วงการอสังหา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 30 Aug 2021 08:41:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 U City ปรับทิศ เลิกทำ ‘อสังหาฯ’ เทขายโรงเเรมในยุโรป ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ https://positioningmag.com/1349219 Mon, 30 Aug 2021 08:10:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349219 U City บริษัทลูกในเครือ ‘บีทีเอส กรุ๊ป’ ที่เคยมุ่งลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ 100% วันนี้ประกาศทรานส์ฟอร์มใหม่ ทยอยเทขายโรงแรมในยุโรป หลังเจอพิษโควิดฉุดท่องเที่ยวซบเซา ทุ่มหมื่นล้าน ขอลุย ‘บริการทางการเงิน’ 

กวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ถึงการปรับตัวท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 นี้ ว่า “ทาง U City มีตั้งใจที่จะ ‘ยุติการดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”

เนื่องจากมองว่าธุรกิจอสังหาฯ โรงเเรมเเละออฟฟิศ ภายใน 3 -5 ปีนี้ ‘ไม่น่าจะทำกำไร’ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้ธุรกิจมีรายได้ค่อนข้างต่ำ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนต้องการ

ทางบริษัท จึงได้ประกาศขายธุรกิจโรงแรมที่เหลืออยู่ในยุโรปเกือบทั้งหมด รวมถึงขายแบรนด์เวียนนา เฮ้าส์ และส่วนหนึ่งของบริษัท แอ๊บโซลูท โฮเต็ล เซอร์วิส จำกัด เบื้องต้น คาดว่าธุรกรรมนี้ จะสร้างกำไรให้แก่บริษัทและจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

กวิน บอกว่า การเทขายอสังหาฯ เเละโรงเเรมครั้งนี้ จะทำให้มีเงินทุนกลับมาประมาณ ‘หมื่นกว่าล้าน’ ซึ่งจะนำไปไปลงทุนในธุรกิจ ‘ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิส’ อย่างเจมาร์ท เเละซิงเกอร์

โดย U City เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย ว่า ได้ทำการเข้าซื้อหุ้น 24.9% ในบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ Singer จำนวน 7,000 ล้านบาท ขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด และเข้าลงทุน 9.9% ในบริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ Jaymart จำนวน 4,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังขยายไปสู่ธุรกิจประกัน โดย U City ทุ่มเงินอีก 1,500 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 75% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) หรือ A Life พร้อมขยายฐานลูกค้าเเละช่องทางการจัดจำหน่าย ร่วมกับ วีจีไอ, ซิงเกอร์ และ เจเอ็มที รวมถึงพันธมิตรในเครือข่ายของกลุ่มบีทีเอส ที่มีทั้งธุรกิจระบบขนส่งมวลชน สื่อโฆษณา ธุรกิจบริการ

สถานการณ์โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 2 ปี ทำให้ U City ต้องปรับเเผนการดำเนินธุรกิจในระยะยาวครั้งใหญ่
“จุดเปลี่ยนครั้งนี้ จะพลิกฟื้นธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นขาลง ให้ก้าวไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน” กวิน กล่าว

ในช่วงต่อไปนี้ U City จะดำเนินการขายพอร์ตอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อตกลงและราคาที่สร้างผลกำไร เพื่อจะจัดสรรเงินทุนที่ได้รับไปต่อยอดธุรกิจบริการทางการเงินต่อไป

“อสังหาฯ เเละโรงเเรมที่เหลืออยู่ กำลังรอราคาที่ดี เพื่อขายให้ได้กำไร ไม่ใช่จะเร่งขายถูกในช่วงนี้”

ทั้งนี้ ต่อไปบริษัทจะมีการเปลี่ยนชื่อ ‘U City’ (ยูซิตี้) โดยจะให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบริษัทขึ้นมาใหม่ในเร็วๆ นี้

 

 

