สื่อวิทยุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Jul 2019 02:44:39 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รีวิวโฆษณาครึ่งปีแรกสื่อเก่ายังสาหัส “สิ่งพิมพ์” วูบหนัก “ทีวี-วิทยุ” ทรงๆ ทรุดๆ https://positioningmag.com/1239388 Wed, 17 Jul 2019 11:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239388 รายงานเม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาครึ่งปีแรก 2562 ของ นีลเส็น ประเทศไทย สรุปมูลค่ารวม 50,702 ล้านบาท ติดลบ 2% สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะถดถอย โดยเฉพาะสื่อดั้งเดิม (Traditional Media)

หากดูรายประเภท “สื่อสิ่งพิมพ์” ทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสาร มีอัตราการลดลงเป็นตัวเลข “สองหลัก” ในช่วง 6 เดือนแรก 2562 โฆษณาหนังสือพิมพ์ มีมูลค่า 2,388 ล้านบาท ติดลบ 17.74% นิตยสาร มูลค่า 515 ล้านบาท ติดลบ 21.13%

ช่วงครึ่งปีแรกมีหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ โพสต์ทูเดย์, M2F และ The Nation “ปิดตัว” จากภาวะขาดทุนและรายได้โฆษณาสิ่งพิมพ์ถดถอย โดยปรับตัวสู่สื่อออนไลน์ ส่วน “นิตยสาร” มีทั้งหัวนอกและหัวไทย ทยอยปิดตัวมาอย่างต่อเนื่องและต้องปรับตัวสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เช่นกัน

ทั้งปี 2562 สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าโฆษณา หนังสือพิมพ์ อยู่ที่ 4,880 ล้านบาท ติดลบ 20% ส่วนนิตยสาร มูลค่า 975 ล้านบาท ติดลบ 25%

ส่วนสื่อทีวี ที่ยังครองเม็ดเงินโฆษณาอันดับ 1 สัดส่วน 65% ของอุตสาหกรรมโฆษณา ครึ่งปีแรกอยู่ในอาการ “ทรงๆ ทรุดๆ” บางเดือนเป็นบวก บางเดือนติดลบ แม้ทิศทาง “ทีวีดิจิทัล” หลายช่องทำรายได้กระเตื้องขึ้นแล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ยังขาดทุน ตัวเลขโฆษณา 6 เดือนแรก สื่อทีวี จึงทำได้ 33,079 ล้านบาท ติดลบ 0.58% ปีนี้ MAAT มองเม็ดเงินโฆษณาทีวี “ทรงตัว” เท่าปีก่อน ที่มีมูลค่า 68,000 ล้านบาท

“วิทยุ” เป็นสื่อที่เม็ดเงินโฆษณาถดถอยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน แต่เริ่มนิ่ง ไม่ลดลงมากนัก ปี 2561 มูลค่าโฆษณาอยู่ที่ 4,600 ล้านบาท โตได้ 4% ส่วน 6 เดือนแรกปีนี้ บางเดือนเป็นบวกบางเดือนติดลบ แต่ยังถดถอยเป็นตัวเลขหลักเดียว ไม่มากเท่าสื่อสิ่งพิมพ์ ครึ่งปีแรก โฆษณาวิทยุมีมูลค่า 2,176 ล้านบาท ติดลบ 3.63% โดย MAAT คาดการณ์โฆษณาวิทยุปีนี้ มูลค่าอยู่ที่ 4,370 ล้านบาท ติดลบ 5%

สำหรับสื่อที่เม็ดเงินโฆษณายังเติบโตได้ในครึ่งปีแรกมีเพียงสื่อดิจิทัลและสื่อนอกบ้าน เท่านั้น

