Apple ได้เปิดเผยว่า ในปี 2022 บริษัทได้ขยายการใช้วัสดุรีไซเคิลหลักอย่างมีนัยสำคัญ และปัจจุบันแหล่งที่มาของอะลูมิเนียมกว่า 2 ใน 3 และเกือบ 3 ใน 4 ของแร่หายากทั้งหมด รวมถึงกว่า 95% ของทังสเตนทั้งหมดในผลิตภัณฑ์ Apple มาจากวัสดุรีไซเคิล 100%
โดยความก้าวหน้าดังกล่าวทำให้ Apple เข้าใกล้เป้าหมายที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดใช้วัสดุรีไซเคิลและวัสดุหมุนเวียนเท่านั้น และเดินหน้าเป้าหมายปี 2030 ของบริษัทในการทำให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมีคาร์บอนเป็นกลาง
“ความทะเยอทะยานของเราที่ต้องการใช้วัสดุรีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ในผลิตภัณฑ์ของเรานั้นเป็นไปตามเป้าหมายในปี 2030 ของ Apple นั่นคือเป้าหมายของเราในการบรรลุผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2030 เรากำลังทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งสองอย่างเร่งด่วนและยกระดับนวัตกรรมในอุตสาหกรรมทั้งหมดของเราในกระบวนการนี้” ลิซา แจคสัน รองประธานฝ่ายโครงการด้านสิ่งแวดล้อม นโยบาย และกิจกรรมทางสังคม กล่าว
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Apple ได้ขยายการใช้โคบอลต์ที่รีไซเคิลได้ 100% โดยในปี 2022 โคบอลต์ทั้งหมดราว 1 ใน 4 มาจากวัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้นจาก 13% นอกจากนี้ การใช้ธาตุแรร์เอิร์ธที่ผ่านการรับรองแบบรีไซเคิล 100% ของบริษัทได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 45% ในปี 2021 เป็น 73% ในปี 2022
โดยภายในปี 2025 แบตเตอรี่ทั้งหมดที่ออกแบบโดย Apple จะผลิตด้วยโคบอลต์รีไซเคิล 100% และแม่เหล็กในอุปกรณ์ Apple ก็จะใช้แร่โลหะหายากรีไซเคิล 100% ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ Apple วางเป้าจะเลิกใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์ของบริษัท การพัฒนาวัสดุทางเลือกที่ทำจากเยื่อไม้เพื่อใช้กับส่วนประกอบบรรจุภัณฑ์ เช่น ฟิล์มติดหน้าจอ วัสดุห่อหุ้ม และโฟมกันกระแทก ทำให้เป้าหมายอันสูงสุดของ Apple ยังคงเดินหน้าได้ตามแผน เพื่อจัดการกับพลาสติกที่คงเหลืออีก 4% ในฟุตพริ้นต์ของบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
]]>เมื่อปัญหาโลกร้อน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นหัวข้อใหญ่ที่ทุกภาคส่วนต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ หลายองค์กรต่างมีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความยั่งยืน หรือกำหนดเป็นนโยบายใหญ่เลยก็มี เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
AIS เป็นหนึ่งในองค์กรยักษ์ใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมและ Sustainability มาโดยตลอด เรียกว่าให้ความสำคัญควบคู่กันไปทั้งในมิติของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในภาคส่วนของสิ่งแวดล้อมนั้น ทาง AIS ได้โฟกัสทั้งในแง่ของ Emission ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคธุรกิจให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการช่วยสิ่งแวดล้อม ทั้งการใช้ e-Bill การส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชั่น เพื่อลดการใช้กระดาษ และลดทราฟิกของลูกค้าในการเดินทางมาที่สาขา เป็นการลดขยะ และลดค่าน้ำมันได้พร้อมๆ กัน
นอกจากนี้ AIS ยังได้เริ่มพัฒนาอีโคซิสเท็มในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์มาตั้งแต่ปี 2562 ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste” เรียกว่าเป็นองค์กรอันดับต้นๆ ที่ตื่นตัวในเรื่องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก็ว่าได้
โครงการนี้เป็นการการรับรู้ให้คนไทยต่อขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่สร้างองค์ความรู้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกวิธี ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในการสร้างความตระหนักรู้ในการทิ้งขยะ และเปิดจุดบริการฝากทิ้งทั่วประเทศ เพื่อเป็นการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่การกำจัดอย่างถูกวิธี รวมไปถึงกระบวนการรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมาโครงการคนไทยไร้ E-Waste มีพาร์ทเนอร์ทั้งหมด 142 ราย มีจุดดร็อปให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 2,484 จุด และมีจำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้น 397,376 ชิ้น
ถ้าเปรียบโครงการคนไทยไร้ E-Waste อยู่ในเฟสที่ 1 ในปีนี้ AIS ก็พร้อมยกระดับเข้าสู่เฟสที่ 2 ด้วยแพลตฟอร์ม E-Waste+ พร้อมกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาพัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่ ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น เห็นผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บนแพลตฟอร์ม E-Waste+ ที่สำคัญแพลตฟอร์มนี้ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มนำร่องกับ 6 องค์กรพันธมิตร
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า
“จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในทุกภาคส่วน สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในวงกว้างมากขึ้น เราจึงขยายผลไปอีกขั้นด้วยการ Redesign Ecosystem เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถลงมือบริหารจัดการ E-Waste ในองค์กรเองได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้าของแต่ละองค์กร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน ผ่านแพลตฟอร์ม E-Waste+ โดยเทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าไหร่”
ถ้าให้อธิบายให้เห็นภาพยิ่งขึ้น ก็คือ ในเฟสที่ 1 โครงการคนไทยไร้ E-Waste เป็นการตั้งจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงจุดทิ้งได้ง่ายขึ้น และเริ่มตระหนักถึงการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จากเดิมที่ไม่มีเจ้าภาพ หรือไม่มีใครที่ให้ความรู้ในด้านนี้อย่างจริงจัง
