มหาเศรษฐีไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 20 Jul 2021 12:32:26 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘World Bank’ แนะไทย ‘ขึ้นภาษีคนรวย’ เพื่อนำเงินไปใช้สู้วิกฤตโควิด https://positioningmag.com/1343315 Tue, 20 Jul 2021 10:20:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1343315 อ้างอิงจากการจัดอันดับ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2564 ของนิตยสาร Forbes พบว่าเศรษฐีทั้งหมดร่ำรวยกว่าปีก่อนถึง 20% ขณะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับหนี้สินกว่า 1.4 ล้านล้านบาท เนื่องจากต้องบริหารสถานการณ์ COVID-19 ทั้งในการดำเนินมาตรการรับมือ และการป้องกันโรค ดังนั้น การขึ้นภาษี ‘คนรวย’ เพื่อนำเงินมาบริหารจัดการอาจเป็นหนึ่งในทางออกที่น่าสนใจ

คิม เอ็ดเวิร์ดส์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก (World Bank) กล่าวว่า ไทยอาจต้องขึ้นภาษีคนรวยเพิ่มขึ้นเพื่อจัดการกับเงินกู้ยืมของรัฐบาลจำนวน 45,000 ล้านดอลลาร์หรือกว่า 1.4 ล้านล้านบาทที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของ COVID-19 เพื่อนำไปบริหารจัดการบรรเทาการระบาดที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเท่าเทียมกันน้อยที่สุดในเอเชีย โดยมีมหาเศรษฐีถึง 52 คน ตามรายงานของ Hurun Rich List ซึ่งมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มากกว่าเศรษฐีในประเทศอิตาลี ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ขณะที่มหาเศรษฐีหลายคนมีทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นในช่วงการระบาด อาทิ ธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของประเทศไทย ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 18.1 พันล้านดอลลาร์

ในทางกลับกัน คนไทยหลายล้านคนตกงาน รวมถึงกองทัพแรงงานนอกระบบจำนวนนับไม่ถ้วน ตั้งแต่คนขับรถตุ๊กตุ๊กไปจนถึงคนขายของตามท้องถนน ในขณะที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ขณะที่อัตราภาษียังคงค่อนข้างต่ำ ซึ่งรวมถึงภาษีนิติบุคคลที่ 20% ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียมีอัตราภาษีนิติบุคคล 24% ในขณะที่ฟิลิปปินส์สูงถึง 30% มีเพียงสิงคโปร์และบรูไนเท่านั้นที่มีอัตราที่ต่ำกว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่กำไรจากการขายสินทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย

ธนินท์ เจียรวนนท์ มหาเศรษฐีเบอร์ 1 ของประเทศไทย

ด้วยหนี้นับล้านล้านและความเสี่ยงของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ประกอบกับการเปิดตัววัคซีนที่ยังติดขัด ธนาคารโลกเตือนว่ารัฐบาลอาจถูกบังคับให้กลับไปที่ธนาคารเพื่อ กู้เงินสดเพิ่ม เพื่อป้อนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

“การเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ช่วยให้ไทยสามารถพยุงสถานะทางการเงิน ดังนั้น อาจเพิ่มอัตราภาษีจากบุคคลที่มีความมั่งคั่งสูงสุด รวมถึงภาษีจากกำไรของการขายทรัพย์สิน และทำการปฏิรูปมาตรการลดหย่อนต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ อาจจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลได้

ทั้งนี้ ในการติดตามเศรษฐกิจไทย ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถเติบโตได้ 2.2% หากสามารถควบคุมสถานการณ์ได้เร็ว แต่ถ้าไม่อาจเติบโตเพียง 1.2% ขณะที่ปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อในประเทศทุละ 1 หมื่นรายต่อวัน ติดเชื้อสะสมกว่า 3 แสนราย และเสียชีวิตแล้วเกือบ 3 พันราย ขณะที่ผู้ที่ได้รับวัคซีนมีประมาณ 3.4 ล้านคนหรือเพียง 4.8% ของประชากรเกือบ 70 ล้านคน

Source

]]>
1343315
ตลาด Wealth โตพุ่ง SCB ปั้น Private Banking สู่เป้าพอร์ต 1 ล้านล้านบาท โอกาสทองจับ ‘เศรษฐีไทย’  https://positioningmag.com/1321958 Fri, 05 Mar 2021 13:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321958 สถาบันการเงิน เร่งเครื่องดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เเย่งลูกค้าเศรษฐีกันดุเดือด ด้วยความที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการออกสินเชื่อ เเถมยังมีการเติบโตสูง สร้างรายได้ดี เเม้จะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ

SCB เป็นอีกหนึ่งเจ้าใหญ่ในไทยที่ประกาศจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาด Private Banking โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาทให้ได้

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ธุรกิจ Wealth Management ดูเเลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าผู้มั่งคั่งเติบโตขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางโรคระบาด

ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาดทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก การออมเงินฝากหรือพันธบัตร ไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องหาทางลงทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะความผันผวนในตลาดสูง

โดยกลุ่มผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ HNWIs (มีสินทรัพย์ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป) มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำเเนะนำการดูเเลพอร์ตมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Private Banking ขยายตัวตามไปด้วย

ตลาด Wealth โตพุ่ง โอกาสจับ ‘เศรษฐีไทย’ 

SCB ประเมินว่า ภาพรวม Wealth ทั่วโลกในปี 2024 จะเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยจะขยายตัวมากที่สุดในจีน เเละเอเชียแปซิฟิก

สำหรับตลาด Wealth ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโต 5% สูงกว่า GDP ไทยถึง 2 เท่า โดยจำนวนลูกค้า Wealth ทั้งหมดในไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 8.86 แสนคน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2018 ที่อยู่ราว 7.1 แสนคน

ประชากร 1% ของคนไทย ถือครองทรัพย์สิน 80% ของทั้งประเทศ

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-10 ‘เศรษฐีหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย เเละล่าสุด HSBC จากอังกฤษ ก็เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย

ข้อมูลจาก HSBC ระบุว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะเพิ่มขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

นี่จึงเป็นโอกาสทอง เเละการเเข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ ทำให้ธุรกิจ Private Banking ต้องงัดหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพื่อครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

บริหารความมั่งคั่ง คือ New S-Curve 

ปัจจุบันธุรกิจ Wealth ของไทยพาณิชย์ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 8.5 แสนล้านบาท เเละในปี 2024 ตั้งเป้าจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK

โดยมีฐานลูกค้า Wealth จำนวนกว่า 3 เเสนราย (จากราว 7 เเสนรายทั้งประเทศ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ลูกค้า SCB Prime มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB First มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB Private Banking มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

ธนาคารได้เริ่มแผน Wealth Transformation มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปีนั้นสร้างรายได้ให้ธนาคารคิดเป็น 7% ของรายได้รวม และ 31% ของรายได้ค่าธรรมเนียม จากนั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 สามารถทำรายได้ถึง 15% ของรายได้รวม และ 56% ของรายได้ค่าธรรมเนียม

ธุรกิจ Wealth Management จึงกลายมาเป็น New S Curve ของไทยพาณิชย์

โดยคาดว่า AUM ลูกค้ากลุ่ม Wealth ของไทยพาณิชย์จะโตเฉลี่ยปีละ 10-12% และปี 2566 คาดว่าจะมี AUM 1 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเติบโตได้ในอัตราสองหลัก 

