สิ่งพิมพ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Dec 2022 13:05:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คุยกับ ‘ฟูจิฟิล์ม’ และ ‘ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น’ กับการผนึกกำลังสู่ No.1 Total Printing Solution ด้าน ‘การพิมพ์’ ครบจบทุกความต้องการ https://positioningmag.com/1412121 Wed, 14 Dec 2022 10:00:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412121

เพื่อเป็นการอุดช่องว่างให้กันและกัน ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย ผนึก ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ช่วยกันเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจระหว่างบริษัทในเครือฯ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ การพิมพ์ ทั่วโลกเปลี่ยนไปนับตั้งแต่ช่วงการระบาดใหญ่ โดย คุณรัชกฤช เต็มบุญศักดิ์ Business Unit Head of Graphic Communication Business Division and Industrial บริษัท ฟูจิฟิล์ม (ประเทศไทย) จํากัด และ คุณกิตติ พรพิพัฒน์วงศ์ General Manager of Graphic Communication Service บริษัท ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น (ประเทศไทย) จํากัด จะมาเล่าถึงจุดแข็งของการผนึกกำลังและแนวทางการช่วยให้ พาร์ทเนอร์ ของฟูจิฟิล์ม ปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ที่เปลี่ยนไป


ธุรกิจการพิมพ์ถูกขับเคลื่อนด้วยตลาดบรรจุภัณฑ์

สถานการณ์โลกที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากมาย พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นทิศทางบวกขึ้น มีการลงทุนในธุรกิจการพิมพ์มากขึ้น แม้หลายบริษัทปิดไปแต่มีผู้ประกอบการเกิดใหม่เยอะ โดยตลาดธุรกิจสิ่งพิมพ์ยังคงเติบโตได้ราว 5% ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า เพราะปัจจุบัน การพิมพ์ไม่ได้มีแค่สื่อสิ่งพิมพ์ แต่ใช้กับเสื้อผ้าแฟชั่น อีคอมเมิร์ซ การตกแต่งบ้าน โฆษณา และบรรจุภัณฑ์

โดยกลุ่มบรรจุภัณฑ์ถือเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด คิดเป็นสัดส่วนถึง 70% และมีอัตราการเติบโต 15-20% ปัจจุบัน บรรจุภัณฑ์ในเอเชียเป็นตลาดใหญ่ที่สุดในโลก เนื่องจากการใช้ในตลาดอีคอมเมิร์ซ การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และเภสัชภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์แบบ On Go และ On Fly หรือ ฉีก กิน ทิ้ง และเน้นทำเป็น ชิ้นเดียวมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกสบาย เพราะเทรนด์ตอนนี้คนใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น มีครอบครัวที่เล็กลง หรืออยู่คนเดียว ทำให้ซื้อสินค้าในปริมาณน้อยลงแต่ถี่ขึ้น

“สิ่งพิมพ์ยังเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน โดยตั้งแต่เกิดการระบาดจะเห็นว่าการสั่งอาหารหรือสินค้าออนไลน์เป็นเรื่องปกติ ทำให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะกราฟฟิกดีไซน์ที่เขาหันมาทำเอง ทำให้มีบรรจุภัณฑ์สินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย” คุณกิตติ กล่าว


ผนึกกำลังปิดรอยรั่วให้ลูกค้า

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจการพิมพ์ก็เปลี่ยนตาม มีข้อจำกัดมากขึ้น ซึ่งแนวคิดของบริษัทนั้นมองตัวเองเป็นพันธมิตรทางธุรกิจให้กับลูกค้า โดยเน้นที่การตอบโจทย์ความต้องการ แก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับลูกค้า และการผนึกกำลังระหว่าง ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย ที่มีจุดแข็งในด้านของนวัตกรรมการพิมพ์เชิงพาณิชย์และบรรจุภัณฑ์ที่ล้ำสมัยสามารถตอบโจทย์ได้ทุกงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโทนสี และความสามารถในการพิมพ์บนวัสดุที่หลากหลาย อาทิ วัสดุพื้นแข็งอย่างพวกกระป๋องบรรจุภัณฑ์โลหะก็สามารถทำได้ และ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ที่นอกจากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานเอกสาร และโซลูชันสำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์แบบครบวงจร ซึ่งการรวมจุดแข็งของทั้ง ฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย และฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ในครั้งนี้ จะช่วยเติมเต็มทุกความต้องการของลูกค้าในฐานะ No.1 Total Printing Solution ที่พร้อมทั้งเครื่องพิมพ์ระบบแอนาล็อก, เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล และโซลูชั่นอย่างครบวงจร ตอบบโจทย์ที่งานพิมพ์ของตลาดในปัจจุบัน

“เราเป็น No.1 Total Printing Solution ไม่ได้ถ้าไม่มีกันและกัน เพราะฟูจิฟิล์มมีจุดแข็งที่เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ส่วนฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่นมีเครื่องพิมพ์โทนเนอร์และโซลูชั่น ดังนั้น ลูกค้าต้องการอะไรเราก็สามารถตอบสนองได้หมด” คุณรัชกฤช อธิบาย

ปัจจุบัน ลูกค้ามีความกังวลเรื่องต้นทุนมากที่สุด ดังนั้น ภายใต้แนวคิดของฟูจิฟิล์มคือ การไม่หยุดยั้งพัฒนานวัตกรรมอย่างล้ำหน้าอยู่เสมอ ทำให้บริษัทสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพงานพิมพ์ และพัฒนานวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแคมเปญ NEVER STOP Believing in Print ของฟูจิฟิล์ม แสดงถึงความมุ่งมั่นของฟูจิฟิล์มที่จะพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการอยู่รอดในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ และนอกจากนี้ ฟูจิฟิล์มพร้อมให้คำแนะนำพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับตัวและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

