โรงหนัง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 02 Jun 2023 07:25:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่านเกม ‘โรงหนังสัตว์เลี้ยง’ ของ ‘เมเจอร์ฯ’ กับการปลุกเหล่า ‘ทาส’ ออกจากบ้านเข้าโรงหนัง https://positioningmag.com/1432673 Wed, 31 May 2023 11:58:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432673 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทรนด์ สัตว์เลี้ยง เป็นอะไรที่น่าจับตามอง เพราะแค่ตลาดอาหารสัตว์ก็มีมูลค่ามากถึง 5 หมื่นล้านบาท เติบโต 10-12% ต่อปี ซึ่งถือว่าเติบโตมากกว่าตลาดโลก ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจที่ไม่น่าเกี่ยวข้องอะไรกับสัตว์เลี้ยงเลยอย่าง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ก็ยังหาช่องในการเปิด i-Tail Pet Cinema โรงภาพยนตร์ที่ให้เหล่าทาสพาสัตว์เลี้ยงมาร่วมรับชมภาพยนตร์ได้

อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ยังไม่ฟื้น 100%

แม้ว่าสถานการณ์ของโควิดจะคลี่คลายจนคนกลับมาใช้ชีวิตเกือบปกติแล้ว แต่อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่ได้ผลกระทบแบบเต็ม ๆ ก็ยังไม่ฟื้น 100% เนื่องจากจำนวนภาพยนตร์ที่ลดลง เพราะช่วงที่เกิดการระบาดทำให้ไม่สามารถถ่ายทำภาพยนตร์ได้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2023 นี้ปริมาณภาพยนตร์ก็เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณ 30%

สำหรับเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์เองก็คาดหวังว่าปีนี้บริษัทจะทำรายได้ให้ใกล้เคียงกับปี 2019 หรือราว 10,000 ล้านบาท โดยเมื่อเทียบช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้กับปี 2019 พบว่ารายได้กลับมาประมาณ 85% โดยสัญญาณเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งจะเห็นว่า รายได้ของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์นั้นต้องพึ่งพาหน้าหนังที่จะดึงผู้ชมเป็นหลัก แต่เมเจอร์ฯ ไม่ขออยู่เฉย โดยเลือกที่จะหาลูกค้ากลุ่มใหม่ที่ ไม่ค่อยเข้าโรงภาพยนตร์ อย่าง เหล่าทาสที่มีสัตว์เลี้ยงต้องคอยดูแล

เติมเต็มโรงรอบเช้าด้วยโรงพิเศษ

โดยปกติแล้ว รอบฉายภาพยนตร์ในช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่มีผู้ชมน้อยสุด โดยช่วงพีคสุดจะเป็นรอบกลางวัน-เย็น โดยเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ ดังนั้น การเติมที่ว่าง ในรอบดังกล่าวนั่นหมายถึง รายได้ที่เพิ่มขึ้น 

ย้อนไปปี 2562 ทางเมเจอร์ฯ​ ก็ได้เปิดโรงภาพยนตร์ Kids Cinema ขึ้น โดยจัดรอบเช้าสุดของวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งในปีแรกที่เปิดตัวมีการขายตั๋วเด็กถึง 1 ล้านใบ รวมกับครอบครัวที่มาด้วยเป็น 3 ล้านใบ เลยทีเดียว โดยปัจจุบันโรง Kids Cinema ก็ได้เปิดไปเเล้วถึง 12 สาขา

สัตว์เลี้ยงทุกวันนี้ก็เหมือนลูก

ที่น่าสนใจคือ พฤติกรรมที่กลุ่มผู้ปกครองกับกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์มีเหมือนกันก็คือ ความเกรงใจ ซึ่งนั่นทำให้คนกลุ่มนี้เลือกที่จะไม่เข้าโรงภาพยนตร์ เพราะกลัวลูก ๆ อาจสร้างความรำคาญใจให้กับผู้รับชมอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ที่ปัจจุบันเลี้ยงสัตว์เลี้ยงไม่ต่างจากลูก โดยเหล่าทาสนั้นไม่อยากจะปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้ที่บ้านตัวเดียวนาน ๆ เลยเลือกที่จะอยู่แต่บ้านมากกว่าออกไปทำกิจกรรมที่ใช้เวลา ดังนั้น คนกลุ่มนี้จึงแทบไม่ได้เข้าโรงภาพยนตร์ ทำให้การเปิดโรงภาพยนตร์ที่เปิดให้พาสัตว์เลี้ยงมารับชมได้ก็ยิ่งช่วยเติมที่ว่างในรอบฉายช่วงเช้า

จริง ๆ แล้ว การเปิดโรงภาพยนตร์ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามารับชมร่วมกับผู้เลี้ยงไม่ได้เพิ่งมี แต่ทางเมเจอร์ฯ ระบุว่า ก่อนหน้านี้เคยมีกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ได้เคยรวมตัวกันเหมาโรงภาพยนตร์แล้วพาสัตว์เลี้ยงมารับชมภาพยนตร์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่เมเจอร์ฯ จะตัดสินใจเปิด i-Tail Pet Cinema เพราะยังไงก็มีดีมานด์

“4-5 ปีที่เขาเริ่มเลี้ยงสัตว์ทำให้เขาแทบไม่ได้เข้าโรงหนังเลย เพราะอยากไปดูแต่ไม่อยากทิ้งไว้ที่บ้าน นี่ก็จะตอบโจทย์นรุตม์ เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป กล่าว

ได้สปอนเซอร์เพิ่ม

จากความสำเร็จของ Kids Cinema ทำให้ทางเมเจอร์ได้มีพันธมิตรเข้ามาเป็นสปอนเซอร์ อย่าง โคโดโม และ ลาซาด้า ซึ่งมีลูกค้าเป็นกลุ่มครอบครัวเหมือนกัน ดังนั้น การใช้ช่องทาง Kids Cinema นี้ เป็นจุดให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

เช่นเดียวกันกับโรง i-Tail Pet Cinema ที่ได้ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น แบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ มาเป็นสปอนเซอร์ด้วยสัญญา 1 ปี ซึ่งมองว่าการเป็นสปอนเซอร์ให้กับเมเจอร์ฯ แบรนด์ก็จะได้พื้นที่ในการ สร้างอแวร์เนสใหม่ ๆ ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ซึ่งถ้าลูกค้าได้มาลองใช้ผลิตภัณฑ์ก็อาจจะกลายมาเป็นลูกค้าประจำในอนาคตด้วย

อย่างที่ระบุไปในช่วงต้นว่า เฉพาะมูลค่าตลาดอาหารสัตว์มีมูลค่าสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท และยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นแบรนด์อาหารสัตว์ใหม่ ๆ ตบเท้าเข้ามาในตลาด อย่างล่าสุด ก็มี อาร์เอส ที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ ดังนั้น ก็ยิ่งทำให้เมเจอร์ฯ มีโอกาสที่จะหาพันธมิตรใหม่ ๆ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ได้อีก

ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ i-Tail Pet Cinema ได้นำร่องให้บริการเพียง 3 สาขา ได้แก่ เมกา ซีนีเพล็กซ์, อีสต์วิลล์ ซีนีเพล็กซ์ และเมเจอร์ ซีนีมา โรบินสันราชพฤกษ์ แต่ศูนย์การค้าที่เป็น Pet friendly ยังมีอีกมาก โดยเฉพาะศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ต่างก็เป็น Pet friendly แทบทั้งหมด และแบรนด์อาหารสัตว์ก็มีอีกเพียบ ดังนั้น ไม่ใช่เรื่องยากที่เมเจอร์ฯ จะขยายโรงภาพยนตร์สำหรับสัตว์เลี้ยงในอนาคต

