ผู้สูงวัย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 18 Apr 2022 10:51:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เชียงใหม่” จุดหมายยอดฮิตซื้อบ้านหลัง “เกษียณ” แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญคือ “ราคาสูง” เกินเอื้อม https://positioningmag.com/1381681 Mon, 18 Apr 2022 09:25:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1381681 DDproperty จัดสำรวจผู้บริโภคชาวไทย พบว่าคนไทยสนใจซื้อบ้านเพื่อ “เกษียณ” มากขึ้น และจุดหมายที่ฮิตที่สุดคือ “เชียงใหม่” เพราะได้ใกล้ชิดธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนยังไม่ตัดสินใจซื้อบ้านพักวัยเกษียณคือ “ราคาสูง” เกินไป

DDproperty แพลตฟอร์มซื้อขายที่พักอาศัย จัดทำสำรวจ Thailand Consumer Sentiment Study ประจำรอบครึ่งปีแรกปี 2565 โดยสำรวจผ่านทางออนไลน์ มีผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถาม 936 คน ช่วงอายุ 22-69 ปี

การสำรวจครั้งนี้พบประเด็นที่น่าสนใจคือ คนไทย 3 ใน 4 คนมีการวางแผนที่จะซื้อบ้านหลังที่สองโดยไม่ได้ขายบ้านหลังแรก และเหตุผลอันดับ 1 ที่จะซื้อบ้านหลังที่สอง คือ “ซื้อเพื่อการเกษียณ” (31% ของผู้ตอบแบบสอบถาม) ส่วนเหตุผลรองๆ ลงมา คือ ซื้อให้ญาติ/พี่น้อง (28%) ซื้อเพื่อปล่อยเช่า (26%) ซื้อเพื่อการลงทุน (25%) และซื้อให้ลูก (25%)

จากกลุ่มที่วางแผนซื้อบ้านหลังเกษียณ ตอบว่า จุดหมายอันดับ 1 ที่สนใจคือ “เชียงใหม่” (24%) รองมาคือ “เชียงราย” (10%) และ “ชลบุรี” (8%) เหตุผลสำคัญที่ทำให้สถานที่เหล่านี้เป็นจุดหมายในใจคือ จะได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติและพื้นที่สีเขียวมากขึ้น รวมถึงยังได้อยู่ใกล้สถานพยาบาลที่สะดวก และมีระบบขนส่งมวลชนเพื่อเดินทางไปที่ต่างๆ ได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มที่ยังไม่คิดว่าจะซื้อบ้านหลังเกษียณ เนื่องจากยังมีอุปสรรคสำคัญ ข้อแรกคือ ราคาสูงเกินไป (45%) ตามด้วย ยังอยากอยู่ใกล้ครอบครัว (44%) และ ชอบที่อยู่ปัจจุบัน (41%)

แต่ถ้าหากวัดเฉพาะคำตอบจากคนวัย 60 ปีขึ้นไปซึ่งอยู่ในวัยเกษียณแล้ว เหตุผลหลักจะไม่ใช่เรื่องราคา แต่ผู้สูงอายุ 52% ต้องการอยู่บ้านเดิมของตนมากกว่าย้ายไปยังบ้านพักวัยเกษียณ และ 51% ต้องการอยู่กับครอบครัว

ทั้งนี้ DDproperty มีการสรุปรูปแบบบ้านพักวัยเกษียณที่มีในปัจจุบันออกเป็น 2 แบบ คือ

1.บ้านพักคนชรา – โครงการที่พักอาศัยที่มีพยาบาลวิชาชีพดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีหลายระดับตั้งแต่แบบห้องพักรวม ห้องพักเดี่ยว หรือแยกบ้านเป็นหลังๆ ในโครงการ คิดค่าบริการเป็นรายเดือน พร้อมอาหาร 3 มื้อ อุปกรณ์ดูแล กิจกรรมพิเศษ ฯลฯ เหมาะสมกับคนชราที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษซึ่งอาจจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ราคาจะเริ่มตั้งแต่หลักพันบาทต่อเดือน แต่บ้านพักคนชราในไทยที่ราคาไม่สูงค่อนข้างจะมีจำกัด

2.บ้าน/คอนโดผู้สูงอายุ – โครงการที่พักอาศัยที่ออกแบบมาเพื่อให้วัยเกษียณใช้ชีวิตได้สะดวกและปลอดภัย มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง มีกิจกรรมที่จัดขึ้นบ่อยๆ เพื่อให้วัยเกษียณมีสังคมและไม่เหงา โครงการประเภทนี้มักจะขายขาด หรือทำสัญญาเช่ายาว 30 ปี โดยราคาไม่รวมค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และบำรุงรักษาที่อยู่อาศัย ดังนั้น โครงการจึงเหมาะกับผู้สูงอายุที่ยังดูแลตนเองได้ และมีการบริหารการเงินเพียงพอที่จะดูแลค่าใช้จ่ายทุกด้านได้

น่าสนใจว่า หลังจากประเทศไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงอายุ และปี 2564 ที่ผ่านมายังเป็นปีแรกที่มีจำนวนประชากรเกิดใหม่น้อยกว่าการตาย ซึ่งน่าจะเป็นแนวโน้มสำคัญที่ทำให้คนในสังคมจะมีประชากรที่ไม่มีบุตรหลานมากขึ้น จึงคิดถึงการวางแผนการอยู่อาศัยในช่วงเกษียณสูงขึ้น และอาจจะส่งผลให้โครงการสำหรับผู้สูงอายุเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอนาคตด้วย

]]>
1381681
ชำแหละ “ตลาดผู้สูงวัย” ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนแก่จะครองเมืองในอีก 30 ปี https://positioningmag.com/1250924 Thu, 24 Oct 2019 20:10:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250924 อิปซอสส์ เผยรายงานผลวิจัยชุดล่าสุด “Getting Older-Our Aging world” เพื่อเปลี่ยนมุมมอง สร้างความเข้าใจ และอธิบายผลกระทบของสังคมผู้สูงวัยให้กับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคธุรกิจ

เป็นที่คาดการณ์ว่าระหว่างปี 1980 – 2050 จำนวนผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว โดยในปี 2050 โลกจะมีจำนวนผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 2,100 ล้านคน ส่งผลให้ในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้จะเป็นครั้งแรกที่โลกมีจำนวนคนแก่มากกว่าคนหนุ่มสาว โดย 1 ใน 5 ของประชากรโลกในปี 2050 จะเป็นผู้สูงวัย ซึ่งสถิติดังกล่าวได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลก

สูงวัย ไม่ได้ใช้อายุชี้วัด

อิปซอสส์ ชี้คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้สูงวัย โดย 79% ของนักการตลาดยังใช้ ‘อายุ’ เป็นตัวชี้วัด ถึงแม้จำนวนคนสูงวัยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คนทั่วไปรวมถึงภาครัฐและเอกชนยังคงมีมุมมองต่อผู้สูงวัยแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการที่คิดว่าผู้สูงวัยไม่สนใจเทคโนโลยี ไม่ชอบเรียนรู้ ไม่ชอบสิ่งใหม่ๆ

รวมถึงมองผู้สูงวัยและกำหนดตัวตนของผู้สูงวัยจาก “เลขอายุ” ไม่ใช่จากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง ในประเทศฝรั่งเศสคนแก่ถึง 82% ชี้ว่าธุรกิจค้าปลีกหลากหลายแบรนด์ไม่เข้าใจสิ่งที่พวกเขาต้องการอีกต่อไป

คำว่า “แก่” ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ “60” ไม่ได้แปลว่าแก่

การใช้อายุเป็นเกณฑ์ อาจจะทำให้ความเข้าใจต่อผู้สูงวัยคลาดเคลื่อน ซึ่งผลพวงจากยุค ปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้คนมีความเชื่อว่า 60 คืออายุที่แปลว่า “แก่” อย่างไรก็ตาม ‘อายุเป็นเพียงตัวเลข’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนบนโลกยุคปัจจุบันมองว่า ผู้สูงวัยจะเริ่มต้นที่อายุ 66 ปีโดยเฉลี่ย ไม่ใช่ 60 อย่างที่เข้าใจกัน

ในประเทศสเปนมองว่าผู้สูงวัยเริ่มต้นที่อายุ 70 ในขณะที่คนซาอุดีอาระเบียชี้ 49 ก็แก่แล้ว สำหรับประเทศไทย คนไทยเรายังมองว่า 60 เป็นอายุเริ่มต้นของผู้สูงวัยซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้คนบนโลกจะมองอายุกับคำว่าสูงวัยต่างกัน ผู้สูงอายุบนโลกกลับเห็นด้วยว่าโดยเฉลี่ยแล้วพวกเขาจะรู้สึกเด็กกว่าอายุจริงถึง 9 ปี ทำให้ ‘ตัวเลข’ ไม่ใช่มาตรวัดที่แม่นยำอีกต่อไป

อย่ามองผู้สูงวัยจาก ‘ตัวเลขอายุ’

คนสูงวัยจำนวนมากได้เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน หาข้อมูล พูดคุย และสั่งสื่อสินค้าผ่านโลกออนไลน์ ในอังกฤษ 43% ของผู้สูงวัยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นกิจกรรมหลักของผู้สูงวัยในประเทศนั้น ในขณะเดียวกัน 84% ของผู้สูงวัยในแคนนาดาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ

ในประเทศไทยกว่า 1.2 ล้านของผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปี เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงวัยไม่ยอมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป

ไม่เพียงที่ผู้สูงวัยในปัจจุบันเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อของสังคม ผู้สูงวัยในปัจจุบันยังมีความต้องการและความชื่นชอบที่ไม่เหมือนสิ่งที่สังคมคิดมาโดยตลอดในอดีต การมองว่าผู้สูงวัยชอบอยู่บ้านเลี้ยงหลาน คือความเชื่อที่ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงของผู้สูงวัยในปัจจุบัน

จากสถิติ ในเปรู ครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยต้องการออกไปท่องเที่ยว 40% ต้องการเริ่มธุรกิจของตัวเอง และอีกมากกว่า 3 ใน 4 ของผู้สูงวัยทั้งในประเทศไทย และฝรั่งเศส ยังมีความสนใจ และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ได้ต้องการอยู่บ้าน ทำสิ่งที่จำเจอีกต่อไป

ผู้สูงวัย – อำนาจทางการเงินและโอกาสแห่งอนาคต

จากความต้องการของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ตลาดผู้สูงวัยได้เพิ่มความซับซ้อนละมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศอังกฤษเม็ดเงิน 320,000 ล้านปอนด์ ซึ่งนับเป็น 47% ของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดมาจากกลุ่มผู้สูงอายุ ในฝรั่งเศสผู้สูงวัยมีเงินที่เตรียมไว้ใช้ท่องเที่ยวถึง 22,000 ล้านยูโร ในญี่ปุ่นเองผู้สูงอายุยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินถึง 1,439 ล้านล้านเยน ซึ่งนับเป็น 80% ของตลาดการเงินทั้งหมด