“เราเข้าไปคุยกับลูกค้าว่าเขามีอะไร ขาดอะไร ต้องการเสริมอะไร ซึ่งการผนึกกำลังของฟูจิฟิล์มและฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น เพิ่มศักยภาพในการช่วยอุดรอยรั่ว ทำให้เราสามารถตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตไปพร้อมกับเรา” คุณรัชกฤช กล่าว


นำเสนอมากกว่าเครื่องพิมพ์

ฟูจิฟิล์มมุ่งมั่นเสริมความแข็งแกร่งภายใต้คอนเซปท์ “Connect the Future” เชื่อมโยงความสำเร็จสู่อนาคตด้วยนวัตกรรมการพิมพ์จากฟูจิฟิล์ม ตอกย้ำการเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจการพิมพ์ ฟูจิฟิล์มมีผู้ที่ได้การรับรองระดับ Fogra ISO เยอะที่สุดในเอเชียแปซิฟิค และยังเป็นโชว์รูมเดียวในเอเชียแปซิฟิค ที่ได้รับการรับรอง Process Standard Digital printing (PSD)

“นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัลที่เป็นระบบโทนเนอร์ ของ ฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ยังมียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 50-60% ซึ่งมันตอบคำถามทั้งความเชื่อมั่นในภาพลักษณ์ การบริการ และ คุณภาพ ของ ฟูจิฟิล์ม” คุณกิตติ เสริม


เชื่อมั่นเทคโนโลยียึดที่ 1 ตลาดไทย

แม้ตลาดโดยรวมยังใช้เครื่องพิมพ์ระบบแอนาล็อก โดยคิดเป็น 70% ของตลาด แต่ผู้ประกอบการก็พร้อมลงทุนในเครื่องพิมพ์ระบบดิจิทัล โดยฟูจิฟิล์ม ประเทศไทยนำเสนอ JetPress 750S รุ่น High Speed เครื่องพิมพ์ดิจิทัลใหม่ล่าสุด ที่ใช้หัวพิมพ์อิงค์เจ็ท SAMBA™ สามารถปล่อยหมึกได้ตามคำสั่ง มาพร้อมหัวฉีดที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผม และความเร็วในการพิมพ์ 100khz ทำให้งานพิมพ์คมชัดและคงทน ที่สำคัญยังถือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของฟูจิฟิล์ม สามารถพิมพ์งานได้ถึง 3,600 แผ่นต่อชั่วโมง ในโหมด High Quality และ 5,400 แผ่นต่อชั่วโมง ในโหมด High Performance เหมาะสำหรับงานพิมพ์เชิงพาณิชย์และบรรจุภัณฑ์ จนไปถึงงานพิมพ์ระดับ High-end อีกด้วย

เครื่องพิมพ์ดิจิทัล JetPress 750s รุ่น High Speed

ด้านฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ก็ได้นำเสนอ เครื่องพิมพ์ REVORIA PRESS™ PC1120 เครื่องพิมพ์ระดับโปรดักชั่นรุ่นใหม่ล่าสุดที่ผสานนวัตกรรมการพิมพ์คุณภาพสูง สามารถพิมพ์สีพิเศษ เช่น สีเงิน สีทอง สีชมพู และสีขาวได้คมชัดสมจริง อีกทั้งยังสามารถพิมพ์ลงบนวัตถุต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ รวมไปถึงสามารถพิมพ์ลงบนแผ่นพลาสติกได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี AI ที่ช่วยในการปรับสีภาพให้นุ่มนวลและสดใส โดยผลวิจัยพบว่า ลูกค้ายอมจ่ายเพิ่ม 25-400% เพื่อให้ได้คุณภาพการพิมพ์ที่ดี

“เราพยายามก้าวไปอีกขั้น เพราะทุกแบรนด์มีจุดอ่อนจุดแข็งเหมือนกัน แต่จะทำยังไงให้เขายอมจ่าย มีการซื้อซ้ำและบอกต่อ เพราะลูกค้าเขาไม่ได้เลือกของที่ราคาถูกสุดเสมอไป แต่เขามองหาจุดคุ้มทุน จ่ายเพิ่มหน่อย แต่สามารถพิมพ์สีพิเศษให้ลูกค้าได้ ก็แข่งขันในตลาดได้มากกว่า” คุณกิตติ กล่าว

ปัจจุบัน ฟูจิฟิล์มเป็น อันดับ 1 ในตลาด Digital Printing โดยมีส่วนแบ่งตลาด 50-60% ซึ่งบริษัทตั้งเป้าที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดนี้ และสร้างการเติบโตอีก 5-10% ภายในปีนี้

“ฟูจิฟิล์มไม่ได้ต้องการเติบโตเร็ว แต่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นที่เรื่องเซอร์วิสเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก และไม่ได้มองแค่ขายสินค้าให้ลูกค้า แต่ช่วยสร้างการเติบโตให้ธุรกิจลูกค้า” คุณรัชกฤช ทิ้งท้าย

สุดท้าย การผนึกกำลังของฟูจิฟิล์ม ประเทศไทย และฟูจิฟิล์ม บิสซิเนส อินโนเวชั่น ประเทศไทย ไม่ได้แค่ช่วยเติมเต็มกันและกันหรือเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การก้าวสู่การเป็น No.1 Total Printing Solutions นั้น จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ด้วยนวัตกรรมที่ล้ำหน้าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยอุดรอยรั่วพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและพร้อมรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน

]]>
1412121
รัฐบาล ‘ออสเตรเลีย’ มีแผนบังคับ Facebook และ Google แบ่งรายได้ 10% ให้สื่อท้องถิ่น https://positioningmag.com/1283782 Tue, 16 Jun 2020 09:08:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283782 แน่นอนว่าการลง ‘โฆษณา’ จำเป็นต้องอยู่ในสื่อที่มีคนเห็นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า Social Media ที่เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะเป็นตัวเลือกหลักในยุคนี้ โดยเฉพาะช่วง Covid-19 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าสื่อดั้งเดิมอย่าง ‘สิ่งพิมพ์’ เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดนผลกระทบไปเต็ม ๆ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าประเทศ ‘ออสเตรเลีย’ กำลังหาทางแก้ปัญหานี้อยู่

