ร้านอาหารจานด่วน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 09 Jan 2020 07:32:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เผยโฉม A&W ในเซเว่นฯ ผุดโมเดล Express ตอบรับพฤติกรรม Grab&Go https://positioningmag.com/1259893 Thu, 09 Jan 2020 06:37:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259893 โตคนเดียวไม่ทันใจ A&W ขอโตกับพี่ใหญ่ร้านสะดวกซื้ออย่างเซเว่น อีเลฟเว่น ขยายโมเดล Express ย่อไซส์ร้านขนาดเล็กลง เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ประเดิมสาขา ซ.นวมินทร์ 3 ใกล้มหาวิทยาลัย ABAC บางนาแห่งแรก

ยุคแห่งการย่อร้าน เข้าถึงลูกค้า

ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคแห่งการเป็นพันธมิตรกัน โคแบรนด์ซึ่งกันและกัน เพราะไม่สามารถเติบโตเพียงคนเดียวลำพังได้ ล่าสุดร้าน A&W โดยโกลบอล คอนซูเมอร์ หรือ GLOCON ได้แตกโมเดล A&W Express ที่ย่อขนาดร้านให้เล็กลง แต่ขยายได้มากขึ้น ได้จับมือกับ “เซเว่น” ในการเข้าไปเปิดร้าน

ซึ่ง A&W ได้วางจุดยืนตัวเองเป็นร้านอาหารจานด่วน หรือ QSR อยู่แล้ว แต่เดิมร้านอาหารกลุ่มนี้ยึดทำเลเปิดในห้างสรรพสินค้า มีร้านขนาดใหญ่ มีพื้นที่นั่ง แต่ถ้าขยายในโมเดลเดียวคงจะไม่ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังต้องใช้งบลงทุนมากขึ้นด้วย

ทิศทางของ A&W จึงเริ่มชัดเจนเมื่อปี 2018 ที่เริ่มผุดโมเดล A&W Express เป็นการลดขนาดไซส์ร้านอาหารให้เล็กลง ใช้พื้นที่เพียง 10-30 ตารางเมตรก็สามารถเปิดได้แล้ว เน้นเจาะทำเลที่หลากหลายทั้งห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน และ Metro Mall รถไฟฟ้าใต้ดิน

โมเดลแบบนี้เป็นการตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ที่มีความเร่งรีบ ทานอาหารแบบ Grab&Go หรือรีบซื้อไปทานที่อื่น ไม่นั่งทาน รวมไปถึงการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ด้วย

A&W เข้าไปอยู่ในเซเว่น

แต่เดิมเราอาจจะเห็นร้าน A&W อยู่ในปั๊มน้ำมันบ้าง ในร้านสะดวกซื้อ Jiffy (ในปั๊ม ปตท.) บ้าง แต่ล่าสุด A&W ได้เข้าไปอยู่ในร้านเซเว่น ประเดิมสาขาแรกที่ ซ.นวมินทร์ 3 ใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ABAC บางนา เปิดให้บริการตั้งแต่ 7.00-22.00 น.

แม้จะเป็นร้านเล็กแต่ยังมีเมนูที่เป็นซิกเนเจอร์จากรูทเบียร์ และวาฟเฟิลให้บริการอยู่ พร้อมกับเมนูพิเศษเฉพาะที่เซเว่นด้วย อย่างคุโรบูตะวาฟเฟิล และแฮมชีสวาฟเฟิล

ในปีนี้มีแผนที่จะขยายโมเดล A&W Express อีก 10-15 สาขา มีทั้งพื้นที่ในเมือง และนอกเมือง รวมไปถึงการขยายกับเซเว่นที่ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 12,000 สาขาทั่วประเทศ ย่อมมีโอกาสในการขยายสาขาได้เร็วขึ้น ครอบคลุมทั้งใน กทม. และต่างจังหวัดได้

อ่านเพิ่มเติม

ภาพจาก Facebook A&W Thailand

]]>
1259893
เมื่อเถ้าแก่น้อยต้องทำมากกว่าขายสาหร่าย https://positioningmag.com/1195212 Wed, 31 Oct 2018 23:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195212 Thanatkit

