สตาร์ทอัพจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 14 Mar 2023 07:55:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่กระทบแค่ในประเทศ! วิกฤต “Silicon Valley Bank” ลามไกลถึง “สตาร์ทอัพจีน” https://positioningmag.com/1423087 Tue, 14 Mar 2023 06:49:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1423087 ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาคงจะเห็นข่าวการปิดตัวของ Silicon Valley Bank หรือ SVB ซึ่งเป็นธนาคารที่เน้นการลงทุนและปล่อยกู้ให้แก่สตาร์ทอัพ และการล่มสลายของธนาคาร SVB นี้เองได้ส่งผลกระทบต่อสตาร์ทอัพทั่วโลก รวมถึง ประเทศจีน ด้วย

หลังจากที่หน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐฯ ปิดธนาคาร Silicon Valley Bank หรือ SVB ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ ซึ่งเป็นธนาคารที่เน้นการลงทุนและปล่อยกู้ให้แก่สตาร์ทอัพ ก็ได้ส่งผลกระทบไกลถึงสตาร์ทอัพของจีน โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

โดยผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีรายหนึ่งของจีนที่ไม่เปิดเผย ระบุว่า สาเหตุที่ SVB เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่สตาร์ทอัพจีนนิยมใช้บริการก็เพราะ SVB อนุญาตให้ธุรกิจสตาร์ทอัพ เปิดบัญชีออนไลน์ผ่านการใช้หมายเลขมือถือของประเทศจีนได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ถ้าใช้ธนาคารกระแสหลัก เช่น Standard Chartered, HSBC, Citi มีการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดและใช้เวลานานในการเปิดบัญชีธนาคารกับพวกเขา อาจใช้เวลานานถึง 3-6 เดือน

นอกจากนี้ แหล่งข่าวซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฟินเทคและบริษัทเทคโนโลยีอีก 2 แห่ง ได้เปิดเผยว่า ผู้ร่วมทุนชอบทำงานกับ SVB เพราะธนาคารอนุญาตให้นักลงทุนเห็นและรองรับการใช้เงินทุนของสตาร์ทอัพ

“หากไม่มี SVB จะส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพราะไม่มีธนาคารอื่นใดที่มีคุณสมบัติทั้งสองนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีที่รวดเร็วสำหรับสตาร์ทอัพและการเห็นการใช้เงินทุนสำหรับผู้ร่วมทุน”

ดังนั้น การที่มีบัญชีธนาคารกับ SVB ทำให้ บริษัทสตาร์ทอัพในจีนสามารถแตะเงินทุนจากนักลงทุนในสหรัฐฯ ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสหรัฐฯ จะเพิ่มความเข้มงวดเรื่องการเข้าทำ IPO ของบริษัทจีน อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดในทันทีว่ามีบริษัทสตาร์ทอัพในจีนจำนวนเท่าใดที่มีบัญชี SVB แต่แหล่งข่าวได้ระบุว่า บริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งในจีนที่มีการระดมทุนแบบ VC ของสหรัฐฯ จะมีบัญชีธนาคารที่ SVB

Source

]]>
1423087
Shein จ่อรับเงินลงทุนที่จะทำให้บริษัทมี “มูลค่ากิจการ” ทะยานเหนือ H&M, Zara และ Uniqlo https://positioningmag.com/1380360 Mon, 04 Apr 2022 11:55:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1380360 Shein สตาร์ทอัพขายเสื้อผ้าราคาสุดถูกจากจีน กำลังเจรจารับเงินลงทุนรอบใหม่ที่จะทำให้บริษัทได้รับการประเมิน “มูลค่ากิจการ” แตะ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่ามูลค่าตลาดของทั้ง H&M, Zara และ Uniqlo สามแบรนด์ฟาสต์แฟชั่นระดับโลก

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Shein บริษัทสตาร์ทอัพขายเสื้อผ้าออนไลน์ กำลังเจรจากับ General Atlantic เพื่อรับเงินลงทุนรอบใหม่ โดยเงินลงทุนดังกล่าวจะทำให้บริษัทถูกประเมินมูลค่ากิจการไว้สูงถึง 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

