ลิโด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Jun 2019 13:47:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ลิโด้ คอนเน็คท์” เผยโฉมเบาๆ เริ่มเห็น “LIDO DVD” ร้านในตำนาน – สตูดิโอคลื่น “Flex 102.5” กำหนดดีเดย์ 30 กรกฎาคมนี้ https://positioningmag.com/1235942 Mon, 24 Jun 2019 08:02:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235942 เกือบต้องปิดฉากตำนานโรงหนังนอกกระแส 50 ปีลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2018 ก่อนจะถูกเสียบปลั๊กให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งกับ โรงภาพยนตร์ลิโด” ซึ่ง “สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ให้มอบให้ “Loveis” เจ้าพ่อเพลงรัก มารับหน้าที่บริหารพื้นที่มีสัญญาเบื้องต้นราว 5 ปี

โดยระบุว่าคอนเซ็ปต์ของการบริหารพื้นที่เป็น มัลติฟังก์ชัน แอปโพรช ผสมผสานศิลปะทุกแขนงมาอยู่ด้วยกัน มีการแสดงสดต่างๆ มีพื้นที่ไลฟ์สไตล์ รวมถึงร้านค้าทั้งอาหารและเครื่องดื่ม พื้นที่ของเก่า 70% จะถูกรักษาไว้ให้เหมือนเดิม ที่เหลือ 30% จะถูกเปลี่ยนให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ

แบบร่างโฉมใหม่ของ “โรงภาพยนตร์ลิโด”

ขณะเดียวกันได้มีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ลิโด้ คอนเน็คท์ ในครั้งแถลงข่าวเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมปีที่แล้ว ได้ระบุว่าโฉมใหม่ของโรงหนังนอกกระแส จะเปิดตัวราวเดือนพฤษภาคมปี 2019 แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้เปิดเสียที

แต่จากการสำรวจของ Positioning ในวันนี้ (24 มิถุนายนพบว่า บริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่เคยปิดทึบได้เปิดออกเรียบร้อยแล้ว โลโก้ใหม่เด่นชัดเด่นชัดอยู่ด้านหน้าที่ติดกับถนนพระรามที่ 1 โดยมีป้ายกระดาษติดตรงทางเข้าไว้ว่า “ลิโด้ คอนเน็คท์ เปิดให้บริการแล้ว (ช่วงทดสอบระบบภายในกำหนดเปิด 30 กรกฎาคม 2562”

เบื้องต้นพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างตกแต่งโดยเฉพาะพื้นที่ชั้น 2 ที่ยังไม่เรียบร้อยดี แต่พื้นที่ชั้น 1 สามารถเดินเข้าไปแล้วได้ เมื่อมองเข้าไปฝั่งขวามือจะพบ สตูดิโอออกอากาศคลื่นวิทยุ “Flex 102.5” ซึ่งมาแทนที่ “Get 102.5”

สำหรับคลื่นใหม่นี้เจ้าของไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ “จิ๊บ – เทพอาจ กวินอนันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิฟอิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือ ค่ายเพลงเลิฟอิส เป็นเจ้าของในนาม บริษัทเฟล็กซ์ สเตชั่น จำกัด โดยให้ “อ้อมพิยดา อัครเศรณี มาทำหน้าที่บริหารคลื่น

นอกจากนี้ยังมีร้าน “LIDO DVD” ร้านในตำนานได้กลับมาเปิดอีกครั้ง โดยตั้งอยู่ซ้ายมือ และยังมีร้านเสื้อผ้าที่เริ่มเปิดประปราย สิ่งที่ต่างไปอีกคือ ห้องน้ำปรับปรุงเป็นสีขาวทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจเป็น “ถังขยะ” ที่แยกชนิดขยะอย่างชัดเจน

ใครคิดถึงบรรยากาศของ โรงหนังลิโด” หรือชื่อใหม่ “ลิโด้ คอนเน็คท์” ก็สามารถโฉมไปดูได้ แล้วค่อยมาดูกันว่าเมื่อเปิดเต็มตัวแล้วจะเป็นอย่างไร!!

