รายได้ทีวีดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Sep 2019 03:52:38 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ลาจออีกช่อง เที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้! 5 ปี “วอยซ์ทีวี” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท เรตติ้งรั้งท้าย มุ่งหน้าออนไลน์-ทีวีดาวเทียม https://positioningmag.com/1244675 Sat, 31 Aug 2019 05:45:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244675 “วอยซ์ทีวี” เป็น 1 ใน 7 ช่องทีวีดิจิทัลที่ขอคืนใบอนุญาตและมีกำหนด “ลาจอ” หลังเที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้ ย้อนดู 5 ปี ทีวีของตระกูล “ชินวัตร” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท จากนี้ไปกลับสู่แพลตฟอร์ม “ทีวีดาวเทียม” และสื่อออนไลน์

จากข้อมูลของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ซึ่งจัดทำหนังสือ 5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล : บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง

สรุปข้อมูล “วอยซ์ทีวี” ว่าเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกผ่านโครงข่ายดาวเทียมไทยคม ตั้งแต่ปี 2552 จากนั้นประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าว มาด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท เริ่มออกอากาช่องวอยซ์ทีวี หมายเลข 21 ในปี 2557 เนื้อหารายการหลักของช่องมีความชัดเจน เน้นข่าวการเมืองและรายการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การเมือง

ด้านรายได้ ปี 2557 อยู่ที่ 72 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 108 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 106 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 62 ล้านบาท และปี 2561 รายได้ 36 ล้านบาท รวม 5 ปี (2557 – 2561) ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท

ส่วนอันดับความนิยม (เรตติ้ง) ปี 2557 วอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับ 28 ท้ายสุดของตาราง เช่นเดียวกับปี 2558 มาในปี 2561 ช่วงสถานการณ์การเมืองเริ่มเข้มข้น จากการเตรียมเลือกตั้งในปี 2562 ทำให้เรตติ้งช่องวอยซ์ เริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นเช่นกัน โดยเรตติ้งเดือน ธ.ค. 2561 ขยับมาอยู่ที่อันดับ 18 แต่เรตติ้งเฉลี่ยปี 2561 อยู่อันดับ 20

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 เปิดโอกาสให้ “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาตและได้รับเงินชดเชย เนื่องจากใช้ใบอนุญาตไม่ครบอายุสัญญา 15 ปี โดย วอยซ์ทีวี ได้รับเงินชดเชย 378 ล้านบาท

ทิศทางของ วอยซ์ทีวี หลังคืนช่องทีวีดิจิทัล ยังคงทำช่องทีวีต่อไป โดยจะออกอากาศทีวีดาวเทียม และช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มทั้ง เว็บไซต์ voicetv รวมทั้งโซเชียล มีเดีย เฟซบุ๊ก ยูทูบ ไลน์ อินสตาแกรมและทวิตเตอร์.

]]>
1244675
กสทช.สรุปรายได้ “ทีวีดิจิทัล” ปี 2561 มี 6 ช่องเกิน “พันล้าน”  ต่ำสุดทำได้ 36 ล้าน https://positioningmag.com/1240607 Fri, 26 Jul 2019 08:59:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240607 สำนักงาน กสทช. สรุปรายได้จากการประกอบกิจการทีวีดิจิทัล 22 ช่อง ปี 2561 เพื่อนำมาประเมินจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับ กสทช. โดยสรุปรายได้รวมทุกช่องอยู่ที่ 20,412 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2560 ที่มีรายได้รวมกันอยู่ที่ 17,314 ล้านบาท

อันดับ 1 ช่อง 7 เป็นช่องที่แจ้งรายได้สูงสุดไว้ที่ 4,594 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีรายได้รวม 3,591 ล้านบาท สาเหตุจากช่อง 7 เพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจทีวีดิจิทัลมากขึ้น หลังจากยุติทีวีแอนะล็อกไปวันที่ 15 มิ.ย. 2561

อันดับ 2 เวิร์คพอยท์ทีวี มีรายได้รวม 2,626 ล้านบาท รายได้ “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,172 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากความนิยมของรายการหลักๆ ในช่องเวิร์คพอยท์ลดลง จึงมีผลต่อรายได้โฆษณา

อันดับ 3 Mono 29 มีรายได้ 1,818 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,566 ล้านบาท

อันดับ 4 ช่อง 3HD มีรายได้ 1,800 ล้านบาท เป็นการรายงานรายได้แบบคงที่ นับตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา (ช่อง 3 HD ออกอากาศคู่ขนานช่อง 3 แอนะล็อก รายได้อีกส่วนอยู่ที่ช่อง 3 แอนะล็อก)

อันดับ 5 One 31 มีรายได้รวม 1,622 ล้านบาท โดยเป็นช่องที่เติบโต 217.9% เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 510 ล้านบาท

อันดับ 6 ช่อง 8 มีรายได้รวม 1,397 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากปี 2560 รายได้อยู่ที่ 1,348 ล้านบาท

อันดับ 7 ไทยรัฐทีวี มีรายได้รวมอยู่ที่ 919 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2560 อยู่ที่ 666 ล้านบาท

อันดับ 8 อมรินทร์ทีวี มีรายได้ 892 ล้านบาท เติบโตชัดเจนจากปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 519 ล้านบาท

อันดับ 9 True4U มีรายได้ 765 ล้านบาท “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 780 ล้านบาท

อันดับ 10 GMM25 รายได้ 639 ล้านบาท  “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 770 ล้านบาท

อันดับ 11 ช่อง 3 SD รายได้ 625 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 496 ล้านบาท

อันดับ 12 MCOT HD รายได้ 486 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 178 ล้านบาท

อันดับ 13  เนชั่นทีวี รายได้ 431 ล้านบาท เป็นช่องข่าวที่มีรายได้สูงสุด และเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีรายได้ 347 ล้านบาท