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ธนาคารได้เฟ้นหาพนักงานหัวกะทิที่โดดเด่นที่สุดของสาขา 1,100 คน มาร่วมทีม Wealth Management โดยมีการจัดเทรนนิ่งอย่างเข้มข้น จนตอนนี้ธนาคารมี RM (Relationship Manager) ที่มีใบรับรองมากที่สุดในไทย

หลักๆ จะเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ ‘Operating Model’ พัฒนาโซลูชันด้านการลงทุนเเบบ Open Architecture คือการมีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกลงทุนจากบริษัทพันธมิตรเเละประกัน (ตอนนี้มีอยู่ 35 แห่ง) ไม่ได้มีเเค่ผลิตภัณฑ์ของ SCB เท่านั้น รวมทั้งมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพอร์ต สร้างเเพลตฟอร์มเฉพาะมาบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นการลงทุนของตัวเองชัดเจนขึ้น

โดยทิศทางของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2021 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซ็กเมนต์ Private Banking เพื่อจับลูกค้าใหม่ที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้า Wealth ของไทยพาณิชย์ เมื่อดู Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท จาก AUM ทั้งหมดที่ 8.5 แสนบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 .. – 31 .. 2020) 

มธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยในปี 2021 นี้ SCB Private Banking จะดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  • Investment Solutions for Wealth Preservation ต่อยอดความมั่งคั่งให้ลูกค้า โดยจะมีลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ทั้ง Public assets หรือ Private assets
  • Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เปิดโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ เช่น สินเชื่อ SCB Property Backed Loan ที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ให้ลูกค้านำไปเพิ่มกระแสเงินสด
  • SCB Financial Business Group ประสานกับธุรกิจส่วนต่างๆ ทั้งหมดในธนาคารไทยพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

สำหรับข้อเเนะนำในการลงทุนในปีนี้ ผู้บริหาร SCB บอกว่า ควรจะกระจายความเสี่ยงในต่างประเทศ โดยเน้นธุรกิจที่เติบโตในยุค New Normal อย่าง อีคอมเมิร์ซ การขนส่งเเละธุรกิจคลาวด์

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงุทนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม พลังงานหมุนเวียน ตามที่จะเห็นรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ต่างออกนโนบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนี้

ขณะเดียวกันภาวะดอกเบี้ยต่ำที่จะดำเนินต่อเนื่องผู้ลงทุนก็ต้องมองหาผลตอบแทนที่มากกว่า เช่น ตราสารหนี้ , หุ้น เป็นต้น

โดยในปีนี้เเนะนำแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 60% ลงทุนในหุ้น และ 40% ลงทุนในตราสารหนี้ เเละช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ให้ปรับตราสารหนี้เป็น 50-60% เเละเมื่อการกระจายวัคซีนได้ผลดีจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ได้เเล้ว เเนะให้ถือตราสารหนี้ลดลงเหลือ 30% พร้อมกับการติดตามข่าวสารเเละนโนบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

]]>
1321958
CP รวยกว่า Samsung! “เจียรวนนท์” ขึ้นแท่น Top 3 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย https://positioningmag.com/1308773 Wed, 02 Dec 2020 14:55:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308773 บลูมเบิร์กเปิดทำเนียบ Top 20 ตระกูลรวยที่สุดในเอเชีย แชมป์อันดับ 1 เป็นของตระกูลอัมบานี เจ้าของบริษัทน้ำมัน บริษัทโทรคมนาคม และบริษัทค้าปลีกยักษ์ใหญ่ในอินเดีย ความน่าตื่นเต้นของตารางปีนี้อยู่ที่เจียรวนนท์จากประเทศไทยสามารถครองเก้าอี้อันดับ 3 ได้สำเร็จ แซงหน้าตระกูลลี เจ้าของซัมซุงจากเกาหลีใต้ไปได้แบบชัดเจน

นอกจากเจียรวนนท์ ตระกูลเศรษฐีของไทยอย่างอยู่วิทยาและจิราธิวัตน์ก็ติดโผในตารางเช่นกัน โดยเจ้าพ่อทีซีพีกรุ๊ปนั่งเก้าอี้อันดับ 6 ขณะที่ครอบครัวเซ็นทรัลกรุ๊ปรั้งอันดับที่ 20 ในทำเนียบตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในเอเชีย

ในภาพรวม ครอบครัวมหาเศรษฐีเอเชียทั้ง 20 ตระกูลสามารถครองความมั่งคั่งรวมกว่า 4.63 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 13 ล้านล้านบาท แถมตระกูลที่รวยที่สุดยังมีความมั่งคั่งมากขึ้นไปอีก เทียบแล้วมีทรัพย์สินมูลค่ามากเป็น 2 เท่าของตระกูลอันดับ 2 และหากเทียบกับตระกูลอันดับ 5 แชมป์จะมีความรวยมากกว่า 3 เท่าตัวเลยทีเดียว

รวยแล้วยิ่งรวยอีก

อันดับ 1 ที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กยกย่องว่าเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดคือตระกูลอัมบานี ของอินเดีย มูลค่าทรัพย์สินคือ 7.6 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามประวัติธีรุไภย อัมบานีเคยอพยพจากอินเดียไปทำงานเป็นเสมียนตั้งแต่อายุ 17 ปี ก่อนจะกลับมาเริ่มตั้งบริษัท Reliance Retail ใน .. 2500

45 ปีผ่านไป ธีรุไภยเสียชีวิตโดยไม่มีพินัยกรรม ลูกชายคือมูเกซได้ควบคุมกิจการของตระกูลทั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่สุดของโลก บริษัทโทรคมนาคมที่มีสมาชิกรายเดือนกว่า 307 ล้านคน คิดเป็น 23% ของประชากรประเทศอินเดีย และบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในอินเดียด้วยจำนวนสาขาไม่น้อยกว่า 10,901 แห่งใน 6,700 เมืองทั่วประเทศ เกร็ดน่ารู้ของตระกูลคือศิลปินดัง Beyonce และ Chris Martin แห่งวง Coldplay เคยร่วมแสดงในงานแต่งงานของสมาชิกหลายคนในครอบครัวอัมบานี

ตระกูลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 คือตระกูลกว็อก แห่งฮ่องกง เจ้าของ Sun Hung Kai Properties มูลค่าทรัยพ์สิน 3.3 หมื่นล้านดอลลาร์ บลูมเบิร์กเล่าว่ากว็อกตักเส็งจดทะเบียนบริษัทใน พ.. 2515 จนวันนี้บริษัทเติบโตเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของฮ่องกง ล่าสุด Thomas Kwok เพิ่งกลับมาเข้าร่วมธุรกิจของครอบครัวในปีนี้ หลังจากพ้นโทษจำคุกในข้อหาติดสินบน

