ลดขยะ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 12 Sep 2020 10:03:55 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 McDonald’s อังกฤษทดลองระบบ “แก้วใช้ซ้ำ” คืนแก้วได้คืนเงินมัดจำ แก้ปัญหาขยะล้นโลก https://positioningmag.com/1296708 Sat, 12 Sep 2020 08:42:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296708 McDonald’s ประเทศอังกฤษ กำลังวางแผนทดสอบระบบ “แก้วใช้ซ้ำ” ร่วมกับบริษัท Loop โดยลูกค้าวางเงินมัดจำค่าแก้วก่อน และจะได้คืนเมื่อคืนแก้วภายในร้าน หรือถ้าสั่งกลับบ้าน สามารถนำแก้วไปคืนที่จุดรับคืนอื่นๆ ได้ ช่วยแก้ปัญหาขยะล้นโลก และสะดวกกับลูกค้ามากกว่าการรณรงค์ให้พกแก้วไปเอง

ถ้าคุณมีโอกาสได้แวะร้าน McDonald’s ที่ประเทศอังกฤษช่วงต้นปีหน้า คุณอาจสังเกตเห็นทางเลือกใหม่ในการสั่งเครื่องดื่มร้อนอย่างกาแฟหรือช็อกโกแลตร้อน แทนที่จะใส่แก้วกระดาษใช้แล้วทิ้งอย่างเคย ร้านจะให้แก้วพลาสติกและฝาปิดแก้วแบบใช้ซ้ำได้แทน โดยแก้วรูปแบบนี้สามารถนำกลับมาล้าง ฆ่าเชื้อ และนำกลับเข้าระบบของร้านสำหรับเสิร์ฟลูกค้ารายต่อไปได้

McDonald’s เป็นเชนร้านอาหารเจ้าแรกที่ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท Loop เพื่อสร้างระบบภาชนะใช้ซ้ำขึ้นมา บริษัท Loop นั้นเป็นผู้นำในระบบบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำอยู่แล้ว ที่ผ่านมาเคยร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ดังผู้ผลิตแชมพูและไอศกรีม สร้างเครือข่ายให้ผู้บริโภคนำบรรจุภัณฑ์กลับมาคืน แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่บริษัททำงานกับเชนร้านอาหาร ซึ่งบริบทการใช้และคืนบรรจุภัณฑ์อาจจะแตกต่างออกไป

ในประเทศอังกฤษ สาขาส่วนใหญ่ของ McDonald’s ใช้แก้วกระดาษที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อยู่แล้ว แต่แน่นอนว่าการใช้ซ้ำแก้วเดิมย่อมมีผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการเข้ากระบวนการรีไซเคิลทันที

ตัวอย่างแก้วใช้ซ้ำ (Reuse) ของ McDonald’s อังกฤษ

ระบบใหม่นี้จะให้ลูกค้ามัดจำเงินค่าแก้วใช้ซ้ำไว้ก่อน หากนั่งทานในร้านเสร็จแล้วสามารถคืนแก้วที่จุดรับคืนของ Loop ในร้านและได้รับเงินมัดจำคืนทันที หรือถ้าลูกค้าสั่งกลับบ้าน (take away) สามารถเก็บแก้วมาคืนทีหลังได้ หรือจะคืนที่จุดรับคืนอื่นๆ ของ Loop ก็ได้ นอกจากในร้าน McDonald’s แล้ว ยังมีจุดรับที่ซูเปอร์มาร์เก็ต Tesco ด้วย

หลังจากได้คืนแก้วแล้ว Loop จะเป็นผู้นำไปทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และบรรจุหีบห่อกลับมาที่ร้านใหม่อีกครั้ง (ถ้าหากลูกค้าหาจุดรับคืนไม่เจอ ตัวแก้วเองสามารถรีไซเคิลได้)

“ทอม ซากี้” ซีอีโอ Loop มองว่า การทำระบบคืนแก้วแบบนี้สะดวกกับลูกค้ามากกว่าการต้องพกแก้วส่วนตัวไปทุกที่ “กุญแจสำคัญคือเราจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้ซ้ำ (reuse) นั้นใช้ได้จริงกับธุรกิจที่มุ่งเน้นเรื่องความสะดวกสบายของลูกค้า ดังนั้นเราจึงมุ่งมั่นกับการสร้างความสะดวกให้กับการทิ้ง แต่ยังทำให้สิ่งนั้นกลับมาใช้ซ้ำได้อยู่”

