สังคมผู้สูงอายุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Aug 2022 14:11:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ประชากร “ญี่ปุ่น” ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 13 คนใน “โตเกียว” ลดลงครั้งแรกตั้งแต่เก็บสถิติ https://positioningmag.com/1395836 Wed, 10 Aug 2022 11:56:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1395836 สถิติประชากร “ญี่ปุ่น” ลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นที่ 13 เหลือเพียง 123.22 ล้านคน โดยปี 2021 ถือเป็นปีที่มี “เด็กเกิดใหม่” น้อยที่สุดตั้งแต่เก็บสถิติมา รวมถึงเขตเมือง “โตเกียว” ก็มีประชากรลดลงเป็นครั้งแรกเช่นกัน ใน 47 จังหวัดของญี่ปุ่น มีเพียง “โอกินาว่า” เท่านั้นที่มีประชากรเพิ่มขึ้น

กระทรวงมหาดไทยแห่งรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยสถิติประชากรญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มกราคม 2022 พบว่า มีประชากรทั้งหมด 123.22 ล้านคน ลดลงกว่า 619,000 คนจากปีก่อนหน้า และถือเป็นการลดลงของประชากรที่มากที่สุดตั้งแต่เริ่มสำรวจในปี 1968  รวมถึงเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 13 จากที่ญี่ปุ่นเคยมีประชากรจำนวนสูงสุดเมื่อปี 2009

นอกจากประชากรสัญชาติญี่ปุ่นแล้ว ชาวต่างชาติที่อาศัยพำนักในญี่ปุ่นก็ลดลงเช่นกัน โดยลดลงกว่า 107,000 คนจากปีก่อนหน้า ปัจจุบันมีชาวต่างชาติอยู่ในญี่ปุ่นกว่า 2.7 ล้านคน การลดลงของชาวต่างชาตินั้นเกิดขึ้นเป็นปีที่สองติดต่อกัน

ด้านจำนวน “เด็กเกิดใหม่” ก็ทำสถิติ “เกิดน้อยที่สุด” ตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลชุดนี้เมื่อปี 1979 โดยปี 2021 มีเด็กญี่ปุ่นเกิดใหม่เพียง 812,000 คน ขณะที่ฝั่งผู้เสียชีวิตนั้นขึ้นไปถึงกว่า 1.44 ล้านคน เป็นสถิติสูงสุดที่เคยเก็บมาเช่นกัน

ใน 47 จังหวัดของญี่ปุ่นนั้น มีเพียง “โอกินาว่า” ที่พบว่ามีประชากรเพิ่มขึ้น โดยมีคนมากขึ้น 186 คน เนื่องจากจังหวัดนี้มีอัตราการเจริญพันธุ์สูงที่สุดในประเทศ ขณะที่พื้นที่ที่มีคนน้อยลงมากที่สุดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอากิตะ อาโอโมริ และยามางาตะ

เขตมหานครโตเกียวมีประชากรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 47 ปี เพราะช่วงโรคระบาดมีคนจำนวนมากย้ายไปอยู่ต่างจังหวัด (Photo : Shutterstock)

ส่วนเขตมหานคร “โตเกียว” ซึ่งนับรวมทั้งตัวเมืองหลวง และจังหวัดรอบๆ ได้แก่ ไซตามะ ชิบะ และคานางาวะ พบว่าประชากรเขตมหานครโตเกียวลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1975 โดยลดลงเกือบ 35,000 คน ปัจจุบันเขตเมืองหลวงญี่ปุ่นมีคนอาศัย 35.61 ล้านคน

กระทรวงมหาดไทยรายงานว่าจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นมากกว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายปีที่ผ่านมา ยิ่งในช่วง COVID-19 ทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาอาศัยในญี่ปุ่นน้อยลง และทำให้ประชากรลดลงในเขตเมืองหลวง เพราะออกไปอยู่ต่างจังหวัดกันมากขึ้น

ดังที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมานานแล้ว และภาวะเด็กเกิดน้อยเป็นประวัติการณ์ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 29% ของประชากรทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นมา 0.27% จากปีก่อนหน้า ส่วนคนวัยทำงานซึ่งที่ญี่ปุ่นนับตั้งแต่อายุ 15-64 ปีนั้นมีสัดส่วน 58.99% ลดลง -0.1% จากปีก่อนหน้า

รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามมาอย่างต่อเนื่องที่จะจัดการกับปัญหาประชากรสูงวัยและคนวัยทำงานลดต่ำลง โดยหวังว่าจะสามารถลดปัญหาขาดแคลนแรงงานได้ผ่านการนำเข้าแรงงานต่างชาติให้มากขึ้น

Source: Asahi Shimbun, SCMP

]]>
1395836
เปิดวิสัยทัศน์ ‘Sea Thailand’ กับการปรับตัวสู่ ‘Digital Nation’ ในอีก 10 ปีข้างหน้า https://positioningmag.com/1358728 Wed, 27 Oct 2021 11:17:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358728 หากพูดถึงการปรับตัวใช้งานดิจิทัลของคนไทยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าก้าวกระโดดมาก เพราะได้ COVID-19 เป็นตัวเร่ง แต่แค่นั้นจะเพียงพอหรือเปล่า หากพูดถึงการอยู่รอดอย่างยั่งยืนในอีก 10 ปีข้างหน้า Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการ การีนา (Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และซีมันนี่ (SeaMoney) ได้ออกมาเผยถึงมุมมองภาพอนาคตยุคดิจิทัลหลัง COVID-19 ผ่านงาน Sea Story 2021: Digital Visionary ในงานเสวนาหัวข้อ “Accelerated Transitions to the Digital Nation”

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยโต แต่ขาดแรงงาน

เศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยขยายตัวต่อเนื่องและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Internet Penetration ในประเทศไทยซึ่งอยู่ที่ 96.5% และยังมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม แม้การมาของ COVID-19 จะทำให้การปรับใช้ดิจิทัลเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ฉุดเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่มีผู้ตกงานกว่า 2.5 ล้านคน และผู้ว่างงานแฝงกว่า 4 ล้านคน กว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอาจต้องรอไปถึงกลางปีหน้า

ขณะที่ความต้องการจ้างงานในอนาคตก็มองหากลุ่มที่มีทักษะงานทางดิจิทัลมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน รวมถึงต้องการสกิลเซตที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีแรงทักษะทางดิจิทัลที่ 55% หรือกว่า 17 ล้านคนที่ยังขาดทักษะ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีเฉลี่ยที่ 66% โดยสิงคโปร์มีสูงสุดที่ 75%

และเมื่ออ้างอิงรายงาน IMD World Digital Competitiveness Ranking 2021 พบว่า ประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับที่ 38 จาก 64 ประเทศทั่วโลก โดยมีปัจจัยด้าน Technology (อันดับที่ 22) เป็นจุดแข็ง และมีปัจจัยด้าน Knowledge (อันดับที่ 42) และด้าน Future Readiness (อันดับที่ 44)

“นี่ถือเป็นความน่ากังวล จะทำอย่างไรให้คนเพิ่มทักษะดิจิทัลที่เหมาะสมให้คนครึ่งประเทศ ถ้ายังละเลยจะยิ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง ดังนั้น ต้องรีเลิร์น รีสกิลแรงงาน ไม่เช่นนั้นจะถูกแทนที่ด้วยออโตเมชั่น” มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย) กล่าว

Aging Society โอกาสและปัญหาสำคัญในอีก 10 ปี

การเข้าสู่สังคมสูงวัย หรือ Aging Society เป็นสิ่งที่หลายคนเริ่มตระหนักแล้ว โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ประชากร 40% เป็นวัยเกษียณ ดังนั้น คนกลุ่มนี้จะมีความระมัดระวังในการจับจ่ายมากขึ้น ทำให้กำลังซื้อในประเทศจะลดลง เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ถือเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของไทย ดังนั้น จะเพิ่มคุณภาพของแรงงานที่น้อยลงอย่างไร

อย่างไรก็ตาม อาจจะเห็นธุรกิจที่โตก้าวกระโดดในอีก 10 ปีข้างหน้า เช่น Healthtech, Medtech เพราะจะมาตอบโจทย์ผู้สูงวัย เพราะแม้ว่ากลุ่มผู้สูงวัยจะระวังเรื่องการจับจ่าย แต่เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น