เถ้าแก่น้อย เปิด “เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส” ร้านค้าปลีกขายของฝากนักท่องเที่ยว คว้า “เบลล่า” พรีเซ็นเตอร์ เตรียมแตกไลน์เข้าสู่ “ร้านอาหารจานด่วน” หวังลดเสี่ยงธุรกิจสาหร่าย

ถึงวันนี้ “ตลาดสาหร่ายแปรรูป” มูลค่า 3,500 ล้านบาท จะยังคงมีอัตราเติบโต 8-9% และตัว “เถ้าแก่น้อย” สามารถครองตลาดด้วยส่วนแบ่ง 70% ก็ตาม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี เพราะอัตราการเติบโตไม่หวือหวาเหมือนช่วง 3-4 ปีก่อน ที่เติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก

ต๊อบ – อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) บอกเองว่า โจทย์สำคัญของเถ้าแก่น้อยในวันนี้ คือ ภาพรวมของตลาดสาหร่ายมีการเติบโตที่ลดลง ด้วยไม่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่พอจะสร้างความตื่นเต้นมานานกว่า 10 ปี ทำให้ตลาดนิ่ง ผู้บริโภคก็เริ่มเบื่อ

ถึงแม้เถ้าแก่น้อยพยายามจะออกนวัตกรรมให้ได้ปีละ 1 ชนิด อย่างปีนี้ก็ออก สาหร่ายเทมปุระไข่เค็ม” ที่พอจะสร้างกระแสได้บ้าง แต่ใช่ว่าสินค้าใหม่ที่ออกมาจะประสบความสำเร็จทุกตัว ขอเพียง 1-2 ตัวไปได้ดีจากทั้งหมด 7-8 ตัวที่ออกมาก็พอใจแล้ว

ทางออกที่ดีที่สุดของ เถ้าแก่น้อย วันนี้จึงต้องมองหาธุรกิจอื่นๆ ที่จะเข้ามาลดความเสี่ยง ในที่สุดก็มาลงตัวที่ธุรกิจร้านอาหารจานด่วน หรือ QSR (Quick Service Restaurant) ที่มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท

สังคมไทยเป็นยุคเร่งด่วน คนไม่ค่อยมีเวลาแต่ยังต้องการอาหารที่มีประโยชน์ ที่ไม่ใช่อาหารแช่แข็ง QSR จึงตอบโจทย์ที่สามารถกินได้เร็ว และมีโอกาสเติบโตมาก

อิทธิพัทธ์ยังไม่เปิดเผยชื่อแบรนด์ บอกแต่ว่าเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักหรือมีฐานลูกค้าคนไทยอยู่แล้ว เมื่อมาถึงไม่ต้องใช้งบการตลาดมากมายในการสร้างแบรนด์ อีกทั้งผู้บริโภคยังมีความต้องการอยู่มาก แต่ที่มีอยู่ในตลาดยังไม่ดีพอ

ตอนแรกยังลังเลระหว่างแฟรนไชส์จากญี่ปุ่นหรือไต้หวันดี เพราะทั้ง 2 ประเทศขึ้นชื่อเรื่องอาหารทั้งคู่ แต่ในที่สุดก็เลือกแฟรนไชส์จากญี่ปุ่น ซึ่งค่อนข้างมีชื่อเสียงในโตเกียว เบื้องต้นจะทดลองตลาด 1 สาขาก่อนในกรุงเทพฯ ในร้านจะมีขายครบทั้งของคาว ของหวาน เครื่องดื่ม หากประสบความสำเร็จปีหน้าก็วางแผนที่จะทุ่มขยายสาขาสุดตัว”

เปิดโมเดลใหม่ “เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส”

ขณะเดียวกัน ต๊อบ-อิทธิพัทธ์ ให้ความสำคัญธุรกิจค้าปลีก “เถ้าแก่น้อยแลนด์” ล่าสุดได้เปิดโมเดลใหม่ ให้มีขนาดและสินค้าที่หลากหลายมากขึ้นโดยใช้ชื่อว่า เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส

เดิมร้านเถ้าแก่น้อยแลนด์ สาขาแรกที่ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ เปิดเมื่อ 8 ปีก่อน มีลักษณะเหมือนกับโชว์รูมให้กับลูกค้าคนไทย แต่หลังจากไปเปิดสาขาที่ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 อโศก แล้วพบว่าลูกค้าหลักเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ

ต๊อบจึงตัดสินใจปรับกลยุทธ์จากที่เน้นคนไทยหันไปเน้นชาวต่างชาติมากขึ้น โดยจะเปิดสาขาในจุดที่มีนักท่องเที่ยวอยู่เยอะ มีโมเดล 2 รูปแบบคือ เถ้าแก่น้อยแลนด์ มินิ มีขนาด 20-50 ตารางเมตร ลงทุน 1-2 ล้านบาท และเถ้าแก่น้อยแลนด์ มินิ ขนาด 50 – 150 ตารางเมตร ลงทุน 2-3 ล้านบาท ตอนนี้มีรวมกันประมาณ 20 สาขา มีทราฟฟิกของคนที่ซื้อทุกสาขารวมกันประมาณ 10,000 คนต่อสัปดาห์

ทั้ง 2 โมเดลที่เปิดไปเราพบจากพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวจีน ที่เป็นฐานลูกค้าหลัก 70% อีก 20% เป็นเอเชีย เช่น เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ ที่เหลือ 10% คนไทย คือถึงลูกค้าจะซื้อขนมในร้านไปเป็นของฝากก็จริง แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ต้องไปซื้อสินค้าอื่นๆ ที่ร้านต่อไปอยู่ดี จึงเป็นที่มาของการเปิดเถ้าแก่น้อยแลนด์ พลัส เพื่อทำให้เป็น One Stop Shopping ลูกค้าจะได้ไม่ต้องไปร้านอื่นอีก”

เบื้องต้นได้เปิด 1 สาขา ตั้งอยู่ ณ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นเตอร์พอยท์ ออฟ สยามสแควร์ เมื่อ 2 เดือนก่อน สิ่งที่เปลี่ยนไปในร้านคือขนาดที่ใหญ่ขึ้น ใช้พื้นที่เฉลี่ย 150 – 300 ตารางเมตร เงินลงทุน 5-10 ล้านบาท ภายในปีนี้จะเปิดเพิ่มอีก 1 แห่ง

สินค้าที่วางขายจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากเดิม 1,000 SKU เป็น 2,000 SKU ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ สปา บำรุงผิว สิ่งทอ ของฝาก และของที่ระลึกต่างๆ ในราคาที่จับต้องได้ เช่น พวงกุญแจ หรือที่นอนยางพารา เป็นต้น

สินค้าหลัก 60% จะเป็นอาหาร 40% เป็นสินค้าอื่นๆ โดยสินค้าแบรนด์เถ้าแก่น้อยและเฮาส์แบรนด์ของร้านมี 20% โดยสินค้าที่ขายดีที่สุดของร้านในแง่จำนวนคือ กลุ่มสมุนไพร เช่น ยาดม ยาหม่อง ส่วนอาหารก็ยังเป็นแบรนด์เถ้าแก่น้อยอยู่

งานเปิดตัว ได้ติดต่อ “เบลล่า – ราณี แคมเปน” เป็นพรีเซ็นเตอร์ของเถ้าแก่น้อยแลนด์ เหตุที่เลือกเบลล่าด้วยมองว่ามีความสามารถในการโปรโมตความเป็นไทยได้ดี อีกทั้งเริ่มมีชื่อเสียง มีฐานแฟนคลับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ยังได้เตรียมงบ 20 ล้านบาทในทำการตลาดของเถ้าแก่น้อยแลนด์ หลักๆจะทำในสื่อออนไลน์

ต๊อบบอกว่าเป้าหมายของ “เถ้าแก่น้อยแลนด์พลัส” คือลูกค้าอยู่ในร้านนานและใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ถ้าเป็นร้าน “เถ้าแก่น้อยแลนด์” เดิมจะใช้เวลาเฉลี่ย 20-30% มียอดใช้จ่ายต่อบิล 400 – 500 บาท แต่หลังจากทดลองเปิดเถ้าแก่น้อยแลนด์พลัสได้ 2 เดือน ยอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 600 บาท ใช้เวลาในร้าน 30-60 นาที และมียอดใช้จ่ายต่อบิล 800 – 1,000 บาท

นอกจากนี้ยังได้เตรียมเพิ่มคีออสขายอาหารปรุงสดขึ้นมาใหม่ในร้าน ซึ่งบางเมนูจะใช้สาหร่ายมาเป็นส่วนประกอบด้วย ภายในร้านจะเป็นโต๊ะและเก้าอี้ให้นั่งประมาณ 10-15 ตัว