อันดับ 3 คือตระกูลเจียรวนนท์แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ สถิติความมั่งคั่ง 3.17 หมื่นล้านดอลลาร์ ทุกอย่างเริ่มจากเจีย เอ็กชอคุณพ่อของธนินท์ เจียรวนนท์ได้อพยพจากภาคใต้ของจีนมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในประเทศไทย จนกระทั่งเริ่มธุรกิจค้าขายเมล็ดพันธุ์พืชกับพี่ชายใน .. 2464 ผ่านไปหลายสิบปีกิจการขยายออกไปทั้งการค้าปลีก อาหาร และโทรคมนาคม ประเด็นน่าสนใจของบริษัทในปีนี้คือแผนขยายไปตั้งฟาร์มกุ้งที่สหรัฐฯ

ซัมซุงนั่งที่ 5

อันดับ 4 คือตระกูลฮาร์โตโนของอินโดนีเซีย สถิติความมั่งคั่งคือ 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์ ตระกูลนี้ร่ำรวยจากธุรกิจบุหรี่ Djarum ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่สุดในประเทศ และการขยายไปสู่ธุรกิจธนาคาร Bank Central Asia ขณะที่อันดับ 5 คือตระกูลลีแห่งเกาหลีใต้ เจ้าของ Samsung ซึ่งมีทรัพย์สินรวม 2.66 หมื่นล้านดอลลาร์ จุดเริ่มต้นของความร่ำรวยมาจากลี บยองชอลที่เริ่มต้นกิจการ Samsung ในรูปของบริษัทส่งออกสินค้า ผัก และปลาใน พ.. 2481 จากนั้นจึงมีการขยายเข้าสู่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วยการตั้งบริษัท Samsung Electronics ใน พ.. 2512 จนกลายเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและชิพความจำรายใหญ่สุดของโลก

สำหรับตระกูลอยู่วิทยานั่งอันดับ 6 ของตาราง เจ้าของทีซีพีกรุ๊ปถูกระบุว่ามีทรัพย์สินมูลค่า 2.42 หมื่นล้านดอลลาร์ หลังจากที่เฉลียว อยู่วิทยาก่อตั้งบริษัทยา T.C. Pharmaceutical เมื่อ .. 2499 บริษัทได้ขยายกิจการไปสู่สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเด่นคือเครื่องดื่มบำรุงกำลังกระทิงแดงรวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ทีซีพีกรุ๊ป

ภาพ : centralretail

ส่วนตระกูลจิราธิวัฒน์ครอบครัวธุรกิจเซ็นทรัลกรุ๊ปถูกจัดเป็นอันดับที่ 20 สถิติความมั่งคั่ง 1.29 หมื่นล้านดอลลาร์ วันนี้หนึ่งในกลุ่มบริษัทใหญ่ที่สุดของไทยมีบริษัทลูกกว่า 50 บริษัท ความมั่งคั่งของตระกูลไม่ได้รับผลกระทบใดจากวิกฤตที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ถูกวางเพลิงเมื่อ 10 ปีที่แล้วในระหว่างการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล

ผู้สนใจสามารถติดตามตาราง 20 อันดับตระกูลร่ำรวยที่สุดในเอเชียได้เพิ่มเติมจากที่มา.


ที่มาhttps://www.bloomberg.com/features/2020-asia-richest-families/

]]>
1308773
เปิดจดหมาย “เดอะมอลล์ กรุ๊ป” ถึงนายกฯ เสนอ 10 แผนแม่บท ฟื้นฟูเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1278511 Thu, 14 May 2020 15:08:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278511 “เดอะมอลล์ กรุ๊ป” ตามมาติดๆ ได้ตอบจดหมายนายกรัฐมนตรี หลังจากที่ได้ส่งเพื่อขอความคิดเห็นจากมหาเศรษฐีในไทย เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และก้าวผ่านวิกฤต COVID-19

โดย ศุภลักษณ์ อัมพุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด นักธุรกิจหญิงแห่งวงการค้าปลีกไทยคนเดียวที่ได้รับจดหมายจากนายกรัฐมนตรี ได้เสนอแผนแม่บท 10 ข้อในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พร้อมแนวทางการสนับสนุนช่วยเหลือสังคม ในจดหมายมีใจความดังนี้

ตามที่ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้มีหนังสือขอความร่วมมือระดับชาติ เพื่อเอาชนะโควิด-19ไปด้วยกันทั้งประเทศ นั้น

ดิฉันในนามบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปและในฐานะประชาชนคนไทย ใคร่ขอขอบพระคุณ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทย และหน่วยงานทางราชการทุกท่านที่ได้ดำเนินมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างดียิ่ง ด้วยการตัดสินใจที่กล้าหาญ และการเสียสละ การร่วมแรงร่วมใจของคนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลากรทางการแพทย์ และพยาบาลที่เปี่ยมด้วยความสามารถ ความทุ่มเท ความเสียสละอย่างสุดกำลัง จนทำให้ประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 นี้ได้ จนได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศทั่วโลก ในฐานะเป็นประเทศที่มีมาตรฐานสาธารณสุขที่ดีเยี่ยมที่สุดของโลก นำมาซึ่งความปลื้มปีติของคนไทยทั้งประเทศดิฉันในนามบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนภาคเอกชนในการนำเสนอแนวทางการช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่เดือดร้อน  และใคร่ขอเสนอแผนการฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์ ให้มีความเข้มแข็ง และก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้ให้ความร่วมมือ และสนับสนุนมาตรการต่างๆของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด นับตั้งแต่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ได้ประกาศมาตรการทางการแพทย์ระดับชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563 โดยทุกศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ปทุกแห่ง ได้ดำเนินการยกระดับมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขเชิงรุกอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องอีกทั้งได้แสดงเจตจำนงและความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านโครงการเพื่อเป็นการลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 โครงการเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ และการช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลต่างๆตลอดจนโครงการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 ดังนี้

  • โครงการสนับสนุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องอุปโภค -บริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพและอาหาร รวมมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท
  • โครงการเดอะมอลล์ กรุ๊ป – รพ.ราชวิถี รวมใจเพื่อคนไทย ปลอดโควิด-19 เพื่อระดมการบริจาคจากพันธมิตรธุรกิจ  ลูกค้า และประชาชนทั่วไป  เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
  • โครงการมอบเงินสนับสนุน ผ่านฯพณฯ นายกรัฐมนตรี แก่ 5 โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี และสถาบันบำราศนราดูร
  • โครงการมอบอาหารกล่องจากครัวน้ำใจโดยกูร์เม่ต์มาร์เก็ต ของเดอะมอลล์ทุกสาขาให้แก่โรงพยาบาล จำนวนรวม 30,000 กล่อง เป็นเวลา 30 วัน
  • โครงการถุงยังชีพชุดกำลังใจ อันประกอบด้วยสินค้าอุปโภค-บริโภคแก่โรงพยาบาล จำนวนรวม 10,000 ชุด
  • โครงการความร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจร้านอาหารกว่า 30 ร้าน มอบอาหารกล่องจำนวน 5,000 กล่อง เพื่อเป็นกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์
  • โครงการเดอะมอลล์ บ้านของคนโคราช เพื่อต่อลมหายใจ ด้วยการระดมการบริจาคเพื่อจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจแก่ 3 โรงพยาบาลในจังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • โครงการบริจาคโลหิตเพื่อศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย  เพื่อร่วมบรรเทาการขาดแคลนโลหิตสำรองผ่านห้องรับบริจาคโลหิตที่เดอะมอลล์ทุกสาขาจำนวนเบื้องต้นรวมกว่า 2,000,000CC จากผู้มีจิตศรัทธากว่า 5,000 คนในระยะเวลา 30 วัน
  • โครงการลดค่าครองชีพและมอบถุงยังชีพชุดกำลังใจเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนและสนับสนุนโครงการต่างๆของกระทรวงพาณิชย์
  • โครงการ “พาณิชย์ลดราคาข้าว ช่วยประชาชน” ร่วมลดราคาข้าวสูงสุด 50%
  • โครงการ “พาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน” ร่วมปรับลดราคาสินค้าอุปโภค บริโภคที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพใน 6 กลุ่มสินค้า สูงสุด 50% จำนวนกว่า 3,000 รายการ นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนเพิ่มเติมด้วยการจัดรายการลดราคาสินค้า ในราคาพิเศษสุด รวมกว่า 100,000 รายการ ตลอดปี 2563
  • โครงการมอบถุงยังชีพชุดกำลังใจเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 5,000 ชุด
  • โครงการรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคมด้วยมาตรการช่วยเหลือพนักงานในเครือกว่า 20,000 ราย โดยไม่มีนโยบายเลิกจ้างและช่วยเหลือพนักงานที่มีภาระครอบครัวให้การกู้ยืมเงินโดยไม่มีอัตราดอกเบี้ย และดูแลช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล
  • โครงการช่วยเหลือผู้เช่า และผู้ประกอบการร้านค้าของทุกศูนย์การค้า และห้างสรรพสินค้าทุกสาขาในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป โดยมีมาตรการไม่เก็บค่าเช่าในช่วงปิดบริการ และมีมาตรการลดค่าเช่าหลังเปิดบริการ เพื่อช่วยเหลือผู้เช่า และผู้ประกอบการร้านค้ากว่า 10,000 ราย
  • โครงการช่วยเหลือภาคเกษตรกรรม ภาคการประมง ภาคธุรกิจแปรรูป และ SME ทั่วประเทศ
  • บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป มีความห่วงใยในการระบายสินค้าต่างๆเพื่อทั้งการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ได้มีบทบาทการเป็นแกนกลางในการผนึกความร่วมมือจากผู้ประกอบการภาคธุรกิจรีเทลทั่วประเทศ ผ่านสมาคมค้าปลีกไทย สมาคมศูนย์การค้าไทยในการเปิดพื้นที่เป็นช่องทางการจำหน่ายเพื่อระบายสินค้าภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมแปรรูป ภาควิสาหกิจชุมชนOTOP ตลอดจน SME ตลอดทั้งปีโดยบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ปได้นำร่องด้วยโครงการตลาดเดอะมอลล์รวมใจ THE MALL TOGETHER MARKET ทุกสาขา โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคมศกนี้เป็นต้นไป

อนึ่ง นอกเหนือจากโครงการการสนับสนุนช่วยเหลือต่างๆดังกล่าวข้างต้นที่เดอะมอลล์ กรุ๊ปได้ดำเนินการเฉกเช่นผู้นำภาคเอกชนต่างๆได้ให้การช่วยเหลือสังคมโดยรวมดิฉันในนามบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป ใคร่ขอเรียนเสนอวิสัยทัศน์และกลยุทธ์แผนการฟื้นฟูและขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนของประเทศ โดยมีส่วนร่วมเป็นแกนกลางรวมพลังเพื่อบูรณาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

ด้วยยุทธศาสตร์ของการสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทย การสร้างงานสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ให้กับประชาชนและประเทศไทยภายใต้บรรทัดฐานใหม่ New Normal สำหรับคนทุกภาคส่วน ตั้งแต่ แรงงานขั้นพื้นฐาน เกษตรกร SME Entrepreneur White Collar เจ้าของธุรกิจ จนถึงองค์กรขนาดใหญ่ภายใต้กลยุทธ์ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความสำคัญ คือ 3 หัวข้อหลัก

  1. Globalization ทำให้ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ของ South East Asia
  2. Digitalization การนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้สำหรับ New Normal ทั้งในแง่การทำธุรกิจ และการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่
  3. Tourism เป็น Spearhead หัวหอกหลักที่จะนำประเทศไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้เร็วที่สุด และมีผลต่อเนื่อง Value Chain ไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย และเป็นส่วนที่ประเทศไทยสามารถใช้เป็นจุดแข็ง ในฐานะที่ประเทศไทยเป็น Tourist Destination of the World โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่เป็น World Number 1 Tourist Destination ติดต่อกันถึง 4 ปี อีกทั้งภูเก็ตและพัทยาติดอันดับ Top 10 Tourist Destination in Asia

เดอะมอลล์กรุ๊ป ใคร่ขอเสนอ 10 แผนแม่บท 10 แผนยุทธศาสตร์ที่จะขอให้ทั้งทางภาครัฐบาล และภาคเอกชนร่วมมือกัน มี Commitment ร่วมกัน เพื่อยังผลให้โครงการเหล่านี้ประสบความสำเร็จยิ่ง

  1. THAILAND AS A WORLD CLASS SHOPPING PARADISE ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของการช้อปปิ้งระดับโลก
  2. THAILAND AS A WORLD FOOD DESTINATION ประเทศไทยเป็นศูนย์รวมอาหารของโลก
  3. THAILAND AS A HUB OF WORLD CLASS ENTERTAINMENT AND ATTRACTIONS IN SEA ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความบันเทิงและแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
  4. THAILAND AS A HUB OF MICE MARKET IN SEA ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการประชุมสัมมนาและจัดแสดงสินค้าระดับโลกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
  5. THAILAND AS A CULTURAL AND ART CENTER OF ASIA ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย
  6. THAILAND AS A WORLD CLASS CENTER OF FESTIVAL, LEISURE & FUN ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการจัดเทศกาลแห่งความสุขและสนุกสนานระดับโลก
  7. THE GULF OF THAILAND AND THE ANDAMAN SEA TO BECOME THE RIVIERA OF THE EAST AND CRUISE LINE PLAYGROUND อ่าวไทยและคาบสมุทรอันดามัน เสมือนเป็นริเวียร่าแห่งโลกตะวันออกและเส้นทางเดินเรือสำราญที่สำคัญของเอเชีย
  8. THAILAND AS A MEDICAL HUB FOR HEALTH, WELLNESS & SPA RESORT IN ASIA ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์ สุขภาพ ความงาม และสปา ในภูมิภาคเอเชีย
  9. THAILAND AS THE ENTREPRENEUR,SME& STARTUP HUB OF SEA FORO2O SEAMLESSEXPERIENCE ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ สำหรับ ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ
  10. THAILAND AS A CENTER OF ECOTOURISM AND ENVIRONMENTAL SUSTAINABILITY ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ท้ายนี้ ดิฉันในนามบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างจริงใจและจริงจัง ภายใต้กลยุทธ์และแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 10 ข้อนี้จะทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จ นำมาซึ่งการสร้างคุณภาพชีวิตของคนไทย สร้างงาน สร้างอาชีพเพิ่มให้กับประชาชนหลายล้านคน คาดว่าจะสร้างรายได้และทำรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ประเทศกว่า 100,000 ล้านบาทยังผลให้ประเทศไทยฟื้นฟูและยืนหยัดด้วยความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

