไปจนถึงโรงแรมบูทิคน่ารักๆ สีเบจ ตกแต่งแบบคลีนๆ เน้นความสบายตาสบายใจในการมาพักผ่อน

แต่เมื่อมองไปในตลาดที่อยู่อาศัย สินค้าที่ตรงกับความต้องการคน Gen Y อาจมีให้เลือกไม่มากนัก ทำให้ “อารียา พรอพเพอร์ตี้” เล็งเห็นโอกาสในการเติมเต็มช่องว่าง สร้างสรรค์ “บ้าน” ที่เข้าใจ Gen Y ทั้งการออกแบบและฟังก์ชันที่ใช่

อารียาฯ วางคอนเซ็ปต์โดยรวมของการออกแบบบ้าน “มินิมอล” ว่าไม่ใช่การตัดทุกอย่าง ลดทอนทุกองค์ประกอบ แต่ตัดเฉพาะสิ่งที่ฟุ่มเฟือย เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็นกับการอยู่อาศัยตามไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย นั่นทำให้บ้านมินิมอลของอารียาฯ ยังคงมีความเป็นบ้านที่อยู่ได้จริง

นอกจากนี้ อารียาฯ ยังเลือกที่จะตีความคำว่ามินิมอลให้แยกย่อยสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ต่างกันในแต่ละกลุ่มด้วย ทำให้บ้านมินิมอลของอารียาฯ ที่มีถึง 3 แบรนด์ ใน Portfolio ได้ถูกรวบรวมไว้ภายใต้ “Areeya The Minimal Series” โดยมี COMO Bianca, AREN และ NORA …เพราะมินิมอลมีได้หลายสไตล์ เหมาะกับกลุ่มคนแต่ละ Segment


Minimal Eco Living ที่ “COMO Bianca” (โคโม่ เบียงก้า)

ย้อนกลับไปปี 2563 โครงการ “COMO Bianca” คือแบรนด์แรกภายใต้ Areeya The Minimal Series ที่ออกสู่ตลาด โดยเลือกปักหมุดแห่งแรกในย่านบางนา แบรนด์นี้มาพร้อมกับบ้านสไตล์มินิมอลสีขาวผสมงานไม้สีอ่อน รวมถึงยังเน้นการใช้ไลฟ์สไตล์แบบ Eco-living เข้ามาดึงดูดคน Gen Y ที่รักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ

ด้วยกระแสตอบรับที่ดีและการได้รับความสนใจจากลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปีนี้ ทางอารียาฯ ได้เปิดตัว COMO Bianca ll ซึ่งเป็นโปรดักส์ใหม่อย่าง ‘บ้านเดี่ยว’ ที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ตรงใจ ตอบรับ Eco Friendly ด้วย Zero Waste System ที่ทางโครงการได้ติดตั้งถังแยกขยะและเครื่อง Food Waste Composter ช่วยเปลี่ยนขยะจากเศษอาหารเป็นปุ๋ย ที่มีให้กับบ้านทุกหลัง และพื้นที่ส่วนกลางของ Clubhouse และ Glasshouse สำหรับปลูกผักออร์แกนิค รวมถึงพื้นที่ Pet Friendly Area ก็เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง เป็นโซนให้น้องหมาวิ่งเล่นกันได้เต็มที่

กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์นี้ เป็นกลุ่ม Growing Family ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพทำให้ชอบทำอาหารทานเอง ชอบอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ ดูแลต้นไม้ ใส่ใจการดูแลสิ่งแวดล้อม


Modern Minimal ที่ “AREN” (เอเรน)

โครงการนี้ถือว่าเป็นแบรนด์สร้างชื่อที่ทำให้ผู้บริโภคคิดถึงอารียาฯ เมื่อเอ่ยคำว่า “บ้านมินิมอล” เพราะเป็นโครงการที่กล้า ‘ไปให้สุด’ กับการดีไซน์ในแบบมินิมอลสุดทาง โดยเริ่มออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปลายปี 2564 ที่โซนบางนา

