เครื่องบินโดยสาร – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 22 Sep 2020 10:36:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Airbus ออกคอนเซ็ปต์ “เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน” ไร้มลพิษ ตั้งเป้าใช้จริงปี 2035 https://positioningmag.com/1298206 Tue, 22 Sep 2020 10:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298206 บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน Airbus ออกงานคอนเซ็ปต์ดีไซน์เครื่องบินปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ โดยเป็น “เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน” เป้าหมายใช้งานได้จริงปี 2035 ขอเป็นเจ้าแรกที่ผลิตเครื่องบินพลังงานไฮโดรเจนสำเร็จ

Airbus ประกาศเปิดตัวคอนเซ็ปต์เครื่องบินพลังงานไฮโดรเจน ZEROe แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบพร็อป และเครื่องบินแบบตัวถังกับปีกผสานเป็นชิ้นเดียวกัน โดยคาดว่าจะสามารถนำมาใช้ได้จริงปี 2035

ยกตัวอย่างนวัตกรรมที่จะใช้ในคอนเซ็ปต์เครื่องบินขณะนี้ เช่น เครื่องบินเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน จะจุผู้โดยสารได้ 120-200 ที่นั่ง บินได้ไกล 2,000 ไมล์ทะเล บริษัทอธิบายว่าพลังงานที่ใช้จะมาจาก “เครื่องยนต์กังหันก๊าซแบบดัดแปลงโดยใช้ไฮโดรเจนผ่านการสันดาปแทนน้ำมันเครื่องบิน” โดยไฮโดรเจนเหลวจะถูกกักเก็บไว้ด้านหลังผนังกั้นแรงดันท้ายซึ่งอยู่ด้านท้ายเครื่องบิน

“แนวคิดเหล่านี้จะช่วยให้เราคิดค้นและพัฒนาการออกแบบและรูปแบบของเครื่องบินพาณิชย์ที่ไม่ปล่อยมลภาวะในสภาพอากาศเป็นครั้งแรกของโลก” กิลโยม โฟว์รี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Airbus กล่าว

 

ศักยภาพเครื่องยนต์พลังงานไฮโดรเจน

ปัจจุบันการใช้พลังงานไฮโดรเจนในอากาศยานยังไม่เป็นที่นิยม แต่สำหรับการขนส่งทางบกเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้แล้ว แม้จะยังเป็นตลาดขนาดเล็กอยู่ ยกตัวอย่างเช่น รถประจำทางพลังงานไฮโดรเจนเริ่มทดลองใช้งานแล้วที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

หรือบริษัท Alstom ในยุโรป ได้พัฒนารถไฟชื่อ Coradia iLint เป็นรถไฟที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) เพื่อแปลงออกซิเจนและไฮโดรเจนเป็นพลังงานไฟฟ้า ตามที่บริษัทระบุ รถไฟขบวนนี้วิ่งด้วยความเร็วสูงสุดที่ 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เดินขบวนได้เงียบ และปล่อยของเสียเพียงแค่ไอน้ำและน้ำเท่านั้น

ในกลุ่มอากาศยาน มีอากาศยานที่ใช้เทคโนโลยีปลอดการปล่อยคาร์บอนหรือลดการปล่อยคาร์บอนแล้วเช่นกัน ตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีการทดลองเครื่องบินพลังงานไฟฟ้าบินข้ามประเทศอังกฤษ และเป็นเที่ยวบินพาณิชย์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นครั้งแรกด้วย

ย้อนไปเดือนพฤษภาคม เครื่องบิน Cessna 208B Grand Caravan ขนาดเครื่องยนต์ 750 แรงม้า และเป็นเครื่องบินพลังงานไฟฟ้า ก็ได้ขึ้นบินเป็นครั้งแรกที่รัฐวอชิงตัน

ย้อนไปไกลกว่านั้น เมื่อปี 2016 มีการขึ้นบินเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Impulse 2 และบินไปรอบโลกสำเร็จโดยไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเลย แต่เป็นการบินที่แบ่งรอบบินขึ้นลงเป็น 17 ช่วง ไม่ได้บินจบในรอบเดียว