 

ถ้าระบบ ‘เวิร์ก’ อาจจะขยายไปใช้กับเมนูอื่นต่อ

การทดสอบระบบใหม่กับแก้วกาแฟครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของ McDonald’s เชนร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดรายนี้เคยทดลองระบบแก้วใช้ซ้ำในเยอรมนีมาแล้ว แต่ระบบนั้นคือการให้ส่วนลดกับลูกค้าที่นำแก้วมาเอง และเสิร์ฟเครื่องดื่มในแก้วกระเบื้องเมื่อลูกค้าต้องการทานในร้าน ซึ่งเป็นระบบแบบเดียวกับร้านอาหารฟูลเซอร์วิสทั้งหลายทำกัน แต่สำหรับเชนฟาสต์ฟู้ดที่ลูกค้าจำนวนมากซื้ออาหารกลับบ้าน วิธีนี้จึงไม่ค่อยตอบโจทย์เท่าไหร่

“เรากำลังใช้โครงการนำร่องนี้เพื่อทดสอบ และเพื่อพิจารณาว่าโมเดลการใช้ซ้ำจะใช้ได้จริงกับระบบของเราได้อย่างไร ทั้งในมุมมองของการบริหารร้าน และมุมมองของลูกค้า” เจนนี่ แมคคอลล็อค รองประธานฝ่ายความยั่งยืนระดับโลก McDonald’s Corporation กล่าว

“โครงการนี้จะเหมือนกับเวลาที่เราทดลองลงเมนูใหม่ เราต้องเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแฟรนไชส์ของเรา ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับตั้งแต่การสั่งออร์เดอร์ การสัมผัสกับแก้วและเครื่องดื่มในแก้ว จนถึงการคืนแก้ว โดยเรามีแบบประเมินประสิทธิภาพของสิ่งเหล่านี้รอไว้แล้ว โครงการจะทดลองหลายๆ รูปแบบ เช่น ต้องมีเงินมัดจำจูงใจเท่าไหร่ถึงจะกระตุ้นให้ลูกค้านำแก้วมาคืน แก้วจะถูกใช้ซ้ำกี่ครั้งก่อนที่จะหายเข้าไปสู่การรีไซเคิล แม้ว่างานดีไซน์จะออกแบบมาให้แก้วใช้ซ้ำได้อย่างน้อย 100 ครั้งก็ตาม” แมคคอลล็อคอธิบาย

มีความเป็นไปได้ที่ระบบนี้จะถูกนำไปใช้กับบรรจุภัณฑ์อย่างอื่นในร้านด้วย “ถ้าหากใช้ได้จริงกับแก้วเครื่องดื่มร้อน มันอาจจะขยายไปใช้กับน้ำอัดลม หรือแมคเฟลอร์รี่ด้วยก็ได้” ซากี้กล่าว “จากนั้นก็อาจจะขยายไปถึงแพ็กเกจจิ้งที่ใช้ใส่แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟราย นักเก็ตไก่ ไปจนถึงพายแอปเปิล”

ซากี้ยังหวังด้วยว่า ระบบนี้อาจจะขยายไปสู่เชนร้านอาหารอื่นๆ “ความงามของเครือข่ายของเราคือ ยิ่งมีผู้เล่นในตลาดเข้ามาใช้งานมากเท่าไหร่ เครือข่ายของจุดรับคืนก็จะยิ่งมากและสะดวกขึ้นเท่านั้น”

McDonald’s เองก็หวังว่าร้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันจะช่วยกันทำให้ระบบนี้ก้าวหน้า “สิ่งหนึ่งที่เราเห็นบ่อยๆ ในการสร้างความยั่งยืนคือ ยิ่งมีผู้มีส่วนร่วมที่หลากหลายและมุมมองจากส่วนต่างๆ ของสังคมจำนวนมากที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน จะยิ่งง่ายขึ้นในการสร้างความก้าวหน้า ในกรณีโครงการนี้คือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและโซลูชันเพื่อป้องกันไม่ให้ขยะไปอยู่ในธรรมชาติ” แมคคอลล็อคกล่าว