]]>
1349219
ผ่าดีล “มาม่า” เท 1,000 ล้าน ร่วมทุน “อนันดา” บุกอสังหาฯ https://positioningmag.com/1188692 Thu, 20 Sep 2018 11:29:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1188692 สร้างความฮือฮา! ให้วงการธุรกิจไม่น้อย เมื่อ “บิ๊กแบรนด์” สินค้าอุปโภคบริโภค บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “มาม่า” ตัดสินใจขยายธุรกิจ (Diversify) ครั้งใหญ่

ผันตัวจากธุรกิจอาหารสู่อสังหาริมทรัพย์ ด้วยการส่งบริษัทในเครือ “บริษัท เพรซิเดนท์ ดี เวนเจอร์จำกัด” ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ซึ่งบริษัทถือหุ้น 70% และบริษัท ไดอิชิ แพคเกจจิ้ง จำกัด ถือหุ้น 30% ทุ่มเงิน 1,009.44 ล้านบาท ลงขันกับค่ายอสังหาริมทรัพย์ “บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)” เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย “คอนโดมิเนียม” จำนวนถึง 3 โครงการ

เงินสดพร้อมลงทุน 7,000-8,000 ล้านบาท

“พันธ์ พะเนียงเวทย์” ผู้จัดการสำนักกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายมาม่า และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพรซิเดนท์ ดี เวนจอร์ จำกัด เปิดเผยเบื้องหลังการร่วมทุนครั้งใหญ่ของ “มาม่า” กับ “อนันดาฯ” เพราะบริษัทยังมองหา “โอกาส” ในการสร้างการเติบโตให้กับมาม่าไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

ยิ่งกว่านั้น บริษัทมีกระแสเงินสดเหลือเยอะ!

เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตลาดยังอยู่ในภาวะ “ขาขึ้น” ได้อีกระยะยาว 5-6 ปี และการพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่อขายเวลานี้ทำราคาได้ดีมาก ยิ่งคอนโดมิเนียมหรูทำเลทองต่างๆ เช่น ทองหล่อ เห็นเคาะราคากันหลัก “หลายแสนบาท” ต่อตารางเมตร (ตร.ม.) จึงโยกเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ให้ผลตอบแทน (Yield) สูงขึ้น

เรามีเงินสดเยอะจริงๆ ปกติมีเงินประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาทต่อปี นำไปลงทุนในกองทุนบ้าง ยีลด์แค่ 3-4% เท่านั้น แต่พอนำไปลงทุนในอสังหาฯ ยีลด์สูง 8-11%

การ Diversify ธุรกิจครั้งนี้ เริ่มต้นด้วย 3 โครงการ ส่วนแนวโน้วในอนาคตจะร่วมทุนพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพิ่มหรือไม่ ยังต้องพิจารณาเป็นรายโครงการ และมองโอกาส เพราะยอมรับว่าตลาดอสังหาฯ เป็นตลาดที่น่าสนใจไม่น้อย ยิ่งได้ “อนันดา” มืออาชีพและมี “จุดแข็ง” พัฒนาที่อยู่อาศัยจนมีชื่อเสียง มีแบรนด์ที่แข็งแรง มีโครงการจำนวนมาก และบริหารการเงินอย่างดี จะช่วยตอบโจทย์การลงทุนได้

“ยอดขายมาม่ายังดีอยู่ และดีกว่าปีที่แล้ว แต่ยอดขายเราไม่ตกไม่เพียงพอ เราต้องโตด้วย และการเติบโตถ้ามาทางใดทางหนึ่งไม่ได้ เราก็ต้องไปอีกทางหนึ่ง”

