วิทยุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 11 Jun 2020 00:48:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ล็อกดาวน์ดันคนไทย “ฟังวิทยุ” เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพลงไทย-ลูกทุ่งยังฮิตสุด https://positioningmag.com/1283035 Wed, 10 Jun 2020 17:17:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283035 เปิดข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มผู้ฟังวิทยุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีการฟังเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง คอนเทนต์เพลงไทย เพลงลูกทุ่งยังยอดนิยมมากที่สุด

ฟังเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ประชาชนทำงานและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ทำให้สถานที่ ระยะเวลา และอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการรับชมสื่อนั้นมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงสื่อวิทยุเช่นเดียวกัน

นีลเส็นเผยข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับฟังสื่อวิทยุของคนไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ฟังวิทยุจำนวน 1,650 คน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลในรายงานเผยให้เห็นถึงจำนวนผู้ฟังและเวลาในการรับฟังสื่อวิทยุที่เพิ่มมากขึ้นเกือบชั่วโมง เมื่อเทียบระหว่างเดือนมกราคม และเมษายน 2563 จากการฟังเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 16 นาที/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 15 ชั่วโมง 2 นาที/สัปดาห์

นอกจากนี้ จำนวนของผู้ฟังโดยเฉลี่ยต่อสถานีในเดือนเมษายนนั้น มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

จากสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ ยอดผู้ฟังวิทยุจากที่บ้านเพิ่มสูงขึ้น 18% และการฟังจากในรถลดลง 1% ในส่วนของอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการรับฟังวิทยุ เราเห็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 29% ของการฟังผ่านมือถือ/สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ถึงแม้ว่าผู้ฟังวิทยุส่วนมากยังคงนิยมรับฟังจากเครื่องรับวิทยุ โดยมีอัตราการเติบโตที่ 0.4% เมื่อเทียบระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

เพลงไทย-เพลงลูกทุ่งยังฮิตสุด

“เพลงไทย” เช่น ป๊อป ร็อก ฮิปฮอป และ “เพลงลูกทุ่ง” คือ 2 คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยโปรแกรม ข่าว/ข่าวกีฬา และเพลงสากล และถึงแม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 จะดันให้ยอดผู้ฟังในทุกประเภทของโปรแกรมที่กล่าวถึงข้างต้นเพิ่มขึ้น โปรแกรมเพลงสากล และเพลงไทยนั้นได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์นี้มากที่สุด โดยมีการเติบโตของยอดผู้ฟังอยู่ที่ 28% และ 20% ตามลำดับ

เมื่อมองลึกลงไปที่โปรไฟล์ของผู้ฟังจะพบว่าผู้ฟังหลัก

  • โปรแกรมเพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง ไทย หรือสากลคือเพศหญิง
  • โปรแกรมข่าว/ข่าวกีฬาคือเพศชาย

ซึ่งโปรแกรมทุกประเภทมียอดผู้ฟังเพิ่มขึ้นทั้งชาย-หญิงในอัตราการเติบโตที่พอๆ กันในโปรแกรมนั้นๆ เมื่อเทียบระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

ในส่วนของกลุ่มอายุผู้ฟัง เราพบว่าโปรแกรมเพลงลูกทุ่ง และข่าว/ข่าวกีฬา ได้รับความสนใจจากผู้ฟังที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่เพลงไทยและเพลงสากลสามารถเข้าถึงผู้ฟังในกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปีได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ชมที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ COVID-19 ของแต่ละโปรแกรมนั้นมีความแตกต่างกัน เมื่อเทียบข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

  • เพลงลูกทุ่ง กลุ่มช่วงอายุของผู้ฟังที่มียอดผู้ชมเติบโตสูงสุดคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (+10%)
  • ข่าว/ข่าวกีฬา กลุ่มอายุ 40-49 (+4%)
  • เพลงไทย กลุ่มอายุ 20-29 (+23%)
  • เพลงสากล กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (+125%)

ยอดผู้ฟังที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง non-prime time

ที่น่าสนใจคือการทำงานจากที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเมษายน ทำให้มีผู้ฟังวิทยุเพิ่มสูงขึ้นในช่วง non-prime time ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด ซึ่งในวันธรรมดาจำนวนยอดผู้ฟังวิทยุนั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเวลา 8.00 น. ถึง 14.30 น. และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 40% ในช่วงเวลา 10.00-11.00 น. ในส่วนของวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ช่วงเวลาที่ยอดผู้ฟังเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่เวลา 8.00 น. ถึง 14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่าวันธรรมดาอยู่ครึ่งชั่วโมง อย่างไรก็ตามช่วง prime time ของทุกวันยังคงอยู่ที่เวลา 16.00 ถึง 17.00 น.