ทาวน์โฮมที่นี่ได้รับการออกแบบในโทนสีขาว เทา สเตนเลส กระจก แทบไม่มีงานไม้มาเกี่ยวข้อง แม้จะเป็นทาวน์โฮม แต่มีพื้นที่ Private Courtyard เท่ๆ ทั้งหมดทำให้ได้อารมณ์มินิมอลแบบล้ำยุคที่ฉีกแนวไปจากแบรนด์ที่มีในท้องตลาดอย่างชัดเจน

เมื่องานดีไซน์บ้านให้ลุคแบบไปสุด กลุ่มที่แบรนด์ดึงดูดจึงเป็นคู่รัก Gen Y ที่ไม่มีลูก (Double Income No Kids) ที่ต้องการบ้านที่สะท้อนตัวตนได้อย่างชัดเจน มีพื้นที่กว้างพอที่ทั้งคู่จะมีอิสระในการจัดมุมบ้านที่เป็นตัวเอง โดยไลฟ์สไตล์ชอบการสังสรรค์กับเพื่อนๆ อาจจะจัดงานปาร์ตี้ที่บ้าน ออกทริป Camping ต่างจังหวัด ชอบดริปกาแฟ มีของสะสมต่างๆ เช่น แผ่นเสียง หนังสือ

แบรนด์ AREN กำลังจะขยายความเป็นมินิมอลแบบสุดทางด้วย Product ใหม่อย่าง AREN X โดยขยับขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้นเป็นบ้านเดี่ยว แต่คอนเซ็ปต์ออกแบบยังคงไปสุดกับความเป็น Modern Minimal เพิ่มด้วย Private Pool สระว่ายน้ำส่วนตัวกลางบ้าน*, Private Courtyard พื้นที่สวนส่วนตัวกลางบ้าน*, Private Barcony บาร์ลับที่ใกล้แค่ก้าว* ซึ่งกำลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้


Minimal Cozy ที่ “NORA” (โนระ)

ในปีนี้อารียาฯ ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ กับโครงการใหม่ “NORA” เปิดพร้อมกัน 2 ทำเลคือ บางนา และ กาญจนาภิเษก-ราชพฤกษ์ โดยสร้างสรรค์แบรนด์นี้มาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการมีบ้านหลังแรกสำหรับครอบครัว

NORA เป็นทาวน์โฮมที่ได้แรงบันดาลใจจาก “คาเฟ่สไตล์มินิมอล” ใช้โทนสีขาวและงานไม้สีเข้ม มี Oversized  Window seat ที่นั่งข้างกระจกขนาดใหญ่เพื่อรับแสงธรรมชาติ รวมถึงมีกลิ่นอายที่อยู่อาศัยแบบญี่ปุ่นที่เรียบง่าย Homey และอบอุ่นเข้ามาผสมผสาน

กลุ่มเป้าหมายของ NORA คือกลุ่มที่กำลังสร้างครอบครัว (Starting Family) โดยพื้นที่แห่งนี้อาจเป็นบ้านหลังแรกของพวกเขา โดยเลือกย้ายมาอยู่ในบ้านแนวราบเพื่อเตรียมตัวมีลูกคนแรกหรือเพิ่งมีลูกคนแรก เป็นกลุ่มคนที่ต้องการความเรียบง่ายในการใช้ชีวิต ชอบการมีความสุขแบบง่ายๆ มีกิจกรรมที่ชอบ เช่น งานคราฟต์ ทำขนม ทำกิจกรรมกับครอบครัว


ไม่ใช่แค่ดีไซน์ต้องใช่ แต่การตลาดก็ต้องพูดภาษาเดียวกัน

งานดีไซน์ที่เห็นแล้วชอบทันทีคือกุญแจหลักในการมัดใจลูกค้า แต่กว่าที่ลูกค้าจะ ‘เห็น’ โปรดักส์ได้ การตลาดที่จะเข้าไปให้ถึงตัวและทำให้ลูกค้าชื่นชอบและมั่นใจในคุณภาพของ “แบรนด์” ก็สำคัญไม่แพ้กัน