ออสเตรเลีย มีแผนที่จะบังคับให้ Facebook และ Google แบ่งรายได้จากค่าโฆษณาที่ได้ให้กับสื่อท้องถิ่น โดยจุดเริ่มต้นของแผนนี้ ได้รับแรงผลักดันอย่างมากจาก บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่สองแห่งของออสเตรเลียคือ Rupert Murdoch’s News Corp และ Nine Entertainment

โดยทั้ง 2 บริษัทยืนยันว่า วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมข่าวทั่วโลกนั้นส่วนใหญ่เป็นเพราะ Google, Facebook และบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่มีรายได้จากการโฆษณาออนไลน์โดยไม่ได้ชดเชยบริษัทสื่ออย่างเป็นธรรม สำหรับการโฆษณากับเนื้อหาข่าวที่ไปเผยแพร่บนฟีดของแพลตฟอร์ม

เม็ดเงินโฆษณาที่เคยไหลไปยังหนังสือพิมพ์ก่อนหน้านี้ ได้ถูกลดทอนลง ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 โดยในประเทศออสเตรเลีย News Corp, Nine Entertainment และสื่ออื่น ๆ ได้ประกาศลดจำนวนพนักงาน กองบรรณาธิการ โดยมีห้องข่าวและหนังสือพิมพ์มากกว่า 170 รายถูกปิดตัวลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ACCC ผู้ควบคุมการแข่งขันของออสเตรเลียคาดการณ์ว่า Google และ Facebook มีรายได้ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี จากการโฆษณา ขณะที่สำนักพิมพ์ชั้นนำเรียกร้องให้ทั้ง Facebook และ Google จ่ายเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้ให้กับองค์กรข่าวท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว Google ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัฐ โดยอ้างว่ามันสร้างรายได้เพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากโฆษณาที่เชื่อมโยงข่าว ส่วน Facebook ปฏิเสธข้อเรียกร้องไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเช่นกัน

Source

]]>
1283782
The Nation 48 ปี ลาแผง สุดต้านโฆษณาสิ่งพิมพ์ทรุดหนัก มุ่งหน้าแพลตฟอร์มออนไลน์ https://positioningmag.com/1230049 Wed, 15 May 2019 12:21:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230049 ปิดตำนานหนังสือพิมพ์ 48 ปี กันไปอีกราย สำหรับ The Nation หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ฉบับแรกที่มีเจ้าของเป็นคนไทย ก่อตั้งโดย “สุทธิชัย หยุ่น” ในปี 2514 เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับแรกของเครือเนชั่น ก่อนที่จะขยายอาณาจักรสื่อหนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ “กรุงเทพธุรกิจ และคม ชัด ลึก” ตามด้วยสื่อโทรทัศน์ “เนชั่นทีวี”

The Nation ฉบับสุดท้ายจะตีพิมพ์วันศุกร์ 28 มิ.ย. 2562 เป็นการปิดตัวก่อนครบรอบวันเกิดในวันที่ 1 ก.ค. เป็นการลาแผงโดยไม่มีการ “เลิกจ้าง” พนักงานในกองบรรณาธิการ เพื่อมุ่งหน้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เต็มรูปแบบ

การปิดฉากหนังสือพิมพ์ The Nation ก็เหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจาก Technology Disruption ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพสื่อเปลี่ยนแปลงไป เมื่อผู้อ่านลดลง รายได้จากยอดขายหนังสือพิมพ์และโฆษณาก็หดตัวตาม  

หากดูงบโฆษณาหนังสือพิมพ์ พบว่าตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมาอยู่ในขั้น “ทรุดหนัก” อัตราการลดลงเป็นตัวเลข 2 หลัก มาต่อเนื่อง จากสื่อที่ครองเม็ดเงินอันดับ 2 รองจากทีวี เคยมีมูลค่าโฆษณาสูงสุดกว่า 2 หมื่นล้านบาท มาในปี 2561 “นีลเส็น” รายงานเม็ดเงินโฆษณาอยู่ที่ 6,100 ล้านบาท ติดลบ 20% และปีนี้  สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) คาดการณ์ มูลค่าอยู่ที่ 4,575 ล้านบาท ติดลบ 25%

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด กล่าวว่า หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ ในประเทศไทยมี 2 ฉบับ คือ “บางกอกโพสต์” อายุ 72 ปี และ The Nation อายุ 48 ปี

กลุ่มผู้อ่านหลักทั้ง 2 ฉบับ คือ กลุ่มบน ทั้งคนไทยและต่างชาติ รวมทั้งคนสูงอายุที่คุ้นชินกับการหยิบจับหนังสือพิมพ์และไม่ถนัดอ่านจากสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ ซึ่งต้องบอกว่ามีผู้อ่านกลุ่มนี้ลดลงเรื่อยๆ ปัจจุบันผู้อ่านกลุ่มบนย้ายไปอ่านบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย เมื่อผู้อ่านลดลงก็สะท้อนกลับไปที่เม็ดเงินโฆษณาก็หดตัวตาม จะเห็นได้ว่าเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นแหล่งรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ “ลดลง” อย่างมาก

ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) เม็ดเงินโฆษณาหนังสือพิมพ์อยู่ที่ 1,333 ล้านบาท ลดลง 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยงบโฆษณาหนังสือพิมพ์เป็นสัดส่วนเพียง 4% ของอุตสาหกรรมโฆษณาแสนล้าน หากโฟกัสเฉพาะโฆษณาหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมีสัดส่วนไม่ถึง 10% ของงบโฆษณาหนังสือพิมพ์ และไม่ถึง 0.5% ของอุตสาหกรรมโฆษณาและมีแนวโน้มถดถอยมากกว่าสื่ออื่นๆ

จึงไม่สามารถปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้กับการต้องปิดหนังสือพิมพ์ฉบับเล่ม เพื่อลดต้นทุน และมุ่งหน้าสู่ออนไลน์เต็มรูปแบบ.

