เรตติ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Apr 2019 03:13:27 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ม.44 จุดเปลี่ยน “เรตติ้ง” ทีวีไทย ในมือ MRDA https://positioningmag.com/1225820 Mon, 22 Apr 2019 22:55:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1225820 ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในการก้าวมาถึงจุดเริ่มต้น การจัดทำ “เรตติ้ง” ทีวีไทย ในนาม MRDA องค์กรกลางที่ทีวีดิจิทัลจัดตั้งขึ้นมาดูแลการทำเรตติ้ง “มัลติสกรีน” หลังจากมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาสนับสนุนการจัดทำเรตติ้ง โดย กสทช. เตรียมจัดสรรเงินประเดิม 431 ล้านบาท ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในรอบกว่า 30 ปี

แม้มีความพยายามจัดทำเรตติ้งทีวีใหม่ตั้งแต่ปี 2557 จากความร่วมมือของมีเดีย เอเยนซีและผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ในนามสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA แต่ก็ต้องสะดุดจากการขาดแหล่งเงินทุนในช่วง Set Up ระบบ ด้วยทีวีดิจิทัลหลายช่องยังไม่มีความสามารถในการจ่ายเงินสนับสนุนในช่วงเริ่มต้นที่ต้องใช้เวลาวางระบบและรอตัวเลขเรตติ้งอีก 1 ปี เพราะมีภาระต้องจ่ายเงินซื้อข้อมูลเรตติ้งปัจจุบันกับนีลเส็น การจ่ายเงิน 2 ทางจึงเป็นภาระหนักของทีวีดิจิทัลในขณะนั้น

ทางออกคือหาเงินทุนมาช่วยในช่วงเริ่มต้น MRDA ใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการของบประมาณสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งจาก กสทช. กระทั่งล่าสุด คำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหากิจการโทรคมนาคมและทีวีดิจิทัล ระบุไว้ใน ข้อ 14 ว่ากรณีทีวีดิจิทัลมีการรวมตัวเพื่อจัดตั้งองค์กรกลางเกี่ยวกับการสำรวจความนิยมช่องทางการโทรทัศน์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล โดยให้สำนักงาน กสทช. จัดสรรเงินจำนวนหนึ่งสำหรับใช้ดำเนินการ

กสทช. เคาะงบหนุนเรตติ้ง 431 ล้าน

จากคำสั่ง มาตรา 44 ดังกล่าว ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ได้ชี้แจงงบประมาณสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งให้กับอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล ด้วยการจัดสรรเงินประเดิมจำนวน 431 ล้านบาท

สุภาพ คลี่ขจาย

โดย สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมโทรทัศน์ระบบดิจิทัล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ร่วมกับ MRDA ขับเคลื่อนการทำเรตติ้งทีวีใหม่ รูปแบบ Multi Screen Rating เพื่อสำรวจผู้ชมทั้งจอทีวี, มือถือแท็บเล็ตพีซี ตามพฤติกรรมผู้ชมทีวีปัจจุบันที่ดูผ่านหลายอุปกรณ์ พร้อมกับเสนอของบประมาณจาก สำนักงาน กสทช. ผ่านกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เพื่อสนับสนุนงบประมาณจัดทำเรตติ้งในช่วงเริ่มต้น ล่าสุดได้กำหนดไว้ในคำสั่ง คสช. มาตรา 44 หลังจากนี้ สมาคมฯ และ MRDA จะประชุมสรุปแนวทางการจัดทำเรตติ้งใหม่อีกครั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะทำงาน กสทช.จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลเรื่องนี้

MRDA จับมือ 5 พาร์ตเนอร์ทำเรตติ้ง

ขณะที่ วรรณี รัตนพล นายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่าหลังจาก “กันตาร์ มีเดีย” ยกเลิกสัญญาทำเรตติ้งกับ MRDA ในเดือนกันยายน 2560 ก็ได้เดินหน้าหาพันธมิตรที่จะมาจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ จากเดิมที่มี “กันตาร์ มีเดีย” รายเดียว ได้ปรับรูปแบบใหม่มีพาร์ตเนอร์ที่จะมาทำงานร่วมกัน 5 ราย 