ตอบโจทย์ Segment of One ด้วยดิจิทัล

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร Future Tales Lab by MQDC กล่าวว่า ในอดีต ธุรกิจจะคำนึงถึงความสามารถในการแข่งขัน 3 ด้าน ได้แก่ ความเร็ว คุณภาพที่สูง ต้นทุนที่ต่ำ แต่ปัจจุบันและใน 10 ปีข้างหน้าจะต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยดาต้าหรือข้อมูลให้ได้ เพราะความต้องการคนที่เปลี่ยนไปไม่สามารถแบงเป็นกลุ่มหรือ Segment ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป แต่เป็น Segment of One นอกจากนี้ต้อง ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้ นี่คือความต้องการใหม่ที่เกิดขึ้น

ดังนั้น Digital Adoption จะเป็นตัวช่วยสำคัญ เพราะปัจจุบันองค์กรเริ่มเห็นเรื่องข้อมูล เนื่องจากทุกอย่างออนไลน์ ขณะที่ 62% ของคนไทยต้องการนำดิจิทัลมาใช้ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น เพราะเขารู้สึกว่าสะดวก ดังนั้น จะเห็นว่ามี Digital Tools มาเสิร์ฟความต้องการผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ

มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)

“ต่อจะไปเห็นการทำงานของออฟไลน์ออนไลน์ (O2O) ที่ไร้รอบต่อ มีการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง business landscape ที่เป็นไปได้มากขึ้น เพราะโอกาสเปิดกว้างมากขึ้น เนื่องจากโลกไม่มีพรมแดนอีกต่อไป”

นอกจากนี้ การเปลี่ยนผ่านของแรงงานรุ่นใหม่ องค์กรก็ต้องปรับตัวสู่ Hybrid Work Place หรือแม้กระทั่งการทำงานในโลกเสมือนจริง (Metaverse) เพราะ COVID-19 ทำให้แรงงานรู้แล้วว่าไม่จำเป็นต้องทำงานในออฟฟิศ ดังนั้น องค์กรก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่การลาออกครั้งใหญ่ของ Gen Z ที่ต้องการ Work-Life Balance

ตั้งเป้าสร้าง Digital Talent 10 ล้านคน ใน 10 ปี

ในช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา Sea (Group) ได้ประกาศยุทธศาสตร์ 10 in 10 ตั้งเป้าสร้าง ‘Digital Talent’ 10 ล้านคน ใน 10 ปี โดยปัจจุบัน Sea (ประเทศไทย) สามารถเข้าไปเสริมสร้างทักษะดิจิทัลด้านต่าง ๆ ให้แก่คนไทยได้ราว 3.8 ล้านคน โดยในปีนี้ Sea (ประเทศไทย) จัดโครงการต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นที่ Mega Trends คือ “E-commerce for All” หรือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยอีคอมเมิร์ซ

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร Future Tales Lab by MQDC

เนื่องจากอีคอมเมิร์ซเป็นเครื่องมือสำคัญ โดยจะเห็นว่าตอนนี้การค้าขายบนโลกออนไลน์เป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มเติม สะท้อนให้เห็นได้จากจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่เป็นนักเรียนนักศึกษา แม่บ้าน และพนักงานบริษัทที่มีงานประจำอยู่แล้ว ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ในปัจจุบัน การใช้จ่ายเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์จำนวนมาก

ทั้งนี้ ช้อปปี้ (ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ) มีการเติบโตทั้งในแง่คำสั่งซื้อและความเข้มแข็งของฐานผู้ใช้งาน โดยมีกว่า 1,400 ล้าน Gross Order ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เติบโตราว 127% จากช่วงเดียวกันของปี 2563

]]>
1358728
“แรงงานสูงวัยในญี่ปุ่น” เติบโต 17 ปีซ้อน สะท้อนภาพ “สังคมไร้วันเกษียณ” https://positioningmag.com/1352815 Tue, 21 Sep 2021 07:34:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1352815 อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก ทำให้มีแรงงานที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเติบโตมากขึ้นต่อเนื่องตลอด 17 ปี

จำนวนผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปในญี่ปุ่นพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดยปีนี้เพิ่มขึ้น 220,000 คน รวมเป็น 36.4 ล้านคน แบ่งเป็น ชาย 15.83 ล้านคน ผู้หญิง 20.57 ล้านคน ขณะที่ประเทศที่มีอัตราส่วนผู้สูงอายุเป็นอันดับ 2 คือ อิตาลี คิดเป็น 23.6% ตามด้วยโปรตุเกส 23.1%

ผู้สูงวัยของญี่ปุ่นคิดเป็น 29.1% ของประชากรทั้งหมด ณ เดือนนี้ และ 13.6% ยังคงเป็นแรงงานในปี 2020 ซึ่งทั้งสองตัวเลขนั้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสถาบันวิจัยประชากรและประกันสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่า ผู้สูงอายุของญี่ปุ่นจะมีสัดส่วนเป็น 30% ของประชากรในปี 2025 และ 35.3% ในปี 2040

ปัจจุบัน จำนวนผู้ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไปมีจำนวนทั้งสิ้น 12.06 ล้านคน เพิ่มขึ้น 460,000 คนจากปีก่อนหน้า และในจำนวนผู้ที่มีอายุ 90 ปีขึ้นไปมีจำนวนถึง 25.9 ล้านคน รวมทั้งผู้มีอายุครบร้อยปี 80,000 คน

ทั้งนี้ จำนวนผู้สูงอายุที่มีงานทำเพิ่มขึ้นเป็นปีที่ 17 ติดต่อกันตั้งแต่ปี 2547 จากจำนวนผู้สูงอายุที่มีงานทำ 9.06 ล้านคน มี 3.67 ล้านคนเป็นผู้หญิง โดยอุตสาหกรรมที่เป็นนายจ้างรายใหญ่ที่สุดของผู้สูงอายุคือ อุตสาหกรรมค้าส่งและค้าปลีก โดยมีผู้สูงอายุ 1.28 ล้านคน รองลงมาคือเกษตรกรรมและป่าไม้ 1.06 ล้านคน แต่ผู้สูงอายุเหล่านี้กว่า 70% ได้รับการจ้างงานแบบชั่วคราว และมีรายได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น

โดยอัตราส่วนของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่มีงานทำสูงถึง 25.1% ซึ่งสูงเป็นอันดับสองในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก โดยอัตราส่วนในเกาหลีใต้สูงที่สุดในบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลักที่ 34.1% ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและแคนาดาอยู่ที่ 18% และ 12.8% ตามลำดับ

Source

]]>
1352815
จับตา “กลุ่ม Perennials” ประชากรสูงวัยที่กำลังเป็นใหญ่เหนือกลุ่ม Millennial https://positioningmag.com/1264149 Wed, 12 Feb 2020 16:06:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264149 วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เผยเทรนด์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ คือ เศรษฐกิจอายุยืน (Longevity Economy) พร้อมปรับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ชี้โอกาสทางธุรกิจ 6 ด้านในสังคมอายุยืนสำหรับผู้ประกอบการ

สังคมอายุยืน จุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจใหม่

1 ใน 6 ของประชากรไทยได้เป็น “ผู้สูงอายุ” ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกลุ่มผู้สูงอายุกำลังจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคสำคัญของโลก ในรายงาน The Perennials : Future of Aging โดย Ipsos กล่าวว่า ผู้สูงอายุในสมัยปัจจุบัน แตกต่างไปจากในอดีตมาก ผู้สูงอายุสมัยใหม่ยังคงที่ชื่นชอบในการทำงาน มีการวางแผนการเงินที่รอบคอบมากขึ้น และมีไลฟสไตล์การใช้ชีวิตที่ Active

โดย Ipsos ได้ทำการบัญญัติศัพท์ใหม่ เพื่ออธิบายถึงกลุ่มผู้สูงอายุสมัยใหม่ว่า “The Perennials” (เดอะ เพอะเรนเนียลส์) จากศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้อธิบายถึงต้นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน กลายมาเป็นคำที่ใช้เรียกกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย ซึ่งกำลังจะมีอิทธิพลเหนือกลุ่มมิลเลนเนียลส์ (Millennials) จึงเป็นความท้าทายสำหรับภาคธุรกิจที่ต้องหันมาทำความเข้าใจกลุ่มสูงวัยชาวเพอะเรนเนียลส์ และสร้างสินค้า หรือ บริการ ที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด

 จาก “เบบี้ บูมเมอร์” สู่ “เดอะ เพอะเรนเนียลส์”

ก่อนที่จะลงลึกถึงโอกาสทางธุรกิจจากสังคมอายุยืน จำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้สูงอายุในปัจจุบันเป็นใคร มาจากไหน? หากย้อนดูตามทฤษฎี Generation หรือการแบ่งลักษณะของประชากรตามปีที่เกิด ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น

