สถาบันการเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 23 Nov 2022 08:12:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กสิกรไทยเปิดแผน “KBank ESG Strategy 2566” พร้อมผสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อความยั่งยืน https://positioningmag.com/1409532 Thu, 24 Nov 2022 10:00:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1409532

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพภูมิอากาศทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เราจะเห็นข่าวพายุที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ฝนตกหนักมากขึ้นในหลายพื้นที่แบบไม่เคยเป็นมาก่อน หรือแม้แต่คลื่นความร้อนที่ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

ทำให้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องความเหลื่อมล้ำ การที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงบริการต่างๆ ฯลฯ หลายปัญหาที่ยังต้องแก้ไขในระยะยาว

สถาบันการเงินเองก็ต้องปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจจากปัจจัยเหล่านี้เช่นกัน

แต่หลายคนอาจสงสัยว่าสถาบันการเงินนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) หรือเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) อย่างไร ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สถาบันการเงินถือเป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โลกเรานั้นดีขึ้นได้

เราจะเห็นข่าวว่าหลายสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มเปลี่ยนนโยบายแทบจะพลิกฝ่ามือ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปโดยเริ่มมองปัจจัย ESG หรือแม้แต่ผู้จัดการกองทุนก็ให้ความใส่ใจในเรื่อง ESG โดยนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาประกอบการลงทุนด้วย

ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเองก็เป็น 1 ในสถาบันการเงินที่ต้องการเห็นหลายภาคส่วนในประเทศไทยก้าวเดินไปสู่สภาวะแวดล้อมที่ดีมากขึ้น รวมถึงเรื่องของความยั่งยืน

Positioning จะพาไปดูว่าธนาคารกสิกรไทยวางกลยุทธ์ในเรื่องดังกล่าวยังไง


คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

คุณกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวว่าปัจจุบัน ESG เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก และลูกค้าของธนาคารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างสนใจในเรื่องนี้อย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเขาได้ยกตัวอย่างว่ากองทุนจากต่างประเทศได้สอบถมนโยบายเกี่ยวกับเรื่อง ESG ของธนาคารอย่างเข้มข้น แตกต่างจากในอดีตที่ส่วนใหญ่มักสอบถามถึงกลยุทธ์การทำธุรกิจ หรือเป้าหมายการทำกำไร

นอกจากนี้เขายังกล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศเริ่มหันมาออกมาตรการภาษีด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาษีคาร์บอน ฯลฯ ฉะนั้นแล้วถ้าหากธนาคารกสิกรไทยไม่สนใจเรื่อง ESG  หรือแม้แต่ลงมือทำช้าไป ตัวของธนาคารเองก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน

ธนาคารกสิกรไทยเป็นอีกสถาบันการเงินในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจบนหลักการธนาคารแห่งความยั่งยืน มาอย่างต่อเนื่อง จึงมีการวางยุทธศาสตร์เรื่องการขับเคลื่อนธุรกิจบนหลักการ ESG โดยกำหนดกลยุทธ์การทำงานที่เป็นระบบ เน้นการวัดผลที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินงานตามหลักการและมาตรฐานสากล

กลยุทธ์ด้าน ESG ของธนาคารกสิกรไทยใน 3 ด้านของปี 2566  (KBank ESG Strategy 2566) ประกอบด้วย

ด้านสิ่งแวดล้อม ธนาคารกสิกรไทยประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) จากการดำเนินงานของธนาคารภายในปี 2573 โดยธนาคารได้วางแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เช่น การปรับเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การทยอยปรับเปลี่ยนรถยนต์ของธนาคารให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า การทยอยติดตั้งแผงโซลาร์บนดาดฟ้าของอาคารสำนักงานและสาขาของธนาคารที่มีพื้นที่เป็นของตนเอง

KLOUD by KBank หนึ่งในอาคารที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์

ขณะที่พอร์ตสินเชื่อของธนาคาร เริ่มมีการประเมินในเรื่องปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงจัดทำแผนกลยุทธการลดก๊าซเรือนกระจกรายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมกลุ่มแรกที่ทางธนาคารได้เริ่มดำเนินการเข้าไปวางแผนในการป รับเปลี่ยนร่วมกับลูกค้าแล้วคือ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติและกลุ่มเหมืองถ่านหิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร (Portfolio Emission) และเตรียมขยายการทำงานร่วมกับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญอื่นๆ ตามลำดับ

คุณกฤษณ์ ยังได้กล่าวถึงโครงการใช้แนวความคิดแบบ Win-Win ในเรื่องพลังงานสะอาดอย่าง SolarPlus ซึ่งช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าไฟและได้ใช้ไฟจากแหล่งพลังงานสะอาด และยังสามารถขายไฟในส่วนที่เหลือคืนให้กับธนาคารได้อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การให้สินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน ไปจนถึงการที่ธนาคารได้ส่งเสริมการเช่าใช้งานรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า EV Bike สนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายมากขึ้น และช่วยให้ไรเดอร์กลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีโอกาสในการประกอบอาชีพด้วยต้นทุนต่ำ เนื่องจากสามารถเช่า EV Bike ได้ในราคาถูก

สถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ EV Bike ในพื้นที่สาขาของธนาคาร

ด้านสังคม คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงเรื่องทำให้คนเข้าถึงบริการทางการเงินมากขึ้นยังไง โดยเฉพาะสินเชื่อของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกระบวนการขอสินเชื่อที่ทำได้รวดเร็วมากขึ้น เกิดผลลัพธ์ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยสินเชื่อให้คนตัวเล็กกว่า 5 แสนรายในปี 2565 และตั้งเป้าในปี 2568 จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ 1.9 ล้านราย

นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้ความเข้าใจความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับลูกค้า ซึ่งเราจะเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว เช่น คอลเซ็นเตอร์จากต่างประเทศที่หลอกลวงเงินลูกค้า โดยธนาคารตั้งเป้าในการให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจด้านการเงินและไซเบอร์แก่ลูกค้า 10 ล้านรายในปี 2566 รวมถึงยกระดับการให้บริการที่ปลอดภัย และดูแลอย่างทันท่วงที ด้วยบริการของธนาคารที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง

ด้านธรรมาภิบาล คุณกฤษณ์ได้กล่าวถึงประเด็นหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อตามหลัก ESG เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่อยไปไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และป้องกันประเด็นการฟอกเขียว (Greenwashing) โดยธนาคารได้มีการกำหนดให้ทุกสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% โดยข้อมูล 9 เดือนแรกของปี 2565 มีสินเชื่อผ่านกระบวนการดังกล่าวไปแล้วกว่า 340,000 ล้านบาท

นอกจากนี้คุณกฤษณ์ยังได้กล่าวว่า ภารกิจด้านความยั่งยืนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงอยากเชิญชวนให้ทุกฝ่ายมาแข่งขันกันในเรื่อง ESG นี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ดีสำหรับทุกฝ่าย และเขาได้ย้ำว่าหลายฝ่ายเองก็ต้องจับมือเดินไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่างๆ รัฐบาล หรือแม้แต่หน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะประสานความร่วมมือดังกล่าว เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในระดับของธนาคารและระดับโลก

]]>
1409532
FinTech VS TechFin ความต่างขั้วที่มาบรรจบกันเพื่อเปลี่ยนโลกการเงิน https://positioningmag.com/1360978 Wed, 10 Nov 2021 05:38:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1360978

นับวันโลกดิจิทัลหมุนเร็วขึ้นมาก หนึ่งในอุตสาหกรรมใหญ่ที่เกิดการดิสรัปชันมากที่สุด ต้องยกให้อุตสาหกรรมทางการเงินโลก

คงจำกันได้ในช่วงหลายปีก่อน ผู้ให้บริการทางการเงิน ‘FinTech’ ได้ก่อให้เกิดดิสรัปชัน หรือการทำลายล้างสถาบันการเงินที่ให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม (Tradition) ที่ยืนต่อคิวยาวๆ เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินหน้าเคาน์เตอร์ผ่านสาขา มาเป็นรูปแบบใหม่ ทำธุรกรรมบนสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่รู้หรือไม่ว่า วันนี้ ถึงคิวผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech ที่จะถูกดิสรัปต์จากผู้ให้บริการ TechFin นี่คือปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการเงินโลกอีกระลอก

Photo : Shutterstock

ความหมายของคำว่า ‘FinTech’ กับ ‘TechFin’ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เชื่อว่าผู้คนยังมีความสับสนกันมาก ว่าเป็นการเล่นคำสลับกันหรือเปล่า? ซึ่งไม่ใช่ครับ ผมขอฉายภาพการเปลี่ยนผ่านโลกเทคโนโลยีทางการเงินให้ฟังอย่างนี้ครับ

จุดแจ้งเกิด ‘FinTech – TechFin’ ต่างขั้วที่เหมือนกัน

ผู้ให้บริการทางการเงิน FinTech คืออะไร ผมขอย้อนไปเมื่อ 5 ปีก่อน กระแสธุรกิจ FinTech เป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกทึ่งกับศักยภาพของกลุ่ม ‘สตาร์ตอัป’ ที่มีคนทำงานไม่กี่คน รวมตัวกันจัดตั้งบริษัทขึ้นมาด้วย ‘เงินทุนต่ำ’ แต่พนักงานเหล่านี้มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง และคิดค้นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาให้กับผู้ใช้มากกว่า