เป็นการเบนเข็มธุรกิจที่น่าจับตา เพราะจะว่าไปแล้ว “มาม่า” แม้จะทำยอดขายต่อปีได้มากกว่า “หมื่นล้านบาท” สามารถทำ “กำไร” ได้เป็นพันล้านบาท แต่การขายมาม่าซองละ 6 บาท ถ้วย (คัพ), โจ๊กมาม่า, ข้าวต้มมาม่า ราคาหลัก “สิบบาท” ต่อถ้วย กว่าจะได้เงินเป็นหมื่นล้านบาทอาจต้องใช้เวลา เพราะธุรกิจอาหารกำไรบาง! 2-5% แต่ถ้าพัฒนาอสังหาฯ แค่กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ไม่ต่ำกว่า 30% บริหารจัดการดีๆ กำไร (Net Profit) เห็นแน่ๆ 2 หลัก หรือกว่า 10% ขึ้นไป

ไหนๆ เงินสดในมือเหลือเยอะ จึงนำไป “ต่อเงิน” ให้งอกเงยย่อมดีกว่า    

อนันดาฯ ร้อนเงินทุน

ฟากมาม่าเหลือเงินสดเพียบ! พร้อมนำไปลงทุน แต่ฝั่งอนันดา กลับเผชิญสถานการณ์ “สะดุด” ด้านการเงิน เพราะบริษัทต้องการพันธมิตรหาเงินมาใส่ในโครงการใหม่ๆ โดยแหล่งข่าววงการอสังหาฯ ระบุว่า โครงการคอนโดมิเนียมบางโครงการอาจขายช้าไปบ้าง เพราะตลาดและกำลังซื้อไม่เอื้ออำนวยมากนัก ทำให้เงินที่จะใช้พัฒนาโครงการใหม่ต้องสะดุดเล็กน้อย บริษัทจึงต้องเร่งหาพันธมิตรมาร่วมทุน

“โครงการของอนันดาที่สุดมีเพียงทำเล อโศก ส่วนเหลือที่เหลือยังไปได้ เพราะในการพัฒนาโครงการทางบริษัทเขามีความระมัดระวังด้านการเงินอย่างมาก”

ทั้งนี้ มาม่า ไม่ใช่รายแรกที่เป็นพันธมิตรร่วมทุนกับอนันดาฯ เพราะเดิมพันธมิตรใหญ่ที่มียังคงเป็นยักษ์อสังหาฯ จากญี่ปุ่น “มิตซุย ฟุโดซัง” ทำให้การเจรจา (ดีล) ครั้งนี้มีความเข้มงวดเพื่อพิจารณาเปิดทางให้ทุนใหม่เข้ามาร่วมทุนได้ รวมเวลาประมาณ 5 เดือน กระทั่งมิตซุยฯ ประชุมเมื่อวันที่ 17 กันยายนที่ผ่านมา และเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 กันยายน กระทั่งประกาศให้สาธารณชนทราบวันที่ 19 กันยายน

ส่วนบิ๊กดีล “มาม่า-อนันดาฯ” เกิดขึ้นโดยธนาคารกสิกรไทยเป็น “ตัวกลาง” เชื่อมการเจรจา

เท 1,009 ล้าน ถมเงิน ให้ 3 โครงการเดินหน้า

สำหรับการร่วมทุนรุกอสังหาฯ ของมาม่า ประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้

บริษัท ไอดีโอ โมบิ รางน้ำ จำกัด ทุนจดทะเบียน 795.99 ล้านบาท ฟากมาม่าถือหุ้น 49% คิดเป็นมลค่ากว่า 390 ล้านบาท บริษัทดังกล่าวจะเข้าซื้อหุ้น 74% หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 402 ล้านบาท ในบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย ราชปรารภ จำกัด ซึ่งพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม “ไอดีโอ โมบิ รางน้ำ”

• บริษัท ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36 จำกัด ทุนจดทะเบียน 664.43 ล้านบาท มาม่าถือหุ้น 49% คิดเป็นมูลค่ากว่า 325 ล้านบาท บริษัทดังกล่าวจะเข้าซื้อหุ้น 51% หรือคิดเป็นเงินกว่า 339 ล้านบาท ในบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย ทองหล่อ จำกัด ซึ่งพัฒนาโครงการคอนโดมเนียม “ไอดีโอ คิว สุขุมวิท 36