]]>
1432673
‘Cineworld’ เครือโรงหนังเบอร์ 2 โลกยื่น ‘ล้มละลาย’ เนื่องจากหนี้สินสะสมช่วงโควิด https://positioningmag.com/1397363 Wed, 24 Aug 2022 04:22:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1397363 หากดูจากข้อมูลของ Comscore ในช่วงครึ่งปีแรกบ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกามียอดขายตั๋วไปแล้วมากกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ โดยต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดปี 2019 ที่ 20% ซึ่งถือว่าแนวโน้มของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์เริ่มดูมีความหวังอีกครั้ง แต่สำหรับ Cineworld Group PLC หนึ่งในผู้ดำเนินการโรงภาพยนตร์รายใหญ่กลับต้อง ยื่นล้มละลาย เพราะทนพิษบาดแผลจากโควิดไม่ไหว

Cineworld ถือเป็นเครือโรงภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษที่ใหญ่เป็น อันดับ 2 ของโลก โดยมีโรงภาพยนตร์ในเครือจำนวน 9,000 แห่งใน 10 ประเทศ ได้กำลังพิจารณายื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายโดยสมัครใจในสหรัฐอเมริกาตามในบทที่ 11 เนื่องจากมีหนี้สินกว่า 8,900 ล้านดอลลาร์

โดยย้อนไปปี 2020 ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ใหม่ ๆ ทำให้หลายประเทศต้องล็อกดาวน์ ขณะที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดลงชั่วคราว ส่งผลให้บริษัท Cineworld ต้องประสบภาวะขาดทุน 2,700 ล้านดอลลาร์ และในปี 2021 ที่สถานการณ์เริ่มดีขึ้น แต่บริษัทก็ยังขาดทุนจำนวน 566 ล้านดอลลาร์

โดย Cineworld ระบุว่า ระดับการที่ผู้ชมกลับเข้ามาในโรงภาพยนตร์ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากจำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายยังไม่มากเท่าก่อนการระบาด และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวชัดเจนอีกทีในเดือนพฤศจิกายน และนั่นจะหมายถึงวิกฤตการเงินยังคงลากยาวต่อไป

อย่างไรก็ตาม แม้จะยื่นล้มละลาย แต่โรงภาพยนตร์ของบริษัทยังคง เปิดให้บริการตามปกติ เนื่องจากพิจารณาทางเลือกในการบรรเทาภาระหนี้ นอกจากนี้ จะยังทำให้พนักงานกว่า 28,000 คนไม่ได้รับผลกระทบ แต่การยื่นล้มละลายที่อาจเกิดขึ้นนั้นอาจทำให้นักลงทุนในหุ้นต้อง ขาดทุน จากการถือครองหุ้นทั้งหมด

ปัจจุบัน หุ้นของบริษัทในลอนดอนร่วงลง 21.4% เท่ากับประมาณ 3.8 เซนต์สหรัฐ ซึ่งตามมาด้วยการดิ่งลง 58.3% ในวันศุกร์หลังจาก The Wall Street Journal รายงานว่าบริษัทกำลังเตรียมยื่นขอความคุ้มครองการล้มละลายภายในไม่กี่สัปดาห์

Source

]]>
1397363
กลับมาสดใส! เม็ดเงินอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์’ เริ่มกลับมาเท่าปี 2019 และอาจโตกว่า https://positioningmag.com/1392651 Thu, 14 Jul 2022 13:43:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1392651 เชื่อว่า 2 ปีกว่าที่ COVID-19 ระบาดทำให้หลายคนนอนดูหนังบนโซฟาจนเบื่อ ทำให้หลังจากที่สถานการณ์การระบาดคลี่คลายมากขึ้น อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ก็เริ่มกลับมาไม่เพียงแต่พวกเขาจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะในอเมริกา ที่นอกจากผู้ชมจะกลับเข้าโรงฯ แล้วยังมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายมากขึ้น

ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพยนตร์ Marvel Cinematic Universe เรื่องล่าสุดของดิสนีย์อย่าง Thor: Love and Thunder ได้เปิดตัวในอเมริกาได้เกือบ 145 ล้านดอลลาร์ และดึงดูดผู้ชมเข้าโรงฯ ได้กว่า 10 ล้านคน นอกจากนี้ ภาพยนตร์ที่ฉายก่อนหน้าอย่าง Top Gun: Maverick  ของ Paramount และ Skydance, Minions: The Rise of Gru ของ Universal และ Jurassic World: Dominion, Lightyear ของ Pixar ก็ทำรายได้ในระดับเดียวกันในปี 2019 ตามข้อมูลจาก Comscore

“สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี โดยสามารถทำรายได้เทียบกับตอนเปิดตัว ‘Spider-Man: No Way Home’ ที่ฉายในช่วงเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา” บร็อค แบกบี้ รองประธานบริหารของ B&B Theatres เครือโรงภาพยนตร์ระดับภูมิภาคในมิดเวสต์ กล่าว

ด้วยภาพยนตร์ระดับบล็อกบัสเตอร์ใหม่ ๆ ที่ทำให้ผู้คนมาที่โรงภาพยนตร์มากขึ้น ส่งผลให้บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ช่วงวันที่ 1 พฤษภาคมถึง 10 กรกฎาคม มีรายได้รวมราว 2.27 พันล้านดอลลาร์ ลดลงเพียง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปี 2019 ที่ปิด 2.58 พันล้านดอลลาร์ หรือก่อนจะมีก่อนเกิด COVID-19 ตามข้อมูลจาก Comscore สำหรับครึ่งปีแรกนี้ บ็อกซ์ออฟฟิศในอเมริกามียอดขายตั๋วไปแล้วมากกว่า 4.25 พันล้านดอลลาร์ โดยต่ำกว่าระดับก่อนเกิดโรคระบาดปี 2019 ที่ 30%

“ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤษภาคมมีการเปิดตัวภาพยนตร์มากมายที่กระตุ้นให้ผู้ชมกลับเข้าไปชมในโรงภาพยนตร์ โดยผู้บริโภคจะตอบสนองต่อภาพยนตร์ที่สนุก ตื่นเต้น สมความคาดหวัง” เจฟฟรีย์ คอฟแมน รองประธานอาวุโสฝ่ายภาพยนตร์และการตลาดของ Malco Theatres กล่าว

AMC Entertainment ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก รายงานว่า ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ชมภาพยนตร์ถึง 5.9 ล้านคน และรายได้ค่าเข้าชมทั่วโลกแซงหน้าวันหยุดสุดสัปดาห์ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 ถึง 12%

“ผลงานบ็อกซ์ออฟฟิศทุกสัปดาห์ในฤดูร้อนนี้ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่เราเชื่อว่าจะกลับมาตลอด ผู้บริโภคต้องการสัมผัสภาพยนตร์ของพวกเขาผ่านประสบการณ์โรงภาพยนตร์ที่ไม่มีอะไรเทียบได้ ด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ เสียงที่กระหึ่ม ที่นั่งใหญ่และสบาย” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

นอกจากนี้ ผู้ชมยังเลือกซื้อตั๋วที่นั่งแบบ พรีเมียม มากกว่าช่วงที่เกิดการแพร่ระบาด รวมถึงโรง IMAX, Dolby, 3D และอื่น ๆ เพื่อสัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ รวมถึงผู้ชมได้ใช้จ่ายมากขึ้นกับอาหารและเครื่องดื่มเช่นกัน

แม้สถานการณ์อุตสาหกรรมจะกลับมามีทิศทางที่สดใสใกล้เคียงก่อนเกิดการระบาด แต่จำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 2022 โดยรวมลดลงมากกว่า 30% เมื่อเทียบกับปี 2019