ประกอบด้วย 1.บริษัทที่ทำสำรวจกลุ่มตัวอย่างพื้นฐาน (establishment survey) จำนวน 30,000 ตัวอย่าง 2.บริษัทที่ดูแล Panel Management จำนวน 3,000 ตัวอย่าง 3.บริษัทที่ดูแลด้านมิเตอร์ เทคโนโลยี จากต่างประเทศ 4.บริษัทที่ดูแลซอฟต์แวร์ จากต่างประเทศ และ 5. CESP จากฝรั่งเศส องค์กรตรวจสอบ (Audit) การจัดทำข้อมูลเรตติ้งที่มีมาตรฐานระดับโลก

ที่มา pixabay

ปัจจุบันการจัดทำเรตติ้งทีวีทั่วโลก หากไม่ใช้เรตติ้งของ 4 บริษัท คือ นีลเส็น, กันตาร์ มีเดีย, จีเอฟเค และวิดีโอรีเสิร์ช ก็จะแยกการทำงานเป็นส่วนๆ และทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์หลายรายในรูปแบบเดียวกับที่ MRDA กำลังดำเนินการ ในภูมิภาคนี้ก็มีที่ อินเดีย สิงคโปร์

หลังจากได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. จะเริ่มกระบวนการได้ทันที โดยใช้เวลา 1 ปี  ก่อนจะเริ่มรายงานข้อมูลเรตติ้งส่งให้กับสมาชิกทีวีดิจิทัลและเอเยนซีที่ร่วมลงขันจ่ายเงิน เพื่อซื้อเรตติ้ง

วรรณี ย้ำว่า MRDA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หากมีสมาชิกจำนวนมากขึ้นมาช่วยจ่ายเงินซื้อข้อมูลเรตติ้ง จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่อรายจะลดลง ปัจจุบันกำลังติดต่อช่องทีวีจากต่างประเทศในแพลตฟอร์มดิจิทัล เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมา Audit เรตติ้ง ซึ่งจะทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ และยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ

MRDA ทำเพื่ออุตสาหกรรมสื่อและเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร การจัดทำเรตติ้งใหม่ในครั้งนี้ เรากำลังเปลี่ยนประวัติศาสตร์การทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทย ในรอบ 30 ปี”

MAAT ใช้เรตติ้งใหม่

ขณะที่ ไตรลุจน์ นวะมะรัตน นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) กล่าวว่า ปัจจุบัน MRDA เป็นองค์กรอิสระที่จะดูแลการทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทย โดย MAAT จะรับรองข้อมูลเรตติ้ง และสมาชิกมีเดีย เอเยนซี จะใช้อ้างอิงตัวเลขในการวางแผนสื่อ

ไตรลุจน์ นวะมะรัตน

การทำเรตติ้งใหม่จะเป็นรูปแบบ “มัลติสกรีน” จากจอทีวีและการชมทีวีผ่านสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ รวมเป็นฐานข้อมูลเรตติ้งเดียวกัน โดยสมาชิกที่ซื้อเรตติ้งจะได้ข้อมูลจากออฟไลน์และออนไลน์เป็นชุดเดียวกันโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม คาดว่า MRDA จะเริ่มกระบวนการทำเรตติ้งปลายปี 2562 และใช้เวลา 1 ปีในการเก็บข้อมูลก่อนใช้ได้จริงในปี 2563

ในฝั่งทีวีดิจิทัล สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่อง “พีพีทีวี” มองว่า การจัดทำระบบเรตติ้งใหม่รูปแบบ “มัลติสกรีน” ที่ MRDA จะดำเนินการเป็นการวัดจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน (Single Source) ที่จะทำให้เห็นพฤติกรรมผู้ชมได้ชัดเจนว่าดูทีวีผ่านช่องทางใด เป็นเวลาเท่าไหร่ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมการดูทีวีในยุคนี้และเทคโนโลยีในการรับชม จะทำให้รู้ว่าคนนิยมดูทีวีผ่านอุปกรณ์ใด เพื่อปรับรูปแบบการนำเสนอและพัฒนารายการที่เหมาะกับผู้ชม ทำให้ทีวีดิจิทัลมีข้อมูลที่แม่นยำและส่งผลดีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวีในยุคดิจิทัล

จับตา “ช่อง 7-นีลเส็น”