จึงเป็นที่มาของการพลิกโฉมรูปแบบให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ที่ทั่วโลกฮือฮา ไม่ว่าจะเป็นระบบ Mobile Banking ระบบ Digital Banking และก็มีแอปพลิเคชันทางการเงินต่างๆ ตามมาด้วยการเกิดเงินสกุลดิจิทัล เป็นต้น

FinTech พัฒนารูปแบบให้บริการต่างๆ ล้วนตอบโจทย์ที่ใช่แก่ผู้ใช้บริการ ภาษาสตาร์ตอัป เรียกว่า แก้บรรดา Pain Point ให้แก่ผู้ใช้บริการอย่างตรงจุดมากที่สุด โดยภาพรวมคือรวดเร็วกว่า ทำธุรกรรมได้ง่ายกว่า ค่าธรรมเนียมถูกกว่า ทำที่ไหนเวลาใดก็ได้ สะดวกไม่ต้องเดินทาง และที่สำคัญมีความปลอดภัยด้วย

Photo : Shutterstock

ช่วงแรกๆ ของการแจ้งเกิดดาวรุ่ง FinTech แม้จะให้บริการเฉพาะทางหรือบางธุรกรรม เช่น โอนเงิน ชำระบิล แต่ต่อมาได้พัฒนาเพิ่มบริการอื่นๆ จนปัจจุบันสามารถให้บริการสินเชื่อดิจิทัลเปิดประตูให้ผู้คนเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้น และคล่องตัว รวมถึงการเข้าสู่การลงทุนที่มีทางเลือกและสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า สะดวกสบายไม่ต้องยื่นเอกสารมากมาย ผู้คนหันมาใช้บริการ ส่งผลให้ FinTech ขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ความสำเร็จของสตาร์ตอัป FinTech จำนวนมากเติบโตเป็น ‘ยูนิคอร์น’ และพาเหรดกันเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั่วโลกด้วย เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ จีน เป็นต้น และเติบโตเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีผลประกอบการโดดเด่น ราคาหุ้นพุ่งพรวด มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด มีขนาดใกล้เคียงกับสถาบันการเงินรายใหญ่ๆที่เก่าแก่เลยทีเดียว

ชื่อบริษัท FinTech ดังๆ ในอุตสาหกรรมทางการเงิน เช่น ที่สหรัฐฯ จะมี Paypal และ Square ส่วนยุโรป ก็คือ บริษัท Revolut และ N26 หรือในจีน เช่น Lufax และ OneConnect เป็นต้น

ส่วน TechFin คืออะไร มาฟังกันครับ

จริงๆ แล้ว คนไทยก็เคยได้ยินชื่อหรือรู้จักบริการของบริษัทเหล่านี้มาก่อนแล้ว ที่ดังๆ ก็จะมี WeChat Pay หรือ LINE Pay เพียงแต่เจ้าของผู้ให้บริการเหล่านี้ เป็นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของโลก ที่มีแพลตฟอร์มของตัวเอง พวก Social Network ขนาดใหญ่ ที่มีผู้ใช้หลักพันล้านคน และแต่ละคนจะใช้เวลาอยู่กับแพลตฟอร์มนี้หลายชั่วโมงต่อวัน บริษัทบิ๊กเทคเหล่านี้จึงเห็นเป็นโอกาส ในการต่อยอดสู่ธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงิน ที่เรียกกันว่า TechFin นั่นเอง

และด้วยจุดแข็ง 2 ข้อคือ มีฐานผู้ใช้แพลตฟอร์มจำนวนมากและแต่ละคนใช้เวลาหลายชั่วโมงบนแพลตฟอร์ม จึงทำให้ผู้ให้บริการ TechFin แจ้งเกิดได้อย่างรวดเร็ว และมียอดผู้ใช้บริการจำนวนมาก ส่งผลให้ยอดการทำธุรกรรมก็เติบโตก้าวกระโดด โดยเฉพาะบรรดาแพลตฟอร์มระดับโลก อาทิ Google Amazon Facebook Apple บริษัทในกลุ่มสัญชาติอเมริกันส่วนสัญชาติจีนจะมี Baidu Alibaba และ Tencent ทางด้านแพลตฟอร์มใหญ่ในไทยก็ต้องยกให้ LINE เป็นต้น

Photo : Shutterstock

หากยกตัวอย่างบริการธุรกรรมการเงินจากบริษัท TechFin ใหญ่ๆ ดังๆ ได้แก่ WeChat Pay จากค่ายอาลีบาบาสัญชาติจีน ซึ่ง WeChat Pay เป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ชำระเงินได้ผ่านแอปฯ WeChat โดยตรง หรือ LINE Pay สัญชาติญี่ปุ่น ที่เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ใช้ชำระเงินผ่านแอปฯ LINE แม้แต่ Google สัญชาติอเมริกัน ก็มี Google Pay เป็นกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระเงินตามร้านค้าต่างๆ เป็นต้น

TechFin จึงมีพลังมหาศาลที่เข้ามาช่วงชิงเค้กจาก FinTech ได้อย่างง่ายดาย แม้จะแจ้งเกิดทีหลัง FinTech ก็ตามที

4 ข้อได้เปรียบของ TechFin มีอะไรบ้าง

หากถามว่า อะไรที่ทำให้ TechFin ติดลมบนได้เร็ว หลักๆ จะมี 4 ข้อได้เปรียบ คือ

อย่างแรก ผู้ใช้บริการ TechFin มีความเคยชินกับการใช้แพลตฟอร์มของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้มาก่อนแล้ว เมื่อมีบริการทางการเงิน TechFin เพิ่มขึ้น ก็สามารถยืนยันตัวตนได้ง่ายพร้อมใช้งานต่อได้ทันที ไม่ต้องไปดาวน์โหลดแอปฯ และเริ่มต้นลงทะเบียนใหม่ เช่น WeChat Pay แต่ถ้าเป็นแอปฯ FinTech เช่น Pay Pal ก็จะต้องโหลดแอปฯ และจะต้องเริ่มขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่ลงทะเบียนจนจบกระบวนการจึงจะเริ่มใช้งานได้

Photo : Shutterstock

อย่างที่สอง บิ๊กดาต้า รวบรวมจากที่มีผู้คนใช้แพลตฟอร์ม Social Network วันละหลายชั่วโมง ทำให้ TechFin สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ และมีความเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภค และสามารถสร้าง Engagement กับผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพดีกว่า ซึ่งปัจจุบัน ภาคธุรกิจต่างล้วนต้องการข้อมูลเหล่านี้อย่างมากเพื่อนำมาสร้างประการณ์บริการที่ดีและรู้ใจผู้ใช้มากที่สุด แน่นอนว่า บิ๊กดาต้าของ TechFin ถังใหญ่กว่า FinTech

อย่างที่สาม บริษัทเทคโนโลยีที่ทำธุรกิจ TechFin มีศักยภาพสูง ทั้งคนทำงานจำนวนมากกว่าและมีความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์ทางด้านระบบเทคโนโลยีขั้นสูง และเงินลงทุนที่เหนือกว่ากลุ่ม FinTech อยู่แล้ว ยิ่งทำให้ TechFin สามารถวางโครงสร้างเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากกว่า สร้างระบบรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน พร้อมรองรับผู้ใช้งานจำนวนมากๆได้

และสุดท้าย TechFin มีพลังในการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้ขนาดใหญ่ของแพลตฟอร์ม ทำให้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ของผู้คนจำนวนมาก

Photo : Shutterstock

แม้ว่าวันนี้ TechFin กำลังเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่สร้างดิสรัปชันทั้ง FinTech และสถาบันการเงินไม่ว่าแบงก์หรือนอนแบงก์ก็ตาม แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ให้บริการทางการเงินที่เผชิญกับการดิสรัปชันเหล่านี้ จะต้องสูญเสียธุรกิจหรือล้มหายตายจากไปจากอุตสาหกรรมทางการเงิน

เพราะผมมองว่า บรรดา ‘สถาบันการเงินแบบดั้งเดิม’ ก็ยังคงมีจุดแข็งในตัวเอง ทั้งจากความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจการเงินและการธนาคารมายาวนาน การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย ล้วนเป็นเกราะความมั่นคงต่อฐานะทางการเงินของแบงก์ ที่จะเรียกความเชื่อมั่นจากลูกค้าแบงก์ได้ดีกว่า

ที่สำคัญแม้โลกการเงินเปลี่ยนเร็ว แต่สถาบันการเงินต่างๆ ก็เดินหน้าสู้ทุกวิถีทางเพื่อยืนบนโลกดิจิทัล แบงก์กิ้ง ซึ่งมีทั้งการปรับองค์กรแบบดิสรัปต์ตัวเอง การเปิดกว้างใช้เทคโนโลยีต่างๆ ไล่ล่าสิ่งใหม่ๆ หรือคิดค้นวิธีบริการใหม่ๆ ขึ้นมา ผ่านการจับมือพันธมิตรทางธุรกิจทั้งบริษัทเทคโนโลยี สตาร์ตอัป FinTech หรือธนาคารอื่นๆ พร้อมเปลี่ยนสถานะจากคู่แข่ง มาเป็นคู่มิตร เพื่อเกม Win Win ด้วยกัน

