อุตสาหกรรมเพลง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 12 Mar 2023 12:24:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลับมาในรอบ 35 ปี! “แผ่นเสียง” ขายดีแซงหน้า “ซีดี” ในสหรัฐฯ หวนคืนความฮิตในหมู่ Gen Z https://positioningmag.com/1422874 Sat, 11 Mar 2023 12:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422874 โลกอนาล็อกกลายเป็นเสน่ห์ใหม่ เมื่อยอดขาย “แผ่นเสียง” ในสหรัฐฯ สูงขึ้นแซงหน้า “ซีดี” ในปี 2022 แม้ว่ารายได้จากสตรีมมิ่งยังคงมีสัดส่วนสูงสุด แต่ยอดขายสินค้าจับต้องได้เริ่มเห็นการหวนคืนสู่ความนิยมได้อย่างชัดเจน โดยแผ่นเสียงไวนิลที่ขายดีที่สุด 3 อันดับแรกมาจากศิลปินอย่าง Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo

สมาคมอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) รายงานรายได้ประจำปี 2022 ของอุตสาหกรรม และพบสถิติใหม่ในรอบกว่า 3 ทศวรรษ เพราะแผ่นเสียงไวนิลทำยอดขายได้มากกว่าแผ่นซีดี

เมื่อปี 2022 แผ่นเสียงทำยอดขายรวม 41 ล้านชิ้น เทียบกับแผ่นซีดีที่ทำยอดขาย 33 ล้านชิ้น ถือเป็นการ “หวนคืนกลับมาอย่างชัดเจน” ของกลุ่มสินค้าทางดนตรีที่จับต้องได้

แผ่นเสียงไวนิลคิดเป็นสัดส่วน 70% ของยอดขายสินค้าดนตรีที่จับต้องได้เมื่อปีก่อน โดยทำรายได้ให้วงการถึง 1,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 41,700 ล้านบาท)

ตั้งแต่ปี 1987 เป็นต้นมา แผ่นเสียงไม่ใช่สินค้านำในตลาดดนตรีอีกต่อไป หลังจากแผ่นซีดีหรือ ‘compact disc’ ปฏิวัติวงการและเข้ามาแทนที่ในสังคมอเมริกัน ในยุคต่อมา ทั้งซีดีและแผ่นเสียงต่างต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเพราะแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดนตรี ก่อนที่จะหวนคืนกลับมาอย่างน่าแปลกใจเมื่อไม่กี่ปีมานี้

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ “แผ่นเสียง” คืนกลับสู่ความนิยม ส่วนหนึ่งมาจากคน Gen Z และ Gen Y ที่กลับมาให้ความสนใจแผ่นเสียง ตามรายงานของ Luminate เมื่อปี 2022 พบว่าผู้ฟังดนตรี Gen Z ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะซื้อแผ่นเสียงมากกว่าคนเจนเนอเรชันอื่นๆ ถึง 25%

อีกส่วนหนึ่งต้องขอบคุณช่วงที่เกิดโรคระบาด เพราะทำให้คนอเมริกันเริ่มมองหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ทำได้ที่บ้าน Jason McGuire ผู้จัดการทั่วไปของค่ายเพลง Stones Throw เคยให้สัมภาษณ์กับ Los Angeles Times ไว้เมื่อเดือนมกราคมปีก่อนว่า หลายคนติดอยู่ที่บ้าน ไปไหนไม่ได้ ทำให้พวกเขาเริ่มเปลี่ยนการใช้เงินมาลงทุนกับพื้นที่ในบ้าน และส่วนหนึ่งนั้นก็ลงไปกับการทำห้องฟังเพลงคุณภาพสูง ซึ่งทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง จากนั้นเทรนด์ก็ยังคงแรงต่อเนื่องแม้จะพ้นช่วงโรคระบาดมาแล้ว

แผ่นเสียง
อัลบัม Midnights ของ Taylor Swift ทำยอดขายแผ่นเสียงได้สูงที่สุดในปี 2022

แม้ว่าแผ่นเสียงจะกลับมาฮิต แต่แน่นอนว่ารายได้ส่วนใหญ่ 84% ก็ยังมาจากการสตรีมมิ่ง ตามข้อมูลของ RIAA แต่เทรนด์ยอดขายแผ่นเสียงไวนิลก็ยังพุ่งขึ้นอยู่

สำหรับศิลปินที่เป็นผู้นำตลาดแผ่นเสียงเมื่อปี 2022 ได้แก่ Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo ซึ่งเป็น 3 อันดับแรกศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุด ตามข้อมูลจาก Luminate อย่างไรก็ตาม ในกลุ่ม Top 10 ศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุดยังคงมีชื่อศิลปินร็อคคลาสสิคติดอันดับอยู่ เช่น The Beatles หรือ Fleetwood Mac