ในปี 2032 ที่อเมริกา เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) หรือก็คือมูลค่าตลาดที่รวมทั้งสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยนั้นจะมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าทุกภาคส่วนของตลาดอื่นรวมกัน

และในไทยเองผู้สูงอายุถึง 95% พร้อมใช้จ่ายสำหรับอาหาร และ 73% พร้อมใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้าสำหรับตัวเอง

อิทธิพลของผู้สูงวัยในโลกการเมือง

ไม่เพียงสัดส่วนของผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้สูงวัยมักจะเป็นกลุ่มคนที่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่ากลุ่มเด็กหรือกลุ่มวัยรุ่น ทำให้อิทธิพลของผู้สูงวัยในเวทีการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มคนแต่ละช่วงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้เยาว์อาจจะไม่ได้มีความปรารถนาในทิศทางเดียวกัน รัฐบาลควรจะใช้จ่ายเพื่อดูแลผู้สูงวัยมากกว่าการลงทุนกับอนาคตของเด็กในชาติหรือไม่? โดยในปัจจุบัน 3 ใน 10 ของประชากรโลกมองว่าผู้สูงวัยมีอิทธิพลต่อการเมืองมากเกินควร ในขณะที่ 1 ใน 3 ของคนไทยซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยโลกอย่างชัดเจนเห็นด้วยว่าผู้สูงวัยมีอิทธิพลต่อการเมืองมากไปแล้ว

ภัยมืดที่แฝงตัวมากับสังคมผู้สูงวัย

ถึงแม้ตลาดผู้สูงอายุจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้น ในขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหา และความเสี่ยงในหลายๆ ด้านทั้งจากมุมมองของปัจเจกบุคคล และมุมมองทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในส่วนบุคคล ผู้สูงวัยมีความกังวลเป็นพิเศษใน 2 เรื่องหลัก คือเรื่องการเงิน และสุขภาพ

ทำให้ในไทยเรา 79% ของคนไทยวางแผนที่จะทำงานต่อหลังอายุเกษียณเพราะกลัวว่าจะมีเงินไม่พอในช่วงวัยชรา ซึ่งสูงกว่า 41% ในประเทศแคนนาดาที่มีสวัสดิการจากรัฐที่ดีกว่าอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขตรงนี้เพิ่มสูงกว่าแต่ก่อนที่ผู้สูงวัยมักจะติดสินใจพักผ่อนหลังอายุเกษียณที่ 60 ปี นอกจากนั้นในขณะที่ในด้านหนึ่งกลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีเงินและกำลังซื้อสูงกว่าในหลายกลุ่มอายุ แต่ในขณะเดียวกันมีจำนวนผู้สูงวัยจำนวนมากที่เข้าข่าย “ยิ่งแก่ ยิ่งจน” ซึ่งสังคมผู้สูงวัยจะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ทวีคูณขึ้นในอนาคตอันใกล้.

]]>
1250924
60 ยังแจ๋ว! แนะ 7 อาชีพสร้างรายได้ให้ผู้สูงวัยในยามเกษียณ https://positioningmag.com/1249399 Thu, 10 Oct 2019 07:52:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249399 สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเตรียมตัวเพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องที่คนไทยไม่อาจจะมองข้าม ถ้าถามผู้ใหญ่วัย 60 หลายๆ ท่านแล้ว ก็ได้คำตอบตรงกันว่า “อยู่บ้านมันว่างเกินไป อยากหาอะไรทำแก้เบื่อ” วันนี้ทางธนาคารออมสิน มี 7 อาชีพ สำหรับผู้สูงอายุในวัยเกษียณ มาแนะนำ

1. รับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท

การที่อาบน้ำร้อนมาก่อนถือว่าได้เปรียบมาก เพราะถึงแม้คนหนุ่มสาวจะมีเรี่ยวแรงและมีไฟในการทำงานมากกว่า แต่ประสบการณ์ในด้านการทำงานและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่มีทางที่จะมีเท่าผู้ใหญ่แน่นอน ดังนั้น บริษัทมักว่าจ้างพนักงานที่เกษียณอายุแล้วเป็นที่ปรึกษาให้กับรุ่นน้องในทีม เพื่อคอยชี้แนะแนวทางนั่นเอง

2. ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์

สำหรับผู้สูงอายุที่พอจะมีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง อาจซื้อห้องแถว ห้องเช่า หรือคอนโดสักห้องไว้เพื่อปล่อยเช่าอีกทีก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ สมัยนี้ หากสามารถซื้อห้องในทำเลดีๆ ได้ อาจสามารถปล่อยเช่าได้ในราคาดีเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ย่านอโศกหรือทองหล่อ ถ้าเป็นห้องเช่าก็อาจจะเก็บค่าเช่าได้ถึงเดือนละ 9,000 – 10,000 บาท หรือถ้าเป็นห้องคอนโดก็อาจจะได้สูงถึงเดือนละ 13,000 – 15,000 บาทเลยทีเดียว รับเงินรายเดือนได้เลยสบายๆ แต่ย่านเหล่านี้ก็ค่อนข้างราคาสูงอยู่เหมือนกัน หากใครที่ไม่ได้มีงบประมาณสูงมาก อาจมองหาทำเลที่อยู่ชานเมืองหน่อย แต่ก็ยังสามารถเดินทางได้สะดวก เช่น ย่านบางนา วงเวียนใหญ่ พญาไท ราชเทวี เป็นต้น

3. ทำอาหาร/ขนมขาย

ผู้สูงอายุบางท่านที่ชื่นชอบการทำอาหาร อาจรับทำอาหารกล่องส่งตามบ้านใกล้เคียง หรือสำนักงานใกล้เคียงก็ได้ ส่วนใครที่ถนัดทำขนมหวานมากกว่า อาจลองทำขนมตั้งขายที่หน้าบ้าน ตลาดแถวบ้าน หรือติดต่อร้านเบเกอรี่แถวบ้านก็ได้ เผื่อว่าจะสามารถขยับขยายเป็นการทำขนมส่งประจำร้านนั้นๆ ไปเลย

4. เพาะต้นไม้จำหน่าย

การเพาะปลูกต้นไม้ถือเป็นงานอดิเรกยอดฮิตอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ เพราะผู้สูงอายุหลายๆ คนมือเย็น และใจเย็นในการดูแลถะนุถนอมต้นไม้ตั้งแต่เล็กๆ ให้เติบใหญ่ แม้อาชีพนี้อาจไม่ได้ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เพราะผู้สูงอายุเองจะได้ใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ แถมได้ออกแรงบ้างเล็กน้อย ก็จะช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ แถมยังเป็นกิจกรรมที่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

5. ลงทุนในหุ้นปันผล/สลากออมสิน

แม้ว่าวัยเกษียณอาจไม่เหมาะกับการเล่นหุ้นเท่าไหร่นักในความคิดของหลายๆ คน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากผู้สูงอายุที่ลองศึกษาและเลือกหุ้นที่ดีเป็นบริษัทที่ให้ผลที่น่าพอใจและมีความมั่นคงในการประกอบธุรกิจก็สามารถเป็นรายได้อีกทางหนึ่งได้สบาย หรือหากใครที่มีเงินเย็นแต่ไม่ชอบความเสี่ยงสูงๆ อาจลองซื้อสลากออมสินเป็นอีกทางเลือกก็ได้ ไม่ต้องเสี่ยงมากแถมสร้างความตื่นเต้น ได้ลุ้นรางวัลทุกเดือนอีกด้วย

6. ทำงานประดิษฐ์/งานฝีมือขาย

สมัยที่ยังทำงาน บางคนอาจทำงานประดิษฐ์เป็นงานอดิเรกยามว่าง แต่เมื่อเกษียณอายุและมีเวลาว่างเหลือเฟือ น่าจะดีถ้าลองหยิบจับทักษะงานฝีมือของตนเองมาทำเงินดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นงานเย็บ ปัก ถัก ร้อย ต่างๆ อาจให้ลูกหลานช่วยเรื่องการโฆษณาหรือค้าขายให้แทนก็ได้ เดี๋ยวนี้ขายของออนไลน์ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น เรื่องรับเงินก็รับได้ง่ายดายเช่นกัน

7. ทำธุรกิจตู้หยอดเหรียญ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นตู้หยอดเหรียญเต็มไปหมด ไม่ว่าจะตู้กดน้ำ ตู้ซักผ้า ตู้เติมเงิน หรือตู้เติมน้ำมัน ด้วยความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน ธุรกิจนี้จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนไม่ใช่น้อย และถ้ามองดีๆ ธุรกิจนี้ก็เป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีภาระให้ต้องคอยดูแลมากนัก จะมีก็เพียงค่าดูแลรักษาตู้ และคอยเก็บเหรียญที่หยอดเท่านั้นเอง

แม้จะเกษียณจากการทำงานมาอยู่บ้านแล้ว ก็ใช่ว่าชีวิตจะต้องน่าเบื่อเสมอไป ถึงสภาพแวดล้อมจะต่างจากตอนที่ต้องเดินทางเป็นชั่วโมง ฝ่ารถติด ฝ่าฝูงคนเพื่อไปนั่งทำนางในออฟฟิศ แต่การได้นำงานอดิเรกที่ชอบมาทำจนก่อเกิดรายได้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายเหมือนกัน ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้รับค่าตอบแทน แถมไม่เหงาด้วย.