แต่ในเฟสที่ 1 ก็มี Pain Point หลายจุด ที่ทำให้การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ก็คือ เมื่อเป็นจุดที่ตั้งทิ้งเฉยๆ ทำให้ผู้บริโภคทิ้งขยะอื่นๆ ลงไป แทนที่จะมีแค่ขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว แต่ในเฟส 2 เป็นเวอร์ชั่นอัพเกรด ถ้าในภาษาวัยรุ่นต้องบอกว่า “แบบใหม่แบบสับ” เมื่อเรานำขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปทิ้งแล้วสามารถแทร็คกิ้งแบบเรียลไทม์ได้ว่าตอนนี้ขยะอยู่ในกระบวนการใดและเปลี่ยนเป็นคาร์บอนสกอร์เท่าไหร่ทำให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าตนเองมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าไหร่บ้าง
นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS เล่าว่า
“แพลตฟอร์ม E-Waste + เป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้แก้ปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม โดยเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยทำให้ผู้ทิ้งมั่นใจว่าขยะ E-Waste จะถูกนำส่งไปยังกระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานและโปร่งใส สามารถตรวจสอบสถานะของกระบวนการนำส่งได้ในแต่ละขั้นตอน และนอกเหนือจากนั้นยังสามารถคำนวณปริมาณ Carbon Scores ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึงการลงมือทำในกิจกรรมที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่สามารถแชร์ในโซเชียลและแสดงตัวตนในโลก Metaverse ได้”
อราคินยังกล่าวเสริมอีกว่า โดยปกติแล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 4 แสนตัน แต่มีการจัดเก็บอย่างถูกต้องเพียงแค่ 1% เท่านั้น แต่เดิมการตั้งที่ให้คนทิ้งเฉยๆ อย่างเดียวไม่ค่อยได้ผล ต้องมีการให้ความรู้ผู้บริโภค ควบคู่กับการสร้าง Incentive ไปด้วย
โดย AIS ยังมีแผนพัฒนาให้คาร์บอนสกอร์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการขยะ E-Waste อย่างถูกต้อง นำไปใช้เป็น Utility Token ที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจให้กับองค์กรพันธมิตรที่เข้าร่วมโครงการนี้อีกด้วย แรกเริ่มอาจจะเริ่มจากการเปลี่ยนคาร์บอนสกอร์ เป็น AIS Point ก่อน จากนั้นจะเริ่มเปลี่ยนเป็น Utility Token อื่นๆ ที่สามารถใช้ได้สำหรับผู้บริโภคทุกคน ไม่ได้จำกัดแค่ลูกค้า AIS อย่างเดียว
เบื้องต้น AIS ได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรเครือข่าย Green Partnership ทั้ง 6 องค์กร ประกอบไปด้วย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย ที่จะเข้ามาเริ่มใช้แพลตฟอร์ม E-Waste+ เพื่อส่งต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคลากรในองค์กรและสังคม
สายชลยังได้เสริมถึงการเป็นพันธมิตรของทั้ง 6 องค์กรนี้ว่า เป็น “อารีย์ คอมมูนิตี้” เริ่มต้นจากองค์กรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเส้นถนนพหลโยธินก่อน เป็นย่านเดียวกันกับ AIS นั้นเอง ทั้งธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย, เด็นโซ่, เงินติดล้อ ล้วนมีสำนักงานอยู่ในระแวกเดียวกัน ย่านอารีย์นี้จึงกลายเป็นแซนด์บ็อกซ์ในการนำร่องโครงการนี้ ก่อนจะขยายไปยังที่อื่น
ความสำคัญอีกหนึ่งสิ่งของแพลตฟอร์ม E-Waste+ ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ AIS ที่ต้องการยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาบูรณาการได้อย่างตรงจุด สามารถสร้างระบบการจัดการ E-Waste แบบใหม่ได้ด้วย Blockchain เป็นการกาวข้ามขีดจำกัดแบบเดิมๆ พร้อมกันนี้ยังได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เป็นการร่วมแรงร่วมใจในการช่วยจำกัดขยะอิเล็คทรอนิกส์ได้อย่างยั่งยืน
“แพลตฟอร์ม E-Waste+เปิดตัวเป็นครั้งแรกในอาเซียนสามารถเอาจุดแข็งของโครงข่ายอัจฉริยะของ AISและเอาเทคโนBlockchainมาพัฒนาเพื่อบริหารจัดการให้ดีขึ้นจึงอยากให้มีหลายองค์กรมาร่วมมือกันมากขึ้นไม่ใช่การเพิ่มจำนวนขยะแต่ช่วยสร้างการรับรู้ช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมเชื่อว่าทุกองค์กรมีเป้าหมายด้านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนทุกองค์กรพูดเรื่อง ESGแต่เวลาลงมือทำจะทำคนเดียวไม่ได้ต้องทำร่วมกันถึงจะประสบความสำเร็จ” สายชลกล่าวทิ้งท้าย
สำหรับองค์กรใดสนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership สามารถติดต่อได้ที่ e-mail: [email protected] หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง https://ewastethailand.com/ewasteplus
กระบวนการทำงานของ E-Waste+
ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชันE-Waste+
ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท
]]>บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เจ้าของและผู้บริหารโครงการที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ หนึ่งในพันธมิตรเจ้าของไอคอนสยาม และสยาม พรีเมี่ยม เอาท์เล็ต กรุงเทพ ตอกย้ำอุดมการณ์การดำเนินธุรกิจที่สร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยในงานได้จำลองเมืองแห่งคนรักษ์โลก ECOTOPIA มัลติแบรนด์สโตร์ร้านแรก ที่รวมสินค้ารักษ์โลกครบครันหลากหลายที่สุดในประเทศไทย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านความยั่งยืนในงาน Sustainability Expo 2022 (SX2022) มหกรรมด้านการพัฒนาความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน สะท้อนแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของสยามพิวรรธน์ผ่านการสร้างคุณค่าร่วม (Shared value) เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน และทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมชุมชน สิ่งแวดล้อม และประเทศชาติ
สยามพิวรรธน์เปิด ECOTOPIA ในปี 2560 สะท้อนการเป็นผู้บุกเบิกที่กล้านิยามกระบวนทัศน์ใหม่ให้กับโลก ด้วยการนำเสนอสินค้าสร้างสรรค์จากแนวคิดรักษ์โลกและ well-being เพื่อให้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจรักษ์โลกที่ครบวงจรยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย (Asia’s leading Eco Lifestyle Destination) โดยร่วมมือกับ 12 สุดยอดครีเอเตอร์ และผู้ประกอบการรายย่อย พัฒนาและรังสรรค์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก มากกว่า 300 แบรนด์ และสินค้ากว่า 100,000 รายการ บนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ชั้น 3 สยามดิสคัฟเวอรี่
นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ประธานบริหารสายงานปฏิบัติการ (Chief Operating Officer) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า “งาน Sustainability Expo 2022 ที่มีแนวคิด พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก เป็นการรวมพลังครั้งสำคัญขององค์กรชั้นนำของไทย ในการร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า (Good Balance, Better World) ซึ่งมีแนวทางที่สอดคล้องกับสยามพิวรรธน์ และถือเป็นโอกาสอันดีที่สยามพิวรรธน์จะนำเสนอต้นแบบของการสร้างแบรนด์ที่สะท้อนด้านความยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดช่วงเวลากว่า 63 ปีของการทำธุรกิจ การพัฒนาโครงการภายใต้สยามพิวรรธน์ทั้งหมดเป็นรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วม (Shared Values) และผลกระทบเชิงบวกไปสู่ชุมชนสังคมและประเทศชาติ
สยามพิวรรธน์ได้นำแนวคิดความยั่งยืนมาใช้ขับเคลื่อนธุรกิจผ่านหลากหลายโครงการ อาทิ การเดินหน้าสู่การเป็น “องค์กรขยะเป็นศูนย์” ภายใต้โครงการ “Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste” ที่คำนึงถึงการจัดการขยะแบบครบวงจรตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การรณรงค์เพื่อส่งเสริมการคัดแยกขยะและจัดตั้งจุดรับวัสดุบรรจุภัณฑ์สะอาดที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรูแห่งแรกในประเทศไทย นับเป็นการนำขยะเข้าสู่กลไกการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ แล้วส่งต่อไปรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบ ซึ่งบางส่วนนำเข้าสู่กระบวนการอัพไซคลิ่ง นำกลับมาใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม
นางอุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด เปิดเผยว่า “ECOTOPIA เป็นแบรนด์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกของการดำเนินชีวิตตามแนวคิดรักษ์และฟื้นฟูโลกแบบครบวงจร กลายเป็นแพลตฟอร์ม (Platform) ที่ได้ปฏิวัติวงการร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่สร้างระบบนิเวศธุรกิจ ที่เชื่อมกลุ่มคนรักษ์โลกมาร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับโลกไปด้วยกัน ล่าสุด ECOTOPIA ยังถูกจัดอันดับเป็นหนึ่งใน 20 ร้านค้าปลีกที่เยี่ยมยอดที่สุดเอเชีย จาก Inside Retail สื่อธุรกิจรีเทลชั้นนำของเอเชีย ถือเป็นเครื่องยืนยันถึงความสำเร็จอีกก้าวและเป็นความภาคภูมิใจของสยามพิวรรธน์ในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านความยั่งยืนอีกด้วย”
ในงานครั้งนี้ สยามพิวรรธน์ได้นำหลักการความยั่งยืนมาใช้ในการออกแบบและนำเสนอโครงสร้างบูธ ECOTOPIA ซึ่งประกอบด้วยวัสดุที่สามารถแยกชิ้นส่วนเพื่อไปใช้ประโยชน์ได้อีก
ผู้เข้าร่วมงาน Sustainability Expo 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สามารถเข้าชมบูธ “ECOTOPIA โดย สยามพิวรรธน์” ทั้งในส่วนบูธ Showcase ที่ Exhibition Hall 3 ชั้น G โซน Better Living และ บูธ Market Place ชั้น LG ซึ่งจะอยู่ในโซนจำหน่ายสินค้า โดยในโซน Exhibition จะมีกิจกรรมต่างๆ ให้กับผู้เยี่ยมชมทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมถ่ายภาพ และกิจกรรม Workshop ร่วมกับ Co-creator ของ Ecotopia ซึ่งเป็น คูเรเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ กิจกรรมระบายสีท้องฟ้าด้วยสี Soft Pastel ร่วมกัน ENVIRONMAN และ Friend & Forest กิจกรรม “ปลูกผักกับลุงรีย์” เรียนรู้การปลูกผักในธีมสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับ “ลุงรีย์” หรือ ชารีย์ บุญญวินิจ หรือ กิจกรรมของสาวรักษ์โลก ที่ Cleo ร่วมกับ Ali แบรนด์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไร้สารเคมี
พิเศษสุด สำหรับสาวก สินค้ารักษ์โลก 1,000 ท่านแรกที่มาเยี่ยม บูธ Ecotopia ในโซน Market Place จะได้รับของที่ระลึกเป็น เมล็ดพันธุ์ผักจากฟาร์มลุงรีย์ และรับโปรโมชั่นสำหรับการซื้อสินค้ามากมายในราคาพิเศษ
สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่ Facebook: ECOTOPIA และ Sustainability Expo หรือ www.sustainabilityexpo.com
]]>บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) บริษัทในเครือ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัด โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล ขับเคลื่อนการเรียนรู้ คัดแยก และการนำบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคกลับคืน สู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยมี “สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” เป็นสถานีต้นแบบเรื่องการคัดแยกขยะสู่การรีไซเคิล ที่เป็นการต่อยอดลงมือปฏิบัติจริง สร้างรายได้และส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับผู้บริโภคระดับในครัวเรือน วัด โรงเรียนในพื้นที่ชุมชน
ล่าสุด คณะทำงานย่านวังเดิม ย่านกะดีจีน ร่วมกับ กรมสารวัตรทหารเรือ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ สำนักงานเขตธนบุรี จัดกิจกรรม “หล่อเทียนพรรษา พาเที่ยว 2 ย่าน” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและอาหารประจำย่าน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพและกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชน โดยมีชุมชนย่านกะดีจีน ซึ่งเป็นชุมชนที่ได้รับองค์ความรู้เรื่องการแยกขยะพร้อมสถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล จากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) มาดูแลเรื่องการจัดการขยะภายในพื้นที่จัดงาน โดยมี “สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” พร้อมถังขยะประเภทต่าง ๆ รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแยกขยะให้ถูกต้อง ณ บริเวณริมกำแพงวัดอรุณราชวรราม
คุณอรวรรณ ทวีศักดิ์ถาวร ประชาสัมพันธ์ สังกัดชุมชนกุฎีขาว สมาชิกกลุ่มชุมชนดีมีรอยยิ้ม วัดประยุรวงศาวาส ให้ข้อมูลว่า “ชุมชนกุฎีจีน ได้เข้าร่วม โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล เพื่อเรียนรู้วิธีการคัดแยกและมี ‘สถานเก็บกลับ- รีไซเคิล’ ซึ่งเป็นสถานีต้นแบบของการเรียนรู้เรื่องการคัดแยกขยะสู่การรีไซเคิลที่เป็นการต่อยอดลงมือปฏิบัติจริง ทำให้จิตสำนึกคนในชุมชนรู้จักความสะอาดเพิ่มขึ้นรู้จักแยกขยะ เพราะว่าขยะสามารถกลับเป็นตัวเงิน สร้างรายได้ให้คนในชุมชน นอกจากนี้เป็นการช่วย กทม. ในคัดแยกขยะที่จะไปส่งแต่ละจุด สำหรับงานในวันนี้จะเห็นได้ว่าคนที่มาเที่ยวในงานส่วนใหญ่ ก่อนทิ้งขยะลงถังได้คัดแยกขยะก่อนที่จะลงถังขยะ จุดเล็กๆ ตรงนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของการลงมือทำจริง สิ่งเหล่าจะเป็นการปลูกฝังไปในตัว ชุมชนใกล้เคียงได้เห็นรูปแบบการทำงาน การจัดการขยะ ก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมกับโครงการเก็บกลับ-รีไซเคิลเหมือนกัน ต้องขอขอบคุณ TBR และ ไทยเบฟ ที่เห็นความสำคัญของชุมชนของเราโดยการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ จะนำสู่สังคมที่ดี ลดโลกร้อน ขอขอบคุณมากค่ะ”
