อาหารทะเลมังสวิรัติ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Mar 2021 11:48:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไทยยูเนี่ยน” ขอแหวก! เตรียมส่ง “Plant-based” อาหารทะเล ซุ่มพัฒนาเนื้อปูจากพืช https://positioningmag.com/1322576 Tue, 09 Mar 2021 10:11:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322576 “ไทยยูเนี่ยน” ย้ำทิศทางบริษัทก้าวสู่ปี 2025 ทำรายได้โตสม่ำเสมอปีละ 5% ที่สำคัญกว่านั้นคือ “อัตรากำไร” วางเป้าเพิ่มเป็น 10% ด้วยกลุ่มธุรกิจใหม่ “อาหารเสริม” และ “Plant-based” รวมถึงกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงที่กำลังเติบโตดี ยังคงเน้นการค้าแบบ B2B รับผลิตแบบ OEM พ่วงขายปลีกผ่านซูเปอร์มาร์เก็ต

2563 เป็นหนึ่งในปีที่ท้าทายของ “ไทยยูเนี่ยน” จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้บริษัทต้องบริหารจัดการสายการผลิตให้ปลอดภัย โดยเฉพาะช่วงสิ้นปีที่เกิดเหตุระบาดระลอกสองที่ จ.สมุทรสาคร แม้จะต้องลดกำลังผลิตบ้างเพื่อตรวจเชิงรุกทั้งโรงงาน แต่ยังคงเดินเครื่องได้และกลับมาโหมผลิตชดเชยได้ในภายหลัง

ขณะเดียวกัน ผลเชิงบวกของ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคซื้อปลากระป๋องเพื่อกักตุนไว้ในยามรัฐประกาศล็อกดาวน์ ซึ่งทำให้ไทยยูเนี่ยนได้รับอานิสงส์จนมียอดขายที่ดีขึ้น สรุปถึงสิ้นปี 2563 บริษัทรายงานผลประกอบการมีรายได้ 1.32 แสนล้านบาท เติบโต 4.9% และทำกำไรสุทธิ 6.2 พันล้านบาท เติบโตแรง 63.7%

 

5 ปีข้างหน้าขอเน้น “บรรทัดสุดท้าย”

ปี 2563 เป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อของการก้าวสู่ยุคใหม่ของไทยยูเนี่ยนเช่นกัน โดย “ธีรพงศ์ จันศิริ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กางแผนวิสัยทัศน์ “ไทยยูเนี่ยน 2025” หรืออีก 5 ปีข้างหน้านี้ ต้องการให้บริษัททำรายได้เติบโตสม่ำเสมอปีละ 5% ซึ่งจะทำให้รายได้ขึ้นไปแตะ 1.6 แสนล้านบาท

ที่สำคัญกว่านั้นคือเป้าหมาย “อัตรากำไร” วางเป้าอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มจากปัจจุบัน 17.5% เป็น 20% และ อัตรากำไรจากการดำเนินงานเพิ่มจากปัจจุบัน 7% เป็น 10%

การหันมาเน้น “บรรทัดสุดท้าย” ของงบผลประกอบการ เกิดจากทัศนคติที่เปลี่ยนไปในการบริหาร จากมองเรื่องการขยายขนาดบริษัท มาเป็นการทำกำไรที่ยั่งยืน ซึ่งจะเห็นได้ว่าไทยยูเนี่ยนมีการปรับตัวมาแล้วก่อนหน้านี้ 3 ปี โดยมุ่งเน้นลดต้นทุน ยุบสายผลิตที่ไม่ทำกำไร และรวมแผนกที่สามารถรวมได้ เป็นรากฐานที่แข็งแรงไปสู่อนาคต

 