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1230049
“อมรินทร์” โชว์กำไรรอบ 4 ปี เปิดโมเดลรอด! ยุคสิ่งพิมพ์ทรุด-ทีวีแข่งเดือด https://positioningmag.com/1215939 Fri, 22 Feb 2019 13:07:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215939 เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการสื่อ “สิ่งพิมพ์” ที่ขยายตัวสู่ธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” และต้องเผชิญสถานการณ์ “ขาดทุน” นับจากปี 2557 หลังปรับโครงสร้างดึงทุนใหญ่ “ไทยเบฟ” เข้ามาร่วมถือหุ้น 47% ช่วงปลายปี 2559 เพื่อลดภาระต้นทุนดอกเบี้ย มาวันนี้ “อมรินทร์” ก้าวขึ้นมาอยู่ในฝั่ง “ผู้รอด” กลับมาโชว์ตัวเลข “กำไร” อีกครั้งในปี 2561  

บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) รายงานผลประกอบการปี 2561 มีรายได้รวม 3,526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57% กำไร 174 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 206% เป็นการกลับมา “กำไร” ครั้งแรกหลังยุคทีวีดิจิทัล มาย้อนดูรายได้กลุ่มอมรินทร์ ตั้งแต่เริ่มธุรกิจทีวีดิจิทัล

  • ปี 2557 รายได้ 1,913 ล้านบาท  ขาดทุน 87 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 2,003 ล้านบาท  ขาดทุน 417 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 1,945 ล้านบาท  ขาดทุน 628 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 2,237 ล้านบาท  ขาดทุน 163 ล้านบาท

“ทีวีดิจิทัล” ปีนี้กำไร

ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ผลประกอบการบริษัทในปี 2561 กลับมาเติบโตและทำกำไรอีกครั้งมาจาก รายได้ “ทีวีดิจิทัล” ช่องอมรินทร์ทีวี เอชดี 34 เติบโต 84% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จากรายการที่มีเรตติ้งเพิ่มขึ้น ทำให้ปี 2561 อมรินทร์ทีวี อยู่อันดับ 8 เรตติ้ง 0.3 ปีที่ผ่านมาจึงปรับราคาโฆษณาขึ้น 20-30%

ปี 2562 ใช้งบลงทุน 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ลงทุนคอนเทนต์ราว 200-300 ล้านบาท เพื่อผลิตรายการ กลุ่มบันเทิงเพิ่มเติม โดยร่วมกับ เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ มีรายการเกมโชว์ใหม่ รวมทั้งจ้าง Change 2561 โดย “ฉอด สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ผลิตละคร 2 เรื่องในปีนี้ เพื่อขยายฐานผู้ชมกลุ่มแมส และเพิ่มคอนเทนต์กีฬา ซึ่งไทยเบฟ เป็นผู้สนับสนุนหลายประเภท เริ่มที่รายการมวย 

คอนเทนต์ใหม่ที่เข้ามาเพิ่มในปีนี้ จะช่วยเสริมจุดแข็งด้าน Lifestyle Entertainment เดิมของอมรินทร์ทีวี ที่มีฐานผู้ชมกรุงเทพฯ และหัวเมืองเป็นหลัก พร้อมทั้งเปิดตัว แอปพลิเคชั่น ทีวี “34 HD” เพื่อดึงผู้ชมทีวีให้อยู่กับช่องอมริทร์ให้นานขึ้น และขยายผู้ชมกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดูคอนเทนต์ทีวีผ่านสมาร์ทดีไวซ์ที่สะดวก  

ปี 2561 ธุรกิจทีวี มีรายได้ราว 800 ล้านบาท ยังถือว่าเป็นธุรกิจที่ขาดทุน แม้ภาพรวมอมรินทร์จะกลับมาทำกำไร ด้วยเรตติ้งที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง ปีนี้น่าจะทำเรตติ้งได้ 0.45 อยู่ในกลุ่มท็อปเทน และครึ่งปีหลังอาจพิจารณาเรื่องปรับขึ้นราคาโฆษณา ปี 2562 จึงตั้งเป้าหมายรายได้ทีวีอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท และมีกำไรเป็นปีแรก

“ทีวีดิจิทัลยังคงเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง แต่การปรับตัวของอมรินทร์ทั้งโครงสร้างผู้ถือหุ้น คอนเทนต์และดิจิทัล แพลตฟอร์ม วันนี้เราเลือดหยุดไหลแล้ว ปีนี้จะเป็นปีที่ทีวีดิจิทัลทำกำไร”

“นิตยสาร” ยังไปต่อ

สำหรับธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะ “นิตยสาร” ที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาลดลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าสื่ออื่นๆ ปี 2561 นีลเส็น รายงานมูลค่าอยู่ที่ 1,315 ล้านบาท ติดลบ 33% จากปีก่อน และคาดการณ์ปีนี้ยังคงถดถอยอย่างมากต่อไป

ระรินบอกว่าที่ผ่านมาธุรกิจ “นิตยสาร” ของอมรินทร์ ซึ่งปัจจุบันมี 8 หัว คือ บ้านและสวน, แพรว, สุดสัปดาห์, แพรว เวดดิ้ง, ชีวจิต  Room, Amarin Baby&Kids และ National Geographic อยู่ในภาวะ “ทรงตัว” แม้ไม่เติบโตเหมือนอดีต แต่เรียกว่ายังอยู่ได้ ขณะที่ภาพรวมนิตยสารถดถอยอย่างมาก ปัจจุบันนิตยสารยังตอบโจทย์การโฆษณาของกลุ่มสินค้าลักชัวรี และผู้อ่านเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง

ที่ผ่านมาอมรินทร์ปรับตัวการทำสื่อนิตยสารมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการก้าวเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ นิตยสารทุกหัว มีเว็บไซต์และสื่อโซเชียลเป็นช่องทางสื่อสารและนำเสนอคอนเทนต์ เว็บไซต์ “บ้านและสวน” เปิดมาแล้วกว่า 10 ปี 

“การปรับตัวสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของนิตยสารในเครืออมรินทร์ ปัจจุบันบางฉบับมีรายได้จากออนไลน์ใกล้เคียงรายได้แบบรูปเล่มแล้ว”

นอกจากนี้ ในเดือนเมษายนนี้เตรียมเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ Amarin Writer เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเป็น Online Content Creator กับอมรินทร์ เพื่อนำเสนอผ่านเว็บไซต์ทุกแบรนด์นิตยสารของอมรินทร์ โดยจะมีบรรณาธิการ ตรวจสอบก่อนเผยแพร่ หากได้รับการเผยแพร่ผู้เขียนจะได้รับค่าตอบแทนการเขียนเรื่อง ถือป็นการเพิ่มคอนเทนต์ที่หลากหลายให้ผู้อ่าน และเป็นการเพิ่มทราฟฟิกผู้อ่านให้สื่อออนไลน์ของบริษัท วางเป้าหมายเพิ่มขึ้น 20% ในปีนี้  

ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยี ดิสรัปชั่นในสื่อสิ่งพิมพ์ ที่มีนิตยสารทยอยปิดตัวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เครืออมรินทร์ ถือเป็นผู้ประกอบการที่ยังอยู่รอดได้และมีนิตยสารในเครือมากที่สุด แต่ ระริน มองว่าในธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยราย ไม่ได้ส่งผลดี การมีคู่แข่งจะช่วยกันกระตุ้นตลาดให้เติบโตได้ จะเห็นได้ว่ามูลค่าโฆษณานิตยสารที่หดตัวลง มาจากผู้เล่นที่หายไปจากตลาดนั่นเอง          

เปิดแพลตฟอร์ม UGC

สำหรับธุรกิจ “หนังสือเล่ม” ทั้งส่วนสำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์และการจัดจำหน่ายยังคงเติบโตได้ โดยไตรมาส 3 ปี 2561 บริษัทได้ซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ ในบริษัทอมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายสิ่งพิมพ์ ได้แก่นิตยสารหนังสือเล่มและสินค้าอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากเดิมถือหุ้น 19% เป็น 100% ส่งผลให้รายได้จากการจัดจำหน่ายนิตยสารและหนังสือเล่มเพิ่มขึ้น 145% ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้หนังสือเล่มยังคงเติบโตได้ 16%

ในสายงานจัดจำหน่ายอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ ปี 2562 ได้ขยายตลาดหนังสือเพิ่มเติม คือ หนังสือแบบเรียน ตั้งเป้ารายได้ 200 ล้านบาทใน 3 ปี

ปีนี้ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม User-generated content (UGC) เว็บไซต์  Mareads.com ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเขียนและอ่านนิยายออนไลน์และสามารถสั่งพิมพ์ Print on Demand ได้ ซึ่งในฝั่งของ “นักเขียน” จะมีความสะดวกในการสั่งพิมพ์กับโรงพิมพ์ของอมรินทร์ได้ทันที  การเปิดตัวแพลตฟอร์มดังกล่าวเนื่องจากเห็นแนวโน้มการเติบโตของทั้งนักเขียนและนักอ่านนิยายออนไลน์ ที่แต่ละแพลตฟอร์มมีผู้อ่านหลักล้านคน

ระริน กล่าวว่าธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงคือ “สื่อออนไลน์” จากรายได้โฆษณาและรับจ้างผลิตงานดิจิทัล ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 95% โดยทราฟฟิกเพิ่มขึ้น 52% จากกลุ่มแบรนด์นิตยสาร Living, ไลฟ์สไตล์และสุขภาพ มียอด Reach ลูกค้าต่อเดือนอยู่ที่ 130 ล้าน ในปีนี้ตั้งเป้าทราฟฟิกเติบโต 100%

ขณะที่ธุรกิจงานแฟร์เพิ่มขึ้น 12% ปีก่อนได้เพิ่ม 3 งานแฟร์ใหม่ ได้แก่ บ้านและสวน Select, กินดีอยู่ดี และ นายอินทร์สนามอ่านเล่น ปัจจุบันมีงานแฟร์ปีละ 20 งาน

ทางรอด “ออมนิ มีเดีย”

การปรับตัวของอมรินทร์ที่ผ่านมาที่ธุรกิจทั้งสิ่งพิมพ์และทีวีสามารถเติบโตได้ อยู่ภายใต้กลยุทธ์ Omni Media จากการผนึกกำลังของทุกสื่อในเครือ ทั้ง On Print นิตยสารและหนังสือเล่ม, Online สื่อบนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย, On Shop ร้านนายอินทร์, On Air ทีวีดิจิทัล ช่องอมรินทร์ทีวี และ On Ground งานแฟร์และกิจกรรมต่างๆ เมื่อผนวกร่วมกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นจุดแข็งและเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะใช้ในการเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป  

ปัจจุบันลูกค้าที่เข้ามาใช้สื่อกับเครืออมรินทร์ จะซื้อสื่อเป็นแพ็กเกจครอบคลุมทุกช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภคในยุคนี้ โดยปีนี้ได้ขยายธุรกิจ “มีเดีย คอมเมิร์ช” เพิ่มเติมด้วยการเปิดตัวรายการ Amarin Shopping ทางช่องอมรินทร์ทีวี ปัจจุบันนำเสนอรายการวันละ 1 ชั่วโมง และจะขยายเพิ่มอีกในไตรมาส 2 และกลางปีนี้ได้เตรียมเปิดตัวตัวแพลตฟอร์ม เว็บไซต์  Amvata.com รูปแบบมาร์เก็ตเพลส ที่จะเป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าอยู่ในทุกสื่อของเครืออมรินทร์

