อาหารไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 11 Oct 2021 12:56:54 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Sizzler ลดราคาเมนู Plant-based ดึงลูกค้ามาลองชิม ปรับรสชาติให้เป็น ‘สไตล์ไทย’ มากขึ้น https://positioningmag.com/1356091 Mon, 11 Oct 2021 09:38:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1356091 เผชิญกับความท้าทายไม่มีหยุดกับ ‘Sizzler’ ร้านอาหารที่มีจุดเด่นเรื่องบรรยากาศไดน์อิน ที่ต้องเจอมรสุมการล็อกดาวน์ซ้ำเเล้วซ้ำเล่า

การผ่อนคลายมาตรการครั้งนี้ เป็นโอกาสทองที่ต้องรีบคว้า ทั้งอัดเเคมเปญโปรโมชั่น พร้อมทั้งหา เเนวทางใหม่ๆ เมนูใหม่ๆ ดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาเข้าร้านในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ชดเชยรายได้ที่หายไป

หนึ่งในนั้นก็คือ การลุยตลาด ‘Plant-based’ เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช อย่างเต็มที่ ตามเทรนด์กระเเสนิยมมาเเรงทั่วโลก ซึ่งหลังจากที่ Sizzler ชิมลางวางขายมาตั้งเเต่ปลายปี 2562 ก็มีเสียงตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคคนไทย เเละก็ถึงเวลาต่อยอด ขยายไปให้มากขึ้นกว่าเดิม

Sizzler ปล่อยเมนู Plant-based ออกมาใหม่ทุกๆ 6 เดือน เฉลี่ยซีซั่นละ 3 เมนู (รวมๆ ที่ผ่านมามีประมาณ 12 เมนู) เเละล่าสุดตอนนี้ก็มีการเปิดตัว 2 เมนู Plant-Based มาลงเมนูประจำรับไดน์อินและเดลิเวอรี่

เเต่จุดเด่นครั้งนี้เเตกต่างไปจากเดิม นั่นคือการได้เรียนรู้ถึงวิธีปรุงรสชาติ Plant-based ให้ถูกปากคนไทย จึงมีการปรับเมนูเป็นสไตล์ไทยมากขึ้น พร้อมปรับลดราคาลงมา ซึ่งยังไม่ค่อยมีเชนร้านเฮลท์ตี้เฮาส์ในไทยทำ
เเนวนี้กันมากนัก

เทรนด์อาหารเเห่งอนาคต ที่โตไม่หยุด

เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคทั่วไปมากขึ้น ยิ่งเกิดโควิด-19 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเร่งทำให้พฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่ง Plant-based Food ก็ได้รับอานิสงส์นี้ไปเต็มๆ

การเติบโตของตลาดอาหาร Plant-based ทั่วโลกเมื่อปี 2563 มีมูลค่าราว 4.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าราว 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

ส่วนตลาดในประเทศไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตของผู้บริโภคอาหาร Plant-based เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

จากข้อมูลของ Krungthai COMPASS พบว่า ในปี 2562 มีมูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท และยังคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้นถึง 4.5 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% เลยทีเดียว

กรีฑากร ศิริอัฐ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอสแอลอาร์ที จำกัด ในเครือ บมจ. เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้บริหาร ซิซซ์เล่อร์ เล่าว่า ตลาด Plant-based เติบโตขึ้นมาก ทั้งในส่วนฐานผู้บริโภคเเละบรรดาเหล่าผู้ผลิต โดยที่ผ่านมา มักมีผู้ผลิตมาเสนอเป็นพาร์ทเนอร์กับ Sizzler เพียง 2-3 ราย เเต่ตอนนี้มีมากกว่า 10 ราย

ปัจจุบันเเบรนด์ Sizzler เลือกจับมือกับ บียอนด์ มีทและกรีนมันเดย์ ซึ่งเป็นเจ้าใหญ่ในตลาดโลก เเต่ก็คอยมองหาซัพพลายเออร์รายอื่นๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะในไทย

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เเบรนด์ Sizzler ต้องการจะขยายเจาะตลาดเมนู Plant-based ได้เเก่