ถึงแม้ว่ายอดผู้ฟังวิทยุจะเพิ่มขึ้น เม็ดเงินโฆษณาที่ลงกับสื่อวิทยุนั้นกลับเติบโตสวนทางเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ สื่อในช่วงเดือนเมษายน โดยลดลง 21% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามเจ้าของสินค้าที่ยังคงลงโฆษณาสื่อวิทยุและใช้เม็ดเงินโฆษณากับสื่อวิทยุสูงสุด 10 อันดับแรกประกอบด้วยแบรนด์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล กลุ่มอาหารเสริม กลุ่มยานยนต์ และหน่วยงานรัฐบาล

อารอน ริกบี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า

“สื่อวิทยุเป็นอีกสื่อที่ได้ผู้ฟังเพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์นี้และเป็นสื่อที่ผู้ฟังสามารถรับฟังในระหว่างทำงานไปด้วยได้ตลอดวัน จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสื่อที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการและนักการตลาด สิ่งสำคัญซึ่งเหมือนกับการลงสื่ออื่นๆ คือการเลือกลงสื่อในช่วงเวลาและพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง เพื่อให้มั่นใจว่าเม็ดเงินโฆษณาที่ลงไปนั้นคุ้มค่าที่สุด”

“เราเห็นว่ามีผู้ฟังรายการวิทยุผ่านมือถือ/สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเจ้าของสื่อที่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มและช่องทางการฟังผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ ให้ใช้งานได้ง่าย มีลูกเล่น และน่าสนใจ รวมถึงสามารถรักษาฐานผู้ฟังที่เพิ่มมากขึ้นจากช่วงสถานการณ์นี้ได้แม้ผ่านช่วงโควิดไปแล้ว คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้อย่างแท้จริง”

]]>
1283035
กดปุ่ม หมุนคลื่น เจาะที่มาทำไม “วิทยุ” ถึงไม่ตาย https://positioningmag.com/1236907 Mon, 01 Jul 2019 02:19:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236907 เมื่อกำลังซื้อไม่คงที่ ยอดขายสินค้าลดลง สิ่งที่แบรนด์จะทำจึงเป็นการปรับลดต้นทุน ซึ่งเป้าหมายแรกถูกมุ่งไปที่ลดงบโฆษณาเพราะทำได้ทันที ทำให้หลายปีมานี้ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาอยู่ในภาวะ “ทรงๆ ทรุดๆ” มาตลอด ขณะเดียวกันยุคดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟูทำให้เงินเทไปยังสื่อชนิดใหม่มากขึ้น ด้วยแบรนด์มองว่าผู้บริโภคอยู่ที่ไหนก็ต้องตามไปหาที่นั้น

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สื่อดั้งเดิมพลอยได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากจะถามว่าสื่อไหนที่วิกฤตมากที่สุดคงไม่พ้นสิ่งพิมพ์รองลงมาก็ไม่ต้องเดาให้ยุ่งยากวิทยุนั้นเอง ข้อมูลจากนีลเส็นพบว่า ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าปี 2018 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 4,802 ล้านบาท ก็ตาม

แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 สถานการณ์ก็ใช่ว่าจะดีขึ้น ภาพรวมงบโฆษณาลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท จึงไม่ต้องแปลกใจหากช่วงที่ผ่านมาหลายคลื่นจะทยอยหายไปจากหน้าปัด บ้างก็ผันตัวเองไปเป็นคลื่นออนไลน์ก็มี

อ่านต่ออยู่ดีๆ ก็หาย หมุนหาคลื่นไม่เจอ “Get 102.5” ถูกยุบแบบไม่บอกกล่าว

ถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักจะลดลง แต่บรรดาคลื่นวิทยุต่างก็เชื่อว่าวิทยุไม่มีวันตายด้วยยังมีเสน่ห์ที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งคนยังฟังวิทยุอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางเฉยๆ จากเครื่องรับวิทยุไปอยู่ในรูปแบบอื่น