การเดินหน้าสู่ “ออมนิ มีเดีย” ของกลุ่มอมรินทร์ เพื่อตอบโจทย์ Amarin Eco-system ดึงผู้บริโภคให้อยู่กับสื่อและคอนเทนต์ของอมรินทร์ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ครอบคลุมทุกช่องทางและไปจบด้วยการซื้อสินค้าผ่านมีเดีย คอมเมิร์ซในทุกสื่อ เพื่อทำให้ อมรินทร์เป็นตัวเลือกในการใช้สื่อโฆษณาของสินค้าและแบรนด์ต่างๆ ที่สามารถใช้เป็นช่องทางปิดการขายภายใต้แพลตฟอร์มเดียว

ปีนี้จึงมั่นใจว่ารายได้ อมรินทร์ ยังเติบโตได้อีกไม่ต่ำกว่า 40%

]]>
1215939
ยุบ Men’s Fitness แต่แมส กรุ๊ป ยังขอโต เปลี่ยน L’Optimum เป็น L’Officiel Hommes เปิดลิสต์ท็อป 15 ธุรกิจ-แบรนด์ยังซื้อโฆษณาสิ่งพิมพ์ https://positioningmag.com/1151473 Fri, 22 Dec 2017 14:51:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151473  “ไม่ได้ขาดทุน ไม่ได้วิกฤต แถมยังไปได้ดี ด้วยรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 20-25% แต่ก็ต้องปิด และยุบนิตยสารในเครือ 1 เล่ม และเปลี่ยนชื่อ 1 เล่ม นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับบริษัท แมส คอนเน็ค จำกัด ค่ายหนังสือหัวนอกระดับไฮเอนด์หลายฉบับ

พรวิภา เธียรธนวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทแมส คอนเน็ค จำกัด เปิดแถลงข่าว หลังมีข่าวลือว่าจะมีการปิดตัวนิตยสารบางเล่มในเครือ ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ

เล่มแรก “เมนส์ ฟิตเนส (Men’s Fitness)” บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์คือ อเมริกัน มีเดีย ได้แจ้งยุติการพิมพ์ทั่วโลก ดังนั้น นิตยสาร เมนส์ ฟิตเนส ประเทศไทย ฉบับเดือนธันวาคมนี้ จึงเป็นฉบับสุดท้าย หลังจากเพิ่งเริ่มพิมพ์เล่มแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 รวม 8 ฉบับเท่านั้น

จริง ๆ แล้ว เมนส์ ฟิตเนส ยังไปได้ดีและมีรายได้ตามเทรนด์ของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค และตัวเองยังได้บินไปเพื่อเจรจาอยากให้พิมพ์ต่อในเมืองไทย แต่สไตล์ของอเมริกาเมื่อตัดสินใจคือชัดเจนว่าปิด และทางเจ้าของลิขสิทธิ์เองก็ไม่อยากให้มีชื่อนิตยสารนี้อีกแล้ว พรวิภา กล่าว

เล่มที่สอง คือจะไม่มีชื่อนิตยสาร ลอปติมัม อีกต่อไป แต่จะรวมจุดแข็งของเนื้อหาเล่มที่เจาะกลุ่มผู้ชายไปอยู่ในนิตยสาร ชื่อ ลอฟฟีเซียล ออมส์ (L’Officiel Hommes) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ตามนโยบายของเจ้าของลิขสิทธิ์ คือสำนักพิมพ์ฌาลู เจ้าของและผู้ผลิต นิตยสารลอฟฟีเชียล และลอปติมัม ฝรั่งเศส

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่มีผลกับพนักงาน อย่างพนักงาน เมนส์ ฟิตเนสประมาณ 5 คนยังมีหน้าที่ทำนิตยสารให้ในเครือต่อไป

**แมส กรุ๊ป รุกขายแพ็กเกจสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ดันรายได้

นับตั้งแต่ปีหน้า แมส กรุ๊ป มีนิตยสารรายเดือนในเครือดังนี้

L’Officiel ,  L’Officiel Hommes

กลุ่มราย 2 เดือน L’Officel wedding , L’officiel watches and jewelry และ L’Oficiel art  design and decors , นิตยสารนาฬิการาย 3 เดือน Wow Thailand  นอกจากนี้ยังรับจ้างผลิตนิตยสารรายเดือนบนเครื่องบิน We smile

พรวิภา เปิดเผยว่า ความเปลี่ยนแปลงนิตยสารสองเล่มในเครือดังกล่าว เป็นไปตามแผนของต่างประเทศ ที่ผ่านมาแมสกรุ๊ปปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีมาตลอด นับตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว ลอฟฟีเชียล ไทยแลนด์ ในปี 2555 โดยมีช่องทางโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และทีมงานของแมสกรุ๊ป ก็ปรับตัวได้ตามเทรนด์ รวมถึงยังมีทีมงานกลุ่มใหม่ ๆ ทั้งครีเอทีฟ ตัดต่อ ภาพวิดีโอ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคทางออนไลน์ด้วย

โมเดลธุรกิจของนิตยสารในเครือที่ใช้แพลตฟอร์ม “ออนไลน์” ด้วย จึงมีรายได้เติบโตปีละประมาณ 20-25% และปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 25% เพราะมีการขายโฆษณาเป็นแพ็กเกจ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การลงโฆษณาในนิตยสารอย่างเดียว แต่ถ้าลูกค้าต้องการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไอจี ก็มีรูปแบบให้ลูกค้าเลือก

นอกจากนี้ยังมีอินฟลูเอ็นเซอร์ อย่างที่มีแคมเปญชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ร่วมกับแมสกรุ๊ปทำ และยังมีอีกหลายคนสำหรับหลายเซ็กเมนต์ รวมถึงยังมี เคโอแอล ในสังกัด บริษัทเคโอแอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่ อาลี ซีอานี หนึ่งในผู้ถือหุ้นของแมสกรุ๊ป ร่วมถือหุ้นกับชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ด้วย