ยกตัวอย่างธนาคารในไทยที่เพิ่งประกาศดิสรัปต์ตัวเอง คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ด้วยการตั้งบริษัทโฮลดิ้งชื่อ เอสซีบีเอกซ์ (SCBX) เพื่อลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ นำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ และมีบริษัทย่อยๆ กว่า 20 แห่งที่แตกหน่อพร้อมให้บริการเชื่อมต่อธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการเงิน

และล่าสุด SCB Securities ได้เข้าไปลงทุนใน ‘บิทคับ ออนไลน์’ (Bitkub Online Co., Ltd.) ซึ่งให้บริการแพลตฟอร์มด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้กับกลุ่ม SCBX ที่สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้

ขณะที่ธนาคารกสิกรไทย คงชูบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยีกรุ๊ป (KBTG) และ ธนาคารกรุงไทย ที่ตั้ง Krungthai Innovation Lab หรือศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายก้าวสู่ “ธนาคารในอากาศ” จะเห็นว่า แม้แต่แบงก์ไทยก็มองหาโอกาสทางธุรกิจทางการเงินใหม่ๆ เช่นเดียวกับตลาดโลก

ขณะเดียวกัน สนามธุรกิจ FinTech และ TechFin แม้จะต้องแข่งขันกันอย่างเข้มข้น แต่เป้าหมายของทุกบริษัท ก็ล้วนต้องการเพิ่มทางเลือกบริการทางการเงินให้ลูกค้ามาใช้ ซึ่งฐานผู้ใช้บริการมีความหลากหลายของกลุ่มย่อย (Segment) แต่ละ Segment จะมีพฤติกรรม ไลฟ์สไตล์ และความต้องการที่แตกต่างกัน เมื่อดูตัวเลขประชากรทั่วโลกที่มีจำนวนกว่า 7.7 พันล้านคน ทุกคนย่อมต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินอยู่แล้ว และส่งผลดีต่อภาพการเติบโตทางด้านธุรกิจโดยรวม

Photo : Shutterstock

ยิ่งไปกว่านั้น ในด้านการลงทุนสำหรับนักลงทุนทั่วโลก ก็จะมีทางเลือกลงทุนหุ้นคุณภาพในกลุ่มเมกะเทรนด์ FinTech และเทคโนโลยี ท่ามกลางการแข่งขันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อการเติบโตแบบยั่งยืนในระยะยาว สร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้แก่นักลงทุน

จะเห็นได้จาก ผลตอบแทนของกองทุนส่วนบุคคล Thematic ธีมเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech) ของ บลจ. จิตตะ เวลธ์ จำกัด ที่ลงทุนในหุ้นของบริษัทที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินจากทั่วโลก อย่าง PayPal และ Sqaure ผ่านกองทุน Global X FinTech ETF ครอบคลุม 33 หุ้นในกลุ่มธุรกิจ อาทิ ประกัน ลงทุนระดมทุน สินเชื่อที่พัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินอย่าง เช่น Blockchain Cryptocurrency และการบริหารความมั่งคั่งแบบอัตโนมัติ (Automated Wealth Management) ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 41.47% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 10.06% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

หรือธีมเทคโนโลยี (Technology) ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเข้ามาเปลี่ยนแปลงสังคมในวงกว้าง โดย Jitta Wealth ลงทุนผ่านกองทุน iShares Exponential Technologies ETF ที่ครอบคลุมบริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Alphabet (Google) Apple Amazon และ Tencent ซึ่งขยายธุรกิจไปยัง TechFin โดยธีมนี้ให้ผลตอบแทน 1 ปีที่ผ่านมา 37.26% และผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน (YTD) 14.21% (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ต.ค. 64)

ส่วนตัวผมยังมองเห็นภาพเมกะเทรนด์ของ FinTech และ Technology ว่า เป็นถนนสายยาวๆ จากโลกเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ผูกกับบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งคาดได้ยากว่าจะสิ้นสุดอย่างไร

เพราะฉะนั้น เมื่อตลาดผู้ใช้บริการมีจำนวนมหาศาล ผมเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นแบงก์ หรือธุรกิจอื่นๆ FinTech และ TechFin ต่างก็ย่อมปักหมุด หมายให้บริการลูกค้าแต่ละกลุ่มอยู่แล้ว เพราะตราบใดที่พวกเขามีศักยภาพในการดึงพลังเทคโนโลยีที่ไร้ขีดจำกัด มาพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเติมเต็มบริการที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าให้แก่ผู้ใช้บริการแล้ว แน่นอนว่า ผลลัพธ์ที่จะได้กลับมา คือ พวกเขาจะสามารถชิงเค้กก้อนใหญ่ยืนหยัดบนตลาดเทคโนโลยีการเงินได้ สร้างความความแข็งแกร่งให้แก่ธุรกิจ หนุนการเติบโตในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

]]>
1360978
DBS ธนาคารใหญ่สิงคโปร์ ปั้นเเพลตฟอร์มเทรด ‘คริปโต’ ขยาย 20-30% ต่อปี รับดีมานด์พุ่ง https://positioningmag.com/1351727 Tue, 14 Sep 2021 08:18:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351727 อีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญของ DBS ธนาคารใหญ่สุดในสิงคโปร์เเละเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เดินหน้าลงทุนในเเพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีโดยตั้งเป้าขยายฐานลูกค้าโตถึง 20-30% ต่อปี

‘DBS Digital Exchange’ เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตฯ สำหรับผู้ที่สมัครเป็นสมาชิก เปิดตัวเมื่อเดือนธ.. 2020 ที่ผ่านมา ได้รับกระเเสตอบรับดีเกินคาด โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนสถาบัน เเละบริษัทด้านการลงทุนต่างๆ ที่หันมายอมรับสกุลเงินดิจิทัลกันมากขึ้น ทำให้ตลาดนี้ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

จากกระเเสนี้ ทาง DBS Group ประเมินว่า เเพลตฟอร์ม DBS Digital Exchange จะมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น ‘2 เท่าจากปัจจุบันเป็น 1,000 คนได้ ภายในเดือนธ..นี้ และจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องราว 20-30% ต่อปี ในช่วง 3 ปีข้างหน้า

เรามีการเติบโตที่รวดเร็วมากๆ หลังนักลงทุนเริ่มสนใจสกุลเงินคริปโตฯ และสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆผู้บริหารระดับสูงของ DBS กล่าว

โดย DBS เริ่มปรับทิศทางธุรกิจจากธนาคารดั้งเดิมไปสู่วงการคริปโตเคอร์เรนซีอย่างจริงจัง ภายใต้การนำของ ‘Piyush Gupta’ ซีอีโอคนปัจจุบัน ที่ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของธนาคาร ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา เพื่อรองรับระบบ Cloud Computing และบริการดิจิทัลต่างๆ

ความนิยมสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซีที่เพิ่มขึ้น เป็นความท้าทายของธนาคารในกระแสหลัก ที่ต้องพยายามสร้างสมดุลระหว่างความสนใจของลูกค้าในสกุลเงินดิจิทัล กับความกังวลเรื่องความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ

ณ ตอนนี้ DBS เป็นธนาคารรายใหญ่เพียงรายเดียวเท่านั้น ที่ให้บริการด้านคริปโตเคอร์เรนซีอย่างเต็มรูปแบบ โดยมีทั้งเเพลตฟอร์มที่ให้บริการซื้อขายคริปโตฯ การเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นโทเคน และบริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล

ขณะเดียวกัน จากความนิยมที่มาเเรงไม่หยุด สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่ง ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจในตลาดคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้น อย่าง Standard Chartered ที่กำลังจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อสร้างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล ในสหราชอาณาจักรและยุโรป

โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับช่วงเวลาที่ธนาคารต่างๆ ต้องการเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียม เนื่องจากรายได้จากดอกเบี้ย ‘ลดลง’ ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำทั่วโลก

DBS Group คาดว่า ธุรกิจใหม่ของบริษัท ซึ่งรวมไปถึงเเพลตฟอร์มอย่าง DBS Digital Exchange เเละแพลตฟอร์ม Carbon Exchange จะสามารถทำรายได้ถึง 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในสิ้นปี 2022

 

ที่มา : CNA , Reuters 

]]>
1351727
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ลดการคุ้มครองจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท เริ่ม 11 ส.ค. 64 https://positioningmag.com/1345309 Thu, 05 Aug 2021 04:47:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1345309 สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ลดการคุ้มครองจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท/สถาบันการเงิน เริ่ม 11 ส.ค. 64 นี้ เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 สร้างความผันผวนหนัก

ตามที่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ได้มีมติให้ความเห็นชอบในการขยายระยะเวลาบังคับใช้วงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จำนวน 5 ล้านบาทออกไปนั้น พระราชกฤษฎีกากำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2563 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เป็นต้นไป ได้มีขยายระยะเวลาถึง 11 สิงหาคม 2564

แต่เดิมกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากจะอยู่ที่จำนวน 5 ล้านบาท แต่ว่าตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป จะปรับลดการคุ้มครองเหลือเพียง 1 ล้านบาท/สถาบันเท่านั้น

