ยุคดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Aug 2019 03:28:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผลสำรวจชี้ “คนทำงานรุ่นใหม่” มองการทำงานต้องยืดหยุ่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตแบบครบวงจร https://positioningmag.com/1243357 Thu, 22 Aug 2019 06:05:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243357 จากกระแสเทรนด์พฤติกรรมของมนุษย์เงินเดือนหรือคนทำงานรุ่นใหม่ ในสังคมยุคปัจจุบัน แมนพาวเวอร์กรุ๊ปจึงร่วมกับหน่วยงานด้านทรัพยากรมนุษย์กว่า 80 ประเทศทั่วโลกและแรงงานในทุกระดับหลายล้านคน ศึกษาความต้องการของพฤติกรรมของทรัพยากรบุคคลในสังคมปัจจุบันหรือเรียกได้ว่าสังคมยุคดิจิทัลต่อการทำงานของคนรุ่นใหม่ในยุค 4.0

โดยเฉพาะได้ศึกษาพฤติกรรมของทรัพยากรบุคคลในประเทศไทย เพื่อหวังให้องค์กรหรือหน่วยงานได้ปรับเปลี่ยนเข้าถึงพฤติกรรมความต้องการของคนในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น GEN M ผู้ที่เกิดในช่วงอายุ 21 – 38 ปี หรือ GEN X ผู้ที่เกิดในช่วงอายุ 39 – 53 ปี และยังเจาะลึกไปที่ระดับการศึกษาที่ปริญญาตรี 54% และปริญญาโท 33% อื่น 13%

จากพฤติกรรมแนวคิดของกลุ่มคนยุคดิจิทัลต่อการทำงานในสังคมยุค 4.0 นั้น เสียงสะท้อนส่วนใหญ่ต้องการการทำงานในองค์กรที่มีความยืดหยุ่น ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน จะเห็นได้จากพฤติกรรมการทำงานของคนในสังคมปัจจุบันที่ต้องการทำหลาย อย่างในเวลาเดียวกัน ทั้งการทำงานประจำ ประกอบอาชีพเสริม การพักผ่อน การท่องเที่ยวและการออกกำลังกาย โดยเฉพาะพฤติกรรมของคนทำงานในสังคมเมือง

ดังนั้น แมนพาวเวอร์กรุ๊ป จึงได้ทำการสำรวจถึงความต้องการของกลุ่มคนทำงานในช่วง GEN M และ GEN X ที่ตอบสนองในชีวิตสังคมเมืองมากที่สุด ในบริบทการเข้าถึงไลฟ์สไตล์ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในสังคมยุคดิจิทัลทั้งทางด้านการทำงานตลอดจนส่งผลต่อพฤติกรรมในช่วงเวลาว่างของคนกลุ่มนี้

พฤติกรรมเวลาว่างกับการใช้ชีวิตแบบสมาร์ทดีไวซ์ หรือที่เรียกได้ว่าท่องโลกออนไลน์แบบครบวงจร ซึ่งจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในสังคมไทยในปัจจุบันปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์กระแสโลกแห่งเทคโนโลยี ทั้งการหารายได้ แหล่งช้อปปิ้ง รับประทานอาหาร การเดินทาง การติดต่อสื่อสาร ล้วนแต่ปรับให้พฤติกรรมของคนยุคนี้ไปอยู่บนแพลตฟอร์มของสมาร์ทดีไวซ์ไปเป็นอย่างมาก ดังนั้น องค์กร หรือ หน่วยงานต้องทันต่อพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน การสั่งงานให้ง่าย เข้าถึงพฤติกรรม เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพด้วย

พฤติกรรมเทรนด์การออกกำลังกาย จะเห็นได้จากบางองค์กรเริ่มมีการปรับเข้าหาบุคลากรในองค์กรโดยเฉพาะองค์กรในระดับกลางและองค์กรขนาดใหญ่ที่เริ่มให้ความสำคัญในพฤติกรรมของบุคลากรในด้านการออกกำลังกาย ซึ่งผู้บริหารต้องการเข้าถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและบุคลากรในองค์กรให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดี

โดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้ทำการสำรวจถึงความคิดเห็นของกลุ่มคนใน 2 กลุ่มดังกล่าว GEN M และ GEN X เสียงสะท้อนคือ พวกเขาเหล่านี้ต้องการองค์กรที่ให้ความสำคัญในด้านความรู้สึกให้ความใส่ใจในบุคลากร และหากองค์กรให้ความสำคัญในด้านกีฬาถือเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ในการใช้ชีวิต โดยผลสำรวจที่ได้รับคือกีฬาที่ต้องการให้องค์กรมีส่วนร่วมและพฤติกรรมส่วนตัวที่ชื่นชอบคือเดินวิ่ง 66%, แบดมินตัน 44%, ปั่นจักรยาน 42%, ฟุตบอล 17%บาสเกตบอล 11% และอื่นๆ 10%

พฤติกรรมด้านความบันเทิง จากการสอบถามกลุ่ม GEN M และ GEN X กิจกรรมด้านความบันเทิงเสมือนเป็นการผ่อนคลายของบุคลากรในองค์กร และยังเป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับบุคลากรในการทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งที่ผ่านมาบางองค์กรยังเอากิจกรรมเหล่านี้ส่งต่อไปถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในองค์กรและกลุ่มลูกค้าเช่น การทำ CRM (Customer Relationship Management) ร่วมกัน จากผลสำรวจกิจกรรมบันเทิงที่กลุ่มคนเหล่านี้ชื่นชอบคือ การชมภาพยนตร์ 89%, ร้องเพลงคาราโอเกะ 37%, การชมคอนเสิร์ต 35%, การชมละครเวที 15%, อื่น 10%

ทางด้านพฤติกรรมในส่วนของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ GEN M และ GEN X ชื่นชอบ จะเห็นได้ว่าสะท้อนมาจากพฤติกรรมองค์รวมของเทรนด์สังคมในด้านเทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เข้าถึงการสื่อสารได้อย่างขีดสุด จะเห็นได้จากผลสำรวจส่วนใหญ่ตอบว่า ชอบท่องอินเทอร์เน็ตกว่า 87% ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Google, Facebook, IG และ Twitter แต่ยังมีอีกกลุ่มที่ยังคงพฤติกรรมด้านการอ่านหนังสือถึง 64% และต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต้องการเข้าอบรมคอร์สต่างๆ 39% ตามลำดับ

จากพฤติกรรมของกลุ่มคนในสังคมยุคดิจิทัลหรือคนทำงานในยุค 4.0 ที่มีการปรับเปลี่ยนไป และส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงาน ที่ต้องการทำงานที่มั่นคง มีรายได้ที่แน่นอน ต้องการใช้ชีวิตที่เป็นตัวของตัวเอง ตอบโจทย์ในไลฟ์สไตล์ของคนในสังคมปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดต้องมีความยืดหยุ่น ปรับเข้าได้กับพฤติกรรมในสังคมเมือง สังคมปัจจุบัน สังคมแห่งเทคโนโลยี

