การตลาดดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 01 Feb 2023 06:23:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเทคนิคสร้างธุรกิจผ่านฐาน “คอมมูนิตี้” จาก “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” ดิจิตัลเอเยนซี่ที่กำลังบูม https://positioningmag.com/1417451 Wed, 01 Feb 2023 10:00:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417451

แบรนด์จะเติบโตได้ไม่ใช่แค่สร้างด้วยการตลาดที่เน้นเฉพาะยอดขายตรงหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีเทคนิคที่เข้าใจพฤติกรรมคนยุคนี้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” บริษัทเอเยนซี่โฆษณาสัญชาติไทย ที่กำลังมาแรงในยุคนี้ จึงเลือกชูจุดขายการสร้างแบรนด์ผ่าน “คอมมูนิตี้” เปิดให้ลูกค้าได้สนทนากันเองเพื่อสร้างความผูกพัน หมัดเด็ดที่จะทำให้ผู้บริโภคอยู่กับแบรนด์อย่างยั่งยืน

“วันแรกๆ ที่เราเปิดบริษัท ช่วงนั้น Facebook กำลังบูม โพสต์และช่วยขายของได้ง่าย ค่าโฆษณายังค่อนข้างถูก บวกกับเราเริ่มการใช้กระแสกับคอนเทนต์เป็นเจ้าแรกๆ ทำให้สามารถสร้างฐานให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว” ลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด กล่าวย้อนถึงเมื่อแรกก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559 โดยเริ่มจากการตลาดบนโซเชียลมีเดียและดิจิทัล

นางสาวลิษา เลาหกรวัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

อย่างไรก็ตาม เธอกล่าวต่อว่าบริบทของการทำการตลาดดิจิทัลวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้นทั้งในแง่พฤติกรรมผู้บริโภคและแพลตฟอร์มที่ใช้งาน โซเชียลมีเดียมีจำนวนมากขึ้น และผู้บริโภคมีความสนใจที่หลากหลาย ตลาดที่เปลี่ยนทำให้ “มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์” เองมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริษัทสามารถสร้าง “Business Solutions” ให้กับลูกค้าได้รอบด้าน ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ โดยปัจจุบัน มาสเก็ตฯ มีการให้บริการแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก คือ

  •  Conversation Solutions – การทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย, สร้างฐานคอมมูนิตี้ผ่านโซเชียลมีเดีย, รวบรวมและเข้าถึงอินฟลูเอนเซอร์ทุกแขนง
  •  Creative Solutions – สร้างสรรค์การตลาดและสร้างแบรนด์ โดยใช้ดาต้าและเทคโนโลยี
  • Tech Solutions – ผนึกพันธมิตรเพื่อใช้เทคโนโลยีทำการตลาด เช่น AI, Virtual Influencer, NFT, Gamification

“คอมมูนิตี้” กุญแจสำคัญที่ทำให้แบรนด์ยั่งยืน

ความซับซ้อนของผู้บริโภคเชื่อมโยงกับการสร้างแบรนด์ด้วย “คอมมูนิตี้” อย่างไร? ลิษาอธิบายว่า เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดยุคนี้ไม่ควรแบ่งกลุ่มลูกค้าเพียงแค่ เพศ วัย ภูมิลำเนา ฯลฯ เหมือนในอดีต เพราะ “ความสนใจ” หรือ “ไลฟ์สไตล์” ของคนไม่ได้แบ่งตาม “demographic” ที่ใกล้เคียงกันอีกแล้ว

“วันนี้เด็กอายุ 15 ปี อาจจะมีสิ่งที่ชอบต่างกันหลายอย่าง ขณะที่ผู้ใหญ่วัย 30 ปี อาจจะชอบสิ่งเดียวกับเด็กวัย 15 ปีก็ได้ อายุไม่ใช่กรอบจำกัดอีกต่อไปว่าจะต้องชอบเหมือนๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ทั้งคู่อาจชอบฟังเพลงเหมือนกัน ชอบออกกำลังกายเหมือนกัน หากแบรนด์เข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคสินค้าตัวเอง จะสามารถสร้างสังคมความชอบเหมือนกัน ซึ่งจะช่วยให้แบรนด์เข้าไปอยุ่ในใจผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น” ลิษากล่าว