แม้จะมีความชัดเจนการสนับสนุนงบประมาณจัดทำเรตติ้งใหม่จาก กสทช. แต่ยังต้องจับตาความเคลื่อนไหวของทีวีดิจิทัล “ช่อง 7” ที่ปัจจุบันยังคงจุดยืนไม่ร่วมเป็นสมาชิก MRDA เพื่อใช้เรตติ้งใหม่ รวมทั้ง “ช่อง 8” ที่ยังไม่เข้าร่วมกับ MRDA ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อไป

เช่นเดียวกันกับ “นีลเส็น” ผู้จัดทำเรตติ้งทีวีในประเทศไทยมากกว่า 30 ปี ที่ผ่านมานีลเส็นมีการพัฒนาระบบวัดเรตติ้งมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเดือนมิถุนายน 2559 ได้เพิ่มกลุ่มตัวอย่างจาก 2,000 ครัวเรือนเป็น 3,000 ครัวเรือน

ปี 2560 ได้จัดทำ “เรตติ้ง มัลติสกรีน” หรือ Digital Content Ratings (DCR) ปัจจุบันมีทีวีดิจิทัล 3 ช่องใช้บริการอยู่ คือ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ และไทยรัฐทีวี

หากประเมินความเชี่ยวชาญและความพร้อมในการทำเรตติ้งทีวี “มัลติสกรีน” วันนี้ และสามารถใช้รีพอร์ตได้ทันที “นีลเส็น” ถือว่ามีความพร้อมมากที่สุด

แต่การเลือกใช้บริการวัดเรตติ้งหลังจากนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับผู้ได้รับใบอนุญาต “ทีวีดิจิทัล” เป็นผู้ตัดสินว่าจะให้องค์กรกลางที่จัดตั้งขึ้น ทำงานด้านเรตติ้งกับใคร.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1225820
ดราม่าข่าวร้อน “ป๊อบ ปองกูล” ไม่ช่วยดันเรตติ้ง The Voice ได้เพียง 0.666 https://positioningmag.com/1216433 Tue, 26 Feb 2019 09:00:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1216433 ความร้อนแรงของข่าว “คบซ้อน” นักร้องดัง “ป๊อบ ปองกูล” กับผู้หญิง 2 คน สร้างความสะเทือนต่อรายการ The Voice เสียงจริงตัวจริง เมื่อเรตติ้งรายการในคืนวันที่ 25 ก.พ. 62 ได้เพียง 0.666 เท่านั้น 

เรตติ้งเฉลี่ยของทั้งรายการ ที่ออกอากาศมา 14 ตอนอยู่ที่ 0.756 โดยมีตอนที่ 4 เป็นการแข่งขันในรอบ Blind Audition ได้เรตติ้งสูงสุด 0.969 และในสัปดาห์หน้าจะเป็นการแข่งขันในรอบสุดท้ายหาผู้ชนะในการแข่งขันซีซัน 7 นี้แล้ว 

รายการ The Voice 2018 ปีนี้ เป็นครั้งแรกที่ย้ายมาออกอากาศทางช่องพีพีทีวี หลังจากที่ปักหลักอยู่กับช่อง 3 มาตลอด 6 ซีซัน โดยซีซันที่ 6 มีเรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 3.283 

สำหรับ “ป๊อบ ปองกูล” ได้จัดแถลงข่าวด่วน เมื่อเย็นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ก่อนหน้าเข้าสู่รอบการแสดงสด ในช่วงกลางคืน ท่ามกลางความสนใจของกองทัพสื่อ มีการไลฟ์สด ตามเพจต่างๆ โดยที่ “ป๊อบ” สารภาพว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของเขาเองทั้งหมด 

กระแสที่เกิดขึ้นตามมาหลังการแถลงข่าวคือ มีทั้งที่เห็นใจ และที่ยังคงรับไม่ได้ กับการ “คบซ้อน” ของ “ป๊อบ ปองกูล ก่อให้เกิดกระแสทั้งจะเฝ้าหน้าจอรอชม และไม่ขอดูรายการที่เกี่ยวกับป๊อบอีกต่อไปก็มี อย่างไรก็ตาม เรตติ้งก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดได้ดีว่า ผลตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างไร