บริษัท ไอดีโอ นิว พระราม 9 จำกัด ทุนจดทะเบียน 599.67 ล้านบาท มาม่าถือหุ้น 49% คิดเป็นมูลค่ากว่า 293 ล้านบาท บริษัทดังกล่าวจะเข้าซื้อหุ้น 51% คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 303 ล้านบาท ในบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย รามคำแหง จำกัด ซึ่งพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม “ไอดีโอ นิว พระราม 9”

ทั้ง 3 โครงการเปิดตัวและอยู่ระหว่างการขาย ทำให้ยังต้องการเงินทุนไปพัฒนา ก่อสร้างต่อไป

ดีลนี้จึงตอบโจทย์ทั้งฝั่ง “มาม่า” ที่เงินเหลือ เลยขยับตัวออกจากธุรกิจอาหารไปสู่อสังหาฯ ส่วนฝั่งอนันดาฯ กำลังมองหาเงินทุนมาพัฒนาโครงการต่อ การร่วมทุนจึงเป็นกลยุทธ์ที่ Win Win ทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม การ Diversify ธุรกิจของมาม่า อาจดูเหมือนจะข้ามห้วย! แบบสุดๆ แต่หากไปดูผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท อนันดาฯ จะพบชื่อของ “พิพัฒ พะเนียงเวทย์” บิ๊กบอสของมาม่าถือหุ้นอยู่ในนั้น 1.31% เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับที่ 7 สะท้อนความสนใจและปูทางสู่ธุรกิจอสังหาฯ ไว้ระดับหนึ่ง.

]]>
1188692
ต่างชาติแค่สีสัน! คอนโดอยากโตยาว ต้องพึ่งลูกค้าไทยซื้ออยู่จริง 80% https://positioningmag.com/1185382 Tue, 28 Aug 2018 09:54:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1185382 เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ ชี้ราคาที่ดิน ทำเล และการขยายตัวของเมือง เป็นปัจจัยหลักส่งให้ราคาคอนโดมิเนียมปรับตัวสูงขึ้น

การเข้ามาซื้อคอนโดเพื่อลงทุนของชาวต่างชาติ ที่หวังผลการลงทุนระยะยาว อาจเป็นเพียงสีสันให้วงการอสังหาในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีนี้ แนะผู้ประกอบการให้คำนึงถึงกลุ่มลูกค้าคนไทยที่ซื้อเพื่ออยู่จริง และควรศึกษาถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคก่อนพัฒนาสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการสูงสุด เพื่อการเติบโต อย่างมั่นคงและยั่งยืนของตลาดคอนโดมิเนียม

นลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด พบว่าอัตราการเติบโตของอุปทานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี โดยราคาจะปรับเพิ่มสูงขึ้น 8-12% ต่อปี

การที่ราคาคอนโดมิเนียมที่สูงขึ้นเป็นเพราะปัจจัย ราคาที่ดินที่สูงขึ้น ที่ดินหายากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นปัจจัยให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาในการพัฒนาสินค้า เพื่อตอบสนองกับการเติบโตของตลาดในระยะยาวแบบยั่งยืนอีกด้วย

ภาพรวมตลาดคอนโดมิเนียมไตรมาส 2 ของปี 2561

คอนโดมิเนียมในตลาดกรุงเทพฯ เติบโตขึ้น 9,395 หน่วย จาก 20 โครงการ ทำให้ในตลาดมีคอนโดมิเนียมรวม 573,000 หน่วย

  • ทำเล ที่มีคอนโดมิเนียมเปิดใหม่มากที่สุด คือ บริเวณจรัญสนิทวงศ์ และสะพานควาย ซึ่งเป็นเขตรอบใจกลางเมือง
  • ราคา พบว่าภาพรวมตลาดราคาเฉลี่ยคอนโดมิเนียมปรับตัวสูงขึ้น 5% ในช่วงครึ่งปีแรก คือ 137,100 บาท/ตารางเมตร