อันดับ 14 TNN รายได้ 392 ล้านบาท  “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 379 ล้านบาท

อันดับ 15 PPTV รายได้ 380 ล้านบาท เป็นช่องวาไรตี้ เอชดี ที่ทำรายได้ต่ำสุด แต่เพิ่มขึ้น จากปี 2560 ที่มีรายได้ 292 ล้านบาท

อันดับ 16 ไบรท์ทีวี รายได้ 247 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 216 ล้านบาท

อันดับ 17 สปริงนิวส์ รายได้ 224 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 190 ล้านบาท

อันดับ 18 สปริง 26 (Now 26) รายได้ 214 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 163 ล้านบาท

อันดับ 19 ช่อง 3 Family รายได้ 146 ล้านบาท “เพิ่มขึ้น” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 100 ล้านบาท

อันดับ 20 NEW 18  รายได้ 111 ล้านบาท “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 115 ล้านบาท

อันดับ 21 MCOT Family รายได้ 48 ล้านบาท  “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 50 ล้านบาท

อันดับ 22 วอยซ์ทีวี รายได้ 36 ล้านบาท  “ลดลง” จากปี 2560 ที่มีรายได้ 62 ล้านบาท

รายได้ทีวีดิจิทัล ปี 2561 มี “6 ช่อง” ทำรายได้เกินหลัก “พันล้านบาท” มี 15 ช่อง รายได้ “เพิ่มขึ้น” จำนวน 6 ช่อง รายได้ “ลดลง” และมี 1 ช่องรายได้ “คงที่”

โดยมีช่องทีวีดิจิทัลขอคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ที่จะทยอยยุติออกอากาศ วันที่ 16 ส.ค.นี้  เวลา 0.01 น. รวม 3 ช่อง คือ สปริงนิวส์, สปริง 26 และ ไบรท์ทีวี ยุติออกอากาศ วันที่ 1 ก.ย. เวลา 0.01 น. คือ วอยซ์ทีวี ยุติออกอากาศวันที่ 16 ก.ย.เวลา 0.01 น. คือ ช่อง 14 Family และยุติออกอากาศ วันที่ 1 ต.ค. เวลา 0.01 น. รวม 2 ช่อง คือ ช่อง 3 SD และช่อง 13 Family

ดังนั้นจะเหลือ “ทีวีดิจิทัล” ประเภทธุรกิจทั้งหมด 15 ช่อง และทีวีดิจิทัลบริการสาธารณะ 4 ช่อง รวมมีช่องทีวีดิจิทัล 19 ช่องในประเทศไทย.

]]>
1240607
เปิดรายได้ “ทีวีดิจิทัล” ปี 2561 ยัง “ขาดทุนอ่วม” นับถอยหลัง 7 ช่องลาจอ https://positioningmag.com/1239213 Mon, 15 Jul 2019 12:18:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239213 นับจากเริ่มต้นออนแอร์วันที่ 25 เม.. 2557 ของทีวีดิจิทัล 24 ช่อง กับเม็ดเงินประมูล 50,862 ล้านบาท ถือครองใบอนุญาต 15 ปี จบในวันที่ 24 เม.. 2572 ผ่านปีแรกลาจอ 2 ช่อง (ไทยทีวีและโลก้า) จากนั้นอีก 5 ปีต่อมา “7 ช่องขอปิดฉากธุรกิจนี้ ช่องที่เหลือส่วนใหญ่ยังบาดเจ็บ กับตัวเลขขาดทุนสะสมนับหมื่นล้านบาท

อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลที่เริ่มต้นในปี 2557 กับความหวังของผู้ประกอบการที่ต้องการเข้ามากอบโกยเม็ดเงินโฆษณาทีวีปีละ 60,000 – 70,000 ล้านบาท โดยยึดโมเดลช่องที่ประสบความสำเร็จยุคแอนะล็อก “ช่อง 3 และ ช่อง 7” ที่ทำกำไรระดับ 5,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเป้าหมาย

แต่สถานการณ์จริงไม่เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปีแรกของการออกอากาศ ด้วยจำนวนช่องธุรกิจที่เพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว ผู้ชมกระจายตัวในทีวีดิจิทัลช่องใหม่ รวมทั้งสื่อออนไลน์ โซเชียล มีเดีย เข้ามาแย่งเวลาผู้ชม จากประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ทำให้ “เรตติ้ง” ทีวีลดลงต่อเนื่อง

แม้กระทั่งช่องผู้นำยุคฟรีทีวีเดิม อย่าง ช่อง 3 และช่อง 7 เม็ดเงินโฆษณาก็ลดลงเช่นกัน ขณะที่การลงทุนทีวีดิจิทัล แต่ละช่องอยู่ที่หลักร้อยถึงพันล้านบาทต่อปี สิ่งที่ตามมาคือ ภาวะ “ขาดทุน” อย่างหนักของทีวีดิจิทัล “ส่วนใหญ่” ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

เปิดรายได้ทีวีดิจิทัลปี 2561 มีช่องโชว์กำไร

สำหรับผลประกอบการ “ทีวีดิจิทัล” 22 ช่อง ล่าสุดที่แจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2561 “ส่วนใหญ่” ยังขาดทุน แต่ก็มีช่องทำ “กำไร” เช่นกัน

ช่อง 7 HD เป็นช่องผู้นำเรตติ้งตั้งแต่ยุคแอนะล็อก มาในยุคทีวีดิจิทัล แม้ยังกำไรแต่ตัวเลขก็ลดลงเช่นกัน ปี 2557  รายได้ 10,428 ล้านบาท กำไร 5,510 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 5,750 ล้านบาท กำไร 1,633 ล้านบาท