ก่อนหน้ากรณี “ป๊อบ ปองกูล” มีกระแสข่าวร้อนของ “แมท ภีรนีย์” นักแสดงสาวสังกัดช่อง 3 ที่คบหาดูใจกับ “สงกรานต์ เตชะณรงค์” อดีตสามีของ “แอฟ ทักษอร” กระแสข่าวด้านลบของ “แมท” มีผลกระทบต่อละครที่กำลังออกอากาศของ “แมท ภีรนีย์” ในขณะนั้นเรื่อง “บ่วงนฤมิต”

“บ่วงนฤมิต” กลายเป็นละครที่ทำสถิติมีเรตติ้งต่ำสุดของช่อง 3 ที่เป็นละครใหม่ ออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ โดยมีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่องอยู่ที่ 1.767 เท่านั้น 

แต่กรณีของป๊อบมีความแตกต่างจากกรณีของแมท เมื่อป๊อบเลือกที่จะขอโทษ สารภาพผิดทั้งหมด รับไว้ทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว ส่วน “แมท” เลือกที่จะบอกว่า ไม่ได้ทำอะไรผิด ในฐานะสาวสตรอง ยืนหนึ่ง กว่าจะมาขอโทษก็ใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่กระแสด้านลบแพร่กระจายไปหมดแล้ว 

ท่ามกลางสังคมยุคใหม่ ที่ข่าวร้อนแพร่กระจายได้รวดเร็วทางสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งกรณี “ป๊อบ” และ “แมท” ล้วนเป็น 2 เคสที่น่าสนใจ ทิศทางกระแสจะกระพือต่อไปหรือไม่ หรือเรื่องใดจะจบได้ก่อนกัน.

]]>
1216433
ช่อง 3 ส่งละคร 11 เรื่องลงผังครึ่งปีแรก หวังสู้ศึกเรตติ้ง https://positioningmag.com/1213943 Wed, 13 Feb 2019 11:57:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213943 หลังจากทีวีดิจิทัลช่องต่างๆ ทยอยประกาศแผนปี 2562 ล่าสุดเป็นคิวช่อง 3 เปิดผังรายการ และละครครึ่งปีแรก ในงาน “เปิดวิกบิ๊ก 3 ติดมันส์” 2019 ด้วยละคร 11 เรื่อง

ช่วงแรก นำเสนอรูปแบบของ Showcase เปิดตัวละคร 3 เรื่องหลัก เรื่องแรก “กรงกรรม” นำแสดงโดย “เบลล่า-ราณี แคมเปญ” และ “เจมส์-จิรายุ” ร่วมกับ “ใหม่-เจริญปุระ”

ตามมาด้วย เรื่อง “รัก จัง เอย” นำแสดงโดย “แต้ว-ณฐพร” และ “เต๋อ-ฉันทวิชช์” เป็นของค่ายมหานิยมชมชอบ ซึ่งประเดิมการเป็นผู้จัดของนก-สินชัย เปล่งพานิช

ปิดท้าย “ซีรีส์ลูกผู้ชาย ภูผา-เพชร-ปัทม์” จากผู้จัด 3 ราย ภูผา ของผู้จัด ก้อง ปิยะ และ ชุ ชุดาภา จากบริษัท โซนิกซ์ บูม เพชร ของผู้จัด นก จริยา บริษัท เมกเกอร์เจ กรุ๊ป และ ปัทม์ ของผู้จัด เอิน ณิธิภัทร์ จากบริษัท มาสเตอร์ วัน วิดีโอ โปรดักชั่น ที่ได้เหล่านักแสดงเลือดใหม่หลายชีวิต

จากนั้นเป็นช่วงที่ทัพนักแสดงจากละครครึ่งปีแรกทั้งหมดของช่อง 3 ทั้ง 11 เรื่อง ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง, กลิ่นกาสะลอง, หนี้รักในกรงไฟ, วัยแสบสาแหรกขาดโครงการ 2, เพลิงนาคา, สัตยาธิษฐาน, เพลิงพรางเทียน, แรงเงา 2, กรงกรรม, รัก จัง เอย และซีรีส์ลูกผู้ชายทั้ง 3 เรื่อง ภูผา, เพชร และ ปัทม์  ออกมาเดินพาเหรด เพื่อนำเข้าสู่งานปาร์ตี้ในช่วงที่ 2 ต่อไป