ที่มา : GSB ธนาคารออมสิน

]]>
1249399
มีลุ้น! “บัตรคนจน-สูงวัย-เมืองขยาย” หนุนสินค้า FMCG ฟื้น https://positioningmag.com/1218849 Fri, 08 Mar 2019 14:19:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218849 ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ในประเทศไทยมูลค่า 8 แสนล้าน ต้องเผชิญกับภาวะ “ติดลบ” ต่อเนื่องมา 2 ปี จากสถานการณ์เศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัว รวมทั้งนโยบายรัฐจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามมาด้วยภาษีน้ำตาล ทำให้กลุ่มเครื่องดื่มที่เป็นฐานใหญ่ในตลาด FMCG หดตัว แต่ปี 2019 มีสัญญาณบวกจากหลายปัจจัยช่วยกระตุ้นการฟื้นตัว

ด้านพื้นฐานเศรษฐกิจปี 2019 ต้องบอกว่ามีแนวโน้ม “เติบโต” ทั้งการส่งออก คาดการณ์ขยายตัว 7.2% อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโต 9% ปัจจุบันรายได้จากท่องเที่ยวครองสัดส่วน 20% ของจีดีพี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติปีนี้ประเมินไว้ที่ 37 ล้านคน ถือเป็นอีกกลุ่มกำลังซื้อสำคัญของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค

ขณะที่การลงทุนภาครัฐปีนี้เพิ่มขึ้น 5% โปรเจกต์หลักๆ ไฮสปีดเทรน คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปี ครอบคลุมพื้นที่อีสานและภาคใต้ โครงการท่าเรือน้ำลึกอีก 2 แห่ง การขยายสนามบินนานาชาติ ทั้งหมดจะทำให้ความเป็นเมือง (Urbanization) ขยายตัว อย่างรวดเร็วและครอบคลุมหลายพื้นที่ และ “เมืองรอง” จะมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งหมายถึงกำลังซื้อท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นมา

FMCG ปีนี้โต 3-4%

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัทนีลเส็น ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) อยู่ในภาวะเติบโต “ติดลบ” เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งนีลเส็นในประเทศไทย

มาจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และภาษีน้ำตาล ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งตลาดไทย เครื่องดื่มถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นการที่ตลาดเครื่องดื่มติดลบจากอัตราภาษี จึงส่งผลกระทบต่อตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคให้อยู่ในภาวะ “ติดลบ” ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

แต่ไตรมาส 4 ปี 2018 เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคกลับมาเติบโตที่ 3.9% ดังนั้นคาดการณ์ว่าปี 2019 ตลาด FMCG น่าจะกลับมาเติบโตได้ 3-4% หรือกลับมาอยู่ในภาวะปกติในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

ปีนี้เชื่อว่าผู้บริโภคเริ่มรับได้กับตลาดเครื่องดื่มที่ปรับราคาจากภาษีใหม่และกลับมาบริโภคอีกครั้ง ตลาด FMCG  จึงฟื้นตัว

บัตรคนจนดันโชห่วยตจว.

พบว่ากำลังซื้อตลาดต่างจังหวัด เป็นปัจจัยหลักช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคได้ดีกว่าพื้นที่กรุงเทพฯ มาจากการขยายตัวของเมืองรองและการขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกในต่างจังหวัด รวมทั้งปัจจัยสำคัญการจับจ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสำหรับผู้มีรายได้น้อย ที่แจกไปแล้ว 13 ล้านใบ

โดยไตรมาส 4 ปี 2018  ยอดการจับจ่ายผ่านร้านโชห่วยเติบโต 3.5% แต่โชห่วยที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดเติบโต 5.6% กลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คือ ของใช้ในครัวเรือน (Household) เติบโต 5.8% ช่วงเดียวกันปีก่อน ติดลบ 0.8%  และของใช้ส่วนบุคคล (Personal care) เติบโต 8.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบ 6.6%

ช่วงแรกการแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอาจทำได้ช้า แต่หลังจากแจกได้จำนวนมากขึ้นและติดตั้งเครื่องรูดบัตรซื้อสินค้าในโชห่วย ทำให้เกิดการจับจ่ายผ่านบัตรดังกล่าวและกระตุ้นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคฟื้นตัวในไตรมาส 4 เป็นต้นมา

วันนี้บอกได้ชัดเจนว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีผลต่อการเติบโตของตลาด FMCG และโชห่วยในพื้นที่ชนบท

สูงวัย-เมืองขยายตัวหนุนกำลังซื้อ

จากแนวโน้มกลุ่มสูงวัยในประเทศไทยเพิ่มขึ้น และไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้วตั้งแต่ปี 2015

โดยประชากรสูงวัยไทยมีสัดส่วน 30% แต่ในปี 2025 จะเพิ่มเป็น 40% พฤติกรรมของกลุ่มสูงวัยในยุคนี้แตกต่างจากยุคก่อน ทั้งด้านการศึกษาที่ดี ไม่มีภาระเรื่องลูก ต้องการดูแลตัวเองทุกด้าน และมีกำลังซื้อสูง เป็นกลุ่มที่เปิดรับเทคโนโลยีได้ดีกว่ากลุ่มสูงวัยในอดีต

กลุ่มสูงวัยจึงเป็นอีกกำลังซื้อสำคัญ โดยความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคแตกต่างจากลุ่มอื่นๆ คือ บรรจุภัณฑ์ต้องเปิดได้ง่าย ขนาดอาหารสำหรับ 1 มื้อ บริการส่งสินค้าถึงบ้านจากการซื้อออฟไลน์ เพราะไม่ต้องการมีภาระหิ้วของกลับบ้าน

“สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีดีมานด์และอำนาจซื้อสูงที่ผู้ผลิตสินค้าและค้าปลีกต้องให้ความสำคัญ พัฒนาสินค้าและช่องทางที่ตอบโจทย์

ปัจจัยการลงทุนเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ Urbanization ในอนาคตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2025 คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเมืองใน 20 จังหวัด จะมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 62% หรืออีก 1.1 ล้านคน

ดังนั้นหากผู้ผลิตสินค้าและค้าปลีก ต้องการเติบโตในอนาคตจะต้องมองการขยายตัวของเมืองในต่างจังหวัดและเมืองรอง โดยเฉพาะกลุ่มจังหวัด EEC เพราะมีทั้งดีมานด์ท้องถิ่น และกลุ่มที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ เช่น พัทยา ถูกวางโรดแมปเป็นจังหวัดท่องเที่ยว ดังนั้นจึงมีดีมานด์นักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเข้ามาด้วย

สินค้าพรีเมี่ยมโต

แม้ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคโดยรวม ช่วง 2 ปีก่อน “ติดลบ” แต่พบว่ามีบางกลุ่มและบางแบรนด์ “เติบโต” ได้กว่า 10% มาจากปัจจัยการสร้างสรรค์นวัตกรรมในสินค้าในกลุ่ม “พรีเมียม” ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ขยายตัวต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และจะขยายตัวมากขึ้นอีกหลังจากนี้

กลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการสร้างสินค้ากลุ่มพรีเมียม คือ Personal care, Impulse และ Household โดยเมื่อเพิ่มสินค้าพรีเมียมเข้ามาพอร์ตโฟลิโอของในแต่แคทิกอรี่  ทำให้การเติบโตเพิ่มขึ้นชัดเจน

ปี 2018 กลุ่มสินค้า Personal care โดยรวมโต 3.1%  สินค้าพรีเมียมช่วยผลักดันการเติบโตในกลุ่มนี้ 1.4% กลุ่ม Impulse โต 5.2% พรีเมียมช่วยให้เติบโตเพิ่ม 0.8% และสินค้า Household โดยรวมโต 3.5% สินค้าพรีเมียมกระตุ้นให้โตเพิ่ม 1.4%

การใช้กลยุทธ์ PREMIUMIZATION เพื่อผลักดันการเติบโต สินค้าต้องชัดเจนว่าจับกลุ่มใด แมสหรือ พรีเมียม เพราะจากเทรนด์รายได้ประชากกรในไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องการสินค้าที่เป็น “พรีเมียม” เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว แต่มีคนไทยสัดส่วน 23% ที่บอกว่ามีเงินมากพอที่จะใช้จ่ายอย่างอิสระ พร้อมจับจ่ายสินค้าพรีเมียมที่ตอบโจทย์ สร้างความแตกต่างและทำให้พวกเขามีภาพลักษณ์ที่ดี

สินค้าที่ทำตลาดพรีเมียมได้ดี คือสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภคใช้แล้วดูดีขึ้น เช่น กลุ่มของใช้ส่วนบุคคล สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว วิตามิน

ขณะที่พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินในกระเป๋าของคนไทยทั่วไป มักจับจ่ายตามความรู้สึก โดยไม่เกี่ยวกับเงินในกระเป๋า โดยพบว่าคนไทยมีรายได้ที่สามารถจับจ่ายได้ 14% แต่ความรู้สึกของคนไทยเชื่อว่าจับจ่ายได้ 57% คือพร้อมจ่ายเงินมากกว่ารายได้ พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เกิดการใช้เงินล่วงหน้าจากบัตรเครดิต และมีหนี้ครัวเรือนด้วยตัวเลขสูง

คนไทยไม่รู้ว่ารายได้เป็นอย่างไร แต่มีความรู้สึกว่าจับจ่ายได้

ชูนวัตกรรมกระตุ้นตลาด

กลยุทธ์กระตุ้นการเติบโตตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค คือการสร้างดีมานด์แบบเฉพาะบุคคล จากเดิมการใช้สินค้าเป็นการบริโภคแบบครอบครัว คือการใช้สินค้าเดียวกันทั้งหมด พร้อมทั้งสร้างความหลากหลายของตัวสินค้า เพื่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น เช่น ยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีหลายรสชาติ แม้เป็นผลิตภัณฑ์เดียว แต่สามารถซื้อสินค้าได้หลายชิ้น หรือสินค้าเดียวกันแต่มีแพ็กเกจจิ้งแตกต่าง ก็สามารถสร้างดีมานด์เพิ่มขึ้นได้

นอกจากนี้การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีในสินค้าเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการซื้อด้วยเช่นกัน เช่น Gillette เปิดตัวเครื่องโกนหนวดที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการคำนวณพื้นที่บนใบหน้า เพื่อโกนหนวดได้อย่างแม่นยำ หรือ P&G เปิดตัวอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี AI ในการเกลี่ยรองพื้นให้เรียบเนียน

กลุ่มสินค้าสำหรับสูงวัย ถือเป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของกลุ่ม FMCG เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีกำลังซื้อสูง โดยต้องพัฒนาสินค้าและสูตรเหมาะกับการดูแลสุขภาพ และทำให้ภาพลักษณ์ของกลุ่มนี้ดูดี

ร้านสะดวกซื้อเทรนด์แรง

ทางด้านช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่เกิดจากโครงสร้างประชากรไทยเปลี่ยนไป โดยจำนวนสมาชิกครัวเรือนไทยมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ปี 1960 เฉลี่ย 6 คนต่อครัวเรือน ปี 2018 ลดลงเหลือ 3 คนต่อครัวเรือน ในกรุงเทพฯ สัดส่วนของครัวเรือนที่ไม่มีลูกและคนโสดอาศัยอยู่คนเดียวเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเน้นไปที่ตลาดคอนโดมิเนียม

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของครัวเรือนไทยดังกล่าว ส่งผลให้ค้าปลีกประเภทร้านสะดวกซื้อขยายตัวเพิ่มขึ้น

  • ปี 2015 จำนวน 12,428  สาขา
  • ปี 2016 จำนวน 13,292 สาขา
  • ปี 2017 จำนวน 14,254 สาขา
  • ปี 2018 จำนวน 15,140 สาขา

พบว่าร้านสะดวกซื้อยังเป็นเซ็กเมนต์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยครอบครัวเล็กลงอย่างถาวร และเป็น “ช่องทาง” ที่กระตุ้นภาพรวมการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เดิมพฤติกรรมผู้บริโภคจะเข้าร้านสะดวกซื้อ เพื่อซื้อสินค้าที่ “ลืมซื้อ” หรือของที่ขาด และซื้อด้วยจำนวนชิ้นไม่มาก