  1. Baby Boomer: เกิดปี ค.ศ. 1944 – 1964
  2. Gen x: เกิดปี ค.ศ. 1965 – 1979
  3. Millennial: เกิดปี เกิดปี ค.ศ. 1980 – 1994
  4. Gen Z: เกิดปี ค.ศ. 1995 – 2015
Photo : Shutterstock

จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มประชากรที่มาจาก Baby Boomer ซึ่งปัจจุบันจะมีอายุประมาณ 56-76 ปี (ปีที่เขียนบทความนี้ คือปี ค.ศ. 2020)  เบบี้ บูมเมอร์ เป็นประชากรที่เกิดและเติบโตในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2  เบบี้ บูมเมอร์ จึงเป็นประชากรที่มีความทุ่มเทในการทำงาน ขยัน มีการวางแผนการเงิน จุดเด่นของประชากรกลุ่มนี้ คือ มีความอดทนสูง

สำหรับในประเทศไทย เบบี้ บูมเมอร์ กลุ่มใหญ่ในประเทศกำลังเป็นผู้บริหารในองค์กร ผู้ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงาน และยังคงเป็นกลุ่มบุคคลที่มีคำถามในใจว่า หากจะต้องเกษียณการทำงาน จะใช้ช่วงชีวิตที่ยืนยาวนั้นอย่างไรให้มีคุณค่า และมีความสุขมากที่สุด จาก “เบบี้ บูมเมอร์” ผู้ต่อสู้กับสภาวะทางเศรษฐกิจในอดีต จึงกลายเป็น “เดอะ เพอะเรนเนียลส์” ผู้บริโภคสูงวัยที่กำลังจะมีช่วงชีวิตที่ยาวนานขึ้น

มหิดลเปิดหลักสูตรเจาะลึก 6 โอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน

ผศ.ดร.ธนพล วีราสา รองคณบดีวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงโครงการ NEO (New Education for Opportunity) ที่ออกแบบมาเพื่อปรับรูปแบบการศึกษาให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ โดยเริ่มจากหลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน (Business Opportunity Creation in Longevity Society) หลักสูตรระยะสั้น 8 สัปดาห์ สำหรับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่ต้องการสร้างธุรกิจใหม่ แตกไลน์ธุรกิจเดิมให้รองรับคนสูงวัยมากขึ้น เน้นการรวบรวมองค์ความรู้และงานวิจัยของมหิดลมานำเสนอให้ผู้ประกอบการได้เห็นโอกาสและนำไปต่อยอดใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านธุรกิจการแพทย์และสุขภาพ ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านธุรกิจที่พักอาศัย ด้านการท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ ด้านการเงินและประกันภัย ด้านการจ้างงานของผู้สูงอายุ

ทั้งนี้ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเรียนเชิญ นักธุรกิจและผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมงาน NEO OPEN HOUSE เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างโอกาส และแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ในวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00 – 11.00 น. ที่ห้องประชุมชั้นสอง วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนน วิภาวดีรังสิต ลงทะเบียนฟรี พร้อมรับสิทธิพิเศษ Voucher ส่วนลดค่าลงทะเบียนหลักสูตรมูลค่า 2,500 บาท สำหรับหลักสูตรของ NEO ACADEMY

ลงทะเบียนฟรีที่นี่ https://www.neobycmmu.com/open-house

]]>
1264149
เปิดงบประมาณญี่ปุ่นปี 2020 ทะลุ 102 ล้านล้านเยน ปีแห่ง “โอลิมปิก” และสังคมผู้สูงอายุ https://positioningmag.com/1259353 Sun, 05 Jan 2020 16:14:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259353 ปี 2020 ญี่ปุ่นจะคึกคักด้วยมหกรรม “โตเกียว โอลิมปิก และพาราลิมปิก” แต่สังคมสูงวัยซึ่งต้องใช้งบประมาณด้านสวัสดิการจำนวนมหาศาล ฉุดรั้งให้ญี่ปุ่นไม่อาจพ้นจากสภาพ “อาทิตย์อัสดง” ได้

งบประมาณทะลุ 102 ล้านล้านเยน

งบประมาณเป็นแม่บทที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการสะท้อนทิศทางของประเทศ เพราะการใช้จ่ายของภาครัฐบ่งชี้ได้ชัดเจนถึงสิ่งที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญอยู่ และรัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญมากที่สุด

ในปีงบประมาณ 2020 ที่เริ่มต้นในเดือนเมษายน รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งงบประมาณสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายจ่ายทั้งหมด 102 ล้านล้านเยน (ราว 28 ล้านล้านบาท) ซึ่งสูงเกินระดับ 100 ล้านล้านเยน เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน โดยเงินที่จัดสรรสำหรับสวัสดิการสังคมมีมูลค่ากว่า 35 ล้านล้านเยน ซี่งหมายความว่า รัฐบาลญี่ปุ่นใช้งบประมาณมากกว่า 1 ใน 3 เพื่อสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะการรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ

จำนวนผู้สูงอายุในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องใช้งบประมาณส่วนใหญ่เพื่อการนี้ จนแทบไม่เหลือเงินสำหรับการพัฒนาในด้านอื่นๆ นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อป้องกันภัยพิบัติ ทั้งแผ่นดินไหว คลื่นสึนามิ น้ำท่วม และพายุไต้ฝุ่น โดยในปีที่แล้ว ญี่ปุ่นถูกพายุไต้ฝุ่นพัดถล่มมากกว่าปกติเกือบ 2 เท่า โดยเฉพาะไต้ฝุ่นฟ้าใสและไต้ฝุ่นฮากีบิส ที่สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับญี่ปุ่น

รัฐบาลของนายกฯ ชินโซ อาเบะ ยังต้องทำตามสัญญาที่ให้ไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง คือการให้บริการเนอสเซอรีและการดูแลก่อนวัยเรียนฟรี และสนับสนุนค่าใช้จ่ายในระดับอุดมศึกษา ให้นักศึกษาจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อย

สวัสดิการคนชราอ่วม แต่ยังซื้ออาวุธเอาใจอเมริกา

รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งงบประมาณการป้องกันประเทศ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.3 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 8 ในจำนวนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องบินขับไล่ล่องหนรุ่นใหม่ ซึ่งจะนำมาใช้งานทดแทนเครื่องบินขับไล่ F-2 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ นอกจากนี้ยังจัดสรรงบประมาณ เพื่ออัพเกรดเรือพิฆาตอิซูโมะ ให้เป็นเรือบรรทุกอากาศยาน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องบินขับไล่ล่องหน F-35B ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ซึ่งจะนำไปใช้งานบนเรืออิซูโมะที่ปรับปรุงใหม่แล้ว

รัฐบาลญี่ปุ่นอ้างว่าจำเป็นต้องยกระดับการป้องกันประเทศ เพื่อรับมือภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือและจีน ทั้งๆ ที่ในญี่ปุ่นก็มีกองกำลังของสหรัฐตั้งอยู่ ซ้ำประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ก็เรียกร้องให้ญี่ปุ่นเพิ่มเงินสนับสนุนให้กับกองกำลังสหรัฐฯ หลายเท่าตัว ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นก็ยังไม่มีท่าทีตอบรับแต่อย่างใด

กระตุ้นเศรษฐกิจหลังโอลิมปิก รับมือสงครามการค้า

สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อญี่ปุ่นไม่ต่างจากทั่วโลก นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังเปิดศึกกับเกาหลีใต้ เนื่องจากความข้ดแย้งเรื่องการบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามโลก โดยถึงแม้ฝ่ายเกาหลีใต้จะเจ็บหนัก จากการควบคุมการส่งออกวัสดุเทคโนโลยีชั้นสูงจากญี่ปุ่นไปเกาหลี แต่ก็ใช่ว่าญี่ปุ่นจะไม่เจ็บ ทั้งผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่น และการท่องเที่ยวต่างก็ได้รับผลสะเทือนเช่นกัน

รัฐบาลได้จัด “งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ” มูลค่าเกือบ 1.8 ล้านล้านเยน เงินก้อนนี้จะนำไปใช้การเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงสร้างสาธารณูปโภคเพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติ ลดผลกระทบจากสงครามการค้า และกระตุ้นเศรษฐกิจหลังมหกรรมกีฬาโตเกียวโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 ซึ่งการใช้จ่ายของภาครัฐจะลดลงอย่างมากหลังสิ้นสุดโครงการขนาดใหญ่นี้

เทคโนโลยีใหม่ก็จะได้รับงบประมาณด้วย งบประมาณราว 3,600 ล้านเยน จะจัดสรรให้กับการประยุกต์ใช้เครือข่าย 5G สำหรับการเกษตร และบริการทางการแพทย์

รายจ่ายมหาศาล รายได้มาจากไหน?