ยืนยันด้วยข้อมูลจาก สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทชได้ออกรายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทย ประจําเดือนพฤษภาคม 2019 พบว่า

Source : Pixabay/3910743

จํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็มจํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบมีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,211,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (เมษายน 2019) ประมาณ 125,000 คน

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านถึง 52.18% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 40.45% ในที่ทํางาน 7.08% และอื่นๆ 0.29% นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 72.18% ตามมาด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 26.37% และคอมพิวเตอร์ 1.42% อื่นๆ 0.03%

แต่อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น ที่ผ่านมารายที่อยู่รอดก็ต้องปรับตัวกันยกใหญ่อย่างเอไทม์” ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาแกรมมี่ ก็ออกมาระบุกลยุทธ์ในปี 2019 ต้องเป็นมากกว่าวิทยุ โดยจะนำรายการยอดฮิตที่อยู่จากหน้าปัด 3 คลื่นนำไปต่อยอดสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ

อ่านต่อถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล

จากฝั่งอโศกข้ามมาฝั่งลาดพร้าว แม้ภาพใหญ่ของอาร์เอสจะไดเวอร์ซิฟายตัวเองจากธุรกิจสื่อ ไปสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ธุรกิจวิทยุเองอย่างคลื่นคูลฟาเรนไฮต์ก็ทำอยู่ไม่ได้ทิ้งไปไหน หากก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ที่ผ่านมา ปริญญ์ หมื่นสุกแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ระบุว่า คูลฟาเรนไฮต์ใช้กลยุทธ์ Living Young & Beyond ผ่านการวิเคราะห์ถึง Data ของผู้ฟังเหล่านั้นว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มาช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นตัวเลขของคนที่ฟังจริงๆ มีตัวตนจริงๆ จับต้องได้

ไม่ใช่ตัวเลขที่ไม่รู่ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้สามารถเสิร์ฟความบันเทิงได้ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟังไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ในปี 2019 มีผู้ฟังผ่านระบบออนไลน์เดือนละ 49 ล้านครั้ง รับฟังผ่านเว็บไซด์สูงสุด 35 ล้านครั้ง รองลงมาเป็นการรับฟังผ่านระบบ iOS อีกกว่า 11 ล้านครั้งและระบบ Android 3 ล้านครั้ง มีผู้ฟังเฉลี่ยวันละ 1.62 แสนคน ใช้เวลาฟัง 3:40 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน

และผู้ฟังผ่านระบบ iOS ฟังต่อเนื่องนานมากที่สุดถึง 4:24 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ตลอด 1 เดือน คูลฟาเรนไฮต์สามารถเข้าถึงผู้ฟังมากกว่า 1 พันล้านนาทีทุบสถิติการเข้าถึงผู้ฟังสูงสุด

ซึ่งจากการจัดอันดับของ www.shoutcast.com เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานีวิทยุออนไลน์กว่า 90,000 สถานีทั่วโลก พบคูลฟาเรนไฮต์คว้าแชมป์สถานีวิทยุออนไลน์ streaming อันดับ 1 ของเอเชียปี 2018 และ 2019

Basic RGB

นอกจากนี้คูลฟาเรนไฮต์ยังครองแชมป์อันดับ 1 สถานีวิทยุในเมืองไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ครองใจกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะกลุ่ม GEN C ที่มีอายุระหว่าง 20-44 ปี และกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ กลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงเวลาที่มีผู้ฟังมากที่สุดในแต่ละวันคือ ช่วงออฟฟิศอาวร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 .

ในปี 2019 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม เติบโตกว่า 30% และมีส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจวิทยุกว่า 50% จากข้อมูลของนีลเส็น มีเดียรีเสิร์ช

รายได้และกำไร บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด

  • ปี 2557 รายได้ 454 ล้านบาท กำไร 159 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 461 ล้านบาท กำไร 183 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 342 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 32 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3 นี้ คูลฟาเรนไฮต์คอนเสิร์ตใหญ่ “COOLfahrenheit presents Raptor Evolution #25ปีไม่มีเกรงใจเอาใจคนที่เติบโตมาในยุค 90 โดยใช้งบกว่า 30 ล้านบาท