ยกตัวอย่างเช่นแบรนด์ AREN ดังที่กล่าวว่าแบรนด์นี้เรียกเสียงฮือฮาในตลาดได้เป็นอย่างมาก เพราะมีการสร้างประสบการณ์ของแบรนด์ (Brand Experience) ผ่านการคอลแลบกับนักสร้างสรรค์ศิลปะในหลายแขนงที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจ ‘ฟิลลิ่ง’ ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Nut Dao นักวาดภาพประกอบ, Pichai ช่างภาพวินมอเตอร์ไซค์ชื่อดัง, Hario Cafe แบรนด์อุปกรณ์กาแฟชื่อดังจากญี่ปุ่น หรือ DJYP Music Curator

เมื่อภาพของแบรนด์และโปรดักส์ถูกสื่อสารออกไปด้วยมุมมองที่ตรงกับตัวตน ทำให้เกิดกระแสผ่านโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะใน Twitter และ Facebook

แม้กระทั่งแบรนด์ล่าสุดอย่าง NORA ก็เลือกสื่อสารแบรนด์ผ่านมิวสิค มาร์เก็ตติ้ง โดยจับมือกับ “บอย-ตรัย ภูมิรัตน” ศิลปินเสียงเอกลักษณ์และเป็นคุณพ่อที่เข้าใจชีวิตครอบครัว ร่วมกับ “ตั้ม โมโนโทน” เป็นโปรดิวเซอร์ถ่ายทอดบทเพลงในชื่อ “ง่ายดาย” เพื่อสื่อถึงความสุข ความอบอุ่นง่ายๆ ในการสร้างครอบครัวแบบคน Gen Y


แบรนด์ NORA ยังมีการใช้แนวทางการตลาดแบบใหม่ที่ส่งเสริมจินตนาการของ ‘เด็กๆ’ ด้วย โดยโบรชัวร์ของโครงการที่ออกแบบมาในรูปแบบ ‘หนังสือนิทาน’ (นิทาน NORA Pop-up) ที่เล่าเรื่องผ่านตัวการ์ตูนครอบครัวที่มีความสุขที่สุด และพวกเขาอาศัยอยู่ในโครงการ NORA พร้อมกับ ‘โบรชัวร์ระบายสี’ (NORA x Mig Mig) กับการคอลแลบนักวาดภาพประกอบสไตล์มินิมอลอย่างคุณ Mig Mig มาวาดภาพประกอบไว้ให้เด็กๆ ได้ระบายสีในโบรชัวร์ ทำให้โบรชัวร์สามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่าแค่การบอกเล่าข้อมูลโครงการ

นอกจากนี้นับเป็นครั้งแรกของวงการบ้านในไทย สำหรับ 20 ครอบครัวแรกที่จอง และโอนฯ โครงการ NORA จะได้รับ ตัวต่อรูปทรงเดียวกับบ้าน (Mini Block Architecture) ที่จำลองมาจากบ้าน NORA ซึ่งผลิตมาเป็น Limited Edition ช่วยเพิ่มความสุขและความอบอุ่นให้กับสมาชิกในครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ผ่านกิจกรรมสนุกๆ ที่ได้ช่วยกันต่อ ช่วยกันสร้าง จนเกิดเป็นบ้านที่สมบูรณ์แบบ


Areeya The Minimal Series งานดีไซน์ที่ขายได้จริง

จากการตลาดที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ในแต่ละกลุ่มและทำให้เกิดการบอกปากต่อปาก นำมาสู่ยอดขายที่ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย โดย COMO Bianca โครงการแรกสามารถปิดยอดขาย 250 ล้านบาท ช่วง Pre-Sale เพียง 2 วัน และปัจจุบันได้เปิดขาย COMO Bianca II แล้ว ขณะที่ AREN ก็สามารถสร้างปรากฏการณ์ Sold Out ภายใน 3 เดือน ด้วยแบรนด์ที่แข็งแรงนำไปสู่โครงการต่อยอดอย่าง AREN X ซึ่งกำลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้

ส่วน NORA ซึ่งเป็นแบรนด์น้องใหม่เพิ่งเปิดขายเมื่อเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา ก็สามารถสร้างยอดขายได้ 200 ล้านบาท หลัง Pre-sale เพียง 2 วัน