]]>
1239388
กดปุ่ม หมุนคลื่น เจาะที่มาทำไม “วิทยุ” ถึงไม่ตาย https://positioningmag.com/1236907 Mon, 01 Jul 2019 02:19:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236907 เมื่อกำลังซื้อไม่คงที่ ยอดขายสินค้าลดลง สิ่งที่แบรนด์จะทำจึงเป็นการปรับลดต้นทุน ซึ่งเป้าหมายแรกถูกมุ่งไปที่ลดงบโฆษณาเพราะทำได้ทันที ทำให้หลายปีมานี้ภาพรวมของเม็ดเงินโฆษณาอยู่ในภาวะ “ทรงๆ ทรุดๆ” มาตลอด ขณะเดียวกันยุคดิจิทัลที่กำลังเฟื่องฟูทำให้เงินเทไปยังสื่อชนิดใหม่มากขึ้น ด้วยแบรนด์มองว่าผู้บริโภคอยู่ที่ไหนก็ต้องตามไปหาที่นั้น

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้สื่อดั้งเดิมพลอยได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากจะถามว่าสื่อไหนที่วิกฤตมากที่สุดคงไม่พ้นสิ่งพิมพ์รองลงมาก็ไม่ต้องเดาให้ยุ่งยากวิทยุนั้นเอง ข้อมูลจากนีลเส็นพบว่า ปีมานี้เม็ดเงินโฆษณาหายไปราว 823 ล้านบาท ถึงแม้ว่าปี 2018 ที่ผ่านมาจะเพิ่มขึ้นมาถึง 7.28% หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 4,802 ล้านบาท ก็ตาม

แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2019 สถานการณ์ก็ใช่ว่าจะดีขึ้น ภาพรวมงบโฆษณาลดลง 1.25% เหลือ 41,000 ล้านบาท ส่วนวิทยุหายไปราว 5% จาก 1,848 ล้านบาท เหลือ 1,758 ล้านบาท จึงไม่ต้องแปลกใจหากช่วงที่ผ่านมาหลายคลื่นจะทยอยหายไปจากหน้าปัด บ้างก็ผันตัวเองไปเป็นคลื่นออนไลน์ก็มี

อ่านต่ออยู่ดีๆ ก็หาย หมุนหาคลื่นไม่เจอ “Get 102.5” ถูกยุบแบบไม่บอกกล่าว

ถึงเม็ดเงินโฆษณาที่เป็นรายได้หลักจะลดลง แต่บรรดาคลื่นวิทยุต่างก็เชื่อว่าวิทยุไม่มีวันตายด้วยยังมีเสน่ห์ที่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไม่สามารถทำแทนได้คือ เพลง ดีเจที่พูดให้ฟังเป็นเพื่อน และข่าวสารต่างๆ ที่อัพเดตให้ฟังทุกชั่วโมง ซึ่งคนยังฟังวิทยุอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางเฉยๆ จากเครื่องรับวิทยุไปอยู่ในรูปแบบอื่น

ยืนยันด้วยข้อมูลจาก สํานักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทชได้ออกรายงานสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของไทย ประจําเดือนพฤษภาคม 2019 พบว่า

Source : Pixabay/3910743

จํานวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็มจํานวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบมีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุ ประมาณ 10,211,000 คน ซึ่งเป็นจํานวนที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า (เมษายน 2019) ประมาณ 125,000 คน

จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ (Radio Listening Behavior) พบว่า ผู้คนส่วนใหญ่ นิยมรับฟังวิทยุที่บ้านถึง 52.18% ตามมาด้วยการรับฟังวิทยุในรถ 40.45% ในที่ทํางาน 7.08% และอื่นๆ 0.29% นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่นิยมรับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุ 72.18% ตามมาด้วยผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ 26.37% และคอมพิวเตอร์ 1.42% อื่นๆ 0.03%

แต่อะไรๆ ก็ไม่แน่ไม่นอนทั้งนั้น ที่ผ่านมารายที่อยู่รอดก็ต้องปรับตัวกันยกใหญ่อย่างเอไทม์” ที่อยู่ภายใต้ร่มเงาแกรมมี่ ก็ออกมาระบุกลยุทธ์ในปี 2019 ต้องเป็นมากกว่าวิทยุ โดยจะนำรายการยอดฮิตที่อยู่จากหน้าปัด 3 คลื่นนำไปต่อยอดสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ

อ่านต่อถอดสูตร “เอ-ไทม์” ผ่าคลื่นลม “วิทยุ” อันผันผวน หาโอกาสโตในยุคดิจิทัล

จากฝั่งอโศกข้ามมาฝั่งลาดพร้าว แม้ภาพใหญ่ของอาร์เอสจะไดเวอร์ซิฟายตัวเองจากธุรกิจสื่อ ไปสู่ธุรกิจพาณิชย์และค้าปลีก ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ธุรกิจวิทยุเองอย่างคลื่นคูลฟาเรนไฮต์ก็ทำอยู่ไม่ได้ทิ้งไปไหน หากก็ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

ที่ผ่านมา ปริญญ์ หมื่นสุกแสง กรรมการผู้จัดการ บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด ระบุว่า คูลฟาเรนไฮต์ใช้กลยุทธ์ Living Young & Beyond ผ่านการวิเคราะห์ถึง Data ของผู้ฟังเหล่านั้นว่าเป็นใคร อายุเท่าไหร่ มาช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าเป็นตัวเลขของคนที่ฟังจริงๆ มีตัวตนจริงๆ จับต้องได้

ไม่ใช่ตัวเลขที่ไม่รู่ว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้สามารถเสิร์ฟความบันเทิงได้ตรงใจ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ฟังไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

ในปี 2019 มีผู้ฟังผ่านระบบออนไลน์เดือนละ 49 ล้านครั้ง รับฟังผ่านเว็บไซด์สูงสุด 35 ล้านครั้ง รองลงมาเป็นการรับฟังผ่านระบบ iOS อีกกว่า 11 ล้านครั้งและระบบ Android 3 ล้านครั้ง มีผู้ฟังเฉลี่ยวันละ 1.62 แสนคน ใช้เวลาฟัง 3:40 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน

และผู้ฟังผ่านระบบ iOS ฟังต่อเนื่องนานมากที่สุดถึง 4:24 ชั่วโมงต่อคนต่อวัน ตลอด 1 เดือน คูลฟาเรนไฮต์สามารถเข้าถึงผู้ฟังมากกว่า 1 พันล้านนาทีทุบสถิติการเข้าถึงผู้ฟังสูงสุด

ซึ่งจากการจัดอันดับของ www.shoutcast.com เว็บไซต์ที่รวบรวมสถานีวิทยุออนไลน์กว่า 90,000 สถานีทั่วโลก พบคูลฟาเรนไฮต์คว้าแชมป์สถานีวิทยุออนไลน์ streaming อันดับ 1 ของเอเชียปี 2018 และ 2019

Basic RGB

นอกจากนี้คูลฟาเรนไฮต์ยังครองแชมป์อันดับ 1 สถานีวิทยุในเมืองไทยต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 ครองใจกลุ่มผู้ฟัง โดยเฉพาะกลุ่ม GEN C ที่มีอายุระหว่าง 20-44 ปี และกลุ่มมิลเลนเนียล หรือ กลุ่มคนวัยทำงาน ช่วงเวลาที่มีผู้ฟังมากที่สุดในแต่ละวันคือ ช่วงออฟฟิศอาวร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 .

ในปี 2019 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้รวม เติบโตกว่า 30% และมีส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจวิทยุกว่า 50% จากข้อมูลของนีลเส็น มีเดียรีเสิร์ช

รายได้และกำไร บริษัท คูลลิซึ่ม จำกัด

  • ปี 2557 รายได้ 454 ล้านบาท กำไร 159 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 461 ล้านบาท กำไร 183 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 342 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 32 ล้านบาท กำไร 7 ล้านบาท

ที่มา : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3 นี้ คูลฟาเรนไฮต์คอนเสิร์ตใหญ่ “COOLfahrenheit presents Raptor Evolution #25ปีไม่มีเกรงใจเอาใจคนที่เติบโตมาในยุค 90 โดยใช้งบกว่า 30 ล้านบาท

]]>
1236907
เจาะ 10 อันดับเรตติ้งทีวี พ.ย. 61 วิทยุไม่ตาย แต่ไม่โต คว้างบ 437 ล้านบาท  https://positioningmag.com/1202804 Thu, 13 Dec 2018 08:47:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1202804 สำนักงาน กสทช. รายงานสภาพตลาดกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล เดือน พ.ย. 2561 พบว่า ช่องรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด (เรตติ้ง) 10 อันดับแรก 

