สปอร์ตมอลล์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 26 Nov 2019 07:15:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อเสื้อผ้ากีฬาใส่ได้ทุกวัน : ส่องกลยุทธ์ 3 ร้านรีเทล “สปอร์ตแฟชั่น” แข่งสร้างแบรนด์เจาะผู้บริโภค https://positioningmag.com/1254801 Mon, 25 Nov 2019 19:19:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254801 “Athleisure” ที่เป็นคำสมาสระหว่าง Athlete + Leisure คือนิยามเทรนด์เสื้อผ้ากีฬาสมัยใหม่ที่ใส่ได้ทุกวัน เป็นเสื้อผ้ารองเท้าที่ไม่ได้ใส่เพื่อประสิทธิภาพในสนามแข่ง แต่ใส่เพื่อความสวยงามและแสดงออกถึงไลฟ์สไตล์ ด้วยเทรนด์ผู้บริโภค (และไลน์สินค้าของแบรนด์ดัง) ที่นิยมเสื้อผ้ากลุ่มนี้มากขึ้น ร้านรีเทล ‘Specialty Store’ ที่ขายสินค้าเครื่องกีฬาจึงต้องยกเครื่องเข้าหาผู้บริโภคด้วยมุมมองใหม่ เพื่อชิงตลาดที่มีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท

ซูเปอร์สปอร์ต: รีโนเวตร้านแฟลกชิป

เริ่มที่เจ้าตลาดรีเทลสินค้าเสื้อผ้ากีฬาซึ่งมีสาขา 80 สาขาทั่วประเทศอย่าง “ซูเปอร์สปอร์ต” ในเครือเซ็นทรัล โดยชิมลางตั้งแต่ปี 2561 ปรับโลโก้ร้านให้ทันสมัยขึ้น จากเดิมใช้ตัว S สีน้ำเงินในวงล้อมสีเขียว ปรับใหม่เหลือเฉพาะวงล้อมสีเขียวและเปลี่ยนฟ้อนต์ชื่อร้านใหม่ ทำให้โลโก้ดูเรียบง่ายขึ้น ตามคอนเซ็ปต์ The new Supersports where sports is fashion

ตามด้วยการรีโนเวตร้านสาขาเซ็นทรัลเวิลด์เป็นแฟลกชิปสโตร์ต้นแบบ ปรับการจัดดิสเพลย์ร้านให้ทันสมัย โปร่งโล่งขึ้น มาในธีมสีดำ-ม่วง-ฟ้า พร้อมเพิ่มเรื่อง “ประสบการณ์ดิจิทัล” เข้ามาเพื่อให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีขึ้น เช่น มุม Run Lab ที่มีโปรแกรม Gait Analysis ช่วยวัดรูปเท้าเพื่อเลือกรองเท้าวิ่งได้อย่างเหมาะสม หรือมุม Golf Simulator โซนทดลองไดรฟ์กอล์ฟด้วยโปรแกรม Simulator เป็นตัวช่วยเลือกอุปกรณ์กอล์ฟพร้อมรับคำแนะนำจากพนักงานผู้เชี่ยวชาญ

ปีที่แล้วซูเปอร์สปอร์ตวางงบไว้ 300 ล้านบาทในการรีโนเวตสาขา ส่วนปีนี้ประกาศงบลงทุนปรับสาขาที่ 600 ล้านบาท โดยมีสาขาที่รีโนเวตใหญ่ไปอีกหนึ่งแห่งคือ เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ซึ่งเปิดตัวไปแล้วเรียบร้อย

ร้านซูเปอร์สปอร์ต แฟลกชิปสโตร์ ที่เซ็นทรัลเวิลด์

โดยภาพรวม ซูเปอร์สปอร์ตดูจะยังวางแนวทางร้านรูปแบบคล้ายคลึงเดิมอยู่ ทั้งจากโลโก้ ตัวร้าน และการสื่อสารแบรนด์ แม้จะวางคอนเซ็ปต์ให้ไปทางแฟชั่นมากขึ้น แต่สินค้าและความรู้สึกในการจับจ่ายภายในร้านยังมุ่งเรื่องการกีฬาและการออกกำลังกายสูง