เวิร์คพอยท์ ช่วงเริ่มต้นปี 2557 ขาดทุน แต่เริ่มทำกำไรตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาจากรายการแนววาไรตี้ เกมโชว์ที่ถนัด รายได้ปี 2560 ทำสถิตินิวไฮ ที่ 3,877 ล้านบาท กำไร 904 ล้านบาท จากรายการเรตติ้งฮิต The Mask Singer และ I Can See Your Voice แม้จะแผ่วลงในปีถัดมา แต่ปี 2561 เวิร์คพอยท์ยังทำรายได้ 3,640 ล้านบาท กำไร 345 ล้านบาท

โมโน 29 แม้เริ่มต้นด้วยภาวะ “ขาดทุน” 3 ปีแรก แต่ 2 ปีต่อมา ช่องโมโน ที่ใช้ซีรีส์ ภาพยนตร์ต่างประเทศเป็นคอนเทนต์ชูโรง พลิกมาทำกำไรตั้งแต่ปี 2560 ด้วย รายได้ 1,582 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท และ ปี 2561 รายได้ 3,806 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท

ช่อง 8 ของอาร์เอส ในส่วนธุรกิจทีวีดิจิทัล ภายใต้ อาร์.เอส.เทเลวิชั่น ช่วง 4 ปีแรก (2557 – 2560) มีผลประกอบการ “ขาดทุน” เช่นกัน แต่บริษัทแม่ “อาร์เอส” ที่เปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากสื่อเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ (MPC) ทำกำไรมาต่อเนื่อง ล่าสุดปี 2561 ช่อง 8 โชว์รายได้ 1,441 ล้านบาท กำไร 158 ล้านบาท

กลุ่ม “ขาดทุน” ตัวเลขกระเตื้อง

ช่วง 5 ที่ผ่านมา ทีวีดิจิทัล “ส่วนใหญ่” ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” แต่บางช่องเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้น โดยช่องที่ยังมีอัตราขาดทุนสูง คือ “พีพีทีวี” ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จากการลงทุนคอนเทนต์พรีเมี่ยม ระดับ “เวิลด์ คลาส” ทั้งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ฟอร์แมทคอนเทนต์ต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 2557 พีพีทีวี ขาดทุนระดับพันล้านบาท มาต่อเนื่อง 5 ปี ปี 2560 รายได้ 317 ล้านบาท ขาดทุน 2,028 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 495 ล้านบาท ขาดทุน 1,837 ล้านบาท

ไทยรัฐทีวี ก็เช่นกันช่วง 5 ปีนี้ ขาดทุนเกือบพันล้านบาทต่อปี แต่เห็นสัญญาบวก “รายได้” ขยับขึ้นเช่นกัน ปี 2560  รายได้ 740 ล้านบาท ขาดทุน 927 ล้านบาท ส่วนปี 2561 รายได้ 1,099 ล้านบาท ขาดทุน 554 ล้านบาท

อมรินทร์ทีวี ที่เผชิญปัญหาขาดทุนตั้งแต่ปี 2557 ทำให้ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ ดึงทุนใหญ่ “ไทยเบฟ” เข้ามาร่วมถือหุ้น 47% ด้วยเม็ดเงินลงทุน 850 ล้านบาท ช่วงปลายปี 2559 เพื่อลดภาระต้นทุนดอกเบี้ย โดยภาพรวมธุรกิจอมรินทร์ กลับมาโชว์ตัวเลข “กำไร” แล้วในปี 2561

แต่ทีวีดิจิทัล ยังคงมีตัวเลข “ขาดทุน” แต่ปรับตัวดีขึ้นมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดย ปี 2560 รายได้ 525 ล้านบาท  ขาดทุน 345 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 964 ล้านบาท ขาดทุน 32 ล้านบาท

ส่วน 2 ช่องทีวีดิจิทัล ของ “อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม” มีตัวเลขขาดทุนลดลงเช่นกัน โดย ช่อง ONE 31 ภายใต้ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ปี 2561 รายได้ 2,033 ล้านบาท ขาดทุน 9.3 ล้านบาท

ขณะที่ GMM25 ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ปี 2561 รายได้ 1,714 ล้านบาท ขาดทุน 413 ล้านบาท

เช่นเดียวกับทีวีดิจิทัลของเครือซีพี แม้ 5 ปีแรกยังขาดทุน แต่รายได้ขยับขึ้นและขาดทุนลดลงต่อเนื่อง ช่อง True4U ปี 2560 รายได้ 794 ล้านบาท ขาดทุน 328 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 831 ล้านบาท ขาดทุน 317  ล้านบาท

สำหรับ TNN ปี 2560 รายได้ 395 ล้านบาท ขาดทุน 125 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 841 ล้านบาท ขาดทุน 43 ล้านบาท

เนชั่นทีวี ซึ่งขาดทุนมาตั้งแต่ปี 2557 รายงานรายได้ ปี 2561 อยู่ที่ 185 ล้านบาท ขาดทุน 8.2 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขขาดทุนต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ ปี 2560 รายได้ 260 ล้านบาท ขาดทุน 727 ล้านบาท

NEW18 ประสบปัญหาขาดทุนตลอด 5 ปีเช่นกัน ขณะที่รายได้ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ปี 2560 รายได้ 124 ล้านบาท ขาดทุน 461 ล้านบาท ส่วนปี 2561 รายได้ 117 ล้านบาท ขาดทุน 401 ล้านบาท

7 ช่อง” เตรียมลาจอ “ขาดทุน” 5 ปี

ภาวะขาดทุนต่อเนื่อง 5 ปี และยังไม่เห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงมี 7 ช่อง” ขอคืนใบอนุญาต ออกจากตลาด หลังจากมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาแก้ปัญหา “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. บอกว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล “ขาดทุน” ไปแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท

โดยทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง ที่คืนใบอนุญาตจะได้รับเงินชดเชยรวม 3,000 ล้านบาท โดยทั้ง 7 ช่องที่เตรียมลาจอ คือ สปริง 26 (NOW26), สปริงนิวส์ 19, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, ช่อง 14 MCOT Family, ช่อง 3SD และช่อง 13 Family จะทยอยยุติออกอากาศตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. – 1 ต.ค. 2562  

สำหรับผลประกอบการของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ปี 2561 ช่อง 3 แอนะล็อก (ออกอากาศคู่ขนาน ทีวีดิจิทัล ช่อง 3 HD) ในนาม บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด แสดงรายได้ 5,559 ล้านบาท ขาดทุน 969 ล้านบาท ส่วน บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ ช่อง 3 HD, ช่อง 3 SD และช่อง 3 Family ปี 2561 แสดง รายได้ 2,572 ล้านบาท กำไร 111 ล้านบาท

ขณะที่ผลประกอบการโดยรวม บีอีซี เวิลด์ ปี 2561 ที่แจ้งตลาด มีรายได้ 10,504 ล้านบาท ขาดทุน 330 ล้านบาท ภาวะขาดทุนดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุให้ บีอีซี ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เพื่อกลับมาสร้างความแข็งแกร่งให้ช่อง 3 HD กลับมาทำกำไรอีกครั้ง

อสมท เจ้าของใบอนุญาต ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง MCOT 30 และช่อง 14 MCOT Family ประสบปัญหา “ขาดทุน” ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ปี 2560 รายได้ 2,728 ล้านบาท ขาดทุน 2,541 ล้านบาท ส่วนปี 2561  รายได้ 2,102 ล้านบาท ขาดทุน 373 ล้านบาท อสมท จึงขอคืนใบอนุญาต ช่อง 14 MCOT Family

สปริง 26 หรือเดิมคือ NOW 26 ประสบปัญหาขาดทุนตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลเช่นกัน และตัดสินใจคืนช่องในท้ายที่สุด โดยปี 2561 รายได้ 224 ล้านบาท ขาดทุน 178 ล้านบาท

ส่วน วอยซ์ทีวี ปี 2561 รายได้ 121 ล้านบาท ขาดทุน 352 ล้านบาท ไบรท์ทีวี ปี 2561 รายได้ 391 ล้านบาท  ขาดทุน 15 ล้านบาท และ สปริงนิวส์ 19 ปี 2561 รายได้ 239 ล้านบาท ขาดทุน 16 ล้านบาท

7 ช่องคืนใบอนุญาตเลิกจ้างกว่า 500 คน

การประกาศคืนใบอนุญาตของ ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ที่จะทยอย “จอดำ” ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. – 1 ต.ค.นี้ สิ่งที่ตามมาก็คือการ “เลิกจ้าง” พนักงาน

ประเมินกันว่า ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง จะมีการเลิกจ้างพนักงานราว 500 คน ประกอบไปด้วย 2 ช่องเด็ก คือ ช่อง 3 family และ MCOT Family รวม 100 คน

ส่วน 3 ช่องข่าว คือ ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ รวม 250 คน เนื่องจากทยอยลดคนไปก่อนหน้านี้แล้ว ช่องสปริงนิวส์ 19 ได้ย้ายบุคลากรไปยังช่องสปริง 26 (NOW 26) ช่องวอยซ์ทีวีย้ายไปทำทีวีดาวเทียมและสื่อออนไลน์ ไบรท์ทีวี ยังคงมีบางส่วนทำสื่อออนไลน์ ขณะที่ 2 ช่อง วาไรตี้ SD คือ ช่อง 3 SD และ สปริง 26 รวม 150 คน

กรณีคืนช่อง 3 SD และช่อง 13 Family ของบีอีซี เริ่มทยอยเลิกจ้างพนักงานแล้ว โดยเฉพาะทีมข่าว ที่มีการลดจำนวนคนในแต่ละโต๊ะข่าวลงจำนวนมาก ประเมินกันว่าอาจจะมีการเลิกจ้างราว 200 คน

สถานการณ์เลิกจ้างบุคลากรในสื่อทีวีดิจิทัล จากภาวะขาดทุน นับตั้งแต่เริ่มต้นออกอากาศปี 2557 มาถึงการคืนใบอนุญาตปี 2562 มีคนสื่อถูกเลิกจ้างกว่า 1,000 คน ทั้งช่องที่ยังอยู่และช่องที่คืนใบอนุญาต สำหรับช่องที่ยังประกอบกิจการอยู่ก็ยังคง “รัดเข็มขัด” กันต่อไปในภาวะที่ธุรกิจยังไม่กำไร

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1239213
เปิดรายได้ 2 ช่องทีวีดิจิทัล ปี 61 ช่อง 7 กำไร 1.6 พันล้าน – พีพีทีวี ขาดทุน 1.8 พันล้าน เป็นปีที่ 5 https://positioningmag.com/1230414 Fri, 17 May 2019 07:02:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230414 หลังจากทีวีดิจิทัลถูกปลดล็อกให้คืนช่องได้ โดยมีทีวีดิจิทัลตัดสินใจคืนช่องไป 7 ราย เหลือทีวีดิจิทัลขอสู้ต่อ 15 ช่อง ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น เพราะเม็ดงินโฆษณาทีวีลดลงไปเรื่อยๆ 

มาดูกันว่า ปี2561 ที่ผ่านมา ช่องไหนสะสมพละกำลัง สร้างรายได้ และกำไรได้มากน้อยแค่ไหน

จากข้อมูลที่แจ้งไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล พบว่าเวลานี้เพียงช่อง 2 ช่อง คือ ช่อง 7 และพีพีทีวี ที่แจ้งข้อมูลแล้ว

ช่อง 7 ยังคงรั้งแชมป์เรตติ้งอันดับ 1 และรักษาระดับรายได้ไว้ที่ 5,750 ล้านบาท กำไร 1,633 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 7.67% เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ทำกำไร 1,517 ล้านบาท นับเป็นอีกปีที่ช่อง 7 ต้องเผชิญกับรายได้และกำไรลดลง หลังจากมีทีวีดิจิทัล ในปี 2557 ซึ่งมีทีวีดิจิทัลเป็นปีแรก ช่อง 7 ยังทำกำไร 5,510 ล้านบาท หลังจากนั้นลดลงมาทุกปี