]]>
1392651
‘ดิสนีย์’ ยืนยัน! ภาพยนตร์ที่เหลือของปีจะฉายโรง 45 วัน ก่อนสตรีมลง ‘Disney+’ https://positioningmag.com/1351549 Mon, 13 Sep 2021 10:56:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1351549 เพราะพิษ COVID-19 ทำให้โรงภาพยนตร์ต้องปิดลงชั่วคราว แม้ว่าในปี 2021 นี้ โรงภาพยนตร์จะเริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง แต่ค่ายภาพยนตร์หลายค่ายก็ตัดสินใจที่จะฉายหนังไปพร้อมกับการสตรีมมิ่งบนแพลตฟอร์มของตัวเอง อาทิ ‘Black Widow’ ของค่ายดิสนีย์ (Disney) แต่ล่าสุด ทางค่ายก็ตัดสินใจจะฉายภาพยนตร์ในโรงก่อนที่จะลงสตรีมมิ่ง 45 วัน

ย้อนไปเดือนกรกฎาคมดิสนีย์ตัดสินใจที่จะฉายภาพยนตร์ Black Widow พร้อมกับลงสตรีมมิ่ง ‘Disney+’ นับเป็นภาพยนตร์จากสตูดิโอ Marvel เรื่องแรกที่เข้าฉายพร้อมกัน แต่เป็นในรูปแบบ Premier Access (ผู้เป็นสมาชิกต้องจ่ายเงิน 30 ดอลลาร์ หรือราว 980 บาท เพื่อรับชม)

แม้ Black Widow จะเป็นภาพยนตร์ที่เปิดตัวแรงสุดในยุคโควิด โดยสามารถเก็บเงินไปได้ถึง 140 ล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นโรงภาพยนตร์ 80 ล้านดอลลาร์ และ Disney+ 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหากรวมจำนวนเงินที่ทำได้จากการเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ประเทศอื่น ๆ อีก 78 ล้านดอลลาร์ ก็จะทำให้ตัวเลขเงินเปิดตัวในสัปดาห์แรกอยู่ที่ 218 ล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ผ่านไปเพียง 1 สัปดาห์ รายได้ของ Black Widow ในโรงหนังลดต่ำลงมาอยู่ที่ 26.3 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นอัตราที่ลดลงถึง 67% จนนำไปสู่การฟ้องร้องของ ‘สการ์เลตต์ โจแฮนสัน’ นักแสดงนำว่าดิสนีย์ละเมิดสัญญา เพราะนอกจากค่าตัวที่ค่ายหนังจ่ายให้แล้ว เธอจะได้ส่วนแบ่งจากรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศด้วย ซึ่งการนำหนังออกฉายในโรงพร้อมกับทางสตรีมมิ่งจึงเป็นการแบ่งรายได้ที่นักแสดงควรจะได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยไปนั่นเอง

ไม่รู้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ล่าสุดค่ายดิสนีย์ประกาศชัดว่า ภาพยนตร์ทุกเรื่องที่เหลือในปีนี้จะ ‘ฉายโรง’ ก่อนเป็นเวลา 45 วัน ถึงจะลงในสตรีมมิ่ง โดยให้ความเห็นว่าเริ่มเห็นทิศทางที่ดีของผู้ชมที่กลับมาชมในโรงภาพยนตร์ แม้ว่าการระบาดจะเริ่มกลับมาอีกครั้งจากสายพันธุ์เดลตา

“ขณะนี้ความมั่นใจในการรับชมภาพยนตร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราหวังว่าจะสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชมในโรงภาพยนตร์ ในขณะเดียวกันก็รักษาความยืดหยุ่นในการมอบของขวัญให้กับสมาชิก Disney+ ของเราในช่วงเทศกาลวันหยุดนี้” Kareem Daniel ประธาน Disney Media & Entertainment Distribution กล่าวในแถลงการณ์

สำหรับปีนี้ ภาพยนตร์ใหม่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เป็นเวลา 45 วัน ได้แก่ Eternals ของ Marvel จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 5 พฤศจิกายน และ West Side Story ฉบับรีเมกจะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 10 ธันวาคม ภาพยนตร์อื่น ๆ ที่เข้าฉายในปีนี้ ได้แก่ The Last Duel, Ron’s Gone Wrong และ The King’s Man

ที่ผ่านมา Shang-Chi ของ Marvel ที่เปิดฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ได้ทำลายสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศวันแรงงาน ภาพยนตร์มาร์เวลเรื่องแรกที่นำแสดงโดยซูเปอร์ฮีโร่ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยทำรายได้ไปทั่วโลก 247.6 ล้านเหรียญนับตั้งแต่เปิดตัวเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดยยังคงครองอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิศในช่วงสัปดาห์ที่สองเช่นกัน หลายคนมองว่าการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จนี้เป็นสัญญาณที่ให้กำลังใจแก่โรงภาพยนตร์

ทั้งนี้ ประเทศไทยยังคงปิดให้บริการโรงภาพยนตร์ในพื้นที่สีแดง เช่น กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใหญ่ ทำให้ภาพยนตร์หลายเรื่องถูกยกเลิกที่จะฉาย อาทิ Black Widow ที่จะไม่ลงฉายในโรงภาพยนตร์ไทย ส่วน Shang-Shi จะฉายในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ แต่อาจจะต้องรอลุ้นอีกทีว่าจะได้ฉายหรือไม่

Source

]]>
1351549
อนาคตโรงหนังเริ่มสดใสหลัง ‘Godzilla vs. Kong’ ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดนับตั้งแต่โควิดระบาด https://positioningmag.com/1326700 Mon, 05 Apr 2021 09:39:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326700 ถือเป็นข่าวดีของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ที่หนัง ‘Godzilla vs. Kong’ ทำรายได้ไปแล้วเกือบ 300 ล้านดอลลาร์ จากที่ในปี 2020 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ต้องเผชิญกับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 อย่างหนัก ทั้งต้องปิดโรงภาพยนตร์ หรือแม้ว่าจะกลับมาเปิดอีกครั้งก็ต้องจำกัดจำนวนการเข้าชม ขณะที่ค่ายภาพยนตร์ต่างก็ทยอยเลื่อนเปิดตัวภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์หลายเรื่อง

เมื่อช่วงเดือนธันวาคมปี 2020 ค่าย ‘Warner Bros.’ (วอร์เนอร์บราเธอร์ส) ได้ปล่อยภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ‘Wonder Woman 1984’ ซึ่งทำเงิน 3 วันแรกในอเมริกาได้ 16.7 ล้านดอลลาร์ตามข้อมูลของ Comscore (SCOR) ขณะที่ ‘Godzilla vs. Kong’ สามารถทำรายได้เปิดตัว 3 วันแรกในอเมริกาที่ 32.2 ล้านดอลลาร์ และทำรายได้ 48.5 ล้านดอลลาร์ในช่วง 5 วันแรก กลายเป็นภาพยนตร์ที่เปิดตัวสูงสุดนับตั้งแต่ COVID-19 ระบาด

รายได้ของ Godzilla vs. Kong เหนือคาดหมายของอุตสาหกรรมอย่างมาก จากที่คาดว่ารายได้ 5 วันแรกจะอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์เท่านั้น ขณะที่ภาพรวมทั่วโลกสามารถทำรายได้แล้ว 285.4 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนี่ถือเป็นสัญญาณดีที่ทำให้อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์มีความหวังว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร

ดูเหมือนว่าภาพยนตร์กำลังจะกลับมา ถ้าฉันเป็นเจ้าของโรงละครนี่จะรู้สึกเหมือนมีชีวิตใหม่และถ้าฉันเป็นสตูดิโอภาพยนตร์สิ่งนี้จะช่วยให้ฉันมีความมั่นใจมากขึ้นในการเปิดตัวภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์อย่างแน่นอนShawn Robbins หัวหน้านักวิเคราะห์ของ Boxoffice.com กล่าว

ภาพจาก Facebook GodzillaVsKongMovieThailand

โดยทั่วไปแล้ว การทำรายได้ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ 48.5 ล้านดอลลาร์ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร แต่หลังจากที่โรงภาพยนตร์ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มานานกว่าหนึ่งปี อุตสาหกรรมต้องปิดตัวลงโรงภาพยนตร์ทั่วโลก ขณะที่การจะดึงดูดผู้ชมให้กลับมาก็ยิ่งยากแม้ว่าจะเปิดโรงภาพยนตร์แล้วก็ตาม และเมื่อพิจารณาว่าโรงภาพยนตร์ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มรูปแบบ 100% ดังนั้น รายได้รวมของภาพยนตร์เรื่องนี้น่าประทับใจอย่างยิ่ง

ไม่ใช่แค่เป็นสัญญาณดีว่าอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์กลับมาฟื้นตัว แต่เพราะ Godzilla vs. Kong นั้นได้ฉายในสตรีมมิ่งควบคู่กันไปด้วย เลยถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าสตรีมมิ่งซึ่งเป็นอนาคตของฮอลลีวูดสามารถทำธุรกิจที่ดีควบคู่ไปกับการฉายโรงซึ่งเป็นส่วนสำคัญในอดีตของวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูด

ทั้งนี้ Warner Bros. ประกาศในเดือนธันวาคมว่าภาพยนตร์ทั้งหมดในปี 2021 จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์และฉายใน HBO Max พร้อมกันดังนั้น Godzilla vs. Kong จึงมีให้บริการในบริการสตรีมมิ่ง HBO Max ของ WarnerMedia และในโรงภาพยนตร์เมื่อเปิดตัวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ท้ายที่สุด เวลาจะบอกได้ว่าบ็อกซ์ออฟฟิศที่ประสบความสำเร็จในการเปิดตัว ‘Godzilla vs.Kong’ จะเป็นแค่ภาพยนตร์เรื่องเดียวหรือเป็นจุดเริ่มต้นของการพลิกผันครั้งใหญ่ของโรงภาพยนตร์

CNBC / CNN

]]>
1326700
โรงหนัง ‘นิวยอร์ก’ ตลาดใหญ่เบอร์ 2 ของอเมริกาเปิดอีกครั้ง คาดจุดสำคัญฟื้นอุตสาหกรรม https://positioningmag.com/1320629 Tue, 23 Feb 2021 12:13:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320629 หลังจากที่โรงภาพยนตร์ในมหานคร ‘นิวยอร์ก’ ถูกปิดไปตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2020 นับเป็นเวลาเกือบปีทีเดียวที่ไม่ได้ให้บริการ แต่หลังจากที่ผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในนิวยอร์กค่อย ๆ ลดลง จนปัจจุบันเฉลี่ยที่สัปดาห์ละ 7,400 ราย ลดลงมากกว่า 13% ทำให้บริการต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดอีกครั้ง รวมถึงโรงภาพยนตร์ด้วย

การประกาศเปิดโรงภาพยนตร์เป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก เพื่อเปิดเศรษฐกิจของรัฐอีกครั้ง โดยนอกจากโรงภาพยนตร์แล้วยังมีสนามกีฬาขนาดใหญ่ เช่น Barclays Center และ Madison Square Garden ที่กำลังเตรียมต้อนรับแฟน ๆ จำนวนจำกัดสำหรับเกมบาสเกตบอล รวมไปถึงสวนสนุกต่าง ๆ ก็สามารถเปิดได้อีกครั้ง โดยจะเริ่มเปิดได้ในช่วงเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กจะไม่ได้เปิดให้บริการ 100% แต่จะสามารถจุได้ไม่เกิน 25% หรือไม่เกิน 50 คนต่อโรง และจะต้องมีการตรวจคัดกรอง ต้องใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างของที่นั่ง โดยเจ้าของโรงหนังพอใจกับการประกาศว่าโรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ก แม้จะมีระเบียบปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวด

“การประกาศของผู้ว่าการคูโม่ว่าโรงภาพยนตร์สามารถเปิดให้บริการอีกครั้งในนิวยอร์กซิตี้ ในสัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ และบริษัทของเรา” อดัม อารอน ซีอีโอของ AMC กล่าว

อดัม กล่าวว่า บริษัท AMC จะเปิดโรงภาพยนตร์ทั้ง 13 แห่งในนิวยอร์กซิตี้อีกครั้งในวันที่ 5 มีนาคมนี้ โดยจะได้ฉายภาพยนตร์อนิเมชั่นฟอร์มยักษ์จากดิสนีย์เรื่อง ‘Raya and the Last Dragon’ ที่ฉายพร้อมกับลงสตรีมมิ่ง Disney+ และฉาย ‘Godzilla v. Kong’ จากค่าย Warner Bros. ในเดือนเดียวกันด้วย

ทั้งนี้ มหานครนิวยอร์กเป็นศูนย์กลางสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการขายตั๋วภาพยนตร์ โดยมีโรงภาพยนตร์เกือบ 300 แห่ง ถือเป็นตัวขับเคลื่อนยอดขายตั๋วที่สูงเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริการองจาก Los Angeles ซึ่งคิดเป็น 8.9%

นอกจากนี้ นิวยอร์กซิตี้มีราคาตั๋ว และความหนาแน่นของประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่าสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา และแคนาดา นั่นเป็นหนึ่งในเหตุผลที่สตูดิโอกระตือรือร้นที่จะผลักดันภาพยนตร์ไปตามไทม์ไลน์ และรอให้โรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กเปิดให้คนเข้าชม

“นิวยอร์กซิตี้ถือเป็นตลาดหลักสำหรับการรับชมภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวอีกครั้งทำให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์ และเป็นก้าวสำคัญในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมทั้งหมด”

CNBC / theverge

]]>
1320629
เปิดใจ “วิชา พูลวรลักษณ์” ปี 2020 จอมืดของอุตฯ ภาพยนตร์ คนยังดูหนัง แต่ไม่มีหนังเข้า https://positioningmag.com/1311974 Thu, 24 Dec 2020 16:51:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311974 พูดคุยกับ “วิชา พูลวรลักษณ์” ซีอีโอนักสู้แห่งโรงหนังเมเจอร์ ที่ในปีนี้เจอศึกหนักครั้งใหญ่ ถึงกับเป็นการขาดทุนครั้งแรก กับประเด็นความท้าทายทั้งไวรัส COVID-19 ไม่มีหนังใหม่เข้า ต้องปรับกระบวนท่ายกใหญ่ เน้นหนังไทย จับมือกับสตรีมมิ่ง รวมถึงเปิดเกมรุกขาย “ป๊อปคอร์น” นอกโรง

Dark Year ของอุตสาหกรรมหนัง

ในปี 2019 ตลาดโรงภาพยนตร์มีการจำหน่ายตั๋วที่สูงที่สุด 36.5 ล้านใบ ในปี 2020 จำนวนตั๋วลดลงถึง 60% สะท้อนถึงวิกฤตของธุรกิจโรงภาพยนตร์

ดูเหมือนว่าปีนี้เป็นปีที่ยากลำบากของหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ “โรงภาพยนตร์” เพราะเมื่อมีการล็อกดาวน์ ทำให้ไม่มีรายได้ ถึงแม้ว่าจะมีการเปิดให้บริการตามปกติหลังจากคลายล็อกดาวน์ ก็ยังต้องรักษามาตรการเว้นระยะห่าง ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายตั๋วได้เต็มโรงแบบ 100% แถมยังบริโภคอาหารภายในโรงไม่ได้