  • กลุ่มคนที่ทานวีแกน เเละ Plant-Based อยู่เเล้ว ถ้ามาทานที่ร้านก็สามารถสั่งเมนูสเต๊กได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องไปทานเเต่สลัดบาร์อีกต่อไป
  • กลุ่มคนที่ทานเมนูปกติทั่วไป ที่อยากลองทานเมนู Plant-based หรือคนที่อยากดูเเลสุขภาพ ไปพร้อมๆ กับการรักษ์โลก ต้องการทานวีเเกนประมาณสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

Sizzler ตั้งเป้าว่าในปี 2565 เมนู Sizzler จะสามารถสร้างรายได้เติบโตราว 30%” 

เมนูไทยๆ เเถมปรับราคาลง 

ตามที่เกริ่นไปข้างต้นว่า Sizzler ได้ปรับเมนู Plant-based ให้เป็นถูกปากคนไทยมากขึ้น เห็นได้ชัดผ่านเมนูใหม่ที่เปิดตัวใน 30 สาขา ได้เเก่

ออมนิมีท ลาบทอด เสิร์ฟพร้อมข้าวเหนียว เมนูลาบทอดจากโปรตีนพืชในสไตล์ไทย ๆ กับรสชาติเเซ่บๆ แบบฉบับอีสานแท้ ในราคา 299 บาท เเละยังเสิร์ฟเป็นเมนูทานเล่นที่ลูกค้าสามารถสั่งแยกมารับประทานระหว่างรออาหารจานหลักได้ในราคา 99 บาท รวมถึงสั่งเดลิเวอรี่ไปลิ้มลองได้ถึงที่อีกด้วย

สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา เป็นสเต๊กเนื้อที่ไร้เนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม สไตล์เม็กซิกัน ราดด้วยกัวคาโมเล่ที่ทำจากอะโวคาโดบด และซัลซา รวมถึงเผือกทอดด้านบนสุด ในราคา 399 บาท ซึ่งรสชาติที่เผ็ด เปรี้ยว หวาน ลงตัวน่าจะถูกใจคนไทยเช่นเดียวกัน

เเละเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าหันมาลองเมนู Plant-based กันมากขึ้น Sizzler ใช้กลยุทธ์ “ปรับลดราคาของเมนู Plant-based” ลงมาเรื่อยๆ เช่น ในช่วงเริ่มต้นประเดิมราคาที่ 439-479 บาท ในปีที่เเล้วปรับลงมาเป็น 329-399 บาท เเละล่าสุดตอนนี้คือมีราคาเฉลี่ยเริ่มต้นตั้งแต่ 99 – 399 บาท นับเป็นการปูทางสร้างความคุ้นเคยในระยะยาว มีเมนูหลากหลายสไตล์ตลอดทั้งปี ขยายฐานลูกค้าเป็นร้อยเป็นพันคนให้ได้

นอกจาก ลดราคาเเล้ว ในบางโอกาสก็จะมีการนำเนื้อ Plant-based ไปลองใส่ในเมนูสลัดบาร์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ลองชิมอย่างกว้างขวางขึ้นด้วย

-สเต๊ก บียอร์น กัวคาโมเล่ และซัลซา

Sizzler สาขาใหม่…สายเล็ก

วิกฤตโควิด-19 ทำให้ร้านอาหารได้เรียนรู้ถึงการปรับตัวเร็วเเละการขายโดยเน้นหน้าร้านเพียงอย่างเดียวคือความเสี่ยง

ปัจจุบัน Sizzler มีฐานลูกค้าทั้งหมดอยู่ราว 8-9 ล้านคน มีร้านทั้งหมด 54 สาขาทั่วประเทศไทย กลับมาเปิดให้บริการเเล้วเกือบทั้งหมด (ยังปิดชั่วคราวอยู่ 1 สาขา) โดยภายในสิ้นปีนี้ หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวมากขึ้น ทางเเบรนด์ยังมีเเผนจะขยายสาขาใหม่ตามเดิม อีก 5 สาขา เเบ่งเป็น 3 สาขาใหม่ เเละอีก 2 สาขาเป็นการย้ายสถานที่เเต่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเดิม 

