เทรนด์ค้าปลีก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 01 Mar 2020 11:28:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รุกค้าปลีกออฟไลน์ เปิดตัว Amazon Go Grocery ซูเปอร์มาร์เก็ต “ไร้แคชเชียร์” เต็มรูปแบบ https://positioningmag.com/1266418 Sun, 01 Mar 2020 07:55:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266418 ยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon เปิดตัวซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไม่มีพนักงานเก็บเงิน หรือเเคชเชียร์ เเห่งเเรกที่นครซีเเอตเทิลในสหรัฐฯ ส่งสัญญาณว่าบริษัทกำลังจะเข้ามาเขย่าธุรกิจร้านค้าปลีกในประเทศ ที่มีมูลค่ากว่า 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ซูเปอร์มาร์เก็ตเเบบไร้เเคชเชียร์นี้มีชื่อว่า Amazon Go Grocery โดยลูกค้าสามารถเข้าไปหยิบสินค้าเเล้วเดินออกไปได้ทันทีโดยไม่ต้องเช็กเอาต์หรือเปิดกระเป๋า ไม่ต้องจ่ายเงินสดหรือรูดบัตรเครดิต ซึ่งผู้ซื้อจะต้องสเเกนผ่านเเอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนก่อนเพื่อเข้าไปในร้าน จากนั้นกล้องเเละเซ็นเซอร์จะตรวจจับว่าลูกค้าหยิบสินค้าใดออกไปจากชั้นวางสินค้าบ้าง ก่อนที่จะสั่งเก็บเงินทางบัญชีของ Amazon ทางออนไลน์

Amazon Go Grocery เป็นการขยายมาจากร้าน Amazon Go ที่เป็นโครงการทดลองของ Amazon ตั้งแต่ 2 ปีก่อน โดยร้านใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 10,400 ตารางฟุต มีขนาดใหญ่กว่าร้านเดิมถึง 5 เท่าเเละมีสินค้าให้เลือกมากกว่า โดยวางเเผนจะเปิดสาขาแห่งที่สองที่นครลอสแอนเจลิสในช่วงปลายปีนี้

การที่ Amazon ลงสนามมาเเข่งในธุรกิจค้าปลีกออฟไลน์นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะถือเป็นการรุกธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตแบบเต็มตัว หลังจากที่ลงทุนซื้อกิจการของร้าน Whole Foods ที่มีสาขา 500 แห่งมาตั้งแต่ปี 2017

อย่างไรก็ตาม Amazon ยังตามหลังคู่แข่งสำคัญที่เป็นเจ้าเเห่งวงการซูเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิมอย่างห้าง Walmart ที่มีสาขากว่า 4,700 แห่ง ซึ่งก็กำลังพัฒนาให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม: เอาคืน! “ยอดขายออนไลน์” ของห้าง Walmart และ Target โตเร็วกว่า Amazon แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายผู้ค้าปลีกเเละสตาร์ทอัพใหม่ๆ ที่กำลังทดสอบระบบไร้แคชเชียร์เช่นเดียวกัน อย่างเช่น 7-Eleven ที่กำลังทดสอบระบบนี้ที่ร้านสาขาในรัฐเท็กซัส

 

ที่มา : No Checkout Needed: Amazon Opens Cashier-less Grocery Store

]]>
1266418
จับตาค้าปลีกพันธุ์ใหม่! สตาร์ทอัป Rise Mrkt หวังแจ้งเกิด “ร้านชำออนไลน์ไร้พลาสติก” https://positioningmag.com/1242208 Tue, 13 Aug 2019 22:59:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242208 สตาร์ทอัปดาวรุ่ง Rise Mrkt วางแผนทำคลอดตัวเองด้วยฐานะบริษัทขายของชำปลอดพลาสติกให้ได้ในปีหน้า 2020 หากแคมเปญระดมทุนล่าสุดประสบความสำเร็จ Rise Mrkt จะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้สำหรับทุกผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่าย ท่ามกลางไอเดียสำคัญนั่นคือบริการขอคืนบรรจุภัณฑ์จากลูกค้าที่ไม่มีบ่อฝังกลบ เพื่ออาสาสานต่องานย่อยสลายบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดแบบไม่ต้องทิ้งลงถังขยะเลย