แต่เมื่อเจาะลงมาใน กลุ่มตลาดใจกลางเมือง พบว่ายังคงเป็นตลาดที่มีการปรับตัวของราคาสูงที่สุด คือ 6% หรือ 223,000 บาท/ตารางเมตร

ส่วนตลาดรอบใจกลางเมืองปรับตัวสูงขึ้น 4% หรือ 110,000 บาท/ตารางเมตร และตลาดรอบนอกราคาปรับตัวสูงขึ้นอีก 3% หรือ 75,000 บาท/ตารางเมตร ตามลำดับ

สำหรับความต้องการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ หลายปีที่ผ่านมาพบว่าเป็นดีมานด์จากคนไทย ที่ซื้อเพื่อการอยู่อาศัยจริงมากกว่า 80% แต่ช่วง 1-2 ปีนี้ จะเห็นได้ว่าเริ่มมีกำลังซื้อจากชาวต่างชาติมากขึ้น โดยจะซื้อผ่านนายหน้าเป็นหลัก ส่วนใหญ่ซื้อเพื่อการลงทุน ปล่อยเช่าทั้งในแบบระยะสั้นและระยะยาว เพราะคาดหวังในผลตอบแทนรายปีและจากราคาที่ปรับตัวสูงขึ้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ราคาค่าเช่าไม่ได้เติบโตในอัตราส่วนเดียวกับราคาขายของคอนโดมิเนียม

ดังนั้น ในระยะยาวนักลงทุนน่าจะหวังผลกำไรจากราคาขายต่อที่เพิ่มสูงขึ้นได้เป็นหลัก และหากจะคาดว่าต่างชาติจะเข้ามาถือครองคอนโดมิเนียมในสัดส่วน 49% อาจเห็นได้ในบางโครงการเท่านั้น และในที่สุดแล้ว ตลาดที่น่าจะต้องให้ความสนใจเป็นหลักก็ยังคงเป็นตลาดคนไทยนั่นเอง

10 ปีตลาดคอนโดเปลี่ยนไปแค่ไหน

ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของตลาดคอนโดมิเนียมในช่วง 7 – 10 ปีที่ผ่านมา

1) ทำเลที่ตั้ง เพราะเมื่อเมืองขยายตัว ส่งผลให้การคมนาคมขนส่งที่ขยายตัวและเติบโตมากขึ้น ส่งผลให้คอนโดมิเนียมขยายบริเวณออกไปด้วย

การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ คือ สัดส่วนอุปทานที่เพิ่มสูงขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัดในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา คือ 2 ทำเลรอบนอก ได้แก่ ธนบุรี-เพชรเกษม ซึ่งจากเดิมในปี 2554 มีเพียง 13,000 ยูนิต แต่ปัจจุบันในไตรมาส 2/2561 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็น 66,000 ยูนิต

อีกทำเลหนึ่ง คือ งามวงศ์วาน ติวานนท์ ที่จากเดิมในปี 2554 มีเพียง 17,000 ยูนิต กลับเพิ่มขึ้นเป็น 73,000 ยูนิต

2) ขนาดของห้อง ขนาดห้องของคอนโดมิเนียมเล็กลงอย่างมาก เช่น คอนโดมิเนียม 1 ห้องนอน เดิมมีขนาด 65 ตารางเมตร ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 28 ตารางเมตร ห้องเล็กลงเกินกว่าครึ่งหนึ่งจากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ในขณะที่คอนโดมิเนียมขนาด 2 ห้องนอน แต่เดิมมีขนาด 120 ตารางเมตร ในปัจจุบันเหลือเพียง 45 – 48 ตารางเมตร เป็นต้น

3) รูปแบบของห้อง (Room Mix) หลายปีก่อน หนึ่งโครงการห้องชุดขนาด 2 และ 3 ห้องนอน จะมีสัดส่วนห้องมากที่สุดของทั้งโครงการ ในขณะที่ห้องชุดขนาด 1 ห้องนอน มีสัดส่วนเพียง 20 – 30% เท่านั้น