ธุรกิจใหม่เป็นหัวหอกดันกำไร

จากวิสัยทัศน์ทำกำไรสูง ธีรพงศ์กล่าวว่า ธุรกิจดั้งเดิมคือ อาหารทะเลแช่เย็น-แช่แข็งและอาหารแปรรูป น่าจะทำรายได้เติบโตราวๆ 3% ต่อปี และปกติอัตรากำไรจะไม่สูงมาก เน้นขายปริมาณ ดังนั้น กลุ่มธุรกิจที่จะเติบโตสูงทั้งรายได้และกำไรจะเป็นธุรกิจอื่น ที่มีจำหน่ายในตลาดมานานคือ “อาหารสัตว์เลี้ยง” และมี “กลุ่มธุรกิจใหม่” เข้ามาเสริมทัพ ได้แก่

1. กลุ่มอาหารเสริม – ปัจจุบันกลุ่มอาหารเสริมของบริษัทที่มีจำหน่ายจะเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าที่เป็น by-products จากปลาทะเล เช่น น้ำมันทูน่าสกัด, คอลลาเจน, แคลเซียม, โปรตีนไฮโดรไลเซต ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นสารอาหารที่สามารถจำหน่ายเป็นอาหารเสริม หรือใช้เติมคุณค่าในผลิตภัณฑ์อื่นได้ เช่น นมผงทารก เครื่องดื่มเวย์โปรตีน ผลิตภัณฑ์ยา วางเป้าทำรายได้แตะ 1,500 ล้านบาท ภายใน 5 ปี

ผลิตภัณฑ์อินกรีเดียนท์ของไทยยูเนี่ยน : น้ำมันปลาทูน่า และ แคลเซียมจากกระดูกปลาทูน่า

2.กลุ่มโปรตีนทางเลือก (Plant-based Food) – เนื้อทำจากพืชของไทยยูเนี่ยนจะผลิตจากถั่วลันเตาและถั่วเหลืองเป็นหลัก มีทั้งเนื้อเลียนแบบอาหารทะเล และเนื้อเลียนแบบเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ เน้นการขายแบบ OEM รับผลิตให้แบรนด์ต่างๆ เป็นหลัก และเสริมด้วยแบรนด์ของบริษัทเอง วางเป้ารายได้กลุ่มนี้แตะ 1,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี

ไทยยูเนี่ยนเปิดแบรนด์เนื้อทำจากพืช (Plant-based) แบรนด์ OMG

 

ส่ง Plant-based อาหารทะเลลงสนาม

ธีรพงศ์กล่าวว่า สินค้าแบบ Plant-based ของบริษัท ที่ผ่านมาเคยจำหน่ายแบบ B2B ให้กับซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารมาแล้ว แต่ปีนี้เป็นปีที่จะเปิดตลาดรายย่อยด้วย โดยมีแบรนด์ของตนเองเตรียมวางจำหน่ายครั้งแรก 15 มีนาคม 2564 ใช้ชื่อแบรนด์ “OMG” เริ่มจำหน่ายในกูร์เมต์ มาร์เก็ตก่อนจะขยายไปยังห้างค้าปลีกอื่นๆ หลังประเมินผลตอบรับในไทยแล้วจะขยายไปต่างประเทศในเขตทวีปเอเชียต่อไป

“การแข่งขันของธุรกิจนี้คือ ทำออกมาแล้วต้องเหมือนจริง ไม่เหมือนเนื้อเจสมัยก่อนที่ทานแล้วรู้ว่าไม่ใช่ หรือเหมือนทานเต้าหู้ธรรมดา” ธีรพงศ์กล่าว โดยมองว่าจุดแข็งของบริษัทคือ มีเนื้อทำจากพืชที่เลียนแบบ “อาหารทะเล” เช่น เนื้อปู ทำให้แตกต่างจากตลาด รวมถึงซุ่มวิจัยมานาน 6 ปีให้สินค้ามีรสชาติดี เชื่อว่าสินค้าจะแข่งขันได้ในตลาด

