สังคมไร้เงินสด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 02 Mar 2022 09:18:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 COVID-19 ติดสปีดไทยเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” Visa เร่งการใช้งานในระบบขนส่ง-อีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1376071 Wed, 02 Mar 2022 08:54:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376071
  • Visa เปิดผลสำรวจคนไทยก้าวเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด” เร็วขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจาก COVID-19 คนไทยถึง 9 ใน 10 เคยทดลองใช้จ่ายแบบไร้เงินสดในชีวิตประจำวัน
  • ธุรกิจของ Visa ช่วงหลังเกิดโรคระบาดยอมรับว่า ‘เหนื่อย’ กว่าที่ผ่านมา เพราะการล็อกดาวน์จะลดการใช้ “เงินก้อนใหญ่” เช่น ทริปท่องเที่ยว
  • อย่างไรก็ตาม บริษัทได้เพิ่มจุดใช้งานร่วมกับขนส่งสาธารณะมากขึ้น ล่าสุดคือรถไฟฟ้า MRT และจัดโปรโมชันร่วมกับอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นช่องทางซื้อสินค้ามาแรงของคนไทย
  • “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการ วีซ่า (Visa) ประจำประเทศไทย เปิดเผยผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคเกี่ยวกับการชำระเงิน ประจำปี 2564 ซึ่งสำรวจในคนไทย 1,000 คน อายุ 18-65 ปี ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา โดยมีรายได้ขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

    • เกือบ 9 ใน 10 ของคนไทยเคยลองใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแบบไร้เงินสด
    • 6 ใน 10 ของคนไทยพกเงินสดน้อยลง เทียบกับปี 2562 อัตราอยู่ที่ 3.5 ใน 10 คนเท่านั้น
    • คนไทย 79% มั่นใจว่าสามารถใช้ชีวิตได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่ต้องพกเงินสด เทียบกับปี 2563 อยู่ที่ 68% เท่านั้น
    • คนไทย 87% รู้จักการใช้บัตรแบบคอนแทคเลส เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มี 74%
    สังคมไร้เงินสด Visa
    คนไทยกำลังเข้าสู่ “สังคมไร้เงินสด”

    สถิติที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่าเมืองไทยกำลังเข้าใกล้สังคมไร้เงินสดมากขึ้นเรื่อยๆ และเร็วขึ้นใน 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีการระบาดของโรค COVID-19 เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ วัดจากสถิติคนไทย 54% ให้เหตุผลที่ลดการใช้จ่ายด้วยเงินสดเพราะกังวลเรื่องการติดต่อของโรคระบาด

    สำหรับความคาดหวังของผู้บริโภคต่อธุรกรรมที่มองว่าควรจะมีระบบชำระแบบไร้เงินสด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1)ร้านสะดวกซื้อ 2)ชำระบิล 3)ซูเปอร์มาร์เก็ต 4)ขนส่งสาธารณะ และ 5)ร้านอาหาร-เครื่องดื่ม

    VISA สังคมไร้เงินสด

    สุริพงษ์กล่าวว่า ดัชนีชี้วัดความเป็นสังคมไร้เงินสดนั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องตัดเงินสดออกจากระบบทั้งหมด แต่วัดจากจุดชำระเงินทุกแห่งมี “ตัวเลือก” ให้เลือกชำระด้วยระบบไร้เงินสดได้ โดยมีสังคมที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย

     

    Visa รุกกลุ่มขนส่งสาธารณะ

    ขนส่งสาธารณะเป็นภาคธุรกิจอันดับที่ 4 ที่คนไทยคาดหวังว่าจะชำระเงินแบบไร้เงินสดได้ เมื่อมองภาพระดับสากลของ Visa เองก็มีการรุกเข้าไปเป็นระบบชำระเงินให้กับขนส่งสาธารณะประเทศต่างๆ ปัจจุบันมีโครงการขนส่งที่ใช้ Visa ชำระเงินแล้วมากกว่า 500 โครงการทั่วโลก

    ส่วนในประเทศไทย มีทั้งหมด 4 โครงการที่ Visa วางระบบแตะจ่ายแบบคอนแทคเลสแล้ว (สามารถใช้บัตรของค่ายอื่นที่มีคอนแทคเลสได้เช่นกัน) ได้แก่ รถประจำทาง ขสมก., ทางพิเศษ 5 สายในกรุงเทพฯ, ดอนเมืองโทลเวย์ และล่าสุด รถไฟฟ้า MRT (สายสีน้ำเงินและสีม่วง)

    การใช้รถไฟฟ้า MRT สามารถแตะบัตรเครดิตแบบคอนแทคเลสได้แล้ว (Photo: MRT)

    สุริพงษ์กล่าวว่า การขยายไปใช้ระบบคอนแทคเลสกับขนส่งสาธารณะมีส่วนสำคัญมากในการส่งเสริมสังคมไร้เงินสด และบริษัทต้องการสนับสนุนให้มีการใช้ได้ทั้งระบบขนส่งของกรุงเทพฯ และขยายไปยังต่างจังหวัดในอนาคต ขณะนี้มีการเจรจากับทุกบริษัทผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทุกสายในไทย นอกเหนือจาก MRT ที่มีการใช้งานแล้ว

    “การใช้คอนแทคเลสแตะจ่ายค่าเดินทางทำให้ผู้โดยสารสะดวกมาก และส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วย เพราะนักท่องเที่ยวต่างรู้จักและถือบัตร Visa โดยปัจจุบันเรามีผู้ถือบัตร 3,600 ล้านใบทั่วโลก การเดินทางจะลดขั้นตอนการซื้อตั๋ว สามารถแตะเข้าระบบได้เลย ทำให้นักท่องเที่ยวสะดวกมากขึ้น” สุริพงษ์กล่าว

     

    2 ปีโรคระบาด ‘เหนื่อย’ แต่เชื่อว่าปีนี้ปรับตัวดีขึ้น

    ด้านการดำเนินงานของ Visa ประเทศไทยในช่วง COVID-19 สุริพงษ์ยอมรับว่าค่อนข้างเหนื่อย เพราะมูลค่าการใช้จ่ายลดลง เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้จ่าย “เงินก้อนใหญ่” อย่างเคย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อไปทริปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงการปิดประเทศทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายน้อยมาก แต่เชื่อว่าปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากไทยเปิดระบบ Test & Go ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา และคนไทยน่าจะเริ่มกลับไปเที่ยวต่างประเทศกันเร็วๆ นี้

    “สุริพงษ์ ตันติยานนท์” ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย

    ส่วนการเติบโตของอีคอมเมิร์ซนั้น Visa ได้อานิสงส์ในส่วนนี้เช่นกัน เพราะเป็นช่องทางชำระเงินผ่านมาร์เก็ตเพลสต่างๆ และปีนี้จะยิ่งรุกหนักในตลาดอีคอมเมิร์ซ จะมีการจัดโปรโมชันมากขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้งาน

    นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าไปผลักดัน SMEs ที่ต้องการขยายตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการรับโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารจะทำให้ตลาดจำกัดอยู่ในไทย แต่ถ้าหากรับชำระด้วย Visa จะสามารถขายออนไลน์สู่ต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

     

    คนไทยสนใจ “คริปโต” แต่รัฐยังไม่สนับสนุน

    ด้านประเด็นเงินคริปโต จากการสำรวจข้างต้นมี คนไทย 69% ที่ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจการลงทุนในสกุลเงินคริปโต โดยส่วนใหญ่ที่ตอบว่าสนใจจะเป็นคนเจนวาย รองมาเป็นเจนซี และตามด้วยเจนเอ็กซ์ จะเห็นได้ว่าคนวัยไม่เกิน 40 ปีจะเป็นกลุ่มที่สนใจมากที่สุด

    ไม่เพียงแต่ลงทุนเท่านั้น คนไทย 85% ตอบว่าสนใจมากหรือค่อนข้างสนใจที่จะใช้คริปโตชำระเงิน

    อย่างไรก็ตาม สุริพงษ์ระบุว่าเนื่องจากรัฐบาลไทยยังไม่สนับสนุนให้ใช้คริปโตชำระเงิน Visa ประเทศไทยจึงยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ขณะที่ในต่างประเทศบางประเทศที่ส่งเสริมคริปโต บริษัทจะมีการเชื่อมเน็ตเวิร์กแปลงเงินคริปโตเป็นเงินเฟียต (คำเรียกรวมของสกุลเงินดั้งเดิมประจำประเทศต่างๆ) ลูกค้าสามารถใช้บัตรชำระเงินให้ร้านค้า และร้านค้าจะได้รับชำระเป็นเงินเฟียตตามปกติ ยังไม่มีระบบจ่ายเป็นคริปโตโดยตรง ต้องแปลงสกุลเงินเป็นเงินเฟียตก่อนเท่านั้น