]]>
1278511
ทำเนียบ 10 อันดับ “มหาเศรษฐีไทย” ประจำปี 2563 จัดอันดับโดย Forbes https://positioningmag.com/1271504 Fri, 03 Apr 2020 05:32:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271504 Forbes เปิดโผ “มหาเศรษฐี” ที่รวยที่สุด 10 อันดับแรกของไทยประจำปี 2563 พร้อมบทวิเคราะห์ภาพรวมความมั่งคั่งของเศรษฐีไทยปีนี้ มีเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัส COVID-19 และทำให้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง

10 อันดับ “มหาเศรษฐี” ไทย ปี 2563 โดย Forbes

อันดับ 1 พี่น้องเจียรวนนท์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: เครือเจริญโภคภัณฑ์
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 2 เฉลิม อยู่วิทยา (ขึ้นจากอันดับ 3)
แหล่งที่มา: กระทิงแดง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 3 เจริญ สิริวัฒนภักดี (ขึ้นจากอันดับ 4)
แหล่งที่มา: ไทยเบฟเวอเรจ
มูลค่าทรัพย์สิน: 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 4 ตระกูลจิราธิวัฒน์ (ลงจากอันดับ 2) 
แหล่งที่มา: กลุ่มเซ็นทรัล
มูลค่าทรัพย์สิน: 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 5 สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์
มูลค่าทรัพย์สิน: 6.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 6 อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: คิง เพาเวอร์
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 7 ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (ขึ้นจากอันดับ 15)
แหล่งที่มา: TOA
มูลค่าทรัพย์สิน: 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

อันดับ 8 ตระกูลโอสถานุเคราะห์ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: โอสถสภา
มูลค่าทรัพย์สิน: 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินคงที่)

อันดับ 9 วานิช ไชยวรรณ (อันดับคงที่)
แหล่งที่มา: ไทยประกันชีวิต
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินลดลง)

อันดับ 10 ชูชาติ เพ็ชรอำไพ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ขึ้นจากอันดับ 11)
แหล่งที่มา: เมืองไทย ลิสซิ่ง
มูลค่าทรัพย์สิน: 2.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มูลค่าทรัพย์สินเพิ่มขึ้น)

ทั้งนี้ มีเศรษฐีสองรายที่หลุดจาก 10 อันดับแรกไปในปีนี้คือ “นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อยู่ในอันดับ 11 และ “สมโภชน์ อาหุนัย” มูลค่าทรัพย์สินลดลงเหลือ 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ในอันดับ 18

 

เศรษฐีทรัพย์สินหดระนาวหลังตลาดหุ้นร่วง

ปี 2563 นี้ บุคคลร่ำรวยที่สุด 50 อันดับของไทยมีทรัพย์สินรวมกันลดลงถึง 2.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นการลดลงถึงร้อยละ 18 เหลือเพียง 1.32 แสนล้านเหรียญ

สาเหจุเกิดจากเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยว ชะลอตัวจากสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ตั้งแต่ปีก่อน เมื่อเผชิญโรคระบาดไวรัส COVID-19 ทำให้ปัญหาหนักหนาขึ้นอีก และเป็นปัจจัยลบส่งให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทรุดหนัก ลดลงไปแล้วเกือบ 1 ใน 3 เทียบกับเดือนเมษายน 2562 มหาเศรษฐี 38 คนจาก 50 คนแรกจึงมีทรัพย์สินสุทธิลดลง โดยในจำนวนนี้มี 6 คนที่ความมั่งคั่งลดลงกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ด้านความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในหมู่เศรษฐีไทย พี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังครองตำแหน่งอันดับหนึ่ง แม้ว่าทรัพย์สินของพวกเขาจะลดลง 2.2 พันล้านเหรียญ ไปอยู่ที่ 2.73 หมื่นล้านเหรียญ และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เข้าซื้อกิจการของเทสโก้ในไทยและมาเลเซียมูลค่า 1.06 หมื่นล้านเหรียญได้สำเร็จ

กลุ่ม CP เข้าซื้อกิจการเทสโก้ในไทยและมาเลเซียเป็นผลสำเร็จ (อ่านรายละเอียดที่นี่)

เฉลิม อยู่วิทยา เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลัง Red Bull ร่วมกับตระกูลของเขา มาในอันดับที่ 2 เขาเป็นหนึ่งในแปดผู้มีรายชื่อในทำเนียบที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสวนทางเศรษฐกิจ โดยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.99 หมื่นล้านเหรียญเมื่อปีก่อน เป็น 2.02 หมื่นล้านเหรียญในปีนี้

เจริญ สิริวัฒนภักดี จากเครือไทยเบฟเวอเรจ ขยับขึ้นมาในอันดับที่ 3 ด้วยทรัพย์สิน 1.05 หมื่นล้านเหรียญ อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 1.62 หมื่นล้านเหรียญในปีที่ผ่านมา

ตระกูลจิราธิวัฒน์ หล่นจากอันดับ 2 มาอยู่ในอันดับ 4 ในปีนี้ ด้วยความมั่งคั่งที่ลดลงกว่าครึ่งไปอยู่ที่ 9.5 พันล้านเหรียญ พวกเขาเพิ่งนำบริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยนับเป็นการเสนอขายหุ้นไอพีโอครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวและนักช้อปที่ลดลงอย่างมาก ทำให้ราคาหุ้นของเซ็นทรัล รีเทล ต่ำกว่าราคาไอพีโอถึงร้อยละ 27 โดยตกลงต่อเนื่องตั้งแต่เข้าการซื้อขาย

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล

ผู้ที่มีทรัพย์สินลดฮวบอีกคนคือ อาลก โลเฮีย (อันดับ 26) มหาเศรษฐีชาวอินเดียโดยกำเนิด เจ้าพ่อธุรกิจปิโตรเคมีผู้ที่ง่วนอยู่กับการเข้าซื้อกิจการมากมาย ทรัพย์สินสุทธิของเขาลดลงจาก 2.52 พันล้านเหรียญในปีที่แล้ว มาอยู่ที่ 1.09 พันล้านเหรียญ เมื่อราคาหุ้นบริษัทอินโดรามา เวนเจอร์ส ของเขาดิ่งลงถึงร้อยละ 57  ในช่วง 11 เดือนผ่านมา

 

นักธุรกิจภาคพลังงานไทยยังแข็งแกร่ง

แม้ว่าราคาพลังงานทั่วโลกจะประสบภาวะตกต่ำครั้งรุนแรง มหาเศรษฐีจากวงการพลังงานของไทย 3 ใน 4 คนกลับมีทรัพย์สินงอกเงย ทั้งนี้เป็นผลจากการที่พวกเขาพุ่งความสนใจไปที่ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทน

ในจำนวนนี้ มีสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ที่ทำเงินเพิ่มขึ้นมากที่สุด ด้วยทรัพย์สินสุทธิ 6.8 พันล้านเหรียญพุ่งขึ้น 1.6 พันล้านเหรียญ ขณะที่บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ของเขาเปิดโรงพลังงานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพิ่มเติม ตลอดจนเข้าดำเนินการโครงการใหม่ ๆ อาทิ ท่าเรือและถนน