จะเห็นได้จาก การใช้เวลาว่างของคนกลุ่มนี้ที่มักท่องโลกออนไลน์ หากิจกรรมที่ชื่นชอบ มักทำงานและเก็บวันเวลาว่างทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ อาทิ กิจกรรมท่องเที่ยวภายในประเทศและต่างประเทศ กิจกรรมช่วงวันว่าง รับประทานอาหาร ช้อปเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ตลอดจนสถานที่ที่ไป ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต คอมมูนิตี้มอลล์ หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 

ถึงเวลาที่องค์กรหรือหน่วยงานอาจต้องศึกษาเรียนรู้กับทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือ HR ในการปรับเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับกระแสเทรนด์พฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบัน สังคมในยุคที่ความคิดเปลี่ยน และเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวัน

อย่างไรก็ตาม การศึกษาพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของกลุ่มคนแรงงานยุคใหม่ท่ามกลางดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น คือ เสียงสะท้อนให้เห็นไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงต้องผนวกควบคู่การทำงานในกลไกหลักขององค์กรคือทรัพยากรบุคคลซึ่ง มนุษย์หรือ แรงงานคือ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และทรัพยากรบุคคล คือ มดงานที่นำพาองค์กรไปถึงเส้นชัยในอนาคต.

]]>
1243357
เตรียมเผาจริง! อีก 3 ปี 25% ครัวเรือนอเมริกันจะเลิกดูทีวี จากปีนี้ที่เลิกดูไปแล้ว 19% https://positioningmag.com/1241609 Wed, 07 Aug 2019 10:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1241609 เปิดสถิติตอกย้ำ “traditional TV” กำลังลาจากโลกไป โดยเฉพาะในตลาดอเมริกันที่พบว่าเกือบ 25% ของครัวเรือนอเมริกันจะเลิกชมทีวีแบบดั้งเดิมภายในปี 2022 ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ที่เลิกชมไปแล้ว 19% สถานการณ์นี้ไม่ได้แปลว่าคนทีวี” จะตายตามไปด้วย เพราะส่วนใหญ่หาทางรอดได้ในยุคดิจิทัล

ที่ผ่านมา ชาวอเมริกันเลิกชมรายการทีวีผ่านสายเคเบิลมากขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรม Cord cutting ที่หลายคนรู้จักกันดี การสำรวจล่าสุดของบริษัทวิจัย eMarketer พบว่าเทรนด์ Cord cutting ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และจะหนักข้อขึ้นจนทำให้ครัวเรือนอเมริกันราว 1 ใน 4 เลิกชมทีวีผ่านสายเคเบิลภายในปี 2022

การเลิกชมที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้ที่พลเมืองชาว Cord cutting คิดเป็นประมาณ 19% ของครัวเรือนอเมริกัน ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้อุตสาหกรรมทีวีเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในแง่ของโมเดลธุรกิจและการหากำไรจากผู้ชม

ตายเพราะหลายปัจจัย

Eric Haggstrom นักวิเคราะห์ของ eMarketer อธิบายสถานการณ์ธุรกิจทีวีในสหรัฐฯ ว่าในขณะที่ต้นทุนการสร้างโปรแกรมรายการทีวียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการทีวีเคเบิล ทีวีดาวเทียม และกลุ่มเทลโคหลายรายเริ่มพบว่าการทำกำไรจากบริการสมัครสมาชิกรับชมทีวีนั้นเป็นเรื่องยากขึ้น ทางออกที่คนกลุ่มนี้เลือกจึงเป็นการขยับขึ้นราคา ทำให้หลายค่ายสูญเสียผู้ชมไปโดยไม่อาจรักษาลูกค้าไว้ เพราะข้อเสนอไม่คุ้มค่าโดนใจพอ

การสำรวจพบว่าในปีนี้ ประมาณ 19% ของครัวเรือนอเมริกันเลิกบอกรับเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมดั้งเดิม แล้วเทไปหาบริการทางเลือก เช่น Netflix, Hulu และ Amazon Prime ซึ่งนำเสนอเนื้อหาจำนวนมากในราคาที่ต่ำกว่า ถือเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้สมาชิกทีวีลดลงชัดเจน

Haggstrom เสริมว่าทันทีที่การรับชมและจำนวนครัวเรือนที่เป็นสมาชิกบริการทีวีลดลง เครือข่ายทีวีจะต้องขายโฆษณาในราคาที่สูงขึ้นเพื่อรองรับการสูญเสียฐานสมาชิกไป สถานการณ์นี้ทำให้ทุกอย่างยากขึ้นต่อเนื่อง ผลคือเครือข่ายทีวีแบบดั้งเดิมเช่น Disney และ NBCU หันมาลุยธุรกิจดิจิทัลโดยตรงถึงผู้บริโภค (direct-to-consumer digital offering) เพื่อชดเชยกับฐานผู้ชมที่หายไป

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์นี้ไม่ได้แปลว่าผู้ให้บริการโทรทัศน์จะล้มหายตายไป เพราะ Haggstrom ตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทเคเบิลทีวีหรือทีวีดาวเทียมหลายรายยังให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงคู่ไปกับการพ่วงดีลแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งหากไม่มีการพ่วงบริการทีวี บริษัทเหล่านี้สามารถชาร์จเงินจากลูกค้าในราคาที่สูงขึ้นเป็นค่าอินเทอร์เน็ต และปรับปรุงกำไรของตัวเองได้

ฟังแล้วคุ้นตา เพราะมองคล้ายกับโมเดลที่แบรนด์ไทยอย่าง True Visions ทำอยู่.

Source 

]]>
1241609
กดปุ่ม หมุนคลื่น เจาะที่มาทำไม “วิทยุ” ถึงไม่ตาย https://positioningmag.com/1236907 Mon, 01 Jul 2019 02:19:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236907 เมื่อกำลังซื้อไม่คงที่ ยอดขายสินค้าลดลง สิ่งที่แบรนด์จะทำจึงเป็นการปรับลดต้นทุน ซึ่งเป้าหมายแรกถูกมุ่งไปที่ลดงบโฆษณาเพราะทำได้ทันที ทำให้หลายปีมานี้ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาอยู่ในภาวะ “ทรงๆ ทรุดๆ” มาตลอด ขณะเดียวกันยุคดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟูทำให้เงินเทไปยังสื่อชนิดใหม่มากขึ้น ด้วยแบรนด์มองว่าผู้บริโภคอยู่ที่ไหนก็ต้องตามไปหาที่นั้น

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สื่อดั้งเดิมพลอยได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากจะถามว่าสื่อไหนที่วิกฤตมากที่สุดคงไม่พ้นสิ่งพิมพ์รองลงมาก็ไม่ต้องเดาให้ยุ่งยากวิทยุนั้นเอง ข้อมูลจากนีลเส็นพบว่า ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าปี 2018 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 4,802 ล้านบาท ก็ตาม

แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 สถานการณ์ก็ใช่ว่าจะดีขึ้น ภาพรวมงบโฆษณาลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท จึงไม่ต้องแปลกใจหากช่วงที่ผ่านมาหลายคลื่นจะทยอยหายไปจากหน้าปัด บ้างก็ผันตัวเองไปเป็นคลื่นออนไลน์ก็มี

อ่านต่ออยู่ดีๆ ก็หาย หมุนหาคลื่นไม่เจอ “Get 102.5” ถูกยุบแบบไม่บอกกล่าว

ถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักจะลดลง แต่บรรดาคลื่นวิทยุต่างก็เชื่อว่าวิทยุไม่มีวันตายด้วยยังมีเสน่ห์ที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งคนยังฟังวิทยุอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางเฉยๆ จากเครื่องรับวิทยุไปอยู่ในรูปแบบอื่น

ยืนยันด้วยข้อมูลจาก สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทชได้ออกรายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทย ประจําเดือนพฤษภาคม 2019 พบว่า

Source : Pixabay/3910743

จํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็มจํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบมีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,211,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (เมษายน 2019) ประมาณ 125,000 คน

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านถึง 52.18% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 40.45% ในที่ทํางาน 7.08% และอื่นๆ 0.29% นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 72.18% ตามมาด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 26.37% และคอมพิวเตอร์ 1.42% อื่นๆ 0.03%

แต่อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น ที่ผ่านมารายที่อยู่รอดก็ต้องปรับตัวกันยกใหญ่อย่างเอไทม์” ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาแกรมมี่ ก็ออกมาระบุกลยุทธ์ในปี 2019 ต้องเป็นมากกว่าวิทยุ โดยจะนำรายการยอดฮิตที่อยู่จากหน้าปัด 3 คลื่นนำไปต่อยอดสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ

อ่านต่อถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล

จากฝั่งอโศกข้ามมาฝั่งลาดพร้าว แม้ภาพใหญ่ของอาร์เอสจะไดเวอร์ซิฟายตัวเองจากธุรกิจสื่อ ไปสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ธุรกิจวิทยุเองอย่างคลื่นคูลฟาเรนไฮต์ก็ทำอยู่ไม่ได้ทิ้งไปไหน หากก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ที่ผ่านมา ปริญญ์ หมื่นสุกแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ระบุว่า คูลฟาเรนไฮต์ใช้กลยุทธ์ Living Young & Beyond ผ่านการวิเคราะห์ถึง Data ของผู้ฟังเหล่านั้นว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มาช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นตัวเลขของคนที่ฟังจริงๆ มีตัวตนจริงๆ จับต้องได้

ไม่ใช่ตัวเลขที่ไม่รู่ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้สามารถเสิร์ฟความบันเทิงได้ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟังไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ในปี 2019 มีผู้ฟังผ่านระบบออนไลน์เดือนละ 49 ล้านครั้ง รับฟังผ่านเว็บไซด์สูงสุด 35 ล้านครั้ง รองลงมาเป็นการรับฟังผ่านระบบ iOS อีกกว่า 11 ล้านครั้งและระบบ Android 3 ล้านครั้ง มีผู้ฟังเฉลี่ยวันละ 1.62 แสนคน ใช้เวลาฟัง 3:40 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน

และผู้ฟังผ่านระบบ iOS ฟังต่อเนื่องนานมากที่สุดถึง 4:24 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ตลอด 1 เดือน คูลฟาเรนไฮต์สามารถเข้าถึงผู้ฟังมากกว่า 1 พันล้านนาทีทุบสถิติการเข้าถึงผู้ฟังสูงสุด

ซึ่งจากการจัดอันดับของ www.shoutcast.com เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานีวิทยุออนไลน์กว่า 90,000 สถานีทั่วโลก พบคูลฟาเรนไฮต์คว้าแชมป์สถานีวิทยุออนไลน์ streaming อันดับ 1 ของเอเชียปี 2018 และ 2019

Basic RGB

นอกจากนี้คูลฟาเรนไฮต์ยังครองแชมป์อันดับ 1 สถานีวิทยุในเมืองไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ครองใจกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะกลุ่ม GEN C ที่มีอายุระหว่าง 20-44 ปี และกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ กลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงเวลาที่มีผู้ฟังมากที่สุดในแต่ละวันคือ ช่วงออฟฟิศอาวร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 .

ในปี 2019 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม เติบโตกว่า 30% และมีส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจวิทยุกว่า 50% จากข้อมูลของนีลเส็น มีเดียรีเสิร์ช

รายได้และกำไร บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด

  • ปี 2557 รายได้ 454 ล้านบาท กำไร 159 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 461 ล้านบาท กำไร 183 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 342 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 32 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3 นี้ คูลฟาเรนไฮต์คอนเสิร์ตใหญ่ “COOLfahrenheit presents Raptor Evolution #25ปีไม่มีเกรงใจเอาใจคนที่เติบโตมาในยุค 90 โดยใช้งบกว่า 30 ล้านบาท

]]>
1236907
ถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1235003 Mon, 17 Jun 2019 13:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235003 ปักหลักอยู่ในแวดวงวิทยุมากกว่า 30 ปี สำหรับเอไทม์ท่ามกลางคลื่นลมอันผันผวนที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาติดตัวแดงมากกว่าตัวเขียว” 10 ปีมานี้ข้อมูลจากนีลเส็นระบุว่า ตัวเลขเงินหายไปกว่า 1,300 ล้านบาท ทำให้ข่าวที่ได้รับอยู่เนื่องๆ จึงเป็นการปิดคลื่นมากกว่าจะเปิดใหม่ หรือไม่งั้นก็หันไปลุยออนไลน์เต็มตัว เพราะผู้บริโภคเทไปทางนั้นหมดแล้ว

ยิ่งงบโฆษณาในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 ลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท แต่เอไทม์ บอกว่าตัวเองนั้นอยู่ในระดับทรงตัวมีการเติบโตอยู่บ้าง อย่างปีที่ผ่านมารายได้รวม 700 ล้านบาท เติบโตราว 10% มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 27.5% จากภาพรวมตลาดที่มี 10 กว่าคลื่นซึ่งเป็นรายใหญ่ๆ ทั้งนั้น

สมโรจน์ วสุพงศ์โสธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจะกำลังเติบโต แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าคนไม่ฟังวิทยุกันเลย ยังมีคนฟังอยู่เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการฟังจากเครื่องรับไปสู่รูปแบบอื่นๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน

เสน่ห์ของวิทยุที่สตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งวันนี้สิ่งที่เราพบคือกว่า 50% ของการฟังคลื่นมาจากสมาร์ทโฟน ซึ่งมีอัตราการฟังเฉลี่ย 52 นาทีต่อวัน มากกว่าปีก่อนที่อยู่ราว 48 นาทีต่อวันเท่านั้น