]]>
1236907
ถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1235003 Mon, 17 Jun 2019 13:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235003 ปักหลักอยู่ในแวดวงวิทยุมากกว่า 30 ปี สำหรับเอไทม์ท่ามกลางคลื่นลมอันผันผวนที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาติดตัวแดงมากกว่าตัวเขียว” 10 ปีมานี้ข้อมูลจากนีลเส็นระบุว่า ตัวเลขเงินหายไปกว่า 1,300 ล้านบาท ทำให้ข่าวที่ได้รับอยู่เนื่องๆ จึงเป็นการปิดคลื่นมากกว่าจะเปิดใหม่ หรือไม่งั้นก็หันไปลุยออนไลน์เต็มตัว เพราะผู้บริโภคเทไปทางนั้นหมดแล้ว

ยิ่งงบโฆษณาในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 ลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท แต่เอไทม์ บอกว่าตัวเองนั้นอยู่ในระดับทรงตัวมีการเติบโตอยู่บ้าง อย่างปีที่ผ่านมารายได้รวม 700 ล้านบาท เติบโตราว 10% มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 27.5% จากภาพรวมตลาดที่มี 10 กว่าคลื่นซึ่งเป็นรายใหญ่ๆ ทั้งนั้น

สมโรจน์ วสุพงศ์โสธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ถึงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งจะกำลังเติบโต แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ว่าคนไม่ฟังวิทยุกันเลย ยังมีคนฟังอยู่เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการฟังจากเครื่องรับไปสู่รูปแบบอื่นๆ ทั้งคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน

เสน่ห์ของวิทยุที่สตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งวันนี้สิ่งที่เราพบคือกว่า 50% ของการฟังคลื่นมาจากสมาร์ทโฟน ซึ่งมีอัตราการฟังเฉลี่ย 52 นาทีต่อวัน มากกว่าปีก่อนที่อยู่ราว 48 นาทีต่อวันเท่านั้น

ที่ผ่านมาเอไทม์ มีการเตรียมตัวสำหรับเรื่องออนไลน์มาไม่แล้วนับ 10 ปี โดยวันนี้ผ่านจุด Disruption และ Transformation ไป 2-3 ปีแล้ว ซึ่งในส่วนของออนไลน์ได้เริ่มจริงจังตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าการตอบรับเป็นไปได้ดีหากนับทั้ง 3 คลื่นที่มีอยู่มีคนฟังสะสม 16 ล้าน User ต่อเดือน

รายการที่ประสบความสำเร็จก็เช่นพุธทอล์คพุธโทร มียอดฟังสะสม 7 ล้านครั้ง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 5 แสนครั้ง โดยรายการนี้มีอายุ 4 ปี หรือจันทร์ช็อคโลกยอดฟังสะสม 5 ล้านครั้ง เฉลี่ยอาทิตย์ละ 8 แสนครั้ง ส่วนแอปพลิเคชั่นมียอด Downloads 5.5 ล้านครั้ง

วันนี้เอไทม์ ระบุว่าตัวเองนั้นไม่ได้อยู่เป็นวิทยุอย่างเดียว แต่เป็นคอนเทนต์โพรวายเดอร์ ซึ่งธุรกิจได้แตกออกเป็น 6 ขา ทั้งวิทยุจำนวน 3 คลื่นซึ่งทำรายได้กว่า 70% ส่วนที่เหลืออีก 30% มาจากทั้งแอปพลิเคชั่น ออนไลน์ คอนเทนต์ออนไลน์ โชว์บิซ และการจัดกิจกรรมต่างๆ

โดยสเต็ปต่อไปที่จะทำคือโมเดลธุรกิจ “A-Time Media Solutions 360 องศาที่เป็นมากกว่าวิทยุโดยจะทำคอนเทนต์ที่จากวิทยุ ขยับไปสู่ช่องทางต่างๆ ให้มากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 3 คลื่นต่างมีจุดแข็งของตัวเองทั้งนั้น อย่างกรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็มกลุ่มผู้ฟังต้องการความสนุกไปพร้อมกับสาระบันเทิง ชอบเรื่องสิ่งแวดล้อมและการกุศล