    ]]>
    1376071
    “สยามพิวรรธน์” เปิด Visa Pop-Up ร้านค้า Cashless เต็มรูปแบบ ไม่มีพนักงาน https://positioningmag.com/1372971 Sat, 05 Feb 2022 14:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372971 บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด จับมือกับ วีซ่า ประเทศไทย สร้างปรากฏการณ์ร้านค้าในรูปแบบ Cashless Retail Store สมบูรณ์แบบครั้งแรกในไทย ด้วยการเปิด “Visa Pop-Up” พร้อมกัน สาขา ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน สยามเซ็นเตอร์ และ สยามดิสคัฟเวอรี่ ตอบสนองไลฟ์สไตล์สังคมไร้เงินสด ให้เลือกช้อปสินค้าพร้อมระบบชำระค่าสินค้าด้วยตนเองด้วยเครดิตการ์ด เดบิตการ์ด และพรีเพดการ์ด 

    อุสรา ยงปิยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า

    ปัจจุบันวิถีการดำรงชีวิตของทุกคนได้เปลี่ยนแปลงไป สยามพิวรรธน์ได้จับมือ วีซ่า ประเทศไทย นำเสนอรูปแบบร้านค้ารีเทลใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค โดยการเปิด “Visa Pop-Up” ที่เราได้ร่วม Co-Create กับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกอย่าง วีซ่า เป็นการสร้างสรรค์วิถีใหม่ของการดำรงชีวิต และนำเสนอประสบการณ์รีเทลก้าวเข้าสู่ ระบบนิเวศดิจิทัล (Digital Ecosystem)” 

    Visa Pop-Up คือร้านค้ารีเทลในรูปแบบ Cashless Retail Store การจับจ่ายที่ไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบ ไฮไลต์สำคัญคือ การที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เยี่ยมชม เลือกช้อป เลือกซื้อสินค้าได้ตามความพอใจ และสามารถชำระเงินด้วยตนเอง ได้โดยใช้บัตรเครดิต เดบิตการ์ด และ พรีเพดการ์ด หรือการสแกน QR ชำระเงิน แบบไร้สัมผัส ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์หลักของร้านรีเทลในรูปแบบ Cashless Retail Store

    ที่ร้านจะไม่มีพนักงานแคชเชียร์ ช่วยลดการสัมผัส โดยมีวิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน สะดวกและปลอดภัย เป็นรูปแบบการจับจ่ายในอนาคต ที่สยามพิวรรธน์จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยขยายการบริการในรูปแบบ Cashless Payment ไปในร้านค้า และพื้นที่รีเทลในส่วนต่างๆ โดยเริ่มที่ร้านค้าและพื้นที่รีเทลภายในสยามดิสคัฟเวอรี่อีกด้วย 

    สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

    จากผลสำรวจเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคฉบับล่าสุดของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study) ชี้ให้เห็นว่ามากกว่า ใน 5 (81%) ของผู้บริโภคในประเทศไทยสนใจที่จะช้อปปิ้งกับร้านที่รับชำระผ่านดิจิทัลเป็นทางเลือกให้กับพวกเขามากกว่าร้านที่รับแค่เงินสดเท่านั้น นอกจากนี้เกือบ ใน ของผู้บริโภค (39%) เลือกที่จะใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเมื่อการแพร่ระบาดนี้สิ้นสุดลง ในฐานะผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลก เรายังคงมุ่งมั่นที่จะร่วมงานกับพันธมิตรในทุก ๆ ภาคส่วนเพื่อมอบประสบการณ์การค้าที่ราบรื่น ง่าย ชาญฉลาด และปลอดภัยสำหรับทุกคนและทุกที่

    Visa Pop-Up เปิดบริการพร้อมกันทั้ง แห่ง ได้แก่ 

    • สยามพารากอน ตั้งอยู่บนชั้น จะมีสินค้าจาก ECOTOPIA เป็นพื้นที่สร้างสรรค์จากกลุ่มคนรักษ์โลกตัวจริง 
    • สยามเซ็นเตอร์ ตั้งอยู่บนชั้น ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ จึงนำสินค้าจากร้าน Loft ที่คัดไอเทมฮอตที่อยู่ในกระแสเทรนด์มานำเสนอ 
    • สยามดิสคัฟเวอรี่ ตั้งอยู่บนชั้น เป็นสินค้าที่รวบรวมได้ทั้งจาก ECOTOPIA และ สินค้าจาก Digital Lab
    ]]>
    1372971
    เปิดอินไซต์ พฤติกรรม ‘Contactless’ ของคนไทย ใช้จ่ายโดยไม่พึ่ง ‘เงินสด’ ได้นานถึง 8 วัน https://positioningmag.com/1324731 Thu, 25 Mar 2021 09:03:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324731 วิกฤตโรคระบาด กระตุ้นให้ผู้คนปรับไลฟ์สไตล์เข้ากับดิจิทัลมากขึ้น หลายคนได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดเเละมีทัศนคติในการชำระเงินที่เปลี่ยนไปจากเดิม

    ผลสำรวจล่าสุดจากวีซ่า’ (VISA) ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดหรือ Cashless Society ได้ในปี 2026 หรือเพียง 4-5 ปี นับจากนี้ ถือว่าเร็วขึ้น’ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 10 ปี หรือปี 2030

    จากความเห็นของผู้บริโภคจำนวน 1,000 คน อายุระหว่าง 18-65 ปี รายได้ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือน พบว่ากว่า 4 ใน 5 หรือประมาณ 82% ของกลุ่มตัวอย่างได้ทดลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสด โดยเฉลี่ยคนไทยเห็นว่าพวกเขาสามารถใช้ชีวิตอย่างไร้เงินสดได้นานถึง 8.1 วัน เพราะสามารถสั่งอาหารเเบบเดลิเวอรี่ รถเมล์เเละร้านสะดวกซื้อก็แตะบัตรจ่ายได้ 

    เมื่อเจาะลึกลงไป เห็นได้ชัดว่าการมาของ COVID-19 มีผลต่อการใช้จ่ายอย่างมาก โดยสัดส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตโดยไร้เงินสด 1 สัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 19% จากปีก่อนที่ 17% และเมื่อเพิ่มระยะเวลาเป็น 1 เดือนจะมีสัดส่วนที่ 4% จากปีก่อนหน้าที่ 3%

    โดยมีคนไทยพกเงินสดน้อยลงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 51% จากเดิมอยู่ที่ 30% เนื่องจากหันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเห็นว่ามีความสะดวก ไม่ต้องต่อคิว เช็กความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ง่าย เเละที่สำคัญกว่า 61% มองว่าช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ด้วย


    ไทยเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของวีซ่า สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย ระบุ

    วีซ่าเป็นผู้ให้บริการชำระเงินรายใหญ่ ครอบคลุม 200 ประเทศทั่วโลก ที่มีฐานลูกค้า 3,500 ล้านบัญชี ทั้งบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพด มีธนาคารพาณิชย์พันธมิตร 15,300 แห่ง ร้านค้า 70 ล้านร้านค้า จำนวนธุรกรรมกว่า 1 แสนล้านรายการ คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่าย 11 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ปัจจุบัน ประเทศไทย มีจำนวนผู้ถือบัตรทั้งเครดิตเเละเดบิตกว่า 70-80 ล้านใบ และมีประชากรที่เข้าถึงบัญชีธนาคารสัดส่วนค่อนข้างสูงถึง 83% ทำให้สัดส่วนการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สูงตามไปด้วยที่ 72% และใช้เงินสดเพียง 28%

    ปัจจัยที่สนับสนุนต่อ Cashless Society หลักๆ มาจากความก้าวหน้าของโลกเทคโนโลยีเเละการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 78% มีสมาร์ทโฟน 134% และการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก 79%

    พร้อมๆ กับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กระตุ้นการใช้ผ่านบริการรับโอนเงินรูปแบบใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อพร้อมเพย์ให้คนไทยเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

    ผู้บริหารวีซ่า บอกว่า จุดเด่นการใช้จ่ายของคนไทย คือ ชื่นชอบการชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ดมากที่สุดถึง 94% ตามด้วยวิธีการชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน 92% และการแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless) 89%

    ส่วนในด้านของการใช้งานจริงนั้น 45% ของผู้ทำแบบสอบถามเลือกชำระเงินแบบแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟนมากที่สุด ตามมาด้วยการสแกนชำระผ่านคิวอาร์โค้ด 42% และแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร 41%

    คนไทยคุ้นเคยกับการจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด หรือโอนเงินเพื่อจ่าย มากกว่าในต่างประเทศที่นิยมแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตร เพราะคิดว่าการพกบัตรก็ไม่ได้ลำบากมากนัก ขณะเดียวกันช่วงอายุของลูกค้าก็มีผลต่อการเลือกใช้ โดยกลุ่มผู้ใหญ่ยังนิยมพกบัตร ส่วนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีก็จะถนัดจ่ายทางสมาร์ทโฟนมากกว่า