Sports Mall: รื้อใหญ่ ปรับ 7 สาขา

ย้ายฝั่งมาที่ Sports Mall ในเครือเดอะมอลล์บ้าง แบรนด์นี้มีกลยุทธ์ทั้งการปรับโลโก้และตัวร้านเช่นกัน แต่ดูเหมือนจะ ‘รื้อใหญ่’ ยิ่งกว่า โดยตัวโลโก้แม้จะยังเป็นธีมสีขาว-ดำ-แดง แต่รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนใหม่ให้เข้าคอนเซ็ปต์รวมของร้านที่ต้องการจำหน่ายสินค้าสปอร์ตแฟชั่นมากขึ้น

Sports Mall วางแผนรีโนเวตใหญ่ใช้งบมากกว่า 500 ล้านบาทเพื่อปรับปรุง 7 สาขาจากทั้งหมด 11 สาขา ระหว่างช่วงปี 2562-64 เริ่มสาขาแรกที่สยามพารากอน ซึ่งทำให้ได้เห็นภาพการปรับตัวของร้าน โดยขยายพื้นที่ร้านใหญ่ขึ้นจากเดิม 3,200 ตร.ม. เป็น 5,000 ตร.ม. ทำให้แบรนด์แต่ละแบรนด์ที่อยู่ภายในได้พื้นที่เพิ่มสำหรับตกแต่งมุมของตัวเองให้น่าสนใจ ตัวร้านโดยรวมยังจัดมุมถ่ายรูป มุมกิจกรรม ให้เหมาะกับยุคโซเชียลมีเดีย

ประเภทสินค้าใน Sports Mall ยังปรับใหม่ตามความสนใจของผู้บริโภคยุคนี้ โดยเพิ่มสัดส่วนสินค้าไลฟ์สไตล์ขึ้นเป็น 40% แทนที่สินค้ากลุ่มเพอร์ฟอร์มานซ์ และเพิ่มกลุ่มสนีกเกอร์มากขึ้นเป็น 70% ของร้าน รวมถึงมีสินค้าผู้หญิงเพิ่มขึ้นเป็น 45%

ที่สำคัญคือ Sports Mall ยังสานสัมพันธ์กับแบรนด์ดัง เช่น Nike, Adidas เพื่อให้ร้านได้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้วางจำหน่าย สินค้าเอ๊กซ์คลูซีฟ ของแบรนด์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในยอดขาย โดยปัจจุบันสินค้ากลุ่มนี้คิดเป็นสัดส่วน 30%

โดยสรุปแล้ว Sports Mall ได้ปรับโซนของตัวเองให้เป็นรีเทลที่ขายกึ่งสินค้าเครื่องกีฬากับสินค้าแฟชั่น ซึ่งเอื้อให้ผู้บริโภคสามารถมาเดินเล่นดูสินค้าในชีวิตประจำวัน และพยายามดันตัวเองเป็นจุดหมายของนิชมาร์เก็ตนักสะสมรองเท้า Limited Edition ควบคู่ไปด้วย

JD Sports: สร้างแบรนด์ออนไลน์สไตล์วัยรุ่นสุดคูล

ตัดภาพมาที่น้องใหม่ในตลาดไทยแต่เป็นแบรนด์เก่าในระดับโลก JD Sports เชนร้านมัลติแบรนด์จากอังกฤษรายนี้ขยายไปแล้ว 4 สาขาในกรุงเทพฯ หลังเข้าตลาดมา 1 ปี

ร้านนี้เลือกจับกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์แบบเต็มตัวโดยไม่ได้จำหน่ายสินค้าสายเพอร์ฟอร์มานซ์เลย โดย “แจ๊คลิน แทน” หัวหน้าสูงสุดฝ่ายการตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ JD Sports กล่าวถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ว่าเป็น “เด็กที่ต้องการเติบโตสู่ไลฟ์สไตล์แบบสตรีท ต้องการเสื้อผ้าการแต่งตัวที่ได้ลุคแบบเท่ๆ สบายๆ”

JD-Sports-open

ดังนั้นร้าน JD Sports จึงต้องสร้างแบรนด์ให้ร้านตัวเองดึงดูดลูกค้าในเชิงการตลาด ผ่านการสร้างสัมพันธ์กับท็อปแบรนด์สายกีฬาต่างๆ เพื่อพัฒนาสินค้าที่ออกแบบร่วมกันระหว่างแบรนด์กับร้าน ซึ่งจะมีขายเฉพาะที่ JD Sports เท่านั้น รวมถึงเน้นการสร้าง ‘touch point’ ในโซเชียลมีเดียให้ลุคของแบรนด์ดูเท่ ทันสมัย