ที่ผ่านมาเอไทม์ มีการเตรียมตัวสำหรับเรื่องออนไลน์มาไม่แล้วนับ 10 ปี โดยวันนี้ผ่านจุด Disruption และ Transformation ไป 2-3 ปีแล้ว ซึ่งในส่วนของออนไลน์ได้เริ่มจริงจังตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าการตอบรับเป็นไปได้ดีหากนับทั้ง 3 คลื่นที่มีอยู่มีคนฟังสะสม 16 ล้าน User ต่อเดือน

รายการที่ประสบความสำเร็จก็เช่นพุธทอล์คพุธโทร มียอดฟังสะสม 7 ล้านครั้ง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 5 แสนครั้ง โดยรายการนี้มีอายุ 4 ปี หรือจันทร์ช็อคโลกยอดฟังสะสม 5 ล้านครั้ง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 8 แสนครั้ง ส่วนแอปพลิเคชั่นมียอด Downloads 5.5 ล้านครั้ง

วันนี้เอไทม์ ระบุว่าตัวเองนั้นไม่ได้อยู่เป็นวิทยุอย่างเดียว แต่เป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ซึ่งธุรกิจได้แตกออกเป็น 6 ขา ทั้งวิทยุจำนวน 3 คลื่นซึ่งทำรายได้กว่า 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากทั้งแอปพลิเคชั่น ออนไลน์ คอนเทนต์ออนไลน์ โชว์บิซ และการจัดกิจกรรมต่างๆ

โดยสเต็ปต่อไปที่จะทำคือโมเดลธุรกิจ “A-Time Media Solutions 360 องศาที่เป็นมากกว่าวิทยุโดยจะทำคอนเทนต์ที่จากวิทยุ ขยับไปสู่ช่องทางต่างๆ ให้มากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 3 คลื่นต่างมีจุดแข็งของตัวเองทั้งนั้น อย่างกรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็มกลุ่มผู้ฟังต้องการความสนุกไปพร้อมกับสาระบันเทิง ชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมและการกุศล

ส่วนอีเอฟเอ็ม 94” เป็นเรื่องของความสนุก มุกขำขัน เปิดเพลงทุกแนว และชิล ออนไลน์คนฟังชอบเปิดเอาไว้เป็นเพื่อนทำงาน นอกจากเพลงแล้วดีเจก็จะพูดคุยเรื่องกิน เที่ยวด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นไปอยู่บนหน้าจอทีวีซึ่งอย่างที่รู้กัน เป็นเซ็กเมนต์ที่ครองงบโฆษณามากกว่า 50% เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับลูกค้าที่จะมาลงโฆษณา ด้วยการเปิดโฆษณาคั่น หรือ Tie-in สินค้าไม่เพียงพอที่จะสร้างความต่างอีกต่อไป ซึ่งอย่างที่รู้กันเรตโฆษณาไม่สามารถเพิ่มได้ จึงต้องปรับแพ็กไปรวมกับการทำอย่างอื่นมากขึ้น เพื่อสร้างความคุ้มค่า

ที่ผ่านมาการต่อยอดไปสู่ทีวีมีบ้างแล้ว เช่นรายการแฉที่ทำมานานกว่า 10 ปี ได้ถูกนำไปทำเป็นรายการ โดยรายการที่มีแนวโน้มขยายคือ พุธทอล์คพุธโทรวางแผนจะนำไปผลิตซีรีส์เบื้องต้นลงไปลงในออนไลน์ก่อน โดยจะลงทุนผลิตเอง หรือรายการอังคารคลุมโปง” เกี่ยวกับการเล่าเรื่องสยองขวัญต่างๆ ก็มีแนวโน้วที่จะหยับมาทำ

ส่วนรายการทอล์คปีหน้าเตรียมเพิ่มรายการอีก โดยหลักของการเลือกว่าจะทำรายการแนวไหน จะมาจากแนวโน้มของของผู้ชม แล้วค่อยเลือกดีเจมาทำหน้าที่ ขณะเดียวกันตัว “ดีเจ” ทั้งหมด 20 กว่าคน นอกจากจัดรายการแล้วก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ให้กับสินค้าได้ด้วย

เร็วๆ นี้เตรียมค้นหาดีเจหน้าใหม่ที่ไม่ได้จัดแค่รายการ แต่ยังต้องรองเพลงหรือเล่นละครได้ด้วย เพื่อซัพพอร์ตสิ่งที่กำลังจะตามมาในอนาคต

นอกจากนั้นแล้วยังมีการเพิ่มโมเดลใหม่ๆ ในการหารายได้เช่นการทำ “วิทยุช้อปปิ้ง” ซึ่งได้ทดลองแล้วกับ “โอช้อปปิ้ง” สิ่งที่พบคือแม้ยอดขายจะน้อยกว่า 50% แต่ทั้งคู่มองว่าจะยังมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่จะมาทดแทนในสิ่งที่ทีวีทำไม่ได้

]]>
1235003
“ดาต้า” กลยุทธ์เจาะลูกค้า ตัดสินธุรกิจ “แพ้-ชนะ” https://positioningmag.com/1220142 Sun, 17 Mar 2019 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220142 ในยุคดิจิทัล “คู่แข่ง” ธุรกิจมาจากทุกทิศทางและสนามการแข่งขันในโลกออนไลน์เปิดกว้างสำหรับทุกราย ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก หรือโกลบอลแบรนด์ วันนี้ใครเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วกว่า แม่นยำกว่า จึงเป็น “ผู้ชนะ” และหากต้องอยู่ในฝั่ง “ผู้แพ้” อาจไม่มีที่ยืน 

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของธุรกิจที่เห็นได้ชัดเจน เกิดจากการนำเทคโนโลยีข้ามาใช้งาน ทั้งการพัฒนาสินค้า กลยุทธ์การตลาด การเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถและประสิทธิภาพการทำรายได้และกำไรของธุรกิจอย่างชัดเจน

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

เดิมการทำธุรกิจของ ร้านค้าออฟไลน์ ประสิทธิภาพการขายจะต้องอาศัยความเก่งของพนักงาน ในการจดจำลูกค้าและสินค้า ทักษะที่เก่งมากขึ้นอีกขั้น ก็อาจรู้ว่าลูกค้าคนไหน ชอบสไตล์ไหน ความเก่งของพนักงานขายเกิดขึ้นจากการสะสมความรู้ข้อมูลและประสบการณ์ ดังนั้นร้านที่มีพนักงานขายเก่ง ก็จะมียอดขายมากขึ้น

แต่ในยุคดิจิทัลการซื้อขายสินค้าเปลี่ยนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทักษะการขายมาจากเทคโนโลยีที่มีการวิเคราะห์ “ดาต้า” ซึ่งเรียนรู้จากพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภค ความสามารถของเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ คือจำลูกค้าได้ แม้คลิกเข้ามาเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังจดจำสินค้าได้ทุกไอเท็ม