อีกประเด็นหนึ่งคือ ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้รอฟังแบรนด์สื่อสารทางเดียวเท่านั้น แต่ชอบที่จะพูดคุยกันเองมากกว่า แบรนด์มีหน้าที่จับกระแสที่สังคมพูดคุยกันมาต่อยอดเป็นการตลาด หรือเรียกว่า “Reverse Marketing”

เมื่อต้องเจาะกลุ่มเป้าหมายตาม “ความสนใจ” และผู้บริโภคยังชอบการพูดคุยกันเอง ทำให้ “คอมมูนิตี้” คือคำตอบที่ใช่

มาสเก็ตฯ ได้หยิบวิธีการนี้มาเป็น “จุดแข็ง” ของบริษัทในการบริการลูกค้าแบรนด์มาตลอด โดยมีทั้งการ “สร้าง” คอมมูนิตี้ให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ ผ่านกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้เกิดความสนใจโดยกลุ่ม Influencer เพื่อให้เกิดบทสนทนาอย่างต่อเนื่องในคอมมูนิตี้เพื่อที่ในที่สุดผู้บริโภคจะสร้างการสนทนากันเองอย่างเป็นธรรมชาติ จนเกิดความผูกพันกับคอมมูนิตี้และแบรนด์ต่อไป

อีกส่วนหนึ่งคือความเข้าใจของทีมงานต่อคอมมูนิตี้นั้นๆ เพื่อจะจับกระแสในการทำการตลาดต่อได้ เช่น จากการศึกษาอินไซต์ของผู้ใช้รถยนต์รุ่นหนึ่ง พบว่ามีกลุ่มใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้มาสเก็ตฯ เข้าไปทำการตลาดผ่านความสนใจของการเป็นผู้ปกครองนักเรียน จนทำให้เกิดกระแสการแนะนำต่อแบบปากต่อปากทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

ตัวอย่างงานของมาสเก็ตฯ ที่ใช้กลยุทธ์นี้จนประสบความสำเร็จ เป็นแคมเปญแบรนด์ยาชนิดหนึ่ง ซึ่งในทางกฎหมายผลิตภัณฑ์ยาไม่สามารถโฆษณาได้ มาสเก็ตฯ จึงได้ใช้การสร้างคอมมูนิตี้ผ่านโซเชียลมีเดีย ในการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิง จัดกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ จนกลายเป็นชุมชนที่ผู้หญิงสามารถมาพูดคุยปัญหากัน มีผู้ติดตามกว่า 250,000 คน ซึ่งแพลตฟอร์มนี้กลายเป็นพื้นที่ที่ส่งเสริมผู้หญิงกล้าที่จะปรึกษาเภสัชกรได้ทั่วประเทศ


รวดเร็ว ล้ำสมัยเรื่องดิจิตัล เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ

อีกหนึ่งจุดแข็งของมาสเก็ตฯ คือการปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีได้รวดเร็ว และนำมาใช้กับการสร้างสรรค์งานให้ลูกค้า ตัวอย่างเช่น แคมเปญของ TRAFFIC องค์กรไม่แสวงหากำไร ที่ต้องการรณรงค์ให้คนไทยหยุดสนับสนุนเครื่องรางที่ทำมาจากอวัยวะสัตว์ป่า เช่น งาช้าง มาสเก็ตฯ จึงสร้างสรรค์ไอเดียร่วมกับการใช้เทคโนโลยี “ยันต์ออนไลน์” ที่ customized เฉพาะบุคคล เป็นการสร้างตัวเลือกใหม่ให้คนเปลี่ยนมาเลือกใช้แทนการใช้เครื่องรางจากสัตว์ป่า

แนวทางของบริษัทที่เน้นเทคโนโลยีมาเป็นแกนหลัก ทำให้ล่าสุดบริษัทมีการพัฒนา Virtual Influencer ขึ้นมาในชื่อ “พะพราว” อินฟลูฯ เสมือนจริงภายใต้คอนเซ็ปต์ “Powerful” ผู้หญิงแกร่ง แข็งแรง มีพลังเหนือธรรมชาติ แตกต่างจากที่มีมาก่อนในตลาดเอเชียซึ่งอินฟลูฯ เสมือนจริงมักจะเป็นหญิงสาวน่ารัก ตัวเล็ก ทำให้พะพราวน่าจะเป็นตัวเลือกใหม่ในวงการได้