Luminate ยังรายงานด้วยว่า เมื่อเดือนตุลาคมปี 2022 Taylor Swift เปิดขาย “Midnights” อัลบัมใหม่ของเธอโดยออกมาหลายเวอร์ชัน ทำให้เธอขายแผ่นบันทึกเสียงรวมทุกรูปแบบได้ 1.58 ล้านชิ้น ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว และถือเป็นการขายอัลบัมในช่วงเปิดตัวได้สูงที่สุดในรอบ 7 ปี

Source

]]>
1422874
ระดมทุนเพื่อขยายตัว! Big Hit ค่ายต้นสังกัด BTS บอยแบนด์เกาหลี พร้อมเข้า “ตลาดหุ้น” https://positioningmag.com/1292608 Fri, 14 Aug 2020 09:24:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292608 Big Hit Entertainment คืบหน้าไปอีกขั้นในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเกาหลีใต้ หลังตลาดหุ้นรับรองในเบื้องต้นให้บริษัทเปิด IPO ได้ โดย Big Hit คือค่ายต้นสังกัดที่สร้างตำนานวงบอยแบนด์เกาหลี BTS หรือ บังทันโซยอนดัน วงเคป็อปวงแรกที่เจาะตลาดสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จอย่างเต็มภาคภูมิ

หลังจาก Big Hit Entertainment หรือ BHE ยื่นไฟลิ่งรอบแรกกับตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ไปเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 ต่อมาในวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม สำนักงานกำกับดูแลตลาดหุ้นเกาหลีได้ตอบกลับเบื้องต้นแล้วว่า Big Hit มีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะเปิด IPO เสนอขายหุ้นต่อสาธารณะเป็นครั้งแรก

โดยหลังจากนี้บริษัทจะต้องลงรายละเอียดหุ้นที่จะเสนอขายกับคณะกรรมการบริการทางการเงินภายใน 6 เดือน ปัจจุบันยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ออกมาว่าจะเสนอขายจำนวนกี่หุ้นในราคาเท่าใด แต่บริษัทได้แต่งตั้ง JP Morgan, NH Investment & Securities และ Korea Investment & Securities ให้เป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์แล้ว

สำหรับข้อมูลเบื้องต้นจากการยื่นไฟลิ่งเมื่อเดือนพฤษภาคม Big Hit ระบุว่าในปี 2562 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน 85.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเติบโต 24% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และมีรายได้รวม 508 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตถึง 95% จากปีก่อนหน้า ด้านยอดขายอัลบัมทำได้รวมทั้งหมด 6 ล้านแผ่น

 

View this post on Instagram

 

#BTS #방탄소년단 #MAP_OF_THE_SOUL_7 Concept Photo version 1

A post shared by BTS official (@bts.bighitofficial) on

การระดมทุนของ BHE ในครั้งนี้เป็นไปเพื่อเสริมแกร่งการปรับโครงสร้างบริษัทไปสู่โมเดลธุรกิจแบบ “แตกไลน์หลายค่ายย่อย” ภายใต้เครือเดียวกัน เพื่อทำให้รายได้บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว “BTS ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในฐานะศิลปินเกาหลีขณะที่ทั้งวง Tomorrow X Together และ Gfriend ก็กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทยังมีเด็กฝึกในค่ายอีกจำนวนมากที่อยู่ในไปป์ไลน์แล้ว” BHE กล่าวในแถลงการณ์เตรียมเข้าจดทะเบียน

โมเดลการมีหลายค่ายย่อยในเครือเริ่มขึ้นแล้วจากที่ Big Hit เข้าซื้อกิจการค่ายอย่าง Source Music และ Pledis โดยค่ายหลังนี้คือต้นสังกัดของวง Nu’Est และ Seventeen นอกจากนี้บริษัทยังเทกโอเวอร์บริษัทเกม Superb Corp. เข้ามาไว้ใต้อาณาจักรด้วย

บังชีฮยอก ผู้ก่อตั้ง BHE (photo : bighitcorp.com)

เพื่อเตรียมตัวเปิด IPO ตลาดหุ้น บริษัทยังปรับโครงสร้างผู้บริหารใหม่อีกครั้ง โดย “บังชีฮยอก” ได้รับแต่งตั้งกลับมาเป็นประธานกรรมการและซีอีโอ “เลนโซ ยุน” เป็นซีอีโอโกลบอล (ดูแลธุรกิจสากล) และ “ปาร์คจีวอน” เป็นซีอีโอประจำสำนักงานใหญ่

ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่าผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของ BHE ก็คือ “บังชีฮยอก” ผู้ก่อตั้งบริษัท และรองลงมาคือ “บังจุนฮยอก” ลูกพี่ลูกน้องของชีฮยอก เศรษฐีเกาหลีใต้เจ้าของบริษัทเกม Netmarble

นับว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวที่น่าจับตาของ Big Hit Entertainment ค่ายศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ค่ายเล็กๆ แต่เติบโตเร็วเพราะ BTS ดังเป็นพลุแตก นำความสำเร็จมาให้ทั้งค่ายต้นสังกัดและประเทศเกาหลีใต้ที่พยายามผลักดันการส่งออกวัฒนธรรมมาเนิ่นนาน

Source

]]>
1292608
ศึกชิงมิวสิกสตรีมมิ่ง JOOX vs Apple Music vs Spotify  https://positioningmag.com/1137633 Sat, 26 Aug 2017 23:55:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137633 ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งในไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ สปอติฟาย (Spotify) ได้ฤกษ์เปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการ เพราะต่อจากนี้ไปจะไม่ได้มีแค่บริการสุดฮิตที่มีมาก่อนหน้าอย่าง JOOX หรือ Apple Music เท่านั้น แต่จะมีอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในชื่อ Spotify เพิ่มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ใช้ชาวไทยได้เลือกใช้งานกัน

แน่นอนว่าเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้บริโภคก็ยังอาจตัดสินใจไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วจะเหมาะสมกับบริการใด เลยเลือกจับบริการสุดฮิตในตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งทั้ง 3 ตัวได้แก่ JOOX Apple Music และ Spotify มาถอดจุดขายข้อสังเกตกันทุกรายละเอียด โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อตามประเด็นที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังสนใจและพูดถึงในปัจจุบัน

1. คอนเทนต์เพลง

JOOX – ถึงแม้จะเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ เมื่อเทียบกับอีก 2 ผู้ให้บริการ แต่ JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

โดยในประเทศไทย JOOX จะเน้นเพลงวัยรุ่นทั้งไทยและสากลในกระแสเป็นหลัก เพลงนอกกระแส ค่ายเล็ก โดยเฉพาะเพลงอินดี้ต่างประเทศที่ศิลปินมักออกทุนผลิตเพลงเองจะมีให้เลือกฟังจาก JOOX น้อยมาก

Apple Music – เพราะแอปเปิลเป็นผู้ให้บริการขายเพลงผ่านระบบ iTunes มาก่อน ทำให้ Apple Music มีเพลงในคลังทั้งไทยและสากลมากกว่า 40 ล้านเพลง จึงกลายเป็นจุดเด่นสำคัญไปโดยปริยาย พร้อมกับความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS

โดยเฉพาะเพลงนอกกระแสจากค่ายเล็กใหญ่ทั้งไทยและเทศที่มักมีให้เลือกฟังผ่าน Apple Music มากกว่าบริการอื่น อีกทั้งในบ้านเรา Apple Music ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งฟังเพลงออนไลน์สำหรับคนชอบฟังเพลงวัยรุ่นเกาหลี K-POP อีกด้วย

Spotify – น้องใหม่สุดในบ้านเรา แต่สำหรับระดับโลกถือว่า Spotify อยู่ในตลาดสตรีมมิ่งมาเกือบ 10 ปีแล้ว ด้านคอนเทนต์เพลงของผู้ให้บริการนี้จะคล้ายกับ Apple Music คือมีเพลงทั้งไทยและสากลทั้งในกระแสและนอกกระแสให้เลือกฟังเช่นเดียวกัน

แต่ปัจจุบันในตลาดไทยเพลงอาจน้อยกว่าทั้ง Apple Music และ JOOX โดยเฉพาะเกาหลี K-POP ที่ปัจจุบันยังไม่หลากหลาย ส่วนเพลงนอกกระแสต่างประเทศถือว่า Spotify เป็นผู้นำด้วยเครือข่ายขนาดใหญ่ จุดนี้อาจต้องรอดูอนาคตเพราะ Spotify เพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทย ส่วนตลาดโลกก็เรียกได้ว่า Spotify เป็นอีกหนึ่งคลังเพลงออนไลน์ขนาดใหญ่ระดับ 30 ล้านเพลงขึ้นไป