ร้าน “LIDO DVD” ในตำนวน
ถังขยะที่แยกอย่างชัดเจน
ห้องน้ำชายโฉมใหม่

]]>
1235942
ลิโดได้ไปต่อ! จุฬา จับมือค่ายเพลง Loveis พลิกโฉม https://positioningmag.com/1203793 Tue, 18 Dec 2018 13:33:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203793 Thanatkit

หลังจากโรงภาพยนตร์ลิโดต้องปิดฉากตำนานโรงหนังนอกกระแส 50 ปีลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2018

แต่การปิดตัวในครั้งนั้นก็ทำให้สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องถูกตั้งคำถามมาตลอดว่า จะนำพื้นที่แห่งนี้เปลี่ยนไปเป็น ศูนย์การค้า หรือไม่

เพราะทำเลของ โรงภาพยนตร์ลิโด อยู่ใจกลางสยาม มีคนพลุกพล่าน วันหนึ่งมีทราฟฟิกหลายแสน จึงเป็น พื้นที่ทองคำ ที่ใครๆ ก็อยากมาลงทุน แม้ค่าเช่าจะแพงแต่โอกาสคืนทุนมีมากกว่า 

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ PMCU ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ โรงภาพยนตร์ลิโด ซึ่งหากนับรวมๆ แล้ว PMCU ครอบครองพื้นที่ใจกลางสยามกว่า 1,153 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่พาณิชย์ 385 ไร่ และในระยะหลังๆ พื้นที่เก่าที่ไม่ได้ต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิม มักจะถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่ค้าปลีก ทั้งสยามสแควร์วัน, สวนหลวงสแควร์ และสเตเดียมวัน 

จุฬาฯ กำลังเผชิญแรงเสียดทานจากสังคมเรื่องการนำพื้นที่ไปหารายได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเราต้องการนำพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่อย่าลืมว่าอีกมุมหนึ่งเราก็ต้องหารายได้มาให้จุฬาฯ ซึ่งมีค่าบริหารจัดการจำนวนมาก ในแต่ละปี รองศาสตราจารย์ ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว 

ที่ผ่านมา กลุ่ม Apex” ซึ่งเป็นเจ้าของ โรงภาพยนตร์ลิโด เผชิญปัญหาขาดทุนมาตลอด รวมไปถึงการนำพื้นที่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดยังไม่มากพอ กลายเป็นเหตุผลที่ทางจุฬาฯ ตัดสินใจไม่ต่อสัญญาและดึงพื้นที่กลับมาอยู่ในมือ 

ระหว่างที่กระแสปิดโรงภาพยนตร์ลิโดเริ่มจางหายไปจากสังคมไทย จุฬาฯ ก็ได้มองหาผู้เช่ารายใหม่ และหลังจากที่ผ่านมาพูดคุยกันมาหลายรายในที่สุดสิทธิ์ในการบริหารจัดการพื้นที่ของโรงภาพยนตร์ลิโด ก็ตกมาอยู่ในมือของ Loveis เจ้าพ่อเพลงรัก โดยเบื้องต้นมีสัญญาทั้งหมด 5 ปี  

จุฬาฯ ให้เหตุผลที่เลือกมาจากการที่ Loveis มีจุดเริ่มต้นที่สยามสแควร์ เหมือนกับโรงภาพยนตร์ลิโด อีกทั้ง Loveis ได้ให้คอนเซ็ปต์ของการบริหารพื้นที่เป็น มัลติฟังก์ชัน แอปโพรช ผสมผสานศิลปะทุกแขนงมาอยู่ด้วยกัน มีการแสดงสดต่างๆ มีพื้นที่ไลฟ์สไตล์ รวมถึงร้านค้าทั้งอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งต่างจากรายอื่นๆ ที่อยากนำไปทำเป็นพื้นที่สำหรับแข่งกีฬาอีสปอร์ต 

Loveis ลงทุนตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมารองรับ ใช้ชื่อว่า “บริษัท ลิโด้ คอนเน็คท์ จำกัด” ทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านบาท โดย Loveis ถือหุ้นเอง 70% ที่เหลือมาจากกลุ่มเพื่อนๆ ศิลปินด้วยกันที่จะเข้ามาใช้พื้นที่ด้วย ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่ Loveis มาลุยธุรกิจบริหารพื้นที่รีเทล