ลิษาเชื่อว่า Virtual Influencer น่าจะเริ่มติดตลาดในไทยในปีนี้ และอนาคตน่าจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเหมือนกับในญี่ปุ่น ขณะที่แบรนด์จะได้ประโยชน์จากการเลือกใช้อินฟลูฯ เสมือนจริง เพราะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ร่วมกันได้ง่ายกว่า เช่น ใช้ระบบ AI ปรับคำพูดหรือท่าทางของพะพราวได้อัตโนมัติเพื่อ personalized ทำโฆษณาที่แตกต่างแยกย่อยให้ลูกค้าแต่ละกลุ่ม หรือให้พะพราว Live ขายสินค้าได้หลายภาษาพร้อมๆ กัน

พะพราว (PAPROUD) อินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง มาพร้อมคอนเซ็ปต์ “1st Powerful Virtual Woman”


2023 จัดสมดุลออนไลน์-ออฟไลน์

สำหรับเทรนด์การตลาดปี 2023 ลิษาเชื่อว่าข้อแตกต่างสำคัญคือ ปีนี้จะเป็นปีที่ผู้บริโภค “Digital Balancing” เริ่มจัดสมดุลการรับสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ แตกต่างจากช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงโควิด-19 ทำให้น้ำหนักการรับสื่อแทบจะอยู่ในโลกออนไลน์ 100% เธอมองว่า สื่อดั้งเดิม เช่น สื่อ Out of Home, สื่อวิทยุ, อีเวนต์การตลาด ฯลฯ จะกลับมามีความสำคัญอีกครั้ง และต้องใช้งานผสมผสานกับสื่อออนไลน์ ทำให้นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ให้ทันกระแสของผู้บริโภค

“ยุคนี้ 3-4 เดือนเราต้องรีวิวและปรับใหม่แล้ว เพราะทุกอย่างเปลี่ยนเร็วขึ้น เช่น เมื่อต้นปี 2022 TikTok ยังถูกมองว่าเป็นพื้นที่ของเด็ก Gen Z แต่พอถึงปลายปี 2022 ไม่ว่าวัยไหนก็เข้ามาเหมือนกัน และคอนเทนต์ก็มีหลากหลาย ไม่ใช่แค่ความบันเทิงแต่เป็นแหล่งความรู้ คอมมูนิตี้ของผู้ใช้ก็เกิดขึ้น ทำให้แบรนด์ไม่ควรมองข้าม” ลิษากล่าว

ปัจจุบัน มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ให้บริการลูกค้าแล้วกว่า 100 รายจากหลากหลายวงการ เช่น ยานยนต์ ธนาคาร พลังงาน อาหารและเครื่องดื่ม โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ค้าปลีก บิวตี้ ฯลฯ และปีนี้บริษัทจะยังคงยึดมั่นในหัวใจการทำธุรกิจคือ ‘Move Us Forward’ ต่อไป พร้อมเคียงข้างลูกค้า พนักงาน และผู้บริโภคปลายทางให้ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกัน

มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์

ติดต่อ มาสเก็ต คอมมูนิเคชั่นส์ ได้ที่

เว็บไซต์ www.masketcommunications.com

เฟซบุ๊ก Masket Communications : https://bit.ly/PRMasketFB1

อีเมล Client.service@masketcommunications.com

]]>
1417451
“เนสท์เล่” รู้ว่าลูกค้าอยากดูโฆษณาแบบไหน จากการก่อตั้งฝ่าย “อีบิสซิเนส” มาแล้ว 4 ปี https://positioningmag.com/1393565 Fri, 22 Jul 2022 12:58:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393565 เบื้องหลังการตลาดออนไลน์ของ FMCG ยักษ์ใหญ่อย่าง “เนสท์เล่” คือฝ่ายใหม่ในบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปี 2018 อย่าง “อีบิสซิเนส” ที่ช่วยให้แบรนด์ในเครือเนสท์เล่เข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคบนโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ แปลงเป็นยอดขายได้มากขึ้นไม่ว่าจะบนออนไลน์หรือออฟไลน์ โดยมีการลงทุนเทคโนโลยีเองทั้ง AI, บิ๊กดาต้า, แชทบอท

อาวุธลับของ “เนสท์เล่” คือการตั้งฝ่าย “อีบิสซิเนส” ขึ้นมาตอบรับกระแสการใช้สื่อดิจิทัลโดยเฉพาะตั้งแต่ 4 ปีก่อน ฝ่ายนี้มีอยู่ในประเทศไทยเช่นกัน โดยมีบุคลากรทั้งหมด 20 คน คอยดูแลกิจกรรมบนดิจิทัลใดๆ ก็ตามที่สามารถสร้างผลลัพธ์ต่อยอดขายของบริษัท ไม่ว่าจะบนอีคอมเมิร์ซหรือช่องทางออฟไลน์