ทางด้าน คุณอรทัย พูลทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) ให้ข้อมูลว่า “บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ รีไซเคิล จำกัด (TBR) ได้ริเริ่ม โครงการเก็บกลับ-รีไซเคิล โดยมีเป้าหมายเพื่อจะเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการรณรงค์และปลูกจิตสำนึก ปรับเปลี่ยนและส่งเสริมพฤติกรรมการคัดแยกบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคที่รีไซเคิลตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้มีบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภคมีคุณภาพที่ดีขึ้น ง่ายต่อการรีไซเคิล และนอกจากการให้ความรู้ผ่านกิจกรรมเวิร์คช้อปแล้ว ในเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาได้มีการต่อยอดสู่การลงมือทำจริง ผ่านวิธีการของ“สถานีเก็บกลับ-รีไซเคิล” ที่จุดนัดพบคนชุมชนกับผู้รับซื้อ ทำการซื้อขายวัสดุที่รีไซเคิลได้ ซึ่งชุมชนกุฎีจีน เป็นหนึ่งในชุมชนที่ขานรับแนวคิดและสานต่อให้เกิดเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นก็มีชุมชนในภูมิภาคอีกสองแห่งที่จังหวัดลำพูนและภูเก็ต บริษัทฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจุดประกายเล็กๆในวันนี้ จะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมด้านการจัดการขยะของชุมชนอย่างยั่งยืนได้จริง เพื่อประโยชน์ของชุมชน และภาพรวมของประเทศต่อไป”
ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่เริ่มต้นให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญในการจัดการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี มีการบริหารจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบ สร้างรายได้กลับเช้าสู่ชุมชน และส่งเสริมเป็นวัฒนธรรมการจัดการสิ่งแวดล้อมความยั่งยืนสืบต่อไป
]]>ปัจจุบัน โลกต้องเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ (Climate Crisis) มาโดยตลอด และหนึ่งในสาเหตุสำคัญก็คือ ขยะ โดยทั่วโลกมีการปล่อยขยะพลาสติกมากถึง 242 ล้านตันต่อปี ดังนั้น องค์กรทั่วโลกจึงพยายามที่จะช่วยโลกโดยการนำ ‘วัสดุรีไซเคิล’ มาใช้กับบรรจุภัณฑ์สินค้า เช่นเดียวกันกับ โลตัส (Lotus’s) ที่ล่าสุดได้ประกาศความสำเร็จในการเลิกใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลออกจากบรรจุภัณฑ์สินค้าเฮ้าส์แบรนด์
โลตัส ถือเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในไทยที่ติดอันดับ Top5 ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายการลดพลาสติก จากการประเมินของกรีนพีซประจำปี 2020 และเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก โลตัส ก็ได้ประกาศความสำเร็จในการ ยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล (hard-to-recycle materials) ออกจากบรรจุภัณฑ์สินค้าเฮ้าส์แบรนด์ในหมวดหมู่สินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภคครบ 100%
ย้อนไปในปี 2019 โลตัส ได้เริ่มทำการศึกษาและพิจารณาวัสดุที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าแบรนด์โลตัส เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลให้ได้ทั้งหมดภายในปี 2025 โดยเบื้องต้น โลตัส ได้จำแนกหมวดหมู่ของวัสดุที่ใช้เป็น 3 สี ได้แก่
· สีแดง (ยากต่อการรีไซเคิล)
· สีเหลือง (สามารถนำไปรีไซเคิลได้)
· สีเขียว (รีไซเคิลได้)
และเพื่อถอดวัสดุต้องห้ามออกจากบรรจุภัณฑ์และจัดหาวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ง่าย โลตัส ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าที่เป็นผู้ผลิตสินค้าแบรนด์โลตัสซึ่งส่วนมากเป็นผู้ประกอบการ SME โดยการทำงานก็มีความคืบหน้าที่ดีมากกว่าแผนที่วางไว้ ทำให้ ณ ปัจจุบัน โลตัส สามารถยกเลิกการใช้วัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิลได้ครบ 100% ของหมวดหมู่สินค้าอาหารสดและสินค้าอุปโภค ซึ่งเป็น 2 หมวดหมู่สินค้าที่มีจำนวนสินค้ารวมกันกว่า 4,520 รายการ ล่วงหน้าก่อนเป้าหมายที่วางไว้ถึง 3 ปี
“ปัญหาขยะที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติก เป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ที่ผ่านมา โลตัส มีบทบาทในการร่วมแก้ไขปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเลิกให้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เลิกใช้ถาดโฟม เลิกใช้หลอดพลาสติก ไปจนถึงการเปิดจุดรับบรรจุภัณฑ์จากลูกค้าเพื่อนำกลับไปรีไซเคิล” นางสาวสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน ธุรกิจโลตัส ประเทศไทย กล่าว
หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเลิกใช้วัสดุยากต่อการรีไซเคิลใน 2 หมวดสินค้าแล้ว โลตัสกำลังเดินหน้าเปลี่ยนแปลงสินค้าอีก 2 หมวดหมู่ คือ อาหารแห้งและของใช้ในครัวเรือน ที่มีสินค้ารวมกันประมาณ 2,940 รายการ โดยเหลืออีกเพียง 180 รายการเท่านั้นที่ยังคงใช้วัสดุที่รีไซเคิลได้ยาก เนื่องจากมีความจำเป็นต่อคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่โลตัสให้ความสำคัญอย่างมาก
แต่ภายในระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า โลตัส จะร่วมกับพันธมิตรในการพัฒนานวัตกรรมและวัสดุทดแทน ที่จะสามารถนำมาใช้ในบรรจุภัณฑ์สินค้า เพื่อให้สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จ ตามความมุ่งมั่นของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการมีบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนทั้งหมดภายในปี 2030
นอกจากเรื่องบรรจุภัณฑ์แล้ว อีกส่วนสำคัญก็คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการแยกขยะและรีไซเคิล ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed-loop packaging system) และบริหารจัดการขยะจากบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน โดยโลตัส จะเดินหน้าสร้างการตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกขยะและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี และช่วยให้การรีไซเคิลเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายขึ้นผ่านสาขาในชุมชนต่อไป