เปิดเถ้าแก่น้อยแลนด์ 4 ปี ต้องมี 100 สาขา

เถ้าแก่น้อยวางแผนขยาย “เถ้าแก่น้อยแลนด์” ภายใน 4 ปี ต้องเปิดให้ได้ 100 สาขา ใช้งบลงทุนทั้งหมด 150-200 ล้านบาท แบ่งเป็นมินิกับขนาดปรกติ 60 สาขา ที่เหลือ 40 สาขาจะเป็นขนาดใหญ่ ไปในทำเลที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องที่ยว โดยจะไม่ทำเป็นแฟรนไชส์เด็ดขาด

เราต้องการให้เถ้าแก่น้อยแลนด์ขึ้นเป็นท็อปออฟมายด์ ร้านค้าขายของฝากทั้งของกินและของที่ระลึก หากสามารถขยายสาขาตามแผนที่วางไว้ เถ้าแก่น้อยแลนด์ จะกลายเป็นเชนที่ใหญ่ที่สุดของไทย เมื่อถึงตอนนั้นคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 300 ล้านบาท”

ขณะเดียวกันในภาพรวมของบริษัทเถ้าแก่น้อยต็อบเกริ่นไว้ว่า กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนปรับกลยุทย์และภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็น Happiness Company ซึ่งจะเห็นความชัดเจนในปีหน้า.

]]>
1195212
เมนูใหม่ได้ผล! McDonald’s โกยส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม https://positioningmag.com/1167910 Tue, 01 May 2018 01:08:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167910 หุ้นพุ่งกระฉูดสำหรับ McDonald’s เครือข่ายร้านอาหารจานด่วนรายใหญ่ที่สุดของโลก ที่ประกาศการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในทุกตลาดหลัก ไล่ตั้งแต่ฝรั่งเศส รัสเซีย ไปยังสหรัฐฯ ผลจากความพยายามปรับโฉมเมนูอาหารใหม่จนทำให้ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มขึ้นชัดเจน นั่นคือการกำหนดราคาเพียง 3 ระดับ $1, $2 และ $3 ร่วมกับการหันมาใช้เนื้อสดหรือ fresh beef ในเบอร์เกอร์

หุ้นที่เพิ่มขึ้นทันที 4% อาจเป็นผลจากการที่ McDonald’s ประกาศสถิติสวยงามในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยไตรมาสที่ผ่านมา ยอดขายในร้าน McDonald’s ที่เปิดช่วง 13 เดือนล่าสุดมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 2.9% ผลจากราคาอาหารที่สูงขึ้น และยอดขายที่เพิ่มขึ้น

หากมองที่ตลาดโลก McDonald’s เรียกตัวเองว่าเป็นผู้นำตลาดของประเทศอย่างออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ตลาดเหล่านี้ทำยอดขายเพิ่มขึ้น 7.8% ถือเป็นประเทศกลุ่มหลักนอกสหรัฐฯ ที่ทำยอดขายให้ McDonald’s มากที่สุด

ในภาพรวม McDonald’s ทำลายสถิติตัวเลขประมาณการยอดขายหลายส่วน โดยยอดขายจากสาขาเดิมหรือ same-store sales เพิ่มขึ้น 5.5% ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 3.9% เท่านั้น

Steve Easterbrook ซีอีโอใหญ่ McDonald’s มั่นใจว่าผลประกอบการนี้แสดงถึงสายตาของลูกค้าที่เริ่มตระหนักว่า McDonald’s กำลังกลายเป็น “McDonald’s ที่ดีกว่าซึ่งนับตั้งแต่ที่ McDonald’s ได้ซีอีโอรายนี้ไปบริหารในปี 2015 มาตรการเร่งกระบวนการผ่าตัด McDonald’s ก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจังและรวดเร็ว โดยเฉพาะการเปลี่ยนภาพลักษณ์บริษัท สร้างเมนูและเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ McDonald’s สามารถพลิกยอดขายขึ้นมาเติบโตต่อเนื่อง 11 ไตรมาส