Source

]]>
1296708
ร้านค้าทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงิน “ค่าถุงพลาสติก” แล้ว ราคาขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน https://positioningmag.com/1286131 Wed, 01 Jul 2020 12:37:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286131 ร้านค้าปลีกทั่วญี่ปุ่น เริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติกเเล้ว ตั้งเเต่ 1 .. เป็นต้นไป โดยไม่ได้กำหนดราคาตายตัว ขึ้นอยู่กับเเต่ละร้าน

ร้านค้าทั่วไป รวมถึงสะดวกซื้อ สามารถตัดสินใจได้ว่าจะคิดเงินค่าถุงพลาสติกกับลูกค้าราคาเท่าใด ซึ่งสำนักข่าว AFP รายงานว่า ร้านค้าส่วนใหญ่เก็บค่าถุงพลาสติกใบละ 3 เยน (ราว 0.90 บาท)

ลูกค้ารายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ NHK ว่า เธอซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อทุกเช้า และวันนี้ก็ได้เตรียมกระเป๋าผ้ามาเอง เพราะรู้ว่าร้านจะเริ่มเก็บค่าถุงพลาสติกแล้ว 

อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบการห่อบรรจุภัณฑ์ในสินค้าต่างๆ ที่เน้นทั้งความพิถีพิถันและความสวยงาม ร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่ ห่อกล้วยแต่ละลูกด้วยพลาสติก สิ่งเหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นสร้างขยะต่อประชากรสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ (ยกเว้นสหรัฐฯ) โดยสหประชาชาติเคยวิจารณ์รัฐบาลญี่ปุ่นว่าล่าช้าในเรื่องลดการใช้พลาสติก

รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเคลื่อนไหว ด้วยการออกมาตรการล่าสุดเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกเกินความจำเป็น และให้ใช้อย่างชาญฉลาด การเก็บค่าถุงพลาสติกทั่วประเทศครั้งนี้ จึงหวังจะกระตุ้นให้ประชาชนคิดให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องใช้ถุงพลาสติกหรือไม่

ญี่ปุ่นเคยให้คำมั่นว่า ภายในปี 2030 จะลดขยะพลาสติกลงให้ได้ 1 ใน 4 จากที่ผลิตขยะปีละ 9.4 ล้านตันในปัจจุบัน โดยจากข้อมูลของรัฐบาลระบุว่า ถุงพลาสติกคิดเป็น 2% ของขยะพลาสติกทั้งหมด

ส่วนความเคลื่อนไหวของผู้นำกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 20 ประเทศ (G20) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเล เมื่อปีที่ผ่านมา

แม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะบอกว่ามีระบบจัดการขยะที่ทันสมัยและนำขยะพลาสติกรีไซเคิลได้กว่าร้อยละ 80 แต่รายงานของ AFP มองว่า การกำจัดขยะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังใช้การเผา ซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)

 

 

]]>
1286131
สินค้า “ราคาถูก” ค้าปลีกที่ไหนก็ขายได้ “เทสโก้ โลตัส” เพิ่มความต่างด้วย 4 เสาหลักแบรนด์ยั่งยืน https://positioningmag.com/1245249 Wed, 04 Sep 2019 23:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1245249 ธุรกิจค้าปลีกที่ชูจุดขายสินค้าราคาถูก เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกรายหยิบมาใช้จนกลายเป็นเรื่องปกติ ด้วยเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับ องค์กรที่มีนโยบายความยั่งยืน ดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน “เทสโก้ โลตัส” จึงให้ทำเรื่องนี้อย่างเข้มข้น

สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหาร เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า ในโอกาสดำเนินธุรกิจครบ 25 ปีในไทย ได้ยกระดับการทำความดีจาก “วัฒนธรรมองค์กร” สู่ “นโยบาย” ในการดำเนินงาน ที่มีการวางเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ โดยนโยบายด้านความยั่งยืนชื่อว่า The Little Helps Plan สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) มุ่งช่วยเหลือผู้บริโภคชาวไทยให้สามารถเข้าถึงสินค้าคุณภาพ จากแหล่งที่ยั่งยืน และมีราคาที่เอื้อมถึงได้ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี 2561

“เทสโก้ โลตัส เริ่มจากนโยบายจำหน่ายสินค้าราคาถูก เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ หลังจากนี้จะเดินนโยบายด้านความยั่งยืนในทุกด้านอย่างเข้มข้น เพื่อยกระดับการเป็นองค์กรที่ทำความดี”