ช่วงนี้ มีทั้ง Show พิเศษในคอนเซ็ปต์ Ball FIVB ที่จะนำเพลง “เซตแล้วตบ” พร้อมกับนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติบนเวที เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำกีฬาวอลเลย์บอล กับกระแสตบช่วยชาติกันอีกครั้ง

ตามมาด้วยการเปิดตัวรายการข่าว พร้อมกับการเปิดตัวทีมข่าวและผู้ประกาศข่าวชื่อดัง ซึ่งในปีนี้ช่อง 3 ใช้กลยุทธ์รุกคอนเทนต์ข่าวแบบจัดเต็มตลอดทั้งวัน

งานนี้ ช่อง 3 หวังเต็มที่ว่า ละครทั้ง 11 เรื่องที่นำมาลงจอ จะช่วยดึงเรตติ้งคนดู และรายได้ให้กลับคืนมา.

]]>
1213943
GMM 25 อัดงบเบาๆ 600 ล้าน เปิดศึกข่าว ส่งซีรีส์-ละครผังปี 62 หวังดันเรตติ้ง ติด TOP 10 https://positioningmag.com/1208636 Wed, 16 Jan 2019 13:57:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208636 ถือเป็นช่วงที่ “ทีวีดิจิทัล” ทยอยประกาศผังรายการ หลังจากช่องวันประกาศผังโดยมุ่งเน้นรายการข่าว เป็นอันดับสองรองจาก ละครไปแล้ว ถึงคิว GMM 25 ช่องทีวีดิจิทัล ร่วมค่ายแกรมมี่ ได้ประกาศผังรายการใหม่ ประเดิมด้วยการปรับโฉมรายการข่าว ให้ดูทันสมัย ทั้ง 3 ช่วงเวลา

ช่อง GMM 25 ถือเป็นช่องที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น แม้ช่องนี้จะมี “ต้นทุน” เรื่องการผลิตคอนเทนต์มาไม่น้อย จากการที่แกรมมี่เคยทำช่องทีวีดาวเทียมมาก่อน คอนเทนต์ช่วงแรกจึงมีทั้งซีรีส์คลับฟลายเดย์ ที่มีพี่ฉอด-สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา นำจากรายการวิทยุมาแปลงเป็นซีรีส์ ซีรีส์วาย เอาใจชายรักชาย โดยวางจุดยืนเป็นช่องของคนดูวัยรุ่น

แต่การทำธุรกิจ “ทีวีดิจิทัล” นั้นสิ่งสำคัญ “สายป่านต้องยาว” จึงเป็นที่มาของการเปิดทางให้ บริษัท อเดลฟอส ของลูกชายเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เทงบ 1,000 ล้านบาท เข้ามาซื้อหุ้น 50% GMM 25 จึงถูกวางโจทย์ใหม่ให้เข้าถึงผู้ชมกลุ่มแมสมากขึ้น ต่อมาได้มีการเปลี่ยนหัวเรือใหญ่ จากพี่ฉอด ที่ย้ายไปบุกเบิกธุรกิจผลิตคอนเทนต์ใหม่ ในชื่อ GHANGE 2561

ส่วน GMM 25 ได้โยกเอา สถาพร พานิชรักษาพงศ์ อดีตกรรมการผู้จัดการ จีเอ็มเอ็ม ทีวี มือผลิตซีรีส์วัยรุ่น ป้อนให้ทั้ง GMM 25 และช่องวัน มานั่งเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25)

แม้จะมีการเพิ่มคอนเทนต์พร้อมกับเพิ่มเงินลงทุน แต่ด้วยกลุ่มคนดูทีเป็นวัยรุ่น ที่นิยมดูทีวีลดลง และการแข่งขันรุนแรงของทีวีดิจิทัล เรตติ้งของช่อง GMM 25 จึงอยู่ในอันดับ 13-15 ยังไม่แตะท็อป 10