แต่พฤติกรรมวันนี้ผู้บริโภคเข้าร้านสะดวกซื้อเพื่อซื้อสินค้าทุกอย่าง กระทั่งของใช้ในครัวเรือน โดยไม่ต้องรอไปซื้อในซูเปอร์มาร์เก็ตอีกต่อไป อีกปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มสินค้า “อาหาร” ในร้านสะดวกซื้อ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตทุกด้าน ซึ่งเป็นเทรนด์เดียวกับประเภทญี่ปุ่น เกาหลีใต้

เทรนด์การเติบโตของร้านสะดวกซื้อดังกล่าว ผู้ผลิตสินค้าที่ต้องการเจาะตลาดนี้ ต้องพัฒนาสินค้าที่มีขนาดบรรจุเล็กลง สำหรับครอบครัวขนาดเล็กเพื่อเป็นตัวเลือกของผู้บริโภค

“อีคอมเมิร์ซ” ต้องมี

จากการคาดการณ์ปี 2022 “จีดีพี” โลกจะเติบโต 5.3% ขณะที่การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออฟไลน์เติบโตที่ 4.9% แต่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเติบโต 18%

ปัจจุบันตลาดอีคอมเมิร์ซในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของไทย มีสัดส่วน 1% ซึ่งยังต่ำมากเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ อยู่ที่ 18% จีน 16% ญี่ปุ่น 5% ไต้หวัน 5.6% แต่นั่นก็หมายถึงไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเช่นกัน

ด้วยขนาดของอีคอมเมิร์ซของ FMCG ที่เล็กมาก แต่ก็เป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการไม่สามารถละเลยได้ และต้องพัฒนาช่องทาง Omni Channel ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ไปพร้อมกัน เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคทุกช่องทาง

“เราไม่มีทางรู้ว่าในอนาคตจะมีผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ ที่จะมาสร้าง Disruption ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีขนาดใหญ่ขึ้นแบบก้าวกระโดดหรือไม่ จึงไม่ควรละเลยช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพราะไม่ได้หมายถึงกำลังซื้อไทยอย่างเดียว แต่หมายถึงโอกาสการทำตลาดในอาเซียนด้วยเช่นกัน”

]]>
1218849
เจาะ Insight วิถีเสพสื่อ “สูงวัย” “LINE-TV-Facebook” ครองใจวัยเก๋า https://positioningmag.com/1186242 Tue, 04 Sep 2018 23:00:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1186242 เมื่อคนสูงวัยกำลังเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทย จากปัจจุบันประชากรของไทยที่มีอยู่ 64.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 9.4 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.5 % เพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนคน และคาดว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยสมบูรณ์ โดยมีคนสูงวัย 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกิน 20%

คนสูงวัยจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่นักการตลาดและโฆษณามองข้ามไม่ได้ เพื่อเข้าถึงคนรุ่นใหญ่ให้มากขึ้น

ภาควิชาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้วิจัยในหัวข้อ “Silver Age Content Marketing…สื่อสารโดนใจรุ่นใหญ่วัยสีเงินเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรม และ Insight พร้อมทั้งวิธีการสื่อสารการตลาดและกลยุทธ์การผลิตเนื้อหาด้านการตลาด รวมถึงประเภทและรูปแบบของเนื้อหาที่โดนใจกลุ่มผู้บริโภค Silver Age หรือกลุ่มผู้สูงอายุในวันนี้


โดยพบว่าสื่อที่ใช้งานมากที่สุด  3 อันดับแรก ได้แก่ 

อันดับที่ 1 Line 50% 

เนื่องจากใช้งานง่ายในการติดต่อสื่อสาร และเมื่อเจาะลึกถึง Insight พบว่า เมื่อผู้สูงอายุอ่านเนื้อหาที่ชื่นชอบ จะใช้การส่งสติกเกอร์แทนการพิมพ์ข้อความตอบโต้ เนื่องจากไม่ถนัดในการพิมพ์ทีละตัวอักษร

อันดับที่ 2  โทรทัศน์” 24%

สื่อโทรทัศน์ถือเป็นสื่อดั้งเดิมที่ยังคงมีอิทธิพลต่อผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุคิดเป็น 61 % เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนช่อง และเปิดไว้เป็นเพื่อนเพื่อคลายเหงา

อันดับที่ 3  “Facebook” 16%

โดยผู้สูงอายุมองว่า Facebook ใช้งานยากกว่า Line เวลาจะแชร์ข้อมูลให้ผู้อื่นต่อก็ไม่แน่ใจว่าจะกดปุ่มใดต่อ ต้องกดหลายครั้ง ต้องพึ่งพาคนอื่นให้ช่วยสอนการใช้หลายครั้ง จึงไม่อยากใช้มากนัก เพราะไม่อยากเป็นภาระผู้อื่น

ส่วนสื่อที่ใช้น้อยที่สุด3 อันดับแรก ตามลำดับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์เพราะใช้สื่ออื่นทดแทนและมีกลิ่นหมึกพิมพ์ วิทยุเพราะฟังเพลงบนมือถือแทนและฟังเฉพาะอยู่บนรถ และ ป้ายโฆษณาเพราะออกนอกบ้านน้อยมาก 


สำหรับการรับสื่อโฆษณาพบว่า

อันดับที่ 1 โทรทัศน์ 52%

ด้วยพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ ดูไปเรื่อยๆ ไม่เปลี่ยนช่อง ทำให้โอกาสที่จะได้รับข้อมูลทางการตลาดโดยการฟังหรือการมองเห็นภาพนั้นมีมากกว่าสื่อในช่องทางอื่นๆ โดยการโฆษณาบนโทรทัศน์มักมีทั้งภาพและเสียงพร้อมกัน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกตื่นเต้นและจูงใจ 

อันดับที่ 2  “LINE” 19%

โดยผู้สูงอายุใช้ Line เพื่อสื่อสารหรือการโต้ตอบกับผู้อื่น เมื่อเพื่อนหรือคนรู้จักส่งเนื้อหาที่เป็นภาพ ข้อความ บทความ หรือคลิปวิดีโอมาให้ ผู้สูงอายุจะเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเป็นเรื่องราวที่ตัวเองสนใจเท่านั้น และผู้สูงอายุจะชอบใช้สติกเกอร์ฟรี เมื่อกดแอด Line แล้ว ผู้สูงอายุบล็อก (Block) Line ไม่เป็น เมื่อมีโฆษณาผ่านช่องทางนี้ ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องรับข้อมูลทางการตลาดผ่านสื่อ Line ไปโดยปริยาย

อันดับที่ 3 “FACEBOOK” 18%

ผู้สูงอายุมีการรับสื่อทางการตลาดหรือโฆษณาจาก Facebook รองจากโทรทัศน์และ Line เนื่องจากมีการใช้ที่ยุ่งยากมากกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น แต่เหตุผลที่ผู้สูงอายุมักชื่นชอบช่องทางนี้เนื่องจากมีเนื้อหาหลากหลายที่น่าสนใจ แต่ผู้สูงอายุมักไม่ทราบว่าเนื้อหาที่ตนเองสนใจนั้นเป็นการสื่อทางการตลาดหรือโฆษณาในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการโฆษณาของ Facebook สามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ได้ ทำให้เวลาผู้สูงอายุเข้า Facebook ก็จะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง


ในส่วนของช่วงเวลาที่ผู้สูงอายุใช้งาน”  แบ่งเป็น 3 ช่วงดังนี้

ช่วงเช้า ผู้สูงอายุจะมีการใช้งาน Line ในอัตราที่สูงมากเพื่อเช็กข้อมูลข่าวสารและติดต่อสื่อสาร

ช่วงกลางวันผู้สูงอายุมักจะใช้ Facebook เพื่ออัพเดตสังคม ติดต่อสื่อสาร และดูเพจต่างๆ

ช่วงเย็น ผู้สูงอายุจะใช้เวลาอยู่กับโทรทัศน์เพื่อดูข่าว รายการ และละคร การใช้งาน Search Engine หรือเครื่องมือในการค้นหาข้อมูล

โดย รูปแบบโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มผู้สูงวัยได้มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1. โฆษณาทีวี (TVC) 2. วิดีโอคลิป 3. รูปภาพ 4. บทความ และ 5. Infographic 

นอกจากนี้ พบว่า ประเภทเนื้อหาที่โดนใจกลุ่มผู้บริโภค Silver Age มากที่สุดตามลำดับ 4 ประเภท คือ สาระประโยชน์” ร้อยละ 61% เช่น ข่าว การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อาหารการกิน และข้อมูลที่ยกระดับคุณภาพชีวิตต่างๆ   

ตามด้วย บันเทิง ร้อยละ 22% เช่น ละคร รายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาสนุกสนานและมีความหลากหลาย รวมถึงคลิปที่มีเนื้อหาตลกคลายเครียด และเพลง เตือนภัยและข้อควรระวัง ร้อยละ 9% การเตือนภัย ข้อควรระวังต่างๆ และสุดท้าย สร้างแรงบันดาลใจร้อยละ 8% เรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินชีวิตหรือธรรมะ

ในด้านสื่อที่ผู้สูงอายุเข้าถึง การรับโฆษณาได้น้อยที่สุดได้แก่ หนังสือพิมพ์ถือเป็นสื่อที่ผู้สูงอายุไม่สนใจอ่านหน้าโฆษณา เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดเล็ก อ่านยาก และไม่น่าสนใจ ตามมาด้วย ยูทูป” (YouTube) เพราะผู้สูงอายุเกิดความรู้สึกขัดอารมณ์เมื่อมีโฆษณาขึ้นมาคั่นรายการที่ตนกำลังรับชมอยู่ และสุดท้าย เว็บไซต์ เนื่องจากไม่กล้ากดเข้าไปดูเพราะกลัวอุปกรณ์จะติดไวรัส

สำหรับประเด็น การแชร์ข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์พบว่า ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะแบ่งปันข้อมูลให้คนสนิทรวมถึงเพื่อนๆ ถึงร้อยละ 65 ผ่านช่องทาง “Line” การพูดคุยบอกต่อกับเพื่อนฝูง และช่องทาง “Facebook”

นอกจากนี้ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นพบว่า ผู้สูงอายุ 93% รู้จัก “Search Engine” ว่าคืออะไรและใช้งานอย่างไร และการใช้งานเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล  Search Engine โดยรู้จัก “Google” มากที่สุด

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ลักษณะกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มผู้สูงอายุ 55-70 ปี ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 604 คน แบ่งเป็นหญิง 60% และชาย 40% อาศัยอยู่ใน กทมและปริมณฑล 65% ต่างจังหวัด 35% ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 60 คน แบ่งเป็นหญิง 65% ชาย 35% อาศัยอยู่ใน กทมและปริมณฑล 88% ต่างจังหวัด 12%.