ฮาราลด์ ลิงค์ (อันดับที่ 12 ทรัพย์สิน 2.3 พันล้านเหรียญ) หัวเรือใหญ่รุ่นที่สามของบี.กริม มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ขณะที่บี.กริม เพาเวอร์เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าอีกร้อยละ 40 และกำไรของบริษัทกระโดดขึ้นร้อยละ 34 ในปีที่ผ่านมา

ภาคพลังงานที่คึกคักได้พา วิระชัย ทรงเมตตา (อันดับ 40 ทรัพย์สิน 585 ล้านเหรียญ) เข้าทำเนียบเศรษฐีเป็นครั้งแรกหลังจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ ผู้ผลิตพลังไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ (อันดับ 38 ทรัพย์สิน 610 ล้านเหรียญ) ผู้ก่อตั้งเครือโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ที่เป็นบริษัทมหาชน กลับเข้าสู่ทำเนียบหลังจากห่างหายไปสามปี อันเป็นผลจากการที่บริษัทเปิดโรงพยาบาลใหม่อีกสองแห่ง ช่วยหนุนราคาหุ้นบริษัทให้ทะยานขึ้น

ปีนี้ Forbes กำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำสำหรับผู้ที่จะมีรายชื่ออยู่ในทำเนียบที่ 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 565 ล้านเหรียญ ในปี 2019

 

]]>
1271504
เจ้าสัวธนินท์ ยึดอันดับ 1 อภิมหาเศรษฐีไทย แซงหน้า เจ้าสัวเจริญ สมพร แม่ “ธนาธร” ติดทำเนียบรวยล้นฟ้า https://positioningmag.com/1218102 Wed, 06 Mar 2019 05:48:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218102 นิตยสารฟอร์บส์ สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยถึงจากการจัดอันดับ อภิมหาเศรษฐีของไทย ปี 2019 พบว่า ธนินท์ เจียรวนนท์ เจ้าสัวซีพี ก้าวขึ้นมารั้งอันดับ 1 ด้วยทรัพย์สิน 15,200 ล้านดอลลาร์ (จากเดิม 14,900 ล้านดอลลาร์) อันดับ 75 ของโลก

ตามมาด้วยแชมป์เก่า เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าพ่อเบียร์ช้าง มีทรัพย์สิน 14,500 ล้านดอลลาร์ (จากเดิม 17,900 ล้านดอลลาร์) อันดับ 87 ของโลก ส่วน ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สิน 1,800 ล้านดอลลาร์ เท่าเดิม

ในปีนี้ยังปรากฏรายชื่อของบุคคลที่น่าสนใจ ได้แก่ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท มารดาของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่ก้าวขึ้นมาติดอันดับมหาเศรษฐีของไทย จากการประกาศของฟอร์บส์ในปี 2019 ด้วย โดยมีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ หลังจากไม่มีรายชื่อติดอันดับของปีก่อนหน้านี้

อันดับมหาเศรษฐีในไทยจากการจัดอันดับของฟอร์บส์ ประจำปี 2019

  1. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี/ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 15,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 75 ของโลก
  2. เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) มีทรัพย์สิน 14,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 87 ของโลก
  3. อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) มีทรัพย์สิน 5,900 ล้านดอลลาร์ อันดับ 290 ของโลก
  4. สุเมธ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,500 ล้านดอลาร์ อันดับ 424 ของโลก
  5. จรัญ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 436 ของโลก
  6. มนตรี เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 436 ของโลก
  7. สารัชถ์ รัตนาวะดี (ธุรกิจพลังงาน) มีทรัพย์สิน 4,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 436 ของโลก
  8. วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) มีทรัพย์สิน 3,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 667 ของโลก
  9. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (ธุรกิจโรงพยาบาล) มีทรัพย์สิน 3,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 667 ของโลก
  10. สมโภชน์ อาหุนัย (ธุรกิจพลังงาน) มีทรัพย์สิน 2,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 916 ของโลก
  11. ชูชาติ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ธุรกิจสินเชื่อจักรยานยนต์ เมืองไทยลีสซิ่ง) มีทรัพย์สิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 962 ของโลก
  12. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) มีทรัพย์สิน 2,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,057 ของโลก
  13. เกียรติ เจียรวนนท์ (ธุรกิจอาหาร) มีทรัพย์สิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,168 ของโลก
  14. ฮารัลด์ ลิงค์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,168 ของโลก
  15. ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ (สีทีโอเอ) มีทรัพยสิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,168 ของโลก
  16. วิลเลียม ไฮเน็ค (โรงแรม) มีทรัพย์สิน 1,900 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,227 ของโลก
  17. คีรี กาญจนพาสน์ (รถไฟฟ้าบีทีเอส) มีทรัพย์สิน 1,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,281 ของโลก
  18. ทักษิณ ชินวัตร (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,281 ของโลก
  19. วิชัย ทองแตง (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,281 ของโลก
  20. ประยุทธ มหากิจศิริ (เนสกาแฟ, ขนส่ง) มีทรัพย์สิน 1,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,425 ของโลก
  21. นิติ โอสถานุเคราะห์ (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,400 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,605 ของโลก
  22. ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) มีทรัพย์สิน 1,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,717 ของโลก
  23. มนัส เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,818 ของโลก
  24. ยุพา เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,818 ของโลก
  25. พงษ์เทพ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,818 ของโลก
  26. ประทีป เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,818 ของโลก
  27. สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ (ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,818 ของโลก 
  28. อนันต์ อัศวโภคิน (ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัย์) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,941 ของโลก
  29. ฤทธิ์ ธีระโกเมน (ธุรกิจร้านอาหาร) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,941 ของโลก
  30. ฉัตรชัย แก้วบุตตา (ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 2,057 ของโลก
  31. สุรินทร์ อุปพัทธกุล (โทรคมนาคม, ลอตเตอรี่, ประกันภัย) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 2,057 ของโลก