Source

]]>
1298206
คู่ปรับ “Boeing – Airbus” ร่วมชะตากรรม ขาดทุนยับกว่าที่คาด ลดผลิตเครื่องบิน ปลดพนักงานเพิ่ม https://positioningmag.com/1290404 Fri, 31 Jul 2020 12:16:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290404 สองยักษ์ใหญ่เเห่งวงการผลิตเครื่องบิน ที่ฟาดฟัดกันมาหลายยุคหลายสมัยอย่าง Boeing เเละ Airbus กำลังตกที่นั่งลำบากร่วมกันหลังต้องเผชิญกับวิกฤต COVID-19 โดยทั้งสองบริษัทมีผลประกอบการขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ จำเป็นต้องปรับลดพนักงานเพิ่ม เเละลดการผลิตเครื่องบินรุ่นหลักลงอีก

ธุรกิจการบินฟื้นตัวช้าเเละต้องรออีกหลายปี ล่าสุด Boeing ผู้ผลิตเครื่องบินสัญชาติสหรัฐฯ รายงานผลประกอบการในไตรมาสขาดทุนถึง 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 7.4 หมื่นล้านบาท) และรายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.6 เเสนล้านบาท)

Dave Calhoun ซีอีโอของ Boeing บอกว่า ตัวเลขในไตรมาส 2 “ย่ำแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สะท้อนให้เห็นว่าการเเพร่ระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลกระทบอย่างรุนเเรงต่ออุตสาหกรรมการบิน เเละสถานการณ์นี้ยังจะต้องคงอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง

คงต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี กว่าที่อุตสาหกรรมการบินจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อน COVID-19”

ด้วยปัจจัยความต้องการเดินทางที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงข้อจำกัดพรมเเดนเเละมาตรการควบคุมโรคในเเต่ละประเทศ ทำให้สายการบินชะลอการซื้อเครื่องบินใหม่ ทำให้ผู้ผลิตต้องเลื่อนการส่งสินค้าและบริการซ่อมบำรุงหลายด้าน

ก่อนหน้านี้ ทางสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด เเละเเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

Boeing ประกาศว่า จะลดการผลิตเครื่องบินตระกูล 777 และ 787 และเลื่อนการเปิดตัวเครื่องบินรุ่นใหม่อย่าง 777X ได้อย่างเร็วที่สุด คือภายในปี 2022

นอกจากนี้ Boeing ยืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 จัมโบ้เจ็ต เจ้าของฉายาราชินีเเห่งท้องฟ้าสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล ภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ขณะเดียวกัน Boeing ก็ต้องรีบปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินที่ลดฮวบ ด้วยการปลดพนักงานภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งพนักงานของบริษัทราว 19,000 คน จากพนักงานทั่วโลกราว 1.6 เเสนคน จะต้องถูกเลิกจ้างก่อนกำหนด เเละล่าสุดก็เพิ่งมีการส่งข้อความถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติมอีก

Photo : Shutterstock

ด้านคู่ปรับตลอดกาลอย่าง Airbus ผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ สัญชาติฝรั่งเศส เปิดเผยผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ว่า ขาดทุน 1,900 ล้านยูโร (ราว 7 หมื่นล้านบาท) รายได้ในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 39% เหลือ 18,900 ล้านยูโร (ราว 6.9 เเสนล้านบาท) โดยอัตราการส่งมอบเครื่องบินในช่วงเวลานี้ลดลง 50% เหลือเพียง 196 ลำ ต่ำสุดในรอบ 16 ปี

Guillaume Faury ซีอีโอของ Airbus มองว่าวิกฤต COVID-19 คือปัจจัยที่ส่งผลกระทบรุนเเรงมากที่สุดตอนนี้ ซึ่งบริษัทได้ปรับลดการผลิตลงเเล้ว 40% รวมถึงการลดการผลิตเครื่องบินรุ่น A 350 ลงอีก เหลือเพียง 5 ลำต่อเดือน