]]>
1186242
รับสังคมสูงอายุ อาลีบาบาเตรียมจ้างคนอายุเกิน 60 ปีร่วมงาน https://positioningmag.com/1153854 Thu, 18 Jan 2018 12:02:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153854 จีบีไทม์ส (17 ม.ค.)- อาลีบาบา ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน เตรียมจ้างคนที่อายุเกิน 60 ปี เพื่อรองรับสังคมคนสูงอายุ และปรับเปลี่ยนการช้อปปิ้งออนไลน์ของแพลตฟอร์มเถาเป่า ให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัย

ผู้สมัครจะต้องมีประสบการณ์การช้อปปิ้งออนไลน์อย่างน้อยหนึ่งปี ใกล้ชิดกับลูกหลานของตน และมีความสัมพันธ์กับกลุ่มวัยกลางคนและผู้สูงอายุบางกลุ่ม เช่นกลุ่มผู้นำกลุ่มเต้นรำแบบร่วมสมัย และคณะกรรมการชุมชนพื้นที่ใกล้เคียง

ผู้ที่ได้ทำงาน อาลีบาบายินดีจ่ายเงินค่าจ้างคนละ 400,000 หยวน (62,000 เหรียญสหรัฐ) ต่อปี ขณะที่พลเมืองอาวุโสได้รับเงินบำนาญเป็นรายปีไม่เกิน 50,000 หยวน (7,800 เหรียญสหรัฐ)

ตั้งแต่การเปิดตัวประกาศรับสมัครงาน อาลีบาบาได้รับใบสมัครพร้อมประวัติคุณสมบัติผู้สมัครจำนวนมาก และกำลังตรวจสอบใบสมัครทั้งหมด

ตัวแทนคนหนึ่งของอาลีบาบา กล่าวกับ เฉียนเจียง อีฟนิงนิวส์ ว่า “หลังจากรอบคัดเลือกครั้งแรก จะเชิญผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาให้สัมภาษณ์กับผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เว็บไซต์เถาเป่าของเรา และในอนาคตเราจะเปิดโอกาสงานต้อนรับผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดียิ่งขึ้น”

การเคลื่อนไหวทางธุรกิจและจ้างงานของอาลีบาบาครั้งนี้ เพื่อรองรับสังคมประชากรสูงอายุ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2559 ระบุว่า ประชากรจีนที่มีอายุเกินกว่า 60 คน มีจำนวนถึง 230 ล้านคน คิดเป็นเกือบร้อยละ 17 ของประชากรทั้งหมดของประเทศ โดยคาดว่าจะมีจำนวนทั้งสิ้น 480 ล้านคนภายในปี 2593

ที่มา : mgronline.com/china/detail/9610000005535

]]>
1153854
จ้างงาน “สูงวัยไฟแรง” ได้ใจชาวเน็ต https://positioningmag.com/1132099 Sun, 09 Jul 2017 11:49:18 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132099 เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการจ้างผู้สูงอายุมาทำงาน นอกจากแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานแล้ว ยังได้ภาพลักษณ์ที่ดี เสียงชื่นชมจากชาวโซเชียลไปเต็มๆ

โดยล่าสุดชาวเน็ตโพสต์เรื่องราวดีๆ ของร้านหนังสือซีเอ็ด จัดโครงการรับผู้สูงอายุเข้ามาทำงาน หวังทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่า และไม่ต้องเป็นภาระให้ลูกหลาน

ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Thared Santatiwongchai ได้โพสต์รูปภาพจำนวน 1 รูป พร้อมระบุข้อความว่า “ชื่นชมโครงการรับผู้สูงอายุของร้านซีเอ็ด สำหรับเด็กๆ ที่มาทำงานที่ร้านหนังสือ อาจจะมองงานที่ร้านหนังสือ ว่า เป็นงานปกติทั่วไป ที่เราต้องทำอยู่ทุกวัน แต่สำหรับลุง ลุงกลับคิดว่า งานในร้านหนังสือ เป็นงานที่ลุงอยากมาทำทุกวัน เพราะมันเป็นงานที่ทำให้ลุงรู้สึกถึงคุณค่าของการมีชีวิต และดำรงอยู่ของตัวเอง” คนจำนวนไม่น้อย อาจจะรู้สึกต้องมาทำงาน ทั้งๆ ที่ไม่อยากมาทำงาน คอยนับวันว่าเมื่อไหร่จะถึงวันหยุด คอยหาโอกาสที่จะลางาน แต่สำหรับลุง ลุงกลับคิดว่า “อยากทำงานทุกวัน สนุกกับงานที่ทำในแต่ละวัน จนไม่อยากให้ถึงเวลาเลิกงานเลย ไม่อยากลา ไม่อยากให้ถึงวันหยุด เพราะวันหยุด เป็นวันที่ลุงต้องอยู่บ้านอย่างเหงาๆ”

“คนอื่นอาจจะมองงานที่ร้านหนังสือ ว่า เป็นงานที่ก็แค่ก็ทำๆ ไป หากไม่พอใจก็ลาออกไปสมัครงานอย่างอื่น เพราะคุณยังคิดว่าคุณมีทางเลือกไง แต่สำหรับลุง งานที่ร้านหนังสือนี้ มันเปรียบเสมือนงานสุดท้ายในชีวิตลุง เป็นที่มั่นที่สุดท้าย ที่ลุงต้องทำมันให้ดีที่สุด”

เข้าใจว่า การจ้างผู้สูงอายุจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สำหรับค่าจ้างที่จ่ายไป ตามกฎหมายภาษีอากร แต่คงเป็นจำนวนน้อยมาก ชื่นชมโครงการอย่างนี้ ติดตามงบการเงินของ บมจ.ซีเอ็ด ช่วงหลังๆ รายได้และกำไรหดลงเป็นอย่างมาก เพราะสมัยนี้อ่านข่าวสารที่น่าสนใจจากสื่อโซเชียลกันเป็นส่วนใหญ่ แต่ผมยังคงจะเป็นขาประจำร้านซีเอ็ดต่อไป”

หลังจากโพสต์นี้ได้ถูกเผยแพร่ออกไปทำให้มีชาวโซเชียลเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นชื่นร้านหนังสือ ซีเอ็ดบุ๊ค กันเป็นจำนวนมาก โดยต่างขอบคุณโครงการดีๆ ที่ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ

สำหรับการรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน เป็นโครงการ “อายุ 60 ปี มีไฟในการทำงาน” ที่ซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์ได้จัดทำขึ้น เพื่อรับสมัครผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมากกว่า 60 ปี วุฒิการศึกษา มัธยม 3 ขึ้นไป ให้เข้าทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ร้านหนังสือ ซึ่งซีเอ็ดพบว่า หลังจากเคยทดลองรับผู้สูงอายุเข้ามาทำงานแล้ว พบว่าเป็นกลุ่มที่มีความรับผิดชอบ เต็มใจในการทำงาน อย่างไรก็ดี การรับพนักงานสูงอายุ จะขึ้นอยู่กับสาขาด้วย

นอกจากร้านซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์แล้ว ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ได้เปิดรับพนักงานสูงอายุเข้าทำงาน เช่น บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ที่เปิดรับพนักงานอายุ 60 ปีขึ้นไป เข้ามาทำงานในตำแหน่ง พนักงานบัญชี ธุรการ และต้อนรับลูกค้า เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ รัฐบาลออกมาตรการให้ยกเว้นภาษีเงินได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่รับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าทำงาน เท่ากับรายจ่ายที่ใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้สูงอายุ โดยการจ้างผู้สูงอายุจะต้องไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.2560


ที่มา : https://manager.co.th/HotShare/ViewNews.aspx?NewsID=9600000069773

]]>
1132099
คนสูงวัย โอกาสใหม่ธุรกิจ “อาหารเครื่องดื่ม” เปิด 5 ดีไซน์แพ็กเกจจิ้ง โดนใจ https://positioningmag.com/1121271 Sun, 02 Apr 2017 18:37:53 +0000 http://positioningmag.com/?p=1121271 เต็ดตรา แพ้ค ชี้ กลุ่มผู้สูงวัยของไทยมีอำนาจในการจับจ่ายเพิ่มขึ้น 20% ใช้จ่ายกับอาหารและเครื่องดื่ม มากกว่าวัยรุ่น เปิดโอกาสใหม่แก่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

เต็ดตรา แพ้ค ผู้ผลิตและบรรจุอาหารระดับโลก ได้เปิดเผยถึงงานวิจัยเกี่ยวกับความสำคัญของผู้บริโภคกลุ่มสูงวัย (Senior White Paper) หรือผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คาดว่า คนกลุ่มนี้จะมีอำนาจซื้อทั่วโลกสูงถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในอีกสามปีข้างหน้า โดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มมีโอกาสโตสูงหากเข้าใจความต้องการและบุกตลาดได้ตรงจุด

สำหรับประเทศไทยจำนวนผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะมีจำนวนถึงหนึ่งในสี่ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2583 ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเช่นประเทศจีน

ปัจจุบันภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนผู้สูงวัยคิดเป็นถึงร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรโลก โดยคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว หรือคิดเป็นกว่า 1,300 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2593 เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคที่เติบโตเร็วที่สุดกลุ่มนี้ เต็ดตรา แพ้ค ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเทรนด์การบริโภค และการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ในกว่า 27 ประเทศ รวมไปถึงประเทศไทย และพบว่าร้อยละ 59 ของผู้สูงวัย ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อพวกเขาโดยเฉพาะ และร้อยละ 88 มองว่า ‘คุณค่าของสินค้า’ เทียบได้กับ ‘คุณภาพที่สูง’

ผู้สูงวัยในไทยเป็นกลุ่มประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแต่กลับได้รับความสนใจน้อย โดยในปี พ.ศ. 2559 มีประชากรไทยที่อายุเกิน 65 ปี ถึงกว่าร้อยละ 11 เทียบกับเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น ในปี พ.ศ. 2538

นางสาวรัตนศิริ ติลกสกุลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดบริษัทเต็ดตราแพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

ด้วยอำนาจการซื้อที่สูงขึ้น พร้อมกับความสนใจในด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยยังพบว่า บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ให้ความสำคัญกับการสร้างผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ จะสามารถช่วยเพิ่มฐานลูกค้าที่มีความภักดีต่อแบรนด์ (brand loyalty)ได้ดีและมีโอกาสเติบโตสูง

แพ็กเกจจิ้ง ด่านแรกต้องออกแบบโดนใจ

งานวิจัยยังพบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 59 ระบุว่าบรรจุภัณฑ์มีบทบาทสำคัญในการเลือกซื้อสินค้า งานวิจัย Senior White Paper ชิ้นนี้ จึงระบุถึงคุณสมบัติสำคัญของบรรจุภัณฑ์ 5 ข้อ ที่ผู้บริโภคกลุ่มสูงวัยต้องการ ดังนี้