ล่าสุด GMM 25 ภายใต้การนำของ สถาพร ประกาศเทงบเฉียด 600 ล้าน จัดคอนเทนต์ลงผังรายการปี 2562 ระบุว่า จะมีทั้งรายการข่าวโฉมใหม่ รายการใหม่แกะกล่อง รายการฟอร์แมตระดับโลก ละครและซีรีส์ที่มั่นใจว่าจะโกยเรตติ้งเพิ่มเท่าตัวดันยอดรายได้ทะลุเกือบ 1,000 ล้านบาท เชื่อว่าจะขึ้นแท่นช่อง Top 10 ภายในสิ้นปีนี้

สถาพร พานิชรักษาพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25) เปิดเผยว่า ช่อง GMM 25 จะมุ่งตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น คือ กลุ่ม Young Adult อายุ 18-35 ปี และ Young at Heart อายุ 35 ปีขึ้นไป ด้วยคอนเทนต์ตอบโจทย์ จึงมียอดผู้ชมในทุกแพลตฟอร์มกว่า 16 ล้านคนต่อวัน แบ่งเป็นทางทีวีกว่า 6 ล้านคน และทางออนไลน์กว่า 10 ล้านคน

โดยในช่องทางออนไลน์นั้น GMM 25 ที่มียอด Engagement คอมเมนต์ ไลก์ แชร์ ใน Facebook เพจ GMM25Thailand สูงที่สุดเป็นอันดับ 1, มียอดผู้ติดตามใน YouTube สูงสุดเป็นอันดับ 5, มีผู้ชมใน Line TV สูงสุดเป็นอันดับ 2 และเป็น Content ไทย ที่มียอดรับชมสูงที่สุดใน VIU

ปีนี้ GMM 25 ได้เตรียมเงินลงทุนในการผลิคคอนเทนต์ไว้เกือบ 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% โดยยังให้น้ำหนักกับงบผลิต “ละครและซีรีส์” มากที่สุดกว่า 320 ล้านบาท รองลงมาเป็นรายการ Entertainment Variety 180 ล้านบาท โดยจะจับมือพันธมิตรผู้ผลิตจำนวนมากเพื่อสร้างความหลากหลายเป็น HUB OF CREATORS โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 เฟสคือ

เฟสที่ 1 เสริมแกร่งช่วง Day Time โดยเน้น 2 ส่วน คือ รายการข่าว และรายการ Entertainment Variety

รายการข่าวนั้น ถือว่าเติบโตสูง ในปี 2561 ทำเรตติ้งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 80% ดังนั้น ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา จึงได้ปรับรายการข่าวให้เข้มข้นขึ้นชัดเจน ดูทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ข่าวใหญ่ 25” ใหญ่ ชัด คัด เพื่อคุณ ทุกวันจันทร์-ศุกร์ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ “เช้าข่าวใหญ่” 05.30-08.00 น., “เที่ยงข่าวใหญ่” 12.00-14.00 น. และ “ข่าวใหญ่ไทยแลนด์” 16.15-18.20 น.

สำหรับรายการกลุ่ม Entertainment Variety จะมี 2 รายการใหม่ คือ “ผู้หญิงอยากเล่า” จ.-ศ. 08.00-09.00 น. อัพเดตเทรนด์สุขภาพ ความงาม กิน เที่ยว สำหรับสาวยุคใหม่ เริ่ม 14 ม.ค. และ “ดาราแลนด์” จ.-ศ. 18.20-19.00 น. ขยายข่าวบันเทิงเพิ่มขึ้น เริ่ม 16 ม.ค.

ยังคงรายการ “แฉ” ไว้ และเพิ่มรายการใหม่ “อีจันสืบสยอง เจาะทุกคดีต่างๆ อะจ๊าก” ฯลฯ สร้างสีสันให้กับผู้ชมอย่างต่อเนื่อง จะทำให้รายการกลุ่มนี้มีความเข้มแข็ง ครบรส

เฟสที่ 2 เพิ่ม Music Content ใช้ประสบการณ์ด้านเพลงไทยของแกรมมี่ มาอยู่ในสลอตเวลา 19.00-20.00 น. เพิ่มรายการฟอร์แมตใหม่ ด้วยรายการ “Stage Fighter” นำรายการแข่งขันร้องเพลงในรูปแบบใหม่ “ไมค์คู่ สู้ ฟัด” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เริ่มมีนาคมนี้และ “Lip Sync Battle Thailand” เรียลลิตี้มิวสิคัลโชว์ในรูปแบบการลิปซิงค์ระดับโลก Season 2 ทุกวันอาทิตย์ 18.20-20.00 น. เริ่มเมษายนนี้ และรายการ “Hotwave Music Awards 2019” การประกวดวงดนตรีระดับมัธยมศึกษา เริ่มออกอากาศช่วงปลายปี 2562