]]>บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์สินค้าของซันโทรี่ และเป๊ปซี่โคในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการพัฒนา และเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้
ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค จึงเลือกใช้พลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) เป็นบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มทุกชนิดของบริษัท โดยขวด PET แบบใส ไม่มีสี สามารถรีไซเคิลได้ 100% และมีมูลค่าการรับซื้อสูงกว่าขวดสี เพราะง่ายต่อการรีไซเคิล ด้วยกระบวนการคัดแยกขยะ
และการรีไซเคิลที่เป็นระบบ ขวด PET ใส ไม่มีสี จึงสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ เส้นใยเพื่อผลิตเสื้อผ้าและชิ้นส่วนรถยนต์
ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตรวมถึงออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมกับคู่ค้า (suppliers) จนเกิดเป็น Lightweight Plastic ที่มีส่วนช่วยลดการใช้ปริมาณพลาสติกใหม่ลงสำหรับการผลิตขวดแต่ละขวด แต่ยังคงคุณสมบัติดีตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่ทั้งสะอาด ปลอดภัย มีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนต่อแรงกระแทก ไม่เปราะแตกง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ง่ายต่อการจัดการ
นอกจากขวดแล้ว ฝาขวด และฉลากก็ยังผลิตจากวัสดุที่นำไปรีไซเคิลได้ 100% เช่นกัน โดยฝาขวดทั้งหมดนั้นผลิตจากวัสดุ HDPE (High Density Polyethylene) เป็นพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูง แต่มีน้ำหนักเบาช่วยลดการใช้พลาสติกใหม่ในการผลิต และยังสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100%
ปัจจุบันฝาขวดเป๊ปซี่ทั้งหมด ได้มีการนำพิมพ์สีบนฝาออก เพื่อง่ายและลดใช้สารเคมีในการนำไปรีไซเคิล ส่วนฉลากของขวดนั้นผลิตจากพลาสติก 2 ชนิด คือ ฉลากแบบหุ้มขวด (Shrink Sleeve Label) ผลิตจากวัสดุ PET และฉลากแบบพันรอบขวด (Oriented Polypropylene Label) ผลิตจากวัสดุ PP (Polypropylene) โดย ใช้เทคโนโลยีการผลิตเพื่อลดการใช้พลาสติกเมื่อเทียบน้ำหนักต่อชิ้นของฉลาก
อชิต โจชิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า
“การจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน (Packaging Sustainability Management) เป็นหนึ่งในนโยบายด้านความยั่งยืน (Sustainability) ที่สำคัญของบริษัท นอกจากซันโทรี่ เป๊ปซี่โค จะมุ่งมั่นลดปริมาณการใช้พลาสติกใหม่ โดยตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา บริษัทฯ สามารถลดการใช้พลาสติกใหม่ลงได้ถึง 531.6 ตัน บริษัทยังริเริ่มโครงการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในโรงเรียนและชุมชน
อีกทั้งได้จับมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ อาทิ วงษ์พาณิชย์ ธุรกิจบริหารจัดการขยะรีไซเคิลรายใหญ่ของไทย ซึ่งประกาศรับซื้อขวดพลาสติก PET ใส ไม่มีสี ของ ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค ด้วยราคาที่สูงกว่าขวดพลาสติก PET ทั่วไป เพิ่มอีกกิโลกรัมละ 1 บาท
รวมถึงริเริ่มโครงการนำร่อง ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเครื่อง ‘ReFun Machine’ โดยในปีนี้ร่วมมือกับ ซีพี ออลล์ ติดตั้งที่หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่น 10 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ผู้บริโภคคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และนำขวดพลาสติก PET ที่ใช้แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างเป็นระบบ”
]]>Reuters รายงานว่า ในอังกฤษมีการใช้จานแบบใช้แล้วทิ้งมากถึง 1,100 ล้านใบ และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งอีก 4,250 ล้านชิ้นต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจาก ‘พลาสติก’ เเละมีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกไปนำรีไซเคิล
หลังจากที่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะมาได้ 12 สัปดาห์ พบว่า ภาคธุรกิจและกลุ่มผู้บริโภคต่างก็มีความต้องการที่จะก้าวไปสู่ทางเลือกที่ยั่งยืนมากขึ้น
ขณะที่รัฐบาลยังเรียกร้องให้มีกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐาน เกี่ยวกับการจัดการกับแหล่งมลพิษจากพลาสติกอื่นๆ อย่างเช่น ทิชชูเปียก ไส้กรองยาสูบ ถุงชาและถ้วยแบบใช้แล้วทิ้งประเภทอื่นๆ
“การห้ามใช้พลาสติกในรายการเหล่านี้อาจเป็นมาตรการเชิงนโยบายในอนาคต”
George Eustice รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมของอังกฤษกล่าวว่า สังคมมีการรับรู้ถึงความเสียหายต่อสิ่งเเวดล้อมที่เกิดจากพลาสติก โดยเฉพาะสัตว์ทะเลมากขึ้น เราจึงต้องการที่จะลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์และห้ามใช้พลาสติกในรายการที่เกี่ยวข้องกับการทิ้งขยะ
“เราได้สั่งห้ามใช้หลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติกไปแล้ว และตอนนี้วางแผนที่จะขยายไปห้ามใช้ช้อนส้อม ก้านลูกโป่งที่สามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้ เช่น ไม้”
ทั้งนี้ การห้ามจำหน่ายหลอดพลาสติก ก้านชงกาแฟพลาสติกและก้านสำลีพลาสติก มีผลบังคับใช้ในอังกฤษเมื่อปีที่แล้ว
โดยมาตรการบังคับให้จ่ายเงินค่าถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้แล้วทิ้งในอังกฤษ สามารถลดการใช้ถุงดังกล่าวในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ๆ ลงถึง 95% ตั้งแต่ปี 2015
ด้านฝ่ายรัฐบาลท้องถิ่นของสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ก็มีหน้าที่รับผิดชอบต่อนโยบายของตนเองเกี่ยวกับขยะพลาสติกเช่นเดียวกัน
ที่มา : Reuters