    ส่วนในอนาคตนั้นมองว่า การชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน จะเข้ามาเเทนที่การใช้จ่ายผ่านบัตรในทึ่สุด เเต่ยังไม่ใช่ในเร็วๆ นี้ โดยบัตรที่ทำจากพลาสติกจะยังคงมีต่อไปอีกสักระยะ เเต่จะค่อยๆ ลดลง ตามเจเนอเรชันที่เปลี่ยนไปของสังคม

    Photo : Shutterstock

    เตรียมบุก ‘เเตะเพื่อจ่าย’ ทางเรือ ส่วน MRT ยังต่อรอไปก่อน 

    เหล่านี้ ทำให้กลยุทธ์ของวีซ่าในปี 2021 จะมุ่งไปที่การเพิ่มสัดส่วนธุรกรรมการจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลสเป็น 20% ของธุรกรรมทั้งหมด จากเดิมที่อยู่ราว 15% เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1 ปี จากก่อนหน้าที่มีแค่ 0.1% เท่านั้น

    นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของจำนวนธุรกรรมนั้น มีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนบัตรเดบิตเครดิตที่หมดอายุของธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากบัตรรุ่นใหม่จะมีฟังก์ชันการใช้งานเเบบคอนแทคเลสได้ทันที รวมไปถึงความก้าวหน้าของเครื่องรับบัตร (EDC) ที่สามารถรับชำระได้ 4 in 1 ได้ โดยล่าสุดยอดการใช้ธุรกรรมการใช้ผ่านคอนแทคเลสในไทยมีมากกว่า 2 ล้านรายการต่อเดือน

    นอกจากนี้ วีซ่าจะมีแคมเปญส่งเสริมการใช้จ่ายเเบบคอนแทคเลส โดยการร่วมมือกับพันธมิตรเช่น ผู้ให้บริการทางเรือและรถไฟฟ้าใต้ดิน เเละจับมือกับธุรกิจ e-Wallet รวมไปถึงการทำโปรเจกต์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะนำข้อมูล Big Data อย่างพฤติกรรมผู้บริโภค การใช้จ่ายต่างๆ มาพัฒนาร่วมกัน โดยจะเริ่มใน 2-3 เดือนนี้

    บริการเเตะเพื่อจ่ายในบริการขนส่งทางเรือ คาดว่าจะได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนนี้ ส่วนการเเตะเพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินนั้น ยังต้องรอการเจรจาจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐเเละเอกชน ซึ่งมีความพยายามจะทำมานานเเล้ว เเต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุระยะเวลาได้ว่าจะใช้ได้จริงเมื่อใด

    โดยที่ผ่านมา หลังจากมีบริการเเตะเพื่อจ่ายบนรถเมล์ในไทยกว่า 3,000 คันนั้น พบว่ามีกระเเสตอบรับที่ดี เเต่เมื่อต้องเจอกับการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การเดินทางต้องมีช่วงหยุดชะงักชั่วคราว ก็ส่งผลกระทบเช่นกัน เเต่ก็หวังว่าประชาชนจะกลับมาใช้เพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายเเละมีการกระจายวัคซีนทั่วถึง

    เเม้จะมีปัจจัยหนุนมากมายที่จะทำให้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดเร็วขึ้นตามยุคสมัย เเต่ในอีกมุมเมื่อถามว่าอะไรเป็นอุปสรรคบ้าง สุริพงษ์มองว่าคือปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้น ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตก็ยิ่งมีผลต่อการใช้จ่ายของผู้คนด้วย

     

     

    ]]>
    1324731
    เจาะกลยุทธ์ ‘บัตร Rabbit’ ในวันที่นักท่องเที่ยวหายและถูกท้าทายจาก ‘อีวอลเล็ต’ https://positioningmag.com/1312294 Mon, 28 Dec 2020 08:41:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312294 ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีการออกบัตร ‘แรบบิท (Rabbit)’ มากกว่า 14 ล้านใบ เพื่อใช้เป็นตั๋วรถไฟฟ้าและบัตรเติมเงินสำหรับซื้ออาหารเครื่องดื่มและบริการซึ่งมีกว่า 550 แบรนด์ที่รองรับการใช้งานผ่านบัตรแรบบิท และโดยปกติจะมีการออกบัตรแรบบิทใหม่ประมาณ 2 ล้านใบ/ปี แต่เมื่อมีการระบาดของ COVID-19 ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 1.5 ล้านใบ ซึ่งการจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิมอีกครั้ง ถือเป็นอีกโจทย์ของ รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

    รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

    เดินหน้าเพิ่มพันธมิตร

    รัชนี ระบุว่า เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและจำนวนผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนน้อยลงในช่วงล็อกดาวน์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การออกบัตรแรบบิทลดลง แต่ยังมีความหวังว่าในปี 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะ ‘กลับมา’ หลังจากที่ทั่วโลกได้รับความหวังจากการมี ‘วัคซีน’

    อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรด้วยการนำบัตรแรบบิทไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อาทิ ร่วมกับองค์กรและสถานศึกษาในการทำ ‘บัตรพนักงาน’ และ ‘บัตรนักเรียน’ รวมถึงร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ‘แสนสิริ’ ในการจัดหาคีย์การ์ดแรบบิทเพื่อเข้าคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ยังออก ‘บัตรเมมเบอร์’ ให้แบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย

    ล่าสุด ได้ออก ‘บัตรเครดิต อิออน แรบบิท แพลทินัม’ (AEON Rabbit Platinum Card) ซึ่งเข้ามามีส่วนใน eco-system ของบัตรแรบบิทให้เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกการแตะบัตรใบนี้เพื่อชำระค่าบริการไม่ต้องกังวลว่ามีเงินอยู่ในบัตรพอเพียงหรือไม่ เพราะเมื่อเงินในฟังก์ชันแรบบิทที่อยู่ในบัตรใบนี้ไม่พอจ่ายค่าสินค้า/บริการ เงินจากวงเงินบัตรเครดิตก็จะเติมเข้า กระเป๋าบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติ และยังได้รับเครดิตเงิน 5%

    เพิ่มบริการ ขนส่งมวลชน

    บริษัทต้องการให้บัตรแรบบิทครอบคลุมการขนส่งประเภทต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า เนื่องจากจะทำให้มีผู้ถือบัตรมากขึ้นและมีร้านค้ามากขึ้นที่เสนอตัวเลือกการชำระเงินด้วยแรบบิท โดยในระหว่างที่รอการเชื่อมต่อ Rabbit กับตั๋วรถไฟฟ้า MRT บริษัทกำลังขยายบริการให้ครอบคลุมเส้นทางรถเมล์บางส่วนตามสถานที่ท่องเที่ยวและเรือสาธารณะ อาทิ การเดินทางบนคลองภาษีเจริญและแม่น้ำเจ้าพระยา

    “เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายของเราให้มากที่สุด อย่างการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากวัดพระศรีมหาธาตุไปยังคูคต และรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีกับคลองสานน่าจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มจำนวนการใช้บัตร”

    ในส่วนของร้านค้าปลีกต่าง ๆ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจุดรับชำระให้ได้ 40% โดยจะเน้นไปที่ร้านรายย่อย

    “เรามั่นใจว่าจะสามารถหลับมาเติบโตได้เหมือนกับก่อนที่มี COVID-19 โดยในปีหน้าเราตั้งว่ายอดออกบัตรใหม่จะเติบโตได้ 15-20%

    เพิ่มแอปฯ เพิ่มความสะดวก

    ภายในไตรมาสที่สองของปี 2564 บริษัทมีแผนจะเปิดตัวแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถ ‘ตรวจสอบยอดคงเหลือ’ ‘ประวัติการใช้งาน’ และเติมเงินมูลค่าบัตรได้ในไม่กี่วินาที และในอนาคตพวกเขาจะสามารถใช้ ‘มือถือแตะทำธุรกรรม’ ต่าง ๆ ได้ด้วย โดยผู้ถือบัตรจะต้องเชื่อมโยงแอปพลิเคชันกับบริการธนาคารบนมือถือ และต้องใช้โทรศัพท์ที่มี NFC

    “ทุกสิ่งที่เราทำไม่ใช่แค่เพิ่มยอดออกบัตรใหม่ แต่ต้องใช้บัตรในกิจวัตรประจำวันนอกจากแค่ใช้เดินทาง BTS ซึ่งปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านบัตร 700,000-800,000 รายการ/วัน แต่การใช้นอกเหนือจากโดยสาร BTS หรือการใช้จ่ายซื้อของยังมีสัดส่วนเพียง 5-10%”

    โปรโมชัน ยังจำเป็น

    ส่วนบัตรลายลิมิเต็ดต่าง ๆ ช่วยให้บริษัทได้รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร และจากนี้จะมีสิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น ได้ส่วนลดเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่ใช่แค่ขายลายแต่ยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย อาทิ ลาย ‘กันดั้ม’ ที่เพิ่งออกไปก็จะมีสิทธิพิเศษเพิ่มไปด้วย ดังนั้น สิทธิพิเศษหรือโปรโมชันต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็น ช่วยให้รู้สึกว่าดีกว่า ‘ใช้เงินสด’ ดังนั้น การแข่งขันของบัตรแรบบิทกับ ‘อีวอลเล็ต’ ต่าง ๆ ยังอยู่ที่โปรโมชันเป็นหลัก ส่งผลให้ทรานแซคชั่นของร้านค้าต่าง ๆ จะขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วแต่ใครมี ‘โปรโมชัน’ ดังนั้น ‘Loyalty’ ไม่มีแล้ว