เฟสที่ 3  เน้นช่วงไพรม์ไทม์ของทุกวัน ด้วยคอนเทนต์ Drama and Series ที่สร้างจากบทประพันธ์ระดับมาสเตอร์พีซ และ เบส ออน ทรู สตอรี่ แนวดราม่า มี 2 สลอตเวลา ได้แก่ ละคร 20.10 น. ประเดิมด้วยเรื่อง “เมียน้อย” ทุกวันจันทร์-อังคาร เริ่ม 14 ม.ค., “ก่อนอรุณจะรุ่ง” ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี เริ่ม 16 ม.ค. และซีรีส์ 21.25 น. รวม 54 เรื่องตลอดปี เริ่มตั้งแต่กลางปีนี้เป็นต้นไป

GMM 25 เชื่อว่าจะโกยเรตติ้งเพิ่มขึ้น 100% และก้าวขึ้นมาเป็นช่อง TOP 10 ได้ภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 1,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 35% จากปี 2561 โดยรายได้หลักจะมาจากค่าโฆษณาและค่าเช่าเวลาประมาณ 70% และค่าขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ในช่องทางออนไลน์และต่างประเทศอีก 30%.

]]>
1208636
เจาะเรตติ้ง “กิ๊ก ดู๋” หลังย้ายอยู่บ้านใหม่ “PPTV” https://positioningmag.com/1207387 Wed, 09 Jan 2019 23:07:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207387 หลังจากผ่านดราม่าของกรณีย้ายจากช่อง 7 มาอยู่กับช่อง “พีพีทีวี” “กิ๊ก ดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน” เจเอสแอล เลือกเปิดตัวเทปแรกด้วยขวัญใจมหาชน “พี่ตูนและวงบอดี้สแลม” ที่กะว่าจะดึงกระแสคนดูทั้งจากแฟนรายการเดิม และแฟนคลับพี่ตูนทั่วประเทศเข้ามาชมรายการมากขึ้น แถมด้วยรูปแบบกิจกรรมชิงของรางวัล สร้างฐานผู้ชมเข้าร่วมทั้งทางช่องทางออนไลน์ และหน้าจอสดพร้อมๆ กันอย่างเต็มที่ แต่เรตติ้งที่ได้ไปอยู่ที่ 0.827 

ความเป็นขวัญใจมหาชนของ “พี่ตูน” เป็นแรงดึงดูดที่หลายๆ รายการต่างต้องการตัวไปร่วมโปรโมตรายการ ก่อนหน้านี้ I can see your voice ช่องเวิร์คพอยท์ ถึง 2 เทป ในวันที่ 19 และ 26 ธันวาคม 2561 ฟันเรตติ้งให้ช่องได้ถึง 4.230 และ 3.949 ทำเรตติ้งแซงหน้าละครหลังข่าวทั้งหมดได้

ทำให้เทปแรกที่รายการทุ่มทุนดึง “พี่ตูนและวงบอดี้สแลม” มาออกรายการจึงคาดหวังไว้ค่อนข้างสูงมากเช่นเดียวกัน

ความสนุกของ “กิ๊ก ดู๋” อยู่ที่ความเป็นตลกธรรมชาติ สายฮา แบบผู้อาวุโส ประสบการณ์สูงในวงการบันเทิงของ “ป๋ากิ๊ก” ไม่ว่าจะใส่มุกแดกดัน จิกกัดใคร ทำให้ดูแล้วไม่รุนแรง อารมณ์เหมือนผู้ใหญ่ชวนคุย เล่นหัวกับเด็ก แม้กระทั่งกับการสาดมุกใส่ “พี่ตูนและวงบอดี้สแลม” หลายรายการอาจไม่กล้า แต่ “ป๋ากิ๊ก” จัดให้เต็มที่ ทั้งเรื่องการใส่กางเกงขาลีบ, การออกเสียงพูด, การยัดไมค์ใส่กระเป๋ากางเกง เป้าตุงด้านหน้า และท่าทางการร้อง เรียกเสียงฮาสนั่นจอ