หาก Shein เจรจาสำเร็จ จะทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทฟาสต์แฟชั่นที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก เอาชนะทั้ง Hennes & Mauritz (H&M) ซึ่งมีมูลค่าตลาดที่ 2.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ, Fast Retailing (เจ้าของแบรนด์ Uniqlo) ซึ่งมีมูลค่าตลาดที่ 5.22 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และ Inditex (เจ้าของแบรนด์ Zara) ที่มีมูลค่าตลาด 6.85 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้ ข้อมูลจาก CB Insights ยังระบุด้วยว่า หากมูลค่ากิจการของ Shein ขึ้นไปถึง 1 แสนล้านเหรียญได้จริง จะทำให้เป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับการประเมินมูลค่ากิจการสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก ByteDance และ SpaceX

ทั้งนี้ การระดมทุนรอบเดือนสิงหาคม 2020 ข้อมูลจาก Pitchbook ระบุว่าขณะนั้นบริษัทได้รับการประเมินมูลค่าไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ต่อมาเมื่อต้นปี 2021 บริษัทได้รับการประเมินมูลค่ากิจการถึง 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

Shein เข้ามาทำตลาดในไทยเช่นกัน (Photo: IG@Shein_Thailand)

บริษัท Shein ก่อตั้งที่จีนเมื่อปี 2012 ด้วยโมเดลธุรกิจระดมซัพพลายเออร์ผลิตเสื้อผ้าต้นทุนต่ำในเขตภาคใต้ของจีนให้ผลิตสินค้าให้ แบรนด์นี้เน้นส่งขายออนไลน์โดยไม่มีหน้าร้านเลยสักสาขาเดียว และตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่น Gen Z ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันตกซึ่งจะรู้สึกว่าสินค้าของ Shein นั้นถูกกว่าที่มีขายในร้านค้าปลีกออฟไลน์มาก

การเติบโตของแบรนด์นี้ยิ่งพุ่งทะยานในยุคอีคอมเมิร์ซบูมสุดขีด เมื่อปี 2020 บริษัททำยอดขายเติบโต 3 เท่าไปแตะ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และข้อมูลล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2022 แบรนด์มีสมาชิกผู้ซื้อทะลุ 100 ล้านราย มียอดดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมากกว่า 230 ล้านครั้ง จัดจำหน่าย 150 ประเทศทั่วโลก โดยตั้งสำนักงานทั้งที่กวางโจว, สิงคโปร์ และลอสแอนเจลิส

ในตลาดที่ประสบความสำเร็จมากอย่างสหรัฐอเมริกา Shein เพิ่งประกาศการลงทุนศูนย์กระจายสินค้าที่รัฐอินเดียน่า ซึ่งจะมีการจ้างงาน 850 ตำแหน่ง และยังตกลงสนับสนุนทุนการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจให้กับนักศึกษาใน Indiana University ด้วย

ทั้งนี้ Bloomberg ให้ข้อพิจารณาไว้ด้วยว่า Shein ยังอยู่ในฐานะสตาร์ทอัพซึ่งการประเมินมูลค่ากิจการเกิดขึ้นจากนักลงทุนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ขณะที่บริษัทฟาสต์แฟชั่นอื่นๆ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ทำให้บัญชีธุรกิจจะถูกตรวจสอบจากกลุ่มนักลงทุนเป็นวงกว้างกว่า จะเห็นได้ว่าสตาร์ทอัพหลายรายที่เข้าเปิด IPO แล้ว มีทั้งผู้ที่ได้มาร์เก็ตแคปเท่ากับที่เคยประเมินมูลค่ากิจการ ไปจนถึงผู้ที่ได้มากกว่า และผู้ที่มีมูลค่าธุรกิจลดฮวบทันที

Shein เคยมีแผนที่จะเปิด IPO ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก แต่แผนนั้นได้เลื่อนไปก่อนท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามรัสเซีย-ยูเครน

Source: Yahoo Finance, Hypebeast

]]>
1380360
ธุรกิจ “แชร์ริ่ง” ใครว่ารุ่งเสมอไป? เจ๊งอีกราย! สตาร์ทอัพจีนเช่าร่มกันฝน หลังธุรกิจเช่าจักรยานผ่านแอปฯ ปิดตัวลงไปหมาดๆ https://positioningmag.com/1132557 Wed, 12 Jul 2017 11:08:21 +0000 http://positioningmag.com/?p=1132557 ดูท่าโมเดล“เช่า-แชร์ริ่ง”ของจีนจะไปรอดได้ยาก หลังจากธุรกิจให้เช่าจักรยานพังไม่เป็นท่า เพราะโดนขโมยไปเกือบพันคัน ล่าสุด สตาร์ทอัพรายหนึ่ง เปิดให้บริการเช่าร่มกันฝน (Sharing E Umbrella) ด้วยเปิดบริการเพียงไม่กี่สัปดาห์ ร่มหายไปแล้วเกือบ 300,000 คัน