สำหรับเเผนปรับโครงสร้างองค์กรของ Airbus จะมีการปลดพนักงานราว 15,000 คนภายในกลางปีหน้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศสและเยอรมนี จากพนักงานกว่า 1.35 เเสนคนทั่วโลก

ด้านสหภาพแรงงานฝรั่งเศส เรียกร้องให้ Airbus ชะลอการปรับโครงสร้างบริษัทออกไปก่อน โดยมองว่าการปลดพนักงานในครั้งนี้รุนแรงเกินไปและอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงกับอุตสาหกรรมการบินของยุโรปในอนาคต รวมถึงอาจทำให้ธุรกิจซัพพลายเออร์ขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบอย่างรุนเเรง หาก Airbus ลดการผลิตลงในช่วง 2 ปีต่อจากนี้

ทั้งนี้ Boeing เเละ Airbus ครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องบินพาณิชย์ทั่วโลกไปแล้ว 91% โดย Boeing ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ 45.69% และ Airbus ครองส่วนแบ่งอยู่ 45.35%

 

ที่มา : Reuters , Airbus.com

]]> 1290404 ปิดฉาก “ราชินีแห่งท้องฟ้า” เลิกผลิต Boeing 747 ในปี 2022 จากพิษไวรัส-เทรนด์ประหยัดพลังงาน https://positioningmag.com/1290152 Thu, 30 Jul 2020 09:44:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290152 หลังมีกระเเสการเลิกผลิตเครื่องบินเครื่องบินโดยสาร Boeing 747 “จัมโบ้เจ็ตสัญลักษณ์ของการเดินทางระยะไกล มาสักระยะหนึ่ง ล่าสุดทาง Boeing ออกมายืนยันอย่างเป็นทางการเเล้วว่าจะยุติการผลิตภายในปี 2022 นี้ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การเดินทางทั่วโลกต้องหยุดชะงัก เเละปัจจุบันสายการบินต่างๆ ก็หันมาใช้เครื่องบินรุ่นประหยัดเชื้อเพลิงกันมากขึ้น ตามเทรนด์ของยุคสมัย

ธุรกิจการบินกำลังเผชิญวิกฤตครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ เมื่อยอดผู้โดยสารลดฮวบเเละต้องปลดพนักงานเพื่อความอยู่รอด บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ได้รับผลกระทบจากคำสั่งซื้อที่ลดลงอย่างมาก เรียกได้ว่าสะเทือนไปทั้งอุตสาหกรรม

โดยผลประกอบการไตรมาส 2 ในปีนี้ของ Boeing ขาดทุนไปกว่า 2,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่รายได้ดิ่งลง 25% เหลือ 11,800 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการผลิตเครื่องบินลดลงในหลายรุ่น รวมถึง Boeing 787 และ 777 ด้วย

เเม้ช่วงนี้การเดินทางท่องเที่ยวจะซบเซา เเต่อุปสงค์สำหรับเครื่องบินขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ไม่มีคำสั่งซื้อ Boeing 747-8F เข้ามาเลย นับตั้งเเต่มีการส่งมอบเครื่องบินรุ่น 747 ให้สายการบินลุฟต์ฮันซา ตั้งเเต่เดือนเมษายน ปี 2015 โดยตอนนี้ Boeing ยังเหลือเครื่องบิน 747-8F ที่ยังค้างอยู่ในสต๊อกถึง 15 ลำ

สำหรับ Boeing 747 เป็นตำนานจัมโบ้เจ็ต ที่มีอายุนานกว่า 50 ปี รองรับผู้โดยสารได้ถึง 400 คน มีฉายาว่าราชินีแห่งท้องฟ้า และครองตำแหน่งเจ้าการเดินทางทางอากาศระหว่างประเทศ

ก่อนจะถูกซ้ำเติมด้วย COVID-19 เครื่องบิน Boeing 747 ก็เริ่มไม่ได้รับความนิยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายสายการบิน เริ่มปลดระวางเเละนำไปใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าหรือคาร์โกเเทน