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ การระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งทำให้เกิดความผันผวนในตลาดเงิน และตลาดทุนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย เพื่อรักษาความเชื่อมั่นของผู้ฝากเงินต่อระบบสถาบันการเงินของประเทศ สมควรกำหนดจำนวนเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองเป็นการทั่วไป ซึ่งเป็นการกำหนดจำนวนเงินสูงกว่าที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

เท่ากับว่าหากประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น สถาบันการเงินล้ม ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท แม้จะฝากเงินมากกว่า 1 ล้านก็ได้เพียงแค่ 1 ล้าน โดยผู้ฝาก 1 ราย/1 สถาบันการเงิน ไม่ใช่บัญชี

มี 35 สถาบันการเงินที่ได้รับการคุ้มครอง ดังนี้

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)

  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์

บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)

  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)

  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด

ที่มา : สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

]]>
1345309
HSBC รุกหาเศรษฐีเอเชีย เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย เป็นแห่งที่ 2 ของอาเซียน https://positioningmag.com/1317535 Tue, 02 Feb 2021 06:47:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1317535 เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ ‘ลูกค้ามั่งคั่ง’ ยังเนื้อหอม ล่าสุดสถาบันการเงินรายใหญ่อย่าง HSBC เตรียมเข้ามาเปิดธุรกิจ Private Banking ในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นแห่งที่ 2 ของภูมิภาคต่อจากสิงคโปร์ เพื่อขยายฐานเศรษฐีในอาเซียน

Reuters รายงานว่า HSBC มองว่า ตลาดในไทยมีกลุ่มมั่งคั่งที่มีศักยภาพเติบโตสูง โดยตั้งเป้านำพาลูกค้าให้เข้าถึงตลาดการเงินทั่วโลก ผ่านการใช้เครื่องมือเเละประสบการณ์ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนของ HSBC ในเอเชีย

HSBC สถาบันการเงินใหญ่จากอังกฤษ เริ่มรุกเข้าสู่ธุรกิจในเอเชียมากขึ้น ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ โดยรวมธุรกิจ Private Banking และ Retail Wealth เข้าด้วยกัน เป็นหน่วยงานใหม่เพื่อบริหารทรัพย์สินของลูกค้าเศรษฐี ที่มีมูลค่ามากกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละเป็นที่น่าสนใจว่ากว่า 40% มาจากลูกค้าในภูมิภาคเอเชีย

ในช่วงที่ผ่านมา สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่ง เริ่มหันมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย 

ต้องรอดูว่าการเข้ามาของ HSBC จะทำให้ศึกธุรกิจบริหารความมั่งคั่งในไทยกำลังระอุขึ้นไปอีกเเค่ไหน

Photo : Shutterstock

HSBC คาดว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

ส่วนสินทรัพย์ของนักลงทุน HNW ของไทย คาดว่าจะเติบโตขึ้น 12.4% เป็น 5.48 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 เเละมีบุคคลใน HNW มากกว่า 100,000 คน ซึ่งเป็นการเติบโตสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ท่ามกลางสภาวะการลงทุนที่ยังมีความผันผวน เเต่ด้วยความหลากหลายที่มีอยู่ จึงถือเป็นโอกาสที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนักลงทุนที่มีความมั่งคั่งระดับ ‘สูงมาก’ ของเมืองไทย หรือที่เรียกว่ากลุ่ม Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs / High Net Worth Individuals – HNWIs

สำหรับผู้มีความมั่งคั่งตามนิยามของ SCB Julius Baer ที่จะมาเป็นลูกค้าได้นั้นจะต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน (ไม่รวมบัญชีเงินฝากและที่อยู่อาศัยประจำเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาท หรือราว 3 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป 

รายงานของ Wealth Report Thailand 2019 เปิดเผยภาพรวมตลาด HNWIs และ UHNWIs ในเมืองไทย มี 13,000 – 14,000 ครอบครัว ถือครองสินทรัพย์รวมกว่า 10 ล้านล้านบาท 

อ่านเพิ่มเติม : SCB Julius Baer เรื่องน่ารู้ธุรกิจดูแลพอร์ตลงทุน “เศรษฐีไทย” เข้าได้ต้องมี 100 ล้าน

 

ที่มา : Reuters , Businesstimes

]]>
1317535
HSBC เจอวิกฤตไวรัส-น้ำมัน เปิดงบไตรมาส 1/2020 กำไรลดฮวบ 48% หุ้นร่วงต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1275809 Tue, 28 Apr 2020 10:10:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1275809 HSBC เผยผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1/2020 กำไรก่อนหักภาษีลดฮวบถึง 48% หลังได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ต้องเพิ่มการกันสำรองเผื่อหนี้เสีย เเละราคาน้ำมันที่ดิ่งลงต่อเนื่อง

ธนาคาร HSBC เป็นสถาบันการเงินที่มีขนาดธุรกิจใหญ่ที่สุดในยุโรป มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนในเอเชีย ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาด COVID-19 โดยเฉพาะตลาดใหญ่ในจีน เเละอาจมีผลต่อกำไรของบริษัทตลอดทั้งปีนี้

“แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2020 แย่ลงอย่างมากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะมีหนี้เสียเกิดขึ้นพร้อมอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของธนาคาร”

สำหรับผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 1/2020 ของ HSBC มีกำไรก่อนหักภาษีลดลง 48% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ ระดับ 6.21 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงสู่ระดับ 3.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดไว้ที่ 3.67 พันล้านเหรียญ ขณะที่รายได้ของธนาคารลดลง 5.1% สู่ระดับ 1.36 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

โดย HSBC ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 2.4 พันล้านเหรียญเป็น 3 พันล้านเหรียญเนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ประกอบกับราคาน้ำมันที่ดิ่งลงจากพิษเศรษฐกิจ นอกจากนี้ทางธนาคารยังอ้างถึง “ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงขององค์กรในสิงคโปร์” ด้วย

เเม้ว่า HSBC จะไม่ระบุถึงชื่อบริษัทในสิงคโปร์ เเต่มีรายงานว่าธนาคารเป็นหนึ่งในเจ้าหนี้ของ Hin Leong บริษัทผู้ค้าน้ำมันที่เคยทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เเต่ตอนนี้กำลังยื่นฟ้องล้มละลายหลังประสบภาวะขาดทุนอย่างหนัก

นับตั้งเเต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา หุ้นของ HSBC ในตลาดหุ้นลอนดอนร่วงลงกว่า 29% ส่วนหุ้นที่เทรดที่ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงลดลง 35.1% จากแรงกดดันต่อผลกำไรเเละการเทขายหุ้นของนักลงทุน หลังบริษัทประกาศลดการจ่ายเงินปันผลของปี 2020 เพื่อรักษาสภาพคล่อง จากที่เคยจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

ก่อนหน้านี้ HSBC วางเเผนปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ โดยจะปรับลดพนักงานทั่วโลกลง 15% ให้เหลือ 2 เเสนคนในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมปรับลดจำนวนสาขาในสหรัฐฯ ลงถึง 1 ใน 3 ของจำนวนสาขาที่มีในปัจจุบัน 224 สาขา ซึ่งทาง HSBC จะให้บริการเฉพาะกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ธนาคารยังเตรียมควบรวมธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเข้ากับธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง รวมถึงแผนการปรับลดขนาดของธุรกิจนายหน้าและการจัดทำบทวิเคราะห์ในตลาดทุนของยุโรปด้วย

อ่านเพิ่มเติม : HSBC ปรับลดขนาดบริษัท เตรียมปลดพนักงานทั่วโลก 35,000 คน ภายใน 3 ปี

ที่มา : CNBC, financial times

 

]]>
1275809
มาตรฐานบัญชี TFRS9 ใช้จริงเเล้ว…มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ? https://positioningmag.com/1268897 Fri, 20 Mar 2020 14:00:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268897 มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 หรือ Thai Financial Reporting Standards : TFRS 9  เริ่มบังคับใช้เเล้ว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา หลังเตรียมการมาตั้งเเต่ปี 2558 ก่อนหน้านี้หลายคนคิดว่าการนำ TFRS 9 มาใช้จะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และระบบสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก 

ตอนนี้นับเป็นเวลากว่า 3 เดือนเเล้ว หลังการบังคับใช้ TFRS 9 อย่างเป็นทางการ การรับมือของสถาบันการเงินไทย ความเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง…เป็นอย่างไรกันบ้าง

รู้จัก TFRS 9 

ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล หุ้นส่วนสำนักงานด้านการสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ สอบบัญชี จำกัด อธิบายถึง TFRS 9 ว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 คือเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ลงบัญชีของกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs: Publicly Accountable Entities) ได้แก่ บริษัทมหาชน กิจการที่ต้องระดมเงินในวงกว้างโดยการออกตราสารหนี้ ตราสาร ทุน หรือเอกสารแสดงสิทธิ เช่น สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์และกองทุนรวม บริษัทประกันภัย บริษัทประกันชีวิต รวมถึงกิจการที่กำลังขอจดทะเบียนออกตราสารในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนบริษัททั่วไป หรือธุรกิจ SMEs ไม่ต้องใช้มาตรฐานกลุ่มนี้ 