แต่ปัญหาที่ใหญ่สุดคนจะเป็น การที่ไม่มี  “ภาพยนตร์ใหม่” เข้าฉาย เนื่องการสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกายังคงรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ายหนังต่าง ๆ จึงพาเหรดเลื่อนโปรแกรมหนังไปปีหน้ากันทั้งสิ้น ทำให้เมเจอร์ต้องแก้เกมด้วยการเอาหนังไทยมาฉาย

Photo : Shutterstock

ซึ่งใครที่ตามข่าวในแวดวงภาพยนตร์ หรือเป็นแฟนหนัง จะทราบกันดีว่า ปีนี้จะเป็นปีทองของวงการภาพยนตร์อีกปีหนึ่ง เนื่องจากมีโปรแกรมหนังฟอร์มยักษ์เข้าฉายมากมาย แต่เป็นอันต้องกินแห้วเนื่องจากสถานการณ์ยังไม่พร้อมฉาย หลังจากที่เจอปัญหาไม่มีหนังฉาย ทำให้ผู้บริโภคไม่ออกมาดูหนังเท่าที่ควร

เลยกลายเป็นว่า “คนยังอยากดูหนัง แต่ไม่มีหนังเข้าฉาย”

วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) ถึงกับบอกเลยว่า ปีนี้เป็น Dark Year ของอุตสาหกรรม เป็นจอมืดเลย ปีนี้ขาดทุนเกือบพันล้าน จากที่ไม่เคยขาดทุนเลย ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อน ตอนแรกคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก เพราะโรงหนังเป็นธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับตลาดในประเทศ ไม่ต้องพึ่งพานักท่องเที่ยว แต่ที่คิดไม่ถึงก็คือมีการระบาดหนักที่สหรัฐอเมริกา ทำให้หนังใหญ่ ๆ เลื่อนฉายหมดเลย  

วิชาเสริมอีกว่า ตอนที่กลับมาเปิดโรงหนังใหม่หลังล็อกดาวน์ช่วงเดือนมิ.ย. ตอนนั้นก็ไม่มีหนังใหม่ ๆ แต่ก็ไม่อยากปิดโรงต่อ ด้วยความที่เป็น “นักสู้” อยู่แล้ว เลยสู้ด้วยหนังไทย มีเรื่องมนต์รักดอกผักบุ้งเข้าฉาย ตอนนั้นก็กลัวว่าพอไม่มีหนัง คนจะมาดูหรือเปล่า เหมือนซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่มีของขาย

“แต่ก็พบว่าคนยังรักโรงหนัง มีไลฟ์สไตล์ดูหนัง หนังบางเรื่องก็ทำรายได้ดี สิ่งที่ทำให้ดีใจคือ คนยังดูหนัง เพียงแต่ไม่มีหนังเท่านั้นเอง” 

เร่งเสริมหนังไทย ต้องเข้าสตรีมมิ่งทุกเรื่อง!

จากปี 2020 ที่ต้องเจอกับความท้าทายรอบด้าน ทำให้เมเจอร์ต้องจับทัพปรับหน่วยธุรกิจใหม่ โดยเน้นที่ 3T ได้แก่ Thai Movies, Technology และ Trading  

“หนังไทย” จะกลายเป็นธุรกิจที่สำคัญของเมเจอร์ในปีหน้า เรียกว่าโลคอลคอนเทนต์จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยฝ่าวิกฤต โดยลดการพึ่งพาคอนเทนต์จากฮอลลีวูด ที่ผ่านมามีหนังไทย 2 เรื่องที่ทำให้ตลาดหนังไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง นั่นคือ เรื่อง “มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ” ตอบโจทย์คนดูทางภาคใต้ ทำรายได้ไปถึง 43 ล้านบาท ตามมาด้วย “อีเรียมซิ่ง” ซึ่งขณะนี้กวาดรายได้ไปแล้ว 200 ล้านบาท

ในปี 2020 เมเจอร์ได้ลงทุนผลิตหนังไทยผ่านค่ายในเครือ 6 ค่าย ได้แก่ M PICTURES, M๓๙, Transformation Film, CJ MAJOR Entertainment, TAI MAJOR และ รฤก โปรดักชั่น รวม 11 เรื่อง แต่ปีหน้ามีแผนลงทุน 20-25 เรื่อง ใช้งบลงทุนราว 350-400 ล้านบาท เป็นการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัวจากที่เคยผลิตเพียงปีละ 10-12 เรื่อง

อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ก็คือการเป็นพาร์ตเนอร์กับ “สตรีมมิ่ง” ด้วยการนำหนังไทยเข้าไปฉายในสตรีมมิ่งทั้งหมด เป็นการตอบคำถามได้อย่างชัดเจนว่า สตรีมมิ่งจะเป็นคู่แข่งคนสำคัญของโรงหนัง ทำให้คนไม่ไปดูหนัง แต่จริง ๆ แล้วสตรีมมิ่งเป็นพาร์ตเนอร์ที่ช่วยสร้างตลาดให้เติบโตได้

วิชามองว่าจะเอาหนังไทยทุกเรื่องที่ฉายในโรง เข้าฉายในสตรีมมิ่งทุกเรื่อง จะเป็นช่วง 3 เดือนหลังจากที่ฉายในโรงแล้ว มองผู้เล่นที่สำคัญได้แก่ NetFlix, Disney+ และ HBO GO

“ต่อไปหนังไทยทุกเรื่องจะต้องเข้าสตรีมมิ่ง ตอนนี้เป็นช่องทางที่ 2 ที่คนเข้าถึงนอกจากโรงหนัง ที่สำคัญคืออยากทำคอนเทนต์โลคอลไปโกลบอลให้ได้ การที่เข้าไปอยู่ในสตรีมมิ่งทำให้คนรู้จักมากขึ้น ฉายได้ยาว”

ถ้าถามว่าหนังในดวงใจที่วิชาชอบที่สุดในปีนี้คือเรื่องอะไร วิชาตอบอย่างไม่คิดเลยว่า “อีเรียมซิ่ง” ซิ่งมากับร้อยล้าน

สำหรับเรื่อง Technology จะมีการลงทุนอีก 100-200 ล้านบาท เน้นการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาเติมเต็มในการให้บริการมากขึ้น รวมไปถึงพัฒนาให้ Personalize มากขึ้น

ลุยขายป๊อปคอร์น ขายทุกอย่างที่ขายได้

ในช่วงล็อกดาวน์ เมเจอร์ต้องปรับตัวในการหารายได้แทนการขายตั๋ว ลุยขายสินทรัพย์ของตัวเองหลาย ๆ อย่าง พระเอกหลักก็คือ “ป๊อปคอร์น” ได้กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จะสร้างรายได้ให้เมเจอร์มากขึ้นผ่าน Trading ในช่วงนั้นเมเจอร์เริ่มจากขายป๊อปคอร์นสดที่ขายหน้าโรงหนัง แล้วใช้บริการเดลิเวอรี่ส่งตามบ้าน บริการ “Major Popcorn Delivery” จนได้พัฒนาเป็นป๊อปคอร์นรูปแบบใหม่ ๆ เพิ่มความสะดวกมากขึ้น และมีแผนที่จะนำป๊อปคอร์นจำหน่ายนอกโรงหนังด้วย

“แรก ๆ ที่ขายก็มีรายได้ไม่กี่แสน แต่พอทำไปทำมาก็สามารถขึ้นอันดับหนึ่งสินค้าขายดีในช้อปปี้เมื่อเดือนที่แล้ว”