 

View this post on Instagram

 

A post shared by JD Sports Thailand (@jdsportsth) on


ทั้งนี้ นักสะสมสนีกเกอร์ตัวยงที่อยู่ในวงการมา 10 ปีรายหนึ่งกล่าวกับ Positioning ว่า ร้าน JD Sports เป็นร้านสนีกเกอร์ตลาดแมส แต่มีการสร้างแบรนด์มากขึ้นด้วยสินค้าเอ๊กซ์คลูซีฟที่พัฒนาร่วมกับท็อปแบรนด์ต่างๆ ซึ่งสำหรับนักสะสมอาจจะไม่น่าสนใจเท่าสินค้าที่ออกแบบร่วมกับศิลปินดัง แต่การแสดงออกถึง ‘ความสัมพันธ์’ ของร้านกับแบรนด์ดังทำให้ยกระดับได้ดีกว่าร้านทั่วไปที่ไม่มีในจุดนี้

ขวบปีแรกของ JD Sports ในไทยนั้นไม่เปิดเผยยอดขายแต่บริษัทเคลมว่าทำได้ ‘ตามเป้า’ และเตรียมขยายอีก 2 สาขาปีหน้า ซึ่งน่าจะสะท้อนให้เห็นว่าวิธีการจับตลาดของแบรนด์ได้ผลในไทยเช่นเดียวกับทั่วโลก

สรุปความเคลื่อนไหวของธุรกิจรีเทล Specialty Store ในหมวดเสื้อผ้ารองเท้ากีฬานั้น การเจาะกลุ่มผู้บริโภคต้องปรับตามเทรนด์พฤติกรรม เมื่อผู้ซื้อไม่ได้มีแต่กลุ่มคนเล่นกีฬาอย่างจริงจัง แต่กลายเป็นไลฟ์สไตล์ที่ใครๆ ก็ใส่กัน การสร้างแบรนด์ การจัดรูปแบบร้าน และประสบการณ์ในร้านจึงต้องเปลี่ยนไปให้เข้าถึงง่าย ปรับ ‘ฟีลลิ่ง’ จาก ‘การออกกำลังกาย’ มาเป็น ‘สายแฟชั่น’ มากขึ้น.

]]>
1254801
Big Move! Sports Mall ทุ่ม 500 ล้านปรับใหญ่ขยายพื้นที่ขาย รับเทรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาโต https://positioningmag.com/1254251 Wed, 20 Nov 2019 10:00:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254251 Sports Mall ในเครือเดอะมอลล์ลงทุน 500 ล้านบาท รีโนเวต 7 สาขา ปรับโฉมครั้งใหญ่เป็น Global Flagship Store ขนแบรนด์ดังขยายพื้นที่เพิ่มความเอ็กซ์คลูซีฟ แย้มวางแผนเปิดร้านแบบสแตนด์อะโลนเจาะชุมชน ตอบรับเทรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาโตต่อเนื่อง 5 ปี

ไลฟ์สไตล์กีฬายังแรงดีแม้มีแกว่งตามสภาพเศรษฐกิจอยู่บ้าง แต่ยังคุ้มค่าต่อการลงทุนเพราะมองระยะยาวยังไม่หยุดง่ายๆ ทำให้ “เดอะมอลล์ กรุ๊ป” ปรับใหญ่ วางแผนปี 2562-64 ทยอยรีโนเวต 7 สาขาจาก 11 สาขาของ Sports Mall ได้แก่ สยามพารากอน, ดิ เอ็มโพเรียม, งามวงศ์วาน, บางแค, บางกะปิ, โคราช, ท่าพระ ใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท โดยวันนี้สาขาแรกที่สยามพารากอนพร้อมให้บริการแล้ว