  1. บรรจุภัณฑ์จะต้องเปิดได้ง่าย และวางฝาไว้ในตำแหน่งที่สูงกำลังพอดีเพื่อป้องกันการหลุดลื่นจากมือ
  2. บรรจุภัณฑ์ต้องมีน้ำหนักเบา โดยรูปทรงกลมมน ง่ายต่อการหยิบจับมากกว่าทรงสี่เหลี่ยม
  3. บรรจุภัณฑ์ควรช่วยเพิ่มอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ เพื่อลดจำนวนเที่ยวในการเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้า
  4. ตัวอักษรและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ควรมีขนาดใหญ่ ชัดเจน และมีสีสันสดใส
  5. ข้อมูลทางโภชนาการและวันหมดอายุควรถูกระบุอย่างชัดเจนบนบรรจุภัณฑ์

ใช้เงิน 20% ไปกับอาหารเครื่องดื่ม

ผู้บริโภคสูงวัยใช้รายได้ร้อยละ 20 ของตัวเองไปกับการซื้ออาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับผู้บริโภคที่อายุน้อยกว่าซึ่งใช้จ่ายเพียงร้อยละ18

นอกเหนือไปจากคุณสมบัติสำคัญของบรรจุภัณฑ์แล้ว ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เฉพาะเจาะจงด้านสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มและอาหารที่เพิ่มวิตามินและแร่ธาตุลดปริมาณน้ำตาล เกลือ และไขมันยังได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คุณสมบัติสำคัญของบรรจุภัณฑ์ 5 ข้อ ที่ผู้บริโภคกลุ่มสูงวัยต้องการ
]]>
1121271
ทำตลาดอย่างไรให้โดนใจผู้สูงวัย https://positioningmag.com/1106753 Tue, 25 Oct 2016 23:55:11 +0000 http://positioningmag.com/?p=1106753 ด้วยตัวเลขและขนาดของตลาดที่กำลังขยายตัว “ตลาดผู้สูงวัย” จึงถูกจับตา เพราะเป็นทั้งวิกฤติและโอกาส มาดู 3 เคสธุรกิจในการเจาะใจตลาดผู้สูงวัยอย่างไรจึงจะโดนใจ 

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่มีเพิ่มมากขึ้น อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และมีอัตราการเกิดของเด็กที่น้อยลงทุกปี เป็นตัวชี้วัดได้อย่างดีว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว

มีตัวเลขคาดการณ์ว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุราว 10.9 ล้านคน และในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 17.6 ล้านคน หรือคิดเป็น 26.3% ของจำนวนประชากร และในปี 2583 จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 20.5 ล้านคน

จากจำนวนผู้สูงอายุนับพันล้านคนทั่วโลก ผู้สูงอายุในประเทศไทยถือว่ามีการเติบโตเร็วที่สุดในทวีปเอเชีย โดยที่ประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนผู้สูงอายุเยอะอยู่แล้ว และมีการปรับตัวมานานแล้ว

แต่ปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ เศรษฐกิจจะโตช้าลง เพราะคนวัยทำงานจะลดน้อยลง มีการคาดการณ์ว่าประชากรวัยทำงานลดลงเป็น 17.3% ในปี 2583 เป็นอัตราลดลงมากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

นอกจากนี้ สิ่งที่ตามมาในสังคมผู้สูงอายุ ก็คือสาธารณสุขจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ปัญหาความเท่าเทียมกันในสังคม การอยู่อย่างโดดเดี่ยว ปัญหาลูกหลานดูแลไม่ดี บ้านที่อยู่อาศัย รวมไปถึงสินค้าต่างๆ ที่ต้องออกแบบสำหรับผู้สูงอายุ ถ้าธุรกิจไม่ปรับตัวก็ล้มเหลว

เทรนด์การตลาดของกลุ่มผู้สูงอายุมีการพูดถึงอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เพียงแต่นักการตลาดยังไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก มีเพียงบางธุรกิจอย่างโรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล ประกันภัยเท่านั้นที่เริ่มเห็นสินค้า และบริการออกมาตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้ เพราะส่วนใหญ่แบรนด์จะโฟกัสกับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากกว่า

แต่ปัจจุบันเริ่มมีธุรกิจที่หันมาจับกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น และเป็นรูปธรรมมากขึ้นแล้ว ส่วนใหญ่เป็นการมองเห็นโอกาสที่สำคัญ และมองเห็นช่องว่างในตลาดที่ยังไม่มีผู้เล่น อีกทั้งผู้สูงอายุเองที่เป็นกลุ่มคนที่มีเงิน และมีอำนาจการใช้จ่ายสูง เนื่องจากทำงานมาทั้งชีวิตจึงอยากใช้เงินให้เต็มที่ แต่ต้องเน้นสินค้าที่มีคุณภาพเท่านั้น

ภายในงานสัมมนาความคิดสร้างสรรค์ Creative Thailand Symposium ได้มีการพูดถึงหัวข้อ Creative Aging : The New Opportunity มีธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นโอกาสในสังคมผู้สูงอายุทั้งเว็บไซต์ออกเดต, ทัวร์, สินค้าสำหรับผู้ป่วย และศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ทำให้เห็นว่าในประเทศไทยเริ่มมีการตื่นตัวต่อเทรนด์นี้มากขึ้น

ในต่างประเทศธุรกิจต่างๆ มีการปรับตัวเพื่อตอบรับกับสังคมผู้สูงอายุ ห้างค้าปลีกต่างๆ อย่างห้างอิออน หรือห้างเทสโก้ได้มีการปรับชั้นวางให้ใหญ่เหมาะกับผู้สูงอายุ มีพนักงาน ขนส่งรองรับผู้สูงอายุ โรงพยาบาลมีการปรับบริการผู้สูงอายุ รวมถึง “สตาร์ทอัพ” ที่จับตลาดผู้สูงอายุโดยตรงอย่าง Health at home แอปพลิเคชันที่หาคนดูแลผู้สูงอายุ ให้ผู้ดูแลเข้าไปลงทะเบียนแล้วหลังจากนั้นคนที่ต้องการผู้ดูแลก็สามารถเข้าไปเลือกได้ หรือแอปพลิเคชัน Zeed doc เป็นการค้นหาหมอเฉพาะทางต่างๆ

แต่ธุรกิจที่ลงมาจับตลาดนี้ยังค่อนข้างมีข้อจำกัด ที่ไม่ได้เติบโตอย่างหวือหวามากนัก ค่อยๆ เติบโต เพราะเป็นธุรกิจที่อาศัยการตัดสินใจค่อนข้างนาน บางธุรกิจไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเป็นคนตัดสินใจ แต่ต้องมีลูกหลาน หรือครอบครัวร่วมตัดสินใจด้วย เพราะฉะนั้นในการทำตลาดจึงต้องสื่อสารครอบคลุมทั้งตัวผู้สูงอายุเอง และครอบครัว

“Stitch” เว็บไซต์ที่เกิดจากความเหงา

Stitch เป็นเว็บไซต์สำหรับหาเพื่อนคุยของกลุ่มคนผู้สูงอายุ ปัจจุบันมีใช้งานกว่า 50 ประเทศทั่วโลก มีออฟฟิศที่ซิดนีย์ และซานฟรานซิสโก

6_older_business

จุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้ เกิดจาก Andrew Dowling ผู้ก่อตั้ง Stitch มองเห็นนวัตกรรม และความท้าทายในตลาดผู้สูงอายุ เห็นว่าในประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรที่อายุมากกว่า 50 ปี มีสัดส่วนถึง 43% และโตขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่ง 1 ใน 5 ของประชากรกลุม่นี้มีอายุมากกว่า 65 ปี กลุ่มนี้จะมีการเติบโตสูง เรียกว่าเป็น Super-aged society

โอกาสที่สำคัญที่ Andrew มองเห็นก็คือ ผู้สูงอายุมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มคนอายุ 75 ปีขึ้นไป ในสหรัฐอเมริกากลุ่มเบบี้บูมใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากกว่ากลุ่มเจนเอ็มแล้ว

ก่อนหน้านี้ Andrew ได้เริ่มทำ Tapestny เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว เขามองว่าในกลุ่มผู้สูงอายุความเหงาน่ากลัวกว่าการสูบบุหรี่และความอ้วน เลยหาวิธีให้ผู้สูงอายุได้เชื่อมต่อกับคนอื่น จึงคิดแอปพลิเคชันในแท็บเล็ต มีฟีเจอร์คล้ายๆ โซเชียลมีเดีย ให้ติดต่อลูกหลานได้ มีบริการต่างๆ ชอปปิ้ง นัดหมอ ซื้ออาหาร แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะเข้าถึงคนได้ไม่เยอะเท่าไหร่ หาคนใช้งานได้ยาก ต้องเข้าตามคอมมูนิตี้ต่างๆ เช่น บ้านพักคนชรา แล้วในการให้ผู้สูงอายุใช้แต่ละคนก็ใช้งาน ก็ใช้เวลาตัดสินใจนาน เพราะลูกหลานเป็นคนจ่ายเงิน

จากนั้น Andrew ก็เลยมามองที่เรื่องนัดเดตกัน สำหรับคนอายุ 55 ปีขึ้นไป เขามีความเหงา ไม่เหมือนคนหนุ่มสาว เลยทำเป็นเว็บไซต์ช่วยหาเพื่อนคุย เปิดทดลองได้ 2 วัน ก็มีผู้สนใจมาก มีบทความที่เขียนถึงกว่า 250 บทความ และมีผู้สนใจกว่า 500 คน 50% ของคนกลุม่นี้บอกว่าไม่เคยใช้แบบ Stitch มาก่อน ยังไม่เคยมีคนทำ กลายเป็นว่าความเหงาเป็นประเด็นใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

เมื่อ Stitch ได้รับความนิยม Andrew จึงตัดสินใจไปซิลิคอนวัลเลย์เพื่อหาเงินทุน แล้วเปิดใช้ 50 ประเทศทั่วโลก ผลลัพธ์ก็คือ สังคมได้รับการตอบรับว่าเปลี่ยนชีวิตของเขา Andrew ได้ทิ้งท้ายว่าตลาดผู้สูงอายุเป็นตลาดใหญ่ ขยายตัวเร็ว มีความต้องการสูง แต่ต้องทำวิจัยก่อนเพื่อให้เข้าใจอย่างดี หาจุดที่ให้ความสนใจ ทดสอบก่อนลงทุน เรียนรู้จากความล้มเหลวให้เป็นความสำเร็จ