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขึ้นภาษีผู้บริโภคเมื่อเดือนตุลาคม ทำให้รายรับของรัฐบาลที่มาจากเงินภาษีสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 63 ล้านล้านเยน แต่รายได้จากภาษีคิดเป็นแค่ 60% ของค่าใช้จ่ายเท่านั้น ส่วนที่เหลือรัฐบาลจำเป็นต้องออกพันธบัตรเพื่อหาเงิน ซึ่งหมายความว่าสร้างภาระหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ซ้ำเติมสถานะที่ขณะนี้รัฐบาลญี่ปุ่นมีภาระหนี้สูงมหาศาลมากที่สุดในโลก ถึงกว่า 200% ของ GDP

ร่างนโยบายงบประมาณของรัฐบาลญี่ปุ่นในปีนี้ ระบุว่า จะใช้มาตรการที่ครอบคลุมและยืดหยุ่นต่อความเสี่ยงจากสงครามการค้าและปัจจัยอื่นๆ โดยมุ่งเป้าไปที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งนำโดยภาคเอกชน

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ศักยภาพในการแข่งขันของญี่ปุ่นถดถอยลงอย่างมาก บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นจำนวนมากต้องขายกิจการ หรือถอนตัวจากธุรกิจ Panasonic ยักษ์ใหญ่เครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น ยกธงขาวขายธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ให้บริษัทไต้หวัน เทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่เคยโดดเด่น วันนี้กลับตามหลังจีนและเกาหลีใต้ในหลายด้าน

แดนอาทิตย์อุทัยเคยยิ่งใหญ่ขึ้นมาด้วยความ “ทะนงตน” ของชาวญี่ปุ่น และการบริหารงานที่มีระบบระเบียบเคร่งครัด แต่วันนี้ความทะนงทำให้ญี่ปุ่นไม่ยอมรับว่าตัวเองกำลังถดถอย ระบบระเบียบที่มีกลับเป็นตัวถ่วง ทำให้ญี่ปุ่นปรับตัวไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไม่ทัน จนไม่อาจหลุดพ้นจากสภาพอาทิตย์อัสดงได้

Source

]]>
1259353
60 ยังแจ๋ว! แนะ 7 อาชีพสร้างรายได้ให้ผู้สูงวัยในยามเกษียณ https://positioningmag.com/1249399 Thu, 10 Oct 2019 07:52:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249399 สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเตรียมตัวเพื่อรองรับกับสังคมผู้สูงอายุ จึงเป็นเรื่องที่คนไทยไม่อาจจะมองข้าม ถ้าถามผู้ใหญ่วัย 60 หลายๆ ท่านแล้ว ก็ได้คำตอบตรงกันว่า “อยู่บ้านมันว่างเกินไป อยากหาอะไรทำแก้เบื่อ” วันนี้ทางธนาคารออมสิน มี 7 อาชีพ สำหรับผู้สูงอายุในวัยเกษียณ มาแนะนำ

1. รับเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท

การที่อาบน้ำร้อนมาก่อนถือว่าได้เปรียบมาก เพราะถึงแม้คนหนุ่มสาวจะมีเรี่ยวแรงและมีไฟในการทำงานมากกว่า แต่ประสบการณ์ในด้านการทำงานและการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่มีทางที่จะมีเท่าผู้ใหญ่แน่นอน ดังนั้น บริษัทมักว่าจ้างพนักงานที่เกษียณอายุแล้วเป็นที่ปรึกษาให้กับรุ่นน้องในทีม เพื่อคอยชี้แนะแนวทางนั่นเอง

2. ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์

สำหรับผู้สูงอายุที่พอจะมีกำลังทรัพย์อยู่บ้าง อาจซื้อห้องแถว ห้องเช่า หรือคอนโดสักห้องไว้เพื่อปล่อยเช่าอีกทีก็เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ สมัยนี้ หากสามารถซื้อห้องในทำเลดีๆ ได้ อาจสามารถปล่อยเช่าได้ในราคาดีเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ย่านอโศกหรือทองหล่อ ถ้าเป็นห้องเช่าก็อาจจะเก็บค่าเช่าได้ถึงเดือนละ 9,000 – 10,000 บาท หรือถ้าเป็นห้องคอนโดก็อาจจะได้สูงถึงเดือนละ 13,000 – 15,000 บาทเลยทีเดียว รับเงินรายเดือนได้เลยสบายๆ แต่ย่านเหล่านี้ก็ค่อนข้างราคาสูงอยู่เหมือนกัน หากใครที่ไม่ได้มีงบประมาณสูงมาก อาจมองหาทำเลที่อยู่ชานเมืองหน่อย แต่ก็ยังสามารถเดินทางได้สะดวก เช่น ย่านบางนา วงเวียนใหญ่ พญาไท ราชเทวี เป็นต้น

3. ทำอาหาร/ขนมขาย

ผู้สูงอายุบางท่านที่ชื่นชอบการทำอาหาร อาจรับทำอาหารกล่องส่งตามบ้านใกล้เคียง หรือสำนักงานใกล้เคียงก็ได้ ส่วนใครที่ถนัดทำขนมหวานมากกว่า อาจลองทำขนมตั้งขายที่หน้าบ้าน ตลาดแถวบ้าน หรือติดต่อร้านเบเกอรี่แถวบ้านก็ได้ เผื่อว่าจะสามารถขยับขยายเป็นการทำขนมส่งประจำร้านนั้นๆ ไปเลย

4. เพาะต้นไม้จำหน่าย

การเพาะปลูกต้นไม้ถือเป็นงานอดิเรกยอดฮิตอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุเลยก็ว่าได้ เพราะผู้สูงอายุหลายๆ คนมือเย็น และใจเย็นในการดูแลถะนุถนอมต้นไม้ตั้งแต่เล็กๆ ให้เติบใหญ่ แม้อาชีพนี้อาจไม่ได้ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย เพราะผู้สูงอายุเองจะได้ใช้เวลาอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ แถมได้ออกแรงบ้างเล็กน้อย ก็จะช่วยทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้นได้ แถมยังเป็นกิจกรรมที่ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

5. ลงทุนในหุ้นปันผล/สลากออมสิน

แม้ว่าวัยเกษียณอาจไม่เหมาะกับการเล่นหุ้นเท่าไหร่นักในความคิดของหลายๆ คน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่หากผู้สูงอายุที่ลองศึกษาและเลือกหุ้นที่ดีเป็นบริษัทที่ให้ผลที่น่าพอใจและมีความมั่นคงในการประกอบธุรกิจก็สามารถเป็นรายได้อีกทางหนึ่งได้สบาย หรือหากใครที่มีเงินเย็นแต่ไม่ชอบความเสี่ยงสูงๆ อาจลองซื้อสลากออมสินเป็นอีกทางเลือกก็ได้ ไม่ต้องเสี่ยงมากแถมสร้างความตื่นเต้น ได้ลุ้นรางวัลทุกเดือนอีกด้วย

6. ทำงานประดิษฐ์/งานฝีมือขาย

สมัยที่ยังทำงาน บางคนอาจทำงานประดิษฐ์เป็นงานอดิเรกยามว่าง แต่เมื่อเกษียณอายุและมีเวลาว่างเหลือเฟือ น่าจะดีถ้าลองหยิบจับทักษะงานฝีมือของตนเองมาทำเงินดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นงานเย็บ ปัก ถัก ร้อย ต่างๆ อาจให้ลูกหลานช่วยเรื่องการโฆษณาหรือค้าขายให้แทนก็ได้ เดี๋ยวนี้ขายของออนไลน์ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสเท่านั้น เรื่องรับเงินก็รับได้ง่ายดายเช่นกัน

7. ทำธุรกิจตู้หยอดเหรียญ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็เห็นตู้หยอดเหรียญเต็มไปหมด ไม่ว่าจะตู้กดน้ำ ตู้ซักผ้า ตู้เติมเงิน หรือตู้เติมน้ำมัน ด้วยความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งาน ธุรกิจนี้จึงเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนไม่ใช่น้อย และถ้ามองดีๆ ธุรกิจนี้ก็เป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากไม่มีภาระให้ต้องคอยดูแลมากนัก จะมีก็เพียงค่าดูแลรักษาตู้ และคอยเก็บเหรียญที่หยอดเท่านั้นเอง

แม้จะเกษียณจากการทำงานมาอยู่บ้านแล้ว ก็ใช่ว่าชีวิตจะต้องน่าเบื่อเสมอไป ถึงสภาพแวดล้อมจะต่างจากตอนที่ต้องเดินทางเป็นชั่วโมง ฝ่ารถติด ฝ่าฝูงคนเพื่อไปนั่งทำนางในออฟฟิศ แต่การได้นำงานอดิเรกที่ชอบมาทำจนก่อเกิดรายได้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายเหมือนกัน ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้รับค่าตอบแทน แถมไม่เหงาด้วย.