มาตรฐาน TFRS9 ได้ปรับเปลี่ยนหลักการเกี่ยวกับการจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน และการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน มีส่วนที่สำคัญคือ การกันเงินสำรองเพื่อรองรับผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากสินทรัพย์และภาระผูกพัน เช่น เงินให้สินเชื่อ เงินลงทุนในตราสารหนี้ สัญญาค้ำประกันทางการเงิน วงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ จากแนวคิดเดิมที่กันเงินสำรองจากความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว (Incurred Loss) มาเป็นการกันสำรองเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Expected Loss: EL) เพื่อให้เงินสำรองสะท้อนความเสี่ยงด้านเครดิตตลอดอายุของลูกหนี้ 

โดยกำหนดให้พิจารณาจากข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Forward-looking Information)  พิจารณากันเงินสำรองต่างกันตามสถานะหรือชั้น (Stage) ของลูกหนี้

สำหรับสถานะหรือชั้นของลูกหนี้ ตาม TFRS9 เเบ่งได้ ดังนี้ 

ลูกหนี้ Stage 1 กลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เปลี่ยนแปลงจากวันแรกของการให้สินเชื่อ ให้กันเงินสำรองเพื่อรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายใน 1 ปีข้างหน้า (1-year EL)

ลูกหนี้ Stage 2 กลุ่มที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ลูกหนี้ Stage 3 กลุ่มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing loan: NPL) ให้กันเงินสำรองรองรับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตลอดอายุของลูกหนี้ (Lifetime EL) ทำให้สถาบันการเงินรับรู้เงินสำรองเร็วขึ้นตามสถานะของลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปและงบการเงินสะท้อนฐานะที่แท้จริงอย่างเป็นปัจจุบัน

ดร.ศุภมิตร กล่าวว่า งบการเงินจะเปลี่ยนแปลงการแสดงรายการแบบใหม่ ตามแนวทางการจัดประเภทและการวัดมูลค่าที่เปลี่ยนแปลง จะเพิ่มบางรายการ เช่น สินทรัพย์ หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (Fair value through PL: FVTPL) และงบกำไรขาดทุนจะมีการเปลี่ยนแปลงบางรายการ เช่น กำไร (ขาดทุน) จากการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ ผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) หรือกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (Fair Value through Other Comprehensive Income: FVOCI) และผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

“การเปลี่ยนแปลงนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงรูปแบบการประกอบธุรกิจ และวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์ของกิจการ หากมีวัตถุประสงค์ในการถือครองสินทรัพย์เพื่อมุ่งหวังกำไรระยะสั้น จะรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้างบกำไรขาดทุน (FVTPL) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังกระแสเงินสดและขายในอนาคต จะรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าเข้างบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (FVOCI) แต่หากถือเพื่อมุ่งหวังเพียงกระแสเงินสดตามสัญญา จะวัดมูลค่าด้วยวิธีราคาทุนตัดจำหน่ายและมีการกันสำรอง” 

ทั้งนี้ อัตราส่วนทางการเงินบางรายการก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เช่น เงินให้สินเชื่อใน Stage 2 ratio อาจมากกว่า Special Mention (SM) ratio เดิม เนื่องจากขอบเขตการนับลูกหนี้ที่กว้างกว่า ในขณะที่ Net Interest Margin (NIM) อาจกว้างขึ้นแต่ไม่มาก เนื่องจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนของลูกหนี้ NPL

KTC ใช้ TSRF9 ตั้งสำรองลด รายได้ดอกเบี้ยเพิ่ม

ด้าน ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC) ให้ความเห็นว่า ตามที่บริษัทได้นำมาตรฐานบัญชีใหม่ TFRS9 มาใช้สำหรับงบการเงินของ KTC ที่มีรอบระยะบัญชีตั้งเเต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นมา นั้น “จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในการรายงานตัวเลขทางการเงินมากกว่าที่จะเป็นผลกระทบต่อการปฏิบัติงานจริง”

ชุติเดช ชยุติ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส – คอร์ปอเรท ไฟแนนซ์ บริษัท บัตรกรุงไทย (KTC)

โดยสิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดจะมาจากแนวทางการตัดหนี้สูญที่เข้มข้นกว่ามาตรฐานเดิม ส่วนใหญ่แล้วจะกระทบต่อตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จากการเปลี่ยนแปลงการตัดหนี้สูญ (Write off) ที่จะมีจำนวนลดลงกว่าเดิมมาก จึงทำให้มีจำนวน NPL เพิ่มขึ้น 

คาดว่า NPL ตามมาตรฐานทางบัญชีใหม่ ณ สิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 7-9% จากปัจจุบันที่ประมาณ 1.06% โดยตอนนี้ KTC เรียกเก็บหนี้ได้แล้ว 400-500 ล้านบาท จากปีก่อนมีการ Write-off จำนวน 6,000 ล้านบาท

“TFRS9 จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองลดลง การตัดจำหน่ายหนี้สูญที่ช้าลงกว่าเดิม และการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อกำไรปีนี้”

ด้วยตามมาตรฐานบัญชีใหม่นี้ KTCจะไม่ต้องตั้งสำรองเต็ม 100% สำหรับหนี้ Stage 3 เหมือนเดิม ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองจึงลดลง ส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ส่วนในกรณีที่ NPLเพิ่มขึ้น การตั้งสำรองส่วนเกินที่มีอยู่ก็สามารถรองรับได้

ผู้บริหาร KTC สรุปว่ารายงานตัวเลขทางการเงินตาม TFRS9 จะแตกต่างไปจากเดิม ดังนี้ 

  • การเปลี่ยนแปลงการตัดหนี้สูญ (Write off) กับการบันทึกหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรือลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเกินกว่า 90 วัน 

การตัดหนี้สูญจะทำได้ช้าลง เนื่องจากหนี้สูญที่ตัดออกเพื่อการใช้สิทธิทางภาษี จะยังไม่ถูกตัดออกจากรายงานจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่สามารถเรียกเก็บหนี้ได้อีกต่อไป ดังนั้นหนี้ NPL บนมาตรฐานใหม่ TFRS9 จะเทียบเคียงได้กับ Write off + NPL ตามมาตรฐานเดิม เช่น เดิมบริษัท A ตัดหนี้สูญปีละประมาณ 7-8% คงเหลือ NPL ประมาณ 1% แต่ภายใต้ TFRS9 จะรายงานประมาณ 8-9% ทำให้เห็นว่าตัวเลข NPL ตามมาตรฐานใหม่ดูสูงขึ้น

  • การเปลี่ยนแปลงการบันทึก NPL กับตัวชี้วัดสำคัญทางการเงิน

ด้วย NPL ที่รายงานภายใต้ TFRS9 มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราส่วนที่เกี่ยวข้องมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลูกหนี้รวม (Allowance/Port) ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อลูกหนี้ที่อายุเกิน 90 วัน (NPL Coverage)  เช่น ภายใต้มาตรฐานใหม่อัตราส่วนของ Allowance/Port ตามตัวเลขฐานใหม่อาจจะอยู่ประมาณ 9%-11% และ NPL Coverage อาจจะเป็นประมาณ 100%-200% ทั้งนี้ เมื่อมีการนำ TFRS9 มาใช้เต็มรูปแบบ จะทำให้สามารถประมาณการอัตราส่วนดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น 

  • การเปลี่ยนแปลงการบันทึกรายได้

ภายใต้มาตรฐานใหม่ TFRS9 ที่กำหนดให้บริษัทยังคงต้องรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจาก NPL ไปจนกว่า NPL ดังกล่าวจะถูกตัดเป็นหนี้สูญ แม้ว่าจะอยู่ใน Stage 3 แล้วก็ตาม

  • การบันทึกกำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้น

มาตรฐาน TFRS9 กำหนดให้บริษัทต้องตั้งสำรองสำหรับ NPL ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ตามจำนวนที่ได้จากการคำนวณตาม ECL Model (Expected Credit Loss Model) ซึ่งจะไม่ใช่การตั้งสำรองเต็ม 100% เหมือนเดิม และด้วยมาตรฐาน TFRS9 ที่กำหนดไว้ ในกรณีที่มีส่วนต่างของรายได้ดอกเบี้ยและสำรองในส่วนของดอกเบี้ยที่น้อยกว่า 100% ให้รับรู้ผลต่างนั้นในงบกำไรขาดทุนด้วย ซึ่งมีผลให้กำไรทางบัญชีเพิ่มขึ้น

KTC มั่นใจยอดใช้จ่ายผ่านบัตรตามเป้า 15% เตรียมออกหุ้นกู้ครึ่งปีหลัง 

ชุติเดช เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทั้งยอดใช้จ่ายผ่านบัตร ยอดสินเชื่อ และบัตรใหม่ถือว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ เเต่ยังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจใกล้ชิด  โดย KTC ตั้งเป้ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรปีนี้เติบโตไว้ที่ 15% สินเชื่อบุคคลเติบโต 10% หรือประมาณ 200,000 ล้านบาท และยอดบัตรใหม่ 300,000 บัตร 

“กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงเเละพนักงานออฟฟิศซึ่งเป็นกลุ่มหลักของ KTC ยังมีการจับจ่ายใช้สอยกัน และลูกค้าในกลุ่มอื่นๆ มีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้มีการรูดบัตรใช้จ่ายไปก่อน ส่งผลให้ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตตอนนี้ยังเติบโต”