    “โปรโมชันยังสำคัญในการดึงลูกค้ามาใช้ แต่ความชินเป็นอีกสิ่งที่คนใช้ไม่รู้ตัว การชำระเงินผ่านแอปฯ อาจจะง่าย แต่การหยิบบัตรมาแตะก็ง่าย และเราไม่ได้มีโปรหวือหวาให้ว้าว แต่มีตลอดเพื่อให้อยู่ในใจลูกค้า”

    ผู้อยู่รอดต้องมี อีโคซิสเต็มส์ ที่แข็งแรงพอ

    ตอนนี้การแข่งขันเป็นสิ่งที่ท้าทายของแรบบิทที่สุด เพราะตอนนี้กำลังแข่งขันกับ ‘ออนไลน์’ แต่ไม่ได้มีใครมองว่าความจริงเป็นยังไง โดยแรบบิทยังมองว่า ‘ออฟไลน์’ ยังแข็งแกร่ง และออนไลน์แรบบิทก็มี Rabbit Line Pay นอกจากนี้ จุดแข็งของบัตรแรบบิทคือ ‘BTS’ ตราบใดที่คนยังต้องเดินทางด้วย BTS บัตรแรบบิทยังจำเป็น ดังนั้น คนที่จะอยู่รอดหรืออีวอลเล็ตที่จะอยู่รอดต้องมีอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแรง

    “เรายังมีความจำเป็นต้องเป็นออฟไลน์เพราะเรื่องการเดินทาง แต่ก็พร้อมจะอัพเกรดเป็นออนไลน์ 100% ได้ทันที ดังนั้นเราเท่าเทียมกับอีวอลเล็ต แต่มีมากกว่าก็คือทรานซิท”

    สุดท้าย แม้ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่โลกดิจิทัลและโลกเสมือนจริง แต่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ โลกออฟไลน์ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้น การจะเป็นสังคมไร้เงินสดเหมือนจีนยังไม่ง่าย เพราะการใช้จ่ายของไทยกระจุกอยู่ในสังคมเมืองมากกว่า แถมคนไทยถูกกปลูกฝังว่าเรื่องเงินเป็นของธนาคาร ดังนั้นมันยังมีปัญหาตรงส่วนนี้อยู่ ดังนั้นอีก 10 ปีอาจเป็นไปได้

    ]]>
    1312294
    เจาะพฤติกรรม “จ่ายเงินเเบบไร้สัมผัส” ของคนไทย หลังโควิด ดัน Mobile Banking เเละ e-Wallet โต https://positioningmag.com/1295694 Sun, 06 Sep 2020 09:23:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295694 เจาะพฤติกรรมจ่ายเงินแบบไร้สัมผัสของคนไทย หลังช่วงวิกฤต COVID-19 คลี่คลายลง พบว่ายังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน พร้อมดันการแข่งขันในตลาดดุเดือดขึ้น

    จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ผู้บริโภคในช่วงวัย 35-44 ปี เป็นกลุ่มที่เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น จากเดิมที่การใช้งานกระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

    โดยคาดว่า ทั้งปี 2563 ธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Money น่าจะยังมีการเติบโตต่อเนื่อง และแม้ว่าจะได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรม Contactless Payment ที่เป็น New Normal แต่อัตราการเติบโตก็ชะลอลง เนื่องจากมูลค่าธุรกรรมต่อครั้งลดต่ำลง ประกอบกับผู้บริโภคมีอำนาจซื้อลดลงจากผลของภาวะเศรษฐกิจหดตัว

    Photo by Lauren DeCicca/Getty Images

    คาดว่าปีนี้ จะมีปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking ราว 7,758.0-7,927.5 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 57.5-61.0 ส่วนมูลค่าธุรกรรมจะอยู่ที่ประมาณ 28,910.4 – 29,707.2 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 18.4-21.7 จากปี 2562

    ขณะที่ปริมาณธุรกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการด้วย e-Money น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,990.1-2,038.0 ล้านรายการ ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2-3.7 ส่วนในด้านมูลค่าจะอยู่ที่ประมาณ 286.3-291.1 พันล้านบาท ขยายตัวราวร้อยละ 1.5-3.2

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญต่อพฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยโดยรวม อันจะส่งผลต่อความต้องการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet ในไทย รวมไปถึงสภาวะการแข่งขันในตลาดของผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ซึ่งมีข้อสังเกตอยู่สองประการหลัก ดังนี้

    1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เป็นปัจจัยเร่งสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการของผู้บริโภคไทยอีกส่วนหนึ่งเปลี่ยนไป

    โดยทำให้เกิด New Normal ที่มุ่งสู่การโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการแบบไร้การสัมผัส หรือ Contactless Payment ส่งผลให้การทำธุรกรรมโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น โดยผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้วก็จะมีการใช้งานมากขึ้น อาทิ ผู้บริโภคในกลุ่มนักศึกษาและวัยทำงานตอนต้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานตอนกลาง ก็จะเข้ามาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น

    ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ปริมาณธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่าน Mobile Banking และ e-Money ขยายตัวในอัตราสูงราวร้อยละ 19.4 (MoM) และร้อยละ 14.7 (MoM) ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไทยโดยรวม สอดคล้องกับผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ภายหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ยังมีผู้บริโภคที่ใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet มากขึ้น ขณะที่มีผู้บริโภคกลุ่มใหม่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

    2. ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคไทยราวร้อยละ 73.0 มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มขึ้น

    จากเดิมที่มีการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน Mobile Banking และ e-Wallet ประมาณ 9 ครั้งต่อสัปดาห์ และเมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทยคลี่คลายลง ผู้บริโภคราวร้อยละ 39.8 ยังคงมีการใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

    3.ผู้บริโภคราวร้อยละ 49.7 ได้กลับมาใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพื่อโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการในปริมาณที่เท่าเดิม 

    เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่ใช้งานในปริมาณมากอยู่แล้ว ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดไปจนถึงช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในไทย มีกลุ่มผู้บริโภคในช่วงวัย 3544 ปี เข้ามาใช้ Mobile Banking และ e-Wallet ในการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวอยู่ที่ช่วงวัย 25-34 ปี สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการสัมผัสกับเงินสดเพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรค นับว่าเป็นพฤติกรรม New Normal ที่เป็นปัจจัยผลักดันต่อการใช้งานแพลตฟอร์ม Mobile Banking และ e-Wallet ให้เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก็เป็นปัจจัยผลักดันให้ร้านค้าต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าขนาดเล็ก เริ่มมีการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วย QR Code มากขึ้น ซึ่งน่าจะส่งผลให้การใช้งาน Mobile Banking และ e-Wallet เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในระยะข้างหน้า และเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มูลค่าการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการต่อครั้งมีแนวโน้มลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

    “ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet ก็ยังจะต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านสภาวะการแข่งขันที่เข้มข้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการเข้ามาของผู้ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก e-Market Place Food Delivery รวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีฐานลูกค้าหรือผู้ใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเผชิญกับความคาดหวังของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว” 

    จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ลักษณะแอปพลิเคชัน Mobile Banking และ e-Wallet 3 อันดับแรก ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน ได้แก่

    • แอปพลิเคชันที่สามารถอำนวยความสะดวกในการใช้งานด้วยการรวมทุกบัญชีออนไลน์ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว
    • แอปพลิเคชันที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเป็นแพลตฟอร์ม Food Delivery หรือ e-Market place ในตัวเอง 
    • แอปพลิเคชันที่มี Feature การใช้บัตรเครดิต

    ซึ่งลักษณะทั้ง 3 ประการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายที่ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet จะต้องเผชิญในการพัฒนา Feature การใช้งานให้สามารถอำนวยความสะดวกและสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นแอปพลิเคชันที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับแรก

    นอกเหนือจากการเผชิญกับความท้าทายด้านการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาด และความคาดหวังของผู้บริโภค ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ให้บริการ Mobile Banking และ e-Wallet อาจจะต้องเผชิญกับความท้าท้ายด้านการพัฒนาระบบภายใน โดยเฉพาะระบบที่สร้างความมั่นคงและปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Securities) เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของลูกค้า รวมถึงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้งาน นอกจากนี้ ผู้ให้บริการจำเป็นจะต้องคำนึงถึงกฎระเบียบในการทำธุรกรรมของหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยการทำธุรกรรมหรือกระบวนการต่างๆ ที่จะทำการตลาดในระยะข้างหน้า จะต้องไม่ขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

