เลื่อนเกษียณอายุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 12 Jun 2020 01:05:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถ้าพนักงานวัย “เบบี้บูม” ต่ออายุปลดเกษียณ เจนเอ็กซ์-เจนวายจะถูกลดโอกาสขึ้นเงินเดือน https://positioningmag.com/1283227 Thu, 11 Jun 2020 15:53:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283227
  • งานวิจัยจากอิตาลีพบว่า หากพนักงานวัยเบบี้บูมขอต่ออายุงานก่อนเกษียณออกไปอีก พนักงานรุ่นน้องจะถูกบล็อกจากการเลื่อนขั้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า รวมถึงการขึ้นเงินเดือนด้วย
  • หากคิดเป็นอัตราเฉลี่ยคือ การยืดอายุงานก่อนเกษียณ 1 ปี จะทำให้พนักงานที่เด็กกว่าถูกลดโอกาสเลื่อนขั้นไป 20%
  • ยิ่งเป็นบริษัทที่เติบโตช้า ผลกระทบต่อพนักงานอายุน้อยจะยิ่งเห็นชัดขึ้น
  • “พนักงานอาวุโสยืดเวลาปลดเกษียณ ทำให้พนักงานอายุน้อยไม่ได้เลื่อนขั้นเสียที” เสียงบ่นทำนองนี้เป็นเรื่องปกติในหมู่คนเจนเอ็กซ์-เจนวาย

    แต่นักเศรษฐศาสตร์มักจะโต้แย้งแนวคิดนี้ด้วยสองเหตุผลคือ หนึ่ง หากพนักงานอายุน้อยแสดงความสามารถ บริษัทสามารถปรับเพิ่มตำแหน่งระดับบริหารให้พวกเขาได้ สอง หากบริษัทที่พวกเขาทำงานอยู่ไม่ดูแลเรื่องเลื่อนขั้น บริษัทคู่แข่งจะยื่นข้อเสนองานที่ดีกว่าทันที “ถ้าคุณทำงานได้ดีจริงๆ ใครบางคนจะโฉบเข้ามาคว้าตัวคุณไป” นิโคล่า เบียนคี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ธุรกิจ มหาวิทยาลัย Kellogg กล่าว

    แล้วถ้าเป็นอย่างนั้น เสียงบ่นของพนักงานอายุน้อยจะมีความจริงอยู่ในนั้นบ้างไหม?

    คำตอบคือ “มี” เพราะงานวิจัยใหม่โดยเบียนคี และ ไมเคิล พาวเวลล์ รองศาสตราจารย์ด้านกลยุทธ์ธุรกิจ มหาวิทยาลัย Kellogg พิสูจน์ว่า การเกษียณช้าของพนักงานรุ่นใหญ่มีผลต่อพนักงานรุ่นน้องจริง

    (Photo by August de Richelieu from Pexels)

    โดยทีมของพวกเขาเลือกหยิบนโยบายปฏิรูปของอิตาลีเมื่อปี 2011 ซึ่งปรับข้อกำหนดการรับเงินบำนาญให้เข้มงวดขึ้นและลดเงินบำนาญลง ส่งผลให้สูตรการคำนวณเพื่อรับเงินบำนาญเต็มเปลี่ยนไป และกลายเป็นว่า พนักงานหลายคนต้องยืดอายุงานก่อนเกษียณออกไปอีก

    ทีมได้หยิบผลที่เกิดขึ้นใน 105,000 บริษัททั่วอิตาลีมาใช้ในการคำนวณของงานวิจัยและพบว่า บริษัทหลายแห่งที่พนักงานอาวุโสเลื่อนกำหนดการเกษียณออกไป พนักงานรุ่นน้องของบริษัทจะได้ขึ้นเงินเดือนช้ากว่าและเลื่อนขั้นช้ากว่าเช่นกัน

    ผลลัพธ์ของการศึกษานี้พบว่า เส้นทางอาชีพของพนักงานแต่ละคน ส่วนหนึ่งจะได้รับผลกระทบจากเพื่อนร่วมงานด้วย ไม่ใช่แค่เพียงแรงกระทำของตลาดงานโดยกว้างเท่านั้น