ประเด็นที่น่าจับตามอง คือ ต่อจากนี้ร้านใหม่ของ Sizzler จะมีขนาด ‘เล็กลง’ จากเดิมที่สาขาใหญ่ๆ เคยกว้างขวางถึง 600 ตร.ม. ลดลงเหลือราว 300-280 ตร.ม. ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป สั่งเดลิเวอรี่กันมากขึ้น เเละอีกด้านหนึ่งก็คือการที่ห้างสรรพสินค้าต้องการจัดสรรพื้นที่ให้หลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้า ที่ตั้งของร้านต่างๆ จึงมีขนาดเล็กลง เเต่ภายในห้างฯ จะมีเเบรนด์ให้เลือกมากขึ้น

สานต่อโมเดล to go พร้อมขยายเดลิเวอรี่ 

ด้านโมเดล Sizzler to go เจาะกลุ่มคนเดินทาง ที่ต้องสะดุดเพราะวิกฤตโควิดหลายรอบ หลังคลายล็อกดาวน์รอบนี้ก็ดูเหมือนจะมีความหวังอีกครั้ง เเต่ยังไม่มีเเผนจะขยายสาขาเพิ่มในปีนี้ ปีหน้าเมื่อการเดินทางกลับมา ก็มองว่าเป็นโอกาสที่ดี (ตอนนี้มีอยู่ 5 สาขาในกรุงเทพฯ) เพราะเป็นการขยายตลาดเข้าหาผู้บริโภคที่ต้องการความง่าย รวดเร็วเเละต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ เเถมยังมีขนาดเล็กลง ตามเเนวทางของเเบรนด์

ร้าน Sizzler To Go สาขาล่าสุดที่เปิดในโรงพยาบาลกรุงเทพ ก็เป็นอีกหนึ่งทำเลที่แบรนด์ตั้งใจจะขยายไปในพื้นที่ใหม่ ซึ่งจะมีการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในลักษณะนี้อีกต่อไป

ส่วนฝั่งของ ‘เดลิเวอรี่’ นั้น ผู้บริหาร Sizzler บอกว่า มีการเติบโตถึง 3 เท่าจากช่วงก่อนโควิด ซึ่งตอนนี้สัดส่วนการขายออนไลน์สูงถึง 15-20% เเล้ว ถือว่ามากเเละเร็วกว่าที่คิดไว้ถึง 2-3 ปี โดยมียอดสั่งซื้อเฉลี่ยราว 500 บาทต่อบิล

“ยอมรับว่าปีนี้หนักกว่าปีที่เเล้วมาก เพราะโดนล็อกดาวน์นานกว่า เเต่พอเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้ ลูกค้ากลับมาเร็วกว่าเพราะหลายคนอัดอั้น อยากออกมาใช้ชีวิตปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดี โดยทิศทางธุรกิจปีหน้าคงจะดีขึ้นตามลำดับ หลังมีการกระจายวัคซีนเเละเริ่มเปิดเมืองอีกครั้ง”

โดย Sizzler จะมี ‘บิ๊กโปรเจ็กต์’ ที่สร้างเซอร์ไพรส์ครั้งใหญ่ ที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกหน้าหน้าใหม่ในมุมที่เเตกต่าง โดยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าจะเปิตตัวได้เร็วที่สุดในช่วงกลางปีหน้า เเต่จะเป็นอะไรนั้น ทางผู้บริหารบอกว่าขออุ๊บไว้ก่อน…ต้องติดตามกันต่อไป 

 

]]>
1356091
“ดุสิตธานี” แตกธุรกิจอาหารปั้นแบรนด์ “ของไทย” 3 ปี ดันรายได้พันล้าน ติดใจมิกซ์ยูสควง “อนันดา” เปิดอีก 2-3 โปรเจกต์ https://positioningmag.com/1230882 Tue, 21 May 2019 23:05:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230882 ภายใต้กลยุทธ์เพิ่มความหลากหลายในการทำธุรกิจ (Diversify) ของกลุ่มดุสิตธานี เพื่อโอกาสเติบโต กระจายความเสี่ยง และสร้างความสมดุลรายได้ จากปัจจุบันสัดส่วน 80% มาจากธุรกิจโรงแรม หนึ่งในเรือธง ดุสิตธานีมองไปที่ “ธุรกิจอาหาร” ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมและโอกาสการลงทุนใน “มิกซ์ยูส” เพิ่มเติม ปีนี้อาจเห็นอีก 2-3 โครงการ

การปิดโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาโปรเจกต์มิกซ์ยูส “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” ใจกลางกรุงเทพฯ บนที่ดิน 23 ไร่ หัวมุมถนนสีลมและพระราม 4  ร่วมกับเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) มูลค่า 37,700 ล้านบาท ที่จะเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี 2567 โดยส่วนของโรงแรม “ดุสิตธานี กรุงเทพ” โฉมใหม่ ขนาด 250 ห้อง ความสูง 39 ชั้น จะเปิดให้บริการเป็นลำดับแรกในต้นปี 2565

แต่การปิดโรงแรมดุสิต กรุงเทพ ที่ต้องใช้เวลาก่อสร้างใหม่ 3-4 ปี ซึ่งเป็นธุรกิจที่ทำรายได้ปีละ 700-800 ล้านบาท กลุ่มดุสิตธานีจึงต้องเดินหน้าสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ ทดแทน พร้อมตอบกลยุทธ์ Diversify ที่ปัจจุบันกลุ่มดุสิตธานีได้ปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่ให้มีความหลากหลาย โดยแบ่งเป็น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการศึกษา โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (มิกซ์ยูส) ธุรกิจอาหาร และธุรกิจอื่นๆ

รุกธุรกิจอาหารโรงงานผลิต-เคเทอริ่ง

ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การขยายการลงทุนธุรกิจอาหาร ที่ผ่านมา ดุสิตธานีได้จัดตั้งบริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยถือหุ้นสัดส่วน 99.99% เพื่อเข้าไปลงทุนในธุรกิจอาหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักของดุสิตธานี และเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตในอนาคต รวมทั้งสร้าง Synergy กับธุรกิจเดิม

“วิสัยทัศน์ของ ดุสิต ฟู้ดส์ คือ การนำอาหารไทยและอาหารในภูมิภาคเอเชียออกสู่โลก (Bring Asia to the World) การนำความเป็นไทยไปสู่โลกนั้น เป็นจุดยืนของกลุ่มบริษัทดุสิตธานีตั้งแต่เริ่มแรก ส่วนอาหารเอเชียนั้นก็เพราะเรามี Foot Print ของธุรกิจโรงแรมในทวีปเอเชียเป็นหลักที่สามารถต่อยอดกันได้”

ศุภจี สุธรรมพันธุ์

การขยายธุรกิจอาหาร “ดุสิต ฟู้ดส์” เริ่มตั้งแต่ มี.ค. 2561 ได้เข้าไปลงทุนมูลค่า 663 ล้านบาท ในบริษัท เอ็นอาร์อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด หรือ NRIP ถือหุ้น 26% ซึ่งเป็นโรงงานผลิตอาหารในจังหวัดสมุทรสาคร ดำเนินธุรกิจมากว่า 25 ปี ผลิตสินค้าส่งออก 25 ประเทศทั่วโลก ให้กับแบรนด์ต่างๆ กว่า 50 แบรนด์ ผลิตสินค้าได้หลากหลายกว่า 1,000 SKU รายได้เกือบทั้งหมดมาจากการส่งออกต่างประเทศ

ไม่เพียงเท่านั้น NRIP ยังได้วางยุทธศาสตร์เพิ่มรายได้ที่เกิดจากแบรนด์ของตนเอง ที่มีอยู่ 5 แบรนด์ เช่น Lee, ไทยดีไลท์ และสร้างใหม่อีก 1 แบรนด์ในปีนี้ เพื่อขยายตลาดรีเทลในประเทศไทย ซึ่ง NRIP วางแผนทำ IPO เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และจะยื่นไฟลิ่งในปีนี้ นั่นเท่ากับว่า ดุสิตธานีจะมีแหล่งรายได้หลักจาก NRIP