     

4 เสาหลักองค์กรยั่งยืน

สำหรับนโยบายด้านความยั่งยืน ประกอบไปด้วย 4 เสาหลัก

1. การจัดหาผลิตภัณฑ์ ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีก เชื่อว่ามีบทบาทมากกว่าการจัดหาสินค้ามาและขายไป แต่มีบทบาทช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ เป้าหมายระยะสั้น จะเพิ่มปริมาณผักใบพื้นบ้าน ที่รับซื้อตรงจากเกษตรกร จาก 60% เป็น 70% และเป้าหมายระยะยาว ในปี 2565 จะซื้อทั้งหมด 100%

2. สุขภาพ เป้าหมายระยะสั้น 6 เดือนจากนี้ พัฒนากลุ่มสินค้า Balanced Diet และอาหารเจพร้อมทานปราศจากผงชูรส ส่วนเป้าหมายระยะยาว สินค้าประเภทอาหารแบรนด์เทสโก้ ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ทั้งหมดต้องดีต่อสุขภาพ

3. บรรจุภัณฑ์ ระยะสั้น 6 เดือน ไม่ใช้วัสดุที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ในบรรจุภัณฑ์สินค้าแบรนด์เทสโก้ ยกเลิกการใช้หลอดพลาสติกทั้งหมด พร้อมรับบริจาคหลอดเพื่อนำไปทำเป็นหมอนบริจาคให้ผู้ป่วยนอนติดเตียง โดยเป้าหมายระยะยาวในปี 2568 บรรจุภัณฑ์ทั้งหมดต้องทำจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาเร่งด่วน เทสโก้ โลตัส ได้มุ่งลดขยะพลาสติกและเป็นผู้นำด้านการลดขยะอาหาร โดยเป็นค้าปลีกรายแรกในประเทศไทยที่รณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติก มาตั้งแต่ปี 2553 และได้เพิ่มความเข้มข้นของมาตรการลดใช้ถุงพลาสติก เช่น งดใช้ถุงพลาสติกเมื่อลูกค้าซื้อสินค้า 1 – 2 ชิ้น ในร้านค้าขนาดเล็กทั้ง 1,800 แห่งทั่วประเทศ

4. ขยะอาหาร เป้าหมายระยะสั้น 6 เดือน ไม่ทิ้งอาหารที่จำหน่วยไม่หมด แต่ยังรับประทานได้ จากไฮเปอร์มาร์เก็ตทุกสาขา เพื่อนำไปบริจาคให้ชุมชน เป้าหมายระยะยาวปี 2573 ลดการทิ้งอาหารในธุรกิจของเทสโก้ ให้ได้ 50%

ที่ผ่านมาได้มอบอาหารคุณภาพให้ผู้ด้อยโอกาส ซึ่งรวมทั้งโครงการอาหารดีพี่ให้น้อง ที่มอบอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียน 77 โรงเรียน ใน 77 จังหวัด และบริจาคอาหารที่ยังทานได้แต่จำหน่ายไม่หมดจากไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่

ภายใต้แผนงาน The Little Helps Plan ได้กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้น มุ่งเน้นในเรื่องห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และเรื่องบรรจุภัณฑ์และการใช้พลาสติก เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความเร่งด่วนสำหรับสังคมไทย.

]]>
1245249
ค้าปลีกเกาะเทรนด์รักษ์โลก ตามดูผลงาน “ลดขยะ” https://positioningmag.com/1232359 Thu, 30 May 2019 23:05:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232359 1232359 เลิกใช้โฟมทุกสาขา 2,000 แห่ง “เทสโก้ โลตัส” ขอลดขยะเป็นศูนย์ เป้าหมายต่อไป “หลอด-ถุง” https://positioningmag.com/1232256 Thu, 30 May 2019 07:55:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232256 ปัญหาขยะล้นทะเลที่ประเทศไทยครองอันดับ 6 ของโลกอยู่ในขณะนี้ ทำให้สัตว์ทะเลล้มตายจำนวนมาก เป็นภาพที่สะเทือนใจ สร้างแรงกระเพื่อมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน “ลดขยะ” โดยกำหนดเป็นวาระชาติ เพื่อ “สละตำแหน่ง” ประเทศที่มีขยะในทะเลเยอะติดอันดับโลก