     

    ยิ่งบริษัทเติบโตช้า ยิ่งเห็นผลกระทบชัด

    การเลื่อนการปลดเกษียณออกไปไม่ได้ส่งผลต่อพนักงานทุกคนเท่ากัน สำหรับพนักงานอายุน้อยที่อยู่ใน บริษัทที่กำลังเติบโตรวดเร็ว จะยังมีโอกาสเลื่อนขั้น และเงินเดือนที่เติบโตช้าลงจะเกิดขึ้นเฉพาะกับพนักงานวัยมากกว่า 35 ปีเท่านั้น เพราะบริษัทที่กำลังขยายตัวมีโอกาสเปิดตำแหน่งระดับบริหารเพิ่มและการขึ้นเงินเดือนมากกว่า แต่พาวเวลล์คาดว่าผลกระทบนั้นก็มีอยู่บ้าง แต่ส่งผลลดหลั่นกันลงไปจนไปถึงพนักงานที่อายุน้อยที่สุดของบริษัท

    ในอีกมุมหนึ่ง สำหรับ บริษัทที่เติบโตช้า ผลกระทบเรื่องการเลื่อนขั้นและเงินเดือนที่โตช้าลงของพนักงานอายุน้อยจะยิ่งเห็นชัดขึ้น แล้วทำไมคนเหล่านั้นจึงไม่รู้สึกว่าไม่ได้รับความสำคัญจนลาออกไปทำงานที่อื่น?

    (Photo by Tim Gouw from Pexels)

    กรณีของอิตาลีปี 2011 ซึ่งเป็นแบบในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เศรษฐกิจของอิตาลีอยู่ในช่วงเติบโตช้า และคนส่วนมากจะไม่กล้าเสี่ยงเปลี่ยนที่ทำงาน ในเชิงสถิติแล้วทีมวิจัยก็ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการยืดอายุเกษียณกับการลาออกของพนักงานอายุน้อย

    สถิติสรุปผลได้ว่า เมื่อพนักงานเจอโครงสร้างตำแหน่ง “ตัน” พนักงานมักลังเลที่จะทิ้งผลงานที่สั่งสมมาในที่ทำงานปัจจุบันและไปเริ่มต้นใหม่ พวกเขาจะยังต่อคิวรอการเลื่อนขั้นต่อไป

     

    บริษัทควรบริหารอย่างไร

    ข้อแนะนำสำหรับผู้บริหารองค์กรด้านทรัพยากรบุคคลคือ บริษัทที่จะรับสมัครพนักงานใหม่ควรระมัดระวังการวาดฝันเรื่องการเติบโตไปกับบริษัท ถ้าหากจะให้คำสัญญาเรื่องตำแหน่ง บริษัทต้องมั่นใจว่ามีโครงสร้างที่ช่วยเติมเต็มความฝันให้พนักงานอายุน้อยเหล่านี้ได้

    สิ่งเหล่านี้คำนวณได้จากอัตราการเติบโตของบริษัท และการกระจายระดับอายุของพนักงานระดับบริหาร หากผู้บริหารระดับสูงทุกคนยังอายุน้อย ขณะที่บริษัทเติบโตช้า บริษัทอาจจะไม่มีพื้นที่ให้พนักงานระดับล่างเติบโตมากนัก

    ถ้าหากบริษัทต้องการเปิดพื้นที่ให้พนักงานอายุน้อยได้ปรับตำแหน่งขึ้นมา อาจต้องพิจารณาโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดสำหรับพนักงานสูงวัย หรือถ้าไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ อาจจะต้องทดแทนด้วยการขึ้นเงินเดือนเพื่อเก็บพนักงานความสามารถสูงไว้กับบริษัทก่อน

    และผู้บริหารบริษัทต้องตระหนักด้วยว่า การปรับอายุเกษียณให้สูงขึ้นจะส่งผลต่อพนักงานอายุน้อย ดังที่งานวิจัยนี้พบ

