ศูนย์ค้าส่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 25 Oct 2022 05:18:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “โบ๊เบ๊ สเตชั่น” ขอปลุกชีพย่านค้าส่งเสื้อผ้าเก่าแก่ จากแผงริมถนนสู่ตลาดในร่มที่สะดวกกว่า https://positioningmag.com/1405350 Tue, 25 Oct 2022 04:43:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405350 พูดถึง “โบ๊เบ๊” ใครๆ ก็รู้จักในฐานะย่านค้าส่งเสื้อผ้าเก่าแก่ของกรุงเทพฯ แต่ระยะหลังความคึกคักอาจลดลงบ้างทั้งจากปัจจัยเศรษฐกิจและการมาถึงของอีคอมเมิร์ซ อย่างไรก็ตาม แลนด์ลอร์ดรายหนึ่งยังเชื่อในศักยภาพของโบ๊เบ๊และต้องการจะปลุกชีวิตชีวาของย่านกลับมาอีกครั้ง ด้วยการพัฒนาที่ดินเดิมของตระกูลเป็นตลาดในร่มที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “โบ๊เบ๊ สเตชั่น”

“โบ๊เบ๊” เป็นตลาดค้าส่งเสื้อผ้าที่มีมาตั้งแต่ปี 2470 หรือนับถึงวันนี้ก็ร่วมร้อยปีแล้ว สินค้าที่ขายในแต่ละยุคก็เปลี่ยนไปตามกาลสมัย แต่ในยุคนี้สิ่งที่โบ๊เบ๊ขายส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าประเภทเน้น ‘ฟังก์ชัน’ เช่น เสื้อยืด เสื้อกีฬา กางเกงยีนส์ มากกว่าจะเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นซึ่งนิยมไปช้อปกันที่ประตูน้ำ

“คนที่มาซื้อของขายส่งที่โบ๊เบ๊มักจะขับรถกระบะเข้ามา บางครั้งจอดยาวไปจนถึงยศเส โบ๊เบ๊จะคึกคักมากช่วงกลางคืนเพราะพ่อค้าแม่ค้าจะมาซื้อของช่วงตี 1 – ตี 5 และรีบกลับก่อนจราจรติดขัดในช่วงเช้า” ธีรวุฒิ กาญจนเวชกุล กรรมการ บริษัท แผ่นดินอำพัน จำกัด อธิบายถึงวิถีชีวิตคนโบ๊เบ๊ให้ Positioning ฟังระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษ

ธีรวุฒินั้นเป็นลูกหลานเจ้าของที่ดินขนาด 3 ไร่ บริเวณโบ๊เบ๊สะพาน 3 ซึ่งแต่เดิมเคยมี “ตลาดกลาง” ตั้งอยู่ ธุรกิจให้เช่าล็อกขายของในตลาดนี้ทางบ้านก่อตั้งเมื่อ 60-70 ปีก่อน ก่อนจะหยุดไปในช่วงปี 2549

โบ๊เบ๊ สเตชั่น
ภาพเรนเดอร์โบ๊เบ๊ สเตชั่น ช่วงกลางคืน

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดธีรวุฒิมีโครงการรื้อฟื้นตลาดขึ้นมาใหม่ แต่ไม่ใช่รูปแบบเดิม โครงการใหม่นี้จะเป็นตลาดในร่มที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “โบ๊เบ๊ สเตชั่น” โดยเขาร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ ลงทุนมูลค่า 120 ล้านบาท (ไม่รวมมูลค่าที่ดิน) เพื่อพัฒนาโครงการที่ต้องการจะปั้นให้เป็น ‘แลนด์มาร์ก’ แห่งใหม่ของย่าน

 

โบ๊เบ๊ ย่านค้าส่งผ่านแผงลอย

ด้วยความที่โตมากับครอบครัวที่ทำธุรกิจในย่าน ทำให้เข้าใจธรรมชาติของทำเล ธีรวุฒิอธิบายถึงย่านโบ๊เบ๊ก่อนว่า จุดขายของจะเริ่มตั้งแต่โบ๊เบ๊สะพาน 1 สะพาน 2 สะพาน 3 สะพาน 4 จนถึงโบ๊เบ๊ทาวเวอร์

โบ๊เบ๊เป็นตลาดที่มีทั้งกลางวันกลางคืน ส่วนใหญ่ช่วงกลางวันร้านที่เปิดจะเป็นร้านถาวรในตึกแถวริมถนน และร้านในโบ๊เบ๊ทาวเวอร์ ส่วนร้านแผงลอยบนทางเท้าจะเปิดกันสายๆ จนถึงบ่ายๆ ก็เก็บ

แต่ที่คึกคักที่สุดคือช่วงกลางคืนซึ่งร้านแผงลอยจะมาตั้งร้านกันช่วงหัวค่ำจนถึงเช้ามืด และมีช่วงที่เป็นนาทีทองของโบ๊เบ๊คือ ตี 3 – ตี 5

โบ๊เบ๊
แผนที่ย่านโบ๊เบ๊

การช้อปปิ้งที่นี่ผู้ซื้อจะต้องหาที่จอดรถเองตามริมถนนและมาเดินเลือกซื้อของ เข็นของฝ่าการจราจรและผู้คนกลับไปที่รถ โดยไม่มีห้องน้ำสาธารณะ และหาร้านขายอาหาร-เครื่องดื่มยาก ซึ่งทำให้ธีรวุฒิเห็นโอกาสว่าโบ๊เบ๊มี ‘pain point’ ที่โครงการของเขาสามารถแก้ไขได้