ช่วงต้นปีนี้เดือน ม.ค. 2562 ดุสิตธานีได้เข้าไปลงทุนในบริษัท เอ็บเพอคิวร์ เคเทอริ่ง จำกัด หรือ ECC ซึ่งเป็นผู้นำให้บริการผลิตอาหาร (Catering) ให้กับโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทยกว่า 30 แห่ง โดยเข้าไปถือหุ้น 50% และจะเพิ่มเป็น 70% ในต้นปี 2563 รวมมูลค่าการลงทุน 613 ล้านบาท การลงทุนดังกล่าวมองโอกาสเติบโตทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในกลุ่มตลาดธุรกิจการศึกษาและตลาดอื่นๆ ด้วยการเชื่อมต่อกับเครือข่ายโรงแรมดุสิตธานีที่มีอยู่ในหลายประเทศ

ปั้นแบรนด์อาหาร “ของไทย” เจาะฟู้ดเซอร์วิส

สเต็ปรุกธุรกิจอาหารของดุสิตฟู้ดส์ปีนี้ ได้สร้างแบรนด์อาหาร “ของไทย” (KHONG THAI) ที่สื่อถึง “ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีเอกลักษณ์จากประเทศไทย” เริ่มจากกลุ่มเครื่องแกง ready to cook 4 เมนู คือ แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น และก๋วยเตี๋ยวแขก และผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส ซอสพริก ซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว น้ำปลา ปี 2563 วางแผนเพิ่มสินค้าให้ได้ 20 SKU สินค้าแบรนด์ “ของไทย” ใช้โรงงานผลิตของ NRIP ที่ดุสิตธานีเข้าไปร่วมถือหุ้น เป็นการลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำโรงงานผลิตถึงปลายน้ำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์

เจตน์ โศภิษฐพ์งศธร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดุสิต ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวว่า การทำตลาดแบรนด์ “ของไทย” สร้างความแตกต่างจากตลาดเครื่องแกง โดยได้ร่วมมือกับ “เดวิด ทอมป์สัน” (David Thompson) เชฟชาวออสเตรเลีย ที่ศึกษาคุณค่าและเรื่องราวของอาหารไทยมายาวนาน และทำให้ร้านอาหารไทยที่เขาทำงานเป็นพ่อครัว ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในประเทศไทยได้รับ มิชลินสตาร์ เช่น ร้านอาหาร Nahm (น้ำ) ของไทย โดยเชฟเดวิดทำหน้าที่เป็นผู้สร้างสรรค์เมนูอาหารแบรนด์ “ของไทย” ที่จะเน้นทำตลาดส่งออกเป็นหลัก 90% เริ่มจากตลาดสหรัฐ

เจตน์ โศภิษฐพ์งศธร

อเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่และรู้จักอาหารไทยดี โดยจะทำตลาดในกลุ่มเป้าหมายพ่อครัวและผู้ประกอบกิจการร้านอาหาร หรือการให้บริการทางการทำอาหาร (Food Service) เฉพาะตลาดสหรัฐฯ น่าจะเห็นรายได้ 40-50 ล้านบาทต่อปี ภายใน 5 ปีแตะ 100 ล้านบาท โดยจะขยายตลาดส่งออกในยุโรป อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ไปพร้อมกัน จะเปิดตัวแบรนด์ “ของไทย” ในงาน THAIFEX – World of Food Asia 2019 วันที่ 28 พ.ค. – 1 มิ.ย. เป็นครั้งแรก

นอกจากทำตลาดส่งออกแล้ว ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องปรุงรสแบรนด์ “ของไทย” จะถูกนำไปใช้ในโรงแรมปรุงอาหารในโรงแรมต่างประเทศที่ดุสิตธานีเข้าไปลงทุนและบริหาร เพื่อให้ได้อาหารที่มีรสชาติและมาตรฐานเดียวกัน

กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ธุรกิจอาหารของ ดุสิต ฟู้ดส์ ยังมองตลาดอาหารในเอเชียที่มีความโดดเด่นเช่นกัน มีแผนที่จะร่วมมือกับ “เชฟ” ที่มีชื่อเสียงด้านอาหารของแต่ละชาติ เพื่อพัฒนาแบรนด์และเมนูใหม่ๆ ออกมากทำตลาดอย่างต่อเนื่อง

