กรุงศรีอยุธยา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Dec 2021 11:56:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดอินไซต์ ‘ออมเงิน’ ของคนรุ่นใหม่ในเเอปฯ ‘Kept’ เเย้มโอกาสเพิ่มบริการออม ‘คริปโต’ https://positioningmag.com/1364775 Wed, 01 Dec 2021 09:29:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364775 เปิดอินไซต์พฤติกรรมผู้ใช้งาน แอปฯ “Kept by krungsri” เเพลตฟอร์มบริหารจัดการเงิน ช่วยคนรุ่นใหม่ ‘ออมเงิน’ ได้ง่ายขึ้น หลังเปิดตัวมาได้ครบ 1 ปี กับฐานลูกค้า 2.2 แสนราย บัญชีใหม่ 5 แสนบัญชี ตั้งเป้าอีก 3 ปีข้างหน้า ดึงลูกค้าเพิ่มเป็น 1 ล้านราย เงินฝากรวมแตะ 3 แสนล้านบาท เเย้มกำลังศึกษาถึงการออกผลิตภัณฑ์การลงทุนทางเลือกใหม่ เมื่อคนหันสนใจคริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้น

Kept มีรูปแบบการออมเงิน ตามแนวคิด ‘1 กระเป๋า หลายกระปุก’ ให้ลูกค้าตั้งเป้าหมายการออมได้ เน้นการใช้งานง่าย มีลูกเล่นเพื่อความสนุก และฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การเก็บออมเงินหลากหลาย โดยปัจจุบันกว่า 80% ของผู้ใช้งาน Kept เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Y และ Gen Z จำนวนการทำรายการเติบโตมากกว่า 3 เท่า เเละมียอดเงินฝากอัตราการเติบโต 100% จากสิ้นปีก่อน

ท่ามกลางการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของคนไทยเปลี่ยนไปพอสมควร ‘ดมิศา พิศิษฐวานิช’ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านผลิตภัณฑ์และการตลาดลูกค้ารายย่อย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ให้ข้อมูลว่า คนไทยเริ่มให้ความสำคัญในการออมมากขึ้น มีการประหยัด ลดการใช้จ่ายและหันมาเก็บออมเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็หันมาใช้ดิจิทัลในการบริหารจัดการเงิน พร้อมๆ กับการมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นในทุกช่วงวัย

จากข้อมูลของ We are Social เเละ Hootsuite พบว่า ในช่วงวิกฤตโรคระบาด ปี 2563 คนไทยทำธุรกรรมผ่านโมบายเเบงกิ้งเป็นอันดับ 1 ของโลก คิดเป็น 68.1% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต โดยประเด็นที่น่าสนใจคือ 74.7% ตอบว่ามีเงินออม เเต่มีเพียง 38% เท่านั้นที่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉินเพียงพอ เเละ 84.7% บอกมีการวางเเผนออมเพื่อเกษียณ เเต่ในจำนวนนี้ มีเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น ที่สามารถทำได้จริงตามเเผน

เก็บเงินฉบับคน Gen Y – Z 

หลังแอปฯ “Kept” ที่เปิดให้บริการมาได้ 1 ปี พบว่ามีรายการเก็บเงินอัตโนมัติสูงถึง 5 ล้านครั้ง โดยฟังก์ชันที่ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากลูกค้ามากที่สุด คือ ‘การได้เห็นดอกเบี้ยทุกวัน’ ทำให้มีกำลังใจในการเก็บเงินมากขึ้น ใช้สนุกเหมือนเล่นเกม เปิดบัญชีได้ง่ายเเละบริการช่วยเหลือด้วย Live Chat

สำหรับพฤติกรรมลูกค้าการใช้แอปฯ Kept และการบริหารเก็บออมที่น่าสนใจ คือ นิยมใช้บริการ NDID เป็น
ช่องทางยืนยันตัวตนที่ไช้ในการสมัครแอปมากที่สุด เเละ Live chat เป็นก็ช่องทางการติดต่อที่ลูกค้านิยมที่สุด