    Source

    ]]>
    1283227
    วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : ขยายเวลาเกษียณอายุการทำงานเป็น 70 ปี แก้ปัญหาขาดเเรงงาน https://positioningmag.com/1263684 Fri, 07 Feb 2020 19:04:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263684 การเป็นสังคมสูงวัยเต็มขั้นของญี่ปุ่น กำลังสร้างความกังวลให้กับการพัฒนาประเทศชาติ เพราะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โครงสร้างงบประมาณประกันสังคม อีกทั้งยังขาดเเคลนเเรงงานเเละมีอัตราการเกิดต่ำ

    ล่าสุดกับความพยายามแก้ปัญหาของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการผลักดันกฎหมายให้ภาคเอกชนขยายระยะเวลาทำงานหรือ “ขยายเวลาเกษียณอายุ” ให้กับลูกจ้างไปจนถึงอายุ 70 ปี จากเดิมที่บริษัทญี่ปุ่นมีภาระผูกพันที่จะต้องให้พนักงานทำงานจนถึงอายุ 65 ปี

    เเม้ในขณะนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังไม่ได้บังคับให้ทุกบริษัทต้องรักษาสภาพพนักงานไปจนถึงอายุ 70 ปี
    เเต่ก็ให้เป็นตัวเลือกมาลองใช้ 5 เเบบ ได้เเก่ การขยายเวลาเกษียณอายุ การปลดลูกจ้างต่อเมื่อไม่สามารถทำงานได้
    เเละการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานเกินอายุที่กำหนด

    มีตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการทำงานยุคใหม่อีก 2 เเบบคือ การให้บริษัทจ้างงานลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วในรูปแบบ “ฟรีแลนซ์” เเละให้จ้างงานลูกจ้างให้ทำงานเป็นการกุศลของบริษัท

    โดยจะมีผลักดันร่างกฎหมายนี้เข้าสู่สภานิติบัญญัติ และคาดว่าจะบังคับใช้ให้ได้ภายในเดือนเมษายนปี 2021

    ต่อจากนี้รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนจะทำให้การขยายเวลาเกษียณอายุงานไปถึง 70 ปีกลายเป็นพันธะผูกพันในอนาคต ซึ่งหากมองอีกมุมก็สร้างความกังวลให้กับคนรุ่นใหม่ไม่น้อย เพราะการทำงานตลอดชีวิตของพวกเขาจะต้องยืดไปอีก 5 ปีนั่นเอง

    วิกฤตประชากรญี่ปุ่น อีกด้านที่น่าวิตกคือมีอัตราการเกิดที่ต่ำมาก โดยในปี 2019 มีเด็กเกิดใหม่ลงต่ำกว่า 900,000 คน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติมาในรอบ 120 ปี

    อัตราการเกิดที่ลดลงจนน่ากังวลเช่นนี้ จะนำไปสู่การขาดเเคลนวัยเเรงงานซึ่งเป็นกำลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเเละเป็นกลุ่มคนจ่ายภาษี ซึ่งจะมีผลกระทบด้านสวัสดิการมากขี้น เนื่องจากรัฐต้องใช้เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุจำนวนมากในประเทศ

    ที่ผ่านมาทางการญี่ปุ่นพยายามอย่างหนักที่จะเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ (Fertility Rate) ให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้ที่ 1.8 ภายในสิ้นปี 2025 โดยออกมาตรการสนับสนุนการเลี้ยงเด็กและการจ้างงานคนรุ่นใหม่ เพื่อจูงใจให้ประชาชนมีบุตรกันมากขึ้น

    อย่างไรก็ตาม อัตราการเจริญพันธุ์ที่เป็นค่าเฉลี่ยการให้กำเนิดบุตรต่อประชากรของผู้หญิงในญี่ปุ่น เมื่อปรับตามรายอายุและหมวดอายุของสตรีแล้ว ยังอยู่ที่ 1.42 ในปี 2018