ห้องน้ำ-ที่จอดรถ แม่เหล็กดึงคนเข้า “โบ๊เบ๊ สเตชั่น”

โบ๊เบ๊ สเตชั่น ที่กำลังสร้างขึ้น จะเป็นตึก 3 ชั้น ลักษณะเป็นตลาดในร่มแบบไม่ติดแอร์ ตกแต่งด้วยโทนสีแดงและศิลปะแบบสตรีทอาร์ต เปิดบริการ 24 ชั่วโมงเพื่อตอบโจทย์การค้าย่านนี้ที่มีทั้งกลางวันกลางคืน เตรียมเปิดตัวช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยพื้นที่เช่าและสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่

  • ชั้น 1 – ล็อกขายสินค้าขนาด 5 ตารางเมตรต่อล็อก จำนวนมากกว่า 200 ล็อก
  • ชั้น 1 – ร้านค้าเช่าสำหรับเชนร้านอาหาร/เครื่องดื่ม บริเวณด้านหน้าโครงการ
  • ชั้น 2 – ฟู้ดคอร์ทราคาประหยัด 8 ร้าน
  • ชั้น 2 – ห้องน้ำขนาดใหญ่
  • ชั้น 2 – โกดังเก็บสินค้า ขนาด 5 ตารางเมตรต่อล็อก
  • ชั้น 3 – ที่จอดรถ 140-150 คัน
  • ขยายสะพาน 3 เพิ่มเป็น 2 เลน ให้รถสวนทางเข้าออกได้สะดวก
ออกแบบเป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นที่จอดรถ

ล็อกเช่าในตลาดจะมีทั้งระบบเซ้ง 3 ปี หรือ 9 ปี และระบบเช่าระยะสั้น 15-30 วัน ซึ่งส่วนเช่าสั้นจะเน้นร้านค้าแฟชั่นเข้ามาผสมผสาน เพื่อดึงผู้ซื้อกลุ่มซื้อปลีกเข้ามาเดินเล่นในโครงการด้วย

ธีรวุฒิมองว่าโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ซื้อ เพราะการเดินในตลาดที่จัดเป็นระเบียบจะปลอดภัยกว่า มีร้านอาหารและที่จอดรถบริการ ที่สำคัญคือเชื่อว่า “ห้องน้ำ” จะเป็นจุดสำคัญที่ดึงคนให้เดินข้ามสะพาน 3 เข้ามา ขณะที่ฝั่งผู้ขายเองก็ไม่ต้องห่วงเรื่องดินฟ้าอากาศเพราะพื้นที่ขายมีหลังคา ต่างจากเดิมที่เป็นแผงลอย หากวันไหนฝนตกก็ขายลำบาก

โบ๊เบ๊ สเตชั่น
บริเวณล็อกขายสินค้าชั้นล่าง

 

โบ๊เบ๊ยังไม่ตายเพราะลูกค้ายังต้องการ “ต่อราคา”

แม้ว่าวันนี้โลกอีคอมเมิร์ซจะทำให้สั่งซื้อทุกอย่างได้ด้วยปลายนิ้ว แต่ธีรวุฒิประเมินว่า ผู้ซื้อวันนี้ 60-70% จะเป็นพ่อค้าคนกลางซื้อส่ง และ 30-40% เป็นลูกค้าซื้อปลีก

โดยรวมแล้วกว่าครึ่งหนึ่งที่ยังมาโบ๊เบ๊เพราะเป็นกลุ่มลูกค้าแบบดั้งเดิมที่ต้องการมา “ต่อราคา” และมาดูสินค้าจริงก่อน ซึ่งการต่อราคาทำได้ยากทางอินเทอร์เน็ต

โบ๊เบ๊
ลักษณะตลาดแผงลอยในโบ๊เบ๊ บริเวณในรูปคือสะพาน 3 เมื่อโครงการโบ๊เบ๊ สเตชั่นเปิดทำการ จะขอคืนพื้นที่แผงลอยบนสะพานเพื่อเปิดเป็นทางสัญจร

นั่นทำให้ผู้ขายมีความสนใจที่จะมาเปิดหน้าร้านเพิ่มหรือย้ายร้านเข้ามาในโบ๊เบ๊สเตชั่น โดยผู้ขายส่วนใหญ่ที่ต้องการเช่าขณะนี้มักจะเป็นรุ่นลูกหลานของโรงงานเสื้อผ้าที่เห็นข้อดีการมีร้านในสถานที่ที่ทันสมัยขึ้น

ทางโครงการยังมองถึงการช่วยพ่อค้าแม่ค้าปรับตัวไปสู่โลกออนไลน์เช่นกัน โดยจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นสตูดิโอ “Live ขายสินค้า” ที่จะให้ผู้เช่าของโครงการใช้ได้ฟรี พร้อมกับทำกิจกรรมดึงอินฟลูเอนเซอร์ที่เชี่ยวชาญการ Live ขายของมาสอนผู้เช่าในอนาคต