  • อันดับ 1 ช่อง 7HD เรตติ้ง 1.720
  • อันดับ 2 ช่อง 3HD เรตติ้ง 1.127
  • อันดับ 3 ข่อง MONO29 เรตติ้ง 0.858
  • อันดับ 4 ช่อง Workpoint TV เรตติ้ง 0.770
  • อันดับ 5 ช่อง ONE HD เรตติ้ง 0.549
  • อันดับ 6 ช่อง 8 เรตติ้ง 0.494
  • อันดับ 7 ช่อง ไทยรัฐ ทีวี เรตติ้ง 0.398
  • อันดับ 8 ช่อง 3SD เรตติ้ง 0.361
  • อันดับ 9 ช่อง Amarin TV HD เรตติ้ง 0.286
  • อันดับ 10 ช่อง NOW เรตติ้ง 0.214

สำหรับเดือน พ.ย. 2561 นี้ เรตติ้ง 10 อันดับแรกยังเป็นกลุ่มช่องรายการเหมือนเดือนก่อนหน้า มีเพียง 3 ช่องรายการ ช่อง 8 ช่อง 3SD และช่อง NOW ที่มีเรตติ้งเพิ่มสูงขึ้น โดยเกิดจาก

• ละครพื้นบ้าน “สาปกระสือ” เป็นละครเย็นที่ช่วยดันเรตติ้งของช่อง 8 ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือน 2.663 และเรตติ้งเฉลี่ยทั้งรายการ 2.136 นอกจากนี้ ละครเย็น “ซิ่นลายหงส์” ที่ออกอากาศต่อจากละครเรื่อง “สาปกระสือ” ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ชม โดยมีเรตติ้งที่ออกอากาศในเดือน พ.ย. 2561 เฉลี่ย 1.875

• สำหรับช่อง 3SD รายการถ่ายทอดสดการแข่งขันมวยไทยโลก ไทยไฟท์ สระบุรี ได้เรตติ้ง 2.412 และเป็นคอนเทนต์หลักที่ดันเรตติ้งเฉลี่ยของช่องให้สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ รายการ “ข่าวนอกลู่” และละครรีรัน “สองหัวใจนี้…เพื่อเธอ” ก็เป็นอีกสองรายการที่มีฐานผู้ชมแข็งแกร่ง โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือน 1.824 และ 1.890 ตามลำดับ

• ส่วนช่อง NOW รายการ แม็กซ์ มวยไทย และรายการเดอะแชมป์เปี้ยน มวยไทยตัดเชือก ยังคงเป็นคอนเทนต์หลักที่ช่วยให้ช่องได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วประเทศ ส่งผลให้มีเรตติ้งเฉลี่ยประจำเดือนอยู่ในการจัดอันดับ TOP 10 มาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน พ.ย. 2561 รายการ แม็กซ์ มวยไทย มีเรตติ้งเฉลี่ย 1.678 และรายการเดอะแชมป์เปี้ยน มวยไทยตัดเชือก มีเรตติ้งเฉลี่ย 1.551

ทีวีฟันงบโฆษณา 5,809 ล้านบาท

สำหรับมูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ พบว่า มูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เดือน พ.ย. 2561 มียอดรวมประมาณ 5,809 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้าประมาณ 113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 แต่เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาของเดือน พ.ย. 2561 กับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว พบว่า สูงกว่ามูลค่าการโฆษณาของปี 2560 อยู่ 417 ล้านบาท โดยมูลค่าการโฆษณาของเดือน พ.ย. 2560 ยอดประมาณ 5,392 ล้านบาท

คนไทยฟังวิทยุในบ้านเกินครึ่ง

ส่วนสภาพตลาดกิจการกระจายเสียงของประเทศไทยประจำเดือน พ.ย. 2561 พบว่า จากข้อมูลจำนวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็ม. จำนวน 40 สถานี (87.5 MHz – 107.0 MHz) จากทุกช่องทาง เช่น เครื่องรับวิทยุ โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า เดือน พ.ย. 2561 มีประชากรไทยอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป รับฟังวิทยุประมาณ 10,569,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า (ตุลาคม 2561) ประมาณ 37,000 คน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.3