แต่ในปัจจุบันห้องชุดแบบ 1 ห้องนอน จะเป็นสัดส่วนหลัก จนแทบจะหาคอนโดมิเนียมขนาด 3 ห้องนอนในโครงการใหม่ๆ ไม่ได้เลย และด้วยขนาดห้องที่เล็กลง ส่งผลให้มีจำนวนห้องในแต่ละโครงการเพิ่มขึ้น

เช่น ที่ดินขนาด 2 ไร่ จากสมัยก่อนที่เคยทำคอนโดมิเนียมตึกสูงได้จำนวน 300 ยูนิต ปัจจุบันเพิ่มเป็น 500 ยูนิต ส่งผลให้มีคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

4) ราคาต่อหน่วย ตลาดซิตี้คอนโด ระดับราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 1.5 ล้านบาท – 3 ล้านบาทต่อยูนิต มีสัดส่วนมากกว่า 70% ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในตลาด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ

แต่ถูกจำกัดด้วยความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อมาโดยตลอด ทำให้ผู้ประกอบการต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบพัฒนาโครงการ กำหนดขอบเขตของต้นทุนให้อยู่ในเงื่อนไขราคาต่อหน่วยที่กำหนด

ด้วยราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทำเลของโครงการถูกขยับออกไปไกลจากใจกลางเมืองมากขึ้น โดยเกาะขอบแนวรถไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเข้าไปอยู่ในซอยเล็กเป็นอาคาร 8 ชั้น เป็นต้น

กำลังซื้อกับประเภทคอนโด ใครไหวแค่ไหน

หากวิเคราะห์สัดส่วนรายได้จากกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพฯ แล้ว

  • กลุ่มคนทำงานในระดับเจ้าหน้าที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 35,000 บาท สามารถซื้อคอนโดมิเนียมขนาด 1 ห้องนอน ในกลุ่มซิตี้คอนโดระดับราคาไม่เกิน 2.5 ล้านบาท
  • กลุ่มตลาดระดับกลาง (mid market) พนักงานในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสหรือหัวหน้างาน ผู้มีรายได้ไม่เกิน 65,000 บาทต่อเดือน จึงจะสามารถเริ่มซื้อได้
  • ในขณะที่คอนโดระดับไฮเอนด์ผู้ที่สามารถซื้อได้ จะต้องอยู่ในระดับผู้จัดการขึ้นไป หรือผู้ที่มีรายได้ 120,000 บาทต่อเดือน
  • กลุ่มลักซัวรี่และซูเปอร์ลักซัวรี่จะต้องเป็นเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น

ด้วยราคาคอนโดมิเนียมที่ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 7-8% ต่อปีต่อเนื่องกันมา ทำให้คอนโดมิเนียมมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ารายได้ของประชากรกรุงเทพฯ ทำให้ซื้อได้ห้องขนาดเล็กลงในทำเลเดิม หรือซื้อห้องขนาดเท่าเดิมในทำเลที่ไกลออกไป   

ในระยะกลางหรือระยะยาวคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ จะขยายตัวออกไปยังชานเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ และศูนย์กลางการทำงาน อาจมีการขยายตัวไปยังบริเวณรอบใจกลางเมืองมากขึ้นเหมือนเช่น พระราม 9 บางซื่อ พหลโยธิน รัชดาภิเษก เป็นต้น

ในขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง การเติบโตของตลาดคอนโดมิเนียมมือสองจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาคอนโดมิเนียมใหม่ ขนาดห้องที่ใหญ่กว่า อยู่อาศัยได้จริง ซึ่งอาจจะไม่เห็นในกลางเมืองกรุงเทพฯ ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า แต่ในระยะยาวลักษณะแบบนี้ก็จะเกิดขึ้นในตลาดกรุงเทพฯ เหมือนเมืองใหญ่ๆ ทั่วไปในโลก เช่น นิวยอร์ก หรือโตเกียว เป็นต้น.

]]>
1185382