แนวทางการพัฒนา โรงภาพยนตร์ลิโด” ของเก่า 70% จะถูกรักษาไว้ให้เหมือนเดิม ที่เหลือ 30% จะถูกเปลี่ยนให้รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยฝั่งจุฬาฯ ควักงบลงทุน 50 ล้านบาทสำหรับโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ส่วน Loveis ใช้เงินอีก 30 ล้านบาทสำหรับการตกแต่งภายใน 

เปลี่ยนเจ้าของใหม่ชื่อก็ถูกเปลี่ยนด้วย โดยจะใช้คำว่า ลิโด้ คอนเน็คท์ ภาษาไทยคำว่า ลิโด จะเติมไม้โทเข้าไปเป็น ลิโด้ พื้นที่ทั้งหมด 4,000 ตารางเมตร มี 2 ชั้น ชั้นล่าง 1,500 ตารางเมตร ครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่เช่าจุฬาฯ จะดูแลเอง ที่เหลือจะเป็นพื้นที่อีเวนต์ ในครั้งนี้ได้ลดพื้นที่เช่าลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ส่วนกลาง ให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาใช้ทำกิจกรรมได้ ส่วนป้ายชื่อด้านหน้ายังใช้อันเดิม แต่จะเติมป้ายดิจิทัลเข้าไปด้านหลัง 

ส่วนด้านบนมีที่เป็นโรงภาพยนตร์จำนวน 3 โรงโดยโรง 1 มีจำนวน 147 ที่นั่ง กับโรงที่ 2 จำนวน 200 ที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งใหม่เติมเครื่องเสียง เพื่อให้รองรับทั้งคอนเสิร์ตและโรงภาพยนตร์ แต่จะเลือกเรื่องไม่ให้ชนกับสกาล่า โดยโรงที่ 3 ใหญ่สุด 300 ที่นั่ง ปรับพื้นที่ใหม่ให้รองรับการแสดงละครเวที  

ส่วนด้านหน้าเปลี่ยนให้เป็นนิทรรศการหมุนเวียน และส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เช่า ประมาณ 15 ร้านค้า ซึ่งร้านที่จะเข้ามาต้องนำรายได้ 20% ไปทำ CSR ด้วย และร้านจะต้องตรงกับคอนเซ็ปต์ด้วย       

โดยลิโด้โฉมใหม่จะเปิดให้บริการ พฤษภาคม ปีหน้า (2562)

เทพอาจ กวินอนันต์ ประธานบริหารกลุ่ม เลิฟอิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า 

พื้นที่นี้ไม่ได้จำกัดว่าเป็นเด็กจุฬาฯ มาใช้งานเท่านั้น แต่จะเป็นใครก็ได้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการหาพื้นที่มาปล่อยของ ทั้งดนตรีหรืองานศิลปะอื่นๆ

ดีลนี้เรียกได้ว่า “วิน – วิน” ทั้งคู่ ฝั่งจุฬาฯ ได้ลดแรงเสียดทานเรื่องการนำพื้นที่ในมือไปสร้างศูนย์การค้า โดยจุฬาฯ บอกว่า ยอมขาดทุนในบางกิจกรรม เพราะรายได้ไม่ได้กำหนดเป็นรายปี แต่จะแบ่งกับ Loveis จากกิจกรรมที่เข้ามาจัด ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นเท่าไหร่ มีตั้งแต่ 30-70% หรือบางกิจกรรมก็ให้ฟรีเลย ถ้าเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากๆ

ส่วนฝั่ง Loveis เองก็ได้จะมีพื้นที่จัดคอนเสิร์ตเล็กๆ ให้กับตัวเอง และยังเป็นพื้นที่ให้ ส่อง หาศิลปินรุ่นใหม่มาประดับค่าย โดยที่ไม่ต้องออกไปหน้าข้างนอกให้ยุ่งยาก แต่นี่เดินเข้ามาหาเองด้วยซ้ำ.