Rise Mrkt ระบุรายละเอียดในแผนทำแคมเปญ Crowdfunding ว่าจะเน้นจำหน่ายของชำแห้งเป็นหลัก เช่น ถั่วและข้าวในช่วงเริ่มต้น ซึ่งบริษัทจะมีนโยบายรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อให้ลูกค้าส่งบรรจุภัณฑ์ไม่ใช้แล้ว ไปยังโรงงานของ Rise Mrkt ที่อยู่ใกล้ที่สุด นอกจากนี้ Rise Mrkt จะทำงานร่วมกับเกษตรกรและผู้ผลิตโดยตรง เพื่อให้สามารถกำหนดราคาที่แข่งขันได้กับยักษ์ใหญ่ออนไลน์อย่าง Amazon

Rise Mrkt ยังวางแผนซื้อเครดิตคาร์บอนสำหรับทุกออเดอร์ที่จัดส่ง เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซตัวการทำโลกร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดส่งด้วย เรียกว่าคิดมาครบสำหรับการแจ้งเกิดเป็นรูปแบบการค้าปลีกเพื่อคนรักษ์โลก

ดีเดย์ปีหน้า

Jordyn Gatti ผู้ก่อตั้ง Rise Mrkt อธิบายว่าควรเป็นความรับผิดชอบของแบรนด์ที่จะต้องกังวลเกี่ยวกับวงจรชีวิตของบรรจุภัณฑ์ และจะต้องรับผิดชอบให้ได้ ทำให้ Rise Mrkt ไม่เพียงแต่หวังจะจัดส่งอาหารในถุงที่ย่อยสลายได้ แต่จะช่วยให้ผู้บริโภคทำปุ๋ยหมักจากบรรจุภัณฑ์ในขั้นตอนสุดท้ายด้วย แนวคิดร้านชำเป็นมิตรกับโลกนี้สามารถตอบโจทย์เทรนด์แรงที่ผู้บริโภคต้องการลดปริมาณขยะและมลพิษกันมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเห็นเทรนด์นี้ได้ชัดขึ้นอีกในปีหน้า

การวิจัยล่าสุดจาก Nielsen ชี้ว่า 81% ของผู้บริโภคคิดว่า ทุกบริษัทควรช่วยปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโลก ดังนั้นไอเดียของ Rise Mrkt จึงถือว่าสอดคล้องกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น ปัญหาเดียวคือการเข็นโครงการนี้ให้แจ้งเกิดในตลาดได้จริง เพราะแคมเปญ Kickstarter ที่ Rise Mrkt เปิดไว้นั้นเพิ่งระดมทุนได้ 3,154 เหรียญสหรัฐเท่านั้น จากเป้าหมาย 25,000 เหรียญ (สถิติช่วง 13 สิงหาคม 2019 ซึ่งมีเวลาอีก 18 วันกว่าแคมเปญจะสิ้นสุด)

อย่างไรก็ตาม สื่ออเมริกันมองว่ายังมีข้อจำกัดในโมเดลธุรกิจที่ Rise Mrkt คิดไว้ เพราะแม้การขายถั่ว ข้าว และของแห้งอาจถูกใจผู้ซื้อที่มุ่งมั่นและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมมาก แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักมองหาร้านค้าแบบครบวงจรและประสบการณ์สะดวกสบาย จนไม่มีแรงจูงใจในการซื้อสินค้าเพียงบางอย่างจากร้านของชำออนไลน์ แม้ว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะชื่นชมแนวคิดปลอดพลาสติกก็ตาม

นอกจากนี้ ราคาของบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ ยังจะเป็นต้นทุนสำคัญหาก Rise Mrkt จะขยายตลาดในอนาคต ซึ่งจะเสียเปรียบร้านค้าปลีกที่ใช้พลาสติกต้นทุนต่ำ