ที่สำคัญ McDonald’s ยังมีอัตราการเข้าร้านของลูกค้าสูงขึ้นต่อเนื่อง 5 ไตรมาสติดต่อกันเรียบร้อย

*** เนื้อสดได้ผล

การปรับแต่งเมนูล่าสุดของ McDonald’s ที่เป็นข่าวฮือฮาที่สุดยังรวมถึงการใช้เนื้อสดในเบอร์เกอร์รุ่นบางของ McDonald’s ยังมีอีกบางเมนูที่จะเริ่มจำหน่ายในหลายสาขาช่วงเดือนพฤษภาคม ยังมีอาหารกลุ่ม Happy Meals ที่จะถูกปฏิวัติให้ราวครึ่งหนึ่งของรายการอาหารมีแคลอรีน้อยกว่า 600 แคลอรี ภายในปี 2022 

บทสรุปที่ได้ คือ McDonald’s กำลังกลับมาโดนใจลูกค้าอีกครั้งด้วยภาพลักษณ์เบอร์เกอร์พรีเมียม ที่ใช้เนื้อสด บนราคาเมนูแบบ 3 ระดับ $1, $2 และ $3 ที่โดนใจคนอเมริกันมากกว่าเดิม จุดนี้ทำให้ไม่เพียง same-store sales เท่านั้นที่ McDonald’s ทำได้ดีขึ้นในไตรมาสล่าสุด เพราะรายได้สุทธิของ McDonald’s ก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,380 ล้านเหรียญหรือ 1.72 เหรียญต่อหุ้น จากที่เคยทำได้ 1,210 ล้านเหรียญหรือ 1.47 เหรียญต่อหุ้นในปีก่อนหน้า

อย่างไรก็ตาม รายได้รวมของ McDonald’s ลดลง 9% สู่ระดับ 5,140 ล้านเหรียญ แต่ยังคงเหนือกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 4,980 ล้านเหรียญ การลดลงนี้เป็นเพราะการที่ McDonald’s ขายร้านค้าให้แฟรนไชส์มากขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์ Neil Saunders แห่ง GlobalData Retail เรียกสิ่งที่ McDonald’s เลือกทำ ว่าเป็นแนวทางป้องกันตัวเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายของ McDonald’s ลดลง.

]]>
1167910
แมคโดนัลด์ รุกตลาดเบอร์เกอร์ 4.0 https://positioningmag.com/1153357 Fri, 12 Jan 2018 00:15:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153357 เมื่อเทคโนโลยีมีบทบาทกับทั้งพฤติกรรมลูกค้า และรูปแบบการให้บริการ แมคโดนัลด์ จึงต้องเดินเกม ประกาศตัวเป็นร้านอาหารทันสมัย (Modern Restaurant) โดยมีโจทย์สำคัญ คือ “จะทำอย่างไรให้ลูกค้าสั่งอาหารได้ง่ายๆ”

จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลัง “พันธมิตร” ผู้ให้บริการรับชำระเงินดิจิทัลมากขึ้นต่อเนื่อง โดยร่วมมือกับพันธมิตรหลายราย เอ็มเปย์, บลูเพย์ อาลีเพย์ และทรูมันนี่วอลเล็ท เพื่อรับชำระเงินค่าอาหารในร้านแมคโดนัลด์ผ่านคิวอาร์โค้ด

ที่ผ่านมาแมคโนนัลด์เริ่มให้รับชำระแบบไร้เงินสดตั้งแต่ปี 2554 ทั้งบัตรเครดิตวีซ่าเพย์เวฟ, บัตรแรบบิท และแรบบิท ไลน์ เพย์ 

เฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด บอกว่า แมคโดนัลด์ ใช้งบลงทุน 800-1,000 ล้านบาท ใช้ขยายสาขา และนำเทคโนโลยีมาใช้มาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ลูกค้ายุคใหม่

ทั้งการร่วมมือกับ “โอมิเซะ” (Omise) นำระบบชำระเงินออนไลน์สำหรับสั่งซื้ออาหารผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เพื่อเป็นไปตามเทรนด์ของเทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่

เป้าหมายของแมคโดนัลด์ เพื่อต้องการลดสัดส่วนลูกค้าที่ชำระเงินสด จากปัจจุบันมีประมาณ 60-65% ให้เหลือ 50% ในช่วงกลางปี 2561 นี้