    โดยสรุป ผู้ให้บริการโอนเงินและชำระค่าสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Mobile Banking และ e-Wallet ในไทยยังมีโอกาสเติบโตในระยะข้างหน้า ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คลี่คลาย แต่ก็ยังต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้นจากการเข้ามาของกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการ e-Wallet

    “ในระยะข้างหน้า จะยังเห็นบรรยากาศการแข่งขันในการทำกลยุทธ์ด้านราคาและโปรโมชันของกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยน่าจะเป็นการทำการตลาดเพื่อกระตุ้นการเปิดใช้บริการของทั้งทางฝั่งของกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ การให้ส่วนลดสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการในร้านค้าที่ร่วมรายการ การให้คูปองเงินสดสำหรับการเปิดใช้บัญชี การสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัล เป็นต้น” 

     

     

    ]]>
    1295694
    จีนผุดแผงขายผัก “บริการตนเอง” หวังลดการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา https://positioningmag.com/1263737 Sat, 08 Feb 2020 15:50:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263737 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่าพ่อค้าแม่ค้าอำเภอหนิงไห่ มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน ผุดแผงขายผักแบบ “บริการตนเอง” เกือบสิบแผง เพื่อช่วยลดการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

    เหล่าลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นจะจ่ายค่าผักด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด หรือกล่องใส่เงินที่พ่อค้าแม่ค้าตั้งวางไว้ โดยสวี่ผิงหยวน พ่อค้าคนหนึ่งบอกว่า “ผู้คนละแวกนี้ซื่อสัตย์และไว้ใจกันได้”

    “ฉันซื้อผักขม หัวหอม เห็ด และแคร์รอต” โหยวชิวเฉียว คนท้องถิ่นโชว์ผักที่ซื้อ “ถือว่าสะดวกมาก เพราะจ่ายเงินด้วยอาลีเพย์ หรือวีแชตเพย์ก็ได้ ไม่ต้องไปเสี่ยงเจอคนหมู่มากในเมือง”

    ทั้งนี้ หน่วยงานท้องถิ่นจัดสรรให้หมู่บ้าน 2 แห่ง ซื้อพืชผัก ข้าวสาร และน้ำมันปรุงอาหารผ่านแผงขายแบบบริการตนเองได้ทุกวันมาตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสฯ ระหว่างฝูงชน

    ]]>
    1263737
    บัตรเเรบบิท จ่าย “สมาร์ทบัส” ได้เเล้ว ตั้งเป้าปีหน้า 2,000 คัน-เติมเงินผ่านโมบายเเบงกิ้ง https://positioningmag.com/1254884 Tue, 26 Nov 2019 13:18:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254884 บัตรเเรบบิท รุกตลาดรถโดยสารประจำทาง “สมาร์ทบัส” เปิดให้บริการชำระค่าโดยสาร “ไร้เงินสด” ระบบเดียวกันกับบีทีเอส นำร่องสาย 104, 150 ต้นปีหน้าขยายอีก 5 สาย ตั้งเป้าสิ้นปี 2563 ได้ 22 สาย 2,000 คัน พร้อมเปิดระบบเติมเงินผ่านโมบายแบงกิ้งของธนาคาร ไตรมาสเเรกปีหน้า

    รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บีเอสเอส) ผู้ให้บริการบัตรแรบบิท (Rabbit Card) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา บัตรแรบบิท ได้ร่วมมือกับบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ผู้ประกอบการให้บริการรถร่วมบริการ ขสมก. เปิดตัวระบบการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทโดยใช้มาตรฐานเดียวกับระบบที่ใช้ในรถไฟฟ้าบีทีเอส

    โดยเริ่มทดลองใช้กับ รถสมาร์ทบัสสาย 104 ปากเกร็ด–หมอชิต 2 และสาย 150 ปากเกร็ด–บางกะปิ พร้อมส่วนลด 2 บาท/เที่ยว ตั้งแต่ 19 พ.ย. 62–31 มี.ค. 63 ซึ่งถือว่าเป็นการนำระบบการชำระเงินตามมาตรฐานสากลมาใช้ในรถโดยสารประจำทางสาธารณะในกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เเละสามารถใช้กับบัตรเเรบบิทได้ทุกประเภท ได้รับเสียงตอบรับที่ดี เนื่องจากสายที่ทดลองผู้ใช้เป็นนักศึกษาเเละคนทำงานที่ต้องเดินทางมาต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสอยู่เเล้ว เเต่ก็ยังต้องการผู้ใช้ใหม่อีกมาก

    นอกจากนี้ยังมีของขวัญปีใหม่มอบให้เเก่ผู้ใช้บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพแรบบิท (Bangkok Bank Rabbit Credit Card) ที่ชำระค่าบริการรถสมาร์ทบัสสายดังกล่าว ด้วยส่วนลด 1 บาทตลอดสาย ในช่วง 1 ธ.ค. 2562- 31 ม.ค.2563 นี้เท่านั้น 

    “ภายในไตรมาสแรกของปี 2563 จะมีการติดตั้งเพิ่มในรถสมาร์ทบัสอีก 5 สาย ได้เเก่ สาย 51, 52, 147 , 167 เเละอีกหนึ่งสายที่กำลังจะเปิดบริการเร็วๆ นี้ เเละคาดว่าสิ้นปี 2563 จะสามารถติดตั้งระบบการชำระเงินด้วยบัตรแรบบิทนี้ได้อย่างสมบูรณ์ในรถสมาร์ทบัสสายอื่นๆ อีกราว 22 สาย รวมกว่า 2,000 คัน พร้อมขยายบริการให้สามารถเติมเงินเรียลไทม์เเละขายบัตรเเรบบิทบนรถสมาร์ทบัสได้ด้วย “

    สำหรับวิธีการแตะจ่ายบัตรแรบบิท ให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางขึ้น (ด้านหน้ารถ) ทุกครั้ง โดยที่บัตรต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด (25 บาท) เมื่อถึงป้ายรถเมล์ที่ต้องการให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางลง ระบบจะคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่กำหนด คือ 4 กิโลเมตรแรก 15 บาท, 4-16 กิโลเมตร 20 บาท และ 16 กิโลเมตรขึ้นไป 25 บาท หากลืมแตะบัตร ระบบจะหักค่าโดยสารในอัตราสูงสุด

    จากการขยายเครือข่ายการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิทในระบบขนส่งสาธารณะนี้ คาดว่าในปี 2563 จำนวนผู้ใช้บัตรแรบบิทจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 8 แสนถึง 1 ล้านคนต่อวัน

    พร้อมทั้งอานิสงส์จากการเพิ่มเส้นทางการให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส ในระหว่างปี 2563-2564 ระยะทางจะเพิ่มขึ้นจาก 50 กม. เป็น 170 กม. ซึ่งเส้นทางที่เพิ่มขึ้น คือ สายสีเขียวเหนือ (หมอชิต–คูคต) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว–สำโรง) และสายสีชมพู (แคราย–มีนบุรี) ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้งานบัตรแรบบิทเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 1 ล้านคนต่อวัน

    “ช่วงต้นปีหน้า บัตรแรบบิทจะเพิ่มความสะดวกสบายในการเติมเงินให้ผู้ใช้ โดยจะพัฒนาให้บัตรแรบบิทสามารถเติมเงินผ่าน โมบายแอปพลิเคชั่นของแรบบิท และผ่านโมบายแบงกิ้งของธนาคารต่างๆ ได้ โดยเบื้องต้นได้ร่วมกับ SCB , BBL เเละ Kbank เเล้ว”

    ทั้งนี้ ปัจจุบันมีการออกบัตรแรบบิทไปแล้วกว่า 13 ล้านใบ โดยเป็นอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด เฉลี่ยปีละกว่า 2 ล้านใบ โดยใช้เดินทางขนส่งสาธารณะได้มากถึง 10 การเดินทาง ครอบคลุมทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ รถบัส และเรือ ในพื้นที่รวม 6 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม เชียงใหม่ และภูเก็ต รวมถึงการมีร้านค้าพันธมิตรเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 ร้านค้า และจุดบริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศกว่า 12,000 จุด

    สำหรับผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงาน ช่วงอายุ 20-35 ปี โดยในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ผู้โดยสารส่วนใหญ่เดินทางด้วยบัตรแรบบิทมากถึง 70% ของจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ย 900,000 เที่ยวคนต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นการใช้งานบัตรโดยสารเที่ยวเดียวประมาณ 29% และบัตรโดยสารประเภทหนึ่งวันประมาณ 1% เเละมีผู้ใช้เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 5%

     

     

    ]]>
    1254884
    จ่ายง่ายทันใจกว่า! ชาวสวีเดน 4,000 รายลุยฝังชิปจิ๋วในมือแทนพกเงินสด-บัตรเครดิต https://positioningmag.com/1239266 Wed, 17 Jul 2019 02:55:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239266 ไม่ใช่แค่สังคมไร้เงินสด แต่สวีเดนหวังจะเป็นสังคมไร้บัตรเครดิตด้วย ล่าสุดประชาชนหลายพันคนในสวีเดนหันมาฝังไมโครชิปใต้ผิวหนังเพื่อใช้จ่ายเงินและทำกิจกรรมประจำวันโดยไม่ต้องพกบัตรเครดิตและเงินสด รวมถึงคีย์การ์ดเพื่อเดินทางเข้าสำนักงาน และนาฬิกาสมาร์ทว็อตช์ที่ทุกคนไม่จำเป็นต้องพกติดตัวอีกต่อไป