ส่วนอีเอฟเอ็ม 94” เป็นเรื่องของความสนุก มุกขำขัน เปิดเพลงทุกแนว และชิล ออนไลน์คนฟังชอบเปิดเอาไว้เป็นเพื่อนทำงาน นอกจากเพลงแล้วดีเจก็จะพูดคุยเรื่องกิน เที่ยวด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นไปอยู่บนหน้าจอทีวีซึ่งอย่างที่รู้กัน เป็นเซ็กเมนต์ที่ครองงบโฆษณามากกว่า 50% เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับลูกค้าที่จะมาลงโฆษณา ด้วยการเปิดโฆษณาคั่น หรือ Tie-in สินค้าไม่เพียงพอที่จะสร้างความต่างอีกต่อไป ซึ่งอย่างที่รู้กันเรตโฆษณาไม่สามารถเพิ่มได้ จึงต้องปรับแพ็กไปรวมกับการทำอย่างอื่นมากขึ้น เพื่อสร้างความคุ้มค่า

ที่ผ่านมาการต่อยอดไปสู่ทีวีมีบ้างแล้ว เช่นรายการแฉที่ทำมานานกว่า 10 ปี ได้ถูกนำไปทำเป็นรายการ โดยรายการที่มีแนวโน้มขยายคือ พุธทอล์คพุธโทรวางแผนจะนำไปผลิตซีรีส์เบื้องต้นลงไปลงในออนไลน์ก่อน โดยจะลงทุนผลิตเอง หรือรายการอังคารคลุมโปง” เกี่ยวกับการเล่าเรื่องสยองขวัญต่างๆ ก็มีแนวโน้วที่จะหยับมาทำ

ส่วนรายการทอล์คปีหน้าเตรียมเพิ่มรายการอีก โดยหลักของการเลือกว่าจะทำรายการแนวไหน จะมาจากแนวโน้มของของผู้ชม แล้วค่อยเลือกดีเจมาทำหน้าที่ ขณะเดียวกันตัว “ดีเจ” ทั้งหมด 20 กว่าคน นอกจากจัดรายการแล้วก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ให้กับสินค้าได้ด้วย

เร็วๆ นี้เตรียมค้นหาดีเจหน้าใหม่ที่ไม่ได้จัดแค่รายการ แต่ยังต้องรองเพลงหรือเล่นละครได้ด้วย เพื่อซัพพอร์ตสิ่งที่กำลังจะตามมาในอนาคต

นอกจากนั้นแล้วยังมีการเพิ่มโมเดลใหม่ๆ ในการหารายได้เช่นการทำ “วิทยุช้อปปิ้ง” ซึ่งได้ทดลองแล้วกับ “โอช้อปปิ้ง” สิ่งที่พบคือแม้ยอดขายจะน้อยกว่า 50% แต่ทั้งคู่มองว่าจะยังมีลูกเล่นใหม่ๆ ที่จะมาทดแทนในสิ่งที่ทีวีทำไม่ได้

]]>
1235003
“Get 102.5” หายไป “Flex 102.5” มาแทน มี “อ้อม พิยดา” พลิกบทบาทมาบริหารคลื่น https://positioningmag.com/1223904 Mon, 08 Apr 2019 10:59:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223904 ช่วง 5 ปีมานี้ต้องบอกว่าวงการวิทยุอยู่ในภาวะยากลำบากอย่างยิ่ง เพราะรายได้หลักที่มาจากค่าโฆษณาลดลงเรื่อยมา ข้อมูลของนีลเส็นพบว่า 5 ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าปี 2018 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 4,802 ล้านบาท ก็ตาม

เม็ดเงินที่ลดลงเรื่อยมา ส่งผลให้หลายค่ายใหญ่ต่างทยอยคืนคลื่น และหมุนหน้าปัดขึ้นไปสู่โลกออนไลน์ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงผู้บริโภคที่หันเข้าสู่ออนไลน์กันมากขึ้น ทั้งเอไทม์ มีเดียในเครือแกรมมี้ ตัดสินใจลดคลื่นในมือ 4 คลื่น เหลือ 2 คลื่น คือ อีเอฟเอ็ม 94 และ กรีนเวฟ 106.5 ส่วนค่ายเพลงฝั่งลาดพร้าวอาร์เอสลดคลื่นในมือจาก 3 เหลือเพียง 1 คลื่น คือ FM 93 Cool Fahrenheit

แต่การปิดคลื่นดูจะสร้างความตื่นตะลึงให้กับคนฟังมากที่สุดคือเก็ต 102.5 (Get 102.5)” ของ บริษัท อินดิเพ็นเดนท์ คอมมิวนิเคชั่น เน็ทเวอร์ค จำกัด ซึ่งจู่ๆ วันที่ 1 มกราคม 2019 คลื่น ก็ยุติการออกอากาศโดยที่ไม่แจ้งล่วงหน้าเลย ทำเอาแฟนคลับงงไปตามๆ กัน

หากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คลื่น 102.5 ได้กลับมามีเสียงออกอากาศอีกครั้ง แต่ไม่ใช่คลื่นเดิมกลับเป็นคลื่นใหม่ที่ชื่อว่า “Flex 102.5” (เฟล็กซ์ 102.5) เจ้าของไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือจิ๊บเทพอาจ กวินอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เลิฟอิส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด หรือ ค่ายเพลงเลิฟอิส เป็นเจ้าของในนาม บริษัท เฟล็กซ์ สเตชั่น จำกัด แจ้งจดทะเบียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2019 ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท

ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ผู้ที่มาทำหน้าที่บริหารคลื่นปรากฏว่าเป็นอ้อมพิยดา จุฑารัตนกุล (อัครเศรณี)” ก่อนหน้านี้เธอเปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์ช่องวันเมื่อสองเดือนก่อน ว่า บังเอิญพี่ที่สนิทไปซื้อสัมปทานคลื่นเพราะอยากจะทำ และมี บอย โกสิยพงษ์ นักแต่งเพลงชื่อดังเป็นที่ปรึกษา

อ้อมจึงอยากลองดูอีกด้านหนึ่งว่าเป็นอย่างไร พอก้าวเข้าไปเหมือนเป็นอีกความท้าทายหนึ่ง รู้สึกว่าน่าสนุก ซึ่งความหมายของคำว่าเฟล็กซ์ เป็นคำสแลง หมายถึง โชว์ของดี โชว์ออฟ มีน้าเน็กและอุ๋ยเป็นดีเจ และยังทาบทามเก้า จิรายุ มาด้วย

สำหรับ Flex 102.5 เน้นเพลงไทยสากลเป็นหลัก โดยพบว่ามีอดีตดีเจจากค่ายอินดิเพ็นเดนท์เข้าร่วมอยู่ 3 คน ได้แก่ ดีเจแบมปีติภัทร คูตระกูล, ดีเจอ้นอัตตพงษ์ อัตตกิจกุล จากคลื่นเก็ต 102.5 และ ดีเจต้นอาชว์ ไหลสกุล จากคลื่นคลิกไอคอนิค

นอกจากนี้ยังมีอดีตดีเจ และดีเจหน้าใหม่ ได้แก่ ดีเจเดดาวิเด โดริโก้, ดีเจนนชานน ริกุลสุรกาน อดีตดีเจคลื่นซี๊ด 97.5, ดีเจเพชรตะวัน ธราดลรัตนากร อดีตทูตกิจกรรมธรรมศาสตร์, ดีเจเซน-เมจกา สุพิชญางกูร พิธีกรรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ไทยทีวีสีช่อง 3, ดีเจโจ้ศาโรจน์ ศักดิ์อุดมขจร, ดีเจซันเดย์นิธิรุจน์ ถิระพัฒนะพงศ์ ศิลปินฝึกหัด Wynn entertainment (เกาหลีใต้), ดีเจอุ๋ยนที เอกวิจิตร์ นักร้องวงบุดด้าเบลส รวมทั้งมีรายการพิเศษ นินทาประเทศไทย โดย น้าเน็กเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ อยุธยา และ กวางอรการ จิวะเกียรติ

อนึ่ง สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกรายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทย ประจําเดือนกุมภาพันธ์ 2019 พบว่า

จากข้อมูลจํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็ม. จํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบมีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,339,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า (มกราคม 2019) ประมาณ 129,000 คน

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านถึง 52.05% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 38.66% ในที่ทํางาน 8.75% และอื่นๆ 0.54% นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 72.63% ตามมาด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 26.19% และคอมพิวเตอร์ 1.18%

ด้านงบโฆษณาพบมีมูลค่ารวมกัน 326,259,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณ 4.5 ล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 5 ล้านบาท

อ้างอิง : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000033295

]]>
1223904
อยู่ดีๆ ก็หาย หมุนหาคลื่นไม่เจอ “Get 102.5” ถูกยุบแบบไม่บอกกล่าว https://positioningmag.com/1207925 Sun, 13 Jan 2019 14:10:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207925 Thanatkit

เริ่มศักราชใหม่ไม่ทันไร ในแวดวงวิทยุก็มีข่าวให้ได้ใจหายอีกครั้ง เมื่อคลื่นเพลงสากลเก็ต 102.5 (Get 102.5)” ที่ออกอากาศมายาวนาน 17 ปี จู่ๆ ได้หายไปจากหน้าปัดวิทยุ ทำเอาคนฟังงงไปตามๆ กัน