“เรียกว่าเทคโนโลยีสามารถรู้จักลูกค้าเป็นล้านคน รู้จักสินค้าเป็นแสนเป็นล้านไอเท็ม ที่สำคัญรู้ว่าแพทเทิร์นการดูและซื้อสินค้าของลูกค้า จึงเลือกแสดงสินค้าที่ตรงกับความชอบได้อย่างแม่นยำ”

Cr.pixabay

ขณะที่การจัดโปรโมชั่นของร้านค้าออฟไลน์ ทุกคนจะเห็นสินค้าและโปรโมชั่นเดียวกันหมด แต่อีคอมเมิร์ซสามารถจัดโปรโมชั่นได้แบบรายบุคคลตามความสนใจ จากการใช้ดาต้ามาวิเคราะห์ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสามารถในการดูแลลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการเหลือเพียงต้นทุนผลิตสินค้าและเทคโนโลยีที่เข้าถึงลูกค้า ที่เหลือคือกำไร ดังนั้นใครทำได้เก่งกว่า หรือบริหารงบประมาณได้ดีกว่าก็จะมี “กำไร” มากกว่า

“ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและดาต้า คนชนะก็จะยิ่งชนะมากขึ้น คนแพ้ก็จะแพ้หนักขึ้น ช่องว่างระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้จะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ และหากอยู่ในฝั่งผู้แพ้แล้ว จะไม่แพ้แบบนิดหน่อย แต่จะแพ้แบบหมดรูปถึงขั้นปิดกิจการ”  

สูตรลับแพ้-ชนะที่ “ดาต้า”  

Cr.pixabay

ในยุคนี้ “ดาต้าและเทคโนโลยี” ทำให้เกิด “สูตรสำเร็จ” หรือ “สูตรลับ” ที่ทำให้ธุรกิจสามารถชนะกันได้แบบขาดลอย เพราะคนที่มีดาต้าจำนวนมาก หากพบว่ามีลูกค้าอยู่เซ็กเมนต์หนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มมีจำนวนมากพอในการทำตลาด แต่คู่แข่งมองไม่เห็น เพราะมี “ดาต้า” ไม่เท่ากัน

คนที่มีดาต้ามากกว่า จึงเข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ นำเสนอกลยุทธ์เจาะลูกค้าได้แม่นยำ และทำให้ขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น มีกำไรมากขึ้น ท้ายที่สุดก็จะมีเงินมาทำการตลาดได้มากกว่าคู่แข่ง การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะเทคโนโลยีถูกลงและบางเครื่องมือเปิดให้ใช้ฟรี

ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ไม่ได้มองเรื่องการใช้เทคโนโลยีและดาต้า เมื่อสินค้าขายได้ลดลง มักสรุปเองว่ามาจากปัจจัยเศรษฐกิจถดถอย แต่ที่จริงแล้วลูกค้าอาจไปอยู่ในมือคู่แข่งแล้ว จากการใช้ดาต้าที่เข้าถึงและเสนอสินค้าได้ตรงกับความต้องการ หรือบางรายอาจเห็นถึงความสำคัญของการใช้ดาต้าและเทคโนโลยีแล้วแต่ปรับตัวไม่ทัน

ในอดีตการแพ้ชนะของธุรกิจอาจขึ้นอยู่กับการยึดครอง “พื้นที่” ในฐานะเจ้าถิ่น แต่ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการซื้อสินค้าได้หลากหลายโดยไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่ในการเข้าถึง

วันนี้แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนซื้อสินค้าหรือกับร้านค้าในพื้นที่คุ้นเคย ยังถูกบั่นทอนด้วยเทคโนโลยี เพราะการซื้อออนไลน์ไม่ต้องพบปะผู้คน

ขณะที่ระบบจ่ายเงินและการส่งสินค้าพัฒนามาต่อเนื่อง จึงไม่มีอุปสรรคในการซื้อสินค้าออนไลน์อีกต่อไป เป็นการดึงเงินออกจากกระเป๋าผู้บริโภคได้มากและบ่อยขึ้น จนทำให้การซื้อสินค้าในช่องทางอื่นๆ ลดลง

โอกาส “แบรนด์เล็ก” ชิงลูกค้า

cr.pixabay

ในโลกออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ได้สร้างพื้นที่ “ค้าขาย” และทำการตลาดให้กับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก และรายใหญ่

ปัจจุบันพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ถูกกดดันมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของ “แบรนด์เล็ก” ที่ค้าขายอยู่บน “โซเชียล คอมเมิร์ซ” แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากคนไทย แม้แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอีไม่ได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำคัญกับแบรนด์ใหญ่

แต่หากเป็นแบรนด์เล็กที่มีจำนวนเป็น 10,000 ราย เข้าไปดึงเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค เมื่อรวมหลายๆ แบรนด์เล็กก็ถือเป็นสัดส่วนที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด ที่เดิม “โกลบอล แบรนด์” เป็นผู้ครองตลาดนี้ ต้องเรียกว่าการแข่งขันค่อยๆ โหดขึ้นเรื่อยๆ

แบรนด์หั่นงบโฆษณาทีวี

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

สำหรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา ศิวัตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาลูกค้าแบรนด์ใหญ่ ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ยังไม่กล้าตัดงบโฆษณาทีวีมากนัก แต่ปี 2018 เริ่มการตัดงบโฆษณาทีวี ทั้งแบบที่ตัดทิ้งทั้งหมดในกลุ่มระดับกลาง และเริ่มตัดงบบางส่วนในกลุ่มรายใหญ่

เดิมแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ไม่กล้าเสี่ยงที่จะเทงบประมาณไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะหากใช้งบโฆษณาดิจิทัลอย่างเดียว เงินก็จะเหลือ หรืองบประมาณที่ใช้อยู่ในสื่อดิจิทัล ถือว่าได้ผลที่ดีแล้ว หากใช้มากขึ้นผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่างจากเดิม จึงกระจายเงินไปใช้กับสื่ออื่นๆ

“แบรนด์ระดับกลางที่มีงบโฆษณาต่อปีไม่ถึง 50 ล้านบาท วันนี้เริ่มไม่ลงโฆษณาทีวี หรือเลือกลงทีวี ไม่กี่ครั้งต่อปี ส่วนแบรนด์ใหญ่งบโฆษณากว่า 100 ล้านบาทต่อปี เริ่มตัดงบทีวีเช่นกัน ขณะที่แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอี ใช้งบโฆษณาและการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล 100% 

]]>
1220142
ยุคดิจิทัล “รู้จัก” กลุ่มเป้าหมายจากเดโมกราฟิกไม่พอ นักการตลาดต้องกะเทาะ “ตัวตน” ให้ลึก เพราะอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปแล้ว https://positioningmag.com/1164570 Tue, 03 Apr 2018 12:57:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164570 นับตั้งแต่ “ดิจิทัล” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโลกหรือ Digital Driven ส่งผลให้ “ผู้บริโภค” ที่นักการตลาด แบรนด์ เคยรู้จักในอดีต กลายเป็นรู้จักน้อยลง และการทำตลาดยุคนี้จะเจาะใจผู้บริโภคได้ รู้แค่ “ลักษณะประชากรศาสตร์” หรือ Demographic เพศ อายุ รายได้ คงไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะเมื่อผู้บริโภคเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ได้ดึง “ตัวตน” ของแต่ละคนออกมา และโจทย์การทำตลาดจะต้องมองไปที่ “ผู้บริโภคคือใคร” แล้วงัดกลยุทธ์ทำตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้แม่นยำขึ้น