สองผู้บริหารจากเดอะมอลล์ กรุ๊ป “วิภา อัมพุช” ผู้จัดการใหญ่ SPECIALTY RETAIL DEVELOPMENT บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ “สุนทร สุรีย์เหลืองขจร” ผู้จัดการทั่วไปบริหารสินค้าสปอร์ตมอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันเปิดเผยถึงการปรับพื้นที่ใหม่ของ Sports Mall ว่า พื้นที่ในแต่ละสาขาจะปรับโฉมภายใต้คอนเซ็ปต์ Global Flagship Store ที่เปลี่ยนหรือเสริมจุดแข็งหลายด้าน ได้แก่ พื้นที่ขาย สินค้า และบริการ

Sports Mall
“วิภา อัมพุช” ผู้จัดการใหญ่ SPECIALTY RETAIL DEVELOPMENT บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด และ “สุนทร สุรีย์เหลืองขจร” ผู้จัดการทั่วไปบริหารสินค้าสปอร์ตมอลล์ บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

สำหรับ “พื้นที่ขาย” Sports Mall มีการปรับพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น ยกตัวอย่างเช่นสาขาสยามพารากอน พื้นที่รวมจากเดิม 3,200 ตร.ม. เพิ่มเป็น 5,000 ตร.ม. ทำให้แบรนด์ที่วางจำหน่ายในร้านมีพื้นที่ขายเพิ่มเกือบเท่าตัวและสามารถจัดวางดิสเพลย์สินค้าให้น่าสนใจ

การจัดพื้นที่โดยรวม Sports Mall ยังปรับลุคให้ ‘น่าเดิน’ ตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้มีเฉพาะกลุ่มนักกีฬาแต่ขยายไปถึงกลุ่มเสื้อผ้าสปอร์ตสแฟชั่น จึงตกแต่งพื้นที่ขายด้วยสไตล์แบบสตรีท ทางเดินโอ่โถง มีจุดถ่ายรูปและกิจกรรมเช่นตู้เกมบาสเกตบอล พร้อมพื้นที่ Sports Hall ส่วนกลางให้แบรนด์ผลัดกันจัดกิจกรรมดึงดูดลูกค้ารายสัปดาห์ ร้านยังมีการปรับโลโก้ใหม่จากลุคนักกีฬามาเป็นไลฟ์สไตล์แฟชั่น ซึ่งโลโก้นี้ยังนำไปปรับเข้ากับยูนิฟอร์มของพนักงานของ Sports Mall ด้วย

นอกจากบรรยากาศโดยรวมที่จะช่วยดึงลูกค้าเข้ามาแล้ว บริษัทยังเน้นเรื่อง “สินค้า” ที่เข้ามาขาย ครบทุกประเภทกีฬา เช่น วิ่ง กอล์ฟ ว่ายน้ำ เทนนิส จนถึงเดินป่า-แคมปิ้ง และมีการเซ็นดีลเอ็กซ์คลูซีฟ เป็นร้านที่ได้ลงขายสินค้า Limited Edition ของแบรนด์ดังซึ่งมีโควตาจำนวนจำกัดในแต่ละประเทศ นับเป็นจุดสำคัญเพราะสินค้าเอ็กซ์คลูซีฟเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วน 30% ของยอดขาย

ปิดท้ายคือการปรับ “บริการ” พนักงานของร้านจะต้องเสริมเรื่องความรู้สินค้า สามารถช่วยเลือกและแนะนำลูกค้าได้ รวมถึงปรับความเร็วหลังลูกค้าตัดสินใจซื้อแล้วการชำระเงินและรับสินค้าต้องเสร็จสิ้นภายใน 5 นาที

Lookbook ยูนิฟอร์มใหม่ของพนักงาน Sports Mall
Lookbook ยูนิฟอร์มใหม่ของพนักงาน Sports Mall

สองผู้บริหาร Sports Mall กล่าวด้วยว่า คอนเซ็ปต์นี้อาจจะนำไปใช้ในร้านค้าแบบสแตนด์ อะโลนเพื่อเจาะแหล่งชุมชนในกรุงเทพฯ ที่ยังไม่มีศูนย์การค้าเครือเดอะมอลล์ เป็นร้านขนาด 1,000 ตร.ม.ขึ้นไป ที่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ครบทุกเพศทุกวัยเช่นกัน ทั้งนี้ เป็นแผนระยะ 3 ปีจึงยังอยู่ระหว่างศึกษ