แก้ปมขยะล้นอย่างยั่งยืน 

ไม่เพียง Rise Mrkt แต่ยังมีแบรนด์ค้าปลีกหลายแห่งในสหรัฐฯ ที่เน้นจุดยืนลดขยะอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนใหญ่ต้องการขานรับกับการสำรวจที่พบว่าคนอเมริกันสร้างขยะมากกว่า 4 ปอนด์ต่อคนต่อวัน ตัวเลขนี้จึงเป็นโอกาสยิ่งใหญ่สำหรับผู้ค้าปลีกในการหาโซลูชันบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่แตกต่างจากคู่แข่ง

การสำรวจของ Accenture พบว่ากว่า 1 ใน 3 ของผู้บริโภคจะพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เมื่อตัดสินใจซื้อ โดย 72% กล่าวว่าจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว และเมื่อถามว่าผู้บริโภคจะหลีกเลี่ยงวัสดุบรรจุภัณฑ์ใดมากที่สุด ปรากฏว่าพลาสติกนั้นครองแชมป์ โดย 77% มองว่าพลาสติกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

หาก Rise Mrkt สามารถแจ้งเกิดในฐานะบริษัทที่มีความก้าวหน้าด้านบรรจุภัณฑ์ อย่างน้อยที่สุดก็อาจจุดประกายให้ลูกค้าบางกลุ่ม เนื่องจากวันนี้ผู้ค้าปลีกบางรายไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาขยะพลาสติก ซึ่งล่าสุด Greenpeace ได้ออกรายงานฉบับเต็มเพื่อตีแผ่ความจริงในร้านขายของชำที่ไร้ประสิทธิภาพเรื่องการลดพลาสติก 

ปัจจุบัน แบรนด์ใหญ่อย่าง Walmart ยังประกาศคำมั่นพร้อมลดปริมาณการใช้พลาสติกโดยมีเป้าหมายนำบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิลได้ 100% ในสายการผลิตฉลากของบริษัทภายในปี 2025 ท่ามกลางผู้ค้าปลีกหลายรายที่ยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ขณะที่ผู้ค้าปลีกไทยหลายรายก็เริ่มลดการใช้ถุงพลาสติกและกำลังหาทางกำจัดหลอดพลาสติกและวัสดุอื่นที่จะเป็นขยะย่อยสลายยาก.

Source

]]>
1242208
ค้าปลีกยุค เจน Z ต้องใช้ดาต้าเชิงลึกเพิ่มประสบการณ์ลูกค้า https://positioningmag.com/1134364 Thu, 27 Jul 2017 06:55:28 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134364 เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจสอบบัญชี และซีจีเอฟ (The Consumer Goods Forum: CGF) ได้ทำผลสำรวจเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก ในหัวข้อ ‘Global Consumer Executive Top of Mind Survey, Think like a start-up: How to grow in a disruptive market’ ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 5 โดยปีนี้ได้ทำการสำรวจจากผู้บริหารในธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีกจำนวน 526 ราย ใน 31 ประเทศ

ผลสำรวจพบว่า การสร้างฐานลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่า ถือเป็นพันธกิจหลักของผู้บริหารในธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีกทั่วโลก คิดเป็น 33% และความเชื่อมั่นและความภักดีของลูกค้าเป็นเป้าหมายสูงสุดในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า

โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า ความเชื่อมั่นและความภักดีของลูกค้ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในระยะสั้นของธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารในธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีกจากบริษัททั่วโลกยังขาดองค์ความรู้ และความสามารถในการดึงดูดและรักษาฐานลูกค้า โดย 39% ยอมรับว่า ความสามารถในการเข้าถึงประสบการณ์เฉพาะของลูกค้ายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำถึงปานกลาง แต่มีการตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น มองเห็นว่าประสบการณ์ของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ

วิลลี่ ครูห์ ประธาน ฝ่ายธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีก เคพีเอ็มจี กล่าวว่า “ในปัจจุบัน ผู้บริหารต่างก็เล็งเห็นว่า ธุรกิจรูปแบบใหม่สามารถส่งผลกระทบต่อพวกเขา และในสภาพตลาดที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร้ขีดจำกัด ความภักดีจึงไม่มั่นคงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา การรับรู้เป็นเรื่องหนึ่ง แต่การตอบสนองนับเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เกี่ยวกับลูกค้า ไม่เพียงเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจในตัวสินค้าและบริการมากขึ้น แต่จะต้องนำมาสร้างสรรค์ประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งความต้องการส่วนบุคคลสามารถเรียนรู้ได้จากข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า”

การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน มาจากอิทธิพลของผู้บริโภคในกลุ่มมิลเลนเนียมและเจน Z  ธุรกิจยังต้องเรียนรู้และพัฒนาอีกมากในการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และความสัมพันธ์กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญด้านความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ

ใช้ออนไลน์สื่อสารลูกค้า แต่ AI ยังใช้น้อย

ผลวิจัยของเคพีเอ็มจี ยังพบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ในยุคนี้มีการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกับลูกค้า เช่น โซเชียลมีเดีย, โมบายแอปพลิเคชั่น E-Commerce, การชําระเงินออนไลน์, การทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านสมาร์ทโฟน และกระเป๋าเงินออนไลน์ ในการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้า

รวมถึงการมองหาเทคโนโลยีอื่นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า เช่น การนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังมีนำมาใช้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เพียง 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามเท่านั้น โดยพวกเขามีแผนการที่จะนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า

จริงๆ แล้วสามารถใช้เทคโนโลยีควบคู่ไปกันได้ การใช้เทคโนโลยี AI ควบคู่ไปกับการใช้ฐานข้อมูลลูกค้า เทคโนโลยี AI สามารถวิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก (D&A) เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและสามารถคาดเดาความต้องการของลูกค้า ทั้งยังสามารถให้คำแนะนำ และเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย

ดาต้าสำคัญแต่ยังใช้น้อย

สำหรับการนำข้อมูลมาใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้บริหารในธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีกกล่าวว่า พวกเขามีความสามารถในการนำข้อมูลมาใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่ง 62% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า การนำข้อมูลมาใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในระยะสั้น และอีก 30% ระบุว่า มีความสำคัญในระดับปานกลาง ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในแผนการลงทุนในปัจจุบันของ 65% ของผู้ตอบแบบสอบถาม และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 90% ภายในปี 2562

ความสำคัญของการนำข้อมูลมาใช้และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกนับเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจผู้บริโภคและค้าปลีกในปัจจุบัน ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์จะช่วยให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นและความภักดีของลูกค้า ทำให้ลูกค้ามีความเข้าใจและได้รับการบริการได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และตรงตามความต้องการ

]]>
1134364
สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เคาะดัชนีค้าปลีกครึ่งปี 60 โต 3% แต่จับจ่ายยังไม่สดใส พึ่งรัฐต้องลงทุน https://positioningmag.com/1126352 Mon, 22 May 2017 07:22:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1126352 สมาคมผู้ค้าปลีกไทยเผย ดัชนีอุตสาหกรรมค้าปลีกโดยรวมของไตรมาสแรกปี 2560  เติบโตขึ้นถึง 3.02% ซึ่งเป็นผลจากภาพรวมของเศรษฐกิจและธุรกิจไทยในครึ่งปีแรก มีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังต่อไป เนื่องจากบรรยากาศการจับจ่ายยังไม่แจ่มใสเท่าที่ควร คาดการณ์ว่า หากเครื่องยนต์การใช้จ่ายภาครัฐแผ่วลง ดัชนีค้าปลีกครึ่งปีแรก อาจต่ำกว่า 3% หรือในทางกลับกัน หากการใช้จ่ายภาครัฐมีประสิทธิภาพ ดัชนีค้าปลีกครึ่งปีแรกน่าจะมีโอกาสเติบโตถึง 3.2%

นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า สมาคมได้คาดการณ์สถานการณ์ค้าปลีกครึ่งปีแรกน่าจะเติบโตระหว่าง 3.0-3.2%  วิเคราะห์จากการเติบโตของ ภาคบริการ 3 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง, ภาคการเงินการธนาคาร และภาคค้าปลีก