]]>
1203793
จำใจปิด ลิโด้ เหตุค่าเช่าขึ้นตลอด-สกาลาเปิดต่ออีก 2 ปี https://positioningmag.com/1172412 Thu, 31 May 2018 15:12:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1172412 ในที่สุดวันสุดท้ายของ “ลิโด้” โรงภาพยนตร์ในตำนาน ที่มีอายุครบ 50 ปี ก็มาถึง คือวันที่ 31 พฤษภาคม 2561

โรงหนังเตรียมฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2 เรื่อง คือ “Tonight at Romance Theater” รอบเวลา 18:45 น. และ “Kids on The Slope” รอบเวลา 20:45 ซึ่งทุกที่นั่งถูกจองเต็มล่วงหน้าหลายวัน โดยมีแฟนคลับมาร่วมอำลากันมากมาย

ในโอกาสนี้ นันทา ตันสัจจา กรรมการผู้จัดการ เครือเอเพ็กซ์ เจ้าของโรงภาพยนตร์ ลิโด้, สกาลา บอกเล่าถึงความรู้สึกของเธอว่า

เห็นโรงหนังตั้งแต่ตอนที่คุณพ่อ กัมพล ตันสัจจา เริ่มสร้าง เรียกว่าตั้งแต่อยู่ในกระดาษ พอโรงหนังเริ่มสร้างก็มาดูเขาลงเสาเข็ม ทั้งสยาม ลิโด้ สกาลา และก็อยู่กับโรงหนังทั้ง 3 แห่งนี้มาตลอดเวลา 50 ปีที่ผ่านมา จึงรู้สึกถึงความผูกพัน รู้สึกว่าเป็นบ้านจริงๆ พนักงานที่ทำงานมากับเรา ก็ถือว่าเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน พอถึงวันที่ลิโด้ต้องปิดตัวลง ยอมรับว่าใจหาย ที่เราต้องจากกัน เพราะเราไม่สามารถเอาทุกคนไปกับเราได้หมด แต่ก็พยายามให้เขาอยู่ได้มากที่สุด

ที่ผ่านมา ได้การตอบรับจากแฟนหนัง เพราะเราหาหนังที่ดี ที่มีคุณค่าให้กับแฟนๆ ทุกคน เชื่อว่าแฟนๆ เราน่าจะเห็น เขาถึงตามมาดู แต่กว่าจะหาหนังแต่ละเรื่องไม่ใช่เรื่องง่าย บางเรื่องศีลธรรมไม่ดีเราก็ไม่เอา บางเรื่องโหดเกินไปไม่เราก็ไม่เอา เพราะเราไม่ต้องการเอาเรื่องที่มีพิษมีภัยมาฉาย เลือกหนังทางเลือกที่มีคุณค่า หนังที่ดีที่สุดที่จะทำให้แฟนหนังเรามีความสุขเราก็ทำ

โรงหนังก็มีการปรับมาตลอด เราไม่ได้ทิ้งให้ล้าหลัง พอมีระบบเสียงที่เข้ามาใหม่เราก็ปรับปรุงตลอดเวลา

แต่ที่เราอยู่ไม่ได้ เพราะค่าเช่าที่ขึ้นมากมาตลอด จนเราอยู่ไม่ได้ เราได้แจ้งกับทางผู้ให้เช่าไปแล้ว ซึ่งกำลังต้องต่อสัญญา ถ้าเขาขึ้นค่าเช่าอีกเราอยู่ไม่ได้แน่นอน เลยจำใจต้องเลิก ไม่ใช่อยากเลิก แต่เราไม่ได้ปิดหมด ยังมีสกาลาที่เปิดให้บริการต่อไปอีก 2 ปี

โดยเอเพ็กซ์ได้ต่อสัญญาสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปอีก 2 ปี จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563.

อ่านประกอบ : ไม่ไปต่อ! ปิดฉาก “ลิโด้” 31 พ.ค. 50 ปีตำนานโรงหนังบนกรุสมบัติที่ดินทรัพย์สินจุฬาฯ

]]>
1172412
ไม่ไปต่อ ! ปิดฉาก “ลิโด้” 31 พ.ค. 50 ปีตำนานโรงหนังบนกรุสมบัติที่ดินทรัพย์สินจุฬาฯ https://positioningmag.com/1171683 Sun, 27 May 2018 23:15:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1171683 นับถอยหลังอีกเพียงไม่กี่วันโรงภาพยนตร์ “ลิโด้” ก็จะปิดตัวลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 ก่อน “อำลา” ทางโรงหนังเตรียมฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่น 2 เรื่อง คือ “Tonight at Romance Theater” รอบเวลา 18:45 น. และ “Kids on The Slope” รอบเวลา 20:45 ซึ่งทุกที่นั่งจะได้รับโปสเตอร์หนังยังมีสิทธิ์ลุ้นทั้งเสื้อยืด และถ่ายรูปกับ “สุภาพบุรุษเสื้อเหลือง” สัญลักษณ์ของโรงหนังแห่งนี้ด้วย