ขณะเดียวกันในช่วงภาวะเศรษฐกิจยังมีความเสี่ยง KTC ได้มีการเพิ่มการบริหารจัดการคุณภาพของพอร์ต์สินเชื่อให้มีคุณภาพเเละเข้มงดการปลอยสินเชื่อมากขึ้น 

“นับตั้งเเต่ช่วงต้นปี ราว 2 เดือนที่ผ่านมา อัตราการอนุมัติบัตรเครดิตยังทรงตัวจากปีก่อนที่ 49% และอัตราการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่ 29% ซึ่งในปีนี้บริษัทยังคงมั่นใจว่าพอร์ตสินเชื่อจะเป็นไปตามเป้า”

สำหรับการออกหุ้นกู้ในช่วงครึ่งปีหลัง ต้องดูสถานการณ์อัตราดอกเบี้ย นโยบายจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ก่อน  โดยน่าจะอยู่ในระดับประมาณ 5-6 พันล้านบาท จากในช่วงเดือนสิงหาคมที่จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดประมาณ 7,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ KTC มีผลประกอบการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีกำไรสุทธิ 5,524 ล้านบาท พอร์ตลูกหนี้การค้ารวมเท่ากับ 85,834 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,510,914 บัตร พอร์ตลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 56,653 ล้านบาท NPL รวม 1.06% NPL บัตรเครดิตอยู่ที่ 0.93% ธุรกิจสินเชื่อบุคคลมีจำนวนทั้งสิ้น 888,342 บัญชี ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 28,933 ล้านบาท NPL ของสินเชื่อบุคคลอยู่ที่ 0.92%

 

]]>
1268897
MUFG จ่อลงทุน Grab กว่า 2 หมื่นล้าน ดันเป็น “ซูเปอร์เเอป” เจาะชาวอาเซียนที่เข้าไม่ถึงเเบงก์ https://positioningmag.com/1265381 Fri, 21 Feb 2020 05:01:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265381 สถาบันการเงินใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นอย่าง Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) เตรียมทุ่มลงทุนในสตาร์ตอัพยูนิคอร์น “Grab” กว่า 727 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.2 หมื่นล้านบาท) เพื่อขยายการบริการด้านการเงินในอาเซียนซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของ Grab เเละกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เข้าถึงธนาคาร

Nikkei Asian Review รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวระบุว่า ทั้งสองบริษัทกำลังจะประกาศข่าวการลงทุนอย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้ ซึ่งจะทำให้ MUFG มีสัดส่วนการถือหุ้นหุ้นมากที่สุดในบรรดากลุ่มสถาบันการเงินด้วยกัน เเต่ก็ยังน้อยกว่า Softbank Group บริษัทด้านโทรคมนาคมเเละการสื่อสาร ที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน Grab เช่นเดิม

ทั้งนี้ Grab นับเป็นสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นที่มีมูลค่าบริษัทกว่า 1.4 หมื่นล้านเเละผู้นำด้าน ride-hailing ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ราว 170 ล้านคน (จากการโหลดเเอป) โดยก่อตั้งขึ้นในปี 2012 เริ่มต้นจากการทำธุรกิจในมาเลเซีย จากนั้นได้ย้ายเข้าสู่ตลาดและกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ อย่างการส่งอาหารและบริการทางการเงิน

สำหรับกลยุทธ์ที่ MUFG จะร่วมมือกับ Grab คือการนำเสนอบริการใหม่ โดยตั้งเป้าจะเป็น “ซูเปอร์เเอป” ที่ให้บริการผู้บริโภคทั้งภูมิภาค โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สินเชื่อและประกันภัยที่จะได้ต่อยอดจากข้อมูลดาต้าของผู้ใช้ Grab รวมถึงนำ Digital Skill จาก Grab มาพัฒนาดิจิทัลเเพลตฟอร์มของ MUFG ให้แข็งแกร่งขึ้น

MUFG มองว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพเติบโตในธุรกิจการเงินสูงซึ่งในปี 2013 ได้เข้าซื้อธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือเเบงก์กรุงศรีของไทย และลงทุนในธนาคารท้องถิ่นในเวียดนามฟิลิปปินส์และที่อื่น ๆ เมื่อปีที่แล้วก็ได้ซื้อธนาคาร Danamon ของอินโดนีเซีย

รายงานระบุว่า ชาวอาเซียนจำนวนมาก ยังเข้าไม่ถึงบริการทางการเงินจากธนาคารโดยในอินโดนีเซียมีประชากร 50% เท่านั้นที่มีบัญชีธนาคารส่วนเวียดนามและฟิลิปปินส์มีเพียง 30% เท่านั้น ขณะที่ญี่ปุ่นมีเกือบ 100% เเล้ว

ดังนั้นการที่ MUFG จับมือกับ Grab จึงเป็นการเดินเกมกลยุทธ์สำคัญในการหาลูกค้าใหม่ที่ยังเข้าไม่ถึงธนาคารนั่นเอง

 

ที่มา : Nikkei Asian Review , techinasia

]]>
1265381
มองเศรษฐกิจรอบด้าน เปิดวิเคราะห์ SCB EIC ครัวเรือนไทยรายได้-ใช้จ่ายลดในรอบ 10 ปี หนี้สูง https://positioningmag.com/1261075 Fri, 17 Jan 2020 11:32:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261075 EIC ปรับลด GDP ไทยปีนี้เหลือ 2.7% คาดส่งออกฟื้นเพียงแค่ 0.2% เงินบาทยังเเข็งค่าต่อ มองเจรจาสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก การลงทุนภาคเอกชนในไทยยังชะลอตามกำลังซื้อ ภาครัฐจะประคับประคองเศรษฐกิจมากขึ้น คาดประมูล 5G กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วนภาคครัวเรือนไทย รายได้-การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic Intelligence Center : EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2020 ว่าจะเติบโตที่ 2.7% จากเดิมที่ 2.8% ฟื้นตัวเล็กน้อยจากปี 2019 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวที่ 2.5% ตามภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากภาวะการค้าโลกที่น่าจะปรับดีขึ้นบ้าง
เเต่ปัจจัยค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยที่กดดันผู้ส่งออกเเละการท่องเที่ยวไทยอยู่

“เงินบาทที่แข็งค่าสะสมกว่า 24% เมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่องจะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อรายได้ผู้ส่งออกในรูปเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าส่งออกไทย

รวมถึงรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติผ่านการใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวที่ชะลอตัวลง แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะยังขยายตัวได้แต่ก็เติบโตในอัตราที่ชะลอลงเช่นกัน

“คาดว่าปีนี้จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 41.3 ล้านคน เพิ่มขึ้น 3.7% เติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่ขยายตัวได้ 4.3%”

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การส่งออกไทยในปีนี้ จะเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ 0.2% (ปีก่อนติดลบที่ -3.3%) เพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว เเละสหรัฐฯ และจีนสามารถมีข้อตกลงร่วมกันได้ในเฟสแรก ทำให้คลายความกังวลเรื่องสงครามการค้าลงไปได้ แต่การส่งออกที่แม้จะฟื้นตัว เเต่ก็ยังมีข้อจำกัดจากเงินบาทที่ยังแข็งค่าในปีนี้

มองเศรษฐกิจโลก

ประเด็นสงครามการค้า มองว่าการบรรลุข้อตกลงทางการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน เฟส 1 ที่จะนำไปสู่การยกเลิกและลดภาษีสินค้านำเข้าบางส่วนที่ขึ้นไปก่อนหน้า รวมถึงแนวนโยบายการเงินและการคลังของหลายประเทศทั่วโลกที่มีทิศทางผ่อนคลายเพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่แม้จะบรรลุข้อตกลงระยะแรกได้ แต่ต้องติดตมการปฎิบัติตามข้อตกลง รวมทั้งยังมีข้อขัดแย้งพื้นฐานในหลายมิติที่มีแนวโน้มยืดเยื้อและเสี่ยงที่จะกลับมาปะทุได้อีก

EIC คาดว่าภายในปี 2020 ข้อตกลงจะบรรลุได้เพียงเฟส เพราะการเจรจา เฟส 2 มีแนวโน้มลงเอยค่อนข้างยาก เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนในประเด็นโครงสร้าง เศรษฐกิจเชิงลึกของจีนที่ต่างกัน เช่น 1) นโยบายอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2) นโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ และ 3) เงื่อนไขการยกเลิกภาษีในช่วงก่อนหน้า

โดยรวมเศรษฐกิจโลกจะส่งสัญญาณดีขึ้นจากกการส่งออกและดัชนี PMI ภาคการผลิตที่เริ่มพ้นจุดต่ำสุดในหลายประเทศ จากอานิสงส์ของการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้า

ขณะที่ผลสำรวจความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 12 เดือนข้างหน้าของ McKinsey ที่สอบถามผู้บริหารทั่วโลก 1,881 ราย เห็นว่าความเสี่ยงที่น่าจับตามองที่สุดคือ

อันดับ 1 ความตึงเครียดทางการค้า 65%
อันดับ 2 ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ 54%
อันดับ 3 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า 35%
อันดับ 4 การประท้วง 20%
อันดับ 5 การเปลี่ยนผ่านผู้นำทางการเมือง 17%