ค้าปลีกโตจากขยายสาขา

โดยในไตรมาสแรกพบว่ากำไรของสถาบันการเงินการธนาคารยังดีอยู่ แม้หนี้เสียจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้และกำไรยังคงที่ ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างยังเติบโตต่ำ เมื่อพิจารณาจากผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 4-5 บริษัทที่ทั้งยอดขายและกำไรต่างก็ลดลง ส่วนภาคค้าปลีก มีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเมื่อพิจารณาจากผลประกอบการบริษัทขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ 4-5 บริษัท พบว่าการเติบโตส่วนใหญ่มาจากการขยายสาขา ในขณะที่การเติบโตจากสาขาเดิมมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

แม้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกดีขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่มากพอที่จะทำให้หมวดสินค้าต่างๆเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้หมวดสินค้าไม่คงทน ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Retail Landscape by The Nielsen ที่แสดงให้เห็นว่าการเติบโตในหมวด FMCG ยังคงติดลบเล็กน้อยในไตรมาส 1/2560

ส่วนหมวดสินค้าคงทน และสินค้ากึ่งคงทน ยังคงทรงตัว และยังไม่เห็นสัญญาณที่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้วิเคราะห์ผลการเติบโตของสินค้าแต่ละหมวดในไตรมาสแรกของปี 2560 โดยละเอียด ดังต่อไปนี้

1.หมวดสินค้าคงทน (Durable Goods) เติบโตในอัตราที่ต่ำเพียง 1.25% ใน ไตรมาส 1/2560 เห็นได้ชัดจากผลประกอบการของอุตสาหกรรมการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1/2560 ติดลบ ส่งผลให้ผลประกอบการธุรกิจค้าวัสดุก่อสร้างเติบโตแบบถดถอย

ส่วนธุรกิจจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (Home Appliance) เติบโตเพียงเล็กน้อย เนื่องมาจากการเข้มงวดของการให้สินเชื่อเพื่อการบริโภคของสถาบันการเงิน ส่วนหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Mobile & Camera) แม้เติบโตเพิ่มขึ้นราว 3% แต่ปริมาณการซื้อ (volume) ยังน้อยเมื่อเทียบกับทั้งหมวดสินค้า ส่งผลให้โดยรวมหมวดสินค้าคงทน เติบโตเพียง 1.25%

2. หมวดสินค้ากึ่งคงทน (Semi Durable Goods) เติบโตในอัตราที่ถดถอย เพียง 2.3 % ในไตรมาส 1/2560 แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาส 1/2560 จะเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2559 แต่ก็ไม่ส่งผลให้การจับจ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทนฟื้นตัวขึ้น

ปัจจัยหลักที่ยังเป็นอุปสรรคสำคัญคือ อัตราภาษีสินค้านำเข้าแบรนด์หรูยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้หมวดสินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง ยังคงเติบโตต่ำกว่าเมื่อปีที่ผ่านมา ประกอบกับประชาชนชาวไทยยังอยู่ในช่วงไว้อาลัย บรรยากาศการจับจ่ายสินค้าแฟชั่นแบรนด์ดังจึงยังค่อนข้างซบเซา อย่างไรก็ดี ด้วยความที่หมวดเครื่องกีฬาและสุขภาพยังเติบโตค่อนข้างมากตามเทรนด์ จึงทำให้การเติบโตในหมวดสินค้ากึ่งคงทนทั้งหมดยังคงทรงตัว

3. หมวดสินค้าไม่คงทน (Non Durable Goods) เป็นหมวดสินค้าที่มีการเติบโตอย่างชัดเจนถึง 3.4% ในไตรมาส 1/2560 แม้จะเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวช้า แต่ยังคงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยบวกจากราคาพืชผลทางเกษตรมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรซึ่งเป็นรากฐานใหญ่ของกลุ่มผู้บริโภคหมวดสินค้าไม่คงทน มีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้อัตราการบริโภคสินค้าหมวดนี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับการผลักดันการใช้งบประมาณภาครัฐลงสู่ภูมิภาคและกลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เม็ดเงินงบประมาณเริ่มไหลลงสู่ประชาชนฐานรากของประเทศอย่างชัดเจน ทำให้ธุรกิจในหมวดสินค้าไม่คงทนเติบโตฟื้นตัวขึ้นอย่างมีนัย สินค้าหมวดดังกล่าวมีสัดส่วนถึง 68% ของดัชนีค้าปลีก