ย้อนรอยโรงภาพยนตร์ลิโด้ ถือกำเนิดมาจาก “พิสิฐ ตันสัจจา” นักธุรกิจผู้ก่อตั้งเครือเอเพ็กซ์ และสยามมหรสพ เคยพลิกโรงละครศาลาเฉลิมไทยให้เป็นโรงภาพยนตร์จนประสบความสำเร็จและเตะตา “กอบชัย ซอโสตถิกุล” เจ้าของอาณาจักรซีคอนสแควร์ นันยาง และผงชูรสตราชฎา เลยชักชวนให้ไปบุกเบิกพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ บนถนนพระรามที่ 1 ด้วยกัน ซึ่งที่ดินดังกล่าวเป็นของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อความอำลาบอร์ดบริเวณหน้าโรงหนัง
ข้อความบนบอร์ด

“พิสิฐ” เริ่มต้นสร้างโรงภาพยนตร์สยามขึ้นมาตอบโจทย์คอหนังเป็นแห่งแรก ด้วยความจุ 800 ที่นั่ง เปิดให้บริการเมื่อปี 2509

ต่อมาปี 2511 จึงสร้างและเปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ลิโด้ ความจุ 1,000 ที่นั่ง ตามด้วยปี 2512 ผุดโรงภาพยนตร์สกาลา ความจุ 1,000 ที่นั่ง ทั้ง 3 กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของย่านการค้า “สยามสแควร์” ไปโดยปริยาย

โรงหนังสยาม ลิโด้ สกาลา เผชิญความเปลี่ยนแปลงมากมาย ที่หนักๆ หนีไม่พ้นเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองปี 2553 ที่มีการวางเพลิงภายในตัวอาคารจนเกิดไฟไหม้ และอาคารถล่มลงมาในที่สุด เป็นเหตุให้สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ จึงนำพื้นที่ของโรงภาพยนตร์สยามมาพัฒนาเป็นห้างค้าปลีก “สยามสแควร์ วัน” ที่มีมูลค่าการลงทุนเกือบ 2,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน เหตุเพลิงไหม้ยังทำให้ผู้บริหารเครือเอเพ็กซ์ตัดสินใจปรับปรุงโรงหนังลิโด้ให้เป็นขนาดเล็ก (มัลติเพล็กซ์) มีโรงฉายยิบย่อย 3 โรง ความจุรวม 633 ที่นั่ง

ปัจจุบันโรงหนังลิโด้ และสกาลา ยังอยู่ ทำตลาดแบบ Niche Market ตอบโจทย์คอหนังเฉพาะกลุ่ม ในราคาที่จับต้องได้คือ 100 120 140 บาท ขึ้นกับกระแสของหนังแต่ละช่วงว่าเป็นหนังอาร์ต หนังอินดี้ หรือหนังดังระดับบ็อกซ์ ออฟฟิศลงโรง

หนังที่ฉายในลิโด้ และสกาลา Niche แค่ไหน ดูจากหน้าหนัง ส่วนใหญ่เป็นหนังระดับรางวัล ทั้งคานส์ รางวัลแบฟตา (BAFTA) ออสการ์ เป็นต้น รวมถึงหนังญี่ปุ่น ที่เข้ามาฉายถี่ๆ สวนทางกับโรงภาพยนตร์ใหญ่ที่จับตลาดแมส มักไม่สนใจฉายภาพยนตร์เหล่านี้นัก เพราะมีคนดูอยู่เพียงหยิบมือเดียว