อันดับมหาเศรษฐีในไทยจากการจัดอันดับของฟอร์บส์ ประจำปี 2018

  1. เจริญ สิริวัฒนภักดี (เบียร์ช้าง) มีทรัพย์สิน 17,900 ล้านดอลลาร์ อันดับ 65 ของโลก
  2. ธนินท์ เจียรวนนท์ (ซีพี/ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 14,900 ล้านดอลลาร์ อันดับ 95 ของโลก
  3. วิชัย ศรีวัฒนประภา (คิง เพาเวอร์) มีทรัพย์สิน 5,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 388 ของโลก
  4. สุเมธ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,200 ล้านดอลาร์ อันดับ 514 ของโลก
  5. จรัญ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 527 ของโลก
  6. มนตรี เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 4,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 527 ของโลก
  7. สารัชถ์ รัตนาวะดี (ธุรกิจพลังงาน) มีทรัพย์สิน 3,600 ล้านดอลลาร์ อันดับ 629 ของโลก
  8. สมโภชน์ อาหุนัย (ธุรกิจพลังงาน) มีทรัพย์สิน 3,400 ล้านดอลลาร์ อันดับ 679 ของโลก
  9. วาณิช ไชยวรรณ (ไทยประกันชีวิต) มีทรัพย์สิน 3,300 ล้านดอลลาร์ อันดับ 703 ของโลก
  10. ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ (ธุรกิจโรงพยาบาล) มีทรัพย์สิน 3,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 791 ของโลก
  11. กฤตย์ รัตนรักษ์ (ช่อง 7) มีทรัพย์สิน 2,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 887 ของโลก
  12. วิลเลียม ไฮเน็ค (โรงแรม) มีทรัพย์สิน 2,100 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,157 ของโลก
  13. ฮารัลด์ ลิงค์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,215 ของโลก
  14. ชูชาติ-ดาวนภา เพชรอำไพ (ธุรกิจสินเชื่อจักรยานยนต์) มีทรัพย์สิน 2,000 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,215 ของโลก
  15. เกียรติ เจียรวนนท์ (ธุรกิจอาหาร) มีทรัพย์สิน 1,900 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,284 ของโลก
  16. ทักษิณ ชินวัตร (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,800 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,339 ของโลก
  17. ประยุทธ มหากิจศิริ (เนสกาแฟ, ขนส่ง) มีทรัพย์สิน 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,394 ของโลก
  18. วิชัย ทองแตง (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,700 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,394 ของโลก
  19. คีรี กาญจนพาสน์ (บีทีเอส) มีทรัพย์สิน 1,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,561 ของโลก
  20. ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ (พฤกษาเรียลเอสเตท) มีทรัพย์สิน 1,500 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,561 ของโลก
  21. พงษ์เทพ เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,867 ของโลก
  22. ฤทธิ์ ธีระโกเมน (ธุรกิจร้านอาหาร) มีทรัพย์สิน 1,200 ล้านดอลลาร์ อันดับ 1,867 ของโลก
  23. มนัส เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,999 ของโลก
  24. ยุพา เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,999 ของโลก
  25. ประทีป เจียรวนนท์ (ธุรกิจหลากหลาย) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,999 ของโลก
  26. ฉัตรชัย แก้วบุตตา (ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,999 ของโลก
  27. นิติ โอสถานุเคราะห์ (นักลงทุน) มีทรัพย์สิน 1,100 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 1,999 ของโลก
  28. พิชญ์ โพธารามิก (โทรคมนาคม) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 2,124 ของโลก
  29. เสถียร เศรษฐสิทธิ์ (คาราบาวแดง) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับที่ 2,124 ของโลก
  30. สุรินทร์ อุปพัทธกุล (โทรคมนาคม, ลอตเตอรี่, ประกันภัย) มีทรัพย์สิน 1,000 ล้านดอลลาร์ อันดับ 2,124 ของโลก

เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งแอมะซอนยังยึดอภิมหาเศรษฐีโลก

สำหรับอภิมหาเศรษฐีโลก เจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแอมะซอนยังคงครองบัลลังก์อภิมหาเศรษฐีหมายเลข 1 ของโลกต่อไป เหนือกว่า บิล เกตส์และวอร์เรน บัฟเฟตต์ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก

ในขณะที่อันดับส่วนใหญ่คงที่จากปีที่แล้ว แต่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ร่วงลง 3 อันดับ รั้งอันดับ 8 สวนทางกับ ไมเคิล บลูมเบิร์ก อดีตนายกเทศมนตรีนิวยอร์ก ที่ขยับขึ้นมา 2 อันดับ รั้งอันดับ 9 มีทรัพย์สิน 55,500 ล้านดอลลาร์ จากเดิมมีทรัพย์สิน 50,000 ล้านดอลลาร์

จากรายชื่อที่ประกาศโดยนิตยสารฟอร์บส์ เมื่อวันอังคาร (5 มี.ค.) อภิมหาเศรษฐีผู้มั่งคั่งที่สุดในโลกได้แก่ เบซอส วัย 55 ปี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นปีเดียว 19,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 131,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ เกตส์ วัย 63 ปี ที่มีทรัพย์สินทั้งสิ้น 96,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขี้นจากปีที่แล้ว 6,500 ล้านดอลลาร์

อันดับ 3 ตกเป็นของ บัฟเฟตต์ ที่ทรัพย์สินหดลง 1,500 ล้านดอลลาร์ เหลือ 82,500 ล้านดอลลาร์ จากพิษหุ้นของคราฟต์ ไฮนซ์ ธุรกิจแปรรูปอาหารยักษ์ใหญสัญชาติอเมริกัน ที่เขาถือหุ้นใหญ่ ดิ่งลงอย่างหนักในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์

บอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ซีอีโอของ LVMH บริษัทสินค้าหรูสัญชาติฝรั่งเศส ยังคงครองอันดับ 4 ด้วยทรัพย์สิน 76,000 ล้านดอลลาร์ ผิดกับ ซัคเคอร์เบิร์ก ที่ทรัพย์สินหดตัวลง 9,000 ล้านดอลลาร์ ทำให้หล่นจากอันดับ 5 สู่อันดับ 8 เหลือทรัพย์สิน 62,300 ล้านดอลลาร์

อีกหลายคนที่มีอันดับเหนือกว่า ซัคเคอร์เบิร์ก ก็คือ การ์ลอส สลิม มหาเศรษฐีชาวเม็กซิโก ซึ่งมีทรัพย์สิน 64,000 ล้านดอลลาร์ รั้งอันดับ 5, อามันซิโอ ออร์เตกา ผู้ก่อตั้งอินดิเท็กซ์จากสเปน มีทรัพย์สิน 62,700 ล้านดอลลาร์ อยู่อันดับ 6 และ แลร์รี เอลลิสัน ผู้ร่วมก่อตั้งออราเคิล หนึ่งในบริษัทซอฟต์แวร์ระบบฐานข้อมูลยักษ์ใหญ่ของโลก ตามมาเป็นอันดับ 7 มีทรัพย์สิน 62,500 ล้านดอลลาร์

ชาวอเมริกายังคงโด่ดเด่นในอันดับอภิมหาเศรษฐีโลก โดยบรรดาท็อป 20 มีอภิมหาเศรษฐีสหรัฐฯ ถึง 14 ราย

ในบรรดาอภิมหาเศรษฐีที่ไม่ใช่ชาวสหรัฐฯ ที่ติด 20 อันดับแรก ในนั้นรวมถึง มูเกช อัมบานี ชาวอินเดีย ประธานของรีไลแอนซ์ อินดัสทรีส์ รั้งอันดับ 13 ของโลก ด้วยทรัพย์สิน 50,000 ล้านดอลลาร์ และ หม่า ฮั่วเถิง ประธานเทนเซ็นต์ ยักษ์ใหญ่อินเทอร์เน็ตของจีน ซึ่งติดเข้ามาในอันดับที่ 20 พอดี ด้วยทรัพย์สิน 38,800 ล้านดอลลาร์

ฟอร์บส์ ประมาณการทรัพย์สินของ ทรัมป์ อยู่ที่ 3,100 ล้านดอลลาร์ เท่าเดิมจากปีที่แล้ว ขยับจากอันดับที่ 766 ของโลกเมื่อปีที่แล้ว ขึ้นมาอยู่อันดับ 715 ในปีนี้

ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9620000022549

]]>
1218102
50 มหาเศรษฐีไทย ตระกูลเจียรวนนท์ รั้งแชมป์ 9.37 แสนล้านบาท https://positioningmag.com/1168248 Thu, 03 May 2018 06:10:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1168248 นิตยสาร ฟอร์บส์ ได้ประกาศรายชื่อ 50 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2561 ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดของไทย มีทรัพย์สินรวมกันทะยานขึ้นเป็นกว่า 1.62 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (5.06 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นหนึ่งในสามจากปีที่แล้ว