สำหรับช่อง พีพีทีวี ของหมอเสริฐ ปราสาททองโอสถ ยังคงเจอภาวะขาดทุน ต่อเนื่องตลอดมาเป็นปีที่ 5 โดยปี 2561 ทำรายได้ 495 ล้านบาท ขาดทุน 1,837 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 9.34% เมื่อเทียบปี 2560 ขาดทุน 2,028 ล้านบาท

ต้องมารอลุ้นกันว่า ปี 2562 พลังดูด 3 รายการดังจากช่องใหญ่ The Voice, กิ๊กดู๋สงครามเพลงเงินล้าน ก่อนบ่ายคลายเครียด และละครที่จะออนแอร์ในช่วงครึ่งปีหลัง จะเห็นผลหรือไม่ ในภาวะที่คู่แข่งลดลงเหลือแค่ 15 ราย พีพีทีวีจะพาช่องจากเรตติ้ง 0.164 อันดับ 12 ขึ้นไปติดท็อป 10 และท็อป 5 อย่างที่คาดหวังไว้ได้แค่ไหน.

]]>
1230414
ยังหนัก! ช่อง 3 เรตติ้งขึ้น แต่รายได้ลด ขาดทุนต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน หวังพึ่งรายได้ ตปท.-ออนไลน์ https://positioningmag.com/1183021 Sat, 11 Aug 2018 01:59:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183021 ผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 2561 กลุ่มช่อง 3 ที่มีทีวีดิจิทัลในมือถึง 3 ช่อง แจ้งผลประกอบการขาดทุนรวม 148.6 ล้านบาท จากรายได้รวม 5,176.8 ล้านบาท โดยเป็นการขาดทุนในเฉพาะไตรมาส 2 จำนวน 22.6 ล้านบาท และรายได้จากไตรมาส 2 อยู่ที่ 2,756.3 ล้านบาท

รายได้ของครึ่งปีแรกของปีนี้ ลดลง 16.8% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 6,223 ล้านบาท ในขณะที่ครึ่งปีแรกของปี 2560 กลุ่มบีอีซีมีกำไรรวมอยู่ที่ 361.7 ล้านบาท มาขาดทุน 148.6 ล้าน ในปีนี้ หรือลดลง 141%

ส่วนผลประกอบการเฉพาะไตรมาส 2 ปี 2561 ขาดทุนอยู่ที่ 22.6 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีกำไร 112.7 ล้านบาท หรือติดลบ 120%

นับเป็นการขาดทุนต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 และไตรมาสแรกของปีนี้ โดยในไตรมาสแรกมีรายได้ 2,438.62 ล้านบาท และขาดทุนอยู่ที่ 125.99 ล้านบาท

รายได้รวม ในไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 2,756.3 ล้านบาท ลดลง 14.9% จากไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 3,239.2 ล้านบาท แต่ก็ดีขึ้นจากไตรมาสแรกของปีนี้ ที่อยู่ที่ 2,420.5 ล้านบาท 

ในส่วนรายได้เฉพาะ จากการขายเวลาโฆษณาของกลุ่มบีอีซี ในไตรมาสที่ 2 ปีนี้ อยู่ที่ 2,399.3 ล้านบาท ลดลง 11.6% จากไตรมาสที่ 2 ของปีก่อนหน้า ที่มีรายได้ส่วนนี้อยู่ที่ 2,714.1 ล้านบาท โดยรายได้หลักจากการขายเวลาโฆษณา มาจากการขายเวลาโฆษณาของ “ช่อง 3” เป็นหลัก ทั้งนี้รายได้จากค่าโฆษณานั้น คิดเป็น 87% ของรายได้ทั้งหมดของกลุ่มบีอีซี

ตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยของช่อง 3 HD ช่องหลักของกลุ่มบีอีซี ข้อมูลจากนีลเส็นจากการวัดการออกอากาศ 24 ชั่วโมง ในไตรมาส 2 อยู่ที่ 1.48 ในขณะที่ไตรมาส 2 ของปีที่แล้วอยู่ที่ 1.35

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขรายได้โฆษณาและเรตติ้งเฉลี่ยของช่องไม่สัมพันธ์กัน ทั้งๆ ที่เรตติ้งของช่อง 3 เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว แต่รายได้กลับลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาของการทำการขายของช่อง ที่ลดลง อีกทั้งยังเจอสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม

บีอีซีชี้แจงว่า จากข้อมูลของนีลเส็น ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในกลุ่มทีวีในไตรมาส 2 ปีนี้อยู่ที่ 18,137 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% จากไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว ที่มีวงเงิน 17,140 ล้านบาท โดยมีเม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนมิถุนายนจากช่วงฟุตบอลโลก ที่มีการทำตลาดเพื่อกระตุ้นการซื้อสินค้าและบริการ แต่ถ้าเอาเม็ดเงินโฆษณาบอลโลกออก ทำให้สภาพตลาดโฆษณาโดยรวมลดลง 0.6% จากไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว

นอกจากนี้บริษัทยังมีผลของนโยบายการลดต้นทุนของบริษัทและผลจากโครงการร่วมใจจากให้พนักงานเข้าโครงการ early retired ในไตรมาส 2 นี้อยู่ที่ 44.7 ล้านบาท

หาทางเพิ่มรายได้ใหม่ ขายลิขสิทธิ์ต่างประเทศ และช่องทางออนไลน์

กลุ่มบีอีซียังได้ชี้แจงว่า เพื่อเป็นการหาช่องทางของแหล่งรายได้ใหม่ บริษัทจึงได้วางกลยุทธ์การขยายธุรกิจและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงการดำเนินธุรกิจในตลาดใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ

โดยในไตรมาสที่ 2 นี้ กลุ่มบีอีซีได้ร่วมมือกับ “เทนเซนต์ วิดีโอ” ผ่านทางบริษัทอินไซท์ เทคโนโลยี ประเทศไทย ในการนำละคร “ลิขิตรัก The Crown Princess” นำแสดงโดย “ณเดชน์-ญาญ่า” ไปออกอากาศคู่ขนานในวันเดียวกันที่ประเทศไทยและประเทศจีน

ปัจจุบัน เทนเซนต์ วิดีโอ มียอดสมาชิกวีไอพีกว่า 63 ล้าน User มียอดใช้งาน 140 ล้าน User ต่อวัน และ 790 ล้าน User ต่อเดือน นอกจากลิขิตรักแล้ว ซีรีส์อีก 2 เรื่องอยู่ในแผนงานคือ “ Meo & You-แมวของเขาและรักของเรา” และ “Beauty Boy –ผู้ชายขายสวย

นอกจากนี้ กลุ่มบีอีซี ได้มีการจับมือกับ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอลมีเดีย จัดจำหน่ายละครของกลุ่มบีอีซีไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะไปในตลาดใหม่ เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บรูไน, สิงคโปร์, ไต้หวัน และจะขยายไปยังประเทศในตะวันออกกลาง และละตินอเมริกาในอนาคต ยกเว้นบางประเทศที่กลุ่มบีอีซีดำเนินการเอง เช่น จีน (รวมถึงฮ่องกง, มาเก๊า), เวียดนาม, กัมพูชา ซึ่งนอกจากการขายลิขสิทธิ์ละครแล้ว อาจมีการนำศิลปินไปโชว์ตัว จัดอีเวนต์ และกิจกรรมอื่นๆ ในอนาคตด้วย

ทั้งนี้รายได้เสริมจากการขายลิขสิทธิ์ละครไปต่างประเทศ ในไตรมาส 2 นี้ อยู่ที่ 50.2 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 2 ของปี 2560 ที่มีรายได้เพียง 8.1 ล้านบาท และไตรมาสแรกของปีนี้มีรายได้อยู่ที่ 22.8 ล้านบาท โดยรายได้ของไตรมาสนี้มาจากการขายลิขสิทธิ์ละคร “ลิขิตรัก” ไปยังประเทศจีน

ส่วนรายได้จากธุรกิจออนไลน์ ทางเมลโล ในไตรมาส 2 นี้รายได้ขึ้นมาอยู่ที่ 115.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 261% จากไตรมาสเดียวกันในปี 2560 ที่มีรายได้เพียง 31.9 ล้านบาท.

]]>
1183021
ตลาดโฆษณาหด ทีวีดิจิทัลซบหนัก เวิร์คพอยท์ – โมโน ไตรมาส 2 กำไรลดฮวบ https://positioningmag.com/1183010 Fri, 10 Aug 2018 14:00:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1183010 ผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของปี 2561 ของ 2 ช่องทีวีดิจิทัล ในกลุ่มของช่องใหม่ ทั้งเวิร์คพอยท์และโมโน กำไรลดลงหนัก โดยมีสาเหตุหลักมาจากตลาดโฆษณาในกิจการทีวีลดลง และการแข่งขันในตลาดรุนแรง ที่งบโฆษณาหันไปลงออนไลน์มากยิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจทีวีดิจิทัลมีแนวโน้มการเติบโตลดลง

เวิร์คพอยท์รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า รายได้ของไตรมาสที่ 2 ของปีนี้อยู่ที่ 841.30 ล้านบาท ลดลง 289.05 ล้านบาท หรือ – 26% จากงวดเดียวกันของปี 2560 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,130.35 ล้านบาท โดยรายได้ที่เกิดจากกิจการทีวี อยู่ที่ 746.71 ล้านบาท ลดลง 275.63 ล้านบาท หรือ -27% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2560 ซึ่งรายได้จากกิจการทีวีนี้ส่วนใหญ่มาจากการลดลงของรายได้จากช่องเวิร์คพอยท์

ในขณะที่มีต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 485.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.66 ล้านบาท หรือ 9% จากปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนการผลิตรายการทีวีในช่วงไตรมาส 2 จากรายการ The Rapper, My Mom Cook หรือ เชฟไม่ทิ้งแถว และ Show me your son หรือลูกแม่หล่อมาก

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เวิร์คพอยท์มีรายได้และกำไรลดฮวบลงขนาดนี้เป็นเพราะตลาดโฆษณาลดลงมาก โดยรายได้จากโฆษณาลดลงถึง 27% ในขณะที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่องเวิร์คพอยท์ จากข้อมูลเรตติ้งของนีลเส็นในการวัดการออกอากาศ 24 ชั่วโมงก็ลดลงเช่นกัน โดยในไตรมาส 2 ของปี 2561 ได้เรตติ้งเฉลี่ย 0.76 ในขณะที่ไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว เรตติ้งเฉลี่ยของช่องอยู่ที่ 1.10 

ส่วนโมโนนั้น แตกต่างจากเวิร์คพอยท์ เนื่องจากโมโนมีเรตติ้งที่ดีขึ้น มาเป็นอันดับ 3 แทนที่เวิร์คพอยท์เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รายได้จากกิจการทีวีมีมากขึ้นสัมพันธ์กับตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยของช่องที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้จากค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 8% แต่ก็ถือว่าเป็นการโตที่น้อยมาก เทียบกับรายได้จากโฆษณาในไตรมาสแรกของปีนี้ที่โต 26% 

ทำให้บรรดานักวิเคราะห์ต่างเชื่อว่า ตลาดรวมของโฆษณาทางทีวีจะยากลำบากมากยิ่งขึ้น เมื่อต้องแข่งกับช่องทางออนไลน์ และยิ่งทำให้ทีวีดิจิทัลไม่สามารถขึ้นราคาค่าโฆษณาได้ จากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นนี้ จึงจะมีผลต่อรายได้ของกิจการทีวีแต่ละช่องในปีนี้อย่างแน่นอน