]]>ไทยเบฟ มุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy – SEP) ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และได้น้อมนำพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายของการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการธุรกิจ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการช่วยเหลือสังคม ที่มุ่งเน้นการดำเนินงานใน 5 มิติหลักคือ การศึกษา สาธารณสุข กีฬา ศิลปวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชน ที่ได้สร้างผลลัพธ์ความสำเร็จการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และมีการติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยยังตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบริหารจัดการและการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจทุกภาคส่วน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ควบคู่ไปกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good governance)
สอดคล้องกับจรรยาบรรณของบริษัทที่มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ มาเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่จะบรรลุตามวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการต่างๆ อาทิ การผสานสานความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันดูแล และอนุรักษ์แหล่งน้ำ รวมถึงการดูแลชุมชนให้สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดในการอุปโภค และบริโภค เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศ ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการประเมินความยั่งยืนของน้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และดูแลแหล่งน้ำร่วมกับชุมชน
การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ปกป้อง และรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ด้วยการนำขวดพลาสติกบรรจุเครื่องดื่มหลังการบริโภคมาผลิตเป็น เม็ดพลาสติกรีไซเคิลหรือ Recycled PET นำมาผลิตเป็นผ้าห่มในโครงการ ไทยเบฟรวมใจต้านภัยหนาวด้วยนวัตกรรม Eco Friendly Blanket ที่สามารถช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และยังช่วยลดปริมาณขยะจากขวดพลาสติกได้มากถึง 7.6 ล้านขวดต่อปี โดยสามารถผลิต “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ได้มากถึงปีละจำนวน 200,000 ผืน ทำให้สามารถนำขยะจากขวดพลาสติกกลับสู่ระบบรีไซเคิลได้สำเร็จแล้วจำนวน 15.2 ล้านขวดจากการดำเนินต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2
นอกจากนี้ ไทยเบฟ ยังเป็นผู้ริเริ่มแพลตฟอร์มการทำงานในอีกหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง อาทิ มูลนิธิพลังน้ำใจไทย มูลนิธิสถาบันพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย Thailand Supply Chain Network (TSCN) หรือภาคีเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย ฯลฯ การเป็นผู้ริเริ่มการจัดงาน Thailand Sustainability Expo (TSX) ที่ประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดียิ่ง ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก” ที่ตอกย้ำการสร้างพลังความร่วมมือครั้งแรกที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทยที่ร่วมกันขับเคลื่อนและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินงานภายใต้แนวทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ไทยเบฟได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ (ThaiBev Covid-19 Situation Room (TSR)) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการติดตามข่าวสาร และดำรงความต่อเนื่องทางธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ ให้สามารถผลิตและจัดส่งสินค้าได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ไปพร้อมกับใส่ใจด้วยการส่งความห่วงใยและให้การช่วยเหลือสังคม พันธมิตรทางธุรกิจ และพนักงาน ให้ก้าวข้ามสถานการณ์ โควิด-19 ไปด้วยกัน จึงได้มีหน่วยงานที่อาสาไปทำประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวมทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการสนับสนุนทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนมาตรการต่าง ๆ และประสานความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานสาธารณสุข และบุคลากรทางการแพทย์ครอบคลุมทั่วประเทศ อาทิ ส่งมอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากแอลกอฮอล์ หน้ากาก Surgical Mask หน้ากาก N95มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มคุ้มครองการติดเชื้อ (COVID-19) ให้บุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศรวมถึงพนักงาน คู่ค้า เอเย่นต์ในกลุ่มไทยเบฟครอบคลุมทั่วประเทศ มอบตู้แช่จัดเก็บวัคซีนโควิด-19 ให้กับสถานพยาบาล 10 จังหวัดหลักทั่วประเทศ รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ สนับสนุนน้ำดื่ม อาหาร และผลิตภัณฑ์ในเครือ รวมไปถึงการจัดตั้งศูนย์ตรวจโควิด และศูนย์ฉีดวัคซีน ฯลฯ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับทางภาครัฐ
จากการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งในการบริหารจัดการด้านธุรกิจ และการดำเนินโครงการต่างๆ ในการช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ตอกย้ำศักยภาพความพร้อมที่แข็งแกร่งทางธุรกิจในทุกมิติควบคู่ไปกับการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” อย่างยั่งยืน สู่กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของการเป็นต้นแบบของผู้นำองค์กรในด้านความยั่งยืนระดับโลก
]]>บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด ร่วมกับ สถาบันพลาสติก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย PPP Plastics กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และเครือข่ายพันธมิตร ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และเขตปทุมวัน เดินหน้าโครงการ Siam Pieces (สยาม พีซเซส) เพื่อสร้างต้นแบบการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ผ่านการศึกษาวิจัยพฤติกรรมจากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภคในพื้นที่เขตปทุมวัน โดยได้รับทุนสนับสนุนโครงการจาก บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) ภายใต้สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สอวช. มีเป้าหมายที่จะพัฒนาแบบแผนธุรกิจในการนำพลาสติกใช้แล้วทุกชนิดกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างโมเดลศูนย์คัดแยกที่มีศักยภาพในการจัดเก็บขยะพลาสติกทุกประเภท บนพื้นที่ศูนย์กลางแห่งธุรกิจค้าปลีกของประเทศไทยอย่าง วันสยาม ที่ประกอบด้วย 3 ศูนย์การค้าระดับโลก ได้แก่ สยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงการคัดแยกประเภทวัสดุที่สามารถนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลและอื่นๆ ได้ ตลอดจนเพื่อส่งต่อแนวคิดในการใช้ชีวิตให้ผู้คนในสังคมร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของวิกฤตขยะพลาสติกในปัจจุบันที่ทุกคนมิอาจมองข้าม ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดวัฏจักรของการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
นางสาวนราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า
“การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สยามพิวรรธน์ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ด้วยความมุ่งมั่น ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน เราจึงได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาพัฒนาเป็นหลักการบริหารจัดการขยะ ในทุกกระบวนการของธุรกิจ ตั้งแต่การรณรงค์ภายในองค์กร ไปจนถึงการสร้างจิตสำนึกให้ลูกค้า และล่าสุดกับการร่วมเปิด Recycle Collection Center จุดรับขยะรีไซเคิลที่เปิดให้คนทั่วไปสามารถนำมาทิ้งได้ โดยสยามพิวรรธน์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับสถาบันพลาสติก และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการใช้พื้นที่วันสยาม ในการทำวิจัย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากพนักงาน และลูกค้าวันสยาม เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการขยะพลาสติกในสังคมอย่างยั่งยืน พร้อมต่อยอดไปใช้แก้ไขปัญหาการจัดการขยะพลาสติกในพื้นที่ต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งยังสอดรับกับสถานการณ์โลกปัจจุบัน ที่ขณะนี้ทางสหภาพยุโรป หรืออียู ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของโลกในการลดปริมาณขยะพลาสติก และมุ่งมั่นที่จะสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน จึงได้ออกระเบียบว่าด้วยการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวของสหภาพยุโรป (EU Single Use Plastics Directive) ที่เริ่มต้นใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา”
ด้าน นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า
ด้วยความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ร่วมกันสร้างแนวคิดและแบบแผนเศรษฐกิจหมุนเวียนในปัจจุบัน หรือ Circular Economy ทำให้ในปัจจุบันหลากหลายหน่วยงานเกิดความตระหนักในเรื่องการใส่ใจของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการจัดการขยะพลาสติก ทางสถาบันพลาสติกเห็นถึงโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก และ เพิ่มการรีไซเคิลของขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบมากยิ่งขึ้น สถาบันพลาสติกจึงได้รับงบประมาณจาก บพข.เพื่อจัดตั้งโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน โดยเล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่เขตปทุมวัน ที่ประกอบด้วยสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น สถานศึกษา ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล และ ชุมชน โดย “โครงการ SIAM PIECES” นี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ที่ทำการศึกษาตั้งแต่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อการคัดแยกและทิ้งขยะพลาสติก เพื่อเข้าใจและหาเครื่องมือที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการคัดแยกพลาสติกของผู้บริโภคที่มากขึ้น และ ต่อยอดไปจนถึงการศึกษาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อนำผลการศึกษามาพัฒนา และจัดทำแบบแผนธุรกิจ (Business Model) เพื่อลดการเพิ่มขยะพลาสติกสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้มีการนำขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ ศ.ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
“ปัจจุบัน ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการคิดค้นนวัตกรรมในการจัดการวัสดุเหลือใช้ โดยเฉพาะกลุ่มพลาสติก อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาขยะพลาสติกนั้นไม่สามารถสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านอื่นมาร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของผู้ใช้พลาสติกหรือผู้บริโภค และการสร้างกลไกทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดจัดการพลาสติกที่ครบวงจร เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะทำให้พลาสติกทั้งที่มีมูลค่าสูงและส่วนที่ยังมีมูลค่าต่ำอยู่ได้กลับเข้าสู่ระบบเพื่อการจัดการอย่างเหมาะสม การดำเนินการในส่วนนี้จำเป็นต้องมีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อให้สามารถนำผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นไปอ้างอิงและขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาจึงจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIAM PIECES ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาแบบแผนธุรกิจที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร เพื่อร่วมขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนและผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ”
ด้าน ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธาน PPP Plastics กล่าวว่า
“โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาร่วมให้ทุนสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการพัฒนาแบบแผนธุรกิจ (Business Model) สำหรับการบริหารจัดการขยะพลาสติกหลังการใช้โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในพื้นที่เขตเมืองชั้นใน ปัจจุบันองค์กรภาคธุรกิจได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก เพื่อร่วมหาทางออกการบริหารจัดการขยะพลาสติก เพื่อสร้างรูปแบบที่สมดุลอันมุ่งไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกได้มีการดำเนินงานในบริบทที่มีความสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจ BCG หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green: BCG Model) ที่รัฐบาลกำหนดเป็นโมเดลเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นวาระแห่งชาติ อีกด้วย นับได้ว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนในอนาคต”