Apple Music จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

2. จุดขายเด่น

JOOX – เพราะเป็นการร่วมมือกับสนุกดอทคอมทำให้ JOOX มีจุดขายในเรื่องบริการด้านข่าวบันเทิง มีวิดีโอเล่นดนตรีสด เวอร์ชันพิเศษเฉพาะ JOOX และมีวิทยุเลือกจัดเพลงตามธีมต่างๆ รวมถึงมีเพลย์ลิสต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากระบบของ Spotify เช่นวันนี้อยากออกกำลังก็สามารถเลือกเพลย์ลิสต์รวมเพลงที่เหมาะกับการออกกำลังกายได้ทันที

นอกจากนั้นคอนเทนต์ส่วนใหญ่บน JOOX จะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีแต่แลกกับมีการต้องฟังโฆษณา หรือจะเลือกเสียเงินก็จะได้รับคุณภาพเสียงที่สูงขึ้น และโหลดมาฟังแบบออฟไลน์บนสมาร์ทโฟนได้

Apple Music – มีจุดขายสำคัญในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยผู้ใช้คัดเลือกและสร้างเพลย์ลิสต์โดยอ้างอิงจากแนวเพลงที่ชอบฟังให้แบบอัตโนมัติ รวมถึงมีระบบ Connected กับศิลปินที่เราชื่นชอบ เปรียบเสมือนศิลปินมีบล็อกส่วนตัวเขียนให้แฟนเพลงติดตามรวมถึงมีวิทยุออนไลน์ฟังเพลงแบบ Non Stop หรือจะเลือกฟังแบบมีผู้ดำเนินรายการก็ได้

Spotify – ฟีเจอร์เด่นที่ทำให้ Spotify มีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ก็คือระบบการจัดเพลย์ลิสต์เพลงที่หลากหลายครอบคลุมทุกอารมณ์ของคนฟังมากที่สุด รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนเมื่อศิลปินที่เราติดตามออกเพลงใหม่ อีกทั้งคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย Spotify จะมีโหมดพิเศษที่ชื่อว่า ‘Running’ โดยโหมดนี้จะตรวจจับความเร็วในการวิ่งของเราและจัดลิสต์เพลงที่เหมาะสมแต่ละช่วงความเร็วให้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเพลย์ลิสต์ร่วมกับระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวในโทรศัพท์

นอกจากนั้นปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify ยังช่วยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ เช่น Discovery Weekly และสุดท้าย Spotify ยังรองรับอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลากหลายที่สุดตั้งแต่สมาร์ททีวี เครื่องเกมคอนโซน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถฟังเพลงข้ามไปมาระหว่างอุปกรณ์แบบไร้รอยต่อ หรือถ้าฟังเพลงในคอมพิวเตอร์อยู่ก็สามารถกดเปลี่ยนเพลงจากสมาร์ทโฟนได้ทันที 

ปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify จะเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ

3. คุณภาพเสียง

JOOX – สำหรับการใช้งานฟรี คุณภาพเสียงจะอยู่ที่ 128 Kbps ส่วนถ้าสมัครใช้บริการรายเดือนแบบ VIP จะได้คุณภาพเสียงสูงถึง 192 Kbps และบางเพลงสามารถฟังแบบคุณภาพ HiFi 1,411Kbps ได้ด้วย

Apple Music – จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

Spotify – รองรับการสตรีมมิ่งเพลงที่ความละเอียดสูงสุด 320 Kbps ทุกเพลง ส่วนค่าต่ำสุด 96 Kbps 

JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

 4. ราคา

JOOX – การบอกรับสมาชิก (VIP) สามารถเลือกจ่ายเงินได้ 3 ช่องทางได้แก่ 1.บัตรเงินสด TrueMoney, 12Call, DTAC 2.ซื้อบัตรเงินสด JOOX VIP มีราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทใช้ได้ 5 วันจนถึง 1,000 บาทใช้ได้ 328 วัน 3.จ่ายผ่านบัตรเครดิต เริ่มต้น 129 บาทต่อเดือน

Apple Music – เริ่มต้นแบบบุคคลอยู่ที่ 129 บาทต่อเดือน รายปี 1,300 บาท แบบครอบครัวได้สูงสุด 6 คนตกเดือนละ 199 บาท และสุดท้ายนักศึกษาเดือนละ 69 บาท

Spotify – บอกรับสมาชิก ค่าบริการแบบ Premium บุคคลตกเดือนละ 129 บาท รายปี 1,548 บาท แบบครอบครัวตกเดือนละ 199 บาท รองรับการจ่ายเงินผ่านเครือข่าย DTAC สามารถเลือกจ่ายเป็นรายวันเริ่มต้น 8 บาท รายสัปดาห์ 39 บาท รายเดือน 139 บาท และราย 3 เดือน 417 บาท


ที่มา : manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000087469

]]>
1137633