และถ้านักการตลาดอยากรู้ว่าผู้บริโภคยุคนี้คือใคร? การ “สัมมนาดิจิตอล GroupM FOCAL ประจาปี 2018” กรุ๊ปเอ็มมีคำตอบหลังจากทำงานวิจัยภาพรวมพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยหรือ The ‘NOW’ Generation ด้วยการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 200 คน ทั้ง ภาคของประเทศไทย จากการสัมภาษณ์, ใช้ชีวิตกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อสังเกตพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต และการสำรวจ ณ จุดสำคัญต่างๆ (Touch point) รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า การใช้งานอินเทอร์ของผู้บริโภคขาวไทยกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว (The New Normal) จะเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ อยู่ในเมือง ต่างจังหวัด แม้กระทั่งบนเขาบนดอย ก็ไม่พลาดเข้าถึงโลกออนไลน์

โดยการใช้อินเทอร์เน็ตจะเกี่ยวข้องใน มิติ ดังนี้

การใช้ชีวิต (Life) สำหรับคนที่เพิ่งใช้งานอินเทอร์เน็ตข้ามขั้นโดยไม่ผ่านคอมพิวเตอร์ แต่ใช้บนมือถือ ถูกแรงผลัก ด้าน ได้แก่ หน้าที่การงานบังคับ อย่างพ่อค้าแม่ขาย เมื่อเจอลูกค้าที่ชอบสินค้าและบริการแต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เลยขอแอดไลน์ เฟซบุ๊กก่อน ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้านายบังคับให้ใช้  บางอาชีพต้องอัพเดตสถานการณ์ทำงานทุกๆ นาที และต้องตอบไลน์ จึงเลี่ยงไม่ได้ สุดท้าย ระบบบังคับ (System) งานราชการบางอย่าง อดีตการสั่งงานผู้นำต้องใช้จดหมายเวียน แฟ็กซ์ คนส่งเอกสาร ยุคนี้ไม่ต้องแล้ว ตั้งกรุ๊ปไลน์ แล้วแจ้งทีเดียวสะดวกกว่า ทำให้การใช้เน็ตกลายเป็นความเคยชิน

และอินเทอร์เน็ตได้งัด “ตัวตน” ของผู้บริโภคเหล่านั้นออกมา เช่น แม่ค้ารุ่นใหญ่ เล่นเฟซบุ๊ก ดูยูทูปมากๆ ได้ค้นพบว่าตัวเองเป็น “ติ่งเกาหลี” ชอบK-Pop สุดๆ ใครมาเรียกป้าไม่ได้ แต่เป็น “วัยรุ่น” ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป หรือชาวเขา ที่ใช้ไลน์โทรหาลูกสาวที่เกาหลี คุยกับเพื่อนประเทศเมียนมา รวมทั้งกลายเป็นคนที่ชอบดูการวิ่งมาราธอน และนำตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมมาราธอน เพื่อหารายได้เข้าชุมชน   

“การใช้อินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภคค้นพบตัวเองมากขึ้น และเมื่อเจาะลึกลงไปพบว่าคนที่อยู่กับอินเทอร์เน็ต จะมีความรู้สึกว่าทุกอย่างมันคือฉันหรือ All about me ยิ่งกว่าเดิม เมื่อก่อนอาจใช้เวลาช่วงเช้าและเย็นอยู่กับครอบครัว ตอนนี้เปลี่ยนไปอยู่กับตัวเองเพื่อดูหนังดูละครบนโลกออนไลน์ เทศกาลใหญ่สงกรานต์ ต้องกลับบ้านอยู่กับครอบครัว ก็ค้นหาข้อมูลเพื่อท่องเที่ยว” ณัฐวีร์ ณีว มาวิจักขณ์ ผู้อานวยการแผนกพัฒนาและการตลาด กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ให้เหตุผล 

ชาวเขาผู้ไม่ตกยุคดิจิทัล และพฤติกรรมผู้บริโภคแบบ All About Me

การเสพสื่อ (Media) สิ่งที่ผู้บริโภคมองหาคือความเสถียรในการใช้งาน เสพคอนเทนต์ต้องเดี๋ยวนี้ และไม่รบกวนการดู ก่อนเจาะลึกประเด็นดังกล่าว ส่อง “ท็อป” แอปพลิเคชั่น สื่อออนไลน์ยอดฮอตที่คนไทยชอบดู แบ่งตามเซ็กเมนต์ดังนี้

แพลตฟอร์มฮอตที่ผู้บริโภคชาวไทยชอบใช้สุดๆ

การเงิน เป็นแอปพลิเคชั่น KBank สูงสุด ตามด้วย KRUNTHAI SCB และ True Wallet ติดตามข่าวสาร ผ่านเฟซบุ๊ก อินสตาแกรมมากกว่า 50% ตามด้วยทวิตเตอร์ และไลน์ ทูเดย์ ช้อปปิ้ง เฟซบุ๊ก ยังมาแรง ตามด้วยลาซาด้า แพลตฟอร์มนี้ใช้งานมากกว่า 50% และช้อปปี้ อินสตาแกรม  

ท่องเที่ยว เป็นทราเวลโลก้า แอร์เอเชีย แกร็บ และกูเกิล ส่วนเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ดูผ่านยูทูปเกิน 50% เพราะดูได้ทุกที่ทุกเวลา หรือAnywhere Anytime ตามด้วยไลน์ทีวี ดูเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องรอเวลาออกอากศเหมือนทีวี แถมไม่เสียการเสียงาน ว่างเมื่อไหร่จัดเต็มดูยาวจนตาแฉะได้ รวมถึงจู๊กซ์ และกูเกิล เกม ต้องอาร์โอวี (ROV) และไลน์บับเบิล สุดท้ายส่งสินค้าต้องไปรษณีย์ไทย เคอร์รี่ และไลน์แมน (เฉพาะในกรุงเทพฯ)

แต่ไม่ว่าจะเสพออนไลน์แพลตฟอร์มไหน สิ่งสำคัญ “สัญญาณ” ต้องเสถียร ดูเพลินๆ สัญญาณต้องไม่ขาดหายไป และดูเมื่อไหร่ก็ต้องได้ ไม่กระทบการทำมาหากิน ส่วนคอนเทนต์ที่ดู ก่อนกระแส “ออเจ้า” จากละครบุพเพสันนิวาส มาแรง คือละครล่า เป็นต่อ ซึ่งดูผ่านยูทูป ไลน์ทีวี ถ้าฟังเพลงยูทูปยังเป็นแพลตฟอร์มแรกที่เลือก ตามด้วยจู๊กซ์ แต่อยากตามข่าว ไปดูไทยรัฐ เดลินิวส์ และข่าวสดผ่านเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิเตอร์  