    นอกจากนี้ จำนวนคู่รักที่แต่งงานใหม่ในปี 2019 ลดลงกว่า 3,000 คู่ เเละต่ำกว่า 583,000 คู่ เป็นครั้งแรกนับตั้งเเต่หลังสงครามโลก ขณะเดียวกันคู่แต่งงานที่มีการหย่าร้างในปี 2019 ก็เพิ่มขึ้นประมาณ 2,000 คู่ โดยอยู่ที่ 210,000 คู่

    อ่านเพิ่มเติม : วิกฤตประชากรญี่ปุ่น : จำนวนเด็กเกิดใหม่ปีนี้ ต่ำสุดในรอบ120 ปี เเต่งงานน้อย-หย่าร้างเพิ่ม

     

    ที่มา : japantoday , scmp

    ]]>
    1263684
    บริษัทญี่ปุ่นเลื่อนเกษียณอายุ ให้ผู้อาวุโสทำงานต่อ https://positioningmag.com/1125850 Wed, 17 May 2017 03:11:10 +0000 http://positioningmag.com/?p=1125850 สังคมผู้สูงอายุทำให้ญี่ปุ่นเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงานรุ่นใหม่ บริษัทหลายแห่งเปิดทางให้พนักงานสามารถทำงานต่อได้ หลังจากอายุ 60 ปีตามเกณฑ์เกษียณอายุแล้ว

    ไดวะ ซิเคียวริตี้ กลุ่มบริษัทค้าหลักทรัพย์รายใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศกฎใหม่ให้พนักงานที่เกษียณอายุเมื่ออายุ 60 ปีแล้ว สามารถทำงานต่อไปได้จนถึงอายุ 70 ปี รวมทั้งยังจ้างพนักงานที่เกษียณอายุไปแล้วกลับมาทำงานกับทางบริษัทอีกครั้งด้วย

    ผู้บริหารของไดวะ ซิเคียวริตี้ ระบุว่า กำลังจะพิจารณาเกณฑ์เกษียณอายุของพนักงานในช่วงกลางปีนี้ โดยจะไม่มีกำหนดเกษียณ โดยพนักงานอาวุโสสามารถทำงานได้ยาวนานเท่าที่สุขภาพจะอำนวย

    ทางบริษัทระบุว่า พนักงานวัยทองเหล่านี้มีประสบการณ์อันทรงคุณค่า และมีความชำนาญในเรื่องหลักทรัพย์และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยลูกค้าที่เป็นผู้สูงวัยชาวญี่ปุ่นจำนวนมากต้องการคำแนะนำเรื่องการลงทุนจากคนในวัยเดียวกัน เพราะลูกค้าอาวุโสเป็นกลุ่มที่มีเงินสะสมก้อนโต และมองหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำจนติดลบ แต่ก็ยังกังวลเรื่องความเสี่ยง

    ญี่ปุ่นวันนี้ ขาดแคลนเด็ก คนแก่เต็มเมือง คนโสดล้นประเทศ

    ญี่ปุ่นนอกจากจะมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศแล้ว จำนวนเด็กแรกเกิดก็น้อยจนน่าใจหาย ขณะเดียวกันหนุ่มสาวจำนวนมากก็ยอม “ขึ้นคาน” ไม่แต่งงาน เพราะไม่อยากแบกรับภาระในการสร้างครอบครัว

    ผลสำรวจในญี่ปุ่นชี้ว่าอัตราส่วนของชาย-หญิงชาวญี่ปุ่นอายุ 50 ปีที่ยังไม่เคยแต่งงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยผู้ชาย 1 ใน 4 และผู้หญิง 1 ใน 7 ยังเป็นโสด

    สถาบันวิจัยประชากรและสวัสดิการสังคมแห่งชาติของญี่ปุ่น ได้วิเคราะห์ผลสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศที่จัดทำทุก 5 ปีในการรวบรวมข้อมูลของคนที่มีอายุ 50 ปีจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2558 พบว่า ผู้มีอายุ 50 ปีที่ไม่เคยแต่งงานมาก่อนเป็นชายร้อยละ 23.3 และหญิงร้อยละ 14 ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มการสำรวจสำมะโนประชากรเมื่อปี พ.ศ. 2463.

    ที่มา : http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9600000047781

    ]]>
    1125850