ด้านเศรษฐกิจจีน ในปีนี้คาดว่าโตต่ำกว่า 6% ซึ่งโตต่ำสุดตั้งแต่ปี 1990 จากปัจจัยนโยบายในประเทศเเละสงครามการค้า ขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Markets : EM) อย่างลาตินอเมริกา แอฟริกา จะเติบโตได้ดี

ในภาพรวม สัดส่วนการค้าโลกที่เผชิญกับมาตรการกีดกันทางการค้าใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่สหรัฐฯ ยังมีการใช้มาตรการทางการค้าสำหรับคู่ค้าอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย ทั้งนี้ สินค้าไทยที่โดนตัดสิทธิ GSP คิดเป็น 0.5% ของการส่งออกรวมของไทย โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สุขภัณฑ์ เม็ดพลาสติก อาหาร และเครื่องประดับ

ความตึงเครียดสหรัฐฯ-อิหร่าน หากรุนเเรงเเละขยายวงกว้างมากขึ้นอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผ่านช่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การผันผวนในตลาดเงิน และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่จะปรับแย่ลง

“ในปี 2020 EIC คาดว่าน้ำมันเฉลี่ยจะทรงตัวใกล้เคียงกับปีก่อน จากภาวะตลาดที่ค่อนข้างสมดุล แต่มีความเสี่ยงสูงจากประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน”

การเงินในไทย : ค่าเงินบาทเเข็งค่า อัตราดอกเบี้ยอยู่ระดับต่ำตลอดปี

ค่าเงินบาท

มีแนวโน้มทรงตัวในระดับแข็งค่าต่อเนื่อง โดยคาดว่าอัตราแลกเปลี่ยน ณ สิ้นปี 2563 จะอยู่ในช่วง 29.50-30.50 บาท/ดอลลาร์ ตามแรงกดดันของดุลบัญชีเดินสะพัดไทยที่ยังจะเกินดุลในระดับสูง

“เงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในปีนี้ ด้วยแรงกดดันต่อเนื่อง อีกทั้งไทยยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูง ประกอบกับเมื่อเวลาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าเพราะความต้องการดอลลาร์ลดลงนอกจากนี้ยังมีแนวโน้มเงินของทุนไหลเข้าในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นด้วย” ยรรยงระบุ

เงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัว

อัตราดอกเบี้ย 

SCBEIC คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะยังใช้นโยบายการเงินในระดับผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดย กนง.มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% ตลอดทั้งปี 2563 และอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีก 1 ครั้งหากเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่คาด

“เชื่อว่าธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันน่าจะต่ำเพียงพอแล้ว หากลดดอกเบี้ยลงไปมากกว่านี้ อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินต่างๆ แต่ก็ยังมีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะลงได้ หากเศรษฐกิจแย่กว่าคาด”

ขณะที่ธนาคารกลางที่สำคัญของโลก อย่างธนาคากลางสหรัฐฯ (FED) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ไว้ แต่ก็พร้อมที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม
หากภาวะเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลงกว่าที่คาดไว้

 

อุปสงค์ในประเทศของภาคเอกชน

มีแนวโน้มขยายตัวได้แต่ในอัตราที่ชะลอลง โดยแม้ว่าภาคส่งออกจะมีโอกาสฟื้นตัว แต่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังมีทิศทางชะลอตัวต่อเนื่องตามหลายปัจจัยกดดัน ไม่ว่าจะเป็นการลดลงของการจ้างงานโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดต่าต่อเนื่อง รายได้นอกภาคเกษตรที่เริ่มหดตัว

ส่วนรายได้ภาคเกษตรก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง รวมถึงหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ล้วนส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนโดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทนในระยะต่อไป

“กรมอุตุฯ พยากรณ์ปริมาณฝนใน Q1 ลดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งภัยเเล้งปีนี้จะกระทบเกษตรภาคกลางมากที่สุด คาดการณ์ผลผลิตรายสินค้าในปี 2020 ว่าอ้อยจะ -16% เเละข้าวเปลือก -10% ” 

การลงทุนภาคเอกชน

นอกจากจะมีแนวโน้มชะลอลงตามกาลังซื้อในประเทศแล้วอัตราการใช้กาลังการผลิต (CapU) ที่อยู่ในระดับต่ำและระดับสินค้าคงคลัง (inventory) ภาคอุตสาหกรรมที่อยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลต่อการชะลอตัวของการลงทุนภาคเอกชนในระยะข้างหน้า นอกจากนี้ ยอดขายรถยนต์เพื่อการบริโภคและการพาณิชย์ที่มีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง
รวมถึงการก่อสร้างภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV ในช่วงก่อนหน้าก็จะเป็นอีกปัจจัยกดดันภาคอุปสงค์ในประเทศในระยะต่อไป

ภาครัฐจะมีบทบาทประคองเศรษฐกิจปี 2020 มากขึ้น

โดยจะมีส่วนในรูปแบบการกระตุ้นเศรษฐกิจและดูแลกลุ่มเปราะบางระยะสั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการกำหนดแนวนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน (Enabler) โดยเฉพาะการเปิดประมูลโครงการ 5G ที่จะผลักดันให้เกิดการลงทุนภาคโทรคมนาคมและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ประกอบกับการจัดทางบประมาณที่ล่าช้าจากเมื่อปลายปี 2019 จึงทำให้หลายโครงการมีการเลื่อนเบิกจ่ายมาในปี 2020

“การประมูล 5G ในเดือนหน้าคาดว่าจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาประมาณ 93,000 ล้านบาท รวม 4 ปี น่าจะได้ประมาณ 4 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินที่เข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้” 

ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปีนี้

มี 3 ปัจจัยหลัก ได้เเก่

  • ความไม่แน่นอนของสงครามการค้า ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ และความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ ด้านสงครามการค้า แม้ล่าสุดจะมีข้อตกลงการค้าระยะแรกระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงและอาจกระทบต่อการค้าโลกได้ อาทิ การเจรจากับจีนในระยะต่อไป การตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพยุโรป และการพิจารณาของสหรัฐฯ ในการตัดสิทธิ GSP ของหลายประเทศ
  • ความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical risks) โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ
    การประท้วงที่ยืดเยื้อในฮ่องกง และประเด็น Brexit ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว
    ของเศรษฐกิจโลก
  • ความเปราะบางทางการเงินของภาคครัวเรือนและธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีหนี้ในระดับสูงและการสร้างรายได้ถูกกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (Technology Disruption) และการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น

ครัวเรือนไทย : รายได้ – การใช้จ่ายลดลงครั้งเเรกในรอบ 10 ปี หนี้สูง การเงินเปราะบาง

ครัวเรือนไทยลดการใช้จ่ายลง ในช่วงครึ่งแรกของปี 2019 ครัวเรือนไทยใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 21,236 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนลดลง -0.9% จาก 21,437 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2017 ถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ปี สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง

ทั้งนี้การลดลงของการใช้จ่ายยังอาจมีสาเหตุมาจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น รวมถึงภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

ครัวเรือนไทยเป็นหนี้มากขึ้น ภาระหนี้ต่อรายได้แตะระดับสูงสุด

ครัวเรือนไทยมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้ (46.3% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด) พบว่า ภาระหนี้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 353,210 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 362,373 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น2.6% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (หารเฉพาะครัวเรือนที่มีหนี้) เพิ่มขึ้นจาก 96.1% มาเป็น 97.7% จากการที่หนี้ยังเติบโตสูงกว่ารายได้

ทั้งนี้สัดส่วนหนี้ในปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ต่างจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่มีการลดลง (deleverage) ในช่วงปี 2015 ถึงปี 2017 แล้วจึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลังจากนั้น

สาเหตุหลักเป็นเพราะในช่วงดังกล่าวสัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อ GDP ลดลง ขณะที่สัดส่วนของกำไรภาคธุรกิจ (ซึ่งส่วนมากน่าจะมาจากกำไรของธุรกิจขนาดใหญ่) ต่อ GDP เพิ่มสูงขึ้น

ครัวเรือนไทยก่อหนี้เพิ่มในด้านที่อยู่อาศัย การบริโภค และการเกษตร แต่ลดการก่อหนี้ธุรกิจนอกภาคเกษตรลง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในด้านการก่อหนี้ในครึ่งแรกปี 2019 เทียบกับปี 2017 พบว่า

การก่อหนี้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ของครัวเรือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 128,287 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 135,312 บาท ต่อครัวเรือนในช่วงเเรกของปี 2019 หรือเพิ่มขึ้น 5.5% ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่อยู่อาศัยต่อหนี้ครัวเรือนทั้งหมดเพิ่มขึ้นจาก36.3% มาเป็น 37.3% ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

หนี้เพื่อการบริโภคเพิ่ม ในส่วนของหนี้เพื่อการบริโภค (รวมหนี้รถยนต์) ซึ่งเป็นหนี้ที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของครัวเรือนในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 137,678 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่ 139,904 บาทต่อครัวเรือนในครึ่งแรกของปี 2019 คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 1.0% สำหรับหนี้เพื่อการบริโภคนี้ถือเป็นหนี้ที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยเติบโตเฉลี่ย 7.0% ต่อปี ขณะที่หนี้ส่วนอื่น ๆ เติบโตเฉลี่ยเพียง 3.7% ต่อปี ทำให้หนี้เพื่อการบริโภค
มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 30.8% ในปี 2009 มาเป็นที่ 38.4% ในปัจจุบัน (2019)