ที่มา : GSB ธนาคารออมสิน

]]>
1249399
ประเทศไทยกับสังคมผู้สูงอายุ https://positioningmag.com/1189434 Tue, 25 Sep 2018 10:00:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1189434 เรื่อง : อิษณาติ วุฒิธนากุล

หลายท่านคงทราบกันดีนะครับว่าในอีกราวๆ เพียงยี่สิบปีต่อจากนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยในปี 2040 กว่า 1 ใน 4 ของประชากรในประเทศไทยจะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป สวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราการเกิด 6 คนต่อผู้หญิงหนึ่งคนในปี 1960 มาอยู่ที่ราวๆ 1.5 ในปัจจุบัน และยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้น อัตราการเกิดไม่ถึง 2 แปลได้ตรงตัวนะครับ ว่าประชากรของไทยจะหดตัวลงในอนาคตอันใกล้นี้ หากมองอย่างผิวเผินหรือไม่ได้คิดถึงปัญหานี้อย่างจริงจัง เราคงไม่ได้รู้สึกอะไรกันมากกับคำว่าสังคมสูงอายุ ก็ถ้าแก่ตัวก็ดูแลกันไปเหมือนที่ผ่านมาๆ แต่หากมองลึกลงไปเราจะพบว่าปัญหาที่ประเทศหรือกระทั่งตัวเราเองกำลังเผชิญ ณ ตอนที่ไทยเราก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในขณะที่อัตราการเกิดลดต่ำลงนั้น เป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่สามารถตัดสินได้ว่าประเทศเราจะรุ่งเรืองหรือถดถอยเลยทีเดียว

จริงๆ แล้วประเด็นนี้ได้ถูกหลายสำนัก หลายองค์กรพูดถึงและถกเถียงกันมาสักระยะหนึ่งแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจากปัจจัยเรื่องธุรกิจและผลกำไรในอนาคต ภาคเอกชนดูเหมือนจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ปรับตัวและกระตือรือร้นในการคิดค้นธุรกิจใหม่ๆ เพื่อมารองรับผู้บริโภคสูงวัยในอนาคตอย่างชัดเจนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผมยังไม่เห็นนโยบายหรือความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ซึ่งจุดตรงนี้แหละครับที่ทำให้ผมอดกังวลไม่ได้

อย่างที่เรารู้กันนะครับครับว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นของคู่กายกับผู้สูงวัย ไม่เพียงตัวเราเองที่จะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น ในมุมของประเทศ ประเทศเราเองก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามจำนวนของประชากรสูงวัยที่มีจำนวนมากขึ้นเช่นกัน คำถามคือเมื่อประเทศเรากลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ประเทศเราจะมีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าดูแลผู้สูงวัยไหวหรือไม่?

จริงๆ แล้วนะครับเราแทบยังไม่ต้องคิดถึงในอนาคตอีกยี่สิบปีข้างหน้า แค่ทุกวันนี้ข่าวที่ว่าโรงพยาบาลได้รับเงินอุดหนุนไม่พอ เตียงคนไข้ไม่พอ บุคลากรทางการแพทย์ไม่พอ กระทั่งว่ายารักษาโรคไม่พอปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นนิจ การให้นักร้องชื่อดังมาวิ่งขอเงินบริจาค หรือการปรับเงินแพทย์ฝึกหัดเพิ่มขึ้นหากออกก่อนกำหนด ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาระยะยาว หากเรายังจัดการกับปัญหาตอนนี้ ในตอนที่จำนวนผู้สูงอายุเกิน 65 ปีมีราวๆ 11% ไม่ได้ ลองคิดเล่นๆ กันดูมั้ยครับว่า ในวันที่ประชากรสูงวัยมีจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ของประชากรไทยทั้งหมด ณ ตอนนั้นจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศ หรือกระทั่งตัวของเรา?

แน่นอนครับวิธีแก้ปัญหาที่ดูเหมือนจะง่ายที่สุดคือการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบสาธารณสุขของประเทศ หากมีเงินจะสร้างโรงพยาบาล ซื้อยา หรือจ้างบุคลากรดูแลผู้สูงวัยเพิ่มก็คงไม่ใช่เรื่องยาก โดยถ้าอ้างอิงข้อมูลจาก World Bank จะพบว่าประเทศเรามีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายกับระบบสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 3.19% ในปี 2000 มาเป็น 3.77% ของจีดีพีในปี 2015 แต่ก็ยังเทียบไม่ได้กับ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศที่ใช้จ่ายกับด้านสุขภาพเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ขึ้นไป

จริงอยู่ครับว่าการเพิ่มงบตรงนี้อาจสามารถช่วยแก้ปัญหาบางส่วนได้ แต่อย่าลืมนะครับว่าประเทศเราไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย ถ้าคิดง่ายๆ ก็คือ งบที่ประเทศเรามีมันคือเงินก้อนเดียว หากจะเพิ่มงบประมาณด้านสุขภาพก็แปลว่าต้องดึงงบจากส่วนอื่นมา ถ้าไม่อยากดึงงบประมาณจากส่วนอื่นมาก็แปลว่ารัฐบาลต้องมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งหนึ่งรายได้หลักของรัฐบาลก็คือเงินภาษีที่เราทุกคนจ่ายอยู่ทุกๆ ปี

หากรัฐไม่มีนโยบายหรือเทคโนโลยีที่สามารถปฏิรูปให้ระบบสาธาณสุขของไทยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นกับเงินเท่าเดิม การมีรายได้มากขึ้นจะกลายมาเป็นหนทางเดียวที่รัฐบาลต้องทำเพื่อสู้กับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ความเป็นไปได้คือภาษีต่างๆ ที่รัฐบาลเรียกเก็บรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ตรงนี้แหละครับที่จะทำให้เราเห็นถึงปัญหาจากสังคมผู้สูงวัยกับอัตราเกิดที่ลดลงเพิ่มขึ้นอีก ปัจจุบันไทยเรามีประชากรวัยทำงานที่จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลอยู่ที่ราว 38 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 60% ของประชากรทั้งประเทศ อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนเกิดที่ลดลงและจำนวนผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น ในปี 2040 เราจะมีประชาวัยทำงานเหลืออยู่เพียงราว 29 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นราวๆ สี่สิบกว่าเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น

หมายความว่าในอนาคตคนวัยทำงานเพียง 40% จะต้องแบกค่าใช้จ่ายของคนอื่นๆทั้งประเทศ และเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่รู้จะมากกว่าปัจจุบันอีกกี่เท่าตัว อันเนื่องมาจากรายจ่ายด้านสุขภาพจำนวนมหาศาลที่จะมาพร้อมกับจำนวนผู้สูงอายุกว่า 17 ล้านคน ความกดดัน ความไม่พอใจ และความเครียดนี้ไม่เพียงจะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานที่ต้องแบกรับภาระด้านภาษีและรายจ่ายที่ต้องดูแลผู้สูงวัยของครอบครัวและประเทศเท่านั้น แต่ยังจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่จะรู้สึกและอาจมองว่าตัวเองเป็นภาระให้กับลูกหลานและประเทศ หากวันหนึ่งเรากลายเป็นคนแก่ที่ไม่มีงานทำ เจ็บป่วย และยังรู้สึกว่าตัวเองเป็นตัวถ่วงให้กับคนในครอบครัว เราจะทำอย่างไร? ทางออกที่เราจะเลือกให้กับครอบครัว ให้กับชีวิตตัวเองคืออะไร? ในอีกมุมหนึ่งหากเราเป็นคนวัยทำงานที่รายรับแทบไม่พอกับรายจ่าย ไม่เพียงต้องคอยปฐมพยาบาลแต่ยังต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าเลี้ยงดูให้กับผู้สูงวัยในครอบครัว เราจะทำอย่างไร? ยิ่งหากเรามีลูกของตัวเองที่ต้องดูและต้องส่งเสีย เราจะทำเช่นไร? เพราะฉะนั้นนะครับ ไม่เพียงปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ปัญหาทางสังคมและจิตใจก็จะเกิดตามมาเช่นกัน