ปัจจัยบวกเศรษฐกิจไตรมาสแรก ปี 2560

  1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6%
  2. อัตราการส่งออกขยายตัว 4.9%
  3. จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 5%
  4. ราคาพืชผลการเกษตรเพิ่มขึ้น
  5. ดัชนีการบริโภคของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น
  6. ตลาดรถยนต์ขยายตัว 15.4%
  7. ตลาดรถจักรยานยนตร์ขยายตัว 5%

ปัจจัยลบเศรษฐกิจช่วงครึ่งปีหลังปี 2560

  1. ขณะนี้กำลังเข้าสู่รอบไตรมาสที่สามของปีงบประมาณ การใช้จ่ายอาจแผ่วลง
  2. โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐ ยังไม่เกิดการปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม
  3. การลงทุนภาคอกชนยังไม่ฟื้นตัว และพึ่งพาแต่การลงทุนภาครัฐ
  4. บริษัทในตลาดหลักทรัพย์เติบโตลดลงทั้งยอดขายและกำไร
  5. หนี้ครัวเรือนที่ยังส่งสัญญาณที่จะทรงตังในระดับ 80.2% มีผลต่ออำนาจการซื้อของครัวเรือนต่ำ   ทำให้การบริโภคสินค้าหมวดคงทนและหมวดสินค้ากึ่งคงทนอาจต้องชะลอออกไป

ค้าปลีกจ้างงาน 4.5 แสนคน/ปี เฉลี่ย 10%

สมาคมผู้ค้าปลีกไทยยังให้ความเห็นถึงจำนวนแรงงานภาคค้าปลีกและบริการทั่วประเทศมีจำนวนทั้งหมด 14 ล้านคน เฉพาะภาคค้าปลีกมีจำนวน 6.2 ล้านคนทั่วประเทศ โดยในปีที่ผ่านมาสมาชิกของสมาคมภาคธุรกิจค้าปลีกได้มีการจ้างงานรวมกว่า 450,000 คน เฉลี่ยปีละประมาณ 10% หรือกว่า 45,000 คนต่อปี ซึ่งอัตราการจ้างงานก็ไม่สามารถบรรจุได้ครบ เนื่องจากประชากรวัยทำงานเริ่มลดลง แรงงานในภาคการค้ายังขาดแคลนอีกมาก

ปัจจุบันสังคมผู้สูงอายุมีมากขึ้น ภาครัฐควรส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพได้มีโอกาส มีอาชีพ มีรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคค้าปลีก ซึ่งปัจจุบันมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการขยายการจ้างงานในวงกว้าง ดังนั้นการที่เรามีจำนวนผู้สูงอายุมาก ถือเป็นโอกาสที่ดีในการจ้างแรงงานกลุ่มนี้ รวมถึงกฎหมายควรเปิดช่องทางในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเป็นรายชั่วโมง

]]>
1126352
ส่องเทรนด์ค้าปลีกปี 60 เมื่อโลเคชั่นอย่างเดียวไม่เวิร์กอีกต่อไป https://positioningmag.com/1121110 Fri, 31 Mar 2017 02:55:23 +0000 http://positioningmag.com/?p=1121110 การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงส่งผลต่อหลายๆ ธุรกิจ ทำให้เกิดการปรับตัวเพื่อให้ทันความต้องการของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจค้าปลีกเป็นอีกหนึ่งธุรกิจใหญ่ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากเทคโนโลยี มีเรื่องของอีคอมเมิร์ซเข้ามา

เอ็นไวโรเซล (ไทยแลนด์) ได้เผยเทรนด์การค้าปลีก รีเทล เทรนด์ (Retail Trend) ปี 2017 ได้ศึกษาสถานการณ์ค้าปลีกในประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วพบการเปลี่ยนแปลงมากมายในช่วงปีที่มา มีการปิดตัวของร้านค้าปลีกจำนวนมากในมหานครนิวยอร์ก ที่มีเศรษฐกิจเทียบได้ในอันดับที่ 20 ของโลก มีพนักงานกว่า 900,000 คน ทำงานในธุรกิจค้าปลีกกว่า 77,000 แห่ง เป็นศูนย์รวมของสำนักงานใหญ่ ของบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 80 เจ้า และเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกกว่า 60 ล้านคนต่อปี แล้วพบว่าโมเดลอย่าง Amazon มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลาดค้าปลีกในอเมริกาได้สะท้อนถึงเทรนด์ค้าปลีกโลกนับเป็นสัญญาณสั่นคลอนเช่นกัน

สรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการช้อปปิ้งได้เปลี่ยนไปตามพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนเช่นกัน คนไปเดินห้างน้อยลง ช้อปผ่านออนไลน์มากขึ้น การทำตลาดแค่บนเชลฟ์วางสินค้าไม่ได้ผลอีกต่อไป ค้าปลีกต้องปรับตัวเป็น Air Space ก็คือไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ผสมผสานช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ เป็น Omni Channel”

โลเคชั่นไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป!

ในยุคก่อนห้างค้าปลีกมีหลายสาขาจะได้เปรียบมากเป็นจุดแข็งที่ห้างต้องยึดหัวหาดในทำเลทอง แต่ปัจจุบันเรื่องที่ตั้งไม่ได้มีผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อมากเท่าไหร่ กลายเป็นว่าเรื่องราคา ส่งสินค้าเร็ว โปรโมชั่น การมีสินค้าหลากหลาย และรีวิวสินค้า กลายเป็นสิ่งที่ผู้บริดภคยุคนี้นำมาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า

พฤติกรรมการซื้อของจึงไม่จำกัดอยู่แค่บนเชลฟ์วางสินค้าในห้าง ไม่ได้จำกัดแค่สินค้าที่วางจำกัดเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความต้องการ อีคอมเมิร์ซสามารถค้นหาสินค้าที่ไม่มีบนเชลฟ์ได้ อย่างเช่น อยากได้น้ำมันมะพร้าวจากประเทศเยอรมัน ก็สามารถค้นหาได้ทันที ในขณะที่บนเชลฟ์สินค้าในห้างไม่มีขาย

สถานการณ์ค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาที่มีการทยอยปิดสาขากันหลายราย อย่าง Macy มีการปิดสาขา 100 สาขาจาก 730 สาขา หรือคิดเป็น 15% ร้าน Sears และ Kmart ปิด 150 สาขา JCPenney มีแผนที่จะปิด 1,000 สาขา ร้าน Aeropostale ทีเป็นแฟล็กชิพสโตร์ในนิวยอร์กก็ได้ปิดตัวลงแล้ว

เมื่อมาดูในเรื่องของรายได้ พบว่าห้างค้าปลีกชื่อดังมีอาการติดลบหมดทั้ง Macy, Target, Walmart แต่ที่มีการเติบโตอยู่รายเดียวคือ Amazon เติบโต 18% เพราะมีช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และมีบริการใหม่ๆ ออกมาตลอด

นั่นเพราะว่าผู้บริโภคสามารถช้อปที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเข้าร้าน การขยายสาขาเยอะๆ ยิ่งกลายเป็นต้นทุนที่ผู้ประกอบการต้องแบกมากขึ้น ในไทยก็เริ่มเห็นเทรนด์นี้ในการลดสเกลในการขยายสาขาของไฮเปอร์มาร์เก็ต ส่วนห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าแม้ไม่ได้ลดไซส์ แต่มีการปรับตัวด้วยการเพิ่มไลฟ์สไตล์ ใส่อีโมชั่นนอลเข้าไปในสิ่งที่หาจากออนไลน์ไม่ได้ ทำให้สถานการณ์ในไทยยังไม่วิกฤตเท่าที่ควร

CityTarget ร้านค้าต้องวิ่งเข้าหาลูกค้า

แต่เดิมจะคิดว่าทำเลดีจะดึงดูดลูกค้า แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนความคิด เพราะผู้บริโภคยุคนี้มีความสนใจหลากหลาย สามารถช้อปปิ้งได้หลายแพลตฟอร์ม ห้างค้าปลีกต้องวิ่งเข้าหาลูกค้า เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อ ยกตัวอย่างโมเดลการเป็น Container Store ของแบรนด์ยูนิโคล่ที่ไปตามแหล่งชุมชนที่มีกลุ่มเป้าหมายอยู่เยอะ