ขณะเดียวกัน การมาของเทรนด์ประหยัดพลังงาน ทำให้สายการบินส่วนใหญ่หันไปใช้เครื่องบินที่มีขนาดเล็กกว่าเเละประหยัดเชื้อเพลิงกว่าอย่าง Boeing 787 Dreamliner, Boeing 737 เเละ Airbus A350

Boeing ระบุในแถลงการณ์ว่า บริษัทจะยังคงให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานและซ่อมบำรุงเครื่องบิน 747 ต่อไปในอนาคต โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสายการบินใหญ่อย่าง British Airways เเละ Qantas ได้ประกาศยุติการใช้งาน Boeing 747 เป็นที่เรียบร้อย  

Photo : Shutterstock

เหล่าผู้ผลิตเครื่องบินต้องปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ เพื่อพยุงธุรกิจ โดยล่าสุด Boeing ได้ส่งข้อความที่ส่งถึงพนักงานว่า มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับลดการจ้างงานเพิ่มเติม หลังช่วงต้นปี เคยประกาศว่าจะลดพนักงานลง 10% พร้อมลดกำลังผลิต Boeing 787 และ 777 ส่วน 737 Max แม้จะปรับเพิ่มการผลิต แต่ก็เป็นการปรับขึ้นอย่างช้าๆ กว่าแผนเดิมที่เคยวางเอาไว้

ด้านสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ออกมาปรับคาดการณ์ใหม่ว่า ธุรกิจการบินจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด เเละต้องรอไปจนถึงปี 2024 กว่าที่จำนวนผู้โดยสารทั่วโลกจะกลับมาเท่าช่วงก่อนโรคระบาด

โดยการฟื้นตัวของการเดินทางระยะสั้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าการเดินทางระยะไกล เเละคาดว่าจำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกจะลดลง 55% เมื่อเทียบกับปี 2019 เเย่กว่าที่คาดไว้ในเดือนเมษายนที่ 46% สำหรับเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทราฟฟิกของผู้โดยสารลดลง 86.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าดีขึ้นจากการหดตัวถึง 91% ในเดือนพฤษภาคม หลังได้รับอานิสงส์การเดินทางที่เพิ่มขึ้นบ้างในตลาดจีน

เเม้อัตราการเดินทางทางอากาศได้ผ่านจุดต่ำสุดไปเเล้ว เเต่อุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ เเละยังถือว่าอ่อนแออยู่มาก

 

ที่มา : Aerotime , BBC

]]> 1290152 เครื่องบินโตสนั่น! แอร์บัสฟันธง อีก 20 ปี มีลำใหม่เพิ่ม 37,400 ลำ มูลค่า 5.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1179257 Wed, 18 Jul 2018 05:10:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1179257 แอร์บัส ได้ออกมาเปิดเผยถึงความต้องการเครื่องบินโดยสารของโลกในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวน 48,000 ลำ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และการเติบโตของการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ต่อปี ส่งผลให้ความต้องการเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินบรรทุกสินค้าลำใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 37,390 ลำ ตามการคาดการณ์ตลาดโลกปี 2561-2579 ของแอร์บัส (Global Market Forecast 2018-2036)

ตัวขับเคลื่อนการเติบโต มาจากการบริโภคของภาคเอกชนในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า และรายได้ของชนชั้นกลางทั่วโลกสูงขึ้นและเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว

โดยประเทศกำลังพัฒนาจะมีสัดส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจคิดเป็นร้อยละ 60 ต่อการเดินทางต่อหัวเพิ่มจำนวนเป็น 2.5 เท่า เมื่อรวมกับรูปแบบธุรกิจการบินที่กำลังพัฒนาและการเปิดเสรีอย่างต่อเนื่อง การขยายตัวของการขนส่งทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความยืดหยุ่นในการชะลอตัวของภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น