    นักสังเกตการณ์เชื่อว่าเทรนด์การฝังชิปจะขยายตัวรวดเร็วทั่วโลก เนื่องจากปัจจุบัน จำนวนผู้ฝังชิปจิ๋วไว้ในร่างกายแล้วมีมากกว่า 4,000 ราย ตัวชิปมีขนาดเท่าเม็ดข้าวที่สอดเข้าไปในมือ ตัวเลขฐานผู้บุกเบิกหลักพันในเวลาไม่กี่ปีสะท้อนว่าชาวโลกอีกหลายล้านคนจะเข้าร่วมการฝังชิปลักษณะนี้ด้วย จนในไม่ช้า เทรนด์การฝังชิปอาจจะขยายวงกว้างไปทั่วโลก

    Ben Libberton นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่ทำงานในสวีเดนยอมรับว่าเทรนด์การฝังชิปในร่างกายนั้นทำให้โลกเข้าใกล้ความเป็น sci-fi เหมือนในภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ข้ามยุค และอาจจะมีแง่มุมร้ายกาจเหมือนในเรื่อง Black Mirror ซีรีส์ Netflix ที่ฉายให้เห็นปัญหารอบด้านที่อาจเกิดขึ้นจากสถานการณ์ไฮเทคในอนาคต แต่ก็ชัดเจนว่าผู้คนจำนวนมากจะยอมสละความเป็นส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบายกว่าเดิม ท่ามกลางคุณสมบัติการใช้งานที่จัดเต็มจนส่งให้เทรนด์นี้แรงเร็วฉุดไม่อยู่

    เลิกใช้ smartwatch

    เช่นเดียวกับ smartwatch รุ่นราคาแพง ชิปจิ๋วจะช่วยให้ชาวสวีเดนที่ผ่าตัดฝังชิปไว้ใต้ผิวหนัง สามารถตรวจสอบสุขภาพได้ตลอดเวลา แถมยังเหนือกว่าเพราะชิปสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย ขณะเดียวกัน ผู้ใช้จะไม่ต้องพกพาบัตรคีย์การ์ดเพื่อเข้าไปในสำนักงานและอาคาร ที่สำคัญคือการชำระเงินในร้านค้าด้วยการรูดมือกับเครื่องอ่าน ซึ่งถือเป็นความคืบหน้าครั้งใหญ่สำหรับประเทศที่หวังผันตัวเป็นสังคมไร้เงินสด

    ไมโครชิปที่ชาวสวีเดนเลือกใช้นั้นถูกบุกเบิกโดยอดีตนักเจาะร่างกาย Jowan Österlund ซึ่งก่อตั้งบริษัท Biohax International แล้วตั้งชื่อให้เทคโนโลยีนี้ว่า “moonshot” หนุ่ม Österlund เคยให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Fortune ว่าเขาได้รับการหนุนจากนักลงทุนให้ตั้งความหวังขยายการฝังชิปนี้ไปทั่วทุกทวีปของโลกยกเว้นแอนตาร์กติกา” 

    เป้าหมายนี้เกิดขึ้นเพราะ Biohax International มองว่าเทคโนโลยีกำลังจะย้ายมาอยู่ในร่างกายมนุษย์ ความมั่นใจเกิดขึ้นเพราะ Österlund เชื่อมั่นว่าตัวเทคโนโลยีมีความปลอดภัยสูง ทั้งที่หลายเสียงกังวลว่าอาจจะมีการเชื่อมโยงกับอาชญากรรมไซเบอร์ ซึ่งเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

    เหรียญ 2 ด้าน

    Ben Libberton นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษยกย่องว่าการฝังชิปในร่างกายมีประโยชน์ด้านสุขภาพ เพราะสามารถวัดสถิติที่ต้องพึ่งพาการเจาะเลือดแบบที่ Apple Watch เองยังทำไม่ได้ แต่ปัญหาคือขณะนี้ยังไม่มีข้อกำหนดเรื่องการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากและวิธีการใช้งาน ซึ่งทำให้ผู้ใช้อาจตกอยู่ในความเสี่ยง

    ปัญหาคือใครเป็นเจ้าของข้อมูลนี้” Libberton ย้ำอีกว่าหากมีการใช้ชิปเพื่อซื้ออาหารกลางวัน ก่อนจะเดินทางไปที่โรงยิม หรือไปทำงาน ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับผู้ใช้จะถูกเก็บไว้ที่ใคร ปลอดภัยหรือไม่? “มันไม่ได้เกี่ยวกับชิปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบอื่นและการแบ่งปันข้อมูล

    การบุกเบิกฝังชิปในร่างกายของชาวสวีเดนหลายพันคนทำให้เกิดความกังวลว่าประชาชนอาจไม่ได้คิดรอบด้านมากพอถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าเทรนด์ความนิยมนี้สอดคล้องกับนโยบายหลักของสวีเดนเรื่องการงดใช้เงินสด สถิติขณะนี้คือธนบัตรและเหรียญหมุนเวียนในเศรษฐกิจสวีเดนนั้นคิดเป็น 1% เท่านั้น ซึ่งเมื่อสังคมเลิกใช้เงินสด ปัญหาอาชญากรรมในประเทศก็ลดลงตามไปด้วย เช่นสถิติการปล้นธนาคารที่ลดลงเหลือ 2 ครั้งเท่านั้นในปีที่แล้ว เทียบกับ 110 ครั้งในปี 2008.

    Source

    ]]>
    1239266
    CRM ยุคใหม่ ใช้ e-Wallet มัดลูกค้า เปิดกรณีศึกษา SCG-S&P รับเทรนด์สังคมไร้เงินสด https://positioningmag.com/1221523 Tue, 26 Mar 2019 00:06:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1221523 สังคมไร้เงินสดกำลังทำให้ CRM ยุคเก่าหมดสมัย เห็นได้ชัดเพราะวันนี้แบรนด์ใหญ่ในไทยกำลังปรับกลยุทธ์เสริมสัมพันธ์ลูกค้าผ่าน CRM ยุคใหม่แบบไร้คูปองหรือบัตรกำนัลกระดาษ โดยหันมาทำแอปพลิเคชั่นที่ผูกระบบกระเป๋าเงิน หรือวอลเล็ตของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าซื้อสะดวกและรับแต้ม-ส่วนลดได้มากกว่าเดิม แบรนด์ที่เดินเกมนี้แล้วไม่ได้มีเพียงแค่ SCG หรือ S&P แต่ยังมีอีกหลายเชนร้านอาหารและแบรนด์ค้าปลีกที่มั่นใจในวิถีเดียวกับ Starbucks นั่นคือการทำ Wallet ของตัวเองที่จะทำให้แบรนด์ได้ข้อมูลเส้นทางการจับจ่ายของลูกค้าได้ลึกล้ำกว่าวอลเล็ตของคนอื่น นำไปสู่การต่อยอด CRM ยุคใหม่ได้มากกว่า 

    ภาพของ CRM ยุคใหม่เห็นได้ชัดจากทั้ง SCG Wallet และ S&P e-Wallet รวมถึงอีกหลายแบรนด์ที่พยายามปลุกปั้นระบบกระเป๋าเงินของตัวเองโดยแยกจากระบบวอลเล็ตยอดนิยม เช่น TrueMoney หรือ LINE รวมถึงค่ายอื่นที่ให้บริการ e-Wallet แก่ผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งกรณีของ SCG การตอบแทนลูกค้า Loyalty Program ผ่านแอป SCG Wallet นั้นทำให้ SCG สามารถตอบแทนช่างผู้รับเหมาที่ซื้อสินค้าไปให้ลูกค้ารายย่อยได้ง่ายและดีกว่าคู่แข่ง แลกกับข้อมูลที่ SCG จะต่อยอดเพื่อผูกใจช่างรับเหมารายนั้นได้โดยตรง

    ยังมี S&P e-Wallet ที่เปิดให้สมาชิก Joy Card เติมเงินลงในบัตรเพื่อใช้ซื้อสินค้าได้ในราคาพิเศษ รวมถึงสามารถสะสมแต้มเพื่อแลกรางวัลในสไตล์เดียวกับ Starbucks จุดนี้ต้องยอมรับว่า Starbucks เป็นแบรนด์ที่นำร่องแนวคิดการมี Wallet ของตัวเอง เพื่อเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่องค์กรจะตอบโจทย์ลูกค้าของตัวเองได้เหนือชั้นกว่าเดิม

