โรงแรมหรู – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 09 Mar 2022 13:29:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก “โซเนวา” แบรนด์รีสอร์ตหรูคืนละ 5 แสนบาทบนเกาะกูด ใครคือเจ้าของ? https://positioningmag.com/1376799 Tue, 08 Mar 2022 14:42:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376799 เป็นข่าวฮือฮาในสังคมเมื่อคนดังเล่านาทีหนีตายไฟไหม้ในวิลล่าหรูคืนละ 5 แสนที่ “โซเนวา คีรี เกาะกูด” ล่าสุดฝั่งรีสอร์ตหรูออกแถลงแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบเหตุ แต่ยืนยันว่าวิลล่าทุกหลังติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟ ไปทำความรู้จักกันว่าแบรนด์ “โซเนวา” มีที่มาอย่างไร และใครเป็นเจ้าของ

เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2565 “หมอโอ๋” เพจ “เลี้ยงลูกนอกบ้าน” ได้โพสต์เล่านาทีชีวิต เมื่อครอบครัวทั้ง 15 คนต้องหนีตายจากไฟไหม้ระหว่างพักผ่อนที่วิลล่าหรูแห่งหนึ่ง แม้จะรอดชีวิตทุกคน แต่หมอโอ๋เองกระดูสันหลังหักและบาดเจ็บศีรษะ ขณะที่สามีบาดเจ็บที่เอ็นข้อมือ

หมอโอ๋ยืนยันว่าในโรงแรมไม่มีเครื่องตรวจจับควัน ไม่มีสัญญาณเตือนภัย และไม่มีสปริงเกอร์พ่นน้ำ ซึ่งทำให้สังคมตระหนกว่าโรงแรมระดับ 5 ดาว และวิลล่าหลังดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายถึงคืนละ 5 แสนบาท เหตุใดจึงไม่มีระบบความปลอดภัยใดๆ

>> อ่านโพสต์จากหมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน เล่านาทีระทึกหนีไฟไหม้

เวลาต่อมา “โซเนวา คีรี เกาะกูด” ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่ามีเหตุไฟไหม้ที่วิลล่า 63 เมื่อเช้าวันที่ 6 มี.ค. 2565 จริง ใจความสำคัญแสดงความเสียใจต่อแขกผู้เข้าพัก และกล่าวถึงระบบความปลอดภัยที่ครบถ้วนของรีสอร์ต มีเครื่องตรวจจับควันในทุกห้องนอน และมีทีมดับเพลิงที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ทำให้ควบคุมเพลิงไม่ให้ลามไปยังส่วนอื่นๆ ของรีสอร์ตได้

สาเหตุของไฟไหม้ครั้งนี้และการทำงานของระบบป้องกันอัคคีภัยต้องติดตามการสืบสวนต่อไป แต่ในระหว่างนี้ มาทำความรู้จักกับแบรนด์ “โซเนวา” (Soneva) ซึ่งอาจจะไม่ใช่แบรนด์ที่มีพอร์ตโรงแรมจำนวนมาก แต่ถือเป็นแบรนด์รีสอร์ตหรูที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล

 

เปิดแห่งแรกที่ “มัลดีฟส์” ชูจุดขาย “สโลว์ไลฟ์”

เจ้าของแบรนด์ “โซเนวา” คือ Sonu Shivdasani นักธุรกิจชาวอินเดีย และ Eva ภรรยาของเขา (ชื่อของแบรนด์ Soneva มาจากชื่อของทั้งคู่ผสมกัน) พวกเขาเริ่มก่อตั้งโรงแรมแห่งแรกในมัลดีฟส์เมื่อปี 1995

โดย Sonu วางคอนเซ็ปต์เปลี่ยนนิยามของ “โรงแรมระดับลักชัวรี” ในขณะนั้นที่มักจะกำหนดให้แขก ‘ผูกไทใส่สูท’ แต่เมื่อเป็นโรงแรมลักชัวรีกลางมหาสมุทร โซเนวาจึงเปลี่ยนให้สตาฟแต่งตัวสบายๆ และไม่ใส่รองเท้า พร้อมกระตุ้นให้แขกใช้ชีวิต “สโลว์ไลฟ์” ในโรงแรม ตัดขาดเทคโนโลยีและโลกภายนอก เพื่อพักผ่อนแบบใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งยังคงเป็นคอนเซ็ปต์ของโซเนวาจนถึงปัจจุบัน

ปรากฏว่าคอนเซ็ปต์ของเขาประสบความสำเร็จ และบริษัทได้ขยายโรงแรมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันแบรนด์มีโรงแรม 3 แห่งในมัลดีฟส์ (ไม่นับ 1 แห่งที่ถูกขายออกจากพอร์ตไปแล้ว) และอีก 1 แห่งในไทยคือ โซเนวา คีรี เกาะกูด ที่เปิดเมื่อปี 2009