การกลับมาของตลาดกลางในชื่อใหม่รูปแบบใหม่คือ “โบ๊เบ๊ สเตชั่น” อาจจะมาในจังหวะที่ถูกต้องก็เป็นได้ เพราะที่จริงแล้ว กทม. ได้ยกเลิกจุดผ่อนผันขายของบนทางเท้าในย่านนี้ไปตั้งแต่ปี 2549 และ Positioning พูดคุยกับผู้ค้าในย่านทราบว่า ภาครัฐมีแนวคิดที่จะลดพื้นที่ขายของบนทางเท้าให้เล็กลงมาตลอด และเป็นไปได้ว่าอาจจะให้ยกเลิกขายบนทางเท้าเพื่อปรับภูมิทัศน์ริมคลองผดุงกรุงเกษม นั่นทำให้อนาคตผู้ค้าอาจจะต้องหาที่ขายใหม่เป็นกิจจะลักษณะ

“เรามองย่านเก่าๆ อย่างถนนบรรทัดทองก็กลับมาคึกคักได้ เราเชื่อว่าโบ๊เบ๊ก็ทำแบบนั้นได้เหมือนกัน” ธีรวุฒิกล่าว

]]>
1405350
ทำไม AWC ต้องยกเครื่อง “พันธุ์ทิพย์” เป็นศูนย์ค้าส่ง ปิดฉาก 36 ปี ห้างไอทีในตำนาน https://positioningmag.com/1303992 Mon, 02 Nov 2020 13:01:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303992 ย้อนกลับไปเมื่อปี 2527 จุดเริ่มต้นของยุครุ่งโรจน์ของพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า” ห้างใหญ่ย่านประตูน้ำที่ใครๆ ก็นึกถึง ด้วยดีไซน์ทันสมัยมากๆ (ในยุคนั้น)

เมื่อ เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งทีซีซี กรุ๊ป ได้เข้ามาซื้อกิจการต่อในปี 2530 “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่าได้รับการปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นเเลนด์มาร์กของคนไอที ใครจะซื้อคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก มือถือ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องชวนกันไปดูของที่นั่น เป็นห้างไอทีในตำนานที่มีชื่อติดลมบน จนเป็นหนึ่งในเพลงของวงร็อคชื่อดังอย่าง LOSO

จากประตูน้ำ ได้ขยายสาขาไปยังพันธุ์ทิพย์ บางกะปิ และพันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วาน กลายเป็นต้นเเบบ “ไอทีมอลล์ในเมืองไทย ที่มีห้างอื่นๆ แห่เปิดตามกันในเวลาต่อมา

ในปี 2559 “พันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำขยับอีกครั้งด้วยคอนเซ็ปต์ใหม่เทคไลฟ์ มอลล์ตามความนิยมของยุคสมัยที่ยังเน้นความเป็นแหล่งเทคโนโลยี เเต่มีการเพิ่มสินค้าไลฟ์สไตล์เข้ามา เช่นโซนพระเครื่องก็ได้รับความนิยมไม่น้อย นอกจากนี้ยังมีโซน Co-working Space สำหรับผู้ประกอบการ และสตาร์ทอัพให้มีมุมทำงานนอกออฟฟิศ รวมถึงเจาะตลาดเกมเมอร์สร้าง E-Sport Arena บุกเรื่องอีสปอร์ตอย่างจริงจัง

เเต่หลายทศวรรษผ่านไป ต้องยอมรับว่าค้าปลีกไอทีไม่มีวันเหมือนเดิม เราสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ผ่านปลายนิ้วคลิก หมดยุคการเดินไปเลือกซื้อตามตึกคอม เมื่อสินค้าสเปกดี ราคาถูกลงนั้นเข้าถึงง่าย  มีให้เลือกซื้อใกล้บ้านส่งเร็ว ผู้คนไม่นิยมประกอบคอมเองอีกต่อไป จึงถึงเวลาที่ห้างไอทีเก่าเเก่ต้องปรับตัวไปจนถึงขั้นเปลี่ยนธุรกิจไปเลย

ภาพของศูนย์การค้าพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ หลังการปรับเป็น “เทค-ไลฟ์ มอลล์” ในปี 2559

ทำไมต้องเป็นศูนย์ค้าส่ง ?

มาถึงในปี 2563 ครบ 36 ปีที่ห้างไอทีในตำนาน ต้องปิดฉากลงเเล้ว

ก่อนหน้านี้ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้บริหารพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำออกมาส่งสัญญาณว่า จะมีการยกเครื่องใหม่ เมื่อการเป็นห้างไอทีอยู่ยากเเล้วในยุคนี้

ล่าสุด ศูนย์ไอทีย่านประตูน้ำ กำลังจะเเปลงร่างเป็นศูนย์ค้าส่งที่ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกเเห่งอาเซียน ด้วยช่องว่างในตลาดที่ยังมีโอกาสอยู่มาก เเละยังไม่มีศูนย์ค้าส่งใหญ่ๆ ในไทย

โดย AWC ได้ประกาศเปลี่ยนพันธุ์ทิพย์ ประตูน้ำ สู่ธุรกิจ Wholesale ด้วยคอนเซ็ปต์ ศูนย์กลางการค้าส่งนานาชาติครบวงจรของอาเซียน ที่มีชื่อว่า AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION ซึ่งกำลังจะเปิดให้บริการในวันที่ 26 พฤศจิกายน นี้ โดยใช้งบลงทุนกว่า 300 ล้านบาทในการปรับพื้นที่ วางระบบอาคารเเละการขนส่งต่างๆ เพื่อรองรับการเป็นศูนย์ค้าส่งแห่งใหญ่ใจกลางเมือง ด้วยพื้นที่รวมกว่า 30,000 ตร..