    สำหรับจิ๊กซอว์ตัวนี้ ทั้ง SCG และ S&P ไม่ได้เททรัพยากรพัฒนาระบบ Wallet ขึ้นมาเอง แต่ใช้บริการของบริษัทชื่อ T2P ผู้อยู่เบื้องหลังระบบ Deep Pecket ซึ่งเป็นชื่อโปรดักต์แพลตฟอร์มตัวแรกๆ ของบริษัท วันนี้ T2P มีรายได้เพิ่มขึ้นเกิน 5 เท่าตัว เพราะการเปลี่ยนจากบริการ B2C มาเป็น B2B2C ด้วยการจับมือกับแบรนด์ที่ต้องการมีระบบ Wallet ของตัวเอง

    segment แบบนี้ไม่ค่อยเห็นผู้ให้บริการ เพราะส่วนใหญ่เน้นแบบ B2C แต่ T2P จะเน้นตอบโจทย์แบรนด์ที่ต้องการ data ซึ่งเป็นมุมมองที่คล้ายกับแอปพลิเคชั่น Starbuck

    ณัฐวุฒิ อมรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ทีทูพี จำกัด อธิบาย

    ตลาดรับทำ Wallet โตแรง

    ผู้บริหาร T2P ระบุว่าปี 61 ที่ผ่านมาคือปีที่บริษัททำรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านระบบ Wallet มากขึ้นกว่าปี 60 ถึง 5 เท่าตัว โดยเติบโตจาก 30 ล้านบาทมาเป็น 138 ล้านบาท เหตุผลที่รายได้โตก้าวกระโดดคือการหันไปจับมือกับแบรนด์ใหญ่ที่ต้องการเริ่มทำ CRM รูปแบบใหม่ รวมถึง Voucher ยุคดิจิทัล ส่งให้ตลาดรับทำ Wallet โตแรงมากในวงการค้าปลีกไทย

    “สิ่งที่เกิดขึ้นคือวันนี้ทุกแบรนด์ต้องให้บริการด้านดิจิทัลกับลูกค้า เพราะลูกค้ามีความต้องการและคาดหวังสูง T2P จึงเข้าไปให้บริการ เพราะแบรนด์จะรันคลาวด์เองก็ไม่ไหว และต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วขั้นต่ำ 100-200 ล้านบาทตามกฎหมาย ความได้เปรียบของ T2P คือแบรนด์ที่เลือกใช้ระบบของบริษัทเป็นแบรนด์ที่มียอดใช้สูง และมี Loyalty ดีมากอยู่แล้ว ถือเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้รายได้ของบริษัทเติบโตชัดเจน”

    ตลาดรับทำ Wallet ไม่ได้โตแรงเฉพาะไทย แต่ยังร้อนแรงไปถึงพม่า จากการเข้าสู่ตลาดเมียนมาราว 1 ปี ผู้บริหาร T2P พบว่าเมียนมาเป็นตลาดที่มีแนวโน้มเติบโตสูงมาก

    “ปริมาณการใช้สมาร์ทโฟนของประชาชนเมียนมา ถือว่าสูงกว่า 80 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แม้ธุรกรรมการเงินส่วนใหญ่จะยังเป็นเงินสด แต่ธนบัตรเมียนมาส่วนใหญ่ดูเก่า ทำให้ประชาชนไม่ต้องการใช้ ผมเชื่อว่าสังคมไร้เงินสดของเมียนมาจะเติบโตก้าวกระโดดเหมือนการใช้งานสมาร์ทโฟน ล่าสุดยอดการชำระเงินผ่าน Wallet ของชาวเมียนมาก็เติบโตเร็วมาก มีการประเมินว่าน่าจะสูงกว่าการใช้เงินผ่าน ATM ไปแล้ว”

    ในส่วนของ T2P บริษัทได้ร่วมมือกับแบรนด์ค้าปลีกรายใหญ่ของเมียนมาชื่อว่า City Mart ซึ่งเป็นองค์กรที่มีขนาดเทียบเท่ากับ Central ของไทย ให้บริการห้างหรู ร้านค้าสะดวกซื้อ รวมถึงบริการหลายด้านในเมียนมา City Mart ลงทุนสร้างระบบกระเป๋าเงินของตัวเองร่วมกับ T2P เพื่อให้ลูกค้าของ City Mart สามารถเติมเงินและสะสมแต้ม เหมือนกับที่ Central ร่วมมือกับ T2P ในนาม CRG หรือ Central Restaurants Group

    น่าเสียดายที่ T2P ไม่ประเมินว่าตลาดรับทำ Wallet จะร้อนแรงเพียงใดในปีนี้ โดยไม่ฟันธงว่าบริษัทจะทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก 5 เท่าตัวแบบที่เกิดขึ้นในปี 61 แล้วหรือไม่ จุดนี้ผู้บริหารมองการแข่งขันในตลาด e-Wallet ว่าจะเป็นการเน้นแข่งขันไปตาม segment ซึ่งกรณีของ T2P จะยึดจุดเด่นเรื่องความครบวงจร เพราะ T2P มีครบทั้งระบบ KYC, ส่วนประกอบอื่น, ความเร็ว และความยืดหยุ่นของบริการ ทำให้แบรนด์เลือกใช้เพื่อให้บริการคอนซูเมอร์ไทยอีกทอดหนึ่ง

    ไม่ได้แทนที่บัตรเครดิต

    การเติบโตของ e-Wallet รายย่อยไม่ได้สร้างผลกระทบด้านลบกับธุรกิจบัตรเครดิต ซึ่งนักช้อปเคยมองเป็นช่องทางสะสมคะแนนแลกของรางวัลในยุคหนึ่ง สำหรับยุคทอง e-Wallet บัตรเครดิตก็จะยังได้รับยอดเงินที่เติมเข้าระบบอยู่ ทำให้ไม่มีการแทนที่บัตรเครดิต เพียงแต่ e-Wallet บนแอปพลิเคชั่นของแบรนด์จะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นเท่านั้น

    e-Wallet รายย่อยจึงถูกมองว่าเป็นหนทางสู่รูปแบบใหม่ของการทำโครงการ Loyalty ลูกค้าจะรู้สึกว่าได้รับประโยชน์เพิ่มมากกว่าการซื้อกับคู่แข่ง ซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกับลูกค้า Starbucks ที่นิยมซื้อกาแฟและสะสมแต้มผ่านแอปกันทั่วโลก กลายเป็นเส้นทางสู่ CRM ยุคใหม่ในสังคมไร้เงินสด.

    รู้หรือไม่?

    • คนไทยเปลี่ยนวิธีเติมเงินเข้าระบบ e-Wallet จากการเติมด้วยเงินสดมาเป็นเติมทางดิจิทัลแบงกิ้ง จากเดิมที่เติมด้วยเงินสดมากกว่า 60% วันนี้การเติมทางดิจิทัลแบงกิ้งซึ่งรวมโมบายแบงกิ้งด้วยนั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 60% แทน ปัจจัยเสริมเป็นเพราะการประกาศค่าธรรมเนียมโอนเงินต่างธนาคาร 0 บาท
    • รายได้ของ T2P เกิดขึ้นจากส่วนแบ่งต่อทรานเซ็กชั่น ยิ่งมีการใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ของแบรนด์ รายได้ของ T2P ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
    • T2P เตรียมลุยแพ็กเกจรับทำ e-Wallet แบบเจาะแบรนด์เล็กในปีนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจสูงในกลุ่ม SME ที่ต้องการเริ่มทำ CRM ยุคใหม่.
    ]]>
    1221523
    ผ่าเกม SCB จับมือ “ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว” จุดพลุ “QR Code” ในร้าน Street Food ตั้งเป้าปีนี้ได้เห็นแน่อีก 30 แฟรนไชส์ https://positioningmag.com/1208221 Mon, 14 Jan 2019 23:07:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208221 Thanatkit

    นับตั้งแต่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไฟเขียวให้สามารถจ่ายเงินผ่าน “QR Code” ตั้งแต่ปลายปี 2017 เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการกระตุ้นให้เกิดสังคมไร้เงินสดในเมืองไทย ตลอดปี 2018 สิ่งที่เราเห็นคือทุกธนาคารต่างงัดกลยุทธ์เพื่อชักจูงให้เกิดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นฝั่งร้านค้า หรือผู้ใช้งานก็ตาม

    ไม่เพียงการอัดโปรโมชั่นเท่านั้น แต่ละธนาคารก็หาวิธีเพิ่มกิมมิกเพื่อให้คนจดจำได้ง่าย และฉีกออกจากธนาคารอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เล่นกับความเชื่อของคนไทย โดยถอดแบบออกมาจากนางกวัก ซึ่งร้านค้าขายส่วนใหญ่มักจะตั้งอยู่หน้าร้าน เพราะมีความเชื่อสามารถกวักลูกค้าให้เข้าร้านได้ ฟาก SCB ก็ตั้งชื่อใหม่เป็นแม่มณี