โซเนวา
โซเนวา คีรี เกาะกูด (Photo: FB@discoversoneva)

ไม่เฉพาะแบรนด์โซเนวา ระหว่างเส้นทางการขยายธุรกิจ Sonu มีการเปิดแบรนด์ใหม่คือ เอวาซอน (Evason) และ ซิกเซ้นส์ (Six Senses) แต่ต่อมาในปี 2012 บริษัทตัดสินใจขายแบรนด์สองแบรนด์หลังนี้ออกไปให้ Pegasus Capital Advisors และมีการซื้อขายเปลี่ยนมือแบรนด์ ซิกเซ้นส์ อีกครั้งเมื่อปี 2019 ไปอยู่ภายใต้เครือ IHG

มีเฉพาะโซเนวาที่ยังเป็นลูกรักที่ Sonu ดูแลต่อเนื่อง โดยข้อมูลเมื่อปี 2019 เขาและภรรยายังถือหุ้นใน Soneva Holdings อยู่ 60-65% ส่วนอีก 35-40% ถือโดยไพรเวทอิควิตี้ 2 แห่ง คือ GIC กองทุนจากสิงคโปร์ และ KSL Capital Partners จากสหรัฐฯ

อนาคตของแบรนด์โซเนวามีแผนการขยายโรงแรมแห่งต่อๆ ไปแล้ว โดยจะมีโรงแรมเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่งในมัลดีฟส์ เริ่มก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปี 2021 รวมถึงเปิดโลเคชันใหม่ทำเลเกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น จะเริ่มก่อสร้างปี 2023

Soneva Fushi รีสอร์ตแรกของแบรนด์ในมัลดีฟส์

คอนเซ็ปต์ “รักษ์โลก” แต่เจอดราม่าถางป่า

ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุไฟไหม้ เมื่อไม่กี่ปีมานี้โซเนวา คีรีก็เคยเผชิญเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นอื่นมาก่อนแล้ว เนื่องจากรีสอร์ตวางคอนเซ็ปต์ ‘eco-friendly’ รักษ์โลกและอยู่กับธรรมชาติ

คอนเซ็ปต์ใกล้ชิดธรรมชาติ (Photo: FB@discoversoneva)

จนกระทั่งเมื่อปี 2018 รีสอร์ตมีการเปิดสนามบินส่วนตัวบนเกาะไม้ซี้ใกล้เคียง เพื่อให้แขกสามารถใช้เครื่องบินขนาดเล็กบินมาลงได้ และต่อเรือสปีดโบ๊ทขึ้นบนเกาะกูดได้สะดวก แต่สนามบินดังกล่าวต้องถางป่าบนเกาะไม้ซี้เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ในอินเทอร์เน็ตว่าคอนเซ็ปต์รีสอร์ตกับการก่อสร้างดูจะสวนทางกันหรือไม่

ทั้งนี้ เหตุการณ์ไฟไหม้ทำให้ข้อครหาเรื่องการรุกป่าของโซเนวา คีรีกลับมาอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเกาะช้างได้ย้ำว่า พื้นที่เกาะไม้ซี้ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

ต้องติดตามต่อว่าเหตุไฟไหม้ครั้งนี้จะกระทบกับความเชื่อมั่นต่อโรงแรมหรือแบรนด์มากแค่ไหนในระยะยาว จากเดิมที่โรงแรมถือเป็นจุดหมายปลายทางสุดฮิตของเหล่าเซเลบ ดารา และกลุ่มเศรษฐีเมืองไทยมานาน

ที่มา: Soneva, Skift, Phuket News, IHG

]]>
1376799
หลุยส์ วิตตอง เทแสนล้านบาทซื้ออาณาจักรโรงแรมหรู Belmond https://positioningmag.com/1203122 Mon, 17 Dec 2018 01:29:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203122 LVMH หรือบริษัท Louis Vuitton Moet Hennessy ต้นสังกัดแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton และ Christian Dior ประกาศเทเงิน 3,200 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 105,046 ล้านบาท ซื้อหุ้นในบริษัท Belmond ซึ่งเป็นเจ้าของโรงแรมที่ตั้งในสถานที่สำคัญของหลายเมืองทั่วโลก ถือเป็นการลงทุนเพื่อเสริมพอร์ตธุรกิจโรงแรมหรูที่ LVMH มีอยู่แล้ว ให้สามารถเติบโตงอกเงยขึ้นมาได้อีกอย่างก้าวกระโดด

มนต์ขลังของ Belmond คืออาณาจักรโรงแรมหรูที่มีชื่อเสียงมากในยุโรป ตัวอย่างเช่นโรงแรม Belmond Hotel Cipriani ซึ่งถือเป็น landmark สำคัญในเมืองเวนิส นอกจาก Cipriani บริษัทใหญ่อย่าง Belmond ยังเป็นเจ้าของหรือเป็นหุ้นส่วนที่รับหน้าที่บริหารโรงแรมหรู, ร้านอาหาร และบริการเรือสำราญและรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวกว่า 46 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่นทั่วโลก