โดยชื่อเต็มๆ ของ AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION มาจากการรวมคำที่เป็น “Keyword” ของธุรกิจ เพื่ออธิบายถึงความเป็นอาเซียนด้วยคำว่า AEC ตามด้วยความเป็นศูนย์ค้าส่ง – TRADE CENTER เเละคำว่า WHOLESALE ซึ่งยังคงคำว่า PANTIP (พันธุ์ทิพย์) ไว้เพราะเป็นชื่อที่คุ้นหูผู้คนมานาน ส่วนคำว่า DESTINATION นั้น อธิบายถึงคอนเซ็ปต์ของรีเทลยุคใหม่ที่ต้องปรับเป็นจุดหมายที่รวมความน่าสนใจของสินค้าและบริการต่างๆ ไว้ 

อย่างไรก็ตาม ชื่อใหม่ของ “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำ ดูจะยาวเเละ “จำยาก” ไปเสียหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้อง “รีเเบรนด์ใหม่” เเละลบภาพจำห้างไอทีดั้งเดิม ซึ่งอาจจะมีผลต่อการขยายการรับรู้อยู่ไม่น้อย 

ปรับโฉมใหม่เป็น AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ศูนย์ค้าส่งเเห่งนี้ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนคนไทย ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออกและนำเข้าสินค้า เป็นโอกาสที่จะขยายตลาดขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าใหม่ ได้ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่มีความนิยมสินค้าไทยสูงมาก

“ย่านประตูน้ำมีชื่อเสียงด้านค้าส่งอยู่เเล้ว เเละตอนนี้เมืองไทยยังไม่มีธุรกิจค้าส่งขนาดใหญ่ที่มีทำเลอยู่ใจกลางกรุงเทพ AWC จึงมองว่าโอกาสที่ดีที่จะปั้นพันธุ์ทิพย์ให้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าส่งนานาชาติ” 

โดยศูนย์ค้าส่งแห่งนี้ จะเชื่อมโยงการส่งออกและนำเข้าสินค้าของภูมิภาคผ่านโครงการ AEC TRADE CENTER ประตูน้ำพระอินทร์ที่มีทำเลขนาด 160 ไร่ ในตำบลเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาเพิ่มเติม วางเเผนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2564 นี้

หลังจากนั้น AWC มีเเผนจะขยายไปยังพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีที่ดินเรียบร้อยแล้ว เหลือแค่การก่อสร้างเท่านั้น เเต่จะสร้างเมื่อไรนั้นต้องรอดูสถานการณ์ก่อน

วัลลภา ไตรโสรัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC

อัดโปรใจป้ำ “ให้เช่าฟรี 6 เดือน” 

อนันต์ ลาภสุขสถิต หัวหน้ากลุ่ม Wholesales Business Officer บมจ.แอสเสท เวิรด์ คอร์ป เสริมว่า ธุรกิจค้าส่งเป็นรูปเเบบธุรกิจที่เข้ากับย่านประตูน้ำ ที่มีทั้งสินค้าเสื้อผ้าเเฟชั่น เเละศูนย์ไอทีค้าส่งอยู่เเล้ว

“AEC TRADE CENTER เป็นโมเดลทดลองธุรกิจใหม่ของ AWC ที่ต้องการช่วยเหลือคนไทย เรายังมีที่ดินอีกจำนวนมากที่จะสานต่อธุรกิจนี้ให้เป็นศูนย์กลางค้าส่งในภูมิภาค

หากดูจากความนิยมของมหกรรม Thaifex งานแสดงนวัตกรรมสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทย ที่มีผู้ซื้อจากทั่วโลกเดินทางมาทำ Business Matching ในงานจำนวนมาก เเต่ติดปัญหาว่ามีเวลาเเค่ 4 วันเช่นเดียวกับงาน STYLE Bangkok แหล่งสินค้าไลฟ์สไตล์ ซึ่งจัดปีละครั้ง ก็มีผู้สนใจร่วมงานจำนวนมาก เเต่ผู้ส่งออกยังไม่มีหน้าร้านเเสดงสินค้าเเบบถาวร

เหล่านี้เป็น Pain Point ที่ทาง AEC TRADE CENTER ต้องการเข้ามาแก้ไขเเละวางคอนเซ็ปต์ห้างพันธุ์ทิพย์ใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการค้าส่งแบบวันสต็อปครบวงจรใจกลางกรุงเทพฯ แห่งแรกของไทย ช่วยให้คู่ค้าสามารถเจรจาธุรกิจได้ตลอด 365 วัน สร้างโอกาสสำคัญให้คู่ค้าได้มาสรรหา (Sourcing) สินค้าในพื้นที่เดียวประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เข้ากับการค้าขายในยุค New Normal