ฝ่ายนี้สำคัญอย่างไร? “ชาร์เน่ มอร์ริส” ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายอีบิสซิเนส เนสท์เล่ อินโดไชน่า ระบุว่า ประชากรไทยมีอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนของประชากรถึง 90% แล้ว และคนไทยมีการซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน

“การเชื่อมสัมพันธ์กับผู้บริโภคอยู่เสมอเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ” มอร์ริสกล่าว โดยปัจจุบันเนสท์เล่เทงบ 50% ของงบสำหรับสื่อลงในช่องทางดิจิทัล สะท้อนให้เห็นว่าเป็นช่องทางที่บริษัทต้องการจับให้อยู่หมัด

เนสท์เล่ อีบิสซิเนส
“ชาร์เน่ มอร์ริส” ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายอีบิสซิเนส เนสท์เล่ อินโดไชน่า

อีบิสซิเนสวางกลยุทธ์ 3T ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมฝ่าย ได้แก่ “Trend” เข้าใจแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค, “Technology” พัฒนาและเข้าถึงเครื่องมือใหม่ๆ ที่ทันสมัย และ “Team” รวบรวมและพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลเข้ามาเป็นหัวใจในการทำงาน

ทั้งหมดนี้เกิดผลลัพธ์เป็นแนวทางและเครื่องมือการตลาดที่น่าสนใจของ “เนสท์เล่” ดังที่เราเก็บมาไฮไลต์ให้ในบทความนี้

 

Shoppertainment เพราะคนไทยชอบความสนุก

เทรนด์การตลาดแรกที่สำคัญมากคือ Shoppertainment จากการสำรวจพบว่า คนไทย 1 ใน 3 ต้องการความสนุกระหว่างช้อปปิ้ง

ทำให้เนสท์เล่จัดความสำคัญให้การ “ไลฟ์สตรีม” ผ่าน KOLs ที่เป็นพันธมิตร ถือเป็นกุญแจหลักในการทำแคมเปญการตลาดเกือบทั้งหมด เพราะคนไทยชื่นชอบ และมักจะช่วยสร้างกระแสต่อให้ในช่องทางอื่นๆ เช่น ติดแฮชแท็กเพิ่มกระแสบน Twitter

เนสกาแฟ กับการไลฟ์สตรีมผ่านแพลตฟอร์ม Shopee

รวมถึงการทำ Gamification ที่โดนใจคนไทย เนสท์เล่มีการทำแคมเปญเทกโอเวอร์ใช้งานฟังก์ชันเกม Shopee Candy เพื่อมาดันยอดการซื้อสินค้าและ engage กับแบรนด์ในเครือ ซึ่งประสบความสำเร็จมาก มีผู้เล่นเฉลี่ยกว่า 400,000 คนต่อวันตลอดแคมเปญ และสามารถเพิ่มยอดขายได้จริง

เนสท์เล่
Shopee Candy Game ในช่วงที่เนสกาแฟเข้าไปเทกโอเวอร์เพื่อนำมาทำกิจกรรมการตลาด

 

Social Commerce พัฒนาแชทบอทขายของ

เนสท์เล่รู้ว่า ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีถึง 40% ที่ซื้อขายกันบนโซเชียลมีเดีย แต่นี่เป็นกำแพงที่สินค้า FMCG จากบริษัทใหญ่เข้าไปได้ยาก เพราะต้องใช้ ‘มนุษย์’ ตัวจริงในการถามตอบกับลูกค้า เท่ากับต้องลงทุนบุคลากรจำนวนมาก

บริษัทจึงมีการลงทุนพัฒนา “แชทบอท” และเป็นเจ้าแรกในกลุ่ม FMCG ที่เริ่มนำร่องใช้แชทบอทขายของบน Messenger โดยเริ่มที่หน่วยธุรกิจ Nestle Health Science ก่อน (เป็นสินค้ากลุ่มอาหารเสริม) หากทำได้สำเร็จก็จะขยายไปสู่สินค้าเนสท์เล่กลุ่มอื่นต่อไป

มอร์ริสอธิบายว่าโครงการนี้มีความท้าทาย เพราะแชทบอทต้องใช้แมชชีน เลิร์นนิ่ง เรียนรู้การถามตอบซ้ำๆ และหลากหลาย แต่ผู้บริโภคมักจะไม่ชอบคุยกับบอท (เมื่อยังไม่สมบูรณ์แบบ) ทำให้บอทต้องค่อยๆ ใช้เวลาเรียนรู้ รวมถึงยังมีกำแพงเรื่องเชื่อมต่อการจัดการออร์เดอร์หลังบ้าน ที่จะต้องพัฒนาให้รองรับคำสั่งซื้อผ่านแชทจำนวนมากได้ด้วย

 

Personalization ทดลองตัดวิดีโอโฆษณา 120 แบบ!