***เปิดลิสต์ 15 ธุรกิจ-แบรนด์ ซื้อโฆษณาสิ่งพิมพ์

บริษัทมีเดีย อินเทลลิเจนซ์ หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการซื้อ – ขาย สื่อโฆษณา และวางกลยุทธ์สื่อสารทางการตลาดในประเทศไทย เปิดเผยว่างบของสื่อสิ่งพิมพ์ในช่วง 11 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ย.) เปรียบเทียบปี 2559-2560 นั้น ชัดเจนว่าลดลง

แต่ที่ตอกย้ำว่านิตยสารแนวใดจะอยู่รอดนั้น เห็นได้ว่า ธุรกิจ และแบรนด์ที่ลงโฆษณานั้น จะเลือกเล่มที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง มีกลุ่มผู้อ่านแฟนประจำ โดยในกลุ่มธุรกิจ อันดับ 1 ยังเป็นนาฬิกา ใน 15 อันดับสูงสุด แสดงถึงสินค้าที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า กระเป๋า ความงาม ตกแต่งบ้าน ท่องเที่ยว ที่หลายคนชอบดู อ่านทางเล่มนิตยสารมากกว่า

สอดคล้องกับข้อมูลที่พรวิภาเปิดเผยว่า กลุ่มสินค้าที่ยังคงลงโฆษณาในนิตยสารเป็นกลุ่มดังกล่าว

สำหรับแบรนด์หรูยังคงเห็นลงโฆษณาในนิตยสารไฮเอนด์เป็นหลักเพราะหลายแบรนด์ยังไม่กล้าเสี่ยงกับโซเชียลมีเดีย เพราะกลัวการถูก คอมเมนต์” ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ตรงกับที่วางไว้

ขณะที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ ชัดเจนว่าธุรกิจกลุ่มแมสยังซื้อโฆษณาเป็นหลัก เช่น เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ที่มีคูปองให้ตัดจากหนังสือพิมพ์ มีธุรกิจทัวร์ท่องเที่ยว ธนาคาร เครื่องดื่มกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ

ทั้งนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ บางเซ็กเมนต์ ยังคงมีกลุ่มราชการ รัฐวิสาหกิจ ซื้อโฆษณาอีกด้วย.

 

]]> 1151473 ส่องแผงนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น จะรอดหรือร่วง https://positioningmag.com/1149767 Mon, 11 Dec 2017 04:46:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149767 Byline: Leave Me Alone

ญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายของสินค้าที่นำเสนอ และไม่จำกัดแค่เฉพาะของกินของใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่รวมถึงนิตยสารแฟชั่น” ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างมาก เมื่อวิถีการบริโภคข้อมูลหันเหไปสู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นในทุกๆ วัน

ถึงแม้ญี่ปุ่นจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีแนวทางการบริโภคที่มีเอกลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจซีดี ที่ทุกวันนี้ Tower Record ยังเปิดสาขาในญี่ปุ่นท่ามกลางการปิดตัวของสาขาอื่นๆ ทั่วโลก แต่ไม่ได้หมายความว่า “นิตยสารแฟชั่น ที่มีมากมายตามไลฟ์สไตล์การแต่งตัวหรือแบ่งตามช่วงอายุของคนอ่านที่วางแผงในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่รอดได้อย่างสบายๆ

การปิดตัวของนิตยสาร AneCan หนึ่งในไอคอนของแม็กกาซีนญี่ปุ่นเมื่อปลายปีที่แล้วเป็นสิ่งสะท้อนได้อย่างดีว่าธุรกิจนิตยสารในญี่ปุ่นเข้าสู่ขาลงเช่นเดียวกับทั่วโลก

AneCan วางแผงครั้งแรกเมื่อปี 2007 สำหรับผู้อ่านผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 30 ปี และถูกวางตำแหน่งให้เป็นพี่สาวของนิตยสาร CanCam ซึ่งเป็นนิตยสารผู้หญิงที่โด่งดังมากที่สุดเล่มหนึ่งของญี่ปุ่นโดยเจาะกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา

อ้างอิงจากข้อมูลของ Japan Magazine Publishers Association ช่วงวางแผงแรกๆ ในปี 2008 AneCan สามารถติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำยอดขายต่อเดือนสูงถึง 250,000 เล่ม ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำนางแบบที่เคยถ่ายให้กับ CanCam มาก่อน มาร่วมงาน ส่งผลให้แฟนๆ ที่ติดตามนางแบบเหล่านี้หันมาให้ความสนใจเพิ่มขึ้น แต่กลับกัน ในปี 2016 AneCan มีขอดขายเพียงแค่ 80,000 เล่มต่อเดือน จนนำมาสู่การตัดสินใจปิดตัวลงในที่สุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016

AneCan เป็นแค่หนึ่งในนิตยสารแฟชั่นหลักๆ ที่ปิดตัวลงและมีแนวโน้มว่าธุรกิจนิตยสารในญี่ปุ่นจะยังคงเจ็บปวดกับยอดขายที่ลดลงต่อไปเรื่อยๆ แม้จะมีกลยุทธ์เด่นอย่างการแจกของแถมฟรีจากแบรนด์ดังๆ ในนิตยสารอาทิ กระเป๋าชุดเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อของผู้อ่าน แต่นั่นก็กลายเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยชะลอเท่านั้น

ปัจจุบัน นิตยสารแฟชั่นที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านฉบับ อย่าง Sweet ยังต้องหันมาใช้วิธีการพบปะกับร้านหนังสือทั่วประเทศก่อนที่นิตยสารจะวางขายในแต่ละเดือน เน้นแนะนำคอนเทนต์ในเล่มเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและความสนใจให้กับนิตยสาร ซึ่งเป็นการรับประกันความสำเร็จได้เป็นอย่างดี เพราะหลายร้านได้เลือก Sweet มาวางในตำแหน่งเด่นสุดของแผงซึ่งเป็นตำแหน่งที่สะดุดตาของผู้อ่าน

นอกจากนี้ Sweet ยังถูกตั้งราคาจำหน่ายให้ต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งกลยุทธ์นี้อาจดูไม่ยั่งยืน แต่ด้วยราคาที่ต่ำ ทำให้จำนวนขายต่อเดือนสูง เท่ากับ Sweet เป็นหนึ่งในสื่อทรงอิทธิพลที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลักล้าน ส่งผลให้หลากหลายแบรนด์อยากจะนำผลิตภัณฑ์มาร่วมแจกกับ Sweet ซึ่งในบางฉบับ ยอดขายของ Sweet พุ่งทะลุ 1.5 ล้านเล่ม หรือแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์พิมพ์ซ้ำในบางฉบับ

แต่กลยุทธ์แบบนี้จะใช้ได้อีกนานแค่ไหน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของการบริโภคข้อมูล ผู้อ่านเท่านั้นที่จะเป็นคนกำหนดคำตอบ.