เบื้องต้น AEC TRADE CENTER – PANTIP WHOLESALE DESTINATION จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการที่จะเข้ามาขายสินค้า โดยเน้นผลักดันให้มีสินค้าจากผู้ผลิตต้นน้ำที่มีคุณภาพ เเละมีความหลากหลาย เช่น เฟอร์นิเจอร์อุปกรณ์ตกแต่งภายใน ของเล่น ของชำร่วย เครื่องเขียน ของขวัญ ของตกแต่งบ้าน นวัตกรรมการพิมพ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่แสดงสินค้า และศูนย์ SMEs Service Solution (SSS) ซึ่งจะมีสตูดิโอถ่ายภาพเพื่อให้ผู้ค้าสามารถใช้บริการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) ห้องประชุม และสัมมนาขนาดย่อม พื้นที่ให้บริการคำปรึกษาด้านธุรกิจ ที่จะเชื่อมโยงกลุ่มผู้ซื้อ ทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้นำเข้าสินค้า ทั้งภายในประเทศ ระหว่างภูมิภาค และทั่วโลก

ในเฟสแรกคาดว่าจะมีร้านค้าเข้ามาทั้งสิ้น 300 ร้านค้า ซึ่ง AWC มีโปรโมชันดึงดูดใจอย่างการไม่คิดค่าเช่านาน 6 เดือนจากปกติพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ประตูน้ำจะมีค่าเช่าตั้งเเต่ 800-7,000 บาท ต่อตารางเมตรต่อเดือน เลยทีเดียว

มีการประเมินว่า โปรโมชันให้เช่าฟรี 6 เดือนในครั้งนี้คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 300 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคารตามที่กล่าวมาข้างต้นอีก 200 กว่าล้านบาท รวมๆ เเล้ว AWC ทุ่มใช้งบไปกับโครงการนี้ถึง 500 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ยังมีผู้เช่าเดิมเหลืออยู่บางส่วนราว 10-15% ซึ่งจะมีการดูเเลเเละพูดคุยกันต่อไป โดยอาจจะต้องพัฒนาไปขายในรูปแบบค้าส่ง จากนั้นไตรมาสแรก ปี 2564 จะเปิดเต็มพื้นที่ทั้งอาคารกว่า 50,000 ตารางเมตร คาดทั้งโครงการจะมีผู้เช่าเต็มพื้นที่ราว 500 ร้านค้า โดยได้ลงนามกับสมาคมการค้า 11 แห่งในไทย เพื่อดึงดูดสมาชิกของหอการค้าฯ ที่มีอยู่ถึง 1 เเสนรายให้เข้ามาตั้งร้านค้าต่อไป

ตั้งเป้าเงินสะพัด “พันล้าน” ต่อเดือน เเม้เปิดช่วง COVID-19 

เเม้การค้าขายในโลกทุกวันนี้ จะปรับไปสู่เเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเเล้ว ตามพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งก็ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายของธุรกิจ “ค้าส่ง”

โดยผู้บริหาร AWC มองว่า อย่างไรเเล้วการค้าปลีกก็ต้องควบคู่กันไปเเบบ “ออนไลน์-ออฟไลน์” การซื้อสินค้าน้อยชิ้นสั่งออนไลน์ได้ เเต่หากต้องซื้อในรูปเเบบค้าส่ง การสั่งซื้อ “บิ๊กล็อต” ระดับเเสนบาทขึ้นไป ก็ยังมีความจำเป็นที่คู่ค้าต้องเห็นและสัมผัสสินค้าจริง รวมไปถึงการเจรจาต่อรองเเบบเจอหน้ากัน เพื่อสร้างความมั่นใจของทั้งสองฝ่าย

“ในเฟสแรก เราหวังว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ราว 1,000 ล้านบาทต่อเดือน เเม้ตอนนี้จะมีเเต่ลูกค้าคนไทยเป็นหลัก เเต่บริษัทต่างๆ น่าจะมาซื้อของเพื่อจัดเทศกาลปีใหม่กันเยอะ หากอนาคตมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามามากขึ้น ก็คาดว่าจะเห็นเงินสะพัดถึง 4,000-5,000 ล้านบาทต่อเดือน” 

นอกเหนือจากช่องทางออฟไลน์แล้ว ยังเตรียมที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นทั้งเว็บไซต์เเละเเอปพลิเคชัน ภายใต้ชื่อ ‘ฟีนิกซ์บ็อก’ (Phenixbox) ซึ่งจะช่วยให้ร้านค้าสามารถติดต่อกับคู่ค้าต่างประเทศได้ทุกช่องทาง คาดว่าจะเปิดตัวในเฟส 2 ช่วงต้นปีหน้า

เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเติบโตได้ในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะใน CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม ไทย) และจีน บริษัทได้ร่วมมือกับความร่วมมือกับ Zhejiang China Commodities City Group Co., Ltd. (CCC Group) รัฐวิสาหกิจผู้พัฒนาและบริหารตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลกจากเมืองอี้อู (Yiwu) ประเทศจีน จัดศูนย์แสดงสินค้า Yiwu Selection Thailand Showcase” และศูนย์ให้บริการด้านการส่งออกไปยังจีนใน IC Mall” เชื่อมโยงช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ส่งออกไทยที่ต้องการจะส่ง
ออกสินค้าไปยังประเทศจีนด้วย 