เทรนด์การสร้างคอนเทนต์เฉพาะบุคคลนั้น เนสท์เล่เคยลองทำมาแล้วกับแคมเปญ MILO Pack to School โดยร่วมมือกับ Google ใช้เครื่องมือ YouTube Director Mix ทำให้สร้างวิดีโอโฆษณาได้ถึง 120 เวอร์ชัน สำหรับส่งให้ผู้ชมที่มีโปรไฟล์แตกต่างกัน

ตัวอย่างการแยกเวอร์ชันโฆษณาด้วย YouTube Director Mix กับโฆษณา MILO Pack to School (ภาพจาก: Think with Google)

มอร์ริสบอกว่า แต่ละชิ้นงานนั้นจะมีความต่างกันแค่ราวๆ 5% แต่ผลสำเร็จทำให้อัตราดูจนจบคลิปของผู้ชมมีมากถึง 53% มากที่สุดที่เคยมีมา และทำให้ผู้ชมจดจำแบรนด์ได้มากขึ้น 5.8%

 

บิ๊กดาต้าและ AI ใช้คาดการณ์ “โฆษณา” แบบที่ลูกค้าน่าจะชอบ

รู้เขารู้เราได้แบบไม่ต้องเดา เพราะเนสท์เล่ลงทุนพัฒนา โซลูชันวิเคราะห์เนื้อหาโฆษณา ทำให้การทำโฆษณาครั้งถัดไปจะมีไกด์ไลน์ที่ชัดเจนให้กับเอเจนซี

โซลูชันนี้ของเนสท์เล่มีการรวบรวมโฆษณาในอดีตทั้งหมดมาเป็นถังบิ๊กดาต้า จากนั้นนำ AI เข้าไปวิเคราะห์แยกชิ้นส่วนโฆษณาในแต่ละแง่มุม เช่น ฉากถ่ายทำอยู่ในบ้าน/นอกบ้าน, ความรู้สึกจากการรับชมเป็นแบบไหน, เห็นใบหน้านายแบบ/นางแบบมากแค่ไหน, เห็นแบรนด์/สินค้าชัดและบ่อยแค่ไหน

ทั้งหมดจะประมวลจับคู่กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแต่ละแคมเปญว่า ลูกค้าแบรนด์นั้นมักจะชอบโฆษณาที่มีองค์ประกอบแบบไหนบ้าง เช่น ถ้าลูกค้าเห็นแบรนด์ชัดเจน ลูกค้าจะรับชมต่อ

นอกจากนี้ยังแยกย่อยกลุ่มผู้ชมออนไลน์ได้ตามภูมิศาสตร์ เพศ ช่วงเวลาที่รับชม แต่ละไมโครเซ็กเมนต์อาจได้เห็นโฆษณาที่ไม่เหมือนกัน

จากเครื่องมือนี้ของเนสท์เล่ ล่าสุดแคมเปญ “เนสกาแฟ อเมริกาโน” มีการนำมาใช้งาน และพบผลสำเร็จ สร้างความคุ้มค่าในการลงโฆษณาเพิ่มขึ้นถึง 17%

 

สรุป

มอร์ริสกล่าวว่า การเติบโตของอีคอมเมิร์ซนั้นโตแบบ ‘exponential’ คือยิ่งเร่งเร็วขึ้นๆ ทุกปี ปีนี้เชื่อว่าจะโตแบบ ‘ดับเบิลดิจิต’ อีก

สินค้าขายดีของเนสท์เล่บนอีคอมเมิร์ซ

โดยสินค้าดาวรุ่งที่ขายดีบนอีคอมเมิร์ซของเนสท์เล่ ได้แก่ กลุ่มกาแฟ เช่น เนสกาแฟ, กลุ่มผลิตภัณฑ์นม เช่น ไมโล เนสวิต้า นมตราหมี และ กลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยง เช่น เพียวริน่า วัน