“MITEX” ผ้ากันไรฝุ่น ช่วยผู้สูงอายุ

MITEX (Medical Innovative Textile) เป็นอีกหนึ่งธุรกิจครอบครัวของ “มิ่ง มหากิตติคุณ” ผู้ก่อตั้ง Hubba เป็น Co-working space ยอดนิยม ธุรกิจนี้เป็นผ้ากันไรฝุ่น และอุปกรณ์สำหรับช่วยผู้สูงอายุ จุดริ่มเต้นมาจากแม่ของมิ่งเป็นนักวิจัย แต่หันมาทำธุรกิจเองหลังเกษียณ เริ่มจากทำผ้ากันไรฝุ่น ผ้ายกตัวก่อน เป็นผ้าใบ ผ้าร่ม และมีสินค้าอื่นๆ หมอนตะแคง หมอนรองเบา ผ้ากระเถิบตัว ผ้ายกตัวอาบน้ำ ต่อยอดไปยังกลุ่มผู้สูงอายุ และคนดูแลผู้สูงอายุ

จริงๆ แล้วในตลาดมีสินค้าสำหรับผู้สูงอายุมี 2 ประเภทหลัก 1.ดูแลสุขภาพ อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน เครื่องดื่ม อาหาร แฟชั่น เครื่องนุ่งห่ม สินค้าออแกนิก และ 2. สินค้าสำหรับกลุ่มผู้ป่วย เป็นวอล์กเกอร์ เครื่องช่วยพยุง รองเท้า เป็นต้น

4_older_business

MITEX โฟกัสที่สินค้ากลุ่มผู้ป่วย จุดเริ่มต้นมาจากคุณยายของมิ่งป่วย เลยหานวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยคุณยายได้ จึงออกมาเป็นสินค้าผ้ายกตัวในระยะสั้นๆ เพราะสังเกตจากในโรงพยาบาลว่าย้ายผู้ป่วยด้วยใช้วิธีรวบผ้าปูทั้ง 4 ด้าน เพื่อย้ายผู้ป่วย

และอ้างอิงจากสถิติจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่า 85% สามารถดูแลตัวเองได้ แต่อีก 15% นอนป่วยติดเตียง ในจำนวนนี้ 1 ล้านกว่าคนเป็นโรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วน ข้อเสื่อม และโรคซึมเศร้าที่กำลังมีเพิ่มขึ้น

มิ่งบอกว่าในการจับตลาดคนกลุ่มนี้ต้องมองพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ สำคัญเลยคือมีกำลังซื้อ แต่เน้นคุณค่าของสินค้า การตลาดคอนเทนต์ต้องดี และเลือกสินค้าตอบโจทย์ความต้องการของเขา จากนั้นก็มาศึกษาหาความแตกต่างในการหานวัตกรรม บริการ ทำให้เกิดโอกาส และสร้างธุรกิจใหม่ๆ ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนได้

“Care Resort” จุดมุ่งหมายของผู้สูงวัยมาเกษียณอายุ

ด้วยประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางที่คนนิยมมาเกษียณอายุในบั้นปลายชีวิตมากที่สุด เพราะด้วยมีต้นทุนต่ำ อากาศดี มีสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งชอปปิ้ง มีสิ่งอำนวยความสะดวก และคนไทยให้ความสำคัญ หรือให้ความเคารพกับผู้สูงอายุ

จึงเป็นโอกาสที่สำคัญที่ทำให้ Peter Brown เริ่มทำ Care Resort ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่จังหวัดเชียงใหม่ จุดเริ่มต้นมาจากคุณแม่ของ Peter อายุ 94 ปี ตาเกือบมองไม่เห็น อาศัยอยู่ในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ประเทศอังกฤษ แต่มีราคาแพง และบริการไม่ดี จึงเห็นว่าจังหวัดเชียงใหม่เงียบสงบและสวยงาม

5_older_business

จากนั้นในปี 2006 ก็ทำการซื้อรีสอร์ตโรงแรมที่ล้มละลายที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ใช้เวลา 1 ปี เปิดบริการรีสอร์ตระดับ 4 ดาว ในปี 2008 และเปิดเป็น Care Resort  ในปี 2014 มีพื้นที่ทั้งหมด 25 ไร่ หรือ 50,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่หุบเขาแม่ริม ทางทิศเหนือของเชียงใหม่ มีวิลล่า 57 หลัง ต้นไม้ 1,000 ต้น มีไวไฟ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ร้านอาหาร สระว่ายน้ำ สปา

ปรัชญา 1. ต้องดูแลอย่างเพียงพอ มีคนพอ ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น 2. ให้ผู้สูงอายุมีอิสระ เป็นข้อสำคัญ

Care Resort มีการดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลทั้งช่วงระยะสั้น และตลอดชีวิต ทั้งพิการหรือความจำเสื่อม ได้พยายามหาผู้ดูแลเป็นคนในพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมได้มากที่สุด แต่ก็ติดข้อจำกัดเรื่องภาษาอยู่ เพราะที่นี่มีคนเอเชียและยุโรปมาพักอยู่ในสัดส่วน 30%

Peter ได้บอกว่า ข้อเสียของธุรกิจนี้จะดำเนินไปอย่างช้าๆ ไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด เพราะคนตัดสินใจช้า เป็นการตัดสินใจที่ยิ่งใหญ่ในการจะย้ายมาอยู่ บางคนตัดสินใจเป็นปี ปัจจัยในการตัดสินใจไม่ใช่แค่ตัวผู้สูงอายุ แต่เป็นลูกหลานที่ตัดสินใจด้วย

รวมถึงข้อเสียอีกอย่างหนึ่งก็คือการต่อวีซ่ามีปัญหา ในเชียงใหม่ต้องรอ 6-10 ชั่วโมง และในประเทศไทยไม่มีระบบการแพทย์ทั่วไปที่มาตรวจตามบ้าน ต้องไปหาเองที่โรงพยาบาล และไม่มีใบอนุญาตที่ดูแลผู้สูงอายุเป็นระบบ และเรื่องภาษาของคนดูแลที่ยังไม่แข็งแรงเท่าไหร่ แต่อย่างไรแล้วยังเป็นธุรกิจที่ดี และมีการเติบโตที่ดีอยู่

1_older_business

2_older_business

]]>
1106753
“ผู้สูงวัย” เทรนด์ลูกค้ามาแรง ! แต่ทำไมนักการตลาดยังมองข้าม https://positioningmag.com/1100674 Fri, 26 Aug 2016 05:15:39 +0000 http://positioningmag.com/?p=1100674 ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย ที่ถูกจับตาว่าเป็นเทรนด์การตลาดมาแรงสุดๆ ชนิดที่ห้ามมองข้าม แต่นักการตลาดไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวเท่าไหร่นัก หลายแบรนด์ชี้ โฟกัสมากไปอาจทำให้แบรนด์แก่

ผู้สูงอายุเทรนด์มาแรงของจริง

นีลเส็น (ประเทศไทย) ได้ทำผลสำรวจเพื่อกระตุ้นให้นักการตลาดต้องปรับตัวเพื่อรับกับตลาดนี้ เป็นเทรนด์ที่มีการพูดมาเป็นเวลาหลายปีแล้วสำหรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย หรือ Aging Society และต้องบอกว่าไม่ใช่ตลาดเล่นๆ อีกต่อไปแล้ว เพราะประชากรกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น เติบโตเร็วขึ้น ด้วยหลายๆ ปัจจัยทั้งอัตราการเกิดที่น้อยลง การแพทย์ที่พัฒนามากขึ้นทำให้คนอายุยืนขึ้น

ผลสำรวจของนีลเส็น ในชื่อ “The New Age of Thais” ได้ทำการจับกระแสนี้มาเป็นเวลา 7-8 ปีแล้ว ในรายงานได้ชี้ถึงภาพรวมโครงสร้างประชากรของผู้สูงอายุในอีก 20 ปีข้างหน้า สัดส่วนประชากรโลกที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และกว่า 2 ใน 3 ของประชากรผู้สูงอายุโลกนั้น หรือ 61% อาศัยอยู่ในเอเชีย คิดเป็น 1.5 พันล้านคน

ประเทศไทยเองก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกับประชากรโลก โดยในอีก 15 ปีข้างหน้าได้มีการคาดการณ์ว่าประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปนั้นจะเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่า และประเทศไทยจะเป็นประเทศลำดับที่สามที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในภูมิภาค มีสัดส่วน 19% ของประชากร จากในปัจจุบันมี 10% ของจำนวนประชากร รองจากประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์

สอดคล้องกับเทรนด์ที่ สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์ไว้เช่นกันถึง 6 เทรนด์การตลาดที่ต้องจับตา ประกอบไปด้วย โครงสร้างของประชากรที่คนไม่แต่งงานจะมีมากขึ้น และครอบครัวจะมีขนาดเล็กลง และกลุ่มคนสูงวัยจะมีเยอะขึ้นเพราะคนดูแลสุขภาพกันมากขึ้น นักการตลาดควรปรับตัวในการทำสินค้า บริการ หรือแพ็กเกจจิ้งเพื่อตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น

ทำไมนักการตลาดยังไม่สน

ที่น่าสนใจก็คือตลาดนี้มีคนพูดถึงมานาน แต่ทำไมนักการตลาดถึงนิ่งเฉย ไม่ค่อยตื่นตัวมาก ที่ผ่านมาอาจจะมีแค่บางธุรกิจที่ทำสินค้าเพื่อตอบโจทย์โดยตรงที่เราเห็นได้ชัดอย่างประกันชีวิต ที่จับกลุ่มผู้อาวุโส และโรงภาพยนตร์ที่มีราคาพิเศษสำหรับกลุ่มผู้สูงวัย แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายกลุ่มสินค้าที่มีโอกาสอีกมาก

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย มองว่า “ในประเทศไทยยังไม่เห็นมีแบรนด์ไหนที่จับตลาดกลุ่มนี้ชัดเจน เพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไวมาก จากเดิมทำตลาดแมสเปลี่ยนมาทำตลาดเจาะเซ็กเมนต์ ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนเป็นการจับกลุ่มที่มีดีมานด์ในตลาดสูง กลุ่มนี้คนไทยให้คนสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยวมากกว่า เพราะสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ”

แต่กับกลุ่มผู้สูงอายุที่นักการตลาดยังไม่ลงมาจับเพราะมองว่ายังเป็นตลาดเล็ก ไม่เหมือนกลุ่มคนรุ่นใหม่ และหลายแบรนด์ยังไม่แน่ใจในพฤติกรรมมากนัก เพราะปัญหาของนักการตลาดในตอนนี้ก็คือจะเข้าใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะคนกลุม่นี้มีความรู้สูงขึ้น ดูแลตัวเองมากขึ้น ใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่เป็น Silence Consumer บนโลกออนไลน์ คือหาข้อมูลทุกอย่างแต่ไม่พูด ไม่โพสต์ ไม่เหมือนกลุ่มเด็กๆ ที่อยากได้อะไร ต้องการอะไรจะบอก ทำให้นักการตลาดไม่รู้เลยว่าแท้จริงนั้นมีคนกลุ่มนี้มากมายมหาศาลเท่าไหร่