โดยผู้ที่ติดทำเนียบ 50 บุคคลร่ำรวยที่สุดในประเทศไทย มีถึงสองในสามที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น เฉพาะสี่อันดับแรกมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นรวมกันเกือบ2.5 หมื่นล้านเหรียญ(7.81 แสนล้านบาท)

อันดับแรก เป็นของพี่น้องตระกูลเจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ที่ยังครองอันดับ 1 ต่อเนื่อง ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 3.0 หมื่นล้านเหรียญ (9.37 แสนล้านบาท) ด้วยแรงหนุนจากราคาหุ้นของบริษัทในเครือ อย่าง บมจ.ซีพี ออลล์ ซึ่งเป็นบริษัทบริหารร้านค้าสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่ได้อานิสงส์จากบรรยากาศการบริโภคที่สดใส และบริษัทประกันภัย Ping An ที่ได้อานิสงส์จากการลงทุนในธุรกิจฟินเทค

อันดับที่สอง ตระกูลจิราธิวัฒน์ แห่งกลุ่มเซ็นทรัล มาพร้อมทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นแตะ 2.12 หมื่นล้านเหรียญ (6.62 แสนล้านบาท) จาก 1.53 หมื่นล้านเหรียญ ในปีที่ผ่านมา

อันดับ 3 เฉลิม อยู่วิทยา แห่งกระทิงแดง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น8.5 พันล้านเหรียญ เป็น 2.1 หมื่นล้านเหรียญ (6.56 แสนล้านบาท)

อันดับ 4 เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ มีทรัพย์สินเพิ่มจากปีที่ผ่านมา 2 พันล้านเหรียญ รวมเป็นมูลค่าทรัพย์สิน 1.74 หมื่นล้านเหรียญ (5.43 แสนล้านบาท)

*** Aloke Lohia อินโดรามารวยพุ่ง

Aloke Lohia (อันดับ 9) เป็นมหาเศรษฐีอีกหนึ่งท่านที่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมาก  ทรัพย์สินของเขาทะยานแตะ 3.3 พันล้านเหรียญ (1.03แสนล้านบาท) พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 89การบรรลุข้อตกลงที่สำคัญนับตั้งแต่ปี 2557ของเขาทำให้ บมจ.อินโดรามา เวนเจอร์สเข้าเป็นเจ้าของกิจการ 16 แห่งทั่วโลก ซึ่งรวมถึงกิจการในยุโรปและอเมริกาเหนือในปี 2560 บริษัทรายงานตัวเลขรายได้ 8.4 พันล้านเหรียญเติบโตอย่างก้าวกระโดดถึงร้อยละ 17

*** กัลฟ์-ทีโอเอ ติดอันดับมหาเศรษฐีใหม่

สิ่งสะท้อนความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นคือปีนี้มีถึง 32 อันดับที่มีทรัพย์สินระดับพันล้านเหรียญขึ้นไป เพิ่มจากปี 2560 สี่อันดับ

โดยสองในนี้เป็นมหาเศรษฐีใหม่ที่เพิ่งเข้าอันดับเป็นครั้งแรกหลังพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ สารัชถ์ รัตนาวะดี (อันดับ 7) ซีอีโอแห่ง บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งเข้าตลาดเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้เขากลายเป็นมหาเศรษฐีหน้าใหม่ที่ร่ำรวยที่สุดด้วยทรัพย์สินมูลค่า 3.4 พันล้านเหรียญ (1.06แสนล้านบาท) และอีกหนึ่งคือประจักษ์ ตั้งคารวคุณ เจ้าของสีทีโอเอ (อันดับ 14)เข้าทำเนียบมาเป็นปีแรกด้วยทรัพย์สินสุทธิ 2.1 พันล้านเหรียญ(6.56 หมื่นล้านบาท)

***บิวตี้-ดู เดย์ ดรีมรวยด้วยความงาม

อีกสองมหาเศรษฐีหน้าใหม่ประจำทำเนียบมาจากธุรกิจความสวยความงามที่กำลังเฟื่องฟู ได้แก่ นพ.สุวินและธัญญาภรณ์ ไกรภูเบศ (อันดับ 40) แห่งบิวตี้ คอมมูนิตี้ โดยทั้งคู่มีทรัพย์สินรวมกัน 715 ล้านเหรียญ (2.23หมื่นล้านบาท) และสราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ (อันดับ 45) กับมูลค่าทรัพย์สิน 675 ล้านเหรียญ (2.11 หมื่นล้านบาท) ดู เดย์ ดรีม ของเขาทำรายได้อย่างงามจากกระแสคลั่งไคล้ผิวขาว

***สมพรจึงรุ่งเรืองกิจ กลับมาติดอันดับ

ในบรรดามหาเศรษฐีนี 9 คนที่เข้าสู่ทำเนียบในปีนี้สองคนเป็นผู้ที่กลับเข้าสู่อันดับอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งรวมถึง สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ (อันดับ 28) ประธานกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ด้วยทรัพย์สิน 1.3 พันล้านเหรียญ (4.06หมื่นล้านบาท)

ด้าน Nishita Shah Federbush (อันดับ 32, 1.06 พันล้านเหรียญ) ทายาทธุรกิจขนส่งทางทะเลผู้กุมบังเหียนจีพี กรุ๊ป เป็นหนึ่งในมหาเศรษฐีนีที่โดดเด่นด้วยมูลค่าทรัพย์สินของตระกูลมีมูลค่าเกิน1 พันล้านเหรียญเป็นครั้งแรกโดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากการเข้าถือหุ้นร้อยละ 51 ในบมจ. เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ บริษัทยาและผลิตภัณฑ์บำรุงสุขภาพที่ Kirit พ่อของเธอเป็นผู้ก่อตั้งในปี 2525

จากการกำหนดทรัพย์สินสุทธิขั้นต่ำของผู้ที่ได้รับการจัดอันดับที่ 600 ล้านเหรียญ ทำให้มีมหาเศรษฐีเจ็ดคนหลุดจากทำเนียบ 50 อภิมหาเศรษฐีไทยไปในปีนี้ รวมทั้งภวัฒน์ วิทูรปกรณ์ บมจ.อีสเทิร์นโพลีเมอร์ของเขาทำรายได้และผลกำไรลดลงจากอุปสงค์ที่อ่อนแรงและราคาวัตถุดิบที่ถีบตัวสูงขึ้น

การจัดอันดับในทำเนียบฯ ใช้ข้อมูลทางการเงินและการถือครองหุ้นที่ได้รับจากครอบครัวและผู้ที่ได้รับการจัดอันดับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ นักวิเคราะห์ และหน่วยงานกำกับดูแล รวมถึงทรัพย์สินของครอบครัวและทรัพย์สินที่ถือครองโดยสมาชิกครอบครัวในหลายรุ่น ทั้งนี้มูลค่าทรัพย์สินในบริษัทมหาชนคำนวณจากราคาหุ้น และอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 20เมษายน ส่วนทรัพย์สินในบริษัทที่ถือครองส่วนตัวประเมินค่าโดยเปรียบเทียบกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเดียวกันที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

]]>
1168248