สรุปได้ว่าอารียาฯ ได้สร้างฐานความสำเร็จกับการเป็นผู้นำตลาดบ้านมินิมอลแล้ว จากความกล้าที่จะออกแบบงานดีไซน์ที่ฉีกจากตลาด ความเข้าใจในตัวตนและรสนิยมของลูกค้า พร้อมกับการตลาดที่สื่อสารแบรนด์ได้อย่างเหมาะสม ทำให้วันนี้เมื่อลูกค้าคิดถึงบ้าน “มินิมอล” ก็ต้องคิดถึง “อารียา” ขึ้นมาเป็นชื่อแรกๆ คน Gen Y ที่สนใจบ้านสไตล์มินิมอลจากอารียาฯ สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่ https://bit.ly/3MeYU03

Line: @Areeyahome https://lin.ee/AlQu2wQ

โทร. 1797

#AreeyaTheMinimalSeries #Areeya #AreeyaProperty #COMOBianca #AREN #NORA #มินิมอล #อารียาพรอพเพอร์ตี้ #บ้านมินิมอล

 

]]>
1404966
ปลอดภัยไว้ก่อน! ลลิลโชว์ผลงานรายได้ปี’62 โต 13% เหนือตลาดด้วยกลยุทธ์ระวังตัวสูง https://positioningmag.com/1259458 Mon, 06 Jan 2020 08:19:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259458
  • ผลดำเนินงานลลิลปี 2562 รายได้เติบโต 13% สวนทางตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว
  • ผลจากการดำเนินกลยุทธ์ระวังตัว เน้นแนวราบ งดพัฒนาคอนโดฯ ซึ่งจะยังทำต่อเนื่องในปีนี้จากสภาพเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นมากนัก
  • ปี 2563 เชื่อตลาดอสังหาฯ แนวราบโตเล็กน้อย 2-4% กำลังซื้อยังเป็นปัญหาเนื่องจากหนี้ครัวเรือนสูง
  • ลลิลวางแผนการเติบโตอีก 13% ในปีนี้ เป้ายอดขาย 6,200 ล้านบาท เป้ารับรู้รายได้ 5,250 ล้านบาท
  • “ไชยยันต์ ชาครกุล” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) แถลงผลการดำเนินงานของบริษัทปี 2562 สร้างยอดขายรวม 5,500 ล้านบาท และยอดรับรู้รายได้ 4,640 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น 13.2% จากปีก่อนหน้า เทียบกับตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมหรือบริษัทอสังหาฯ ในตลาดหุ้นอื่นๆ ถือเป็นการเติบโตที่สวนทางกับภาคธุรกิจนี้

    ลลิล พร็อพเพอร์ตี้เป็นบริษัทอสังหาฯ ขนาดกลางและอยู่ในตลาดมานาน โครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการแนวราบภายใต้แบรนด์ เช่น แลนซิโอ ไลโอ บริษัทเคยมีการพัฒนาคอนโดมิเนียมอยู่บ้างแต่ไม่มีการเปิดตัวคอนโดฯ ใหม่มาแล้ว 2 ปี เนื่องจากลลิลเห็นว่าตลาดคอนโดฯ มีความเสี่ยงสูงจากดีมานด์ของนักเก็งกำไรที่บิดเบือนตลาด

    “ผมคิดว่า 2 ปีก่อน บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ บางส่วนเปิดคอนโดฯ จำนวนมากกว่าที่ตลาดรับได้ไปมาก เมื่อถึงปี 2562 จึงเหลือบริษัทไม่มากที่ยังบุ่มบ่ามเปิดคอนโดฯ เพิ่มอีก ส่วนใหญ่มีการลดจำนวนโครงการลง” ไชยยันต์กล่าว

    ไชยยันต์มองว่า ลลิลสามารถรักษาการเติบโตได้จาก แผนระวังตัว ไม่พัฒนาโครงการแนวสูง และเน้นโครงการแนวราบราคา 2-6 ล้านบาท ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้าอาศัยอยู่จริง เป็นกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวที่ทำงานมาแล้ว 5-8 ปี อยู่ในช่วงแต่งงานใหม่ทำให้มีความจำเป็นต้องซื้อบ้านเพื่อแยกครอบครัว สินค้าทาวน์เฮาส์ บ้านแฝด บ้านเดี่ยว จึงเหมาะสมกว่าห้องชุดคอนโดฯ เพราะมีพื้นที่กว้างขวาง