ผู้บริหาร AWC มองว่า สิ่งสำคัญตอนนี้คือ ปลุกปั้นให้ AEC TRADE CENTER เป็นที่รู้จักในวงกว้างก่อน โดยหัวใจของศูนย์ค้าส่ง คือ “การขายของได้” ดังนั้นหากผ่านช่วงโปรโมชันไม่คิดค่าเช่า 6 เดือนไปแล้ว ยังมีผู้เช่าอยู่ต่อ เเละเพิ่มขึ้นในระดับที่วางไว้…ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว

ต้องมาลุ้นกันว่า ก้าวใหม่ของ “พันธุ์ทิพย์ พลาซ่า” สู่ศูนย์ค้าส่งระดับอาเซียน จะเป็นไปในทิศทางไหน เสียงตอบรับจะเป็นอย่างไร เมื่อยังคงมีอุปสรรครออยู่อีกมาก ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เเน่นอนหลังวิกฤต COVID-19 

 

]]>
1303992
โฮเรก้า สแควร์ VS แม็คโคร บนสมรภูมิค้าส่งของสองเจ้าสัว “เจริญ-ธนินท์” https://positioningmag.com/1140438 Wed, 20 Sep 2017 22:55:33 +0000 http://positioningmag.com/?p=1140438 “โฮเรก้า สแควร์” เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ “ปณต สิริวัฒนภักดี” ลูกชายคนเล็กของเจ้าสัวเจริญ

จัดเป็นศูนย์ค้าส่งสินค้าและบริการที่เข้ามาสนับสนุนพอร์ตธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งของตระกูลสิริวัฒนภักดีให้แข็งแรงขึ้น นอกจากจะรองรับตลาดโรงแรม 2 – 4 ดาว (HO-tel) ร้านอาหาร (RE-staurant) ร้านกาแฟ (CA-fe) และธุรกิจจัดเลี้ยงแล้ว ยังคอยสนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ให้ธุรกิจในเครืออีกด้วย

ปณต สิริวัฒนภักดี โฮเรก้า สแควร์

บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท เอเชีย โฮเรก้า จำกัด ได้เปิดตัว โฮเรก้า สแควร์ แอท ซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ ริมถนนรัชดาภิเษก อย่างเป็นทางการ ใช้งบลงทุน 350 ล้านบาท เฉพาะพื้นที่ชั้น 3 – ชั้น 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ค้าส่ง ใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท ขนาดพื้นที่ 1.2 หมื่นตารางเมตร

ศูนย์ค้าส่งเฉพาะทางแห่งนี้ มีพื้นที่เช่าสำหรับร้านค้าทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 14 หมวดหมู่หลัก ที่เกี่ยวข้องกับ 1. Bedding & Furniture 2. Porcelain & Glasswear 3. Coffee & Bakery 4. Electonic & Appliance 5. Cooking School 6. Amenity 7. Lighting 8. Hotel Supply 9. Utensil 10. Packaging 11. Software & POS 12. Consultant 13. Kitchen Equipment และ 14. Uniform

ที่ผ่านมาโฮเรก้าเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล จากการขยายตัวของธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ที่เป็นผลพวงจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยปี 2559 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 2.51 ล้านล้านบาท ธุรกิจโรงแรมและที่พัก นำมาเป็นอันดับ 1 ประมาณ 5.8 แสนล้านบาท ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ประมาณ 4.48 แสนล้านบาท รวมกันแล้วเกือบครึ่งหนึ่งของรายได้จากการท่องเที่ยว

เคยมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจโฮเรก้าในไทยมีมูลค่าราว 1.1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจโรงแรม 5.27 แสนล้านบาท ธุรกิจร้านอาหาร 3.85 แสนล้านบาท ธุรกิจกาแฟ เบเกอรี ไอศกรีม และบริการจัดเลี้ยง 6.2 หมื่นล้านบาท มีอัตราการเติบโต 10-20%

พงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุล กรรมการบริหาร บริษัท เอเชีย โฮเรก้า จำกัด กล่าวจุดยืนของโฮเรก้า สแควร์ ว่าจะ เน้นค้าส่งในแวดวงธุรกิจกับธุรกิจด้วยกัน เราขายของล็อตใหญ่เท่านั้น ไม่ได้ขายแยกชิ้น

แต่ต้องยอมรับว่าโฮเรก้า สแควร์ เข้ามาปักธงธุรกิจค้าส่งในเซกเมนต์เดียวกับห้างแม็คโคร โดยโฮเรก้าฯ จะวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นศูนย์ค้าส่งเฉพาะทาง (niche market) เน้นจำหน่ายของชิ้นใหญ่ อย่าง เตียงและเฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ตกแต่งร้าน วัสดุสิ้นเปลือง ครอบคลุมงานที่ปรึกษาและการวางระบบ

ขณะที่ตำแหน่งทางการตลาดของแม็คโคร จะกินแนวรอบด้าน (mass market) ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ตกแต่งร้าน และอาหารสด

ภารกิจหลักของโฮเรก้า สแควร์ คือการดึงดูดผู้ประกอบการต่างชาติมาเจรจาการค้า ขณะเดียวกันก็ให้โฮเรก้า สแควร์เป็นเวทีกลาง นำสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก ผลักดันให้กรุงเทพฯ และประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อธุรกิจจากไทยไปอาเซียน และเติบโตในระดับเอเชียต่อไป