ส่วนสไตล์การออมเงินของ Gen Y พบว่ากว่า 70% ของเงินเก็บมาจากการ ‘ตั้งใจเก็บ’ และ 30% ของลูกค้า
ที่ฝากเงินเข้ากระปุก Grow ไม่เคยถอนเลย ตรงข้ามกับ Gen Z ที่กว่า 70% ของเงินเก็บมาจาก ‘การแอบเก็บไม่รู้ตัว’ เช่นการใช้โหมดเเอบเก็บครั้งละ 10 บาท เเอบเก็บ 10% ในทุกการใช้จ่าย เเละสั่งเก็บวันละ 10 บาท

โดยเฉลี่ยลูกค้า Gen Y จะฝากเงินเฉลี่ย 5 หมื่นบาท ซึ่งสัดส่วนลูกค้าผู้หญิงจะเน้น ‘เก็บเงินบ่อยๆ’ แต่กลุ่มลูกค้าผู้ชายจะเน้น ‘เก็บเยอะ’ ไม่บ่อยเเต่วงเงินสูงกว่า

Kept ตั้งเป้าผู้ใช้ ‘ล้านราย’ ในปี 67

จากแนวโน้มพฤติกรรมการใช้ดิจิทัลเเบงกิ้ง ธนาคารจึงตั้งเป้าจะมีจำนวนผู้ใช้งาน “Kept by krungsri” ภายในปี 2567 เพิ่มเป็น 1 ล้านคน และจำนวนการเปิดบัญชีใหม่อยู่ที่ 3 ล้านบัญชี และมียอดเงินฝากที่ 3 แสนล้านบาท ตามภารกิจสนับสนุนคนไทยให้เก็บออมอย่างเป็นระบบ

“Kept by krungsri” มีฟีเจอร์หลักๆ ได้แก่ บัญชี Kept ที่เอาเงินไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน บัญชี Grow เป็นกระปุกเก็บเงินก้อนรับดอกเบี้ยสูง 1.5% และบัญชี FUN กระปุกไว้เก็บเล็กผสมน้อยสามารถเก็บอัติโนมัติทุกวัน

เเละเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้งานมากขึ้น ได้มีการได้เปิดตัวบัญชีใหม่ Together savings หรือกระปุก Together เป็นกระปุกที่ดีไซน์ฟีเจอร์ให้ตอบโจทย์การเก็บออมเงินแบบมีเป้าหมายจะเก็บคนเดียว หรือจะเป็นกลุ่ม กับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก

โดยทุกคนในกลุ่มสามารถดูยอดเงินในกระปุก มองเห็นการเข้าออกของเงินร่วมกัน และยังสามารถใส่ Note เมื่อทำรายการเพื่อช่วยให้รู้ว่าใช้เงินไปกับอะไรบ้าง หรือได้เงินเพิ่มเข้ามาจากอะไร และจะมีการแจ้งเตือนไปยังสมาชิกเมื่อมีเงินออกทุกครั้ง

ทั้งนี้ กระปุก Together ไม่ใช่บัญชีร่วม แต่เปิดให้คนสนิทเข้ามามีส่วนร่วมดูและเก็บออมร่วมกันเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

ศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ ‘ออมคริปโต’

เมื่อถามว่า จากเเนวโน้ม ‘เงินเฟ้อ’ ที่เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้คนเลือกออมเงินน้อยลง หรือเลือกไปลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ
Kept มีกลยุทธ์การรับมืออย่างไรบ้าง ผู้บริหารกรุงศรีฯ ตอบว่า จะมีการพัฒนานวัตกรรมเเละเพิ่มฟีเจอร์หลากหลาย
ตอบโจทย์ ความสะดวกสะบาย การบริการเเละผลตอบเเทนดอกเบี้ย รวมไปถึงการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนใหม่ๆ ที่ลูกค้าสนใจ เเต่อย่างไรลูกค้าก็ยังต้องการมีกระเป๋าไว้ออมเงินที่มั่นคงเพื่อใช้ยามฉุกเฉินด้วย

โดยธนาคารยังคงดูอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับภาพรวมตลาด และทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ในช่วงที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าหลักอย่าง Gen Y และ Gen Z สอบถามถึงการลงทุนเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโตเคอร์เรนซีเข้ามามาก ซึ่งทางธนาคารกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาโอกาสและแนวทางการออมคริปโตฯ เพราะในเครือกรุงศรีฯ เองก็มีการลงทุนในอีโคซีสเต็ม อย่าง zipmex , ฟินโนเวต ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานกำกับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การให้บริการเป็นไปตามกฎระเบียบ มองหาโอกาสต่อยอดเงินที่เหมาะสม “ต้องติดตามว่า Kept จะต่อยอดต่อไปอย่างไร เพราะเสียงจากลูกค้าจะเป็นตัวชี้นำให้เรา”

 

]]>
1364775
ทิศทางตลาดเงินปี 64 กรุงศรีฯ มอง “บาทไทยยังแข็ง” แตะ 29.25 บาท/ดอลลาร์ ทุนต่างชาติไหลเข้า https://positioningmag.com/1308787 Wed, 02 Dec 2020 15:43:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1308787 ทิศทางตลาดเงินปี 2564 จะผันผวนน้อยลงกว่าปีนี้ เเต่ยังมีความไม่เเน่นอนสูงเเบงก์กรุงศรีฯ ประเมินเงินบาทเเข็งค่ายาวถึงสิ้นปี 64 เเตะ 29.25 บาท จากเเนวโน้มเงินดอลลาร์ที่ยังอ่อนค่า มองกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะอาเซียน ส่วนภาพรวมการลงทุนจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่น

ตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวถึง การคาดการณ์ตลาดเงินในปี 2564 ว่ายังมีความผันผวนเเละเงินบาททีเเนวโน้มเเข็งค่าจากปัจจัยทั้งในเเละนอกประเทศ

  • ไตรมาส 1 ปี 2564 คาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 30.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 2 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาส 3 ปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • ไตรมาสปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 29.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยต่างประเทศหลักๆ มาจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง (ทำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ) จากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายของสหรัฐฯ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤต COVID-19 ทั้งการขยายวงเงิน QE การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ (0.00-0.25%) ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ มองว่าสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐฯ เเละการกีดกันทางการค้าต่างๆ ที่มีแนวโน้มลดความรุนแรงลง จะมีส่วนช่วยกดดันค่าเงินหยวนและสกุลคู่ค้าในภูมิภาค ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เงินทุนไหลกลับเข้าสู่กลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่างอาเซียน รวมถึงประเทศไทยด้วย

ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาด นโยบายการเงินและการคลังของยุโรปที่จะรับมือต่อโรคระบาด การพัฒนาและกระจายวัคซีน รวมถึงข้อสรุปของ Brexit ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

ส่วนปัจจัยในประเทศ คือการที่บัญชีเดินสะพัดของไทยยังเกินดุลเล็กน้อย เเต่การท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวช้า มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อชะลอเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็ว รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ให้ไปลงทุนในต่างประเทศ 

ปัจจัยที่ชี้นำเงินบาทในปีหน้า เราให้น้ำหนักกับปัจจัยภายนอกเป็นหลักประมาณ 70-80% ที่เหลือเป็นปัจจัยในประเทศ

สำหรับภาคการส่งออกของไทยนั้น จะยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่เคยชินกับค่าเงินที่อยู่ในระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่หากเเนวโน้มเงินบาทมีโอกาสจะแข็งค่าถึงระดับ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน

ขณะที่ทิศทางเศรษฐกิจไทยและอัตราดอกเบี้ย มองว่า เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึง มีความเสี่ยงขาลงสูงมาก โดยมีจุดเปราะบางสำคัญ คือปัญหาว่างงานและหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งสูง โดยศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดว่า GDP ปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.3% แม้ว่าปี 2563 นี้จะติดลบราว 6.4% คาดว่า กนง. จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปี 2564 ไว้ที่ 0.5%”

ด้านภาพรวมการลงทุนในปี 2564 มองว่าจะราบเรียบแต่ไม่ราบลื่นเพราะแนวโน้มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาก สะท้อนจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระดับสูงกว่า 1,400 จุด

ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น คาดว่าจะอยู่ระดับต่ำ ตามแนวโน้มการตรึงดอกเบี้ยนโยบายส่วนการระดมทุนจากภาคเอกชนและภาครัฐส่งผลให้อัตราผลตอบแทนระยะยาวสูงขึ้นเล็กน้อย

 

]]>
1308787