    โครงการไลโอ บลิซ รังสิต-คลอง 4

    กลยุทธ์ดังกล่าวจะยังทำต่อเนื่องในแผนงานของลลิลปี 2563 โดยเตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ 9-11 โครงการ มูลค่ารวม 5,000-5,500 ล้านบาท ในกลุ่มราคา 2-6 ล้านบาทเป็นหลัก เน้นทำเลกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 80-90% และต่างจังหวัด 10-20% วางเป้ายอดขาย 6,200 ล้านบาท และเป้ารับรู้รายได้ 5,250 ล้านบาท เติบโต 13% จากปีก่อนหน้า

    “สต็อกบ้านสร้างเสร็จพร้อมอยู่ เรายังคงมีนโยบายสร้างไว้เผื่อขายไม่เกิน 1 เดือนครึ่ง เพราะเราเผื่อทางถอยเสมอ” ไชยยันต์กล่าวถึงกลยุทธ์การทำงานแบบระมัดระวัง “เฉลี่ยแล้วเราจะทยอยเปิดโครงการใหม่เดือนละ 1 โครงการ และคอยจับตามองทุกปัจจัยลบ เช่น การเมืองไทย สงครามตะวันออกกลาง มีการทบทวนแผนใหม่ทุก 3 เดือน หากเกิดสัญญาณลบ เราพร้อมจะหยุดสร้างบ้านในโครงการเพิ่มเพื่อไม่ให้เงินจม”

    ลลิลมองว่าสภาพเศรษฐกิจไทยปีนี้จะทรงตัว จีดีพีเติบโตในกรอบ 2.7-3.2% ดีขึ้นจากปีก่อนไม่มาก และตลาดอสังหาฯ เฉพาะกลุ่มสินค้าแนวราบน่าจะดีขึ้นเล็กน้อย เติบโต 2-4% จากปีก่อนเติบโตไม่ถึง 1% ส่วนตลาดสินค้าแนวสูงซึ่งลลิลไม่ได้พัฒนา ขออ้างอิงข้อมูลจาก CBRE เชื่อว่าปีนี้ซัพพลายใหม่จะลดลงถึง 20%

    ด้าน “ชูรัชฏ์ ชาครกุล” กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บมจ.ลลิลฯ กล่าวถึงงานด้านการตลาดว่า บริษัทต้องการจะขึ้นเป็นแบรนด์ Top 3 เมื่อลูกค้าคิดถึงโครงการแนวราบระดับราคา 2-6 ล้านบาท เทียบกับขณะนี้บริษัทอยู่ในอันดับ 5 โดดเด่นที่สุดในแง่ความคุ้มค่าของราคา ปีนี้จะใช้ Lifestyle Marketing เป็นแกนในการสร้างแบรนด์มากขึ้น

    ส่วนโจทย์หินที่แก้ยาก คือเรื่องของ กำลังซื้อลูกค้า เพราะตั้งแต่ปีก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีนโยบายให้แบงก์เข้มงวดการให้กู้สินเชื่อบ้าน ขณะเดียวกันลูกค้ามีหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ทำให้อัตราส่วนลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน (reject rate) ของลลิลเพิ่มขึ้นเป็น 20-25% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 18-19%

    แม้ว่าบริษัทจะฝึกอบรมเซลส์ขายโครงการให้ช่วยแนะนำการเดินบัญชีการเงินก่อนยื่นกู้แล้วก็ตาม แต่ถ้าหากตัวลูกค้าเองมีหนี้สูงก็ไม่อาจกู้ผ่านได้ จึงกลายเป็นงานหนักของบริษัทที่ต้องสร้างสรรค์ยอดพรีเซลมาตุนไว้ในมือให้ได้มากที่สุด

    ]]>
    1259458
    โจทย์ยากอสังหาฯ ฝ่าด่าน LTV ฉุดกำลังซื้อ ยังมีปัจจัยบวกดัชนีราคา “ที่ดิน” ชะลอตัวรอบ 10 ปี https://positioningmag.com/1247338 Mon, 23 Sep 2019 12:21:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247338 ปีนี้ต้องถือเป็นอีกปีที่เป็นโจทย์ยากและท้าทายของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบมาตั้งแต่เดือน เม.. คือธนาคารแห่งประเทศไทยบังคับใช้มาตรการดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ส่งผลต่อความสามารถในการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยและกำลังซื้อต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนชะลอตัว

    แต่ท่ามกลางปัจจัยลบดูเหมือนผู้ประกอบการอสังหาฯ ยังพอมีปัจจัยบวกเรื่องต้นทุน “ราคาที่ดิน” ที่ไม่ขยับเหมือนช่วงอสังหาฯ บูม บางทำเลเจรจาต่อรองกันง่ายขึ้น เพราะเจ้าของที่ดินเองไม่ต้องการเก็บไว้ให้มีภาระจาก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มี.ค. 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ใหม่ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 เป็นต้นไป

    Prop2morrow จัดเสวนา เรื่อง “กรุงเทพจตุรทิศ : โลกเปลี่ยน กฎ-กติกาเปลี่ยน อสังหาฯ รุกรับให้ทัน” เปิดมุมมองผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาฯ จากมาตรการกำกับดูแลของภาครัฐและกำลังซื้อผู้บริโภค

    ราคาที่ดินชะลอตัวรอบ 10 ปี

    อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีบีอาร์อี ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การจัดเก็บภาษีที่ดินฯ ใหม่ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินในปีนี้ จากปกติราคาที่ดินจะปรับขึ้นทุกปีตามราคาประเมินที่ดินใหม่ที่ขยับขึ้น 2 – 3% แต่ราคาที่ดินโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะปรับขึ้นเฉลี่ย 5 – 10% บางทำเลใจกลางเมืองปรับขึ้นเกิน 10% หรือถึง 20% ก็มี ในช่วง 5 ปีก่อนที่ธุรกิจอสังหาฯ กำลังบูม ผู้ประกอบการต่างแข่งขันซื้อที่ดินทำเลดีเพื่อพัฒนาโครงการ

    ปีนี้เห็นแนวโน้มชัดเจนว่าราคาที่ดินไม่ได้ปรับขึ้น โดยคงราคาเท่าเดิม เรียกว่าในรอบ 10 ปี รวมทั้งมีเจ้าของที่ดินมาเสนอขายและมีความยืดหยุ่นต่อในการต่อรองราคามากขึ้นกว่าเดิม ปัจจัยหลักมาจากกฎหมายที่ดินฯ ใหม่ ทำให้เจ้าของที่ดินมีภาระจ่ายภาษีที่ดินเปล่าเพิ่มขึ้น

    “แน่นอนว่าที่ดินใจกลางเมืองทำเลดีและมีพื้นที่เหลือไม่มาก ราคายังคงปรับตัวได้อีก แต่ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะทรงตัวทั้งปีนี้และต่อเนื่องปีหน้า เรียกว่าเป็นตลาดของผู้ซื้อ”

    นอกจากนี้เจ้าของที่ดินที่ไม่ต้องการขายที่ดิน มีแนวโน้มนำที่ดินออกมาปล่อยเช่า สัญญาระยาว 30 ปีมากขึ้น เพื่อทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเปล่า

    อลิวัสสา พัฒนถาบุตร

    กำลังซื้ออสังหาจีนถดถอย

    ช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมาตลาดที่อยู่อาศัยของไทย เติบโตจากกำลังซื้อต่างชาติ ปี 2561 มูลค่ายอดขายที่มาจากลูกค้าต่างชาติอยู่ที่ 9.2 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นลูกค้าชาวจีน 43% ตลาดที่อยู่อาศัยปีนี้ นอกจากลูกค้าไทยจะชะลอตัวจากมาตรการ LTV ลูกค้าจีนก็ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจในจีน จีดีพี โตลดลง ด้วยเช่นกัน ส่วนฮ่องกงอีกตลาดที่นิยมลงทุนที่อยู่อาศัยไทย ก็มีสถานการณ์ชุมนุมยืดเยื้อ

    จากสถิติการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ ปี 2560 จำนวน 12,014 ยูนิต ปี 2561 จำนวน 10,920 ยูนิต ปี 2562 คาดว่าอยู่ที่ 8,500 ยูนิต จำนวนที่ลดลงในปีนี้มาจากการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ชะลอการเปิดโครงการใหม่ จากกำลังซื้อที่ลดลงจากมาตรการ LTV คาดว่ายังลงผลกระทบต่อเนื่องไปถึงปี 2563

    ดังนั้นจึงเห็นการปรับตัวของกลุ่มทุนอสังหาฯ ต่างชาติ ที่เข้ามาร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยขยับการลงทุนใหม่ๆ นอกจากที่อยู่อาศัย มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงการมิกซ์ยูส อาคารสำนักงาน โรงแรม ค้าปลีก

    พีระพงศ์ จรูญเอก

    LTV สกัดลูกค้าเก็งกำไร

    พีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้นและมีจำนวนมากขึ้น โดยปี 2552 หนี้ครัวเรือนมีสัดส่วน 53.5% ของจีดีพี ปี 2562 ขยับมาอยู่ที่ 78.6% ของจีดีพี ไตรมาสแรกปีนี้ มูลค่าหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 12.97 ล้านล้านบาท สัดส่วน 33% คือหนี้บ้าน

    แนวโน้มการเติบโตของซัพพลายที่อยู่อาศัยในช่วง 5 ปีย้อนหลังสูงกว่าดีมานด์ ทำให้มีซัพพลายที่อยู่อาศัยคงค้างสะสมมากขึ้น เฉลี่ย 7% ต่อปี ส่วนใหญ่มาจากคอนโดและบางส่วนเป็นดีมานด์เทียมจากกลุ่มเก็งกำไร ช่วงครึ่งปีแรก 2562 มีซัพพลายที่อยู่อาศัย 115,468 ยูนิต ขายได้ 26,680 ยูนิต คงค้างอีก 88,788 ยูนิต จำนวนดังกล่าวต้องใช้เวลาดูดซับหรือขายหมดอีก 1 ปีครึ่ง

    ด้วยจำนวนซัพพลายที่อยู่อาศัยสะสมต่อเนื่องในช่วง 5 ปีหลัง ทำให้ ธปท. ต้องใช้มาตรการ LTV มาคุมเข้มตลาดอสังหาฯ เริ่มใช้เดือน เม.ย. 2562 ส่งให้อัตราการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยไตรมาสสอง ปีนี้ ขยายตัว 2.4% ขณะที่ไตรมาสแรก ขยายตัว 27.9%

    หากมองในมุมของโอกาสในธุรกิจอสังหาฯ ถือว่าช่วยลดดีมานด์กลุ่มซื้อเพื่อลงทุนและเก็งกำไร ลูกค้าเรียลดีมานด์ ซื้อที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม ขณะที่ผู้ประกอบการได้ลูกค้าที่สามารถโอนได้จริง

    ดัชนีราคาคอนโด-ที่ดินชะลอตัว

    ในช่วงที่ผู้ประกอบการมีซัพพลายลดลง พบว่าดัชนีราคาคอนโดและดัชนีราคาที่ดินมีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี เช่น ที่ดินทำเลสุรวงศ์ ปีก่อนเคยได้รับการเสนอขายที่ราคา 7 แสนบาทต่อ ตร.ว. หากมีผู้ประกอบการหลายรายสนใจจะเกิดการแข่งขันเสนอราคาอาจขึ้นไปแตะ 1 ล้านบาทต่อ ตร.ว. แต่ปัจจุบันราคาที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถเจรจาต่อรองกันได้มากขึ้น อยู่ที่ราคา 5 – 6 แสนบาทต่อ ตร.ว. เพราะเจ้าของที่ดินต้องการขาย เพื่อไม่ต้องแบกรับภาษีที่ดินฯ ใหม่ ส่วนผู้ประกอบการไม่แข่งกันแย่งซื้อ จากภาวะชะลอตัวของตลาดอสังหาฯ ในช่วงนี้