ไลฟ์สไตล์กีฬาโต 2 หลักตลอด 5 ปี

สุนทรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เดอะมอลล์เล็งเห็นการเติบโตของตลาดเสื้อผ้าอุปกรณ์กีฬาตลอด 5 ปีมีการเติบโต 2 หลักมาทุกปี โดยปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดเครื่องกีฬาที่ขายผ่านช่องทางรีเทลอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เติบโต 10% ขณะที่ปี 2562 นี้คาดว่าจะโต 6% เติบโตช้าลงเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ แต่เทียบกับภาคธุรกิจอื่นๆ แล้วจะเห็นได้ว่าเติบโตสูงกว่า

ส่วนยอดขายของ Sports Mall เอง ปี 2561 มียอดขายราว 3.7 พันล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้าเติบโต 7% สูงกว่าตลาดเล็กน้อ

วิ่ง+ผู้หญิง ผลักกระแสพุ่งทะยาน

ภาพระยะยาวของธุรกิจเสื้อผ้าอุปกรณ์กีฬา วิภามองว่ายังเป็นกระแสที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมาพร้อมกับความตระหนักเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดไลฟ์สไตล์ กลายเป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้สถิติโรงงานผู้ผลิตให้กับแบรนด์ดังทั่วโลกยังมีแนวโน้มขยายกำลังผลิต สะท้อนให้เห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต

สุนทรเสริมว่า ในไทยเองมีจุดสำคัญที่ทำให้เสื้อผ้ากีฬาเติบโตคือกระแสกีฬาวิ่ง โดยปัจจุบันเมืองไทยมีการจัดงานแข่งขันวิ่ง 1,300 รายการต่อปี มีฐานนักวิ่งราว 20 ล้านคน และมีการจัดงานฟูลมาราธอนระดับโลกถึง 5 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ และบุรีรัมย์ นอกจากนี้ยังเริ่มมีกระแสวิ่งเทรลมาเสริมซึ่งทำให้ Sports Mall มีโซนเดินป่าและแคมปิ้งเข้ามา

อีกปัจจัยหนึ่งคือกลุ่มผู้หญิง ที่เมื่อ 5 ปีก่อนมีสัดส่วนในกลุ่มผู้ซื้อเพียง 30% ปัจจุบันเพิ่มเป็น 45% ผู้หญิงจึงเป็นลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ทั้งแบรนด์และร้านค้ามุ่งจับตลาด

]]>
1254251
สปอร์ตมอลล์ “สินค้ากอล์ฟขึ้นอย่างเดียวไม่มีถอย” https://positioningmag.com/11650 Sun, 05 Apr 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=11650

แผนกสินค้ากอล์ฟของสปอร์ตมอลล์ สาขา ดิ เอ็มโพเรียม ที่แยกตัวออกมาต่างหาก ดูละลานตาไปด้วยแบรนด์กอล์ฟกว่าครึ่งร้อยที่เรียงรายอวดโฉมทั้ง Hard Line และ Soft Line กินพื้นที่กว่า 500 ตารางเมตร

เข้าสู่ปีที่ 10 ของสปอร์ตมอลล์กับแผนกสินค้ากอล์ฟที่ปักหมุดให้เอ็มโพเรียมกลายเป็น Destination ของนักกอล์ฟโดยเฉพาะทั้ง Expat และนักท่องเที่ยวชาวเกาหลีและญี่ปุ่น

ทุกวันนี้แผนกสินค้ากอล์ฟทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นแผนกที่ทำรายได้สูงเป็นอันดับ 2 ของสปอร์ตมอลล์รวมกันทั้ง 7 สาขา รองจากแผนกเสื้อผ้าและรองเท้า ด้วยการทำรายได้ให้กับสปอร์ตมอลล์ 25% ในปีที่ผ่านมา

สุนทร สุรีย์เหลืองขจร ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส สายบริหารสินค้า สปอร์ตมอลล์ เริ่มต้นให้สัมภาษณ์พิเศษกับ POSITIONING ถึงปัจจัยที่ทำให้ตลาดสินค้ากอล์ฟมูลค่า 3,000 ล้านบาท เติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 5-6% โดยเฉพาะสปอร์ตมอลล์ที่นับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา เขาบอกว่า “ขึ้นอย่างเดียวไม่มีถดถอย”

นอกจากนี้ตลาดสินค้ากอล์ฟในเมืองไทยยังถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