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ติดตั้ง Self-Ordering Kiosk (SOD) หรือเครื่องสั่งอาหารอัตโนมัติด้วยตนเอง เป็นรายแรก ซึ่งปัจจุบันมียอดชำระเงินผ่านคีออสก์นี้ราว 5-10%   

นอกจากนี้ แมคโดนัลด์ ยังนำเมนูบอร์ดแบบวิดีโอวอลล์ระบบดิจิทัลมาใช้ ติดตั้งไปแล้ว 79 สาขา จะเพิ่มอีก 60 สาขาภายในปีนี้ เพื่อสร้างจุดเด่นแตกต่างจากร้านอาหารจานด่วนที่แข่งขันสูงมาก

ระบบนี้จะปรับเปลี่ยนหน้าจอทุก 3 นาที ซึ่งควบคุมและสั่งการจากส่วนกลาง แต่ละสาขาจะมีรายละเอียดแตกต่างกันไป ใช้ข้อมูลเมนูขายดีของแต่ละสาขาเป็นตัวกำหนดเบื้องต้น เช่น สาขาโรบินสัน สุขุมวิท ยอดขายบิ๊กแม็คจะพุ่งแรง เนื่องจากมีลูกค้าเป็นชาวต่างชาติจำนวนมาก ส่วนสาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ เมนูขายดีคือเบอร์เกอร์ปลา เนื่องจากเป็นที่ชื่นชอบของแฟนๆ แมคโดนัลด์ชาวไทย 

ส่วนการขยายสาขา ตั้งเป้าเปิดอีก 15-20 สาขา เน้นร้านสาขารูปแบบไดรฟ์ทรูมากที่สุด 50% ทำเลสาขาใหม่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และหัวเมืองหลักในจังหวัดใหม่ๆ รองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ จากปัจจุบันมีอยู่แล้ว 252 สาขา แยกเป็นสาขาไดรฟ์ทรู  82 สาขา และสาขาที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง 79 สาขา

เฮสเตอร์ ชิว กล่าวว่า จะยึดหลัก 2 อย่าง โลเกชั่น ที่ต้องมีทราฟฟิกมาก เพราะอุตสาหกรรมบริการมีการซื้อตัวกันสูง ทั้งจากการที่มีร้านอาหารเปิดใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการที่มีโรงแรมใหม่ๆ เปิดให้บริการ

แม้ในปีที่ผ่านมาผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศน้อยลง ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจค้าปลีกและร้านอหาร แต่แมคโดนัลด์ไม่มีนโยบายปรับราคา เนื่องจากต้องรักษาช่องว่างของราคาไม่ให้ถีบตัวห่างกับอาหารจานเดียวตามร้านข้างทาง หรือร้านอาหารในฟู้ดคอร์ทมากนัก

ในขณะเดียวกันก็ต้องเพิ่มมูลค่าที่เหนือกว่า เช่น มีเครื่องปรับอากาศ และมีห้องน้ำภายในตัวสำหรับสาขาสแตนด์อโลน และสาขาอื่นๆที่เจ้าของพื้นที่อนุญาตให้ทำห้องน้ำได้ เป็นต้น ปีนี้ตั้งเป้าเติบโตด้วยตัวเลขสองหลัก”

เมื่อ POSITIONING สอบถามเฮสเตอร์ ชิว ว่าสำหรับธุรกิจ QSR แล้วเขามองว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคจะเน้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน ระหว่าง ความจงรักภักดี (Loyalty) กับ ความอ่อนไหวด้านราคา (Price Sensitive) เขาบอกว่า “แน่นอนว่าต้องเป็นเรื่องราคามากกว่า

ดังนั้น แพลตฟอร์มการรับชำระเงินแบบไร้เงินสด หรือแบบดิจิทัลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะดึงดูดให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่ามากกว่าการจ่ายด้วยเงินสด และมาใช้บริการบ่อยครั้ง และคาดว่าจะกระตุ้นยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นสองหลัก จากปีนี้ที่ยอดเพิ่มขึ้นหลักเดียว

แต่ราคาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องจ่ายถูกหรือจ่ายน้อยกว่าเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงมีคุณค่า (Value) ด้านอื่นๆ เช่น บรรยากาศภายในร้าน การบริการ รวมถึงระบบสะสมแต้มที่ให้รางวัลหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับผู้บริโภค เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้คือการสร้างประสบการณ์ที่ดีและน่าจดจำให้กับผู้บริโภค