โดยบริษัท อินเตอร์ โฮเรก้า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ จะเป็นผู้เชื่อมโยงคู่ค้าทั้งในไทยและต่างประเทศด้วยกัน ด้วยการต่อสายพันธมิตรที่จีน ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่หลากหลาย เอามาสร้างความแตกต่างให้ลูกค้า

ทีซีซี แอสเซ็ทส์ กำหนดให้ทั้งสามโครงการที่อยู่ในความดูแล เป็นยุทธศาสตร์การค้าบนถนนรัชดาภิเษก ได้แก่ โครงการ ซีดับเบิลยู ทาวเวอร์โครงการ เดอะสตรีท รัชดา และโครงการ ซี-อาเซียน (C-ASEAN) โดยโครงการทั้งหมดจะเชื่อมถึงกันด้วยทางเดินขนาดใหญ่ที่ต่างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กันและกัน

ซีดับเบิลยู ทาวเวอร์ เป็นออฟฟิศให้เช่า มีคนทำงานอยู่มากมาย ซี-อาเซียนก็อยู่อีกปีกของอาคาร ขณะที่เดอะสตรีท รัชดา เป็นแหล่งชอปปิ้งรองรับไลฟ์สไตล์คนเมือง

ดังนั้น การเปิดตัวโฮเรก้า สแควร์ จึงเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ในย่าน รัชดาภิเษก เพื่อปั้นให้เป็น “แลนด์มาร์ก” ในระดับอาเชียน ดึงเอาผู้ประกอบการจากต่างประเทศเข้ามาทำธุรกิจ และนำสินค้าของไทยไปขายต่างประเทศ แล้วยังทำให้ธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจค้าส่งของกลุ่มเบียร์ช้าง ครบเครื่องมากยิ่งขึ้น

ทางด้าน “แม็คโคร” เจ้าตลาดเดิม หลังเข้ามาอยู่ในพอร์ตธุรกิจเครือซีพี ภายใต้การดูแลของเซเว่น-อีเลฟเว่น ก็เดินหน้าให้ความสำคัญกับธุรกิจโฮเรก้ามากขึ้น ทั้งการขยายสาขารูปแบบเดิมไปในต่างจังหวัด และที่บุกหนักในปีนี้ คือ จะใช้เงินลงทุน 3-4 พันล้านบาท ขยายสาขาในรูปแบบ ฟูด เซอร์วิส และ ฟูด ชอป เพิ่มเติมอีก 7 แห่ง

โมเดลธุรกิจฟูด เซอร์วิส และ ฟูด ชอป จะมีขนาดเล็กกว่าสาขาแบบดั้งเดิม โดยแม็คโครพยายามเข้าไปยึดพื้นที่ชุมชนที่มีร้านอาหารหนาแน่น และไปอยู่ในย่านที่มีศูนย์การค้าขนาดเล็กแบบคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งเป็นแหล่งรวมร้านอาหารน้อยใหญ่

ฟูด เซอร์วิส และ ฟูด ชอป เน้นวางจำหน่ายเฉพาะอาหารสด วัตถุดิบประกอบอาหาร และอุปกรณ์ทำอาหาร มีขนาดพื้นที่ 1,000-3,000 ตารางเมตร และจะไม่ขายสินค้าทั่วไปแบบโชห่วย

เป้าหมายของการขยาย ฟูด เซอร์วิส และ ฟูด ชอป

1. ต้องการติดสปีดในการขยายสาขา เพราะศูนย์ค้าส่งแบบดั้งเดิม Cash & Carry ที่ขายส่งสินค้าทุกอย่างสำหรับร้านค้าโชห่วย และร้านอาหาร ใช้พื้นที่มากเฉลี่ย 10,000 ตารางเมตร ยิ่งนานวันยิ่งหาทำเลยาก การทำขนาดให้เล็กลงทำให้ขยายได้มากขึ้น แทรกซึมไปในพื้นที่ชุมชนได้ง่าย

2. ลูกค้ากลุ่มร้านอาหารหรือธุรกิจโฮเรก้ามีการเติบโตสูง เพราะคนยุคนี้ชอบประกอบธุรกิจส่วนตัวทั้งร้านอาหาร เบเกอรี และร้านกาแฟ แม็คโครจึงพยายามเจาะกลุ่มนี้มากขึ้น โดยปกติแล้วลูกค้ากลุ่มนี้เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของแม็คโครเช่นกัน มีสัดส่วน 30% รองจากลูกค้าร้านโชห่วยที่มีสัดส่วน 50% และอื่นๆ อีก 20% เป็นกลุ่มบริการ โรงงาน ปั๊มน้ำมัน และรถทัวร์ เป็นต้น

ฟูด เซอร์วิส และ ฟูด ชอป เปรียบเหมือนร้านสะดวกซื้อแบบค้าส่งวัตถุดิบของกลุ่มร้านอาหาร พฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มนี้จะเข้าร้านถี่แต่มียอดการใช้จ่ายไม่สูง เน้นอาหารสดวันต่อวัน ทำเลที่ตั้งจะเน้นในชุมชน แหล่งที่มีร้านอาหารตั้งอยู่เป็นจำนวนมากประเภทเป็นตึกแถวเรียงต่อกันก็มี ส่วนลูกค้าร้านโชห่วยจะมาที่ร้านไม่ถี่ แต่ซื้อจำนวนมากๆ เพราะจะได้คุ้มค่ารถ ทำเลที่ตั้งจึงเน้นเดินทางสะดวก