ค่าใช้จ่ายลดจากอดีต แต่ก็ยังเป็นพื้นที่ของคนรวย

“จากเดิมค่าใช้จ่ายในการเล่นกอล์ฟจะสูงมาก แต่ปัจจุบันค่าใช้จ่ายลดต่ำลงเกือบ 10 เท่า ทำให้มีผู้เล่นมากขึ้น แต่กระนั้นด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม ก็ยังทำให้กอล์ฟยังคงเป็นกีฬาของคนมีเงินอยู่ดี โดยอดีต100,000 บาทแบบ Full Set แต่ปัจจุบันหมื่นปลายๆ ก็เล่นได้แล้ว แต่ก็ยังต้องจ่ายอีกจิปาถะ เฉพาะลูกกอล์ฟ 1 โหล 2,000 กว่าบาท ต่ำๆ นี่เดือนหนึ่งต้องมี 2 โหลนะ”

ปัจจุบันสมาชิกบัตร เอ็มโพเรียม แอนด์ พารากอน กอล์ฟ โซไซตี้ มีประมาณ 10,000 ราย แน่นอนยอดค่าใช้จ่ายจะสูงกว่าแผนกสินค้ากีฬาอื่นๆ เนื่องจากสินค้ากอล์ฟ โดยเฉพาะอุปกรณ์กอล์ฟมีราคาสูงกว่าสินค้ากีฬาอื่นๆ

แม้ตัวเลขนักกอล์ฟในไทยที่สปอร์ตมอลล์ประมาณการไว้ว่ามีอยู่ราว 800,000 คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่ม Cream และมี Serious Golfer 200,000 คน ขณะที่เขาวิเคราะห์ว่าอัตราการเติบโตของจำนวนนักกอล์ฟไทยประมาณ 5% ต่อปี

“กอล์ฟจะต่างจากฟุตบอล คนดูเยอะก็จริงแต่คนเล่นเป็นประจำมีไม่มากเท่าจำนวนคนดู แต่กอล์ฟเป็นกีฬาที่คนเล่นจริงจัง”

อีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ หลายแบรนด์ทำราคาต่ำลงทำให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น รวมถึงแบรนด์กีฬาระดับโลกหันมาให้ความสนใจแตกไลน์กอล์ฟทั้งไนกี้และอาดิดาสทำให้ได้รับความสนใจจากผู้เล่นหน้าใหม่มากขึ้น

บริการดี ค่าใช้จ่ายต่ำ ดึงนักกอล์ฟต่างชาติ

ภาครัฐส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับภาคเอกชน โรงแรม รีสอร์ต และทัวร์กอล์ฟ หลั่งไหลเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น เนื่องจากมีสนามกอล์ฟจำนวนมากขึ้นและกระจายอยู่ทั่วประเทศ สามารถรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่เลือกเมืองไทยเป็น Destination ด้วยจุดเด่นเรื่องการบริการและราคา

“ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีนักกอล์ฟเยอะมาก สนามกอล์ฟก็เยอะ 2,300 สนาม ส่วนไทยมีประมาณ 300 สนาม แต่ค่าออกรอบที่โน่นต่ำๆ ต้องจ่ายเป็นหมื่นบาท แต่มาบ้านเราออกรอบ พันบาทก็ได้แล้ว ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมเกาหลี ญี่ปุ่นถึงมาออกรอบบ้านเราทีหนึ่งก็อยู่เป็นเดือนๆ” ธนยศ ทับทิม ผู้จัดการฝ่ายจัดหาสินค้าสปอร์ตสมอลล์ เป็นโปรกอล์ฟซึ่งร่วมงานกับสปอร์ตสมอลล์เป็นปีที่ 7 ให้รายละเอียด

“แคดดี้บ้านเขาก็หายาก จ้างแพง มาเมืองไทยมีครบ ทีมเดโมของแต่ละแบรนด์ออก Below the line ไปตามสนามไดร์ฟ เขาได้ทดลองรุ่นใหม่ๆ แล้วค่อยมาหาซื้อตามห้างฯ ทีหลัง”