มีการถกเถียงถึงแม้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า ในอดีตสมัยเอโดะของญี่ปุ่นยุคหนึ่งได้เกิดภัยแล้งขึ้น ครอบครัวยากจนที่ไม่มีความสามารถดูแลผู้สูงอายุได้แบกผู้สูงวัยของครอบครัวตัวเองไปทิ้งบนภูเขา (Ubasute) จริงๆ แล้วนะครับตำนานในลักษณะนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นแต่ในญี่ปุ่น หลากหลายวัฒนธรรมในอดีตเช่นไอนุที่มีการทิ้งคนแก่ไว้ท่ามกลางน้ำแข็ง หรือสวีเดนที่ให้คนแก่กระโดดหรือถูกโยนลงจากหน้าผา (Attestupa) ก็มีตำนานในลักษณะนี้ไม่ต่างกัน จนทำให้เกิดศัพท์คำว่า “senicide” ขึ้นในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า การทอดทิ้งผู้สูงวัยให้ตาย การฆ่าตัวตาย หรือการสังหารผู้สูงอายุ ถึงแม้ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันที่ชัดเจนว่าเรื่องเล่านี้เคยเกิดขึ้นจริง แต่ตำนานเหล่านี้ก็ชี้ให้เห็นถึงความกดดันของสังคมที่ต้องเลือกระหว่างการเอาตัวรอดกับความถูกต้องและศีลธรรมได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมเชื่อว่าการกระทำในลักษณะ “senicide” จะไม่เกิดขึ้นกับประเทศของเรา หรือประเทศใดๆ ในโลกยุคปัจจุบัน สิ่งที่ใกล้เคียงที่จะเกิดขึ้นมากที่สุดคือการปล่อยคนแก่ไว้ที่บ้านตามมีตามเกิด หรือทิ้งผู้สูงวัยตามโรงพยาบาลหรือสถานสงเคราะห์ต่างๆ ซึ่งการกระทำในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น และผมคงไม่แปลกใจหากวันหนึ่งจะเกิดการกระทำลักษณะนี้ในประเทศไทยของเราในอนาคตหากยังไม่มีระบบ Social Safety Net สำหรับผู้สูงวัยที่ดีกว่านี้

อย่างที่เรียนไปเบื้องต้นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่รัฐบาลจะเพิ่มภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ให้มารองรับกับค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงวัยในอนาคต อย่างไรก็ตาม การขึ้นภาษีต่อประชาชนคงไม่ใช่สิ่งที่รัฐบาลอยากทำ เพราะหากมีรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งต้องการขึ้นภาษีรัฐบาลนั้นคงหมดความนิยมกับคนหมู่มากอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลายๆ รัฐบาลกระทั่งรัฐบาลที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งเสียงโหวตอย่างรัฐบาลปัจจุบันมักจะออกนโยบายประชานิยมแทนที่จะออกนโยบายที่ดีกับสังคมและประเทศชาติในอนาคตมากกว่าอยู่เสมอ แต่หากจะไม่ขึ้นภาษีไม่ว่าภาษีรูปแบบใดๆ ก็ตาม วิธีเดียวที่รัฐบาลจะทำได้คือการกู้ยืมเงินเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในอนาคต ซึ่งหากรัฐบาลกู้ยืมก็จะทำให้ประเทศมีหนี้สินเพิ่มขึ้น และย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน

หากให้สรุปอย่างสั้นๆ คือ ในอนาคตประเทศเราจะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในทางกลับกันจำนวนประชากรที่สามารถทำงานและสร้างรายได้จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนอกเหนือจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจแล้ว ปัญหาทางด้านสังคมก็จะตามมาเป็นเงาตามตัว อย่างไรก็ตาม การแก้ไขหรือการปฏิรูปต่างๆ ที่ควรจะเริ่มทำตั้งแต่วันนี้จะเกิดขึ้นได้ยากเพราะรัฐบาลทั่วไปคงไม่อยากทำโครงการใดๆ ที่เสี่ยงกับการสูญเสียเสียงโหวตให้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอีกยี่สิบปีข้างหน้าโดยที่ไม่มีอะไรการันตีว่าตัวเองจะได้เป็นรัฐบาลในอนาคตตอนนั้นมั้ย

จริงๆ แล้วผมอยากเขียนถึงสิ่งที่ประเทศเราสามารถทำได้ต่อ แต่พึ่งเห็นว่าตัวเองเขียนมาราวสามหน้าแล้ว ควรจะหยุดก่อนที่ทุกท่านจะเบื่อ ^^” ผู้อ่านทุกท่านล่ะครับ คิดว่าสิ่งใดที่ประเทศเราสามารถทำได้? ทางออกหรือนโยบายใดที่จะทำให้ไทยเราสามารถกลายมาเป็นประเทศผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จทั้งทางด้านเศษฐกิจและสังคมได้บ้างครับ?

ที่มา :

]]>
1189434
ผ่าเทรนด์ Aging Society แก่เก๋า! พร้อมสูตร (ไม่) ลับ “AWUSO” กลยุทธ์ซื้อใจรุ่นเดอะ https://positioningmag.com/1169474 Fri, 11 May 2018 00:08:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169474 แม้ว่าในการทำกลยุทธ์การตลาด นักการตลาดพยายามที่จะทำความเข้าใจความต้องการผู้บริโภคเชิงลึก (Insight) ให้ได้หลากกลุ่ม หลายเซ็กเมนต์เพื่อเกณฑ์ยอดขายให้ได้มาก แต่สิ่งที่เป็นเทรนด์คือสิ่งที่พลาดไม่ได้ที่จะต้องจับให้ได้ไล่ให้ทัน 

และหนึ่งในเทรนด์ของลักษณะประชากรศาสตร์กลุ่มเป้าหมายที่ทั่วโลก กำลังเผชิญนอกจากอัตราการเกิดน้อยลง ยังต้องรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Soceity) ที่มีรุ่นใหญ่วัยเก๋า 60 ปีมากขึ้น จากรายงานของสหประชาชาติ (UN) จะพบว่า ประเทศที่มีผู้สูงอายุมากสุดในโลก ยกให้เพื่อนบ้านญี่ปุ่นตามด้วยอิตาลี กรีซ เยอรมัน เป็นต้น 

แนวโน้มผู้สูงอายุทั่วโลก

กลับมามองประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2543 และปี 2557 สัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 15% ส่วน 2 ปีข้างหน้า UN คาดว่าวัยเก๋าในไทยจะเพิ่มเป็น 20% เรียกว่าถ้าเห็นคนเดินมา 5 คน 1 ในนั้นจะเป็นคนสูงอายุแน่ๆ นับเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลย ยิ่งถ้ามองกำลังซื้อรุ่นใหญ่ต้องบอกเลยว่าไม่ธรรมดา เพราะคนเหล่านี้จะมีเงินเก็บสำหรับใช้จ่ายช่วงบั้นปลายชีวิต ดังนั้นนักการตลาดไม่ควรมองข้ามเทรนด์สูงวัยเป็นอันขาด

แต่จะทำตลาดให้โดนใจกลุ่มนี้ ต้องทำความรู้จักวัยเก๋าเสียก่อน นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาดรุ่น 19B วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้วิจัยการตลาด “AWUSO Society 4.0 แก่แต่วัย หัวใจยังเก๋าด้วยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 50-85 ปี จำนวนกว่า 615 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก 50 คน Focused-group 20 คน พบว่า 90% ของกลุ่มตัวอย่างมีอายุใจที่ต่ำกว่าอายุจริง สะท้อนให้เห็นภาพ Young at Heart แก่แต่อายุใจไม่แก่นะ ส่วน 8% คิดว่าอายุจริงและอายุใจเท่ากัน และมีเพียงแค่ 2% เท่านั้นที่มองว่าตนเองมีอายุใจมากกว่าอายุจริง

+++ ส่องแนวกินเที่ยวรุ่นใหญ่

งานวิจัยยังศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของผู้สูงอายุใน 2 ประเด็น คือ การรับประทานอาหารนอกบ้าน และการท่องเที่ยว พบว่า 53% จะชอบกินข้าวนอกบ้าน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ 33% กินข้าวนอกบ้าน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ 7% ชอบกินข้าวนอกบ้าน 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ และอีก 7% กินข้าวนอกบ้านมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนใหญ่จะออกไปทานกับครอบครัว 74% และไปกับเพื่อน 20% 