ความหลากหลายของเครื่องบินและความสามารถในการพัฒนาทางเทคโนโลยีช่วยให้สายการบินต่างๆ มีความยืดหยุ่นในการสำรวจโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ในขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการลดต้นทุน

แอรบัสมองว่า ศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของเครื่องบินในปัจจุบัน จะช่วยลดขอบเขตความแตกต่างระหว่างตลาดต่างๆ ลง จึงทำให้มีแนวโน้มในการนำเครื่องบินไปใช้งานในวงกว้างมากขึ้น

“ข้อเท็จจริงเหล่านี้ ทำให้แอร์บัสพัฒนาการแบ่งกลุ่มเครื่องบินออกเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิธีการที่สายการบินใช้อากาศยานมากขึ้น” เอริค ชัลซ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายพาณิชย์ บริษัทแอร์บัส กล่าว

เมื่อแบ่งกลุ่มเครื่องบินออกเป็นสี่กลุ่มอย่างละเอียด พบว่า

กลุ่มเครื่องบินขนาดเล็ก

จะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเครื่องบินทางเดินเดี่ยวที่มีการแข่งขันมากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งทางแอร์บัสคาดการณ์ว่าในอนาคตความต้องการเครื่องบินใหม่จะมีจำนวน 28,550 ลำ ซึ่งคิดเป็นกว่าสามในสี่ของความต้องการทั้งหมดที่คาดไว้

กลุ่มเครื่องบินขนาดกลาง

ย่างเครื่องบินลำตัวกว้างขนาดเล็กและเครื่องบินทางเดินเดี่ยวพิสัยไกล เพื่อใช้ในภารกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเติมและพิสัยการบินที่ไกลขึ้น แอร์บัสคาดการณ์ว่าความต้องการเครื่องบินขนส่งผู้โดยสารและเครื่องบินบรรทุกสินค้าจำนวน 5,480 ลำ

กลุ่มเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างรุ่น เอ350 ที่ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปฏิบัติการบินมากที่สุด ซึ่งตอบโจทย์ในเรื่องความยืดหยุ่นในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเติมและพิสัยการบิน คาดว่าจะมีความต้องการถึง 1,760 ลำ

กลุ่มเครื่องบินขนาดใหญ่พิเศษอย่างรุ่น เอ350-1000 และ เอ380 โดยปกติแล้วจะสะท้อนถึงความสามารถในการรองรับผู้โดยสารและพิสัยการบินที่ไกล แอร์บัสคาดการณ์ว่าความต้องการที่มีต่อเครื่องบินกลุ่มนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีจำนวน 1,590 ลำ

จากความต้องการเครื่องบินลำใหม่จำนวนทั้งสิ้น 37,390 ลำ เครื่องบินจำนวน 26,540 ลำ นำไปใช้เพื่อรองรับการเติบโตของฝูงบิน และอีก 10,850 ลำจะใช้เพื่อทดแทนเครื่องบินรุ่นเก่าที่ประหยัดพลังงานน้อยกว่า จากการที่ฝูงบินในโลกมีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวถึง 48,000 ลำ จึงส่งผลให้ความต้องการนักบินใหม่เพิ่มขึ้นถึง 540,000 คน แอร์บัสยังคงเดินพัฒนาธุรกิจบริการเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น.

]]>
1179257
ขายไม่ออก!! แอร์บัสส่อเลิกผลิตเครื่องบินพาณิชย์ใหญ่สุดในโลก ‘A380’ https://positioningmag.com/1152034 Thu, 28 Dec 2017 07:52:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152034 รอยเตอร์ – แอร์บัสกำลังร่างแผนในความเป็นไปได้ที่จะค่อยๆยุติผลิตเครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก “ซูเปอร์จัมโบ A380” หากไม่ได้รับคำสั่งซื้อจากสายการบินเอมิเรตส์ ตามการเปิดเผยของแหล่งข่าวใกล้ชิดในเรื่องนี้เมื่อวันพุธ (27ธ.ค.)