แต่หากเป็นส่วนของอุปกรณ์กอล์ฟแล้วราคาจะไม่ค่อยแตกต่างจากต่างประเทศมากนัก

นักกอล์ฟไทยโกอินเตอร์

นอกจากนี้ปัจจัยที่ผลักดันให้คนไทยเล่นกอล์ฟมากขึ้นก็คือมีนักกอล์ฟชาวไทยหลายคนทั้งชายและหญิงไปสร้างชื่อเสียง คว้าแชมป์รายการต่างๆ ในระดับอินเตอร์ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและเป็นแรงผลักดันให้พ่อแม่ผู้ปกครองเลือกกีฬากอล์ฟให้กับลูกๆได้ รวมถึงสื่อต่างๆ ที่รายงานและโปรโมตกีฬากอล์ฟมากขึ้น

เมื่อมีต้นแบบที่ดี และเห็นผลว่าเป็นกีฬาที่แม้จะลงทุนสูงในช่วงแรกแต่ก็สามารถยึดเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ดีมาก เพราะเป็นกีฬาที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่ากีฬาชนิดอื่นๆ ก็ทำให้คนหลั่งไหลเข้าสู่กีฬากอล์ฟมากขึ้น

“ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เล่นแล้วมีเป้าหมายอยากเป็นนักกอล์ฟอาชีพ จึงเล่นกันตั้งแต่เด็กๆ ใช้เงินเยอะก็จริง แต่ถ้าพอดังแล้วก็สบาย สปอนเซอร์เพียบ ไม่ต้องลงทุนเองแล้ว”

บริษัทแม่ลุยเอง

ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีเศษที่ผ่านมา สุนทรบอกว่ามีบริษัทแม่สินค้ากอล์ฟเข้ามาทำตลาดในไทยเองอย่างน้อย 3 บริษัท คือ Acushnet, Taylor Made และ Callaway ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น Big brand ในวงการกอล์ฟโลก นั่นหมายความว่า

“ตลาดโตและมีศักยภาพเพียงพอที่บริษัทแม่จะรุกเดินหน้าด้วยตัวเอง”

ดังนั้นพื้นที่สปอร์ตมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียม จึงได้มีการจัดสรรพื้นที่ใหม่ แบรนด์เล็กแบรนด์น้อยจำต้องกระเด็นออกไป โดย Taylor Made ได้พื้นที่เพิ่มจากเดิมถึง 4 เท่า

นอกจากนี้ยังเป็นการพื้นที่ของ Taylor Made เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าด้วย เนื่องจากเป็นแบรนด์กอล์ฟที่มียอดขายอันดับ 1 ในไทย

เศรษฐกิจไม่ดีทีไร ตลาดกอล์ฟโตทุกที

ขึ้นชื่อว่าเป็นกีฬาของคนรวย ดังนั้นเศรษฐกิจดูจะไม่ค่อยมีผลกระทบกับยอดขายของสินค้ากอล์ฟเท่าไหร่นัก โดยยอดขาย 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2552) เติบโต 25%

“เศรษฐกิจไม่ดี แต่กอล์ฟโต สนามกอล์ฟก็เกิดเยอะช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เพราะคนเครียดเลยหันมาตีกอล์ฟมากขึ้น”

อัดอีเวนต์หนัก ชูจุดขาย Asian Spec

สปอร์ตมอลล์ตั้งเป้ายอดขายในปี 2552 นี้ที่ 2,000 ล้านบาท และใช้งบการตลาด 50 ล้านบาท กว่า 90 แบรนด์ เพื่อฉลองปีที่ 9 ด้วยการจัดอีเวนต์กว่า 5 รายการใหญ่ คือ Ultimate Golf World 2009, Asian Spec Lovers, Paragon Golf Festival, The Mall Golf World ที่สาขาโคราช และ Emporium & Paragon Golf Society Tournament ทำให้สุนทรคาดว่าในส่วนของธุรกิจกอล์ฟจะมียอดขายเพิ่มขึ้นจาก 450 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาทในสิ้นปี 2552 นี้

โดยมีสาขาเอ็มโพเรียมเป็น Flagship Store ของแผนกกอล์ฟ สปอร์ตมอลล์ ด้วยพื้นที่ 500 ตารางเมตร ที่ต้องแยกโซนออกมาจากแผนกสินค้ากีฬาชนิดอื่นๆ

คัดเลือกสินค้ากอล์ฟ Asian Spec เป็นหลักเพื่อรองรับกลุ่ม Core Target ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 70% คือชาวเกาหลีและญี่ปุ่น