รายงานข่าวจากสื่อจีนระบุถึง ธุรกิจสตาร์ทอัพให้บริการร่มร่วมกันรายนี้ อยู่ที่เมืองเซินเจิ้น เปิดตัวบริการด้วยเงินลงทุน 10 ล้านหยวน ด้วยแนวคิดคล้ายๆ กับบริการจักรยานร่วม ซึ่งส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยลูกค้าจะใช้ผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ จ่ายค่าธรรมเนียม 19 หยวน และค่าใช้จ่าย 5 หยวน สำหรับการใช้งานทุกครึ่งชั่วโมง ปรากฏว่าร่มเกือบทั้งหมดสูญหาย

จ้าว ซู่ผิง ผู้ก่อตั้งกิจการบริการร่มร่วมฯ กล่าวว่า ได้แรงบันดาลใจจากกิจการจักรยานร่วมบริการ และเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่จะใช้งานนอกบ้าน สามารถสร้างธุรกิจแบ่งใช้งานกันได้หมด โดยร่มที่สูญหายไปนั้นราคาคันละ 60 หยวน และเขายังมีแผนเพิ่มร่มฯ สำหรับใช้หมุนเวียนให้บริการทั่วประเทศจีนอีกกว่า 30 ล้านคันภายในปลายปีนี้

ทำให้มีคำถามต่อไป ธุรกิจนี้ตอบโจทย์ได้จริงหรือ เพราะจำเป็นต้องแชร์ร่มกันฝนกันด้วยหรือ เพราะร่มเป็นของราคาถูกผู้ใช้ไม่น่าจะมีความจำเป็นต้องเช่า  ไม่เหมือนกับรถยนต์ ที่โมเดลของรถร่วมบริการ คือ ”ราคารถยนต์” ซึ่งมีราคาสูง ทำให้การเช่าใช้งานถูกกว่าการเป็นเจ้าของ และเป็นแรงจูงใจในการตัดสินใจ

แต่เหตุผลนี้คงใช้กับร่มกันฝนไม่ได้ เพราะร่มไม่ได้เป็นของแพง และเสียก็ไม่ต้องซ่อมบำรุง แน่นอนว่า หาระหว่างเดินทางฝนตกและไม่มีร่ม ก็คงใช้บริการนี้ได้ แต่ก็คงไม่มีทางมาแทนการตัดสินใจซื้อ และพกร่มติดตัวในระยะยาว ร่มจึงไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมเหมือนรถยนต์ หรือจักรยาน

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจให้เช่าจักรยานผ่านแอปพลิเคชั่นเองก็ไปรอดได้ยาก ดู จากกรณีที่ 3Vbike” ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพให้เช่าจักรยานผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เงินลงทุน 600,000 หยวน หรือราว 3.5 ล้านบาท เพื่อซื้อจักรยานจำนวน 1,000 คัน ออกให้บริการในเมืองเล็กๆ 4 แห่งในมณฑลเหอเป่ย และฝูเจี้ยน

ปรากฏว่าช่วงแรกธุรกิจทำท่าจะไปได้สวย เมื่อมีผู้ลงทะเบียนบนแอปฯ มากถึง 11,000 รายภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน

แต่หลังจากนั้น จักรยานที่ให้เช่าก็ค่อยๆ สูญหายไปเรื่อยๆ นอกจากนี้จักรยานบางส่วนก็ถูกทางการยึด เนื่องจากถูกใช้ผิดที่ผิดทาง จนทำให้ในบางพื้นที่ไม่มีจักรยานให้บริการเลย จากจักรยานที่ซื้อมา 1,000 คัน เหลือให้บริการอยู่เพียงไม่กี่สิบคัน เขาจึงจำเป็นต้องปิดกิจการไปในที่สุดเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา


ที่มา

]]>
1132557