ส่วนเหตุผลในการเลือกร้านอาหารรสชาติอร่อยมาเป็นอันดับแรก 55% ตามด้วยเรื่องของคุณค่าอาหาร เพราะสูงวัยแล้วต้องเลือกกิน ที่เหลือเป็นเรื่องของความสะดวกต่อการเดินทาง บรรยากาศร้าน ราคาถูก ส่วนลดและโปรโมชั่น 

ถ้านักการตลาดต้องการขายอาหารให้คนกลุ่มนี้ นอกจากรสชาติดี บรรยากาศใช่เลยแล้วเมนูที่มีตัวอักษรโตๆ อ่านง่ายสำคัญมาก เพราะผลสำรวจ 50% ต้องการเรื่องนี้ ที่เหลือเป็นเรื่องของป้ายในร้านขนาดใหญ่ ทางเดินสำปรับผู้สูงอายุ มีพนักงานดูแล และต้องมีบริการรถเข็นหรือไม้เท้า เอื้อให้การเดินเหินสะดวก

ส่วนลักษณะการท่องเที่ยวพบว่า ชอบเที่ยวด้วยตนเองแบบกลุ่ม 73% เที่ยวเองเดี่ยวๆ 21% และซื้อทัวร์ 6% โดยจำนวนครั้งในการเที่ยว 2-3 ครั้งต่อปี มีมากสุด 54% ที่เหลือ 46% มีตั้งแต่เที่ยว 1 ครั้งต่อปี ไปจนถึง 4-5 ครั้ง และมากกว่า 5 ครั้งต่อปี ด้านการเดินทางเลือกใช้รถยนต์ส่วนตัว 50% เพราะมีอิสระอยากแวะไหนก็ได้ ตามด้วยเครื่องบิน 25% เพราะรวดเร็วในการเดินทาง ไม่ต้องเสียเวลานั่งนานๆ ที่เหลือเป็นรถโดยสารสาธารณะ เพราะได้พักผ่อน สนุกสนานกับการเดินทาง ทางเลือกสุดท้ายคือเรือ จักรยาน รถไฟ 10% 

เหตุผลของคนวัยเก๋าที่ออกเดินทางท่องเที่ยว เพราะเป็นการพักผ่อน 71% สนุกสนาน 13% ทำบุญ 11% อื่นๆ 5% และถ้ามาดูปัจจัยภายในให้คนสูงวัยไปเที่ยวเพราะสนุก มีความสุขที่ได้ทำกิจกรรมนอกบ้าน 36% เจอสภาพแวดล้อมแปลกใหม่ไปในที่ไม่เคยไป 23% เติมต็มความฝัน ให้รางวัลตัวเอง 17% เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกมาจากการได้สัมผัสธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ 41% กินอาหารขึ้นชื่อตามที่ต่างๆ 26% พบเจอวัฒนธรรมใหม่ๆ 23% เป็นต้น 

จะออกไปเที่ยวทั้งที ทำการบ้านหาข้อมูลสำคัญมาก เพื่อจะได้ตระเตรียมตัวให้พร้อม และวัยนี้ยังคงเลือกช่องทางออฟไลน์ 65% ทั้งถามเพื่อน ดูทีวี ถามคนในครอบครัวเป็นหลัก อีก 35% ใช้ออนไลน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก ไลน์ 

รู้แล้วว่าคนอายุมากชอบเที่ยวแบบไหน สิ่งที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวต้องตระหนักในการให้บริการคือความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องน้ำห้องท่า รถเข็น ราวจับต่างๆ ต้องมี เพราะคนวัยนี้ไม่ได้เดินเหินกระฉับกระเฉงเหมือนวัยหนุ่มสาว และถ้าเกิดอุบัติเหตุก็ใช้เวลานานกว่าจะฟื้นฟูได้ ดังนั้นป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้ทีหลัง 

+++ เก๋าหลากสไตล์

นอกจากนี้ ผลของการสัมภาษณ์เชิงลึก และทำ Focus-grpup ยังพบว่าไลฟ์สไตล์ของวัยเก๋ามีพฤติกรรมต่างๆ แบ่งออกป็น 5 สไตล์ ดังนี้ 

1. วัยเก๋าสายชิลล์ มีสัดส่วนมากสุด 42% ไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุกลุ่มนี้ ชอบพักผ่อนจริงจัง เน้นความสบาย ธรรมชาติ ไม่เน้นกิจกรรมหนักๆ ส่วนอาหารชอบร้านสบายๆ ร้านประจำ และราคาปานกลาง 

2. วัยเก๋าสายบุญ 18% คนกลุ่มนี้มีไลฟ์สไตล์มองหาสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จะได้ปราศจากทุกข์ จึงเชื่อในเรื่องการทำความดี ละเว้นความชั่ว เชื่อในการทำบุญ เพราะดีต่อชีวิตตัวเองในชาตินี้ และชาติหน้าจะเกิดมามีชีวิตที่ดีกว่านี้ ส่วนอาหารก็เน้นไปทางสุขภาพ

3. วัยเก๋าสายลุย 16% สะท้อนว่าอายุเป็นเพียงตัวเลข! ไลฟ์สไตล์สายนี้ชอบกิจกรรมท้าทาย เดินป่า ปีนเขา ไม่ห่วงเรื่องความสะดวกสบาย ค่ำไหนนอนนั่น แต่ขอให้ปลอดภัย ส่วนอาหารการกินต้องร้านใหม่ ร้านเด็ดริมทาง เป็นต้น 

4. วัยเก๋าสายสังสรรค์ 14% รุ่นนี้บอกว่าไม่ปิดกั้นการเข้าสังคมใหม่ๆ เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย เพราะอยู่บ้านนานๆ เหงาๆ จึงต้องออกไปทำกิจกรรมร่วมกันกับเพื่อนๆ เช่น เต้น ร้องคาราโอเกะ และออกกำลังกาย เป็นต้น

สายสังสรรค์ยังเปิดรับข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอผ่านสื่อ Social Media เรียกได้ว่า เป็นคนที่ทันโลก ทันเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา ส่วนร้านอาหารที่เข้าจะเป็น Café & Bistro เป็นร้านที่ให้ความสนุกสนาน มีดนตรี สามารถเต้นได้ เป็นต้น

5. วัยเก๋าสายเปย์ 10% พฤติกรรมการใช้ชีวิตวัยเก๋าสายนี้ยอมจ่าย เพื่อแลกกับความสะดวกสบายให้กับชีวิต แต่จะใส่ใจรายละเอียดของข้อมูลอยู่เสมอ ข้อมูลที่ได้รับต้องมีความน่าเชื่อถือก่อน จึงจะเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ และถ้าสายนี้เที่ยวเมื่อไหร่เปย์ไม่อั้น เช่น ไปเที่ยวเกาะพีพี .ภูเก็ต ชอบดำน้ำ ตีกอล์ฟ และชื่นชอบการเดินห้างสรรพสินค้าอีกด้วย เปย์หนักขนาดนี้ เรื่องกินจึงต้องเป็นร้านหรู (Fine Dining) 

+++ AWUSO แทคติกชนะใจวัยเก๋า

เห็น 5 ไลฟ์สไตล์รุ่นเดอะแล้ว ถ้าอยากทำตลาดให้ได้ใจคนกลุ่มนี้ กลยุทธ์ “AWUSO” ช่วยได้ ดังนี้ 

A:Attraction

อย่าลืมว่าพอผู้คนอายุมากขึ้น สายตาฝ้าฟาง การใช้ภาพ ตัวอักษรต่างๆ ต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้สะดุดตากลุ่มเป้าหมาย และขาดไม่ได้คือให้ข้อมูลสินค้าและบริการครบถ้วนกระบวนความ มีคุณสมบัติและประโยชน์บอกให้ครบ เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ จุดขาย (POS) ได้ง่ายขึ้น

W:Word of mouth

เมื่ออายุมาก การตัดสินใจทำอะไร สิทธิ์ขาดไมไ่ด้อยู่แค่ตัวเอง แต่ลูกหลาน ญาติ มิตร ล้วนมีอิทธิพลทั้งสิ้น นอกจากโฟกัสการทำตลาดไปยังตัวผู้บริโภคโดยตรง นักการตลาดต้องไม่ลืมคนรอบข้างที่ใกล้ชิดกับวัยเก๋า เพราะคนเหล่านั้นป็นพลังบอกต่อได้ดี

U:Union

วัยเก๋ามักอยู่กับเพื่อนฝูง เพราะทำให้จิตใจเบิกบานและมีความสุข ถ้าสื่อสารถึงตัวลูกค้าโดยตรง ก็ต้องเติมเนื้อหาเพื่อสื่อสารไปยังเพื่อนของเขาด้วย เพราะเมื่อพบปะกันอาจมีการเอ่ยถึงแบรนด์สินค้าและบริการนั้นๆ ได้ 