ภาพรวมจำนวนสาขาทั้งหมดของแม็คโครสิ้นปี 2559 มีทั้งหมด 115 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็นรูปแบบคลาสสิก 76 สาขา ฟูดเซอร์วิส 17 สาขา อีโค พลัส 11 สาขา แม็คโคร ฟูดชอป 3 สาขา และร้านสยามโฟรเซ่น 8 สาขา

ดังนั้น การก้าวเข้ามาของโฮเรก้า สแควร์ในตลาดห้างค้าส่ง จึงมีหลายเซกเมนต์ที่คาบเกี่ยวกันกับแม็คโคร ทั้งธุรกิจร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี ธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก รวมถึงบูติก โฮเทล ความท้าทายของโฮเรก้า สแควร์สำหรับตลาดในประเทศ คือ จะยึดกลุ่มลูกค้าตลาดบนอย่างเหนียวแน่นไว้ได้อย่างไร ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้บรรดาผู้ประกอบการต้องรัดเข็มขัด

ขณะที่ในเมื่อแม็คโครเองก็พยายามโฟกัสเป้าหมายมาที่กลุ่มธุรกิจโฮเรก้ามากขึ้น ข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุนทำให้มีโอกาสอย่างมากที่แม็คโครอาจหันมาอัปเกรดสินค้าในกลุ่มโฮเรก้า เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าของตัวเอง ดังนั้น ในอนาคตช่องว่างสำหรับตลาดโฮเรก้าสำหรับห้างค้าส่งซึ่งเป็นตัวแทนของสองเจ้าสัว “เจริญ” และ “ธนินท์” อาจหดแคบลง จนกลายเป็นการเผชิญหน้าในสักวัน

โฮเรก้า สแควร์พยายามฉีกตัวเองออกจากการแข่งขัน ด้วยการกำหนด 3 กลยุทธ์เพื่อให้ตัวเองสามารถเติบโตและแข่งขันได้ คือ

1. การกำหนดให้โฮเรก้า สแควร์เป็นแลนด์มาร์กธุรกิจโฮเรก้าแห่งแรกในไทย ใหญ่ที่สุดในอาเซียน

2. การจัดงานแสดงสินค้าและบริการสำหรับผู้ประกอบการ (Business to Business : B2B) ระดับนานาชาติ โดยจัดครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการสนใจมาออกร้าน 80 คูหา มีผู้เข้าเยี่ยมชม 5,000 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ซื้อต่างประเทศ 20% จากประเทศจีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ อินเดีย อินโดนีเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) สร้างมูลค่าเงินสะพัด 30 ล้านบาท ที่เหลืออีก 80% เป็นกลุ่มเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัปในประเทศ

3. การขยายตัวไปสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งยังอยู่ในช่วงพัฒนา

ลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย โฮเรก้า จำกัด ระบุว่า โอกาสทางธุรกิจของโฮเรก้า    สแควร์ จากการปักธงว่าเป็นแห่งแรก จะสามารถดึงกำลังซื้อที่เคยกระจายตัวอยู่หลายที่ เช่น ถ้าอยากได้ของประเภทนี้ต้องไปเจเจ ถ้าอยากได้สินค้ากลุ่มนี้ต้องไปแพลทตินั่ม หรือสินค้าหลายชนิดก็ต้องไปซื้อยกลังที่สำเพ็ง ซึ่งเพิ่มภาระให้ผู้ประกอบการ

การเปิดเป็นศูนย์รวม โฮเรก้าพร้อมบริการให้คำปรึกษาธุรกิจ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง ขณะที่โฮเรก้า สแควร์เองก็มีโอกาสได้ลูกค้าที่กระจัดกระจายดึงเอามาเป็นฐานประจำ

เรากำหนดกลยุทธ์ราคาสินค้าที่เน้นคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล ถ้าลูกค้าอยากได้อะไร แล้วเรายังไม่มี เราจะหาให้ เป็นรูปแบบการให้บริการครบวงจรจริงๆ

ลัดดา กล่าว

ภาพรวมกลุ่มธุรกิจโฮเรก้าในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่า โรงแรมและร้านอาหารมีการเติบโตเพิ่มขึ้น 7.5% โดยรายได้จากการท่องเที่ยว 6.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.4% มาจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 3.95 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.8% และนักท่องเที่ยวในประเทศ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4%

สำหรับเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกจาก อเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง และอาเซียน เข้ามาเที่ยวไทยมากขึ้น ทำให้ภาพรวมธุรกิจโฮเรก้ามีแนวโน้มว่าจะทำรายได้สูง 1.96-2 ล้านล้านบาท

โฮเรก้าจึงเป็นธุรกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ที่กลุ่มเบียร์ช้างไม่อาจปล่อยมือได้ และเครือซีพีก็คงไม่พลาดงานเลี้ยงนี้เช่นกัน

]]>
1140438