“ความท้าทายของฝ่าย ‘อีบิสซิเนส’ คือเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เราต้องปรับตัวให้เร็วในการนำมาใช้งาน และเทรนนิ่งคนของเรา พัฒนาตนเองตลอดเวลา” มอร์ริสกล่าวปิดท้าย

]]>
1393565
GDH ครองตลาดหนังไทย รายได้ 471 ล้าน เปิดกลยุทธ์ 2020 ลุยหนัง-ซีรีส์-ปั้นศิลปินใหม่ https://positioningmag.com/1262597 Thu, 30 Jan 2020 19:25:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1262597 เเม้ทุกวันนี้คนไทยจะดู “หนังไทย” กันน้อยลง ถึงขั้นซบเซา เเต่ค่ายหนังขวัญใจวัยรุ่นอย่าง “GDH” ก็ยังครองกระเเส ส่งหนัง 3 เรื่อง ติดท็อปทำรายได้สูงสุดของปี 2019 ยอดทิ้งห่างหนังไทยเรื่องอื่นไปหลายเท่า

“ตุ๊ดซี่ส์ & เดอะเฟค” เป็นหนังไทยที่ทำเงินสูงสุดในปี 2019 ด้วยรายได้141 ล้านบาท รองลงมาคือเรื่อง “Friend Zone ระวังสิ้นสุดทางเพื่อน” อยู่ที่ 134 ล้านบาท และ “ฮาวทูทิ้ง…ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ” มีรายได้ที่ 57 ล้านบาท

มองกลับมาที่ “หนังไทย” ตลอดปี 2019 ไม่ค่อยสดใสนัก โดยมีออกฉายราว 40 เรื่อง ทำรายได้รวมทั้งหมดประมาณ 711 ล้านบาท ลดลง 14% เฉลี่ยต่อเรื่องทำรายได้เพียง 15 ล้านบาทเท่านั้น จากปีก่อนอยู่ที่ 18-19 ล้านบาท

เเละที่น่าตกใจคือ “มีหนังไทยกว่า 17 เรื่องที่ทำรายได้น้อยกว่า 1 ล้านบาท”

ขณะที่ “ภาพรวมตลาดหนังที่ฉายในไทย” อยู่ที่ 4,700 ล้านบาท โตขึ้น 4% จากมาจากหนังต่างประเทศเป็นหลัก สะท้อนว่าคนไทยไม่มีหนังไทยที่อยากดูเเละชอบดูหนังต่างประเทศมากกว่า

อย่างไรก็ตาม เเม้ตลาดหนังไทยจะดูซึมๆ เเต่ ” GDH” ก็โตสวนทางตลาด ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 471.29 ล้านบาท ในปี 2019 เติบโตจากปี 2018 ประมาณ 12%

GDH เเละ นาดาวบางกอก วางทิศทางธุรกิจเเละเเผนการตลาดอย่างไร รวมถึงตั้งเป้าจะทำโปรเจ็กต์อะไรต่อไปในปี 2020-21 วันนี้ “จินา โอสถศิลป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า เเละ “ทรงยศ สุขมากอนันต์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด หรือ “ย้ง” หนึ่งในผู้กำกับหนังไทยในตำนานอย่าง “เเฟนฉัน” ที่ขยับมาเป็นผู้บริหาร จะมาให้คำตอบนี้…

ทุ่มการตลาด เข้าถึงทุกเเพลตฟอร์ม 

“การทำหนังเรื่องหนึ่งของ GDH มีต้นทุนราว 45-50 ล้านบาท แบ่งเป็นทุนสร้าง 20-30 ล้าน ส่วนที่เหลือคืองบสำหรับทำการตลาด”

ผู้บริหาร GDH บอกว่าในยุคสมัยนี้ เเม้จะทำหนังออกมาดีเเค่ไหน เเต่หากขาดการโปรโมท เเละการสร้างการรับรู้ที่เข้าถึงก็อาจจะ “ขาดทุน” ได้

ในปี 2020 นี้ GDH จึงเปิดบริษัทในเครือขึ้นมาใหม่ เพื่อดูเเลด้านการโปรโมทโดยเฉพาะอย่าง บริษัท น้ำดีไม้งาม จำกัด เเละ บริษัท งานดีทวีสุข ดูแลงานพีอาร์และอีเว้นท์ ซึ่งน้ำดีไม้งามได้ “เดียว วิชชพัชร์ โกจิ๋ว” มานำทีม ดูแลในเรื่องการโปรโมตหนังและคอนเทนต์ให้กับ GDH เป็นหลักรวมถึงงานของรัชดาลัยเธียเตอร์ และงานของเบิร์ด-ธงไชย