S:Sincere

ความจริงใจสำคัญกับลูกค้าทุกกลุ่ม ไม่แค่ผู้สูงวัยเท่านั้น เพราะการทำสินค้าและบริการจับกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ต้องสื่อสารให้ชัด ตรงประเด็น ไม่หมกเม็ด หลอกลวงผู้บริโภคเป็นอันขาด 

O:Offline & Online

ด้าน Offline แม้โลกออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตและโลกธุรกิจมากขึ้น แต่ผู้สูงอายุยังคงชินกับการเสพสื่อออฟไลน์ ทั้งทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ ดังนั้นต้องเลือกใช้ช่องทางส่งสารให้ถูกต้อง ขณะเดียวกันควรผสานออนไลน์ด้วย เพราะมีส่วนหนึ่งที่เปิดใจเรียนรู้และรับเทคโนโลยี LINE Facebook Fanpage  

++ กรณีศึกษากลยุทธ์การตลาดชนะใจวัยเก๋า

ชฎารัตน์ ภู่วิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทัวร์ฟ้าใส จำกัด ที่ทำทัวร์จับลูกค้าวัยเก๋า เกิดจากประสบการณ์จริงเมื่อพาพ่อแม่ไปเที่ยว และพบว่าคนสูงวัยเที่ยวต่างไปจากวัยรุ่น ทั้ง จุดนัดหมาย กิจกรรมที่ทำ อาหารที่ทาน ความปลอดภัย ที่ล้วนเป็น pain point ของวัยเดอะ เมื่อทำทัวร์จริงพบว่าวัยนี้เดินทางเมื่อไหร่ห้องน้ำคือจุดแวะบ่อยมากทุกๆ 1 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนกิจกรรมที่ทำก็ไม่ธรรมดา เพราะโปรแกรมทัวร์สุดฮิตต้อง “Adventure” อะไรที่ท้าทาย ตื่นเต้น เป็นอันเต็มอย่างไว อย่าคิดว่าจัดทัวร์ทำบุญไหว้พระ หรือตามรอยออเจ้าจะบูม กลับกันกลายเป็นขายช้าสุดๆ  

การเลือกวันสำคัญ แหล่งท่องเที่ยวถ้าวันหยุด คนล้นหลาม ทัวร์ฟ้าใส เลี่ยงการท่องเที่ยวแข่งเดือด (red ocean) จัดกรุ๊ปเล็ก 15-16 คน และไปวันธรรมดาจันทร์ศุกร์ เพื่อไม่ต้องแย่งกินแย่งเที่ยว และก่อนจัดโปรแกรมต้องเซอร์เวย์สถานที่ เพราะถ้าเจอโรงแรมสูงต้องเดินขึ้น จะได้เตรียมเจ้าหน้าที่ให้พร้อม

เมื่อไหร่จัดทีลอซู หลีเป๊ะ เต็มเร็วมาก เพราะวัยนี้ชอบธรรมชาติมาก วัดหน่อย ช้อปปิ้งเยอะๆ และต้องมีสถานที่ให้เซลฟี่เพื่อนำไปใช้เป็นคำสวัสดีทักทายเพื่อนพ้องลูกหลานตอนเช้า รวมถึงโชว์บนโซเชียลมีเดียด้วย ส่วนที่ยังเป็น pain point ของผู้สูงวัยคือห้องน้ำเมืองไทยยังเป็นนั่งยองทั้งที่ควรเป็นชักโครก และสถานที่ท่องเที่ยว สวยแค่ไหน ถ้าจอดรถไกล ก็ไม่ไป

ทิพาภรณ์ ประสมทรัพย์ Vice President บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เล่าว่า ฐานลูกค้าหลักของท็อปส์กลุ่มใหญ่สุดคือ อายุ 40 ปีขึ้นไป สัดส่วน 35-40% ตามด้วยอายุ 25-40 ปี ต่ำกว่า 25 ปี 15% ส่วนวัยเก๋าอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีสัดส่วนราว 600,000 คนต่อปี หรือราว 15% และทำยอดขายให้ร้านท็อปส์ราว 20% คิดเป็นมูลค่า 6,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่ามีกำลังซื้อสูงมาก ดังนั้นท็อปส์จึงต้องเติมสินค้าที่เหมาะกับวัยมาขายมากขึ้น ทั้งสินค้าสุขภาพ ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย อ่อนเค็ม สินค้าต่อต้านความชรา (Aging) ต่างๆ ในปีก่อน 700 รายการ (sku) ปัจจุบันสินค้าจับกลุ่มเป้าหมายนี้มี 4,000 รายการ จากร้านท็อปส์มีสินค้าราว 20,000 รายการ

คนสูงอายุมีการใช้จ่ายต่อเดือนราว 10,000 บาท บางคนมาช้อปปิ้งบ่อยมากเดือนละครั้ง ที่สาขาลาดพร้าวมีลูกค้าอายุ 90 ปี มาเดินซื้อของทุกวัน และบอกเราว่าเรามีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง เพราะใช้รถเข็นสินค้าช่วยประคองการเดินซึ่งกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการช้อปปิ้งได้ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ดังกล่าว แบรนด์ไม่ควรมองข้าม

ด้านการสื่อสารการตลาด แจกคูปองต่างๆ ท็อปส์ต้องการนำเสนอเป็นอีคูปอง แต่เสียงเรียกร้องวัยเก๋ายังขอกระดาษเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือตัวอักษรใหญ่ๆ ดังนั้นทางร้านจึงทำป้ายรายการแนะนำสินค้าให้เด่นชัดเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า

ออร่า จิตรลดา Business Director บริษัท มีเดียคอม จำกัด (Group M) เมื่อเทรนด์ของผู้บริโภคเปลี่ยน ลักษณะของประชากรศาสตร์สูงวัยมีอิทธิพลต่อตลาดไม่น้อย การสื่อสารจึงต้องปรับ เห็นเก๋าๆ ชอบดูสื่อรับรู้ข่าวสารออฟไลน์ทีวี วิทยุ แต่ตอนนี้ก็ลดลงเรื่อย เพราะเริ่มเสพสื่อออนไลน์มากขึ้นแม้จะเป็นวัยกระเตาะในเรื่องเทคโนโลยีก็ตาม ส่วน Message ที่จะสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ ไม่ต่างจากทุกเพศทุกวัย แบรนด์จะต้องหาเซ็กเมนต์ของผู้บริโภค อยู่ในกรุงเทพฯ หรือภูธร ระดับรายได้ ความสนใจ ควานหา Insight ทุกจุดให้เจอก่อนนำเสนอคอนเทนต์ถึงกลุ่มเป้าหมาย    

เราต้องดู Demographic เพศ อายุ เป็นบรรทัดฐานแรก แต่ถ้า้รารู้ Behavior ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย จะทำให้คุยกับเขาได้ตรงจุดมากขึ้น เพราะทุกวันนี้คนมีความสนใจสิ่งต่างๆ ลดลง อย่างคนไทยใช้เฟซบุ๊กจำนวนมาก ในการเลื่อนหน้าจอเพื่อดูคอนเทนต์ต่างๆ มากเท่ากับความสูงของตึกเอ็มไพร์สเตท ดังนั้นถ้าคอนเทนต์ไม่น่าสนใจเหมาะกับวัย สื่อสารไปก็ไม่มีประสิทธิภาพ” 

ที่ผ่านมา การดึง Insight มาทำตลาดคือ คนสูงวัยอายที่จะให้คนรู้ว่าใช้ฟันปลอม การทำให้ผู้บริโภคใช้ครีมติดฟันปลอมยิ่งยากไปใหญ่ เพราะผู้บริโภคไม่เผยความต้องการให้รู้ แต่เมื่อพบคนกลุ่มนี้กังวลการหัวเราะแรง ร้องเพลง เพราะกลัวฟันปลอมหลุด แบรนด์จึงใช้กิจกรรมการตลาดการร้องเล่นเต้นรำ สร้าง Awareness ให้รู้จักสินค้า ทำให้ยอดขายที่ไม่เคยโต สามารถโตได้

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดจับลูกค้าคนสูงวัยวันนี้สำคัญมาก และนักการตลาดทั้ง 3 เห็นพ้องกันคือความจริงใจ ซื่อสัตย์ ต่อผู้บริโภค สินค้าเอื้อประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต ช่วยให้ขายสินค้ากับลูกค้าและลูกหลานคนสูงวัยได้.

]]>
1169474