จุดเด่นที่ทำให้ลิโด้อยู่มานานกว่า 5 ทศวรรษ นอกจากหนังดีที่ต้องมาดูที่นี่เท่านั้น ปัจจัยด้าน “ราคา” เป็นสิ่งที่จูงใจคอหนังได้อย่างดี และที่สำคัญยังตั้งอยู่บน “ทำเลทอง” ในกลางกรุงที่มีห้างค้าปลีกหลายแบบหลายสไตล์ มีรถไฟฟ้าบริการถึงที่ ทำให้เดินทางไปมาสะดวก และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ครบในที่เดียว

ขณะที่โรงภาพยนตร์สกาลา ปฏิเสธไม่ได้ว่า “สถาปัตยกรรม” ที่โดดเด่น บันไดทางขึ้นโอ่โถง มีโคมไฟระย้าหนักเป็น “ตัน” ที่เป็นจุดขาย ประกอบกับตัวหนัง ที่แน่นอนว่าเป็นหนัง “อาร์ต” และ “อินดี้” ราคา ล้วนดึงคอหนังให้เข้าไปใช้บริการได้ไม่น้อย

ลิโด้จะปิดตัวลง 31 พ.ค.นี้ แต่สกาลา ยังมีลมหายใจต่อไปได้อีกระยะ เพราะที่ผ่านมาทางสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ ได้ต่อสัญญาเช่ากับเจ้าของโรงภาพยนตร์ไปอีก 3 ปี (สิ้นสุดสัญญาปี 2563) แต่ก็มีกระแสข่าวว่า เจ้าของได้ขอคืนพื้นที่เช่าให้กับสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ เพราะแบกภาระขาดทุนมาตลอด จึงคาดว่าจะปิดตัวลงตามลิโด้ในอีกไม่นาน

สกาลา ปิดเมื่อไหร่ 31 พ.ค. รู้ผล

ล่าสุด จากการสอบถามพนักงานสกาลา ยังไม่รู้ว่าสกาลาจะเปิดดำเนินการไปถึงเมื่อไหร่ บอกแต่เพียงว่า ทางผู้บริหาร นันทา ตันสัจจา ได้เรียกประชุมในวันที่ 31 พ.ค.นี้ เพื่อแจ้งให้พนักงานทั้งหมดทราบอีกทีถึงกำหนดการที่แน่ชัด ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่ทำงานมาไม่น้อยกว่า 20 ปีขึ้นไป

++ แบกขาดทุนทุกปีแต่ยังไม่ตาย!

ท่ามกลางมูลค่าตลาดภาพยนตร์ที่เข้าฉายปี 2559 มูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท (ที่มา : เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์) และ 2 ยักษ์ใหญ่ “เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ “ ทำรายได้เฉียดหมื่นล้าน และกำไรกว่า 1,100 ล้านบาท ในปี 2560 “เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น” ทำรายได้กว่า 3,500 ล้านบาท

แต่ “เครือเอเพ็กซ์” ซึ่งพยายามต่อสู้กับระบบมัลติเพล็กซ์ กลับทำรายได้หลัก “สิบล้านบาท” ต่อปีเท่านั้น และรายได้รวมของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขที่ลดลก็ไม่ได้น้อยๆ แต่เป็นอัตรา 2 หลักมาโดยตลอด อาจมีตัวเลขรายได้เป็นบวกบ้าง แต่การเติบโตก็ต่ำเตี้ยเรี่ยดินไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ

ส่วนกำไร คงไม่ต้องพูดถึง เพราะ 5 ปีย้อนหลัง ขาดทุนเกือบทุกปีตั้งแต่หลัก “แสน” ถึงหลัก “ล้านบาท” มีบางปีที่ทำกำไรให้ใจชื้นเท่านั้น

แต่เมื่อดูฐานะทางการเงินของบริษัทแล้ว ขาดทุนบักโกรกไม่พอ ยัง “แบกหนี้อ่วม” เป็นหลัก “ร้อยล้านบาท” 

สถานการณ์ไม่ต่างจาก บริษัท สยามมหรสพ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเครือเอเพ็กซ์ก็มีรายได้ลดลงทุกปี และส่วนใหญ่จะขาดทุนมากกว่ากำไร

การหารายได้ของ “ลิโด้-สกาลา” ไม่ได้มาจากการขายตั๋วหนังเท่านั้น แต่ยังมีพื้นที่ปล่อยให้ร้านค้าต่างๆ เช่าขายซีดี เสื้อผ้า และสกาลายังเป็นสถานที่สำคัญจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในอดีตต้องยกให้เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ เมื่อปี 2548 เป็นต้น