กลยุทธ์หลักของ GDH ปีนี้คือ “ต้องการให้คอนเทนต์เข้าถึงทุกแพลตฟอร์ม” จึงจะขยายเพิ่มขึ้นอีก 1 แอปพลิเคชั่น คือ iQiYi จากจีนที่มาเปิดในไทย จากปัจจุบันที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงคอนเทนต์ GDH ได้หลายแพลตฟอร์มอย่าง WeTV, Viu, Netflix, Line TV, HOOq และ AIS PLAY เป็นต้น

“จินา โอสถศิลป์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า (ขวา)

เมื่อคนดูหนังเปลี่ยน…คนทำหนังต้องปรับตาม

“ทุกวันนี้หนังมีอายุอยู่ในโรงสั้นลง จากเดิมที่เฉลี่ยเคยอยู่ในโรงประมาณ 4 สัปดาห์ ลดลงมาเหลือเเค่ 2 สัปดาห์”

ผู้บริหาร GDH อธิบายเพิ่มว่า “เมื่อก่อนคนดูจะมาแบบแบ่งกันเป็น 3 ล็อตใหญ่ คือสัปดาห์แรก สัปดาห์ที่ 2
เเละสัปดาห์ 3 บางทีลากยาวเป็นเดือน เเต่ตอนนี้คนดูส่วนใหญ่เทไปอยู่สัปดาห์แรกกันหมด บางครั้งถ้ากระแสของหนังดี สัปดาห์แรกของการเข้าฉายก็อาจเป็นรายได้ 65% ทั้งหมดของหนังเลยก็ได้”

ส่วนปัจจัยที่คนไทยดูหนังในโรงน้อยลงนั้น จินามองว่า คอนเทนต์ไทยมีให้ดูฟรีมากมายในหลายช่องทาง บวกกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ปัญหารถติด รวมถึงสภาพเศรษฐกิจไม่ค่อยดี มีส่วนทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น การดูหนังนอกบ้านจึงลดลงตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม การฉายหนังยุคนี้ก็มีข้อดีคือ การมีจำนวนโรงภาพยนตร์ให้ฉายมากขึ้น ก็ย้อนกลับมาที่บริษัททำหนังต้อง “โปรโมต” ให้ดีเพื่อดึงกระเเสสัปดาห์เเรกให้มากที่สุดนั่นเอง

เปิดโปรเจกต์ใหญ่ปี 2020 ส่งซีรีส์เจาะตลาดจีน 

GDH จะมี 3 โปรเจกต์ใหญ่ในปี 2020 เเบ่งเป็นภาพยนตร์ 2 เรื่อง โดยจะเป็นภาพยนตร์เเนว thiller horror กำกับโดย กอล์ฟ-ปวีณ ออกฉายในช่วงเดือน ส.ค. เเละภาพยนตร์เเนวโรเเมนติก คอมเมดี้ ที่กำกับโดย เมษ-ธราธร จะออกฉายในเดือน ธ.ค.นี้

ส่วนอีกโปรเจกต์คือ “ซีรีส์” โดยปีนี้ทุกคนจะได้ดู “ซีรีส์ฉลาดเกมส์โกง” ในเดือน ส.ค. ทางช่องวัน 31 นับเป็นครั้งเเรกที่จะฉายซีรีส์คู่ขนานไปพร้อมกับประเทศจีน และนำมาฉายย้อนหลังในช่องทาง WeTv ของ Tencent

โดย “ฉลาดเเกมโกง” เป็นภาพยนต์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในจีน จนมีนักลงทุนสนใจติดต่อให้ทำต่อเนื่องเป็นซีรีส์เพื่อตีตลาดจีนโดยเฉพาะ

“ในปีต่อไป (2021) เราจะกลับมาทำหนังอย่างเต็มที่ ซึ่งตอนนี้เตรียมไว้เเล้ว 4 โปรเจกต์ อยากจะฉายให้ได้ทุกไตรมาส เเละมีเรื่องของการร่วมทุนกับต่างชาติในเอเชียด้วย”

กลุ่มลูกค้าหลักของ GDH และนาดาว คือคนช่วงวัย 15-30 ปี เเละเป็นความท้าทายของที่จะดึงคนนอกเหนือช่วงวัยนี้ให้เข้าถึงคอนเทนต์ของบริษัทให้ได้