วิชาเปิดเผยถึงกลยุทธ์นี้ว่า ต้องทำธุรกิจใหม่ ขายให้เป็น เปิดเกมรุกในการขายของ ขายทุกอย่างที่เรามี ไม่ใช่แค่เปิดบ้านขายของเท่านั้น แต่จะทำสินค้าเข้าขายซูเปอร์มาร์เก็ตอื่น ๆ ด้วย ปกติทำแต่ป๊อปคอร์นร้อน ตอนนี้ทำป๊อปคอร์นเย็นที่สามารถซื้อกินที่บ้านได้ ทำที่บ้านได้ ขายทุกช่องทางที่เมเจอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และออนไลน์

ทำให้ตอนนี้มีสินค้าในไลน์ของป๊อปคอร์น ได้แก่

– ป๊อปคอร์น Pop Corn Supersize ป๊อปคอร์นถังใหญ่ ขนาด 355 ออนซ์

Pop To Go ป๊อปคอร์นในถุงซิปล็อก ขนาด 75 ออนซ์

POP STAR ป๊อปคอร์นพรีเมียมบรรจุในกระป๋อง ขนาด 60 ออนซ์

– ป๊อปคอร์น พรีเมียม POPSTAR 3 รูปแบบ คือ ป๊อปสตาร์ สแน็ค ป๊อปคอร์นแบบซอง, ป๊อปสตาร์ ไมโครเวฟ รสชีส และ ป๊อปสตาร์พรีเมียม ทินแคน ป๊อปคอร์นบรรจุกระป๋อง

ในปี 2019 กลุ่มป๊อปคอร์นมีรายได้กว่า 2,000 ล้านบาท เป็นการรวมเคาน์เตอร์ป๊อปคอร์นหน้าโรงหนังทั้งหมด หลังจากมีการเปิดธุรกิจ Trading มีการตั้งเป้าว่าจะมีสัดส่วน 10% ของรายได้กลุ่มป๊อปคอร์น หรือ 200 ล้านบาท

ปีหน้าต้องกลับมาแบบ V Shape เพราะมี Vicha

หลังจากเกิดวิกฤตในการทำธุรกิจ ทำให้รายได้ หรือผลประกอบการตกต่ำลงไปอย่างมาก เมื่อผ่านเหตุการณ์ในช่วงนั้นมา หลายธุรกิจก็หวังการเติบโตขึ้น ซึ่งในภาษาของธุรกิจจะมีทั้ง V Shape, U Shape หรือ W Shape เพื่อเปรียบเทียบกราฟผลประกอบการ

สำหรับเมเจอร์นั้นวิชาบอกว่า ปีหน้าต้องกลับมาเป็นแบบ V Shape ให้ได้ เพราะผมคือ Vicha เล่นกิมมิกกับชื่อตัวเองนั่นเอง หลังจากที่ปี 2019 เมเจอร์มีกำไรสูงที่สุด ปีนี้มีการขาดทุน แต่ปีหน้าต้องกลับมาโตเท่าปี 2019 ให้ได้

ปัจจัยที่คิดว่าจะกลับมามีรายได้ และผลประกอบการที่ดีขึ้น มั่นใจว่าหนังใหญ่ ๆ จะกลับมาฉาย ปี 2021 จะเป็นปีที่ Movie is back, No Time To Die จะมีหนังเข้าฉายมากถึง 260 เรื่อง เป็นหนังฮอลลีวูดประมาณ 210 เรื่อง เป็นหนังไทยประมาณ 50 เรื่อง

หนังฮอลลีวูดที่เข้าฉาย 210 เรื่องนั้น ส่วนหนึ่งเป็นหนังที่เลื่อนฉายจาก ปี 2020 จะเป็นหนังที่หลายคนรอคอยการกลับมาฉาย ซึ่งเป็นหนังฮอลลีวูด บ็อกซ์บัสเตอร์ฟอร์มยักษ์ที่คาดว่าจะทำเงิน ได้แก่ Black Widow, Godzilla VS Kong, Fast & Furious 9, Mission : Impossible 7, Spider-Man Sequel, The Matrix 4, Venom 2, The Conjuring 3, Mortal Kombat, The King’s Man, Morbius, No Time to Die, A Quiet Place Part 2, Infinite, Top Gun 2 : Maverick, Minions : The Rise of Gru, Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings, Jungle  Cruise, The Suicide Squad 2, Dune, The Eternals

ถ้าถามว่าจากวิกฤตครั้งนี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง วิชาบอกว่าต้อง Fast และ Flexible เป็นสิ่งที่ CEO ต้องทำ ต้องสู้ ถ้าปรับตัวได้เก่งก็จะอยู่ได้ เป็นธรรมชาติของธุรกิจ

ที่สำคัญทำให้ได้คิดว่า “พอเราเป็นคนทำโรงหนัง ก็คิดว่าเป็นโรงหนังมาตลอด พอ COVID-19 มา ทำให้ต้องมาคิดใหม่ ต้องเป็น Content Provider หน้าที่เราคือต้องทำคอนเทนต์ให้เข้าถึงคนดูให้ได้ การลงทุนทำหนังทำให้มีรายได้มากขึ้น แต่ก่อนเป็นโรงหนัง เอาหนังมาฉายก็ได้ 50% แต่พอมีหนังไทยที่เป็นเจ้าของผลิตด้วย ก็มีรายได้มากขึ้น”

สำหรับแผนการขยายสาขาในปี 2021 เมเจอร์ลงทุนขยายสาขาในต่างจังหวัด 8 สาขา 24 โรง และสาขาในกัมพูชา อีก 2 สาขา 6 โรง ใช้งบลงทุนรวม 200 ล้านบาท

ปัจจุบัน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีสาขาที่เปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น 172 สาขา 817 โรง 185,874 ที่นั่ง แยกเป็น

– สาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 47 สาขา 357 โรง 81,388 ที่นั่ง

– สาขาในต่างจังหวัด 117 สาขา 421 โรง 96,037 ที่นั่ง

– สาขาในต่างประเทศ 8 สาขา 39 โรง 8,449 ที่นั่ง

]]>
1311974
‘AMC’ เครือโรงหนังใหญ่สุดในโลกยังเสี่ยง ‘ล้มละลาย’ แม้ได้เงินทุน 100 ล้านดอลลาร์ต่อชีวิต https://positioningmag.com/1310118 Sun, 13 Dec 2020 07:02:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1310118 เครือโรงภาพยนตร์ ‘AMC’ ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จำต้องหาทางรอดด้วยการขายหุ้นคลาส A มากถึง 20 ล้านหุ้นเพื่อให้ได้เงินทุนใหม่มูลค่าเกือบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อต่อชีวิตเพราะอาจล้มละลายเนื่องจากพิษ COVID-19 โดยในไตรมาส 3 AMC มีรายได้เพียง 119.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปีที่ผ่านมาทำได้ถึง 1.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

‘AMC’ เครือโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่สุดในโลกเตรียมเทขายหุ้นเหตุ COVID-19 อาจทำบริษัท ‘ล้มละลาย’

แต่ล่าสุด เครือโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้รับเงิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐไว้ในมือเรียบร้อย โดย AMC กล่าวว่า Mudrick Capital Management ได้ตกลงที่จะลงทุนจำนวนดังกล่าวเพื่อช่วยให้เครือโรงภาพยนตร์ที่มีเงินสดอยู่รอดจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายโรงภาพยนตร์จะยังคงต้องการสภาพคล่องเพิ่มเติมอย่างน้อย 750 ล้านดอลลาร์เพื่อรองรับความต้องการใช้จ่ายเงินสดจนถึงปี 2564 เนื่องจาก บริษัทได้ประเมินเงินสดและสินทรัพย์อื่น ๆ รวมกันที่ประมาณ 320 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน และหากไม่มีสภาพคล่องเพิ่มเติมทรัพยากรเงินสดที่มีอยู่จะหมดลงในช่วงเดือนมกราคม

ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาหุ้นของบริษัทลดลงอีก 1% จากเดิมที่เคยลดลงถึง 16% หลังจากที่ Warner Bros ได้เปิดเผยว่าในปี 2021 ภาพยนตร์ทุกเรื่องของค่ายจะลงในสตรีมมิ่งพร้อมกับฉายในโรง

‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน

“จากจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงอย่างมากจนต้องปิดโรงภาพยนตร์บางแห่ง รวมถึงการเลื่อนฉายภาพยนตร์หรือไปลงสตรีมมิ่งแทน นั้นทำให้ตลาดโฮมวิดีโอหรือสตรีมมิ่งแทน ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อระดับการเข้าชมภาพยนตร์และธุรกิจของเรา” AMC กล่าว

BURBANK, CALIFORNIA – OCTOBER 29: Casey Bloys, President of Programming of HBO, speaks onstage at HBO Max WarnerMedia Investor Day Presentation at Warner Bros. Studios on October 29, 2019 in Burbank, California. (Photo by Presley Ann/Getty Images for WarnerMedia)

ปัจจุบัน AMC เปิดดำเนินการประมาณ 400 แห่งจากโรงภาพยนตร์เกือบ 600 แห่ง โดยมีที่นั่งและระยะเวลาการฉายที่จำกัด โดยโรงภาพยนตร์ในนิวยอร์กซิตี้และบางส่วนของแคลิฟอร์เนียยังคงปิดให้บริการ โดยบริษัทรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 30 พฤศจิกายน มีผู้ชมที่เข้าไปรับชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ในสหรัฐฯ ลดลง 92% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ AMC อยู่ระหว่างการพยายามเจรจาต่อรองการจ่ายค่าเช่ากับเจ้าของที่อีกครั้ง และกำลังหาทางลดหย่อนผ่อนปรนและเลื่อนเวลาออกไป หากบริษัทไม่สามารถจัดหาแหล่งที่มาของสภาพคล่องเพิ่มเติมได้ก็ต้องย้ำอีกครั้งว่าอาจต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย

Source

]]>
1310118
ประคองตัวในแบบ ‘SF’ เมื่อไม่มีหนังใหม่ ก็ต้องทำให้คน ‘คิดถึง’ โรงหนัง https://positioningmag.com/1309314 Mon, 07 Dec 2020 08:57:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309314 ถือเป็นปีที่ท้าทายที่สุดของ ‘ธุรกิจโรงภาพยนตร์’ โดย ‘เอสเอฟ (SF)’ ระบุว่าตั้งแต่ทำธุรกิจมาไม่เคยมีครั้งไหนที่ต้อง ‘ปิด’ โรงภาพยนตร์นานถึง 75 วันแบบนี้ และไม่ใช่แค่ไทย แต่กระทบกันทั่วโลก และจากที่คาดการณ์ว่าช่วงไตรมาส 4 จะฟื้นมาได้ แต่กลายเป็นว่า ‘ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์’ กลับเลื่อนฉายไปเพียงหลังจากที่ชิมลางเอา ‘Mulan’ และ ‘TENET’ ลงฉายแล้วไม่เวิร์ก

หนังใหญ่หายรายได้หด

สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แน่นอนว่าภาพรวมอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ปีนี้วิกฤตหนักจาก COVID-19 เพราะไม่ใช่แค่ต้องปิดให้บริการ เพราะแม้จะคลายล็อกดาวน์แต่โรงหนังก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้เต็มที่ และปัจจัยสำคัญเลยก็คือ ‘หน้าหนัง’ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่จะดึงดูดคนให้มาชมที่โรงภาพยนตร์ อย่างปีที่ผ่านมามีหนังอย่าง ‘Avengers : Endgame’ ขณะที่ปีนี้หนังฟอร์มยักษ์เลื่อนฉายไปปีหน้าถึง 10-20 เรื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์จึงต้องอาศัยคอนเทนต์หนังไทยมากขึ้น ส่งผลให้ปีนี้จะเป็นปีที่หนังไทยทำเงินสัดส่วนมากกว่า จากปกติหนังฮอลลีวูดจะครองสัดส่วนมากถึง 80%

“เราไม่ได้ตกใจที่สุดท้ายแล้วหนังเลื่อนเยอะ เพราะเราเข้าใจคนทำที่เขาฉายได้ครั้งเดียว ซึ่งเราเองก็คิดไว้หลายแผนเพื่อรองรับ ขณะที่ฝั่งเอเชียเองยังไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่ายุโรปที่มีบริษัทล้มละลาย แต่ที่น่าสนใจคือ หนังไทยสามารถสร้างกระแสดึงคนกลับเข้ามาโรงภาพยนตร์ได้ดี อย่าง อีเรียมซิ่ง หรือ อ้ายคนหล่อลวง ก็น่าจะได้รับการตอบรับที่ดี”

ส่องอุตสาหกรรม ‘โรงภาพยนตร์สหรัฐฯ’ 4.95 แสนล้าน ที่ยังไม่เห็น ‘แสงสว่าง’ ปลายอุโมงค์

ทำอะไรก็ได้ให้คน ‘คิดถึง’ โรงหนัง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา บริษัทพยายามฟื้นธุรกิจโรงหนัง มีการปรับกลยุทธ์การตลาดมากมาย เช่น การส่งป๊อปคอร์นเดลิเวอรี่ การเปิดช็อปจำหน่ายสินค้าจากหนังยอดนิยม การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบโจทย์คอหนังให้จองได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างประสบการณ์ดูหนังในรถยนต์ การใช้พื้นที่จัดทอล์กโชว์ต่าง ๆ และล่าสุดได้ทุ่มงบ 50 ล้านบาทเปิดตัวโรง ‘The Bed Cinema by Omazz’ ที่นำเตียงนอนมาใช้รับชมภาพยนตร์

SF x Omazz ดึงเตียงน้อนเข้าโรงหนัง เปิดตัว “The Bed Experience by Omazz®”

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกสิ่งที่ SF ไม่ได้ตั้งเป้าในด้านยอดขาย แต่ต้องการเน้นเพิ่มประสบการณ์ใหม่ในการดูหนัง และเพื่อให้คนได้ยินคำว่าโรงหนัง อยากให้คนนึกถึงโรงหนัง เพราะต้องยอมรับว่าตอนนี้ ‘คอนเทนต์’ เรา ‘อ่อน’ ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักอันดับ 1 มาจากการขายตั๋ว รองลงมาคือโฆษณา และการขายป๊อปคอร์น ที่เหลือคืออื่น ๆ อาทิ ช็อปขายของพรีเมียม การจัดงานอีเวนต์

“ตอนนี้เราพยายามใช้งานโรงภาพยนตร์ให้เต็มที่เพราะต้องยอมรับว่าคอนเทนต์ปีนี้ไม่พร้อม เช่น จัดงานอีเวนต์ต่าง ๆ แม้บางอย่างก็ไม่ได้ทำรายได้มากมายแต่คนยังนึกถึงโรงหนัง อย่างการนำหนังเก่ามาฉายเราก็เน้นเอาหนังเก่าหาดูยาก ซึ่งก็จะช่วยดึงคนที่ไม่ได้ดูหนังในโรงมานานกลับมาดูอีกครั้ง”  พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริม

ปี 2021 ปีทองแทนปี 2020

จริง ๆ ปี 2020 ถูกวางไว้เป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะโมเมนตั้มกำลังมาจากปี 2019 ที่ขึ้นพีคเพราะภาพยนตร์หลายเรื่อง โดยเฉพาะ ‘Avenger Endgame’ อีกทั้งไลน์อัพหนังที่น่าสนใจ และเมื่อไลน์อัพหนังถูกเลื่อนไปปีหน้า ดังนั้นจึงคาดว่าปี 2021 จะเป็นปีทองของอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ เช่น พยัคฆ์ร้าย 007 ตอน No Time to Die, Fast and Furious 9 ฯลฯ บริษัทจึงวางแผนลงทุนขยายโรงภาพยนตร์เพิ่ม 4 สาขา จำนวน 20 โรง จากปัจจุบันมี 64 สาขา จำนวน 400 โรง ส่วนงบการตลาดยังใช้เท่าเดิมคือ 100 ล้านบาท/ปี และในปีหน้ายังใช้เท่าเดิม

อย่างไรก็ตาม จากหน้าหนังที่หายไปจำนวนมากในปีนี้ และโรงหนังก็ยังให้บริการได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ภาพรวมอุตสาหกรรมที่เคยมีมูลค่า 6-7 พันล้านบาทในปีนี้อาจหายไปเกิน 50% เช่นเดียวกับ SF อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 เดือนสุดท้าย ยังมีหนังฟอร์มยักษ์ที่จะช่วยปลุกตลาดโรงภาพยนตร์ให้ฟื้นตัวบ้าง โดยเฉพาะ Wonder Woman 1984, Monster Hunter ดังนั้นอาจต้องรอดูอีกที

ยังเชื่อว่า สตรีมมิ่ง ทดแทนไม่ได้

สตรีมมิ่งเป็นอีกหนึ่งในหัวข้อความ ‘กังวล’ ของธุรกิจโรงภาพยนตร์ ดังนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ SF พยายามพัฒนาประสบการณ์ของการรับชมภาพยนตร์ในโรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมองว่า ‘คอนเทนต์’ เป็นอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้สตรีมมิ่งกับโรงภายนตร์ อย่างในสตรีมมิ่งอาจจะเน้น ‘ซีรีส์’ ดังนั้น สำหรับการรับชมภาพยนตร์ให้ได้อรรถรสยังไงก็ต้องรับชมในโรงภาพยนตร์ โดยปัจจุบันราคาตั๋วเฉลี่ยอยู่ที่ 160 บาท โดยในปีนี้ปีหน้ายังไม่มีการปรับ เนื่องจากเห็นว่ากำลังซื้อผู้บริโภคยังไม่ฟื้น ดังนั้นต้องยังประคองกันต่อไป

“เราต้องยอมรับก่อนว่ามันกระทบ เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาตัวเอง แต่ไม่ใช่แค่สตรีมมิ่ง มันคืออะไรก็ตามที่แย่งความสนใจไป ดังนั้นตอนนี้เราไม่ได้มองว่า Major เป็นคู่แข่ง แต่ต้องร่วมมือกันดึงคนเข้าโรงเพื่อสู้กับทุกอย่าง ทั้งคอนเสิร์ต เกมมิ่ง”

‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน

เรายังมีความเชื่อว่าถ้าคอนเทนต์ถึงลูกค้าจะกลับมา แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะทำให้เขากลับมาได้แค่ไหน ซึ่งเราก็ต้องทำให้เขาได้ยินคำว่าโรงหนัง และสุดท้าย เรายังต้องอยู่กับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนไปเรื่อย ๆ เราก็ต้องจัดการกับมันให้ได้

]]>
1309314
‘Warner Bros’ ประกาศ หนังใหม่ทุกเรื่องปี 2021 จะฉายโรงและลง ‘สตรีมมิ่ง’ พร้อมกัน https://positioningmag.com/1309097 Fri, 04 Dec 2020 04:22:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1309097 หลังจาก ‘Warner Bros’ สร้างเซอร์ไพรส์ใหญ่ปลายปีโดยการฉายหนัง ‘Wonder Woman 1984’ ในช่วงสิ้นปีนี้ พร้อมกับจะลงใน ‘HBO Max’ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไปพร้อมกันด้วย ล่าสุด Warner Bros ก็ประกาศว่าหนังใหม่ในปี 2021 ทุกเรื่องจะฉายโรงพร้อมกับลงใน HBO Max ในวันเดียวกันทั้งหมด

ก่อนหน้านี้ Disney เองก็ได้นำภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์อย่าง ‘Mulan’ เข้าฉายใน ‘Disney+’ แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่กำลังโตแบบติดจรวด ส่งผลให้ Warner Bros เองก็เดินตามรอยโดยส่ง ‘Wonder Woman 1984’ ลงฉายในช่วงสิ้นปี พร้อมกับปล่อยลง HBO Max พร้อมกัน และตามมาด้วยหนังใหม่ในปี 2021 ทั้งหมดจะทำตามโมเดลนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ภาพยนตร์จะถูกสตรีมบน HBO Max พร้อมกันกับวันที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ทั้งในรูปแบบของ 4K Ultra HD และ HDR แต่การภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ จะมีอายุเพียง 1 เดือน ส่วนภาพยนตร์ที่ฉายโรงก็จะอยู่จนกว่าจะหมดโปรแกรม ซึ่งปัจจุบันค่าแพ็กเกจของ HBO Max อยู่ที่เก็บเงิน 15 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 465 บาทต่อเดือน ในขณะที่ข้อมูลของ National Association of Theatre Owners ระบุว่า ราคาเฉลี่ยของตั๋วภาพยนตร์ 2 ใบในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 18.32 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 568 บาท ซึ่งแปลว่าการดูผ่านสตรีมมิ่งนั้นประหยัดกว่า

สำหรับรายชื่อภาพยนตร์ในปี 2021 ที่จะลง HBO Max ได้แก่ The Little Things, Judas and the Black Messiah, Tom & Jerry, Godzilla vs. Kong, Mortal Kombat, Those Who Wish Me Dead, The Conjuring: The Devil Made Me Do It, In The Heights, Space Jam: A New Legacy, The Suicide Squad, Reminiscence, Malignant, Dune, The Many Saints of Newark, King Richard, Cry Macho และ Matrix 4

“ไม่มีใครต้องการให้ภาพยนตร์กลับมาฉายบนจอใหญ่ไปมากกว่าเราอีกแล้ว และเราทราบดีว่าภาพยนตร์เรื่องใหม่ ๆ เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจโรงภาพยนตร์ แต่เราต้องสร้างสมดุลให้กับความเป็นจริงที่ว่าโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะให้บริการได้ไม่เต็มที่ ด้วยมาตรการการเว้นระยะห่างในปี 2021” Ann Sarnoff ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของของ Warner Bros กล่าว

The AMC theatre is pictured during the outbreak of the coronavirus disease (COVID-19), in Burbank, California, U.S., June 30, 2020. Picture taken June 30, 2020. REUTERS/Mario Anzuoni

ทั้งนี้ หลังจากที่ Warner Bros ได้เปิดเผยทิศทางนี้ออกมา หุ้นของ AMC Entertainment เจ้าของโรงภาพยนตร์รายใหญ่ที่สุดของโลกลดลงเกือบ 16% ส่วนคู่แข่งอย่าง Cinemark ลดลงประมาณ 22% โดยซีอีโอของ AMC ก็ได้ออกมาแถลงการณ์ในทันทีว่า “Warner Bros กำลังสละผลกำไรจากโรงภาพยนตร์เพื่อเพิ่มยอดให้กับ HBO Max”

Source

]]>
1309097