ที่น่าสนใจการเสพข่าว ปีนี้เป็นปีแรกที่อินสตาแกรมเป็นช่องทางที่คนเลือกดูมากสุด เพราะมีภาพและเนื้อหาสั้นๆ ประกอบ ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ

ส่วนการฟังวิทยุ เบื่อแล้วดีเจพูดกลางรายการ คนเลยหนีไปฟังแอปพลิเคชั่นจาก Cool แทน เป็นต้น 

“สิ่งที่ต้องระวังในการทำตลาดบนแพลตฟอร์มต่างๆ คือ การมีโฆษณา อย่างยูทูป โฆษณาโผล่มาตอนแรก คนดูรับได้ แต่คั่นกลางรายการเมื่อไหร่ และคั่นซ้ำๆ ปิดหนี ย้ายไปดูแพลตฟอร์มอื่นแน่นอน”

คอนเทนต์ยอดนิยมบนแพลตฟอร์มออนไลน์

เพราะทุกอย่างอยู่บนดิจิทัล การเงิน จึงอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ด้วย ทั้งการซื้อการขาย จ่ายเงินสารพัด การเงินบนโลกออนไลน์มีทั้ง “ขาเข้า” และ “ขาออก” โดยขาเข้า คือการหาเงินเพิ่มรายได้ เช่น ร้านค้าติด QR Code เพื่อบริการลูกค้าไทยและต่างชาติ การใช้แอปพลิเคชั่นแบงก์ต่างๆ รับเงินจากลูกค้า เป็นต้น 

ขาออกคือ ร้านค้า ผู้ประกอบการต้องหา “แพลตฟอร์ม” ให้ลูกค้าจ่ายเงินสะดวกมากขึ้น อย่างการจองตั๋วเดินทางท่องเที่ยวผ่านทราเวลโลก้า ลูกค้าเลือกเงินผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส แต่ถ้าเจอโปรโมชั่นถูกใจทิ้งตั๋วเก่า ซื้อตั๋วใหม่ โดยไม่ต้องจ่ายเงิน เป็นต้น ซึ่งสินค้าและบริกรต้องหาวิธีเชื่อมการจ่ายเงินกับผู้บริโภคทั้งเข้าและออก อย่างตู้บุญเติมบนเขา ถือว่าอำนวยความสะดวกแก้ลูกค้าอย่างดีโดยไม่ต้องลงจากเขาเพื่อเข้าเมือง  

จะเห็นว่าอินเทอร์เน็ตพลิกพฤติกรรมผู้บริโภคไปมาก เกิดตัวตนที่แบรนด์ไม่เคยรู้จัก ดังนั้น การทำตลาดจะให้แค่ดูลักษณะประชากรศาสตร์ คงไม่พอจริงๆ แต่ต้องรู้ให้ถึง Insight ว่ากลุ่มเป้าหมายที่จ้องไว้คือใครกันแน่.

]]>
1164570
เจาะตำนาน “ขายหัวเราะ” ธุรกิจความฮาสามัญประจำบ้าน อยู่อย่างไรในยุคดิจิทัล    https://positioningmag.com/1154505 Thu, 25 Jan 2018 10:59:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154505 ท่ามกลางกระแสดิจิทัลมาแรง กระเทือนสื่อสิ่งพิมพ์ให้ “ล้มหายตายจาก” ไปทีละเล่มสองเล่มจากแผงหนังสือ พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่ถูกตราหน้าว่า “อ่านหนังสือไม่เกิน 7 บรรทัด” และสถานการณ์ใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ที่ลดลง แมกกาซีนติดลบ นับเป็นความท้าทายของคนทำธุรกิจผลิตตำรับตำรา หนังสืออย่างมาก

อีกหนึ่งสื่อที่น่าสนใจในการ “ฝ่ากระแส” Digital Disrupt ยุคนี้ คงต้องยกให้หนังสือการ์ตูน “ขายหัวเราะ ซึ่งเป็นการ์ตูนที่ผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวนไม่น้อย โตมากับเสียงหัวเราะ อ่านมุกตลก จดจำลายเซ็นนักวาดการ์ตูน ลายเส้นคาแร็กเตอร์ตัวการ์ตูนได้อย่างดี เรียกได้ว่าเป็น “ความฮาสามัญประจำบ้าน” ตามคอนเซ็ปต์ของหนังสือจริงๆ

หากจะพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนที่ “ขายหัวเราะ” ประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยาวนานถึง 44 ปี คงเริ่มจากการมองเห็น “โอกาสทางการตลาด” ของ “วิธิต อุตสาหจิต” ผู้เป็นทั้งบรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น และผู้ก่อตั้งนิตยสารขายหัวเราะ มองว่าการ์ตูนแนว 3 ช่องจบหรือการ์ตูนแก๊ก ในยุคนั้นมีน้อยมาก สะท้อนให้เห็นถึง “ช่องว่าง” ในการเข้าไปบุกเบิกและทำตลาดได้

ขณะที่ “คอนเทนต์” ของหนังสือ ก็มีความ “หลากหลาย” ตั้งแต่การ์ตูนแก๊ก การ์ตูนที่มีเนื้อเรื่องยาว ขำขัน เรื่องราวมุกตลกจากต่างประเทศมาแทรก รวมถึงเรื่องสั้นภายในเล่ม การ์ตูนมีทั้งความเซ็กซี่ เป็นต้น ตอบโจทย์ผู้บริโภคนักอ่านทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง และผู้ชาย เรียกว่าครบเครื่อง 

นอกจากนี้ “ตัวการ์ตูน” ถือเป็น “จุดแข็งมาก” ของขายหัวเราะ เพราะคาแร็กเตอร์ของแต่ละตัวนั้นแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การล้อเลียนตัวของ “วิธิต” เอง ซึ่งนักวาดการ์ตูนของบริษัทมักเรียกว่า “บก.วิติ๊ด” เป็นการสร้างสีสันให้คนอ่าน และมีความสนใจใคร่รู้ว่าแท้จริงแล้ววิธิตเป็นคนอย่างที่ได้อ่านหรือเปล่า  

ด้าน “ราคา” เป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อ ในอดีตจะเห็นว่าการ์ตูนเล่มเล็กๆ นี้ขายประมาณ 10 บาท ทำให้จับจ่ายง่าย แต่ปัจจุบันราคาขายขึ้นมาที่ 20 บาทแล้ว แม้จะเป็นหนังสือการ์ตูนราคาไม่แพง แต่ขายหัวเราะมีการกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการทำ Loyalty Program ให้ผู้บริโภคร่วมสนุกกับเกมในเล่ม ร่วมกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อชิงโชค เป็นต้น