จินา โอสถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า (ซ้าย) – ทรงยศ สุขมากอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด (ขวา)

ภารกิจปั้นเด็กใหม่ ดันกระเเส Nadao Music

ด้านผู้กำกับมือทองที่ผันตัวไปเป็นผู้บริหารอย่าง “ย้ง ทรงยศ” บอกถึงก้าวต่อไปของนาดาวบางกอก บริษัทในเครือ GDH ที่เกิดขึ้นมาเพื่อสำหรับดูแลศิลปินและนักแสดงในค่าย ขยายต่อในงานโปรดักส์ชั่นเเละสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งเปิดมานานกว่า 10 ปีเเล้ว

ในปี 2562 นาดาวบางกอกมีรายได้อยู่ที่ 370 ล้านบาท เติบโตขึ้น 52.71% ซึ่งรายได้กว่า 70% นั้นมาจากการดูแลศิลปิน ส่วนที่เหลืออีก 30% เป็นรายได้ที่มาจากฝ่ายโปรดักชั่น

“ส่วนโปรดักส์ชั่นเราโตขึ้น 34% จากซีรีส์ Greatmen Academy และละครรักฉุดใจนายฉุกเฉิน”

นับตั้งเเต่เริ่มทำซีรีส์ “ฮอร์โมนส์วัยว้าวุ่น” มาจนถึง “เลือดข้นคนจาง” ประสบความสำเร็จ ศิลปินในค่ายโด่งดังเป็นที่ รู้จัก เเต่มีงานต่อยอดมากมายทั้งพรีเซ็นเตอร์เเละงานเพลง

“ซีรีส์เรื่องเลือดข้นคนจาง ทำให้รายได้ของนาดาวบางกอก ในปี 2018 โตขึ้นจากปี 2017 ถึง 200%”

ปีนี้นาดาวจะมุ่งเน้นไปกับการสร้างศิลปินหน้าใหม่ขึ้นมา ผ่านโครงการ Nadao Academy ค้นหาเด็กฝึกมาเป็นศิลปิน นักแสดงในสังกัด โครงการเวิร์คช็อป เขียนบท ส่งนักแสดงร่วมงานช่องอื่นๆ อย่าง ช่องวัน 31 GMM25
และช่อง 3 รวมทั้งเพิ่มพาร์ตเนอร์ OTT แพลตฟอร์ม และแบรนด์ต่างๆ ซึ่งน่าจะมีการร่วมโปรเจกต์กันมากขึ้น

ทรงยศ สุขมากอนันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาดาว บางกอก จำกัด

หลังจากเพลง “รักติดไซเรน” ดังทั่วบ้านทั่วเมือง นาดาวก็จะต่อยอดกระเเสนี้ด้วย ยูนิต Nadao Music ดึงศิลปินอย่างเบล-สุพล มาเป็นโปรดิวเซอร์หลัก ซึ่งในปีนี้จะปล่อยซิงเกิลของศิลปินอย่าง ของเจเจ , ไอซ์ พาริส, บิวกิ้น, แพรวา เป็นต้น

หากมองดูการเเบ่งส่วนหารายได้ของ GDH จะพบว่าได้เเยกย่อยเป็นบริษัทลูกในเครือที่หลากหลาย อย่างนาดาวบางกอก ที่มีรายได้หลักจากการดูเเละศิลปิน ขยายไปรับงานโปรดักชั่น ส่วนสวัสดีทวีสุขเเละเสียงดีทวีสุข ก็ให้บริการด้านภาพเเละเสียง รับทำงานให้ลูกค้านอกบริษัทได้ นับเป็นอีกกลยุทธ์หารายได้อีกทางของ GDH โดยเป็นการปั้น “ลูกหม้อ” คนที่ทำงานในบริษัทมานานให้เติบโตขึ้นมาทำหน้าที่ดูเเลบริหารในส่วนต่างๆ

“ปัญหาของเราตอนนี้คือ ปั้นคนทำงานขึ้นมาไม่ทัน” ทรงยศกล่าวเเละทิ้งท้ายถึงอุตสาหกรรมหนังในประเทศว่า “เราอยากให้วงการหนังไทยโตไปด้วยกัน ถ้าเเค่ GDH โตเจ้าเดียวเเล้วคนทำหนังคนอื่นขาดทุน วงการนี้ก็ลำบาก”  

]]>
1262597