ด้วยเหตุที่ Asian Spec เป็นไลน์การผลิตพิเศษที่แม้จะมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างกันคือน้ำหนักซึ่งเบากว่า US Spec เพื่อให้เหมาะกับสรีระของคนเอเชีย ส่งผลให้มีราคาที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน

และนั่นคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้สปอร์ตมอลล์ของดิ เอ็มโพเรียมมียอดขายสินค้ากอล์ฟสูงที่สุดในห้างสรรพสินค้าด้วยกัน

ขณะที่สปอร์ตมอลล์ พารากอน ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ จะมี Mix ของสินค้าที่แตกต่างเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกมากกว่าเอเชีย สินค้ากอล์ฟจึงมีไลน์ของ US Spec ในสัดส่วนที่สูงกว่าสปอร์ตมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียม

นอกจากนี้สปอร์ตมอลล์ พารากอนยังเน้นสินค้าแฟชั่นกอล์ฟเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้าที่มีสีสัน และมีโซนของขณะที่สาขาในเดอะมอลล์จะกลางๆ เน้นกลุ่มแมส แต่ก็ได้รับการปรับปรุงและขยายพื้นที่ในแผนกสินค้ากอล์ฟในสาขาบางแค บางกะปิ และโคราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กระตุ้นสีสัน ให้อินกับเกม

สุนทรเล่าว่า ทุกครั้งที่มีรายการแข่งขันสำคัญๆ ของกอล์ฟ ทั้ง PGA Tour และ The Masters สปอร์ตมอลล์จะเกาะติดเครื่องแต่งกายของนักกอล์ฟชื่อดัง และนำมาสวมใส่ให้หุ่นโชว์หลังจากออกอากาศในวันถัดไป เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเกม ซึ่งเป็นกลยุทธ์ As seen on TV ที่สร้างสีสันได้เป็นอย่างดี

“ตามธรรมเนียมแข่ง 4 วัน ก็ใส่ 4 ชุด เราก็เปลี่ยนตาม 4 ชุดเหมือนกัน” กระนั้นเขาบอกว่า ทัวร์นาเมนต์ต่างๆ ไม่ได้ส่งผลต่อยอดขายโดยตรง แต่จะส่งผลดีในแง่ของภาพลักษณ์กีฬากอล์ฟ และทำให้คนสนใจกอล์ฟในระยะยาวมากกว่า

สุนทรและธนยศวิเคราะห์พฤติกรรมการเลือกแบรนด์ของนักกอล์ฟอย่างน่าสนใจว่า

“นักกอล์ฟแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นคนที่เพิ่งเล่นใหม่ จะบ้าแบรนด์ หรือเลือกแบรนด์ที่รู้จักจากกีฬาชนิดอื่นอยู่แล้วเช่น Wilson และ Dunlop เป็นต้น กลุ่มที่ 2 คือ คนที่เล่นมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนอุปกรณ์เพราะต้องการพัฒนาฝีมือให้ดีขึ้น โดยไม่ค่อยยึดติดกับแบรนด์มากนัก”

โดยกลุ่มลูกค้าหลักของสปอร์ตมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียมจะเป็นคนที่เล่นกอล์ฟอยู่แล้ว ส่วนสาขาอื่นๆ จะมีหลายโปรไฟล์ปนกัน

Top 5 ยอดขายแบรนด์กอล์ฟในสปอร์ตมอลล์
1. NIKE GOLF
2. Taylor Made
3. Acushnet (รวม 3 แบรนด์ คือ Titleist, Cobra และ FOOTJOY)
4. Callaway
5. Srixon

Top 5 ยอดขายแบรนด์กอล์ฟในตลาดรวมประเทศไทย
1. Taylor Made
2. Acushnet
3. Callaway
4. Wilson
5. Top Flite

สัดส่วนยอดขายสินค้ากอล์ฟของสปอร์ตมอลล์มูลค่า 450 ล้านบาท (by product type)
รองเท้าและเสื้อผ้า 45-50%
อุปกรณ์กอล์ฟ 25%

ยอดขายสินค้ากอล์ฟของสปอร์ตมอลล์ (by year)
2550 350 ล้านบาท
2551 450 ล้านบาท
2552 (คาดการณ์) 500 ล้านบาท

]]>
11650