ทั้งนี้ จากข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุเดือน พ.ย. 2561 พบว่า หากแยกตามสถานที่ผู้คนส่วนใหญ่

  • นิยมรับฟังวิทยุที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 52.16
  • ฟังวิทยุในรถ ร้อยละ 36.17
  • ฟังในที่ทำงาน ร้อยละ 11.07 และอื่นๆ ร้อยละ 0.60

หากแยกการรับฟังวิทยุตามประเภทอุปกรณ์ พบว่า รับฟังวิทยุผ่านทางเครื่องรับวิทยุคิดเป็นร้อยละ 73.12 ตามมาด้วยการรับฟังผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ร้อยละ 25.83 และผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ร้อยละ 1.05

ในส่วนของมูลค่าโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลักในระบบ เอฟ.เอ็ม.ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 36 สถานี (88.0 MHz-91.5 MHz, 93.0 MHz-103.5 MHz และ 104.5 MHz-107.0 MHz พบว่า ในเดือน พ.ย. 2561 มีมูลค่าโฆษณารวมประมาณ 437,452,000 บาท ซึ่งลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 1.84 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงของเดือน พ.ย. 2561 กับปีก่อนหน้า พบว่า มีมูลค่าลดลงประมาณ 1.75 ล้านบาท.

]]>
1202804
เม็ดเงินโฆษณาปี 2560 แตะ 1.1 แสนล้าน ตกลง 6% 2 โฮมช้อปปิ้ง กระทะโคเรียคิง-ทีวีไดเร็ค ครองแชมป์ใช้งบ https://positioningmag.com/1153376 Fri, 12 Jan 2018 04:54:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153376 นีลเส็น ประเทศไทย ได้สรุปภาพรวมงบโฆษณารวมที่ใช้ในปี 2560 พบว่า มียอดใช้จ่าย 101,445 ล้านบาท ตกลง -6%

สื่อที่ใช้เม็ดเงินโฆษณามากสุด ยังคงเป็น ช่องทีวีเดิม หรืออนาล็อกทีวี (ช่อง 3, 7) 40,966 ล้านบาท ตกลง13.12%  ตามมาด้วย ทีวีดิจิทัล ชิงเม็ดเงินโฆษณามาได้ 21,907 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.24% 

หนังสือพิมพ์ มีเม็ดเงินโฆษณา 7,706 ล้านบาท ตกลง 21.82% ตามมาด้วยสื่อในโรงภาพยนตร์ 6,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 25.01%   

สื่อนอกบ้าน (outdoor) ยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่อง ได้เม็ดเงินโฆษณาไป 6,391 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.78 % ตามมาด้วยสื่อบนรถประจำทาง 5,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.14 %

สื่อวิทยุ ได้เม็ดเงินมา 4,476 ล้านบาท ลดลง -14.95% ส่วนเคเบิลทีวี/ทีวีดาวเทียม 2,913 ล้านบาท ตามมาด้วย นิตยสาร ที่เหลือเม็ดเงิน 1,943 ล้านบาท ลดลง -33.60% 

สื่ออินเทอร์เน็ต 1,513 ล้านบาท ลดลง -12.59 สื่อในห้าง 946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34.57%

10 อันดับแบรนด์ใช้งบโฆษณาสูงสุด โคเรียคิงแชมป์ ทีวีไดเร็คตามติด ค่ายมือถือ ออปโป้ ซัมซุง วีโว่ อัดงบ

เมื่อดูตลอดทั้งปี 2560 พบว่า 2 อันดับแรก เป็นของกระทะโคเรียคิง ยังคงครองอันดับ 1 ของแบรนด์ใช้งบโฆษณาสูงสุด 1,059 ล้านบาท แม้ว่าจะใช้ลดลงเนื่องจากต้องหยุดโฆษณาไปหลายเดือน (ปี 59 ใช้ 1,651 ล้านบาท)