ก่อนหน้านั้นทางคลื่นหันมาเปิดเพลงไทย กระทั่งทราบข่าวว่าสถานีได้ปิดตัวลงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา และส่งมอบคลื่นให้กองทัพอากาศไปดูแล โดยที่ไม่มีการแจ้งข่าวแก่ผู้ฟังผ่านช่องทางของสถานีอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ทำให้กลุ่มผู้ฟังจำนวนหนึ่งรู้สึกเสียดาย ที่คลื่นถูกยุบกะทันหันโดยไม่ได้บอกกล่าว โดยก่อนนั้นใน Facebook ของ “Get 102.5” ยังโพสต์รูป Happy New Year ในวันที่ 1 เวลา 01.00 .อยู่เลย

สำหรับคลื่นเก็ต (Get) 102.5 ผลิตรายการโดย บริษัท อินดิเพ็นเดนท์ คอมมิวนิเคชั่น เน็ทเวอร์ค จำกัด ของ นายชเยนทร์ คำนวณ อดีตเจ้าของนิตยสารเปรียว ออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุกองทัพอากาศ เอฟเอ็ม 102.5 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนหน้านี้ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท คลิก เรดิโอ จำกัด ออกอากาศผ่านห้องส่งย่านอาร์ซีเอ ก่อนที่นายชเยนทร์จะขอนำคลื่นไปทำเอง ที่ห้องส่งในซอยลาดพร้าว 18 เขตจตุจักร กทม.

การตัดสินใจยุบคลื่น Get 102.5 มีตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา เนื่องจากรายได้โฆษณาลดลง ซึ่งหากไปดูรายงานที่ส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะพบว่ารายได้ช่วง 2 ปีมานี้ลดลงทุกปี โดยเฉพาะในปี 2560 ที่รายได้หายไปกว่า 41.75% ส่วนกำไรก็ลดลงทุกปีตลอด 5 ปีมานี้ ล่าสุดเหลือเพียงล้านกว่าบาท จากที่เคยทำได้ 11 ล้านในปี 2556

ที่ผ่านมาอินดิเพ็นเดนท์ ได้ตัดสินใจยุบคลื่นวิทยุมาแล้ว 2 คลื่น ได้แก่ คลื่นเพลงสากล เลิฟ 104.5 และคลื่นเพลงวัยรุ่น คลิก 98.5 รวมทั้งยังยุบนิตยสารเปรียว ซึ่งตีพิมพ์มานาน 35 ปี ไปเมื่อปี 2559 ยังคงเหลือเพียงคลื่น “103.5 FM One” ซึ่งเป็นคลื่นเพลงไทยแนว Easy Listening เพียงคลื่นเดียว เพราะยังสามารถทำรายได้ให้สถานี

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การปิดตัวลงของทั้ง “Get 102.5” เป็นผลพวงของภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป ตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันไปบริโภคสื่อผ่านทางช่องทางออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้เม็ดเงินโฆษณาในสื่อเดิมจึงลดน้อยลงทุกปี

อย่างใน วิทยุ จากข้อมูลของนีลเส็นพบว่า 5 ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าข้อมูลปีล่าสุด 2561 ที่เพิ่งออกมาสดๆ ร้อนๆ เม็ดเงินโฆษณาในวิทยุจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% ก็ตามที

จริงๆ แล้วจะว่าไม่มีคนฟังวิทยุ อยู่เลยก็ไม่ใช่ เพราะจากรายงานตลาดกิจการกระจายเสียงของไทยประจําเดือนพฤศจิกายน 2561 ของสํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. พบว่า

จากข้อมูลจํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบเอฟ.เอ็ม. จํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง (เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรศัพทเคลื่อนที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์) ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในเดือนพฤศจิกายน 2561 มีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุประมาณ 10,569,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า (ตุลาคม 2561) ประมาณ 37,000 คน หรือประมาณ 0.3%

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนสวนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุที่บ้าน 52.16% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 36.17% ในที่ทํางาน 11.07 และอื่นๆ 0.60%

นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 73.12% ตามด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 25.83% และผ่านคอมพิวเตอร์ 1.05%

อ้างอิง : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000001588

]]>
1207925