ทั้งนี้โมโนรายงานว่า มีรายได้รวมในไตรมาส 2 ปี 2561 696.33 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวมอยู่ที่ 692.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.69 ล้านบาท หรือ 0.53% โดยมีรายได้จากการให้บริการสื่อโฆษณาในไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 486.09 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 ที่ได้ 449.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36.91 ล้านบาท หรือ 8.22%

การเติบโตของรายได้จากการให้บริการสื่อโฆษณา มาจากรายได้ของธุรกิจทีวีดิจิทัลช่อง MONO29 ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนมาจากเรตติ้งที่เพิ่มขึ้น จากตัวเลขเรตติ้งของนีลเส็นที่วัดจากการออกอากาศ 24 ชั่วโมง เรตติ้งของช่องโมโนในไตรมาส 2 ปี 2561 มีเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 0.81 เมี่อเทียบกับ 0.68 ในไตรมาส 2 ของปี 2560

ส่วนกำไรสุทธิของโมโน ในไตรมาส 2 ปี 2561 อยู่ที่ 13.66 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2560 มีกำไรสุทธิ 51.63 ล้านบาท ลดลง 37.97 ล้านบาท หรือ 73.54% ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจอื่น.

]]>
1183010
เปิดเม็ดเงินโฆษณาทีวีดิจิทัลเดือน ก.ค. ทำรายได้เกือบ 6 พันล้าน https://positioningmag.com/1181619 Thu, 02 Aug 2018 23:00:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1181619 ทีวี ยังคงเป็นสื่อที่สร้างรายได้โฆษณามากที่สุดเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ โดยนีลเส็นได้ระบุถึงเม็ดเงินโฆษณาในช่องทีวีดิจิทัลประจำเดือนกรกฎาคม 2561 มีมูลค่ารวม 5,979.28 ล้านบาท สูงกว่าเดือนกรกฎาคมของปี 2560 ที่มีมูลค่ารวม 5,314 ล้านบาท จำนวน 665 ล้านบาท

แต่ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2561 ที่มียอดโฆษณาอยู่ที่ 6,338.94 ล้านบาท จำนวน 359 ล้านบาท

ในวงเงินโฆษณาทางทีวีดิจิทัลทั้งหมด 24 ช่อง ไม่รวมไทยพีบีเอส ที่ไม่มีโฆษณา พบว่ากลุ่มผู้ประกอบกิจการทีวีรายเดิม 5 ช่องที่ประกอบด้วย ช่อง 7, ช่อง 3 , ช่อง 5 , ช่อง 9 และช่อง NBT มีรายได้จากค่าโฆษณารวมกันอยู่ที่ 3,301.03 ล้านบาท คิดเป็น 55.2% ของรายได้โฆษณารวมทั้งหมดในทีวีดิจิทัล

ทั้งนี้ในจำนวนผู้ประกอบการทีวีรายเดิมทั้ง 5 ช่องนั้น รายได้ของช่อง 3 และช่อง 7 สองช่องรวมกันมีสัดส่วนรายได้ถึง 73.88% ของทั้ง 5 ช่อง เป็น 2 ช่องใหญ่ที่มีรายได้สูงสุดเกินหลัก 1 พันล้าน

ส่วนในกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ จำนวน 20 ช่องนั้น มีมูลค่าโฆษณารวมกันทั้งหมด 2,678.25 ล้านบาท หรือคิดเป็น 44.8% ของมูลค่ารวมทั้งหมด

โดยมี 3 ช่องที่ได้รายได้สูงสุด ได้แก่ เวิร์คพอยท์, ช่องวัน และช่อง 8 รวมกันเป็นสัดส่วน 47.78%

7 เดือนทำรายได้เกือบ 4 หมื่นล้าน

หากรวมรายได้ทั้งหมด 7 เดือนในปี 2561 วงเงินโฆษณาจากทุกช่องจะอยู่ที่ 39,229.82 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้ของกลุ่มผู้ประกอบการรายเดิมจำนวน 22,457.57 ล้านบาท หรือเป็นสัดส่วน 57.25% และ 20 ช่องผู้ประกอบการรายใหม่จำนวน 16,772.25 ล้านบาท ในสัดส่วน 42.75%

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงประมาณการรายได้โฆษณาที่ยังไม่รวมส่วนลดของแต่ละสถานี ซึ่งจะทำให้รายได้จริงลดลงจากตัวเลขประมาณการนี้

สำหรับรายได้นี้มีส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขเรตติ้งของแต่ละช่องด้วยเช่นกัน โดยกลุ่มช่องทีวีดิจิทัลที่อยู่ใน 10 อันดับแรก เป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด

ทั้งนี้เรตติ้งประจำเดือนกรกฎาคมนั้น มีช่อง 7 เป็นแชมป์เรตติ้ง เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 1.723 ตามมาด้วยช่อง 3 เรตติ้ง 1.324 และโมโน 0.872 , เวิร์คพอยท์ 0.777, ไทยรัฐทีวี 0.720 , ช่องวัน 0.522 , ช่อง 8 เรตติ้ง 0.473, อมรินทร์ทีวี 0.399 , ช่อง 3SD 0.338 และอันดับ 10 ช่อง 9 เรตติ้ง 0.247.