]]>
1149767
พิษโซเชียลกระทบสิ่งพิมพ์ “คมชัดลึก” รัดเข็มขัด ควบรวมฉบับวันเสาร์-อาทิตย์ https://positioningmag.com/1134991 Thu, 03 Aug 2017 06:29:02 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134991 นสพ.คมชัดลึก ตัดสินใจปรับตัวโดยควบรวมฉบับวันเสาร์-อาทิตย์เข้าด้วยกัน มีผล 5 ส.ค.นี้ หลังสื่อโซเชียลกระทบสิ่งพิมพ์ ก่อนหน้านี้ปิดตัวเนชั่นสุดสัปดาห์ 

วันนี้ (3 ส.ค.) รายงานข่าวแจ้งว่า หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ได้ตัดสินใจปรับตัวโดยเริ่มจากควบรวมฉบับวันเสาร์-อาทิตย์รวมกัน โดยจะเริ่มตั้งแต่ฉบับวันเสาร์ที่ 5 ส.ค. เป็นต้นไป หลังก่อนหน้านี้ ได้ยุติการผลิตนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ นิตยสารวิเคราะห์ข่าวรายสัปดาห์ ที่พิมพ์โดยบริษัทเดียวกันไปเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่า พฤติกรรมผู้อ่านเปลี่ยนแปลงไป มีการเสพข่าวสารจากสื่อออนไลน์มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อตลาดอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ซบเซา สวนทางกับต้นทุนการผลิตโดยภาพรวมสูงขึ้น

โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้ตีพิมพ์ “จากคมชัดลึกถึงท่านผู้อ่าน” ลงวันที่ 2 ส.ค. ระบุว่า “16 ตุลาคม 2544 “คม ชัด ลึก” ถือกำเนิดขึ้นบนแผงหนังสือพิมพ์รายวัน ตลอดระยะเวลาร่วม 16 ปี ที่สื่อสิ่งพิมพ์เล่มนี้ยืนหยัดอยู่ได้ ก็ด้วยแรงสนับสนุนอย่างเหนียวแน่นจากท่านผู้อ่านที่มอบความเชื่อถือ ความไว้วางใจ ให้พวกเราได้ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ในจริยธรรมเต็มความสามารถ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า พื้นที่ข่าวสารทุกวันนี้ได้ขยายกว้างไกลออกไปเท่าที่ปลายนิ้วสัมผัสของผู้คนในโลกโซเชียลมีเดียจะนำพา ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ เปรียบดังสึนามิ ที่ถาโถมเข้าใส่อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งระบบ อันเป็นพลวัต ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงหนีหายไปได้ นอกจากการปรับตัว

ความเปลี่ยนแปลงล่าสุด ที่เราปรารถนาว่าจะเป็นครั้งสุดท้าย เริ่มจากหนังสือพิมพ์ “คม ชัด ลึก” ฉบับวางจำหน่าย ตีพิมพ์ฉบับวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 5-6 สิงหาคม 2560 เป็นต้นไป

ทั้งหมดนั้น เรามั่นใจว่าจะสามารถหยัดยืนอยู่ เพื่อนำเสนอนานาสาระอันทรงคุณค่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าตลอดร่วม 16 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าในเชิงธุรกิจ จำเป็นต้องกระชับพื้นที่ เพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ หากแต่ทุกเรื่องราวนับจากนี้ เราเชื่อว่า จะเสริมเติมเต็มให้แก่ท่านผู้อ่านที่ให้ความเมตตากับเราเสมอมามากยิ่งขึ้น”

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ กระแสข่าวการปิดตัวหนังสือพิมพ์คมชัดลึก เกิดขึ้นในแวดวงวิชาชีพสื่อมาโดยตลอด โดยจะลดพนักงานในส่วนของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ลงจาก 54 คน เหลือ 24 คน และลดพนักงานทั้งเครือจาก 543 คน ให้เหลือ 300 คน รวมทั้งจะขายช่อง NOW26 ให้กับกลุ่มบริษัท บีทีเอส

แต่ข่าวลือดังกล่าว ได้รับการปฏิเสธทั้งจากพนักงาน รวมทั้งผู้บริหารในเครือเนชั่น อย่าง นายเทพชัย หย่อง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเนชั่น กรุ๊ป ที่กล่าวในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ว่า บริษัทฯ ไม่มีแผนที่จะปิดหนังสือพิมพ์คมชัดลึก แต่จะปรับเปลี่ยนการหารายได้จากสื่อสิ่งพิมพ์เดิมไปสู่เว็บไซต์และออนไลน์ ส่วนช่อง NOW26 อยู่ระหว่างหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุนเพื่อลดภาระ

ทั้งนี้ เครือเนชั่น กรุ๊ป ยังมีหนังสือพิมพ์อีก 2 ฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ เดอะเนชั่น และ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจรายวัน ส่วนสื่ออื่นๆ ในเครือเนชั่นได้มีการปิดตัวและปรับลดขนาดองค์กรลง เช่น ปิดตัววิทยุเนชั่น เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. หลังออกอากาศมานานถึง 26 ปี หรือการลดเวลารายการข่าวช่อง NOW26 ลง โดยไม่มีรายการข่าวในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น 


ที่มา : manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000078921

]]>
1134991