    แม้ตลาดอสังหาฯ เป็นขาลงในช่วงนี้ แต่จะส่งผลดีในระยะยาวกับลูกค้าและดีเวลลอปเปอร์ มาตรการ LTV ไม่ส่งผล กระทบกับที่อยู่อาศัยแนวราบมากนักเพราะเป็นกลุ่มเรียลดีมานด์ ขณะที่ตลาดคอนโดที่ได้รับผลกระทบ ต้องหาช่องวางตลาดในแต่ละทำเล และเซ็กเมนต์ เพื่อจับกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจาก LTV เช่น กลุ่มเริ่มต้นทำงานและเรียลดีมานด์

    ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์

    ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองประธานเจ้าหน้าบริหาร บมจ.เสนา ดีเวลลอปเม้นต์ มองว่า ปี 2562 – 2563 สิ่งที่เป็นปัจจัยลบกับธุรกิจอสังหาฯ ยังเป็นเรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยจีดีพีจะเติบโตที่ราว 3.2 – 3.5% มาตรการ LTV ยังส่งผลต่อการขอสินเชื่อของผู้ซื้อ ขณะที่กำลังซื้อต่างชาติยังหดตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยบวกเรื่องทิศทางดอกเบี้ยของหลายธนาคารมีแนวโน้มลดลงหรือทรงตัว และความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ส่วนต่อทยายเปิดใช้บริการ ทำให้มีดีมานด์ของทำเลใหม่

    ]]>
    1247338
    เปลี่ยนเลยแล้วกัน! “ไทคอน” ใช้ชื่อใหม่ “เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้” หัวหอกขยายธุรกิจอสังหาฯ ในอาเซียน https://positioningmag.com/1210799 Mon, 28 Jan 2019 11:22:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210799 หลังจากไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจคลังสินค้า ได้ขายหุ้นให้กับบริษัท เฟรเซอร์ส แอสเซ็ทส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่ถือหุ้นร่วมกับบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่า 1.3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 40% กว่า

    จากนั้นไทคอนก็เดินเกมรุก นำเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดสู่ธุรกิจ ดาต้าเซ็นเตอร์ สมาร์ทโซลูชั่น พร้อมกับไปร่วมลงทุนใน “จัสท์โค” สตาร์ทอัพเจ้าของโคเวิร์กกิ้งสเปซในภูมิภาคเอเชีย (ซึ่งจัสท์โค ยังได้ร่วมลงทุนกับกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของสิงคโปร์ และบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด) เพื่อขยายสู่การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์ ทั้งพื้นที่เช่าคลังสินค้าในอาคารและโซลูชั่นให้ลูกค้าอุตสาหกรรม พร้อมขยายจากไทยไปยังอาเซียน

    ล่าสุด ไทคอน จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่ จากไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

    พร้อมกับเปลี่ยนชื่อย่อสัญลักษณ์การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เป็น “FPT”

    โดยเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จะเป็นหนึ่งในบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศสิงคโปร์ ได้วางแผนทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ทั้งการเป็นเจ้าของผู้พัฒนา และผู้บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ครอบคลุม 5 ประเภท ในประเทศต่างๆ ได้แก่ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ยุโรป จีน และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเครือข่ายธุรกิจของกลุ่ม

    ปณต สิริวัฒนภักดี ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด เผยว่า การเปลี่ยนชื่อบริษัทและปรับภาพลักษณ์องค์กรของไทคอนเป็น ‘เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้’ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทุกบริษัทภายในกลุ่มที่ใช้แบรนด์เดียวกันทั่วโลก และสะท้อนถึงกลยุทธ์ในการผนึกโครงข่ายทางธุรกิจและสร้างความแข็งแกร่งของกลุ่มเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด โดยเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย จะเข้ามาเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการรับบทบาทขยายธุรกิจและเข้าลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน

    สำหรับ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ถือเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาฯ รายใหญ่ในเอเชีย ทำธุรกิจตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้าอาคารพาณิชย์ และบิสซิเนส พาร์ค รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ทางด้านโลจิสติกส์และอุตสาหกรรม ทั้งประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย ยุโรป จีน และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังเป็นเจ้าของ และ/หรือเป็นผู้บริหารจัดการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์และโรงแรมมากกว่า 80 แห่งในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป แอฟริกา รวมไปถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง.

    ]]>
    1210799