นอกจากนี้ เฮสเตอร์ ชิว ได้เล่าถึงข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละช่องทางว่า สาขา Drive-through จะมียอดขายอาหารเช้ามากถึง 25-30% เพราะพ่อแม่หรือผู้ปกครองขับรถแวะมาซื้ออาหารให้ลูกกินในรถก่อนรีบไปส่งที่โรงเรียน โดยเมนูอาหารเช้าที่ขายดีคือมัฟฟิน เพราะรับประทานสะดวก ไม่หกเลอะเทอะ ในขณะที่เมนูอาหารเช้าที่ขายดีในร้านแมคโดนัลด์ทั่วไปคือโจ๊กไก่,โจ๊กหมู เพราะเหมาะกับการนั่งรับประทานภายในร้าน
สำหรับแนวทางในการดำเนินธุรกิจของแมคโดนัลด์ทั่วโลกนั้นจำเป็นจะต้องเข้าใจพฤติกรรมและสอดรับไปกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่น เช่น ในต่างประเทศอย่างฟิลิปปินส์ ที่มีคนประกอบอาชีพเป็นคอล เซ็นเตอร์จำนวนมาก และเนื่องจากรูปแบบการทำงานจะทำงานกันเป็นกะ ตลอด 24 ชั่วโมง ที่นั่นร้านแมคโดนัลด์ 24 ชั่วโมง จึงได้รับการตอบรับดีมาก

อย่างในไทยแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือนกัน สาขาที่ตั้งอยู่ในย่านแหล่งท่องเที่ยวหรือที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เช่น ภูเก็ต กระบี่ สมุย นานา อัมรินทร์พลาซ่า สยามพารากอน และสาขาภายในสนามบิน เมนูเบอร์เกอร์ต่างๆ ก็จะขายดี ซึ่งรวมถึงภาษาที่ใช้สื่อสารก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วย เช่น เมนูในสาขาแถบรัชดาก็จะมีภาษาจีนกำกับด้วย เนื่องจากมีลูกค้าชาวจีนเยอะ หรือเมนูในสาขาที่พัทยาก็จะมีภาษารัสเซียเพิ่มเติมเข้ามา เนื่องจากมีลูกค้าชาวรัสเซียทั้งที่เดินทางมาท่องเที่ยวและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

นอกจากพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่ของร้านแมคโดนัลด์แล้วประมาณ 2 แสนดาวน์โหลด คาดว่าสิ้นปี 2561 นี้จะเพิ่มเป็น 5 แสนยอดดาวน์โหลด ซึ่งเป็นแอปเพื่อให้บริการการรับชำระเงินแบบไร้เงินสดหลากหลายรูปแบบ

ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเพิ่มบริการให้ผู้บริโภคสามารถสั่งอาหารล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่นไจากนั้นค่อยมารับที่สาขา เพื่อแก้ปัญหาการรอคิวนานในช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น ช่วงพักกลางวันที่มักจะมีลูกค้าหนาแน่น ผู้บริโภคที่เตรียมตัวจะรับประทานมื้อกลางวันที่แมคโดนัลด์ก็สามารถสั่งเมนูโปรดไว้ก่อนได้ ไม่ต้องเสียเวลามารอคิว ซึ่งการบริการนี้จะเป็นไปในรูปแบบของ Location-Based Service (LBS)

เทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตผู้บริโภคง่ายขึ้นอย่างเงินดิจิทัล จึงเพิ่มบทบาทให้กับสมาร์ทโฟน ที่นับวันจะทวีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อชีวิตคนเรามากไปกว่าการเปรียบเปรยเป็นอวัยวะที่ 33 และเป็นเครื่องมือทางการตลาดชั้นดีที่แบรนด์ต่างๆ ต้องการช่วงชิงเพื่อกำชัยเหนือคู่แข่ง

“คนเราออกจากบ้าน มีหลายคนที่ลืมกุญแจบ้าน ลืมกระเป๋าเงิน แต่มีน้อยคนมากนะ ที่จะลืมโทรศัพท์มือถือ” เฮสเตอร์ ชิว กล่าวทิ้งท้าย.

]]>
1153357