อย่างไรก็ตาม เรตติ้งเฉลี่ยของตอนแรกได้ไป 0.827 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ชมในกรุงเทพฯ สูงถึง 1.153 มีผู้ชมชายและหญิงในสัดส่วนเริ่มใกล้เคียงกันมากขึ้น จากปกติฐานผู้ชมช่องจะมีผู้ชมผู้ชายมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิง โดยมีผู้ชายรับชม 0.772 และผู้หญิง 0.887 โดยได้กลุ่มผู้ชมช่วงอายุ 40-49 ปี เป็นกลุ่มที่รับชมสูงสุด

แม้เรตติ้งตอนแรกไม่ได้สูงมากเหมือนคาดหวัง แต่นับเป็นการเริ่มต้นรายการใหม่ที่ดี เมื่อเทียบกับ The Voice มีเรตติ้งตอนเปิดตัวอยู่ที่ 0.575 เท่านั้น แต่ The Voice มีเรตติ้งตอนที่ได้สูงสุดอยู่ที่ 0.969 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2561

ไม่ง่ายสำหรับรายการดัง ย้ายวิกจากช่อง 7 ช่องใหญ่สุดมาอยู่ช่องพีพีทีวี ช่องน้องเล็กสุดของกลุ่มช่อง HD ที่มีฐานผู้ชมแตกต่างกันอย่างมาก พีพีทีวีมีฐานเดิมของผู้ชมเป็นกลุ่มคนเมือง ที่เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากมีคอนเทนต์หลักของช่องเป็นรายการกีฬา ในขณะที่ช่อง 7 มีฐานผู้ชมในต่างจังหวัดมากกว่ากลุ่มเมือง และมีฐานผู้ชมผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยมีละครเป็นคอนเทนต์หลัก

เดิมที พีพีทีวีวาง Theme ของช่องไว้เป็น World Class TV ที่มุ่งหวังดึงฐานคนเมืองเข้าช่องให้มากขึ้น และโฟกัสที่กลุ่มผู้หญิงที่มีกำลังซื้อสูงสุด เข้ามาเป็นฐานผู้ชมช่องให้ได้ ด้วยการซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศมากมาย แต่ยังไม่ช่วยให้เรตติ้งเพิ่มขึ้นอย่างที่คาดหวัง ยิ่งเป็นช่องเล็กๆ ด้วยแล้ว โอกาสแจ้งเกิดกับรายการใหม่ๆ ต้องใช้เงินทุนและเวลา

พีพีทีวี จึงปรับมาใช้วิธี “ดูด” รายการดังๆ จากหลายช่องมาลงผังแทน เพราะรายการเป็นที่รู้จักดีและมีฐานแฟนจำนวนมาก ไม่ต้องโปรโมตมาก น่าจะช่วยดังเรตติ้งให้ขยับขึ้นมาได้ในเวลาอันรวดเร็ว

สำหรับ “กิ๊ก ดู๋” แล้ว รูปแบบรายการเป็นกลุ่มแมสมากกว่า ตั้งแต่อยู่กับช่อง 7 เป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงที่มีตัวแทนแต่ละจังหวัดมาร้องเพลงเพื่อชิงเงินรางวัล สังเกตได้จากบรรดาสปอนเซอร์หลักของรายการ “กิ๊ก ดู๋” ในช่องพีพีทีวี ยังคงเป็นกลุ่มแมส เน้นฐานต่างจังหวัดมากกว่าฐานคนเมือง

น่าคิดว่า พีพีทีวี อาจจะ “ดูด” เพลินจนลืม Theme : World Class TV หรืออาจจะปรับเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่เพื่อขยายฐานแมสให้กว้างขึ้นก่อน เพื่อเปิดทางรับกลุ่มผู้ชมผู้หญิง กับคอนเทนต์ละคร ที่จะเริ่มออกมาให้เห็นในกลางปีนี้ก็เป็นไปได้

เซอร์ไพรส์ของพีพีทีวี คงมีมาอีกเป็นระลอกในปีนี้ โดยเฉพาะชุดละคร และนักแสดงในสังกัด เพื่อขยายอาณาจักรบันเทิงอย่างเต็มตัว.

]]>
1207387