ตัวอย่างอาหาร Plant-based จากแบรนด์ OMG

ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มด้านนวัตกรรมของไทยยูเนี่ยน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันตลาด Plant-based ทั่วโลกมีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในมูลค่าดังกล่าวมีเนื้อที่ทำเลียนแบบอาหารทะเลเพียง 0.1% แต่ในตลาดเนื้อสัตว์ปกติจะมีสัดส่วนอาหารทะเลอยู่ 10% จึงมองว่า Plant-based ที่เทียบเคียงกับอาหารทะเล อนาคตน่าจะมีดีมานด์ใกล้เคียงกันซึ่งเป็นโอกาสของไทยยูเนี่ยน แต่บริษัทยังพัฒนาเนื้อ Plant-based เลียนแบบเนื้อหมูและเนื้อไก่ด้วย เพื่อรองรับความต้องการลูกค้า

หลังปักหลักในธุรกิจใหม่ ธีรพงศ์มองว่ารายได้กลุ่มนี้จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 10% ของรายได้รวม แต่จะมีสัดส่วนเป็น 15% ของกำไรทั้งบริษัท และยังเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งคนทั่วโลกให้ความสำคัญสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

]]>
1322576
Ocean Hugger Foods แจ้งเกิดซีฟู้ดสายมังฯ จัดเต็ม “ปลาไหล-ทูน่าดิบ ทำจากพืช” เปิดตลาดซูชิยุโรป https://positioningmag.com/1244492 Fri, 30 Aug 2019 03:57:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244492 Photo : oceanhuggerfoods

ถูกยกให้เป็นทูน่าดิบและปลาไหล VEGAN” ที่เหมือนจริงมากสำหรับสินค้าซีฟู้ดสายมังสวิรัติจากแบรนด์น้องใหม่ Ocean Hugger Foods ล่าสุดแบรนด์อาหารทะเลยั่งยืนบุกหนักขยายตลาดไปจำหน่ายสินค้าในยุโรปแล้ว ปูพรมบุกตลาดสายไม่มังฯ ที่ไม่ต้องการสนับสนุนการประมง บนเหตุผลว่าเพราะการตกปลาเป็นสาเหตุของมลพิษพลาสติกจำนวนมาก

ใครจะคิดว่าโปรตีนทำจากพืชจะต้องเลียนแบบเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น เพราะ Ocean Hugger Foods แบรนด์อาหารทะเลมังสวิรัติเตรียมพร้อมเปิดตลาดปลาทูน่าและปลาไหลดิบจากพืชซึ่งเหมาะสำหรับทำซูชิ โดยคาดว่าหลังจากการเปิดตลาดที่อังกฤษ สินค้าของ Ocean Hugger Foods จะวางจำหน่ายในพื้นที่อื่นของโลกเช่นกัน

สำหรับสินค้าอาหารทะเลจากพืชที่ Ocean Hugger Foods ซึ่งเป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ นำมาเปิดตลาดสหราชอาณาจักรประกอบด้วย Ahimi ทูน่าดิบทางเลือกชนิดแรกของโลก และ Unami ปลาไหลทำจากพืชที่เดบิวต์ในงาน Hyper Japan Festival ในปี 2019 ที่ลอนดอนเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ทำจากมะเขือเทศ ผงบุก และงา

ปลาทูน่าดิบจากพืช Ahimi เป็นผลิตภัณฑ์หลักของ Ocean Hugger Foods ในขณะนี้ ตัวสินค้าทำมาจากมะเขือเทศ รวมกับซอสถั่วเหลืองไร้กลูเตน น้ำตาล ผงบุก และน้ำมันงา คำบรรยายที่ Ocean Hugger Foods อธิบายไว้คือเนื้อสัมผัสและรสชาติของมะเขือเทศจะเปลี่ยนไปด้วยเทคนิคพิเศษซึ่งในเว็บไซต์ แบรนด์ Ocean Hugger Foods กล่าวว่ากำลังอยู่ระหว่างกระบวนการจดสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการ

Ocean Hugger Foods ย้ำว่า Ahimi ได้รับการออกแบบให้เป็นทางเลือกรสอร่อยสำหรับใช้แทนปลาทูน่าเคียวหนึบที่มีรสชาติเหมือนเนื้อ ซึ่งแม้จะทำมาจากมะเขือเทศ แต่ Ahimi มีลักษณะและเนื้อสัมผัสที่ไม่แตกต่างจากปลาทูน่าดิบเลย

สำหรับ Unami เนื้อปลาไหลทะเลเทียมนุ่มฉ่ำนั้นทำจากมะเขือยาวซึ่ง Ocean Hugger Foods มั่นใจว่าเหมาะกับนำมาใช้ในเมนูซูชิและข้าวหน้าปลาไหล รวมถึงพิซซ่าสไตล์ญี่ปุ่น และทาโก้ด้วย โดยทั้ง 2 สินค้าถูกจัดเป็นสินค้าพร้อมปรุงหรือ ready-to-use product ที่ไม่ต้องจัดเตรียมมากนัก

อาหารทะเลยั่งยืน

ตัวบริษัท Ocean Hugger Foods นั้นก่อตั้งขึ้นโดย James Corwell และ David Benzaquen บนภารกิจมุ่งจัดหาอาหารทะเลที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับโลก ภารกิจนี้เกิดขึ้นเพราะ 90 เปอร์เซ็นต์ของปลาขนาดใหญ่ที่ล่าและกินสัตว์ในมหาสมุทรอย่างเช่นปลาทูน่านั้นสูญพันธ์ไปหมดแล้ว แต่อัตราการล่าปลากลุ่มนี้ก็ไม่ลดลงเลย ทำให้ Ocean Hugger Foods ตัดสินใจสร้างเทคนิคพิเศษเพื่อช่วยให้บุกและมะเขือสามารถนำมาใช้แทนเนื้อปลาจริงในเมนูซูชิได้

Ocean Hugger Foods ย้ำอีกว่าการตกปลาหรือล่าปลานั้นเป็นสาเหตุของมลพิษพลาสติกจำนวนมาก จากการศึกษาเมื่อปี 2018 พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของพลาสติกจากทะเลนั้นเป็นอุปกรณ์ตกปลา ขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่มักจะเข้าไปติดพันกับอวนประมง ทำให้บาดเจ็บสาหัสหรือจมน้ำตาย

กองทุนสัตว์ป่าโลกหรือ World Wildlife Fund เคยให้ข้อมูลว่าการหลงติดในอุปกรณ์ตกปลาเป็นภัยคุกคามหลักสำหรับวาฬและโลมาทั่วโลก คาดว่าเป็นต้นเหตุทำให้มีการเสียชีวิตอย่างน้อย 300,000 ตัวต่อปี

จากข้อมูลของ Ocean Hugger Foods วันนี้ชาวอังกฤษกำลังตื่นตัวถึงความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมจากการบริโภคเนื้อสัตว์ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากในสหราชอาณาจักรกำลังพยายามบริโภคโปรตีนจากพืชมากขึ้น เพื่อเหตุผล 3 ด้านสำคัญคือสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสวัสดิภาพของสัตว์โลก

David Benzaquen หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Ocean Hugger Foods ระบุในแถลงการณ์ว่าผลิตภัณฑ์จากพืชของบริษัทไม่เพียงเป็นทางเลือกที่อร่อยสำหรับผู้ทานมังสวิรัติเท่านั้น แต่เหมาะสำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่อาหารมีผลต่อสิ่งแวดล้อม แม้จะไม่ได้รับประทานมังสวิรัติก็ตาม

น่าเสียดายที่ทั้ง Ahimi และ Unami ไม่ถูกเปิดเผยแผนวางจำหน่ายในเอเชีย โดย Ocean Hugger Foods ระบุเพียงว่าพร้อมให้บริการทั้งปลาทูน่าดิบจากพืชและปลาไหลเทียมในยุโรปช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้.

]]>
1244492