ข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม วันนี้ปัญหา “ขยะ” อยู่ในขั้นวิกฤติของสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยสร้างขยะ 27.82 ล้านตันต่อปี หรือ 76,219 ตันต่อวัน เฉลี่ยประชากรไทยสร้างขยะวันละ 1.15 กิโลกรัมต่อคน

ขยะโฟมและพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้น ปัจจุบันประเทศไทยใช้ถุงพลาสติกหิ้ว 45,000 ล้านใบต่อปี บรรจุภัณฑ์โฟม 6,700 ล้านชิ้นต่อปี แก้วและขวดพลาสติก 9,570 ล้านใบต่อปี ขยะทั้งหมดต้องใช้ระยะเวลาย่อยสลายนาน ขยะโฟมต้องใช้เวลาถึง 450 ปี

และปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกธุรกิจมีส่วนร่วมกันสร้างขยะ รวมทั้ง “ค้าปลีก” แหล่งจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในปัจจุบัน

สลิลลา สีหพันธุ์

เทสโก้โลตัส “เลิก” ใช้โฟม

สลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า เทสโก้ โลตัส เป็นค้าปลีกรายแรกที่เริ่มรณรงค์ให้ลูกค้าลดการใช้ถุงพลาสติกหิ้วใส่ของครั้งแรกเมื่อ 10 ปีก่อน ด้วยการให้รางวัลเป็นแต้มคลับการ์ด เพื่อนำมาใช้ลดราคาสินค้า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาลดขยะถุงได้ 180 ล้านใบ แจกแต้มไปแล้ว 5,690 ล้านแต้ม

แต่ต้องยอมรับว่ากระแสการลดขยะพลาสติก เริ่มกระจายตัวเป็นวงกว้างในปีที่ผ่านมา จากปัญหาสัตว์ทะเลล้มตาย จากการกินขยะเข้าไป จึงเกิดความตื่นตัวในกลุ่มผู้บริโภคที่ร่วมมือกันลดขยะ ด้วยการไม่รับถุงพลาสติกจากการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกมากขึ้น ในปี 2561 ลูกค้าเทสโก้ โลตัสช่วยกันลดถุงพลาสติกได้จำนวน 32 ล้านใบ และช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ลดถุง 10 ล้านใบ

มาตรการ “ลดขยะ” ปีนี้มุ่งไปที่ “แพ็กเกจจิ้ง” ของเทสโก้ โลตัส ภายใต้ “กลยุทธ์ 3R” คือ Redesign Reduce Recycle   

กลยุทธ์ Redesign ที่สำคัญปีนี้ คือ ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อลดใช้ทรัพยากร เริ่มจากการ “ยกเลิก” ใช้บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่ทำจาก “โฟม” ทุกชนิดในทุกสาขา จำนวน 2,000 สาขาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป จะทำให้ลดการใช้โฟมลงได้  51 ตันต่อปี หรือ 11.24 ล้านชิ้นต่อปี

“นโยบายเลิกใช้โฟม เพื่อทำให้ขยะโฟมเป็นศูนย์ จากเดิมใช้บรรจุภัณฑ์โฟมกว่า 11 ล้านชิ้นต่อปี ถือเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการลดขยะและทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ลดใช้พลาสติก

หลังจากเลิกใช้บรรจุภัณฑ์โฟมในกลุ่มเนื้อสัตว์ตัดแต่งและผลไม้พร้อมทานแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้ ถาดเธอร์โมฟอร์ม (Thermoform) ขึ้นรูปจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% ซึ่งถูกนำมาใช้แทนถาดโฟม ถาดพลาสติก และฟิล์มแบบเก่า

การใช้ถาดเธอร์โมฟอร์มช่วยลดใช้พลาสติกปีละกว่า 400 ตัน หรือเทียบเท่าขวดน้ำพลาสติกขนาด 600 มิลลิลิตรจำนวน 26.6 ล้านขวด เมื่อเทียบกับถาดพลาสติกแบบเก่าที่เคยใช้ เป็นการช่วยลดขยะจากอาหารอีกทางหนึ่ง การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ มีต้นทุนเพิ่มประมาณ 10% แต่ยังยืนยันสินค้าราคาเดิม ไม่มีการปรับขึ้นแต่อย่างใด

นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับ SCG จัดมุมสินค้า Green Corner จำหน่ายบรรจุภัณฑ์อาหารปลอดภัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แบรนด์เฟสท์ (Fest) เพื่อให้ลูกค้าทั้งผู้บริโภคทั่วไป รวมทั้งพ่อค้าแม่ค้า มีทางเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แจกแต้มเพิ่มจูงใจลดใช้ถุง

กลยุทธ์ Reduce มุ่งเป้าลดการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยทยอยเปลี่ยนสาขาให้เป็นร้านค้าปลอดถุงพลาสติก เริ่มจากร้านค้าเอ็กซ์เพรส ที่ตั้งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย 5 สาขา คือ นวมินทร์, แอมพาร์ค, ซอยมัณฑนา, สาขามหาวิทยาลัยขอนแก่น และจามจุรีสแควร์ ในเดือน ก.ค.นี้จะมีร้านค้าปลอดถุงพลาสติกเพิ่มอีก 3 สาขาบนเกาะช้าง

ทุกวันที่ 4 ของเดือน เทสโก้ โลตัสทั้ง 2,000 สาขาทั่วประเทศงดให้ถุงพลาสติก โดยใช้ถุงกระดาษใส่ของให้แทน ซึ่งมาจากการนำกล่องกระดาษสินค้าไปใช้แปรรูปเป็นถุงกระดาษ รวมทั้งจำหน่ายกระเป๋าผ้าและถุงแบบใช้ซ้ำ มาเป็นอีกตัวเลือกใส่สินค้า จำหน่ายราคาเริ่มต้น 39 บาท โดยลูกค้าที่ไม่รับถุง จะได้แต้มคลับการ์ด 50 แต้มทุกวันที่ไม่รับถุง ซึ่งเป็นการแจกแต้มเพิ่มขึ้นจาก 25 แต้มในปีที่ผ่านมา

นโยบาย Bring Your Own Containers ให้ลูกค้านำภาชนะมาใส่อาหารแทนการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว ในแผนกสลัดบาร์และเบเกอรี่ทุกสาขา ในสาขาเอ็กซ์เพรสและศูนย์อาหาร ลูกค้าที่นำแก้วน้ำส่วนตัวมาใส่น้ำอัดลม ชา กาแฟ และน้ำสมุนไพรได้เช่นกัน ซึ่งจะได้รับแต้มคลับการ์ด 50 แต้ม

“หลังจากนโยบายเลิกใช้โฟม เป้าหมายต่อไปจะสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคเพื่อร่วมกันลดขยะหลอดและถุงพลาสติกให้เป็นศูนย์ในอนาคต”

ในต่างประเทศ เช่น กลุ่มยุโรป มีกฎหมายห้ามร้านค้าปลีกใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้า และมีบทลงโทษการใช้พลาสติก ในประเทศไทยเป็นลักษณะการขอความร่วมมือ และค้าปลีกกระตุ้นด้วยการให้รางวัลแทน เพื่อสร้างการรับรู้และรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ตั้งตู้ Recycle ขวดพลาสติก-กระป๋อง

ส่วนกลยุทธ์ Recycle เป็นการการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วกลับเข้าระบบปิดเพื่อนำไปรีไซเคิล โดยเทสโก้ โลตัสได้ติดตั้งตู้เครื่องรีไซเคิลขวดพลาสติกและกระป๋อง เริ่มที่ 10 สาขา ให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วมาคืนเพื่อนำไปเข้ากระบวนการรีไซเคิลต่อไป โดย SCG จะนำขวดพลาสติกไปรีไซเคิลเป็นถุงผ้า เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่

กลยุทธ์ 3R ที่เทสโก้ โลตัสนำมาใช้เป็นนโยบายที่มุ่งสู่การสร้างระบบปิดของบรรจุภัณฑ์ (closed loop packaging system) ทั้งการเลิกใช้โฟม นำขยะมารีไซเคิลและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยเทสโก้ อังกฤษ มีเป้าหมายให้ เทสโก้ ทั่วโลกต้องลดขยะจากบรรจุภัณฑ์ให้ได้ 50% ในปี 2025

ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการลดขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภคในการลดใช้และนำขยะมารีไซเคิล เพื่อช่วยกันทำให้ประเทศไทยปลอดขยะและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม.

]]>
1232256