    รูปจาก SCB Thailand

    1 ปีที่ผ่านมา “SCB QR แม่มณีมีจำนวนร้านค้าทั้งหมดกว่า 1.3 ล้านร้านค้า โดยปลายปีที่ผ่านมาได้มีการเปิดระบบใหม่ที่สามารถจ่ายเงินผ่าน QR Code แล้วไปหักบัตรเครดิตได้โดยตรง จากเดิมที่ต้องหักผ่านบัญชี จึงมีร้านค้าที่รองรับการจ่ายแบบบัตรเครดิตแล้ว 18,000 ร้าน

    ธุรกรรมทั้งหมดเกิดขึ้นภายใน “SCB EASY” โมบายแบงกิ้งของ SCB ที่มีจำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้นกว่า 3 เท่าตัวในช่วง 3 ปีมานี้ โดยในปี 2016 มีจำนวนผู้ใช้งาน 1.3 ร้านราย ถัดมาปี 2017 ตัวเลขอยู่ที่ 5.3 ล้านราย ตัวเลขล่าสุดปี 2018 พุ่งขึ้นไปเป็น 8.5 ล้านราย

    เช่นเดียวกันจำนวนผู้ใช้งานจำนวนธุรกรรมก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ย้อนกลับไปในปี 2016 ยังอยู่เพียง 89 ล้านธุรกรรม ปี 2017 มี 237 ล้านธุรกรรม ส่วนปี 2018 กระโดดขึ้นมาเป็น 711 ล้านธุรกรรม แน่นอนส่วนหนึ่งของยอดที่เติบโตมาจากจำนวนผู้ใช้งาน QR Code

    ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสะท้อนมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใช้จ่ายผ่านช่องทางดิจิทัลกันมากขึ้น ซึ่งทุกธนาคารต่างก็อยากได้ฐานลูกค้ากลุ่มนี้มาอยู่ในมือ เพราะไม่ใช่แค่เพียงธนาคารจะสามารถลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการจัดการเงินสด

    แต่ข้อมูลการใช้งานที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นแต้มต่อให้ธนาคาร สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า แล้วต่อยอดไปยังบริการอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อออนไลน์ที่ถูกมองจะเป็นโจทย์หลักที่ทุกธนาคารจะมาลุยกัน

    พิมพ์ใจ ทองมี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสาย Payments Product Sales and Delivery ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า

    นโยบายธนาคารต้องการให้ลูกค้าเปิดใช้แอปบ่อยๆ ดังนั้นบริการที่เพิ่มเข้ามาจึงต้องตอบสนองกับการใช้ชีวิตประจำวัน SCB จึงตั้งเป้าเพิ่มจำนวนร้านค้ากว่าเท่าตัว โดยโฟกัสหลักจะอยู่ที่อาหารที่เป็นสตรีทฟู้ดส์

    เหตุที่เลือกโฟกัสอาหารสตรีทฟู้ดส์ เป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมทั้งจากคนไทย และนักท่องเที่ยวต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าภายในปี 2020 มูลค่าตลาดอาหารสตรีทฟู้ดส์จะเพิ่มเป็น 340,000 ล้านบาท จาก 20,000 ล้านบาทในปี 2018 โดยร้านประเภทแฟรนไชส์จะมีส่วนแบ่งอยู่ 20%

    ทั้งยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บวงใน เกี่ยวกับพฤติกรรมการค้นหาข้อมูลร้านอาหารในประเทศไทย พบว่าในปี 2017 คนไทยมีการค้นหาเมนูอาหารเป็นจำนวนมากถึง 7,500,000 ครั้ง ซึ่งเมนูอาหารที่มีการค้นหามากที่สุด คือก๋วยเตี๋ยวทำให้เห็นว่าธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยว ยังคงได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก

    จึงเป็นที่มาของการจับมือกับชายสี่บะหมี่เกี๊ยวแฟรนไชส์ร้านอาหารสตรีทฟู้ดส์ที่มีสาขากว่า 4,300 สาขาทั่วประเทศ จึงเป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ในการเปิดให้ลูกค้าชำระค่าบะหมี่เกี๊ยว และผู้ซื้อแฟรนไชส์ชำระค่าซื้ออุปกรณ์ และวัตถุดิบจากชายสี่บะหมี่เกี๊ยวผ่าน QR Code ซึ่งไม่ได้รองรับแค่การตัดผ่านบัญชีเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการตัดผ่านบัตรเครดิตที่ได้ร่วมมือกับวีซ่าด้วย

    ถ้าจ่ายเงินค่าก๋วยเตี๋ยวราคา 35-40 บาทในร้านชายสี่บะหมี่เกี๊ยวได้ ที่อื่นก็สามารถจ่ายได้เหมือนกัน

    เบื้องต้นจะสามารถจ่ายได้ในร้าน 378 สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยพฤติกรรมคนผู้บริโภคที่นิยมใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต หลังจากเปิดให้บริการมีราว 1 เดือน พบมีการใช้จ่ายผ่าน QR Code เฉลี่ย 2-3 รายการต่อสาขา โดยต้องการเพิ่มเป็น 5-10 รายการต่อสาขา ภายในครึ่งปีแรกจะเพิ่มเป็น 2,000 สาขา เริ่มจากหัวเมืองก่อน

    ความร่วมมือครั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงการที่ร้านแฟรนไชส์สามารถชำระค่าสินค้าผ่านทาง QR Code ได้ด้วย ซึ่ง SCB เชื่อว่า จะเป็นการเชื่อมต่อสังคมไรเงินสดตั้งแต่ต้นน้ำคือเจ้าของแฟรนไชส์ กลางน้ำเป็นร้านค้า และปลายน้ำได้แก่ผู้บริโภค ที่ SCB พยายามกระตุ้นมาตลอด

    ปี 2019 SCB ตั้งเป้าจำนวนผู้ใช้งาน SCB EASY 12 ล้านราย ส่วน SCB QR แม่มณีต้องการเพิ่มเป็น 2 ล้านร้านค้า และที่รองรับบัตรเครดิตเพิ่มเป็น 1 แสนร้านค้า ซึ่ง SCB ยอมรับเป็นความท้าทายที่ต้องหาร้านที่ยอมรับการชำระด้วยบัตรเครดดิต

    ภายในปีนี้ SCB ตั้งเป้าเพิ่มร้านค้าที่เป็นแฟรนไชส์อีก 30 แบรนด์ เช่น ร้านชาไข่มุก จะได้เห็นแน่นอน

    ปัจจุบันมีจ่ายเงินผ่าน QR Code คิดเป็นเม็ดเงิน 2,000 ล้านบาท จำนวนธุรกรรม 2 ล้านครั้ง ด้วยจำนวนร้านค้าที่เพิ่มขึ้น SCB จึงตั้งเป้าเติบโต 3 เท่าทั้งเงินที่ใช้จ่ายและธุรกรรม ขณะเดียวกัน SCB ได้วางงบการตลาดกว่า 200 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้งานอีกด้วย

    ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวร้านก๋วยเตี๋ยวที่อยากติดนามสกุลมหาชน

    สำหรับ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยววางแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอีก 3-4 ปีข้างหน้า มองว่า  การจับมือกับ SCB ที่ให้แฟรนไชส์สามารถจ่ายผ่าน QR Code จะทำให้ได้ตัวเลขทางบัญชีเข้ามาเสริมรวมไปถึงได้ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามาไว้ในมือ เป็นผลดีต่อการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ มีข้อกำหนดทางบัญชีที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

    พันธ์รบ กำลา ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว บอกว่า ธุรกิจเอสเอ็มอีถ้าอยากเป็นนกอินทรีต้องเข้าตลาด ซึ่งในปีที่เข้าตลาดคาดจะมีสาขาทั้งหมด 8,000 – 10,000 สาขา และมีรายได้ราว 1,400 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนั้นอีก 10 ปีอยากมีรายได้เพิ่มเป็น 10,000 ล้านบาท

    ก่อนจะไปถึงวันนั้นชายสี่บะหมี่เกี๊ยววางแผนเปิดโมเดลร้านขึ้นมาใหม่ชื่อ “CHYSEE FACTORY” เป็นร้านสแตนด์อโลนพรีเมียมขึ้น ต้องการเจาะกลุ่มคนที่มีเงินเพิ่มมาอีกหน่อย โดยจะมีเครื่องให้เลือกมากกว่า และราคาเริ่มต้น 49 บาท ต่างจากร้านรถเข็นที่มีราคา 35-40 บาท

    นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดร้านชานมไข่มุก ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของตลาด และการบริหารจัดการไม่ได้ยุ่งยากมากนัก เบื้องต้นทดลอง 1 สาขาที่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ใช้ชื่อว่าทรีชาราคาขายอยู่ที่ 19 บาท มียอดขายราว 200 แก้วต่อวัน โดยตั้งเป้าขยาย 100 สาขาภายใน 1 ปี

    นับเป็นความร่วมมือทางธุรกิจเพื่อเดินเกมรบของทั้งธนาคารไทยพาณิชย์และชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ที่หวังจะเพิ่มความสะดวกในการชำระเงินและต่อยอดธุรกิจต่อไปในอนาคต.

    ]]>
    1208221