วันนี้กลิ่นอายของการอ่านขายหัวเราะอาจลดลงไป จากการอยู่บนแผงหนังสือน้อยลง การอยู่บนแผงในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นที่ปะปนทับถมกับหนังสือพิมพ์ ซ่อนอยู่ใต้หนังสือประเภทอื่นๆ

ทว่า ขายหัวเราะ กลับปรับตัวยืนหยัดเพื่อ “อยู่รอด” ได้ และเป็นกรณีศึกษาที่ดีในการทำตลาด โดยปัจจุบัน “คนอ่าน” อยู่บนโลกออนไลน์ ขายหัวเราะก็ตามมาเสิร์ฟความตลกทุกช่องทาง มี Application ให้ดาวน์โหลดอ่านได้ทั้งระบบ IOSและ Android แฟนคลับยังสามารถติดตามข่าวสาร พูดคุยได้ทั้ง Facebook Instagram Line Twitter มีครบ

ขณะที่การหารายได้บนหน้ากระดาษ ยังคงมี “โฆษณา” ให้เห็นแทรกอยู่ตามหน้าต่างๆ บ้างเล็กน้อย แต่นั่นก็เป็นโฆษณาหนังสือจากบริษัทในเครือบรรลือสาส์น เทียบกับอดีตจะเห็นโฆษณาที่มาจากขนมขบเคี้ยว และอื่นๆ อีกด้านคือ “ยอดขาย” จากจำนวนเล่มที่ตีพิมพ์นั่นเอง

“ขายหัวเราะ” อาจเป็นหนังสือการ์ตูนหัวหอกของเครือบรรลือสาส์น แต่ในพอร์ตโฟลิโอยังมีทั้ง มหาสนุก, นางสาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่, ปังด์ปอนด์, หนูหิ่นอินเตอร์ และอีกมากมายที่ผู้อ่านคุ้นเคยกันอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ขายหัวเราะที่ปรับตัว เพราะในเครือบันลือกรุ๊ป ก็เปลี่ยนตัวเองไม่น้อย โดยที่ผ่านมาเห็นการขยายธุรกิจ “วิธิตา แอนิเมชั่น” นำคอนเทนต์การ์ตูนที่มีมาทำภาพยนตร์ รับทำคอนเทนต์วาดการ์ตูน ตัดต่ออัดเสียงแบบครบครัน มีธุรกิจ มาโชบิส ดูแลลิขสิทธิ์และบริการการตลาดในเครือ และบริษัทยังมีการจำหน่ายหนังสือออนไลน์ เพื่อรับกับโลกดิจิทัลด้วย.

]]>
1154505
ไทยพาณิชย์ หั่นสาขา-ลดพนักงาน สร้างแพลตฟอร์มใหม่ ในวันที่ดิจิทัลดิสรัปธนาคาร https://positioningmag.com/1154192 Mon, 22 Jan 2018 15:45:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154192 ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประกาศปรับองค์กรครั้งใหญ่ รับมือยุคดิจิทัล และการไหลบ่าของแพลตฟอร์ม ที่จะเป็นคู่แข่งสำคัญในอนาคต บวกกับผู้บริโภคยุคนี้ใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย ส่งผลกระทบให้การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน คือ โครงสร้างรายได้ จากในอดีตที่ธนาคารมีรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 30% และ รายได้จากดอกเบี้ย 70% แต่จากนี้ไปรายได้จากค่าธรรมเนียมจะค่อย ๆ ลดลง

เมื่อลงรายละเอียดจะพบว่า ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเคยได้จากการให้บริการโดยการใช้คน ได้ถูกเทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่การบริการอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ต้นทุนในการให้บริการลูกค้าลดลงอย่างมาก โจทย์ใหญ่ในปี 2561 จึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง มิใช่เพียงให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่ต้องเป็น ธนาคารที่ลูกค้าเลือกและรักด้วย

อาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคาร บอกว่า หลังจากปีที่ผ่านมาไทยพาณิชย์ได้ทรานสฟอร์มองค์กรเพื่อสร้างรากฐานใหม่รับกับยุคดิจิทัล นำเทคโนโลยีมาใช้ ปรับกระบวนการทำงาน เพิ่มแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น โมบายแบงกิ้ง คิวอาร์โค้ด

รวมทั้งจัดโครงสร้างบริการใหม่ ให้เอื้อในการทดลองบริการ และผุดบริษัทลูกด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการแสวงหาพันธมิตร เพื่อมาร่วมต่อยอดบริการ แต่ก็ยังไม่พอ

พอมาปีนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ยังอยู่ในโหมดต้องปรับตัวอย่างหนัก โดยใช้กลยุทธ์ กลับหัวตีลังกา หรือ Going Upside Down” ต้องบอกว่า ต่อจากนี้ ธนาคารต้องพลิกมุมคิด ฉีกทิ้งตำราเล่มเดิม เปลี่ยนมาใช้กลยุทธ์ใหม่ เพื่อให้เท่าทันพฤติกรรมลูกค้าในโลกดิจิทัล

พร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้แตกต่างจากเดิม และนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสร้างพนักงานให้มีขีดความสามารถ และทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้ไทยพาณิชย์เป็น “The Most Admired Bank” (ธนาคารที่น่าชื่นชมที่สุด)

กลยุทธ์ใหม่ที่ว่านี้ ครอบคลุมเรื่องปล่อยสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง และการเพิ่มบริการ และทำธุรกิจในโลกดิจิทัล โดยใน 3 ปีข้างหน้า จะมุ่งสู่การสร้าง Digital Platform ทางการเงิน ด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลเป็นหลัก

ส่วนรายได้หลักของะยังคงมาจากธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ได้แก่ สินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อเพื่อการบริโภค และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) ซึ่งธนาคารจะให้น้ำหนักมากขึ้น เพื่อต้องขยายฐานลูกค้าในกลุ่มนี้ ขณะเดียวกันจะเดินหน้าแผนธุรกิจร่วมทุนกับลูกค้าสินเชื่อธุรกิจของธนาคาร และพันธมิตรธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนระยะสั้น ธนาคารต้องลดจำนวนสาขาลง รวมทั้งลดจำนวนพนักงานลง ตั้งเป้าลดจำนวนสาขาเหลือ 400 จาก 1,153 สาขา ภายใน 3 ปี และลดจำนวนพนักงานเหลือ 15,000 คน จาก 27,000 คน

อาทิตย์บอกว่า เป็นจำนวนที่เหมาะสมในอนาคต ซึ่งปกติก็มีพนักงานลาออกอยู่แล้ว ปีละ 3,000 คน 3 ปีก็ 10,000 คน ซึ่งไม่ถือเป็นการปลดพนักงาน แต่เพื่อให้องค์กรเบาขึ้น และจะไม่หยุดรับพนักงาน แต่ต้องปรับให้สอดคล้องกับทิศทางใหม่ในยุคดิจิทัล แม้สาขาจะลดลง แต่ก็ต้องมีบริการอื่น ๆ เข้ามาแทน.

]]>
1154192