แต่สิ่งที่ทำให้ “ลิโด้-สกาลา” ในเครือเอเพ็กซ์อยู่ได้ นอกจากใจรักของเจ้าของแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ตระกูลตันสัจจา” ยังมีธุรกิจ “สวนนงนุช” แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของเมืองไทยและระดับโลก ที่มีคนมาเยือนราว 2 ล้านคนต่อปี ทำเงินหลัก “พันล้านบาท” อาจมีส่วนนำมาหล่อเลี้ยงธุรกิจและดูแลพนักงานก็เป็นได้

+++ สวนนงนุช-ลิโด้-สกาลา เจ้าของเดียวกัน

ลิโด้-สกาลา อยู่ได้แม้จะขาดทุน แต่ยังอยู่ได้ โดยบริษัท เอเพกซ์ ภาพยนตร์ ซึ่งปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 140 ล้านบาท จากจุดตั้งต้น 1 ล้านบาท มีเจ้าของโรงหนังในตำนาน ประกอบไปด้วย “กัมพล-นันทา-วิวัฒน์ ต้นสัจจา” ที่บริหารสวนนงนุชด้วยนั่นเอง

จะเห็นว่าการทำสวนนงนุช และโรงภาพยนตร์ “ทายาท” ของ “พิสิฐ” ได้เลือดพ่อไปเต็มๆ เพราะทำงานด้วย Passion และทุ่มเททำสิ่งที่รักแบบไม่รู้จบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

แต่อย่างไรเสีย ธุรกิจมีเกิด มีดับ ยิ่งเช่าที่คนอื่นพัฒนาโครงการ ทำโรงหนัง การยื้อให้ธุรกิจอยู่ต่อบนทำเลทอง เป็นเรื่องยาก ยิ่งขาดทุนการทู่ซี้ทำไปเป็นเรื่องน่าคิดสำหรับเจ้าของที่อย่างสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ

+++ ราคาที่ดินสยามสแควร์แพงระยับวาละ 2.2 ล้าน

สำหรับที่ดินย่านสยามสแควร์ ของสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ มีเนื้อที่ประมาณ 63 ไร่ ปัจจุบันประกอบด้วยโครงการค้าปลีกมากมาย อาทิ อาคารสยามกิตติ์ (สยามสแควร์), สยามสแควร์, สยามสแควร์วัน, เซ็นเตอร์พอยท์ แอท สยามสแควร์ รวมมูลค่าโครงการนับ “หมื่นล้านบาท”

เพราะเป็นย่านการค้าใจกลางกรุง (ซีบีดี) อย่างแท้จริง มีคนมาใช้ชีวิต และปลดปล่อยไลฟ์สไตล์ต่างๆ มากกว่า 5 แสนคนต่อวัน (นับจากการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้า) มูลค่าทางเศรษฐกิจหลักแสนล้านบาท ทำให้ทำเลดังกล่าวกลายเป็น “ทองคำฝังเพชร” ไปแล้ว เพราะพื้นที่มีจำกัด เป็นที่หมายปองสำหรับนักลงทุนไม่น้อย เมื่อเปิดประมูลที่ดินเมื่อไหร่ จึงได้รับความสนใจจากบรรดาเศรษฐี เจ้าสัวของเมืองไทยทั้งสิ้น

ในปี 2560 ที่ผ่านมา ราคาที่ดินของสยามสแควร์ มีการประเมินกันถึงตารางวาละ 2.2 ล้านบาท นั่นหมายความว่าพื้นที่ 1 ไร่ แพงถึง 800 กว่าล้านบาท ดังนั้น คงไม่แปลกถ้าหาก “ลิโด้” จะต้องยุติบทบาทโรงหนัง “นิชมาร์เก็ต” เพราะหากค่าเช่าในอดีตที่เครือเอเพ็กซ์จ่ายให้สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ต้องราคาต่ำกว่านี้แน่นอน เพราะลำพัง รายได้หลัก “ล้านบาท” ต่อปี คงไม่สามารถชำระค่าเช่าแพงระยับได้เป็นแน่แท้.

]]> 1171683