สำหรับผู้ผลิตสินค้าหรูอย่าง LVMH นอกจากแบรนด์ Louis Vuitton หรือแบรนด์แฟชั่นความงาม Christian Dior ตัว LVMH ก็มีโรงแรมอยู่แล้วในมือเช่น Cheval Blanc ในสกีรีสอร์ตอันโด่งดัง Courchevel ซึ่งตั้งอยู่ที่เทือกเขาแอลป์ของฝรั่งเศส หรือ French Alps ยังมีเชนโรงแรม Bvgalri ที่ปักหลักในเมืองใหญ่ทั้งมิลาน ลอนดอน ดูไบ ปักกิ่ง บาหลี เซี่ยงไฮ้ และกำลังจะขยายไปปารีส มอสโก และโตเกียวในช่วงปี 2020-2022

เปิดตลาดการท่องเที่ยว high-end

ดีลกับ Belmond ถูกวิเคราะห์ว่าจะทำให้ LVMH สามารถเปิดตลาด high-end travel ที่เน้นการสร้างสุดยอดประสบการณ์ให้นักท่องเที่ยว ตลาดดังกล่าวถือเป็น sector ที่เติบโตร้อนแรงมากอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Belmond Sanctuary Lodge

ภายใต้ดีล Belmond สิ่งที่ LVMH จะได้รับคืออสังหาริมทรัพย์ที่ Belmond สามารถสร้างความโดดเด่นในหลายแหล่งท่องเที่ยว เช่น Belmond Sanctuary Lodge โรงแรมแห่งเดียวที่ตั้งภายในป้อม Machu Picchu ทางภาคใต้ของเปรู หรือโรงแรม Hotel Splendido ใน Portofino ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งอิตาเลียนริเวียร่า รวมถึงโรงแรม Belmond Copacabana Palace ในเมืองรีโอเดอจาเนโร 

สิ่งที่น่าสนใจจากดีลนี้ คือการตอกย้ำว่า LVMH เป็นดาวเด่นรายล่าสุดที่พร้อมจะเขย่าตลาดการท่องเที่ยวและการบริการ high-end เนื่องจากก่อนหน้านี้ AccorHotels เชนโรงแรมใหญ่ก็ประกาศซื้อ FRHI ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของโรงแรมกลุ่ม luxury brand อย่าง Fairmont และ Raffles ถือเป็นความพยายามในการเสริมให้ AccorHotels มีโรงแรมชื่อหรูไว้ในมือมากขึ้นเพื่อโอกาสสร้างกำไรที่เหนือกว่า

เป็นไปตามกลยุทธ์ LVMH ระยะยาว

สำหรับกรณีของ Belmond และ LVMH นักลงทุนบางรายอาจสงสัยว่าการควบรวมกิจการนี้ดูเหมือนจะอยู่นอกจากกลุ่มธุรกิจหลักของ LVMH แต่นักวิเคราะห์ฟันธงว่าดีลนี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ในระยะยาวของ LVMH ที่มุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ที่หรูหราเต็มรูปแบบแก่ผู้บริโภค

เพราะเหตุนี้ LVMH จึงยอมเทเงินซื้อ Belmond ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาด โดย LVMH กล่าวว่าจะจ่ายเงินซื้อ Belmond ในราคา 25 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น Belmond ถือว่าเหนือกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของราคาปิดตลาดหุ้น Belmond เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา

คาดว่าดีลนี้จะปิดได้ในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า (2019) มูลค่าตลาดของ Belmond ขณะนี้อยู่ที่ 2,600 ล้านเหรียญ และเมื่อรวมหนี้สิน จึงถูกประเมินไว้ที่ 3,200 ล้านเหรียญ

สำหรับ Belmond ปัจจุบันบริษัทมีกำไร 140 ล้านเหรียญก่อนหักภาษีและค่าเสื่อมราคา รายได้รวมคือ 572 ล้านเหรียญในช่วงสิงหาคม 2017 ถึง กันยายน 2018 อย่างไรก็ตาม หุ้น LVMH ร่วงลง 1.6% อยู่ที่ 251.65 ยูโรเพราะตลาดหุ้นยุโรปอ่อนตัว โดยนักวิเคราะห์ส่งสัญญาณถึงนักลงทุนในด้านบวก เพราะ Belmond ทำเงินได้สูงหลายเท่าตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ทำให้ Belmond ถูกมองว่าจะช่วยให้ LVMH สามารถเพิ่มยอดขายได้อย่างเป็นรูปธรรม.

ที่มา

]]>
1203122