ร้าน Lawson มีการลดสเกลร้านค้า แต่เปิดร้านเป็นเซ็กเมนต์แทน เช่น ร้านสำหรับแม่และลูก ร้านสำหรับคนรักสุขภาพ หรือร้านสำหรับผู้สูงอายุ ต้องมีการปรับให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายแต่ละที่

แบรนด์แฟชั่น Forever 21 ก็ทำเป็นโมเดลร้านเคลื่อนที่ เลือกสินค้าสำหรับแฟชั่นชุดทำงาน และเข้าตามโซนสถานที่ทำงาน เพื่อกระตุ้นลูกค้าในการจับจ่าย ปัจจุบันรอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาเองไม่ได้แล้ว

เปลี่ยน Physical Location เป็น Digital Location

Physical Location คือร้านค้าปลีกที่มีหน้าร้านโดยทั่วไป ร้านค้าแบบนี้มีแนวโน้มเติบโตน้อยลง ห้างค้าปลีกต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ต้องเปลี่ยนสู่ Digital Location นั่นก็คือต้องมีตัวตนบนโลกออนไลน์ Search Engine ยังคงสำคัญ ต้องค้นห้าแล้วเจอ เป็น Air Space มีพื้นที่อย่างไม่จำกัด

ร้านค้าปลีกแบบ Physical ที่ยังอยู่ได้ เป็นพวกร้านเอาต์เล็ตที่มีราคาถูกกว่าในช้อป ตราบใดที่ทำราคาได้ถูกกว่าอเมซอน ร้านนั้นก็ยังคงขายได้อยู่

แต่ข้อควรระวังอย่างหนักก็คือ ระวังจะเป็นโชว์รูมให้กับอเมซอน นั่นก็คือผู้บริโภคมักจะไปเดินดูของที่ร้าน แต่เช็กราคาแล้วกลับไปซื้อบนออนไลน์ผ่านอเมซอน ต้องมีกลยุทธ์เปลี่ยน Looker เป็น Buyer ให้ได้

การเปลี่ยนแปลงนี้ผลักดันให้หลายๆ รีเทลเริ่มเข้าสู่แพลตฟอร์มในรูปแบบ Omni Channel คือ ไม่ได้ยึดว่าจะขายอย่างไร ขายที่ไหน แต่ยึดว่าผู้บริโภคจะซื้อตอนไหน ซื้อที่ไหน ซื้อด้วยวิธีการใดก็ได้ ขอให้เกิดการซื้อ

59% ของร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาบอกว่า Omni Channel ช่วยทำรายได้ให้ธุรกิจมากกว่า ที่สำคัญสามารถสร้างเอ็นเกจเมนต์กับลูกค้าได้มากถึง 90% ในขณะที่ร้านค้าปลีกที่ไม่ทำ Omni Channel สามารถสร้างเอ็นเกจเมนต์ลูกค้าได้เพียง 33% เท่านั้น

รีเทลที่อยู่รอด กลับไม่ใช่คู่แข่งด้านค้าปลีกโดยตรง แต่กลับเป็น Amazon ผู้ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สำเร็จของ air space platform เพราะไม่มีข้อจำกัดใดๆ ในการตอบสนองผู้บริโภคเลย ล่าสุดออกบริการ Prime Air ที่สามารถส่งสินค้าได้ด้วยโดรนภายในไม่กี่ชั่วโมง รวมทั้งล็อกเกอร์รับสินค้าตามจุดสำคัญต่างๆ ในเมือง ที่ผู้บริโภคสามารถรับของได้เลย โดยไม่ต้องรอข้ามวัน ดังนั้นคู่แข่งร้านค้าปลีกที่สำคัญจึงไม่ใช่ physical ที่เห็นตัวเห็นตน แต่เป็น service ที่มีความคล่องตัว ไฮเทค และไม่มีต้นทุนที่เป็น fixed cost และอาจไม่ได้อยู่ในวงการค้าปลีกอีกต่อไป

]]>
1121110