เค้ารางแห่งข้อเท็จจริงของเครื่องบินยอดขายต่ำปรากฎขึ้นมา ทั้งที่มันเพิ่งเข้าสู่การบริการได้เพียง 10 ปี และทำให้อนาคตของแอร์บัส A380 ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ความเป็นสากลที่จับต้องได้มากที่สุดของยุโรปแขวนอยู่บนเส้นด้าย

“ถ้าไม่ได้สัญญาจากเอมิเรตส์ แอร์บัสจะเริ่มกระบวนการยุติผลิต A380” บุคคลที่เข้าร่วมรับฟังสรุปเกี่ยวกับแผนดังกล่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ ขณะที่ซัพพลายเออร์เจ้าหนึ่งเสริมว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวสมเหตุสมผล เนื่องจากอุปสงค์อ่อนแอ

ทั้งแอร์บัสและเอมิเรตส์ ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นต่อคำกล่าวอ้างดังกล่าว 

แหล่งข่าวเปิดเผยต่อว่าการยุติผลิตใดๆจะเป็นไปแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเปิดทางให้ แอร์บัส ผลิตเครื่องบินเพื่อส่งมอบตามคำสั่งซื้อทีมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากสายการบินเอมิเรตส์ โดยรอยเตอร์คาดหมายว่าตามกำลังผลิตในปัจจุบัน อาจกินเวลาไปจนถึงทศวรรษหน้า

แอร์บัส A380 ซึ่งมีต้นทุนการพัฒนาถึง 11,000 ล้านยูโร สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ราว 500 คนและมีจุดประสงค์เพื่อท้าทายความยิ่งใหญ่ของโบอิ้ง747 แต่อุปสงค์ของเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์นี้กลับดำดิ่ง เนื่องจากสายการบินต่างๆมักเลือกเครื่องบิน 2 เครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งสะดวกต่อการหาผู้โดยสารและมีค่าบำรุงรักษาถูกกว่า

อย่างไรก็ตามเอมิเรตส์ยังคงเป็นสายการบินที่เชื่อมั่นใน A380 โดยเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ด้วยคำสั่งซื้อรวม 142 ลำ แต่เพิ่งได้รับมอบราวๆ 100 ลำ

การเจรจาระหว่างแอร์บัสและเอมิเรตส์ เกี่ยวกับคำสั่งซื้อใหม่ซูเปอร์จัมโบอีก 36 ลำ มูลค่า 16,000 ล้านดอลลาร์ พังครืนลงที่งานดูไบ แอร์โชว์เมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งนับตั้งแต่นั้นทั้งสองฝ่ายได้ฟื้นการเจรจาขึ้นมาอีกครั้ง แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่พบเห็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าจะตกลงกันได้

แม้ว่าสายการบินต่างๆอย่างเช่น บริติช แอร์เวย์ส แสดงความสนใจใน A380 แต่ แอร์บัส ลังเลที่จะเปิดโรงงานต่อ หากปราศจากคำสั่งซื้อที่แน่นอนจากเอมิเรตส์ ในขณะที่ทางฝั่งของเอมิเรตส์เอง ก็ต้องการคำรับประกันจาก แอร์บัส ว่าจะยังเดินหน้าผลิตต่อไปอีกสักทศวรรษ เพื่อปกป้องการลงทุนของพวกเขา

การตัดสินใจยกเลิกผลิตอาจกลายเป็นจุดแตกหักระหว่างแอร์บัสกับหนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของพวกเขา และในอนาคตอาจผลักให้ เอมิเรตส์ หันไปสั่งซื้อเครื่องบินจากโบอิ้งมากขึ้น ขณะที่แหล่งข่าวยุโรป ตั้งข้อสังเกตว่ามันสะท้อนถึงการขยายอิทธิพลในอ่าวเปอร์เซียของอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แต่แหล่งข่าวอุตสาหกรรมของทั้งสหรัฐฯและยูเออี ยืนยันว่าประเด็นการเมืองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้.

ที่มา : mgronline.com/around/detail/9600000130507

]]>
1152034