การก่อหนี้เพื่อทำกิจการเกษตร ยังคงเพิ่มขึ้น จาก 49,273 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 มาอยู่ที่
51,574 บาทต่อครัวเรือนคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 4.7% ทั้ง ๆ ที่กำไรจากกิจการการเกษตรลดลงในช่วงเดียวกัน คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากการก่อหนี้เพื่อ ประคับประคองธุรกิจและค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในช่วงที่ต้องเผชิญปัจจัยลบ รวมถึงอาจมีผลส่วนหนึ่งมาจากมาตรการภาครัฐในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรต่อเนื่อง

ในทางกลับกัน การก่อหนี้เพื่อทำธุรกิจนอกภาคเกษตรลดลง จาก 30,120 บาทต่อครัวเรือนในปี 2017 ลดลงมาอยู่ที่ 29,478 บาทต่อครัวเรือนในปัจจุบัน คิดเป็นการลดลง -2.1% สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของกำไรกิจการนอกภาคเกษตร

ทั้งนี้ หนี้ในส่วนนี้มีสัดส่วนมีแนวโน้มลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเคยมีสัดส่วนสูงถึง 16.3% ในปี 2009 ลดลงมาเหลือเพียง 8.1% ในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากการที่จนวนครัวเรือนที่ทำกิจการ นอกภาคเกษตรลดลงจาก 30.5% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 25.2% ในปัจจุบัน อีกทั้งในบรรดาครัวเรือนที่ทำธุรกิจนอกภาคเกษตร สัดส่วนครัวเรือนที่กู้ก็ลดน้อยลงเช่นกันจาก 14.2% ในปี 2009 มาอยู่ที่ 10.0% ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลด Outlook ไตรมาส 1/2020 ฉบับเต็ม ได้ที่ : SCB EIC 

]]>
1261075
KTBST ฝ่ามรสุม กำไรหดจากปีก่อนกว่าครึ่ง ปี’63 ลุยตั้งบริษัท “คลินิกแก้หนี้-ดิจิทัล เพย์เมนต์” https://positioningmag.com/1258640 Thu, 26 Dec 2019 10:29:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258640
  • KTBST กางผลประกอบการปี 2562 รายได้ลด 7.5% กำไรฮวบ 52.5% หลังผ่านมรสุมวงการโบรกเกอร์หุ้นในช่วงปีนี้
  • อย่างไรก็ตาม หากวัดเฉพาะไลน์ธุรกิจโบรกเกอร์ กำไรจะลด 36.4% ซึ่งบริษัทมองว่าดีกว่าสถานการณ์ตลาดรวมที่ติดลบเฉลี่ย 50%
  • ตั้งโฮลดิ้งลุยต่อปีหน้า เปิดกองรีท 2 กองแรก และเพิ่ม 2 บริษัทใหม่พัฒนาด้าน “คลินิกแก้หนี้” และ “ดิจิทัล เพย์เมนต์”
  • ปี 2563 KTBST วางเป้ารายได้ 1,400 ล้านบาท กำไรสุทธิ 101.55 ล้านบาท
  • “ดร.วิน อุดมรัชตวานิชย์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KTBST SEC บริษัทร่วมทุนระหว่างเกาหลีใต้กับไทย เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วงปี 2562 ของบริษัท โดยปีนี้บริษัทมีการจัดโครงสร้างองค์กร รวมเป็น “กลุ่มบริษัท KTBST” ขึ้น มีบริษัทภายใต้กลุ่มประกอบด้วย KTBST SEC, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วี จำกัด (We Asset) และ บริษัท เคทีบีเอสที รีท แมเนจเมนท์ (KTBST REIT)

    กลุ่มบริษัท KTBST ทำรายได้ปี 2562 (ข้อมูลสิ้นสุดวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562) รวมทั้งสิ้น 1,104 ล้านบาท เทียบกับรายได้ตลอดปี 2561 ลดลง 7.5% และทำกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 29.61 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิตลอดปีก่อน ลดลงถึง 52.5%

    ดร.วินกล่าวว่า สถานการณ์วงการสถาบันการเงินนายหน้าซื้อขายหุ้นปีนี้ขาดทุนหลายแห่ง ภาพรวมตลาดทำกำไรลดลง 50% เป็นส่วนใหญ่ ส่วนของ KTBST หากดูเฉพาะธุรกิจบริการซื้อขายหลักทรัพย์ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 รายได้อยู่ที่ 1,092 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 44.29 ล้านบาทซึ่งลดลง 36.4% เทียบกับกำไรตลอดปี 2561

    “เรายังพอใจที่กำไรไม่ลดเท่ากับทั้งอุตสาหกรรม และยังคงมีความสามารถในการทำกำไรได้สม่ำเสมอตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในสภาพตลาดที่มีการแข่งขันสูง” ดร.วินกล่าว

    ในแง่จำนวนบัญชีและสินทรัพย์การบริหารนั้นมีทั้งที่ถึงเป้าและตกเป้า โดยธุรกิจตัวแทนซื้อขายหน่วยลงทุน (Selling Agent) มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำ (AUA) ที่ 10,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% ตามเป้าหมาย จำนวนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่ซื้อขายประจำเป็นไปตามเป้าที่ 8,000 บัญชี เพิ่มขึ้นมา 2,000 บัญชีจากปีก่อน

    ส่วนที่ตกเป้าไปคือธุรกิจบริหารความมั่งคั่งส่วนบุคคล (Private Wealth Management) และธุรกิจที่ปรึกษาการลงทุน (Investment Advisory) ซึ่งมี AUA รวม 80,000 ล้านบาท ลดลงจาก AUA ของปีก่อน 20% ขณะที่ธุรกิจกองทุนส่วนบุคคลมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ที่ 2,500 ล้านบาท เติบโตขึ้นราว 9% จากปีก่อน ยังอยู่ในเทรนด์เติบโตแต่ไม่มากเท่าที่ KTBST เคยตั้งเป้าหมายไว้ปีก่อน

    สำหรับภาพรวมกลุ่มบริษัท KTBST ปีนี้กำไรหดตัวแรง นอกจากเรื่องมรสุมวงการโบรกเกอร์หุ้นแล้ว ยังเนื่องมาจากมีการตั้งบริษัทใหม่ 2 แห่ง และทั้งสองบริษัทเพิ่งเริ่มดำเนินการปีนี้ ได้แก่ KTBST REIT ที่เริ่มดำเนินการมกราคม 2562 และ We Asset เริ่มดำเนินการมีนาคม 2562 ทำให้ยังไม่เข้าสู่ช่วงการทำกำไร

    หลังจัดตั้งบริษัทจนถึงขณะนี้ We Asset ซึ่งมุ่งเน้นเสนอผลิตภัณฑ์กองทุนรวมให้กับตลาดจัดตั้งกองทุนรวมไปแล้ว 12 กองทุน รวมมูลค่า AUM ที่ 5,000 ล้านบาท ส่วน KTBST REIT อยู่ระหว่างจัดตั้งกองรีท ซึ่ง ดร.วินคาดว่าจะจัดตั้งได้ 2 กองทุน รวมมูลค่า AUM 5,000 ล้านบาท ภายในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563

     

    ปี’63 กระจายเสี่ยงต่อ เปิดบริษัทลูกเพิ่ม 2 แห่ง

    ดร.วินมองว่า ช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้กระจายความเสี่ยง เพิ่มเครื่องยนต์สร้างรายได้ไปยังธุรกิจอื่นนอกเหนือจากหุ้นแล้ว แต่แผนปี 2563 ของ KTBST จะยังกระจายความเสี่ยงต่อ โดยเตรียมจัดตั้งบริษัทลูกอีก 2 แห่ง คือ KTBST LEND และ We Digital

    KTBST LEND นั้นคาดว่าจะจัดตั้งก่อนในเดือนมกราคมนี้ ดร.วินกล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของบริษัทนี้ว่าจะเป็นธุรกิจกึ่งโครงการตอบแทนสังคมในลักษณะ “คลินิกแก้หนี้” เป็นตัวกลางประสานให้ลูกหนี้สามารถปิดหนี้ได้สำเร็จ และให้คำปรึกษาเพื่อปรับพฤติกรรมการใช้เงินและออมเงิน ด้านบริษัท We Digital จะเป็นบริษัทร่วมทุนกับบริษัทเกาหลีใต้แห่งหนึ่งเพื่อจัดทำบริการดิจิทัล เพย์เมนต์

    “เป้าหมายคือเราจะเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดภายในปี 2565” ดร.วินกล่าว

    ด้านเป้าหมายระยะใกล้คือปี 2563 นั้น กลุ่มบริษัท KTBST วางเป้าหมายรายได้ที่ 1,400 ล้านบาท เติบโต 26% จากปีนี้ และเป้าหมายกำไรสุทธิ 101.55 ล้านบาท นั่นคือจะเติบโตก้าวกระโดด 243% มาจากกำไรธุรกิจนายหน้าซื้อขายหุ้นที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และธุรกิจ We Asset กับ KTBST REIT จะเริ่มเห็นผลกำไรในปีหน้า

    ]]>
    1258640