นักการตลาดต้องรับมืออย่างไร

สมวลี มองว่า นักการตลาดต้องปรับวิธีคิด ผู้สูงอายุมีวิธีคิดไม่เหมือนกลุ่มอื่น อาจจะไม่ใช้ผลิตสินค้าเพื่อให้โดนใจ แต่ต้องเป็นสินค้าหรือบริการที่ช่วยเหลือเขา หรือ “คลายความกังวล” ให้เขา ซึ่งหลักๆ แล้วผู้สูงอายุมีความกังวลในเรื่องไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หรือสูญเสียความสามารถ แบรนด์ต้องทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุคลายกังวลทั้งเรื่องจิตใจและร่างกาย

ถ้าอยากเอาชนะใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ สิ่งที่นักการตลาดต้องทำ ก็คือ ต้องทำการปรับตัว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ก่อน และไม่ใช่แค่ทำแคมเปญการตลาดแค่ผิวเผิน แต่ต้องปรับตัวทั้งระบบลงไปถึงกระบวนการคิด หลักๆ มีทั้งหมด 5 ข้อ

1.นวัตกรรม สินค้าต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบโจทย์คนกลุ่มนี้โดยตรง 2.แพ็กเกจจิ้งต้องตอบโจทย์การใช้งาน อำนวยความสะดวก เช่น ขวดที่เปิดง่าย มีตัวหนังสือบนฉลากที่ใหญ่ หรือแพ็กไซส์ที่เล็กลงสำหรับทานคนเดียว ไปจนถึงการออกแบบสื่อต่างๆ ต้องตัวอักษรใหญ่ ใช้สีที่เหมาะสม 3.โปรโมชัน เพื่อเป็นการดึงดูดในการซื้อขาย 4.เดลิเวอรี เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจรีเทลทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพราะคนกลุ่มนี้ชอบชอป แต่อาจจะไม่มีกำลังในการขนของ ต้องมีบริการจัดส่งให้ถึงบ้าน และ 5.จุด Rest Spot เป็นจุดพักผ่อน ในปัจจุบันอาจจะมีเลานจ์สำหรับลูกค้าพรีเมียม แต่ในอนาคตอาจจะต้องมีจุดพักผ่อนสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มเติม   

info2_older

ผู้สูงอายุ ขาชอปตัวจริง

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ผู้สูงอายุตอนต้นส่วนใหญ่ในไทยจะพึ่งพาตนเอง โดยกว่า 90% ของผู้สูงอายุวัย 60-79 ปี สามารถที่จะพึ่งพาตัวเองได้ สอดคล้องกับรายงานของนีลเส็นที่บ่งชี้ว่า กลุ่มผู้สูงอายุนี่แหละเป็นผู้มีอำนาจในการซื้อของเข้าบ้านตัวจริง ใน 5 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นที่รับหน้าที่หลักในการซื้อของเข้าบ้านเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างปี 2553 และปี 2558

โดยในปี 2553 นั้น 52% ของคนไทยอายุ 64 ขึ้นไป บอกว่า พวกเขาคือคนซื้อของเข้าบ้าน ในขณะที่ปี 2558 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 61% นอกจากนั้นพวกเขายังมีการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยที่ในปี 2553 นั้น 5% ของผู้สูงวัยอายุ 64 ปีขึ้นไปใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลหลักในการค้นหา แต่ในปี 2558 อัตราส่วนของผู้ใช้นั้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 9%

แสดงให้เห็นว่าผู้สูงอายุมีการชอปปิ้งมากขึ้นทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แต่กลุ่มธุรกิจรีเทลยังไม่มีการตื่นตัวเพื่อตอบรับกับคนกลุ่มนี้เท่าไหร่ มีกรณีศึกษาในต่างประเทศอย่างประเทศญี่ปุ่น ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุ จุดขายบนเชลฟ์วางสินค้าจะมีแว่นขยายสำหรับดูฉลากสินค้าอย่างสะดวก หรือมีบริการเดลิเวอรีส่งสินค้าที่บ้าน และมีทำบัตรสมาชิกสำหรับกลุ่มผู้สูงวัย และมีวันพิเศษที่ให้ส่วนลดพิเศษเพิ่มเติมด้วย

สินค้าอะไรที่คนสูงวัยชอบชอป

เมื่อมาดูถึงการใช้จ่าย จะเห็นได้จากรายงานว่า ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุนั้น 5 อันดับแรกจะมีการซื้อของเกี่ยวกับสุขภาพ และ อาหารสัตว์ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อของเข้าบ้านของครอบครัวทั่วไป ได้แก่ นม, อาหารสัตว์, ข้าว, รังนก และซุปไก่ ส่วนสินค้าที่ซื้อน้อยลง 5 อันดับแรก ได้แรก ครีมเทียม, ไข่ไก่, ผงชูรส, ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และสบู่

info3_older

ที่น่าสนใจคือกลุ่มอาหารสัตว์มีโอกาสเติบโตสูง เพราะกลุ่มผู้สูงอายุจะมีการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นเพื่ออยู่เป็นเพื่อน มากกว่าที่จะอยู่เป็นครอบครัวใหญ่ หรืออยู่กับลูกหลาน เพราะหลายคนกลัวที่จะเป็นภาระของลูกหลาน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีแบรนด์ลงมาจับตลาดจริงจัง

จากผลสำรวจของนีลเส็น พบว่า สินค้าและบริการ 3 อันดับแรกที่กลุ่มผู้สูงวัยอยากได้มากที่สุดแต่มีในตลาดแล้ว ได้แก่ 58% ประกันสุขภาพ หรือที่ปรึกษาด้านสุขภาพ 48% สินค้าที่มีแพ็กเกจจิ้งไซส์เล็กลง สำหรับทานคนเดียว และ47% เมนูตามร้านอาหารที่อ่านง่าย และมีข้อมูลด้านโภชนาการ

แต่ก็ยังมีสินค้าและบริการ 3 อันดับที่กลุ่มผู้สูงวัยต้องการ แต่ยังไม่มีในตลาด ถือเป็นโอกาสสำคัญในการเติบโต ได้แก่ 57% ร้านอาหารที่อำนวยความสะดวกเรื่องรถเข็น หรือการเดินของผู้สูงอายุ 54% ฉลากที่บอกถึงข้อมูลโภชนาการที่ชัดเจน และ 52% สินค้าที่มีแพ็กเกจจิ้งที่เปิดง่าย

info4_older

นักการตลาดสนใจ แต่กลัวแบรนด์ดูแก่

สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล (ประเทศไทย) มองว่าเทรนด์เรื่องกลุ่มผู้สูงวัยเห็นมานานแล้ว เพราะโครงสร้างประชากรในตอนนี้กลุ่มเบบี้บูมกับกลุ่มเจนเอ็กซ์รวมกันก็เกือบ 50% ของประชากรไทยแล้ว โดยมีบางธุรกิจลงมาจับตลาดเยอะ แต่ว่าไม่ได้โปรโมตเป็น Brand Image เพราะถ้าลงมาเล่นกับกลุ่มผู้สูงอายุมากไปอาจจะทำให้แบรนด์ดูเก่าและแก่

แต่เทรนด์นี้ก็เริ่มมีทั้งธุรกิจอสังหาที่เริ่มออกแบบ Medical Plus เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงวัยมากขึ้นแล้วเหมือนกัน รวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจบันเทิง สังเกตได้จากในช่วงหลายปีนี้จะมีคอนเสิร์ตของดนตรีรุ่นเก๋าออกมาเยอะ ทั้งอัสนี วสันต์, แกรนด์เอ็กซ์ เพื่อเอาใจคนกลุ่มนี้ เพราะนักการตลาดเข้าใจดีว่าคนกลุ่มนี้มีกำลังซื้อมากกว่าคนหลายๆ กลุ่ม

หรือมีอีกกลยุทธ์ของนักการตลาดก็คือการใช้พรีเซ็นเตอร์ ที่จับเอานักแสดงรุ่นเก๋ามาเพื่อจับกลุ่มคนวัยนี้ หรืออย่างแบรนด์รังนกที่ได้ใช้พรีเซ็นเตอร์ดูโอ ญาญ่ากับติงลี่ เป็นการนำพรีเซ็นเตอร์รุ่นเก๋ามารวมกับรุ่นใหม่ เป็นการจับตลาดกลุ่มผู้สูงวัยโดยเฉพาะ แต่ก็เบลนด์เพื่อให้แบรนด์ดูแก่เกินไป

วัตินาพร บัณฑุชัย ผู้อำนวยการอาวุโส Brand Marketing & Advertisingบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกั ให้ความเห็นว่า “กลุ่มลูกค้าหลักของท็อปส์เป็นกลุ่มคนอายุ 25-45 ปี มีสัดส่วนมากกว่า 50% ถือว่าเป็นกลุ่มผู้สูงวัยในอนาคต ความสำคัญของคนกลุ่มนี้คือเป็นกลุ่มที่มีฐานะ รายได้ดี และมีอำนาจในการซื้อสูง สินค้าที่ท็อปส์เน้นในตลาดนี้จะเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ สินค้าPersonal careที่เป็นออแกนิก

ขณะเดียวกันบริการHome Deliveryจัดส่งสินค้าถึงบ้าน Carry Outซื้อสินค้าในร้านแล้วจัดส่งให้ถึงรถ และบริการPersonal Shoppingเป็นผู้ช่วยในการชอปปิ้งที่มาถึงสโตร์แต่ไม่อยากเดินซื้อเอง แต่นำรายการซื้อมาให้ก็มีคนช่วยซื้อของให้ ก็เหมาะสำหรับคนกลุ่มนี้ และในอนาคตจะมีบริการเพิ่มเติม เช่น การสอนการดูแลสุขภาพ สอนการอ่านฉลากสินค้า หรือมีทำป้ายในร้านให้อ่านง่าย เห็นชัดขึ้น

“เคยมีไอเดียเหมือนที่ประเทศญี่ปุ่นในการนำแว่นขยายมาวางที่เชลฟ์วางสินค้า แต่มองอีกมุมหนึ่งมันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะบางคนอาจจะไม่กล้าใช้เพราะทำให้ตัวเองดูแก่ไป ในเมืองไทยยังเป็นเรื่องของอีโมชันนอลอยู่ อาจจะส่งผลกระทบต่อแบรนด์ สิ่งที่เราใส่ในสโตร์ออกมาจึงกลางๆ เช่น มีป้ายบอกทางชัดเจน ใช้สีที่อ่านง่าย

นอกจากนี้ มีบริการสำหรับคนกลุ่มนี้มากเกินไป ก็อาจจะส่งผลกระทบกับแบรนด์ ทำให้แบรนด์ดูแก่ไป เพราะสิ่งที่ใส่ไปในร้านจะบอกโพสิชันของแบรนด์ทันที ซึ่งท็อปส์ยังมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มอื่นที่ต้องดูแลเหมือนกัน การจับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นก็ทำให้แบรนด์ดูทันสมัย แต่ก็ยังไม่ทิ้งกลุ่มใหญ่ของเรา

info5_older

info6_older

]]>
1100674