ปี 64 ดุสิต ฟู้ดส์ รายได้ 1,000 ล้าน

ศุภจี กล่าวว่าธุรกิจอาหาร ปีนี้จะทำรายได้ราว 400 ล้านบาท และภายในปี 2564 จะมีรายได้แตะ 1,000 ล้านบาท เป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่เข้ามาทดแทนรายได้จากการปิดโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ประกอบกับแผนการเปิดโรงแรมใหม่ทุกปี ปีละ 10-12 แห่ง ทั้งการร่วมลงทุนและเข้าไปรับจ้างบริหารโรงแรมในไทยและต่างประเทศ จะทำให้กลุ่มดุสิตธานียังเติบโตได้ที่ระดับ 8-10% พร้อมมองโอกาสการลงทุนใหม่ๆ

ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ดุสิตธานีเตรียมเปิดให้บริการ “บ้านดุสิตธานี” โดยได้ทำสัญญาเช่า 5 ปี บ้านโบราณอายุกว่า 100 ปี บนที่ดินขนาดเกือบ 5 ไร่ในซอยศาลาแดง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเป็นจุดหมายใหม่ของนักชิมและนักท่องเที่ยวที่คิดถึงโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ในช่วงที่กำลังก่อสร้างใหม่ ด้วยการนำบริการต่างๆ ที่เคยเป็นซิกเนเจอร์ของโรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ เช่น ห้องอาหารไทยเบญจรงค์ ห้องอาหารเวียดนามเธียนดอง ร้านเบเกอรี่ ดุสิต กูร์เมต์ บริการซักรีด และพื้นที่จัดเลี้ยง มาเปิดให้บริการที่ “บ้านดุสิตธานี”

ลงขันอนันดาบุก“มิกซ์ยูส” อีก 2-3 โปรเจกต์

อีกหนึ่งธุรกิจที่กลุ่มดุสิตธานี Diversify ไปแล้ว คือ โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รูปแบบผสม (มิกซ์ยูส) โปรเจกต์แรกร่วมกับ “ซีพีเอ็น” ลงทุนโครงการ “ดุสิต เซ็นทรัล พาร์ค” มูลค่า 37,700 ล้านบาท ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี 2567 ประกอบไปด้วย 4 ธุรกิจ คือ โรงแรม ที่พักอาศัย ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน

ปีนี้ดุสิตธานีมีแผนจะลงทุนโครงการมิกซ์ยูสอีก 2-3 โปรเจกต์ หนึ่งในนี้คือโครงการที่ร่วมทุนกับ “อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์” ซึ่งเป็นเข้ามาลงทุนถือหุ้นดุสิตธานี 5% มูลค่ารวม 510 ล้านบาท เมื่อเดือน ก.พ. 2562 โดยเป็นการเข้ามาลงทุนระยะยาว และใช้จุดแข็งของทั้ง 2 บริษัท สร้างโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ทั้งโรงแรมและที่พักอาศัย รวมทั้งจะมีการลงทุนมิกซ์ยูสร่วมกับพันธมิตรรายใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน

รายได้จากธุรกิจมิกซ์ยูสที่ร่วมกับ ซีพีเอ็น จะเริ่มเห็นตั้งแต่ปี 2566 แต่โครงการมิกซ์ยูส 2-3 โครงการที่จะลงทุนในปีนี้ จะมีบางโปรเจกต์เริ่มมีรายได้เข้ามาก่อนปี 2566

การ Diversify ธุรกิจกลุ่มอาหารและมิกซ์ยูส จะทำให้สัดส่วนรายได้ของกลุ่มดุสิตธานีเปลี่ยนไป จาก ปี 2561 ที่มีรายได้ 5,565 ล้านบาท มาจากโรงแรม 83.2%, การศึกษา 7.6% และ อื่นๆ 9.2% ตั้งแต่ปีนี้จะเริ่มมีรายได้จากธุรกิจอาหารเข้ามาอีกกลุ่ม

โดยในปี 2564 สัดส่วนรายได้จะมาจากโรงแรม 70% อาหาร 15% การศึกษาและอื่นๆ 15%

]]>
1230882