]]>
1181619
เปิดรายได้ทีวีดิจิทัล ปี 2560 เวิร์คพอยท์โกย 3.1 พันล้าน แซงช่อง 3 อ่วมเหลือ 1.8 พันล้าน https://positioningmag.com/1175058 Wed, 20 Jun 2018 07:33:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1175058 เปิดตัวเลขรายได้ของทีวีดิจิทัลปี 2560 ที่แจ้งต่อกสทช.อย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ โดยไม่รวมรายได้ของทีวีอนาล็อค 3 ช่องได้แก่ ช่อง 3, ช่อง7 และช่อง

พบว่า ช่อง 7 มีรายได้สูงที่สุด ตามมาด้วยเวิร์คพอยท์ ส่วนช่องที่มีรายได้น้อยที่สุดคือช่อง 3 Family 

รายได้รวมของทั้ง 22 ช่องทีวีดิจิทัลในปี 2560 อยู่ที่ 17,313 ล้านบาท สูงขึ้นจากปี 2559 ที่มีรายได้รวมทั้งหมด 13,762 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ทุกช่องมีรายได้เพิ่มขึ้น มีเพียง 6 ช่องที่รายได้ลดลงคือ ทีเอ็นเอ็น, เนชั่นทีวี,ช่อง 9 , นาว26 , วอยซ์ทีวี และช่อง 3 Family 

โดยช่อง 3 Family เป็นช่องที่มีรายได้ลดลงมากที่สุดจาก 128 ล้านบาท ในปี 2559 มาอยู่ที่ 50 ล้านบาท ในปี 2560 ตามมาด้วยวอยซ์ทีวี ลดจาก 106 ล้านบาท ปี 2559 มาเป็น 62 ล้านบาท ปี 2560 

ช่องที่รายได้ไม่เปลี่ยนแปลงคือช่อง 3HD เนื่องจากมีการออกอากาศคู่ชนานกับช่อง 3 อนาล็อค รายได้ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่อนาล็อค แต่ไม่ได้มีการรายงานรายได้ของทีวีอนาล็อคมาที่กสทช. ทั้งนี้หากรวมรายได้ทั้ง 3 ช่องดิจิทัลของกลุ่มช่อง 3 จะมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,346 ล้านบาท แต่ก็ยังน้อยกว่าช่อง 7 และเวิร์คพอยท์

สำหรับช่อง 7 รายงานรายได้ส่วนใหญ่ที่อยู่ช่องดิจิทัล ซึ่งได้มีการปิดระบบอนาล็อคไปเรียบร้อยแล้วเมื่อ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา จะทำให้รายได้ในปี 2561 จะเป็นรายได้จากระบบดิจิทัลทั้งหมด 

ช่องอมรินทร์ทีวี เป็นช่องที่มีการเติบโตด้านรายได้สูงสุดแบบก้าวกระโดด จากรายได้ 225 ในปี 2559 มาเป็น 518 ล้านในปี 2560 

]]>
1175058
ใครโกย ใครลด ! เปิดรายได้ “ทีวีดิจิทัล” 10 เดือนปี 60 https://positioningmag.com/1145401 Thu, 02 Nov 2017 18:03:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145401 ผ่านไป 10 เดือนแรกของปี 2560 (มกราคมตุลาคมเม็ดเงินโฆษณาซื้อสื่อทีวีลดลงกว่า 6 พันล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของของปี 2559 และเมื่อเจาะลึกรายได้ของทีวีช่องต่างๆ แล้ว พบว่า 9 ช่องมีรายได้เพิ่ม ส่วนอีก 15 ช่อง รวมทั้ง เบอร์ใหญ่อย่าง 3 และ 7 ก็มีรายได้ลดลง ส่วนกลุ่มรายได้เพิ่ม มีเวิร์คพอยท์สดใสที่สุด 

รายงานจากสำนักนโยบายวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเม็ดเงินโฆษณาที่ใช้ในสื่อทีวีในกลุ่มทีวีดิจิทัล และฟรีทีวีเดิม ที่นีลเส็นสำรวจ พบว่า 10 เดือนที่ผ่านมา ช่วงเดือน ม..-.. 2560 สถานีโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ ได้เม็ดเงินโฆษณาตามเรตการ์ด (อัตราค่าโฆษณาราคาเต็มก่อนหักส่วนลดไปทั้งหมด 51,997.10 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 ได้ 58,434.78 ล้านบาท หรือลดลง 6,437.68 ล้านบาท

10 เดือนแรกของ ปี 2560 กลุ่มฟรีทีวีเดิม คือช่อง 3 7 9 ที่ประมูลได้ใบอนุญาตช่องทีวีดิจิทัลด้วย และช่องสาธารณะคือช่อง 5 กับ 11 ได้เม็ดเงินโฆษณา รวม 33,921.61 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6,885.79 ล้านบาท โดยปีที่แล้วได้ 40,807.40 ล้านบาท 

ส่วนช่องทีวีดิจิทัลที่เหลือ 19 ช่อง ได้เม็ดเงิน 18,075.48 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ได้ 17,627.38 ล้านบาท หรือมากกว่า 448.1 ล้านบาท

สำหรับไทยพีบีเอส ทีวีสาธารณะไม่ได้ขายเวลาโฆษณา เพราะได้รับงบจากรายได้ภาษีสรรพาสามติในการบริหารช่อง

ถ้าพิจารณาเป็นรายช่อง ช่องที่ได้เม็ดเงินมากที่สุดในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ คือ ช่อง 3 มูลค่า 13,585.54 ล้านบาท อันดับสอง คือ ช่อง 7 ได้ 12,047.78 ล้านบาท ช่อง 9 เป็นอันดับสาม ได้ 4,559.78 ล้านบาท อันดับสี่ เป็นของเวิร์คพอยท์ 4,571.84 ล้านบาท และอันดับห้า เป็นของช่องวัน 2,946.76 ล้านบาท ซึ่ง 3 อันดับแรก คือ 3 7 และ 9 ได้เม็ดเงินลดลง ส่วนเวิร์คพอยท์และช่องวันได้เม็ดเงินเพิ่มขึ้น

โดยรวมในจำนวนทั้งหมด 24 ช่อง มี 15 ช่องที่รายได้ลดลง มีเพียง 9 ช่องที่รายได้เพิ่มขึ้น นอกจากช่องเวิร์คพอยท์และช่องวันแล้ว ยังมีช่องโมโน 29 ช่อง 8 ไทยรัฐทีวี ทรูยู พีพีทีวี นาว 26 และช่องอมรินทร์

]]>
1145401