กลุ่มเสี่ยง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 13 Aug 2021 09:21:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รพ.หลายแห่ง เริ่มเปิดจองฉีด ‘วัคซีนไฟเซอร์’ ให้ประชาชน ‘กลุ่มเสี่ยง’ มีเงื่อนไขอะไร ใครมีสิทธิ์ฉีดบ้าง ? https://positioningmag.com/1346686 Fri, 13 Aug 2021 08:23:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346686 หลังจากที่ไทยได้รับริจาควัคซีนป้องกันโควิด-19 ไฟเซอร์ (Pfizer) จำนวน 1.5 ล้านโดส จากรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคม (เเละคาดว่าจะได้รับเพิ่มอีก 1 ล้านโดสเป็น 2.5 ล้านโดส) นั้น

ต่อมา กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการจัดสรรและส่งมอบวัคซีนไฟเซอร์ไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ให้ ‘กลุ่มเเรก’ คือบุคลากรทางการแพทย์ ‘ด่านหน้า’ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ จำนวน 700,000 โดส

อ่าน: เปิดไทม์ไลน์ วัคซีน ‘ไฟเซอร์’ จากสหรัฐฯ 1.5 ล้านโดส จะนำไปฉีดใครบ้าง ?

ล่าสุด วันนี้ (13 ส.ค.) หลายโรงพยาบาล ได้เปิดให้ประชาชนคนไทย ‘กลุ่มที่ 2’ ซึ่งเป็นผู้มี ‘ภาวะเสี่ยงสูง’ ครอบคลุมเด็กที่ป่วย 7 โรคเสี่ยง หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคอ้วน ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิดเลย เข้าลงทะเบียนรับวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ ได้ฟรี จำนวน 645,000 โดส

#บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนไฟเซอร์

1. กลุ่มอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และเป็นโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้เเก่

– โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง
– โรคหัวใจและหลอดเลือด
– โรคไตเรื้อรัง
– โรคหลอดเลือดสมอง
– โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด ภูมิคุ้มกันบำบัด
– โรคเบาหวาน
– โรคอ้วน

2. กลุ่มสตรีมีครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
3. กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป

หลักฐานที่ต้องใช้ในการฉีดวัคซีนโควิด ได้เเก่
-บัตรประชาชน
-ใบแสดงหลักฐานว่าเป็นโรคเรื้อรัง (กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ใช้เฉพาะบัตรประชาชน)

“โดยต้องไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดใดๆ เข็มแรกมาก่อน วันเเละเวลา ข้อกำหนดเรื่องภูมิลำเนา เป็นไปตามที่ทางรพ.กำหนด เเละต้องลงทะเบียนตามช่องทางติดต่อของโรงพยาบาลนั้นๆ” (ดูรายละเอียดที่รูป)

ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มต่อไปที่จะมีการจัดสรรวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคมาจากสหรัฐฯ คือ ‘กลุ่มที่ 3’ ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย ที่เป็นผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เเละผู้สูงอายุ รวมถึงนักเรียน นักศึกษา นักการทูต นักกีฬา ที่มีกำหนดเดินทางไปศึกษาหรือแข่งขันกีฬาในต่างประเทศ จำนวน 150,000 โดส
.
โดยชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย ทุกกลุ่มอายุ และทุกจังหวัดของประเทศ สามารถลงทะเบียนได้ที่ เว็บไซต์กรมการกงสุล https://expatvac.consular.go.th/ เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็น ‘เข็มแรก’ ได้เเล้ว
นอกจากนี้ ยังมี ‘กลุ่มที่ 4’ ที่จัดสรรจัดไว้เพื่อทำการศึกษาวิจัย (ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม) อีก 5,000 โดส

]]>
1346686
ระวัง! 8 โรคประจำตัว เสี่ยงอาการรุนแรงหากติด COVID-19 https://positioningmag.com/1313232 Thu, 07 Jan 2021 14:51:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313232 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ทราบว่าอาการแสดงเกิดขึ้นได้หลากหลาย ผู้ป่วยบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการหนักมากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โดยอาการรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้กับกลุ่มที่เสี่ยง เช่น เด็กเล็ก, คนท้อง, ผู้สูงอายุ กลุ่มความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว มาดูกันว่าคุณหรือคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงนี้หรือไม่ คำแนะนำโดย นพ.ประยุทธ อังกูรไกรวิชญ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเวชธานี 

1. ความดันโลหิตสูง เนื่องจากเชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ถึง 9%

2. เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยทั่วไปแล้วการทำงานของหัวใจ และระบบไหวเวียนเลือดในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าคนทั่วไป อีกทั้งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ หากติดเชื้อ COVID-19 จะยิ่งทำให้โรครุนแรงขึ้น เสี่ยงเกิดเยื่อบุหลอดเลือดอักเสบทั่วร่างกายจนทำให้การไหลเวียนเลือดบกพร่อง เซลล์ และเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน หัวใจทำงานหนักขึ้นและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น หัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดอุดตันเฉียบพลันในหลอดเลือดหัวใจ ปอดอักเสบรุนแรงและภาวะระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน อีกทั้งยังทำให้ควบคุมโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมยากขึ้น เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน

3. เบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเชื้อจะเจริญเติบโตได้ดีเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงและร่างกายมีภูมิคุ้มกันน้อยลง อีกทั้งผู้ป่วยเบาหวานยังมีระดับเอนไซม์โปรตีน ACE2 receptors สูงขึ้น เมื่อรับเชื้อไวรัสเข้าไปแล้วจะทำให้ผนังหลอดเลือดบางลง เกิดภาวะปอดบวม มีน้ำคั่งในถุงลม เป็นเหตุให้การหายใจล้มเหลวได้ง่าย

4. ไตเรื้อรัง ผู้ป่วยฟอกไตและปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนทั่วไป จึงเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายและรุนแรงขึ้น ควรต้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

5. หอบหืด ปอดอักเสบเรื้อรัง ซิสติกไฟโบรซิส COVID-19 มีผลกระทบโดยตรงต่อปอด ซึ่งในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคปอดอยู่แล้วอาจทำให้โรคกำเริบหรือมีอาการปอดบวมได้ง่ายกว่าผู้ป่วยทั่วไป

6. ตับแข็ง ตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงผู้ป่วยปลูกถ่ายตับที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน และผู้ป่วยมะเร็งตับที่กำลังรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เสี่ยงเกิดอาการรุนแรงได้เพราะยาที่ใช้รักษา COVID-19 อาจมีผลต่อการทำงานของตับ อาจทำให้โรคที่เป็นอยู่เดิมควบคุมได้ยากขึ้นหรือรุนแรงกว่าเดิม

7. ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็ง เอดส์ หรือแม้แต่คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ จึงทำให้เสี่ยงอาการรุนแรง และยังอาจติดเชื้อนานกว่าผู้ป่วยทั่วไป

8. โรคอ้วน หากติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงคล้ายกับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคอ้วนชนิดรุนแรงหรือมีค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 – 40 ขึ้นไป การขยายตัวของปอดจะถูกจำกัด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสที่ปอดหรืออาจเกิดอาการหายใจลำบากเฉียบพลันได้ หากมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงและต้องเข้ารักษาตัวในห้อง ICU อาจมีปัญหาในการใส่ท่อช่วยหายใจหรือการ X-Ray Computer ที่อาจจำกัดขนาดและน้ำหนักของผู้ป่วย

]]>
1313232