อันดับ 2 ทีวีไดเร็ค 880 ล้านบาท (ปี 59 ใช้ 352 ล้านบาท) เนื่องจาก 3-4 เดือนสุดท้ายของปี ที่ประกาศทุ่มงบโฆษณาผ่านทีวีดิจิทัล 18 ช่อง เพื่อต้องการผลักดันยอดขายในช่วงปลายปี

อันดับ 3 โค้ก 860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ปี 59 ใช้ 850 ล้านบาท) อันดับ 4 เทสโก้โลตัส 684 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย (ปี 59 ใช้ 793 ล้านบาท) อันดับ 5 เป็นของ ธนาคารออมสิน 659 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว (ปี 59 ใช้ 384 ล้านบาท)

อันดับ 6 โตโยต้า ปิกอัพ 648 ล้านบาท ลดลง (ปี 59 ใช้ 831 ล้านบาท) อันดับ 7 รถยนต์โตโยต้า 638 ล้านบาท ลดลง (ปี 59 ใช้ 754 ล้านบาท)

อันดับ 8 โทรศัพท์มือถือ ออปโป้ 628 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (ปี 59 ใช้ 238 ล้านบาท) อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือซัมซุง 625 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อง (ปี 59 ใช้ 652 ล้านบาท) อันดับ 9 โทรศัพท์มือถือวีโว่ 581 ล้านบาท ใช้เพิ่มขึ้น

10 องค์กรใช้งบโฆษณาสูงสุด

อันดับ 1 ยังเป็นของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ (ไทย) 3,734 ล้านบาท ใช้ลดลง (ปี 59 ใช้ 4,489 ล้านบาท) อันดับ 2 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย 1,992 ล้านบาท อันดับ 3 บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (ประเทศไทย) 1,966 ล้านบาท

อันดับ 4 บริษัท ตรีเพช อีซูซุ 1,375 ล้านบาท อันดับ 5 บริษัท โคคา โคลา (ประเทศไทย) 1,322 ล้านบาท อันดับ 6 บริษัท ไบเออร์สด๊อรฟ ประเทศไทย (นีเวีย) 1,274 ล้านบาท

อันดับ 7 วิซาร์ด โซลูชั่นส์ 1,264 ล้านบาท อันดับ 8 สำนักนายกรัฐมนตรี 1,241 ล้านบาท อันดับ 9 บริษัทไทยเบฟเวอเรจ 1,152 ล้านบาท อันดับ 10 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (เอไอเอส) 1,125 ล้านบาท


หมายเหตุสำคัญ

สื่อกลางแจ้ง (outdoor) และสื่อเคลื่อนที่ (transit):มีการรวมข้อมูลจาก  JCDecaux สำหรับข้อมูลจากสื่อในสนามบินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 และข้อมูลของสื่อ outdorr และ transit จาก JCDecaux ได้ถูกรวมเข้าไว้ในรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2560 

นีลเส็นได้มีการเพิ่มพื้นที่การเก็บข้อมูลสื่อกลางแจ้ง (outdoor) เช่น สื่อเคลื่อนที่ (transit),ป้ายบิลบอร์ดป้ายโฆษณาบนทางเท้า, สื่อในสนามบิน และอื่นๆ ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 เป็นต้นมา 

อินเตอร์เน็ต – ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2559 นีลเส็นได้มีการขยายการเก็บข้อมูลโมษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตโดยครอบคลุม 50 เว็บไซต์ยอดนิยม และ 10 เว็บไซต์ยอดนิยมบนมือถือ

สำหรับภาพรวมการใช้งบโฆษณาผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตทั้งหมดกรุณาอ้างอิงข้อมูลจาก DAAT

สื่อในห้าง – นีลเส็นได้มีการเพิ่มข้อมูลสื่อวิทยุในห้าง Big C และ 7 Eleven เข้ามาในฐานข้อมูล ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559

ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 ข้อมูลของสื่อในห้าง Tesco Lotus และ Big C ไม่ได้รวมอยู่ในฐานข้อมูลของนีลเส็น

ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2559 เป็นต้นมา ได้มีการเพิ่มสื่อที่บริหารจัดการโดยบริษัท Plan B เข้ามาในฐานข้อมูลของสื่อกลางแจ้งสื่อเคลื่อนที่ และสื่อในห้าง

]]>
1153376