พร้อมกันนี้ นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า
“โครงการนี้สอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับหนึ่งในเป้าหมายด้านความยั่งยืนที่ ดาว ได้ประกาศไปเมื่อปีที่แล้วคือ “การหยุดขยะพลาสติก” โดยเราตั้งเป้าจะผลักดันให้พลาสติกที่ใช้แล้วจำนวน 1 ล้านตันจากทั่วโลกถูกเก็บกลับมาใช้ประโยชน์ หรือ รีไซเคิล ผมรู้สึกภูมิใจที่ ดาว ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการก่อตั้งโครงการ Siam Pieces อีกทั้งร่วมผลักดันให้เกิด business model ของการจัดการพลาสติกใช้แล้วที่มีประสิทธิภาพ และช่วยยกระดับผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า ซาเล้ง รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียตลอดทั้ง value chain ให้มีรายได้พอเพียงที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้การจัดการพลาสติกเป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต”
นอกจากนี้ ภายใต้งานแถลงข่าวโครงการ Siam Pieces ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM และ Facebook Live เพจ สถาบันพลาสติก ยังมีการจัดเสวนาหัวข้อ “Siam Pieces โมเดลเส้นทางการจัดการพลาสติกใช้แล้วครบวงจร” โดยมี นราทิพย์ รัตตประดิษฐ์ ผู้บริหารระดับสูงแห่งบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วยเหล่า คนดังสายนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและผู้เชี่ยวชาญทางท้องทะเลมาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและร่วมหาทางออก ในการกู้วิกฤตขยะพลาสติก ทั้ง ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาราสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดีกิจการพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , เชอรี่ เข็มอัปสร สิริสุขะ นักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม , เปรม พฤกษ์ทยานนท์ เจ้าของเพจ ‘ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป , ศ.ดร. พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ พิธีกรหนุ่มสายกรีนที่หันมาเอาจริงเอาจังในการสื่อสารเรื่องสิ่งแวดล้อม
โครงการ Siam Pieces ครั้งนี้ นับเป็นโครงการความร่วมมือในการผสานพลังขับเคลื่อนที่ต้องการจะพัฒนาระบบการจัดการพลาสติกใช้แล้วในสังคมเมืองอย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง เพื่อนำไปต่อยอดใช้บริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วในประเทศไทย และนำไปพัฒนาแบบแผนธุรกิจในการนำพลาสติกใช้แล้วทุกชนิดกลับสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมขยายผลสร้างเป็นโมเดลธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดเป็นวัฏจักรของการจัดการขยะพลาสติกในสังคมเมืองที่ยั่งยืน เพื่อเราทุกคนในวันนี้และอนาคต
ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างยั่งยืนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแบบแผนธุรกิจตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ด้วยการตอบแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อพฤติกรรมการ คัดแยกขยะได้ในช่องทาง https://bit.ly/3xLS8GG หรือ Scan QR Code
]]>หลังจากที่เลโก้ได้พัฒนาตัวต่อจากพลาสติกรีไซเคิลมาหลายปี เนื่องจากขยะพลาสติกจากทะเลไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เนื่องจากเสื่อมสภาพเร็วเกินไป ดังนั้น เลโก้จึงทดสอบ พลาสติก PET (polyethylene terephthalate) กว่า 250 รูปแบบ จนล่าสุด เลโก้ได้เตรียมเปิดตัวตัวต่อที่ผลิตจากขวดพลาสติกที่ถูกทิ้ง โดยคาดว่าจะวางจำหน่ายภายใน 2 ปี
“เป้าหมายคือการหาผลิตภัณฑ์ที่ดีพอที่ผู้คนจะไม่สังเกตเห็นความแตกต่าง โดยทั้งตัวต่อที่ทำจากพลาสติกทั่วไปและพลาสติกรีไซเคิลต้องประกบได้อย่างพอดีกัน ต้องสามารถใช้ได้เหมือนกับผลิตภัณฑ์เลโก้อื่น ๆ” Tim Brooks รองประธานฝ่ายความยั่งยืนของเลโก้ กล่าว
ที่ผ่านมา บริษัทเลโก้ได้เริ่มจากการใช้ถุงกระดาษรีไซเคิลแทนถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นอกจากนี้ บริษัทยังได้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่นุ่มขึ้น เช่น ต้นไม้และพืชจากพลาสติกที่ได้จากอ้อย
Libby Peake หัวหน้าฝ่ายนโยบายทรัพยากรที่ Think Tank ของ Green Alliance กล่าวว่า แผนการใช้พลาสติกรีไซเคิลนั้น “ดีกว่าการใช้พลาสติกบริสุทธิ์อย่างแน่นอน” และหวังว่า “การใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งจะลดลงในอนาคตเนื่องจากผู้คนหันมาใช้ซ้ำ”
บริษัทหลายแห่งผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกรีไซเคิล เนื่องจากความยั่งยืนมีความสำคัญต่อลูกค้ามากขึ้น โดยเลโก้ กล่าวว่า ลูกค้าจำนวนมาก ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ต่างต้องการความยั่งยืนมากขึ้นเมื่อซื้อสินค้าโดยทั่วไปและได้ติดต่อบริษัทเพื่อแจ้งเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม Camilla Zerr นักรณรงค์ด้านพลาสติกจาก Friends of the Earth กล่าวว่า “สิ่งสำคัญจริง ๆ ที่การรีไซเคิลจะไม่ถูกยกย่องว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาเริ่มต้นของวิกฤตพลาสติก แต่ผู้ผลิตต้องแน่ใจว่าของเล่นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานได้หลายปี เพื่อให้สามารถส่งต่อและนำกลับมาใช้ใหม่จากรุ่นสู่รุ่น”
โดยปกติแล้วตัวต่อเลโก้จะมีความทนทานเพียงพอสำหรับเล่นกับมนุษย์ 2-3 รุ่น และในกรณีของตัวต่อที่ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิลก็ต้องมีความทนทานเพียงพอในระดับเดียวกันด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ในปี 2561 เลโก้ตั้งเป้าที่จะผลิตผลิตภัณฑ์หลักทั้งหมดจากวัสดุรีไซเคิลภายในปี 2573
ที่ผ่านมา เลโก้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติกได้ประมาณ 1.1-1.2 แสนล้านชิ้นต่อปี และปัจจุบันประมาณ 80% ทำจาก ABS หรือต้องใช้พลาสติกกว่า 90,000 เมตริกตันต่อปี โดยประมาณ 5% ทำจากพอลิเมอร์ที่มาจากอ้อย ซึ่งจากการผลิตส่งผลให้บริษัทต้องปล่อยคาร์บอนประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี แต่จากการใช้พลาสติกรีไซเคิลจะช่วยลดการปล่อยมลพิษ
]]>